คริสเตียนกับสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน
คริสเตียนกับสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน
“ชาติต่าง ๆ จะเกลียดชังพวกท่านเพราะนามของเรา.”—มัดธาย 24:9.
1. อะไรควรเป็นลักษณะเด่นของศาสนาคริสเตียน?
การแยกตัวจากโลกเป็นเครื่องหมายอันเด่นชัดของคริสเตียนสมัยเริ่มแรก. ในคำอธิษฐานที่ทูลต่อพระยะโฮวา พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์ พระคริสต์ได้ตรัสถึงสาวกของพระองค์ดังนี้: “ข้าพเจ้ามอบพระคำของพระองค์แก่พวกเขาแล้ว แต่โลกได้เกลียดชังเขา เพราะเขาไม่เป็นส่วนของโลก เหมือนข้าพเจ้าไม่เป็นส่วนของโลก.” (โยฮัน 17:14, ล.ม.) ในคราวที่พระเยซูถูกมอบไว้ต่อหน้าปอนเตียวปีลาต พระองค์ตรัสว่า “ราชอาณาจักรของเรามิได้เป็นส่วนของโลกนี้.” (โยฮัน 18:36, ล.ม.) การที่ศาสนาคริสเตียนสมัยแรกแยกตัวจากโลกนั้นมีข้อพิสูจน์ยืนยันจากพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกและจากนักประวัติศาสตร์.
2. (ก) มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไหมในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามพระเยซูกับโลกเมื่อเวลาผ่านไป? (ข) ราชอาณาจักรของพระเยซูจะมาโดยการที่ชนนานาชาติจะเข้ามาเป็นคริสเตียนไหม?
2 พระเยซูได้เปิดเผยไหมว่าในเวลาต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสาวกของพระองค์กับโลกนี้ และว่าราชอาณาจักรของพระองค์จะมาโดยที่โลกจะเปลี่ยนใจมาเป็นคริสเตียน? เปล่าเลย. ไม่มีข้อความใด ซึ่งสาวกของพระเยซูได้เขียนโดยการดลใจภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู ชวนให้คิดเช่นนั้นแม้แต่น้อย. (ยาโกโบ 4:4 [เขียนก่อนปีสากลศักราช 62 ไม่นาน]; 1 โยฮัน 2:15-17; 5:19 [เขียนประมานปีสากล ศักราช 98] ตรงกันข้าม คัมภีร์ไบเบิลเชื่อมโยง “การประทับ” ของพระเยซูและก็ “การเสด็จมา” ภายหลังด้วยขัตติยอำนาจเข้ากับ “ช่วงอวสานของระบบสิ่งต่าง ๆ” ซึ่งมาถึง “อวสาน” หรือความพินาศ. (มัดธาย 24:3, ล.ม., 14, 29, 30; ดานิเอล 2:44; 7:13, 14) เมื่อพระเยซูระบุสัญลักษณ์แห่งพารูเซีย หรือการประทับของพระองค์ พระองค์ได้ตรัสถึงบรรดาสาวกแท้ว่า “ในเวลานั้นเขาจะมอบท่านทั้งหลายไว้ให้ทนทุกข์ลำบากและฆ่าท่านเสีย, และชาติต่าง ๆ จะเกลียดชังพวกท่านเพราะนามของเรา.”—มัดธาย 24:9.
คริสเตียนแท้ในปัจจุบัน
3, 4. (ก) สารานุกรมคาทอลิกพรรณนาคริสเตียนสมัยแรกอย่างไร? (ข) สารานุกรมฉบับหนึ่งพรรณนาพยานพระยะโฮวากับคริสเตียนสมัยแรกโดยถ้อยคำที่คล้าย ๆ กันอย่างไร?
3 ทุกวันนี้กลุ่มคนในศาสนาไหนได้สร้างชื่อสำหรับตัวเองในด้านความสัตย์ซื่อต่อหลักการคริสเตียนและการแยกตัวจากโลก และสมาชิกของกลุ่มนี้เป็นที่เกลียดชังและถูกข่มเหง? องค์การคริสเตียนไหนที่กว้างขวางทั่วโลกตรงกับคำพรรณนาทางประวัติศาสตร์เกี่ยวด้วยคริสเตียนสมัยแรกในทุกประการ? ในเรื่องเหล่านี้ จงพิจารณาสิ่งที่กล่าวไว้ในสารานุกรมนิวคาทอลิกที่ว่า “สังคมคริสเตียนสมัยแรก ถึงแม้ทีแรกถือกันว่าเป็นอีกนิกายหนึ่งเท่านั้นภายในสภาพแวดล้อมของยิว แต่ปรากฏว่าโดดเด่นในหลักคำสอนด้านศาสนศาสตร์ และยิ่งในเรื่องความกระตือรือร้นของพวกสมาชิก ซึ่งรับใช้ในฐานะเป็นพยานถึงพระคริสต์ ‘ทั่วมณฑลยูดาย, และซะมาเรียและกระทั่งถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก’ (กิจการ 1:8).”—เล่ม 3 หน้า 694.
4 โปรดสังเกตคำพูดที่ว่า “ถือกันว่า . . . เป็นอีกนิกายหนึ่งเท่านั้น” “โดดเด่นในหลักคำสอน” “กระตือรือร้น . . . ในฐานะเป็นพยาน.” และทีนี้ขอสังเกตวิธีที่สารานุกรมเล่มเดียวกันพรรณนาพยานพระยะโฮวาดังนี้: “นิกายหนึ่ง . . . พวกพยานฯเชื่ออย่างมั่นใจว่าอวสานของโลกจะมาภายในไม่กี่ปีนี้. ความเชื่ออย่างเห็นจริงเห็นจังเช่นนี้ดูเหมือนเป็นพลังแรงที่ผลักดันให้พวกเขามีความกระตือรือร้นไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย . . . . พันธะหน้าที่หลักของสมาชิกแต่ละคนของนิกายนี้คือการเป็นพยานถึงพระยะโฮวา โดยการประกาศราชอาณาจักรของพระองค์ซึ่งกระชั้นเข้ามา . . . . พวกเขาถือว่าคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้นเป็นบ่อเกิดของความเชื่อและระเบียบข้อบังคับการประพฤติ . . . ที่จะเป็นพยานแท้ ผู้นั้นต้องประกาศอย่างมีประสิทธิภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง.”—เล่ม 7, หน้า 864-865.
5. (ก) หลักคำสอนของพยานพระยะโฮวาโดดเด่นในด้านไหน? (ข) จงให้ตัวอย่างแสดงว่าความเชื่อของพยานพระยะโฮวาสอดคล้องกับพระคัมภีร์.
5 หลักคำสอนของพยานพระยะโฮวาเด่นเป็นพิเศษในเรื่องอะไร? สารานุกรมนิวคาทอลิกระบุบางอย่าง เช่น “พวกเขา [พยานพระยะโฮวา] ประณามเรื่องตรีเอกานุภาพเป็นการบูชารูปเคารพแบบนอกรีต . . . พยานฯถือว่าพระเยซูเป็นพยานผู้ใหญ่ยิ่งของพระยะโฮวา เป็น ‘พระเจ้าองค์หนึ่ง’ (ดังที่เขาแปลโยฮัน 1:1), ต่ำต้อยกว่าเฉพาะพระยะโฮวาเท่านั้น . . . . พระองค์สิ้นพระชนม์เยี่ยงมนุษย์และได้รับการปลุกขึ้นจากตายเป็นพระบุตรในสภาพวิญญาณอมตะ. ความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นราคาที่พระองค์จ่ายไปเพื่อมนุษยชาติจะได้สิทธิกลับคืนมีชีวิตอยู่ตลอดไปบนแผ่นดินโลก. ตามจริงแล้ว ‘ฝูงชนมากมาย’ (วิวรณ์ 7:9) แห่งพยานฯแท้ ๆ มีความหวังจะอยู่ในอุทยานทางแผ่นดินโลก พยานฯที่สัตย์ซื่อจำนวน 144,000 เท่านั้น (วิวรณ์ 7:4; 14:1, 4) จะได้รับสง่าราศีรุ่งโรจน์ในสวรรค์ร่วมกับพระคริสต์. ส่วนคนชั่วจะถูกทำลายให้สาบสูญ . . . . การรับบัพติสมา—ซึ่งพยานฯปฏิบัติโดยการจุ่มตัวในน้ำ . . . [เป็น] เครื่องหมายภายนอกแสดงว่าเขาอุทิศตัวเพื่อรับใช้พระเจ้ายะโฮวา . . . . พยานพระยะโฮวาได้เป็นจุดสนใจต่อสาธารณชนโดยการไม่ยอมรับการถ่ายเลือด . . . หลักศีลธรรมของเขาเรื่องการสมรสและเพศสัมพันธ์ค่อนข้างเข้มงวด.” พยานพระยะโฮวาอาจไม่เหมือนใครในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ แต่การยืนหยัดของเขาในจุดต่าง ๆ เหล่านี้อาศัยพระคัมภีร์อย่างเคร่งครัด.—บทเพลงสรรเสริญ 37:29; มัดธาย 3:16; 6:10; กิจการ 15:28, 29; โรม 6:23; 1 โกรินโธ 6:9, 10; 8:6; วิวรณ์ 1:5.
6. พยานพระยะโฮวาได้รักษาจุดยืนอะไรไว้เสมอ? เพราะเหตุใด?
โยฮัน 17:16, ล.ม.
6 สารานุกรมเล่มนี้ของโรมันคาทอลิกกล่าวเพิ่มเติมว่าในปี 1965 (ดูเหมือนว่าเป็นปีที่ได้เขียนบทความนี้) “พวกพยานฯยังไม่คิดว่าเขาสังกัดในสังคมซึ่งเขาอาศัยอยู่.” ปรากฏว่าผู้เรียบเรียงคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไป และพยานพระยะโฮวาทวีจำนวนมากขึ้นและส่อ “ลักษณะต่าง ๆ ของคริสต์จักรมากขึ้นแทนที่จะเป็นนิกาย” พวกเขาก็จะกลายมาเป็นส่วนของโลกนี้. แต่ไม่เป็นจริงดังกล่าว. ทุกวันนี้ จำนวนพยานฯเพิ่มมากขึ้นถึงสี่เท่าเมื่อเทียบกับปี 1965 กระนั้น พยานฯก็ยังคงวางตัวของเขาอย่างเสมอต้นเสมอปลายเกี่ยวกับโลกนี้. “พวกเขาไม่เป็นส่วนของโลก” เหมือนพระเยซู “ไม่เป็นส่วนของโลก.”—แยกตัวแต่ไม่เป็นศัตรู
7, 8. อะไรเป็นจริงกับพยานพระยะโฮวาในปัจจุบันเหมือนที่ได้เป็นจริงกับคริสเตียนสมัยแรก?
7 เมื่ออ้างถึง จัสติน มาร์เทอร์ ผู้แก้ต่างศตวรรษที่สองในการปกป้องคริสเตียนสมัยแรก โรเบิร์ต เอ็ม. แกรนต์เขียนในหนังสือของเขาชื่อ ศาสนาคริสเตียนสมัยแรกและสังคม (ภาษาอังกฤษ) ดังนี้: “ถ้าคริสเตียนเป็นพวกปฏิวัติ พวกเขาก็คงซุ่มตัวทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย . . . . พวกเขาเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดของจักรพรรดิในด้านความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย.” เช่นเดียวกัน พยานพระยะโฮวาสมัยนี้ เป็นที่รู้จักทั่วโลกว่าเป็นพลเมืองรักความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย. รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าระบอบใดรู้ว่าเขาไม่มีอะไรต้องกลัวพยานพระยะโฮวา.
8 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายหนึ่งทางอเมริกาเหนือได้เขียนว่า “ต้องมีการดันทุรังและมีจินตภาพแบบคนโรคจิตที่จะเชื่อว่าพยานพระยะโฮวาเป็นอันตรายต่อระบอบการปกครองใด ๆ ทางการเมือง พยานฯไม่ใช่พวกล้มล้างบ้านเมือง และเป็นคนรักความสงบ อย่างที่หมู่คณะทางศาสนาพึงเป็นเช่นนั้น.” ชาง ปิแอร์ คัตเลง เขียนในหนังสือของเขาชื่อ การคัดค้านด้วยจิตสำนึก (ภาษาฝรั่งเศส) ดังนี้: “พยานฯเป็นพวกที่ยอมอยู่ในอำนาจเจ้าหน้าที่ทางการปกครองอย่างครบถ้วน และโดยทั่วไปแล้วเชื่อฟังกฎข้อบังคับ พวกเขาเสียภาษีอากรและไม่พยายามตั้งกระทู้, เปลี่ยนแปลง, หรือทำลายระบอบการปกครอง เนื่องจากพวกเขาไม่พาตัวเขาไปเกี่ยวข้องกับกิจธุระของโลกนี้.” คัตเลง เสริมว่านอกเสียแต่ว่ารัฐอ้างสิทธิเอาชีวิตของเขาซึ่งเขาได้อุทิศแด่พระเจ้าอย่างเต็มที่แล้ว นั่นแหละพยานพระยะโฮวาจะไม่ยอมเชื่อฟัง. ในเรื่องนี้พวกเขาเหมือนกันกับคริสเตียนสมัยแรก.—มาระโก 12:17; กิจการ 5:29.
ชนชั้นปกครองต่างก็เข้าใจผิด
9. เกี่ยวกับการแยกตัวจากโลก อะไรคือความแตกต่างประการสำคัญระหว่างคริสเตียนสมัยแรกกับคาทอลิกสมัยนี้?
9 จักรพรรดิโรมันส่วนใหญ่เข้าใจคริสเตียนสมัยแรกผิดไปและได้ข่มเหงพวกเขา. เพื่อชี้สาเหตุ จดหมายถึงดีออเกนทุส ซึ่งบางคนคิดว่าเขียนในศตวรรษที่สองแห่งสากลศักราช แถลงว่า “คริสเตียนอยู่ในโลกก็จริงแต่ไม่เป็นส่วนหรือเกี่ยวข้องกับโลก.” ในทางกลับกัน สภาวาติกันที่สอง ระบุในธรรมนูญว่าด้วยการวางหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับคริสต์จักรว่า คาทอลิกควร “แสวงราชอาณาจักรของพระเจ้าโดยการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ฝ่ายโลก” และ “จากภายในนี้เองก็ทำงานเพื่อทำให้โลกบริสุทธิ์.”
10. (ก) ชนชั้นปกครองมีทัศนะเช่นไรต่อคริสเตียนสมัยแรก? (ข) พยานพระยะโฮวามักถูกมองว่าเป็นอย่างไร และพวกเขามีปฏิกิริยาอย่างไร?
10 อี. จี. ฮาร์ดี นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าจักรพรรดิโรมันถือว่าคริสเตียนสมัยแรกเป็น “พวกที่ค่อนข้างกระตือรือร้นอย่างน่าดูหมิ่น.” นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อเอตเย็น ทร็อกเม พูดถึง “การดูหมิ่นของชาวกรีกที่มีวัฒนธรรมและเจ้าหน้าที่ชาวโรมันถือว่าพวกคริสเตียนเป็นนิกายแปลกใหม่ของชาวตะวันออก.” ในจดหมายโต้ตอบระหว่างพลีนี หลานของพลีนีนักเขียนชื่อดัง กับจักรพรรดิทรายานระบุว่า โดยปกติแล้ว ชนชั้นปกครองไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับลักษณะแท้ของศาสนาคริสเตียน. ทุกวันนี้ก็คล้าย ๆ กัน ชนชั้นปกครองในโลกมักจะสำคัญผิด กระทั่งดูถูกเหยียดหยามพยานพระยะโฮวาอยู่บ่อย ๆ. อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้พวกพยานฯประหลาดใจหรือสะดุ้งกลัวแต่อย่างใด.—กิจการ 4:13; 1 เปโตร 4:12, 13.
“ถูกติเตียนทุกแห่ง”
11. (ก) มีการกล่าวถึงคริสเตียนสมัยแรกอย่างไรบ้าง และพูดกันอย่างไรเกี่ยวกับพยานพระยะโฮวา? (ข) เหตุใดพยานพระยะโฮวาไม่เข้าส่วนในการเมือง?
11 มีการพูดถึงคริสเตียนสมัยแรกดังนี้: “ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบว่าพวกที่ถือลัทธินี้ก็ถูกติเตียนทุกแห่ง” (กิจการ 28:22) ในศตวรรษที่สอง เซลซัส คนนอกรีตได้อ้างว่าศาสนาคริสเตียนดึงดูดเฉพาะกากสังคมมนุษย์. มีการพูดคล้ายกันเกี่ยวกับพยานพระยะโฮวาว่า “ส่วนใหญ่แล้ว พวกเขาได้สมาชิกจากคนถูกตัดออกจากสังคมของเรา.” เอากุสตุส เนอันเดอร์ นักประวัติศาสตร์คริสต์จักรได้รายงานว่า “พวกคริสเตียนถูกตราหน้าว่าเป็นดั่งคนที่ตายแล้วต่อโลก และไร้ประโยชน์สำหรับกิจการใด ๆ ทั้งสิ้นในชีวิต . . . และมีการถามว่าธุระการงานของชีวิตจะเป็นไปอย่างไร หากทุกคนเป็นอย่างพวกเขา?” เนื่องจากพยานพระยะโฮวาละเว้นไม่เข้าไปร่วมการเมือง พวกเขาจึงถูกกล่าวหาบ่อย ๆ ว่าเป็นคนไร้ประโยชน์ในสังคมมนุษย์. แต่เขาจะเป็นคนดำเนินงานทางการเมืองอย่างแข็งขันได้อย่างไร และในเวลาเดียวกันก็สนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้าว่าเป็นความหวังอย่างเดียวของมนุษยชาติ? พยานพระยะโฮวาจำคำพูดของอัครสาวกเปาโลใส่ใจไว้เสมอที่ว่า “จงร่วมการยากลำบากด้วยกันกับข้าพเจ้าดุจดังทหารอันดีของพระเยซูคริสต์. ไม่มีทหารคนใด, เมื่อเข้าประจำการแล้ว, จะไปห่วงใยกับการทำมาหากินของเขา, เพื่อผู้ที่ได้ลงทะเบียนเขาไว้จะได้ชอบใจ.”—2 ติโมเธียว 2:3, 4.
12. เกี่ยวด้วยการแยกตัว พยานพระยะโฮวาคล้ายคลึงกับคริสเตียนสมัยแรกในแง่มุมสำคัญอะไร?
12 ศาสตราจารย์ เค. เอส. ลาตูเรตต์ เขียนในหนังสือประวัติศาสนาคริสเตียน (ภาษาอังกฤษ) ว่า “ประเด็นหนึ่งซึ่งคริสเตียนสมัยแรกแตกต่างกันกับโลกของกรีกและโรมันนั้นได้แก่การมีส่วนในสงคราม. เพราะในช่วงสามศตวรรษแรกนั้นไม่เคยมีข้อเขียนเกี่ยวกับคริสเตียนซึ่งรอดมาถึงสมัยของเราที่ยอมให้คริสเตียนมีส่วนในสงคราม.” หนังสือของเอ็ดเวิร์ด กิบบอน ชื่อประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเสื่อมถอยและความล่มจมของจักรภพโรมัน (ภาษาอังกฤษ) บอกว่า “เป็นไปไม่ได้ที่คริสเตียนจะเข้ารับตำแหน่งในกองทัพ ของผู้มีอำนาจปกครองแผ่นดิน หรือของเจ้านาย นอกเสียจากว่า เขาได้สละหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์อันสูงกว่า.” ทำนองเดียวกัน พยานพระยะโฮวารับเอาฐานะความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และเขาปฏิบัติตามหลักการต่าง ๆ ของพระคัมภีร์ที่กล่าวโดยย่อในยะซายา 2:2-4 และมัดธาย 26:52.
13. การกล่าวโทษเรื่องอะไรที่ได้เพ่งเล็งมายังพยานพระยะโฮวา แต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร?
13 พยานพระยะโฮวาถูกฝ่ายปรปักษ์กล่าวหาว่าทำให้เกิดการแตกแยกในครอบครัว. จริง มีบางครอบครัวแตกแยกกันเมื่อสมาชิกคนหนึ่งหรือมากกว่าเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวา. พระเยซูทรงบอกไว้ล่วงหน้าว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น. (ลูกา 12: 51-53) อย่างไรก็ดี สถิติชี้ว่าการสมรสที่แตกแยกกันเนื่องด้วยเหตุนี้เป็นข้อยกเว้น. ตัวอย่างเช่น ในท่ามกลางพยานพระยะโฮวาที่ประเทศฝรั่งเศส คู่สมรสหนึ่งในสามคู่เป็นคู่สมรสซึ่งฝ่ายหนึ่งไม่ใช่พยานฯ. กระนั้น อัตราการหย่าในกลุ่มคู่สมรสซึ่งฝ่ายหนึ่งไม่ใช่พยานฯก็ไม่สูงไปกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ. ทำไม? อัครสาวกเปาโลและเปโตรได้ให้คำแนะนำที่ดีโดยการดลบันดาลแก่คริสเตียนที่สมรสกับผู้ไม่เชื่อ และพยานพระยะโฮวาก็อุตส่าห์กระทำตามคำแนะนำของท่าน. (1 โกรินโธ 7:12-16; 1 เปโตร 3:1-4) หากคู่สมรสที่ไม่มีความเชื่ออย่างเดียวกันมาถึงขั้นหย่ากัน เกือบทุกรายฝ่ายริเริ่มมักจะไม่ใช่พยานฯ. ในทางตรงกันข้าม ชีวิตสมรสหลายพันรายอยู่ด้วยกันยืด ไม่มีการหย่าร้าง เพราะคู่สมรสเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวาและได้เริ่มนำเอาหลักการต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลมาใช้ในชีวิตของเขา.
คริสเตียน ไม่ใช่ผู้ที่เชื่อในพระตรีเอกานุภาพ
14. คริสเตียนสมัยแรกถูกกล่าวโทษอย่างไร เหตุใดเรื่องนี้เป็นสิ่งแปลก?
14 เป็นสิ่งแปลกที่ว่าการกล่าวโทษอย่างหนึ่งในจักรวรรดิโรมันหาว่าคริสเตียนสมัยแรกเป็นพวกอเทวนิยม. ดร. เอากุสตุส เนอันเดอร์ เขียนว่า “พวกที่ไม่เชื่อพระเจ้า พวกอเทวนิยม . . . เป็นสมญาที่ผู้คนเรียกพวกคริสเตียน.” เป็นเรื่องแปลกอะไรเช่นนั้น ที่คริสเตียนซึ่งนมัสการพระผู้สร้าง ซึ่งทรงพระชนม์อยู่ และไม่ใช่พระเจ้ายะซายา 37:19.
หลายองค์ กลับถูกขนานนามว่าเป็นพวกอเทวนิยม โดยชาวนอกรีตที่นมัสการ “รูปเหล่านั้นไม่ใช่พระเที่ยงแท้, แต่เป็นพระที่ทำด้วยไม้บ้าง, หินบ้าง, ซึ่งเป็นเพียงฝีมือมนุษย์.”—15, 16. (ก) นักศาสนาบางคนได้กล่าวพาดพิงถึงพยานพระยะโฮวาอย่างไร แต่เรื่องนี้ก่อให้เกิดคำถามอะไร? (ข) อะไรแสดงว่าพยานพระยะโฮวาเป็นคริสเตียนแท้?
15 น่าแปลกพอ ๆ กันคือข้อเท็จจริงที่ว่าผู้มีอำนาจทางการปกครองในคริสต์ศาสนจักรสมัยนี้ปฏิเสธไม่รับรองพยานพระยะโฮวาว่าเป็นคริสเตียน. เพราะเหตุใด? เพราะพยานฯไม่ยอมรับรองพระตรีเอกานุภาพ. ดังคำนิยามที่มีอคติของคริสต์ศาสนจักรว่า “คริสเตียนคือผู้ที่รับเอาพระคริสต์เป็นพระเจ้า.” ตรงกันข้ามกับข้อนี้ พจนานุกรมทันสมัยฉบับหนึ่งนิยามคำ “คริสเตียน” คือ “บุคคลซึ่งเชื่อในพระเยซูคริสต์และปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์” และ “ศาสนาคริสเตียน” คือ “ศาสนาซึ่งยึดคำสอนของพระเยซูคริสต์เป็นหลัก และเชื่อว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า.” กลุ่มไหนคู่ควรกับคำนิยามนี้มากที่สุด?
16 พยานพระยะโฮวารับรองพยานหลักฐานจากพระเยซูโดยตรงที่ว่าพระองค์คือผู้ใด. พระองค์ตรัสว่า “เราเป็นบุตรของพระเจ้า” ไม่ใช่ “เราพระบุตรเป็นพระเจ้า.” (โยฮัน 10:36; เทียบกับโยฮัน 20:31.) พยานพระยะโฮวารับเอาคำกล่าวของอัครสาวกเปาโลโดยการดลใจเกี่ยวกับพระคริสต์ที่ว่า “ผู้ซึ่งถึงแม้พระองค์จะดำรงอยู่ในลักษณะของพระเจ้าก็ตาม มิได้ทรงคำนึงถึงการที่จะแย่งชิง กล่าวคือการที่พระองค์จะได้เท่าเทียมกับพระเจ้า.” * (ฟิลิปปอย 2:6, ล.ม.) หนังสือ ลัทธินอกรีตในศาสนาคริสเตียนของเรา (ภาษาอังกฤษ) แถลงดังนี้: “พระเยซูคริสต์ไม่เคยตรัสเรื่องพระตรีเอกานุภาพ และคำ ‘พระตรีเอกานุภาพ’ ไม่ปรากฏอยู่ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เลย. คริสต์จักรรับเอาความคิดนั้นเข้ามาเมื่อสามร้อยปีหลังจากองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราสิ้นพระชนม์แล้ว และแหล่งกำเนิดของความคิดนั้นเป็นของชนนอกรีตทั้งสิ้น.” พยานพระยะโฮวารับรองหลักคำสอนแห่งคัมภีร์ไบเบิลที่ว่าด้วยเรื่องพระคริสต์. พวกเขาเป็นคริสเตียน ไม่ใช่ผู้ที่เชื่อในพระตรีเอกานุภาพ.
ไม่ใช่ขบวนการรวมศาสนา
17. ทำไมพยานพระยะโฮวาไม่ร่วมมือกับขบวนการรวมศาสนา หรือการรวมความเชื่อ?
17 การกล่าวโทษพยานพระยะโฮวาอีกสองเรื่องคือว่าพยานฯไม่ยอมร่วมขบวนการรวมศาสนา และว่าพยานฯเข้าร่วมกิจกรรมที่เรียกว่า “การมุ่งมั่นอย่างก้าวร้าวให้คนเปลี่ยนศาสนา.” คริสเตียนสมัยแรกเคยถูกติเตียนอย่างสาหัสสากรรจ์มาแล้วทั้งสองประเด็น. คริสต์ศาสนจักร นับรวมส่วนประกอบทั้งคาทอลิก ออร์โทด็อกซ์ และโปรเตสแตนต์ ต่างก็เป็นส่วนของโลกนี้อย่างไม่อาจปฏิเสธได้. เช่นเดียวกับพระเยซู พยานพระยะโฮวา “ไม่เป็นส่วนของโลก.” (โยฮัน 17:14, ล.ม.) พวกเขาจะพาตัวเองเข้าเป็นพันธมิตรได้อย่างไรด้วยการร่วมในขบวนการรวมความเชื่อกับองค์การศาสนาที่ส่งเสริมการประพฤติและความเชื่อซึ่งไม่บ่งลักษณะคริสเตียน?
18. (ก) เหตุใดไม่อาจติเตียนพยานพระยะโฮวาได้สำหรับการที่เขาอ้างว่าได้ปฏิบัติศาสนาแท้เพียงศาสนาเดียว? (ข) ขณะที่เขาเชื่อว่าเขามีศาสนาแท้ ชาวโรมันคาทอลิกไม่มีอะไร?
18 ใครอาจตำหนิพยานพระยะโฮวาได้ด้วยเหตุผลที่
ฟังขึ้นเพราะเขาเชื่ออย่างคริสเตียนสมัยแรก ที่ว่าพวกเขาพวกเดียวปฏิบัติศาสนาแท้? ถึงแม้คริสต์จักรคาทอลิก ทั้งที่อ้างหลอก ๆ ว่าจะร่วมมือกับขบวนการรวมศาสนาเช่นนั้น ก็ประกาศว่า “เราเชื่อว่าศาสนาแท้ศาสนาเดียวนี้ยังดำรงสืบไปในคริสต์จักรคาทอลิก และแขวงที่อยู่ภายในอำนาจสันตะปาปา ซึ่งพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบหมายให้แผ่ศาสนาไปถึงคนทุกชนิด เมื่อพระองค์ตรัสแก่เหล่าอัครสาวกว่า ‘เหตุฉะนั้น จงออกไปทำให้ผู้คนจากทุกชาติเป็นสาวก.’” (สภาวาติกัน ที่สอง, “คำแถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพทางศาสนา”) แต่เห็นได้ชัดว่า ความเชื่ออย่างที่ว่านี้ไม่พอจะทำให้ชาวคาทอลิกเกิดความกระตือรือร้นอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยสำหรับการออกไปสอนผู้คนเป็นสาวก.19. (ก) พยานพระยะโฮวาตั้งใจแน่วแน่จะทำอะไร พร้อมด้วยเจตนารมณ์แบบไหน? (ข) จะมีการพิจารณาเรื่องอะไรในบทความต่อจากนี้?
19 พยานพระยะโฮวามีความกระตือรือร้นดังกล่าว. พวกเขาตั้งใจแน่วแน่จะให้คำพยานต่อ ๆ ไปนานตราบเท่าที่พระเจ้าทรงประสงค์จะให้เขาทำเช่นนั้น. (มัดธาย 24:14) พวกเขาพูดให้คำพยานด้วยความกระตือรือร้นแต่ไม่ก้าวร้าว. การให้คำพยานของเขาได้รับแรงกระตุ้นจากความรักที่มีต่อเพื่อนบ้าน ไม่ใช่เนื่องจากการเกลียดชังเพื่อนมนุษย์. พวกเขาหวังว่าจะมีมนุษย์มากเท่าที่เป็นไปได้จะรอดชีวิต. (1 ติโมเธียว 4:16) เช่นเดียวกันกับคริสเตียนสมัยแรก พยานฯอุตส่าห์ “กระทำตนให้เป็นที่สงบสุขแก่คนทั้งปวง.” (โรม 12:18) พวกเขาจัดแจงอย่างไรในเรื่องนี้ เป็นหัวข้อที่จะพิจารณากันในบทความต่อไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 16 ดูการพิจารณาข้อคัมภีร์นี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักตรีเอกานุภาพ ในวารสาร เดอะ ว็อชเทาเวอร์ ฉบับ 15 มิถุนายน 1971 หน้า 355-356.
เพื่อเป็นการทบทวน
▫ อะไรเป็นสิ่งบ่งบอกลักษณะคริสเตียนสมัยแรก และพยานพระยะโฮวาคล้ายคลึงกับพวกเขาอย่างไร?
▫ พยานพระยะโฮวาแสดงตัวเป็นพลเมืองดีในด้านใดบ้าง?
▫ ชนชั้นปกครองมีทัศนะเช่นไรต่อคริสเตียนสมัยแรก และต่างกันไหมในยุคปัจจุบัน?
▫ ความเชื่อมั่นของพยานพระยะโฮวาที่ว่าเขามีความจริงนั้นเป็นแรงกระตุ้นพวกเขาให้ทำอะไร?
[คำถาม]
[รูปภาพหน้า 12]
พยานพระยะโฮวาตั้งใจแน่วแน่จะให้คำพยานต่อ ๆ ไปตราบเท่าที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้เขาทำเช่นนั้น
[รูปภาพหน้า 17]
ปีลาตกล่าวว่า “ดูซิ! ลูกผู้ชาย”—ท่านผู้นี้ซึ่งไม่เป็นส่วนของโลก
[ที่มาของภาพ]
“Ecce Homo” by A. Ciseri; Florence, Galleria d’ Arte Moderna/Alinari/Art Resource, N.Y.