คำถามจากผู้อ่าน
กล่าวกันว่าเดี๋ยวนี้การทำหมันสามารถแก้ได้ตามคำขอ คริสเตียนจะมองวิธีเหล่านั้นว่าเป็นทางเลือกสำหรับการคุมกำเนิดไหม?
การทำหมันได้กลายเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในการวางแผนครอบครัว. สำหรับหลายคน การเป็นที่ยอมรับได้ของวิธีการนี้ดูเหมือนกำหนดโดยสังคมและภูมิหลังทางการศึกษา รวมทั้งโดยทัศนะทางศาสนา. เรื่องความเชื่อทางศาสนาเข้ามามีบทบาทกับพยานพระยะโฮวาซึ่งมีความปรารถนาเหมือนท่านผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ที่ว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา ขอโปรดสั่งสอนข้าพเจ้าให้รู้จักวิถีทางของพระองค์ และทรงนำข้าพเจ้าไปตามทางแห่งความซื่อตรง.” (บทเพลงสรรเสริญ 27:11, ล.ม.) มีอะไรเกี่ยวพันอยู่ด้วยในวิธีการทำหมัน?
การทำหมันชายเพื่อคุมกำเนิดเป็นการตัดท่ออสุจิ. สายหรือท่ออสุจิเล็กๆสองเส้นในถุงอัณฑะจะถูกตัดและทำให้ตัน. การทำหมันแบบนี้ทำได้โดยวิธีทางการแพทย์หลายอย่าง แต่เจตนาคือเพื่อทำให้ตัวอสุจิผ่านออกจากอัณฑะไม่ได้. การทำหมันหญิงเป็นการผูกท่อ. ตามปกติวิธีนี้ทำโดยตัดและผูก (หรือทำให้ไหม้) เพื่อปิดท่อรังไข่ซึ่งนำไข่จากรังไข่มายังมดลูก.
ถือกันมานานแล้วว่าวิธีการเหล่านี้เป็นแบบถาวร กล่าวคือ วิธีการดังกล่าวทำให้เป็นหมันแบบที่แก้ไม่ได้. แต่มีบางคนที่เนื่องด้วยความเสียใจต่อวิธีการของตนหรือเนื่องจากผลของสภาพการณ์ใหม่ๆจึงได้เสาะหาการช่วยเหลือทางแพทย์เพื่อแก้หมันชายหรือหมันหญิง. ด้วยการประดิษฐ์เครื่องมือเฉพาะทางต่างๆและจุลศัลยกรรม การพยายามแก้หมันจึงประสบความสำเร็จมากขึ้น. ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่อ่านว่า กับผู้ป่วยอาสาที่คัดเลือกแล้ว จะสามารถประสบผลสำเร็จ 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ในการแก้หมันชายโดยการเชื่อมต่อปลายท่อเล็กจิ๋วที่ถูกตัดเหล่านั้นเสียใหม่. มีการอ้างว่าอัตราการประสบผลสำเร็จสำหรับการแก้หมันหญิงนั้นมีถึง 60 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์. บางคนที่รู้เรื่องนี้รู้สึกว่า ไม่จำเป็นต้องมองว่าการทำหมันเป็นเรื่องถาวรอีกต่อไปแล้ว. พวกเขาคงคิดว่า การตัดท่ออสุจิและการผูกท่อรังไข่นั้นถือได้ว่าอยู่ในประเภทเดียวกับการกินยาคุมกำเนิด, ถุงยางอนามัย, และแผ่นยางครอบปากมดลูกสำหรับคุมกำเนิด ซึ่งเป็นวิธีการต่างๆที่สามารถเลิกใช้ถ้าปรารถนาจะตั้งครรภ์. แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ควรมองข้ามบางแง่มุมที่มีเหตุผล.
ประการหนึ่งคือ สิ่งที่คาดหมายให้มีการทำให้คืนสภาพเดิมอาจได้รับผลเสียหายรุนแรงจากปัจจัยต่างๆเช่น ปริมาณความเสียหายต่อท่อต่างๆในระหว่างขั้นตอนการทำหมัน, ปริมาณท่อที่ถูกตัดออกหรือแผลเป็น, จำนวนปีที่ผ่านไปนับตั้งแต่มีการทำหมัน, และในกรณีของการตัดท่ออสุจิ ได้เกิดสิ่งต่อต้านตัวอสุจิของชายคนนั้นขึ้นมาหรือไม่. และที่ต้องไม่มองข้ามคือข้อเท็จจริงที่ว่า ในหลายแห่งอาจหาอุปกรณ์สำหรับจุลศัลยกรรมไม่ได้ หรืออาจรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว. ดังนั้น หลายคนที่อาจอยากแก้หมันเหลือเกินจึงไม่อาจทำได้. สำหรับพวกเขา เรื่องก็จบแค่นั้น. * ฉะนั้น อัตราการแก้หมันดังกล่าวจึงเป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น ไม่ใช่อัตราเฉลี่ยที่เชื่อถือได้.
ข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวข้องกับความเป็นจริง. บทความหนึ่งเกี่ยวกับการแก้หมันชายซึ่งตีพิมพ์ในสหรัฐให้ข้อคิดเห็นว่า หลังจากการผ่าตัดที่เสียค่าใช้จ่ายกว่า 480,000 บาท “มีผู้ป่วยเพียง 63 เปอร์เซ็นต์สามารถทำให้คู่ของตนตั้งครรภ์ได้.” นอกจากนั้น มีแค่ “หกเปอร์เซ็นต์ของผู้ชายซึ่งรับการตัดท่ออสุจิที่หาทางทำให้คืนสภาพเดิมในภายหลัง.” ในการวิจัยเกี่ยวกับยุโรปตอนกลางซึ่งดำเนินการในเยอรมนี ผู้ชายที่ได้เลือกทำหมันซึ่งหาทางแก้หมันในภายหลังนั้นมีราว 3 เปอร์เซ็นต์. หากแม้นว่ามีครึ่งหนึ่งของผู้ที่พยายามทำนั้นจะประสบความสำเร็จ นั่นคงหมายความว่า สำหรับ 98.5 เปอร์เซ็นต์ การทำหมันชายเท่ากับเป็นการทำหมันแบบถาวร. และอัตราคงจะสูงกว่านี้ในดินแดนที่มีจุลศัลยแพทย์น้อยมากหรือไม่มีเลย.
ฉะนั้น จึงไม่เป็นการสอดคล้องกับความเป็นจริงถ้าจะดูเบาการทำหมันชายหรือหญิงราวกับว่าเป็นการคุมกำเนิดชั่วคราว. และสำหรับคริสเตียนที่จริงใจ มีแง่มุมอื่นอีกที่พึงพิจารณา.
จุดสำคัญคือ ความสามารถในการสืบพันธุ์เป็นของประทานจากพระผู้สร้างของเรา. พระประสงค์แรกเดิมของเยเนซิศ 1:28, ล.ม.) หลังจากมหาอุทกภัยได้ลดจำนวนประชากรโลกลงเหลือแปดคน พระเจ้าตรัสซ้ำพระบัญชาเดิมนั้นอีกครั้ง. (เยเนซิศ 9:1) พระเจ้ามิได้ตรัสซ้ำพระบัญชานั้นแก่ชาติยิศราเอล แต่ชาวยิศราเอลถือว่าการมีลูกหลานเป็นเรื่องน่าปรารถนาอย่างมากทีเดียว.—1 ซามูเอล 1:1-11; บทเพลงสรรเสริญ 128:3.
พระองค์รวมถึงการให้กำเนิดโดยมนุษย์สมบูรณ์ซึ่งจะ “บรรจุให้เต็มแผ่นดินโลกและมีอำนาจเหนือแผ่นดินโลก.” (พระบัญญัติที่พระเจ้าทรงประทานแก่ชาติยิศราเอลมีข้อบ่งชี้เกี่ยวกับความเป็นห่วงที่พระองค์ทรงมีต่อการให้กำเนิดของมนุษย์. ตัวอย่างเช่น หากชายใดที่สมรสแล้วเสียชีวิตก่อนให้กำเนิดบุตรชายเพื่อสืบเชื้อสาย พี่ชายหรือน้องชายของชายคนนั้นต้องให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งโดยสมรสกับภรรยาชายคนนั้น. (พระบัญญัติ 25:5) ที่เกี่ยวข้องมากกว่านั้นคือพระบัญญัติเกี่ยวกับภรรยาที่พยายามช่วยสามีนางในการต่อสู้. หากนางเค้นอวัยวะเพศศัตรูของสามีนาง นางต้องถูกตัดมือ; เรื่องนี้สำคัญ พระเจ้าไม่ทรงเรียกร้องให้ทำลายอวัยวะสืบพันธุ์ของนางหรือของสามีนางเพื่อเป็นการแก้แค้นแบบตาต่อตา. (พระบัญญัติ 25:11, 12) เห็นชัดแจ้งว่าพระบัญญัติข้อนี้ทำให้มีความนับถือต่ออวัยวะสืบพันธุ์; อวัยวะเหล่านั้นต้องไม่ถูกทำลายโดยไม่จำเป็น. *
เราทราบว่าคริสเตียนไม่อยู่ใต้พระบัญญัติของชาติยิศราเอล ดังนั้น กฎข้อบังคับที่พระบัญญัติ 25:11, 12 จึงไม่ผูกมัดพวกเขา. พระเยซูทั้งมิได้ทรงบัญชาหรือบ่งชี้ว่าเหล่าสาวกของพระองค์ต้องสมรสและมีบุตรหลานมากๆเท่าที่ทำได้ ซึ่งคู่สมรสหลายคู่ได้พิจารณาเมื่อตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการคุมกำเนิดหรือไม่. (มัดธาย 19:10-12) อัครสาวกเปาโลได้สนับสนุน ‘พวกแม่ม่ายสาวๆที่มีอารมณ์รักใคร่ให้สมรสและให้กำเนิดบุตร.’ (1 ติโมเธียว 5:11-14) ท่านไม่ได้กล่าวถึงการทำหมันแบบถาวรของคริสเตียน—คือการที่พวกเขาสมัครใจสละสมรรถนะของตนในการให้กำเนิดบุตร.
คริสเตียนควรใคร่ครวญข้อบ่งชี้เหล่านั้นที่ว่า พระเจ้าทรงประเมินค่าความสามารถในการสืบพันธุ์ของพวกเขาไว้สูง. สามีภรรยาแต่ละคู่ต้องตัดสินใจว่าเขาทั้งสองจะใช้วิธีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสมหรือไม่และเมื่อไร. เป็นที่ยอมรับว่าการตัดสินใจของพวกเขาจะถูกถือว่ามีน้ำหนักเป็นพิเศษถ้ามีคำรับรองทางแพทย์ที่ได้รับการยืนยันว่า มารดาหรือบุตรเผชิญความเสี่ยงร้ายแรงด้านการแพทย์กับการตั้งครรภ์ในอนาคต ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตด้วยซ้ำ. บางคนที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นจำยอมให้ทำหมันดังที่อธิบายข้างต้นเพื่อทำให้แน่ใจว่า จะไม่มีการตั้งครรภ์ใดๆที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมารดา (ผู้ซึ่งอาจมีบุตรแล้ว) หรือชีวิตของบุตรซึ่งอาจกำเนิดในเวลาต่อมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตรายต่อชีวิต.
แต่เป็นเรื่องแน่นอนว่าคริสเตียนที่ไม่เผชิญความเสี่ยงที่พิเศษเฉพาะดังกล่าวคงต้องการจะใช้ ‘สุขภาพจิตที่ดี’ และปรับปรุงความคิดและการกระทำของตนตามการประเมินค่าของพระเจ้าต่อสมรรถนะในการสืบพันธุ์. (1 ติโมเธียว 3:2, ล.ม.; ติโต 1:8; 2:2, 5-8) ทั้งนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นความสามารถอย่างอาวุโสในการตอบรับข้อบ่งชี้ในพระคัมภีร์. แต่ถ้าเกิดเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าคริสเตียนไม่นำพาการประเมินค่าของพระเจ้าอย่างขาดการไตร่ตรองล่ะจะว่าอย่างไร? คนอื่นๆจะไม่สงสัยหรือว่าเขา (หรือเธอ) เป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่ โดยมีชื่อเสียงดีในการตัดสินใจอย่างสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิล? แน่ละ รอยตำหนิที่รบกวนใจซึ่งมีต่อชื่อเสียงของคนเรานั้นคงส่งผลกระทบต่อการที่ผู้รับใช้จะมีคุณวุฒิสำหรับสิทธิพิเศษในงานรับใช้ แม้ว่าคงไม่เป็นเช่นนั้นถ้าเขาได้ให้มีการทำตามกระบวนการดังกล่าวโดยขาดความรู้.—1 ติโมเธียว 3:7.
^ วรรค 6 “ความพยายามทางศัลยกรรมเพื่อต่อ [ท่ออสุจิ] ใหม่นั้นมีอัตราการประสบความสำเร็จอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ และมีหลักฐานบางประการชี้ว่าอาจประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยการปรับปรุงเทคนิคด้านจุลศัลยกรรม. ถึงกระนั้น ควรถือว่าการทำหมันโดยการตัดท่ออสุจิ เป็นเรื่องถาวร.” (สารานุกรมบริแทนนิกา) “ควรถือว่าการทำหมันเป็นกระบวนการถาวร. ถึงแม้ผู้ป่วยเคยได้ยินเรื่องการแก้หมัน ศัลยกรรมเพื่อเชื่อมต่อเนื้อเยื่อที่ขาดต้องเสียค่าใช้จ่ายแพง และไม่อาจรับประกันความสำเร็จ. สำหรับสตรีที่ผ่านการแก้หมันแบบผูกท่อ ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในท่อรังไข่มีสูงทีเดียว.”—คอนเทมโพรารี โอบี/จีวายเอ็น มิถุนายน 1998.
^ วรรค 10 พระบัญญัติอีกข้อหนึ่งที่อาจดูเหมือนเกี่ยวข้องด้วยกล่าวว่า ห้ามมิให้ชายใดที่อวัยวะสืบพันธุ์ของตนเสียหายอย่างร้ายแรงเข้ามาในประชาคมของพระเจ้า. (พระบัญญัติ 23:1) อย่างไรก็ตาม หนังสือการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า ปรากฏชัดว่ากรณีนี้ “เกี่ยวข้องกับการเจตนาตอนเพื่อจุดมุ่งหมายที่ผิดศีลธรรมเช่น การรักร่วมเพศ.” ฉะนั้น พระบัญญัติข้อนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการตอนหรือการทำอะไรที่มีผลเท่ากันเพื่อการคุมกำเนิด. การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ ยังกล่าวอีกว่า “อย่างที่ชูใจ พระยะโฮวาทรงบอกล่วงหน้าถึงเวลาที่พระองค์จะทรงยอมรับพวกขันทีเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ และหากเชื่อฟัง จะมีชื่อที่ดีกว่าเหล่าบุตรชายและบุตรหญิง. ด้วยการที่พระเยซูทรงยกเลิกพระบัญญัติโดยสิ้นเชิง ทุกคนที่สำแดงความเชื่อ ไม่ว่าสถานะหรือสภาพในอดีตของเขาเป็นเช่นไร จึงอาจมาเป็นเหล่าบุตรฝ่ายวิญญาณของพระเจ้าได้. ความแตกต่างทางเนื้อหนังถูกขจัด.—ยซา. 56:4, 5; โย. 1:12.”