พระยะโฮวาเป็นที่พึ่งพำนักและเป็นกำลังของผม
เรื่องราวชีวิตจริง
พระยะโฮวาเป็นที่พึ่งพำนักและเป็นกำลังของผม
เล่าโดยมาร์เซล ฟิลโท
“ถ้าคุณแต่งงานกับเขา คุณต้องติดคุกแน่.” นั่นเป็นคำพูดของบางคนที่เคยกล่าวแก่ผู้หญิงซึ่งผมมีแผนจะแต่งงานด้วย. ขอให้ผมชี้แจงว่าทำไมเขาพูดเช่นนั้น.
ตอนที่ผมเกิดเมื่อปี 1927 มณฑลควิเบกในแคนาดาเป็นถิ่นยึดครองของชาวคาทอลิก. ประมาณสี่ปีหลังจากนั้น เซซิล ดือฟูร์ ซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาที่ทำการเผยแพร่เต็มเวลาเริ่มมาเยี่ยมที่บ้านของเราในเมืองมอนทรีออล. ด้วยเหตุนี้ เธอจึงถูกเพื่อนบ้านของเราข่มขู่บ่อย ๆ. ที่จริง หลายครั้งเธอเคยถูกจับและได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้ายเพราะการเผยแพร่ข่าวสารจากคัมภีร์ไบเบิล. ดังนั้น ต่อมาไม่นาน เราจึงได้เรียนรู้ความจริงแห่งคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เจ้าจะตกเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังจากทุกชาติเพราะนามของเรา.”—มัดธาย 24:9, ล.ม.
สมัยนั้น หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ครอบครัวชาวฝรั่งเศสในแคนาดาจะละทิ้งศาสนาคาทอลิก. แม้คุณพ่อคุณแม่ของผมไม่เคยมาเป็นพยานพระยะโฮวาที่รับบัพติสมา แต่ไม่นานเท่าไรท่านก็ลงความเห็นว่าคำสอนของคริสตจักรคาทอลิกไม่สอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิล. ดังนั้น ท่านจึงได้สนับสนุนลูกแปดคนของท่านให้อ่านสรรพหนังสือที่พยานพระยะโฮวาพิมพ์ออกมา ทั้งยังให้การเกื้อหนุนพวกเราที่ยืนหยัดเพื่อความจริงแห่งคัมภีร์ไบเบิล.
ยืนมั่นในยามยากลำบาก
ปี 1942 ขณะที่ผมยังเข้าเรียนในโรงเรียน ผมเริ่มสนใจอย่างจริงจังที่จะศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ตอนนั้นมีการสั่งห้ามกิจการของพยานพระยะโฮวาในประเทศแคนาดา เนื่องจากพยานฯ ดำเนินตามตัวอย่างของคริสเตียนรุ่นแรกและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวในการสงครามของประเทศต่าง ๆ. (ยะซายา 2:4; มัดธาย 26:52) โรลันด์ พี่ชายคนโตของผมถูกส่งตัวเข้าค่ายแรงงาน เพราะเขาไม่ยอมจับอาวุธในช่วงสงครามโลก ซึ่งตอนนั้นการสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด.
ในเวลาไล่เลี่ยกัน คุณพ่อให้หนังสือภาษาฝรั่งเศสเล่มหนึ่งแก่ผมซึ่งบรรยายความทุกข์ทรมานของพยานฯ ชาวเยอรมัน เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมสนับสนุนการรณรงค์ด้าน * ผมเกิดแรงกระตุ้นที่จะเข้าร่วมกลุ่มกับคนเหล่านั้นที่เป็นแบบอย่างในด้านความกล้าหาญและความซื่อสัตย์มั่นคง และผมเริ่มเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของพยานพระยะโฮวาที่จัดขึ้นในบ้านส่วนตัว. ในไม่ช้า ผมได้รับคำเชิญชวนให้เข้าส่วนร่วมในงานประกาศ. ผมตอบรับคำเชิญพร้อมกับตระหนักแน่แก่ใจว่าผมอาจถูกจับและติดคุก.
การทหารของ อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์.หลังจากได้ทูลอธิษฐานขอกำลังแล้ว ผมเคาะประตูบ้านหลังแรก. สตรีใจดีคนหนึ่งออกมา และหลังจากแนะนำตัว ผมได้อ่านพระธรรม 2 ติโมเธียว 3:16 ที่ว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนพระเจ้าได้ทรงประสาทให้ย่อมเป็นประโยชน์.”
ผมถามว่า “คุณสนใจอยากรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้นไหม?”
สตรีผู้นั้นตอบว่า “ค่ะ อยากรู้.”
ผมจึงบอกเธอว่าจะพาเพื่อนซึ่งรู้คัมภีร์ไบเบิลดีกว่ามาเยี่ยม และสัปดาห์ต่อมาผมก็ทำอย่างที่พูด. หลังจากประสบการณ์ครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกมั่นใจมากขึ้น และเรียนรู้ว่าเราไม่ได้ทำงานรับใช้ด้วยพละกำลังของเราเอง. ดังที่อัครสาวกเปาโลกล่าว เราทำเช่นนั้นด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา. เป็นสิ่งสำคัญอย่างแท้จริงที่เราพึงยอมรับว่า “กำลังที่มากกว่าปกติจะเป็นของพระเจ้า และมิใช่มาจากตัวเราเอง.”—2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.
หลังจากนั้น การประกาศจึงกลายเป็นงานส่วนหนึ่งในชีวิตของผม รวมทั้งการถูกจับกุมและติดคุก. ไม่แปลกที่มีคนพูดปรามคนที่จะมาเป็นเจ้าสาวของผมว่า “ถ้าคุณแต่งงานกับเขา คุณต้องติดคุกแน่”! ทว่า ประสบการณ์ดังกล่าวก็ใช่ว่าจะหนักหนาสาหัสจริง ๆ. หลังจากนอนในห้องขังหนึ่งคืน เพื่อนพยานฯ ก็มักจะประกันตัวพวกเราออกมา.
การตัดสินใจที่สำคัญ
เดือนเมษายน 1943 ผมได้อุทิศตัวแด่พระยะโฮวาและแสดงสัญลักษณ์การอุทิศตัวนี้โดยการรับบัพติสมา. ครั้นแล้ว เดือนสิงหาคม 1944 ผมได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่เป็นครั้งแรกที่เมืองบัฟฟาโล นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แค่ข้ามพรมแดนแคนาดาเท่านั้น. มีผู้เข้าร่วมประชุม 25,000 คน และระเบียบวาระกระตุ้นความปรารถนาของผมที่จะเป็นไพโอเนียร์ ชื่อเรียกพยานพระยะโฮวาผู้ทำการเผยแพร่เต็มเวลา. เดือนพฤษภาคม 1945 คำสั่งห้ามงานของพยานพระยะโฮวาในแคนาดาถูกยกเลิก และเดือนถัดมาผมก็เริ่มงานไพโอเนียร์.
อย่างไรก็ดี ยิ่งผมเข้าส่วนร่วมมากขึ้นในงานเผยแพร่ ผมก็ยิ่งติดคุกบ่อยครั้ง. ครั้งหนึ่งผมถูกขังรวมในห้องเดียวกันกับไมก์ มิลเลอร์ ผู้ซึ่งได้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์มานาน. เรานั่งบนพื้นซีเมนต์และคุยกัน. การสนทนาของเราในลักษณะเสริมสร้างฝ่ายวิญญาณหนุนกำลังใจผมเหลือเกิน. แต่หลังจากนั้น ผมมีคำถามเกิดขึ้นในใจทันทีทันใดว่า ‘จะเป็นอย่างไรถ้ามีการเข้าใจผิดระหว่างเราทั้งสองถึงขั้นไม่พูดคุยกัน?’ ช่วงเวลาที่อยู่ในคุกกับพี่น้องที่ฆะลาเตีย 5:15.
รักคนนี้สอนบทเรียนที่ดีเยี่ยมอย่างหนึ่งในชีวิตของผม นั่นคือเราต้องการพี่น้องของเรา และด้วยเหตุนี้ จึงควรให้อภัยซึ่งกันและกันและมีใจกรุณาต่อกัน. มิฉะนั้นก็จะเป็นอย่างที่อัครสาวกเปาโลเขียนดังนี้: “ถ้าท่านทั้งหลายกัดกันและกินเนื้อกัน, จงระวังให้ดี, เกรงว่าจะทำให้กันและกันย่อยยับไป.”—เดือนกันยายน 1945 ผมได้รับเชิญเข้าทำงานที่สำนักงานสาขาของสมาคมว็อชเทาเวอร์ที่เมืองโทรอนโตประเทศแคนาดา ซึ่งเราเรียกว่าเบเธล. กำหนดการเกี่ยวกับฝ่ายวิญญาณที่นั่นเป็นการเสริมสร้างและเสริมความเชื่อให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง. ปีต่อมา ผมได้รับมอบหน้าที่ให้ทำงานในฟาร์มของเบเธล ห่างจากสำนักงานสาขาไปทางเหนือราว ๆ 40 กิโลเมตร. ขณะที่ผมเก็บผลสตรอเบอร์รีกับเด็กสาวชื่อแอน วอลลีเนค ผมสังเกตเห็นไม่เฉพาะรูปโฉมที่สวยงามของเธอเท่านั้น แต่ยังมองเห็นความรักและความกระตือรือร้นของเธอต่อพระยะโฮวาด้วย. สัมพันธภาพพัฒนาขึ้น และเราแต่งงานกันในเดือนมกราคม 1947.
สองปีครึ่งถัดจากนั้น เราทำงานเป็นไพโอเนียร์ในลอนดอน ออนตาริโอ และภายหลังได้ไปที่เกาะเคปเบรตัน ที่นั่นเราได้ช่วยจัดตั้งประชาคมแห่งหนึ่ง. ครั้นแล้ว ในปี 1949 เราได้รับเชิญเข้าเรียนรุ่นที่ 14 ณ โรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด ที่นั่นเราได้รับการฝึกอบรมเป็นมิชชันนารี.
งานมิชชันนารีในควิเบก
ชาวแคนาดาที่จบหลักสูตรของกิเลียดรุ่นก่อนหน้านี้ถูกมอบหมายให้บุกเบิกงานประกาศเผยแพร่ในควิเบก. ปี 1950 เราพร้อมกับอีก 25 คนจากรุ่นที่ 14 ได้สมทบกับพวกเขา. งานด้านมิชชันนารีที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ก่อให้เกิดการข่มเหงและการชุมนุมต่อต้านอย่างรุนแรง โดยการปลุกปั่นของผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิก.
สองวันหลังจากมาถึงเมืองรูน เขตงานมอบหมายแห่งแรกของเราในฐานะมิชชันนารี แอนถูกจับและให้นั่งด้านหลังในรถตำรวจ. นั่นเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับแอน เนื่องจากเธอมาจากชนบทเล็ก ๆ ของจังหวัดแมนิโทบา ประเทศแคนาดา ที่นั่นเธอไม่ค่อยได้พบเห็นตำรวจ. เป็นเรื่องธรรมดาที่เธอรู้สึกหวาดกลัวและนึกถึงถ้อยคำที่ว่า “ถ้าคุณแต่งงานกับเขา คุณต้องติดคุกแน่.” อย่างไรก็ดี ก่อนขับรถออกไป ตำรวจเห็นผมอยู่ใกล้บริเวณนั้น และเช่นเดียวกันเขาก็จับผมให้เข้าไปนั่งกับแอน. เธออุทานออกมาว่า “ฉันดีใจจริง ๆ ที่เจอคุณ!” กระนั้น เธอสงบสติอารมณ์ได้อย่างน่าทึ่งพร้อมกับกล่าวว่า “เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นกับพวกอัครสาวกเพราะการประกาศเรื่องพระเยซู.” (กิจการ 4:1-3; 5:17, 18) ต่อมาในวันเดียวกัน เราได้รับการประกันตัวออกมา.
ประมาณหนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ขณะที่เราเผยแพร่ตามบ้านที่เขตงานมอบหมายแห่งใหม่ของเราในเมืองมอนทรีออล ผมได้ยินเสียงเอะอะโวยวายบนท้องถนนและมองเห็นฝูงชนที่โกรธแค้นพากันขว้างปาก้อนหิน. ตอนที่ผมไปช่วยแอนและเพื่อนของเธอนั้น ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุแล้ว. แทนที่จะจับกุมพวกที่กลุ้มรุมทำร้าย ตำรวจกลับจับแอนพร้อมกับเพื่อนของเธอเสียนี่! ระหว่างอยู่ในห้องขัง แอนเตือนใจพยานฯ ใหม่ว่าตอนนี้แหละพวกเขากำลังประสบความจริงเกี่ยวด้วยคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจะตกเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังจากผู้คนทั้งปวงเพราะนามของเรา.”—มัดธาย 10:22, ล.ม.
มีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่เมืองควิเบก มีคดีฟ้องร้องพยานพระยะโฮวาประมาณ 1,700 คดีในศาลที่รอการพิจารณาตัดสิน. ส่วนใหญ่แล้ว พวกเราถูกฟ้องด้วยข้อหาว่าแจกจ่ายสรรพหนังสือที่ยุยงให้เกิดความไม่สงบ หรือจำหน่ายหนังสือโดยไม่มีใบอนุญาต. เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝ่ายกฎหมายของสมาคมว็อชเทาเวอร์จึงได้ดำเนินการสู้คดีกับรัฐบาลของมณฑลควิเบก. ภายหลังการต่อสู้ทางกฎหมายนานหลายปี พระยะโฮวาทรงโปรดให้เราชนะสองคดีใหญ่ ๆ ตามคำตัดสินของศาลสูงแห่งแคนาดา. เดือนธันวาคม 1950 พวกเราพ้นข้อหาที่ว่าสรรพหนังสือของเรายุยงก่อความไม่สงบ และในเดือนตุลาคม 1953 เราได้สิทธิที่จะจำหน่ายสรรพหนังสือเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลโดยไม่ต้องขออนุญาต. ด้วยวิธีนี้ เราได้เห็นชัดแจ้งว่า โดยแท้แล้วพระยะโฮวาทรงเป็น “ที่พึ่งพำนักและเป็นกำลัง . . . , พระองค์เป็นผู้ทรงช่วยอันเลิศสถิตอยู่ใกล้ในเวลาลำบาก.”—บทเพลงสรรเสริญ 46:1.
เป็นที่น่าสังเกต เมื่อผมเริ่มงานไพโอเนียร์ จำนวนพยานพระยะโฮวาในควิเบกปี 1945 มี 356 คน. จำนวนนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 24,000 กว่าคนในปัจจุบัน! เป็นไปตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลจริง ๆ ที่บอกล่วงหน้าว่า “อาวุธใดก็ตามที่จะสร้างขึ้นต่อสู้เจ้าจะไม่ประสบผลสำเร็จ และลิ้นทุกลิ้นซึ่งจะยะซายา 54:17, ล.ม.
ขึ้นต่อสู้เจ้าในการพิพากษา เจ้าจะกล่าวโทษ.”—งานของเราในประเทศฝรั่งเศส
เดือนกันยายน ปี 1959 ผมกับแอนได้รับเชิญไปปฏิบัติงานในสำนักเบเธลที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นผมรับหน้าที่ให้ดูแลฝ่ายการพิมพ์. ก่อนเราไปถึงเมื่อเดือนมกราคม 1960 งานพิมพ์ยังต้องจ้างบริษัท. เนื่องจากมีการสั่งห้ามวารสารว็อชเทาเวอร์ ในฝรั่งเศส เราจึงออกวารสารนี้แต่ละเดือนในรูปหนังสือเล่มเล็กหนา 64 หน้า. เราให้ชื่อหนังสือเล่มเล็กนี้ว่า รายงานข่าวภายในของพยานพระยะโฮวา และบรรจุบทความสำหรับใช้ศึกษาในประชาคมต่าง ๆ สำหรับเดือนนั้น. ช่วงระหว่างปี 1960 ถึง 1967 จำนวนผู้มีส่วนร่วมงานประกาศในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นจาก 15,439 เป็น 26,250 คน.
ในที่สุด มิชชันนารีส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายที่จะไปประเทศอื่นต่อ บางคนถูกส่งไปประจำประเทศแถบแอฟริกาที่พูดฝรั่งเศส และบางคนกลับควิเบก. เนื่องจากแอนป่วยและต้องรับการผ่าตัด เราจึงกลับควิเบก. ภายหลังสามปีที่รับการรักษาทางการแพทย์ สุขภาพของแอนก็กลับเป็นปกติ. ครั้นแล้ว ผมได้รับมอบหมายงานดูแลหมวด ทำการเยี่ยมประชาคมต่าง ๆ แต่ละสัปดาห์เพื่อให้การหนุนกำลังฝ่ายวิญญาณ.
งานมิชชันนารีในแอฟริกา
ไม่กี่ปีต่อมา ในปี 1981 เราดีใจเมื่อได้รับเขตงานมอบหมายแห่งใหม่ฐานะเป็นมิชชันนารีในประเทศซาอีร์ ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก. ประชาชนยากจน และพวกเขาทนความลำบากมากมาย. ตอนที่เราไปถึง มีพยานฯ 25,753 คน แต่ปัจจุบันจำนวนนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 113,000 กว่าคน และปี 1999 มี 446,362 คนได้ร่วมประชุมอนุสรณ์รำลึกถึงการวายพระชนม์ของพระคริสต์!
ปี 1984 เราได้ที่ดินประมาณหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบไร่จากรัฐบาลเพื่อสร้างสำนักงานสาขาใหม่. ต่อมาในเดือนธันวาคม 1985 มีการจัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กินชาซา เมืองหลวงของประเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุม 32,000 คนจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก. หลังจากนั้น การต่อต้านขัดขวางจากแรงยุยงของนักเทศน์นักบวชได้รบกวนกิจการของเราในซาอีร์. วันที่ 12 มีนาคม 1986 พี่น้องที่รับผิดชอบงานได้รับหนังสือแจ้งว่าสมาคมของพยานพระยะโฮวาแห่งซาอีร์นั้นเป็นสมาคมผิดกฎหมาย. คำสั่งห้ามกิจการทุกอย่างของเราลงนามโดยประธานาธิบดีของประเทศในตอนนั้น คือโมบูตู เซเซ เซโก ซึ่งตอนนี้เสียชีวิตแล้ว.
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน พวกเราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “คนฉลาดมองเห็นภัยแล้วหนีไปซ่อนตัว.” (สุภาษิต 22:3) เราพบช่องทางจะได้กระดาษ, หมึกพิมพ์, แผ่นฟิล์ม, แผ่นแม่พิมพ์, และเคมีภัณฑ์จากนอกประเทศเพื่อใช้ในงานพิมพ์ของเราในเมืองกินชาซา. อนึ่ง เรายังได้พัฒนาเครือข่ายการจัดส่งสิ่งของของเราเอง. ครั้นเราจัดระบบเรียบร้อยแล้ว ระบบการทำงานของเราดีกว่าบริการทางไปรษณีย์ของรัฐเสียอีก!
พยานฯ หลายพันคนถูกจับ และมีจำนวนไม่น้อยถูกทรมานอย่างโหดร้าย. กระนั้น พวกเขาก็ยังคงยืนหยัดรับการปฏิบัติดังกล่าวและรักษาไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ ยกเว้นเพียงไม่กี่คน. ผมถูกจับเช่นกัน และได้เห็นพวกพี่น้องต้องผจญสภาพที่เลวร้ายในคุก. หลายครั้งหลายหนเราถูกตำรวจลับและเจ้าหน้าที่บีบคั้นทุกวิถีทาง แต่พระยะโฮวาทรงจัดทางออกให้พวกเราเสมอ.—2 โกรินโธ 4:8.
เราได้ซุกซ่อนกล่องหนังสือประมาณ 3,000 กล่องไว้ในโรงเก็บสินค้าของนักธุรกิจคนหนึ่ง. แต่ในที่สุด หนึ่งในพวกคนงานได้แจ้งให้ตำรวจลับทราบ และตำรวจจับกุมนักธุรกิจนั้น. ระหว่างทางไปยังเรือนจำ บังเอิญพวกเขามองเห็นผมเข้าอย่างจังในรถของผมเอง. ชายนักธุรกิจได้บอกตำรวจว่าผมนี่แหละได้ร่วมกันจัดเตรียมการเก็บหนังสือไว้ในโรงเก็บสินค้า. ตำรวจให้ผมหยุดรถและซักถามถึงเรื่องนี้ โดยตั้งข้อหากล่าวโทษผมที่เก็บสรรพหนังสือเถื่อนไว้ในโกดังของชายผู้นี้.
“คุณมีหนังสือประเภทนั้นสักเล่มไหม?” ผมถาม.
พวกเขาตอบว่า “มีแน่นอน.”
ผมถามว่า “ขอดูได้ไหม?”
เขาหยิบให้ผมเล่มหนึ่ง และผมชี้ให้ดูปกด้านในซึ่งระบุว่า “พิมพ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์.”
ผมพูดสะกิดใจเขาว่า “ของที่คุณถืออยู่นั้นเป็นสมบัติของคนอเมริกัน และไม่ใช่สมบัติของซาอีร์. รัฐบาลของคุณได้วางข้อห้ามกับคณะพยานพระยะโฮวาซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของซาอีร์ และไม่ได้วางข้อห้ามกับสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์แห่งสหรัฐ. ฉะนั้น คุณพึงระมัดระวังให้มากเมื่อคุณทำอะไรกับสิ่งพิมพ์เหล่านี้.”
เขาปล่อยตัวผมเนื่องจากเขาไม่มีหมายจับ. คืนนั้น เราได้นำรถบรรทุกสองคันไปขนสรรพหนังสือออกจากโรงเก็บสินค้าจนหมด. วันรุ่งขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ไปที่นั่น พวกเขาหัวเสียกันยกใหญ่เมื่อพบโกดังว่างเปล่า. ถึงตอนนั้น พวกเขาจึงตามล่าหาตัวผม เนื่องจากมีหมายจับแล้ว. เขาตามล่ากระทั่งได้ตัวผมและเนื่องจากเขาไม่มีรถยนต์ ผมเลยขับรถไปเข้าคุกเอง! พยานฯ อีกคนหนึ่งได้ไปด้วย เพื่อว่าเขาจะเอารถของผมไปเก็บ ก่อนเจ้าหน้าที่จะอ้างสิทธิ์ยึดรถ.
ภายหลังการสอบสวนนานถึงแปดชั่วโมง พวกเขาพิจารณาตัดสินเนรเทศผม. แต่ผมแสดงสำเนาภาพถ่ายหนังสือที่รัฐบาลออกให้เพื่อยืนยันการแต่งตั้งผมเป็นผู้ชำระสะสางทรัพย์สินของสมาคมของพยานพระยะโฮวาแห่งซาอีร์ซึ่งขณะนั้นถูกสั่งห้ามดำเนินกิจการ. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงยอมให้ผมทำงานที่สำนักเบเธลต่อไป.
หลังจากทำงานรับใช้ภายใต้สภาพกดดันที่มีการห้ามกิจการในประเทศซาอีร์นานถึงสี่ปี ผมมีแผลเลือดออกในกระเพาะซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้. จึงตกลงกันว่าผมควรได้รับการรักษาที่แอฟริกาใต้ สาขาในประเทศนั้นได้เอาใจใส่ดูแลผมเป็นอย่างดี และผมก็หายเป็นปกติ. หลังจากรับใช้แปดปีในประเทศซาอีร์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำและมีความสุขอย่างแท้จริง เราได้ย้ายไปที่สาขาประเทศแอฟริกาใต้ในปี 1989. และปี 1998 เรากลับมาตุภูมิของเราและนับแต่นั้นก็ได้รับใช้เรื่อยมาในสาขาประเทศแคนาดา.
รู้สึกขอบพระคุณที่ทำงานรับใช้
เมื่อผมมองย้อนหลังตลอด 54 ปีในงานรับใช้เต็มเวลา ผมรู้สึกขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ผมได้ใช้พละกำลังในวัยหนุ่มถวายงานรับใช้อันมีค่าแด่พระยะโฮวา. แม้ว่าแอนต้องอดทนกับสภาพการณ์ที่ยากลำบากหลายครั้งหลายครา เธอไม่โอดครวญแต่กลับให้การสนับสนุนเต็มที่ต่อกิจกรรมทุกอย่างของเรา. เราทั้งสองคนมีสิทธิพิเศษด้วยกันที่ได้ช่วยหลายคนให้มารู้จักพระยะโฮวา หลายคนในจำนวนนี้กำลังรับใช้เต็มเวลาในปัจจุบัน. ช่างเป็นความชื่นชมอะไรเช่นนั้นที่เห็นลูกบางคนของพวกเขา กระทั่งหลานด้วยซ้ำได้รับใช้พระยะโฮวา พระเจ้าองค์ใหญ่ยิ่งของเรา!
ผมเชื่อมั่นว่าโลกนี้ไม่อาจเสนอสิ่งใดซึ่งจะเอามาเทียบได้กับสิทธิพิเศษและพระพรที่พระยะโฮวาทรงมอบให้เรา. จริงอยู่ เราทนเอาความยากลำบากหลายครั้งหลายหน แต่ความยากลำบากเหล่านั้นได้เสริมสร้างความเชื่อและความไว้วางใจของเราในพระยะโฮวา. แท้จริง พระองค์ทรงเป็นป้อมปราการอันมั่นคง, เป็นที่พึ่งพำนัก, และเป็นผู้สงเคราะห์ซึ่งอยู่ใกล้เราเสมอในยามทุกข์ยาก.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 หนังสือเล่มนี้แรกทีเดียวพิมพ์เป็นภาษาเยอรมันชื่อ ครอยซูก เกเกน ดาส คริสเทนทุม (สงครามครูเสดปราบปรามศาสนาคริสเตียน). ต่อมาได้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปแลนด์ แต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ.
[ภาพหน้า 26]
ทำงานเป็นไพโอเนียร์ด้วยกันเมื่อปี 1947; กับแอนในปัจจุบัน
[ภาพหน้า 29]
ประชาชนที่เราได้พบในซาอีร์รักความจริงในคัมภีร์ไบเบิล