คุณจำได้ไหม?
คุณจำได้ไหม?
คุณได้ใคร่ครวญเรื่องในหอสังเกตการณ์ ฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้ไหม? หากคุณได้ทำอย่างนั้น คุณก็จะพบว่าน่าสนใจที่จะฟื้นความจำเรื่องต่อไปนี้:
▫ คำถามอะไรบ้างที่คริสเตียนสองคนอาจจะถามตัวเองก่อนที่พวกเขาเริ่มคิดถึงการหมั้น?
‘ฉันแน่ใจจริง ๆ หรือในเรื่องสภาพฝ่ายวิญญาณของอีกฝ่ายหนึ่งและความเลื่อมใสที่เขามีต่อพระเจ้า? ฉันสามารถคิดถึงการรับใช้พระเจ้าร่วมกับคนนี้ตลอดชีวิตได้ไหม? เราได้เปิดเผยบุคลิกลักษณะของกันและกันให้เห็นพอเพียงหรือยัง? ฉันมั่นใจไหมว่าเราจะไปกันได้ตลอดรอดฝั่ง? เรารู้มากพอไหมถึงการกระทำในอดีตและสภาพการณ์ในปัจจุบันของกันและกัน?’—15/8 หน้า 31.
▫ พระเยซูทรงหมายความอย่างไรเมื่อพระองค์ตรัสแก่เหล่าผู้ติดตามของพระองค์ว่า “ท่านทั้งหลายเป็นเกลือแห่งแผ่นดินโลก”? (มัดธาย 5:13)
พระเยซูบอกเป็นนัยว่าการที่พวกผู้ติดตามของพระองค์ประกาศเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่คนอื่นจะมีผลกระทบในการรักษา หรือช่วยชีวิตผู้ฟังได้. ที่จริง คนที่ปฏิบัติตามพระดำรัสของพระเยซูจะได้รับการป้องกันจากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมและทางฝ่ายวิญญาณของโลก.—15/8 หน้า 32.
▫ คู่รักที่กำลังนัดพบกันจะหลีกเลี่ยงบ่วงแร้วของการผิดศีลธรรมทางเพศอย่างไร?
หากคุณกำลังนัดพบ นับว่าสุขุมที่คุณจะหลีกเลี่ยงการอยู่กันตามลำพังกับผู้ที่คุณจะสมรสด้วยภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะ. ดีที่สุดที่จะเพลิดเพลินกับการคบหากันเป็นกลุ่มหรือในที่สาธารณะ. จงวางข้อจำกัดไว้ในการแสดงความรักใคร่ ต่างคนต่างแสดงความนับถือต่อความรู้สึกและสติรู้สึกผิดชอบของอีกฝ่ายหนึ่ง.—1/9 หน้า 17, 18.
▫ ความเข้าใจคืออะไร?
ความเข้าใจคือความสามารถมองลึกเข้าไปในเรื่องราวและสังเกตเข้าใจส่วนประกอบของเรื่องโดยรู้ถึงความเกี่ยวพันระหว่างส่วนต่าง ๆ ของเรื่องกับเรื่องทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าใจความหมายของเรื่อง. (สุภาษิต 4:1)—15/9 หน้า 13.
▫ พระยะโฮวาทรงเรียกร้องอะไรจากเราในทุกวันนี้?
โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งที่พระยะโฮวาทรงเรียกร้องจากเราคือให้ฟังพระบุตรของพระองค์และติดตามแบบอย่างและคำสอนของพระบุตรนั้น. (มัดธาย 16:24; 1 เปโตร 2:21)—15/9 หน้า 22.
▫ ใครเท่านั้นที่จะมีสันติสุขได้?
เนื่องจากพระยะโฮวาทรงเป็น “พระเจ้าผู้ประทานสันติสุข” เฉพาะคนที่รักพระเจ้าและมีความนับถืออย่างลึกซึ้งต่อหลักการอันชอบธรรมของพระองค์เท่านั้นจึงจะมีสันติสุขได้. (โรม 15:33)—1/10 หน้า 11.
▫ โยเซฟได้รับกำลังด้านศีลธรรมที่จะปฏิเสธภรรยาของโพติฟาวันแล้ววันเล่าได้อย่างไร?
โยเซฟถือว่าสัมพันธภาพกับพระยะโฮวาสำคัญยิ่งกว่าความเพลิดเพลินชั่วครู่นั้นมากนัก. นอกจากนี้ ถึงแม้ท่านมิได้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายของพระเจ้า โยเซฟมีความเข้าใจชัดเจนเรื่องหลักศีลธรรม. (เยเนซิศ 39:9, 10)—1/10 หน้า 29.
▫ การที่เราเต็มใจให้อภัยพี่น้องของเรานั้นสำคัญเพียงไร?
โอกาสจะได้รับการให้อภัยจากพระเจ้าต่อ ๆ ไปนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการที่เราเต็มใจให้อภัยคนอื่น. (มัดธาย 6:12, 14; ลูกา 11:4)—15/10 หน้า 17.
▫ มัดธาย 18:15-17 ชี้ไปยังบาปชนิดใด และอะไรบ่งชี้เช่นนั้น?
บาปที่พระเยซูกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องที่ร้ายแรงพอที่อาจทำให้ผู้ทำผิดถูกถือว่า “เป็นเหมือนคนต่างประเทศหรือคนเก็บภาษี.” พวกยิวไม่คบกับคนต่างประเทศ และพวกเขาหลีกห่างจากคนเก็บภาษี. ดังนั้น มัดธาย 18:15-17 จึงกล่าวพาดพิงถึงบาปร้ายแรง ไม่ใช่เพียงแต่ความขุ่นเคืองใจเป็นส่วนตัวหรือความเจ็บใจที่คุณอาจจะให้อภัยและลืมเสีย. (มัดธาย 18:21, 22)—15/10 หน้า 19.
▫ การรักพระคำของพระเจ้าอย่างแท้จริงเกี่ยวข้องกับอะไร?
การรักพระคำของพระเจ้าชักนำคนเราให้ดำเนินชีวิตประสานกับข้อเรียกร้องของพระคำนั้น. (บทเพลงสรรเสริญ 119:97, 101, 105) เพื่อจะทำเช่นนั้น คนเราจำต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวดำเนินชีวิตอยู่เสมอ.—1/11 หน้า 14.
▫ ด้วยเหตุที่ได้รับจากพระหัตถ์ของพระยะโฮวามากเหลือเกิน เราสามารถถวายอะไรตอบแทนแด่พระมหากษัตริย์และพระผู้ให้องค์ใหญ่ยิ่ง?
คัมภีร์ไบเบิลเผยเฮ็บราย 13:15, ล.ม.) เพราะเหตุใด? เพราะเครื่องบูชานี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการช่วยชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่พระยะโฮวาทรงถือว่าสำคัญยิ่งในสมัยสุดท้ายนี้. (ยะเอศเคล 18:23)—1/11 หน้า 21.
ให้เห็นว่าของถวายดีที่สุดที่เราสามารถถวายแด่พระยะโฮวาคือ “คำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชา.” (▫ ซะโลโมหมายความอย่างไรเมื่อท่านเขียนว่า “ถ้อยคำของบรรดาผู้มีปัญญาเป็นดุจประตัก”? (ท่านผู้ประกาศ 12:11, ล.ม.)
ถ้อยคำของคนเหล่านี้ซึ่งมีสติปัญญาของพระเจ้ากระตุ้นผู้อ่านหรือผู้ฟังให้ก้าวหน้าประสานกับถ้อยคำอันสุขุมที่ได้อ่านหรือได้ฟัง.—15/11 หน้า 21.
▫ อะไรคือการสังเกตเข้าใจหลักศีลธรรม?
นั่นคือความสามารถแยกสิ่งถูกออกจากสิ่งผิด ครั้นแล้วก็จะเลือกแนวทางที่ถูกต้อง. การศึกษาและการใช้พระคำของพระเจ้าช่วยเราให้มีการสังเกตเข้าใจ.—15/11 หน้า 25.
▫ ความเต็มใจรับหน้าที่รับผิดชอบควรจะสมดุลกับอะไร? (1 ติโมเธียว 3:1)
สิ่งนี้ควรทำให้สมดุลกับการวินิจฉัยที่ดี. ไม่ควรมีใครรับหน้าที่มอบหมายมากเสียจนเขาสูญเสียความยินดีในการรับใช้พระยะโฮวา. น้ำใจเต็มใจทำงานนั้นน่าชมเชย แต่ความเต็มใจก็ต้องสะท้อนให้เห็นถึงความเจียมตัวและ ‘ความมีสุขภาพจิตดี’ ด้วย. (ติโต 2:12, ล.ม.; วิวรณ์ 3:15, 16)—1/12 หน้า 28.
▫ อาจรับมือกับข้อท้าทายของการเป็นบิดามารดาได้อย่างไร?
พระเจ้าทรงแนะนำให้บิดามารดาเป็นแบบอย่าง, เป็นเพื่อน, เป็นผู้สื่อความ, และเป็นครู. (พระบัญญัติ 6:6, 7)—1/12 หน้า 32.