คุณถูกกระตุ้นให้ทำอย่างพระเยซูไหม?
คุณถูกกระตุ้นให้ทำอย่างพระเยซูไหม?
“พระองค์ทรงเห็นชนฝูงใหญ่ แต่พระองค์ทรงรู้สึกสงสารพวกเขา เพราะพวกเขาเป็นเหมือนแกะที่ไม่มีผู้เลี้ยง. และพระองค์ทรงเริ่มสอนเขา.”—มาระโก 6:34, ล.ม.
1. เหตุใดจึงไม่แปลกที่หลายคนแสดงคุณลักษณะอันน่าชมเชย?
ตลอดมาในประวัติศาสตร์ หลายคนได้แสดงคุณลักษณะอันน่าชมเชย. คุณสามารถเข้าใจได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น. พระยะโฮวาพระเจ้าทรงมีและทรงสำแดงความรัก, ความกรุณา, ความมีพระทัยกว้าง, และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เรายกย่อง. มนุษย์ถูกสร้างตามแบบพระฉายของพระเจ้า. ดังนั้น เราสามารถเข้าใจได้ว่าทำไมหลายคนจึงแสดงความรัก, ความกรุณา, ความสงสาร, และคุณลักษณะอื่น ๆ แบบพระเจ้าในระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับที่คนส่วนใหญ่แสดงออกซึ่งสติรู้สึกผิดชอบ. (เยเนซิศ 1:26; โรม 2:14, 15) อย่างไรก็ตาม คุณอาจตระหนักดีว่าบางคนพร้อมจะแสดงคุณลักษณะเหล่านี้มากกว่าคนอื่น.
2. การดีอะไรบ้างที่บางคนอาจได้ทำโดยคิดว่าเขากำลังเลียนแบบพระคริสต์?
2 อาจเป็นได้ คุณคุ้นเคยกับชายหญิงที่มักไปเยี่ยมหรือให้ความช่วยเหลือคนป่วย, แสดงความเมตตาสงสารคนพิการ, หรือบริจาคช่วยเหลือคนจนอย่างใจกว้าง. นอกจากนั้น คุณอาจคิดถึงคนที่ความเมตตากระตุ้นเขาให้ใช้ชีวิตทำงานในนิคมโรคเรื้อนหรือสถานดูแลเด็กกำพร้า, คนที่ทำงานอาสาสมัครในโรงพยาบาลหรือสถานสงเคราะห์, หรือคนที่พยายามให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ไร้ที่อยู่อาศัยหรือผู้ลี้ภัย. คนเหล่านี้บางคนคงมีความรู้สึกว่าเขากำลังเลียนแบบพระเยซู ผู้วางแบบอย่างไว้สำหรับคริสเตียน. เราอ่านในพระธรรมกิตติคุณว่า พระคริสต์ทรงรักษาคนป่วยและเลี้ยงอาหารคนหิวมาระโก 1:34; 8:1-9; ลูกา 4:40) การที่พระเยซูทรงแสดงความรัก, ความอ่อนโยน, และความเมตตาสงสารเป็นการแสดงให้เห็นถึง “พระทัยของพระคริสต์” ผู้ทรงเลียนแบบพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์.—1 โกรินโธ 2:16.
โหย. (3. เพื่อจะมีทัศนะที่สมดุลเกี่ยวกับการดีของพระเยซู เราจำต้องพิจารณาอะไร?
3 อย่างไรก็ตาม คุณเคยสังเกตไหมว่าในปัจจุบันหลายคนที่ถูกกระตุ้นใจจากความรักและความเมตตาของพระเยซูมองข้ามลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของพระทัยของพระคริสต์? เราอาจได้ความหยั่งเห็นเข้าใจในเรื่องนี้โดยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในมาระโกบท 6. ที่นั่น เราอ่านว่าประชาชนพาคนป่วยมาให้พระเยซูรักษา. จากบริบท เราได้ทราบด้วยว่าเมื่อทรงเห็นว่าหลายพันคนที่มาหาพระองค์นั้นหิวโหย พระเยซูทรงเลี้ยงอาหารพวกเขาด้วยการอัศจรรย์. (มาระโก 6:35-44, 54-56) การรักษาคนป่วยและการเลี้ยงอาหารคนหิวโหยเป็นการกระทำที่โดดเด่นซึ่งแสดงถึงความเมตตาสงสารอันเปี่ยมด้วยความรัก แต่นั่นเป็นวิธีหลักที่พระเยซูทรงช่วยผู้อื่นไหม? และเราจะเลียนแบบอย่างอันสมบูรณ์แบบแห่งความรัก, ความกรุณา, และความเมตตาของพระองค์ให้ดีที่สุดได้อย่างไร เหมือนกับที่พระองค์ทรงเลียนแบบพระยะโฮวา?
ถูกกระตุ้นให้ตอบสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ
4. ฉากของเรื่องที่มาระโก 6:30-34 เป็นเช่นไร?
4 พระเยซูทรงรู้สึกสงสารคนที่อยู่รอบ ๆ พระองค์ ในอันดับแรกนั้นเนื่องด้วยความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของพวกเขา. ความจำเป็นดังกล่าวสำคัญยิ่งกว่าความจำเป็นฝ่ายร่างกาย. ขอพิจารณาเรื่องราวที่มาระโก 6:30-34. เหตุการณ์ซึ่งบันทึกไว้ที่นั่นเกิดขึ้นบนฝั่งทะเลฆาลิลาย เมื่อใกล้จะถึงเทศกาลปัศคา ส.ศ. 32. พวกอัครสาวกรู้สึกตื่นเต้น ซึ่งก็นับว่าชอบด้วยเหตุผล. หลังจากเสร็จสิ้นการเดินทางอย่างกว้างไกลไปในที่ต่าง ๆ พวกเขาเข้ามาหาพระเยซู ไม่ต้องสงสัยเลยว่าด้วยความกระตือรือร้นที่จะเล่าประสบการณ์ของตนให้พระองค์ฟัง. อย่างไรก็ตาม ฝูงชนเริ่มรวมตัวกันเข้ามา. ฝูงชนมีจำนวนมากจนพระเยซูกับเหล่าอัครสาวกไม่มีโอกาสจะรับประทานอาหารและพักผ่อน. พระเยซูตรัสแก่อัครสาวกว่า “ท่านทั้งหลายจงไปหาที่สงัดหยุดพักหายเหนื่อยสักหน่อยหนึ่ง.” (มาระโก 6:31) เมื่อลงเรือแล้ว อาจจะที่ใกล้ ๆ เมืองกัปเรนาอูม พวกเขาแล่นเรือข้ามฟากทะเลฆาลิลายไปยังที่สงัดแห่งหนึ่ง. แต่ฝูงชนวิ่งมาตามชายฝั่งและมาถึงก่อนเรืออีก. พระเยซูจะทรงแสดงปฏิกิริยาอย่างไร? พระองค์ทรงหัวเสียเนื่องจากถูกรบกวนจนไม่มีเวลาส่วนตัวไหม? ไม่เลย!
5. พระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรต่อฝูงชนที่มาหาพระองค์ และพระองค์ทรงแสดงปฏิกิริยาเช่นไร?
5 พระเยซูทรงสะเทือนพระทัยเมื่อเห็นฝูงชนหลายพันคน รวมทั้งคนป่วย คอยพระองค์อยู่อย่างใจจดใจจ่อ. (มัดธาย 14:14; มาระโก 6:44) โดยสนใจเป็นพิเศษที่ความเมตตาสงสารของพระเยซูซึ่งถูกเร้าให้เกิดขึ้นและวิธีที่พระองค์ทรงตอบสนอง มาระโกเขียนว่า “พระองค์ทรงเห็นชนฝูงใหญ่ แต่พระองค์ทรงรู้สึกสงสารพวกเขา เพราะพวกเขาเป็นเหมือนแกะที่ไม่มีผู้เลี้ยง. และพระองค์ทรงเริ่มสอนเขาหลายเรื่อง.” (มาระโก 6:34, ล.ม.) พระเยซูไม่เพียงแค่เห็นฝูงชนโดยรวม. พระองค์ทรงมองเห็นแต่ละคนซึ่งมีความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ. พวกเขาเป็นเหมือนแกะพลัดหลงซึ่งปราศจากที่พึ่ง ไม่มีผู้เลี้ยงนำทางไปยังทุ่งหญ้าเขียวสดหรือปกป้องพวกเขาไว้. พระเยซูทรงทราบว่าพวกหัวหน้าศาสนาที่หัวใจเย็นชา ซึ่งน่าจะเป็นผู้บำรุงเลี้ยงที่คอยเอาใจใส่ดูแล โดยแท้แล้วเหยียดหยามสามัญชนและละเลยความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของพวกเขา. (ยะเอศเคล 34:2-4; โยฮัน 7:47-49) พระเยซูทรงประสงค์จะปฏิบัติต่อพวกเขาในแบบที่ต่างออกไป ทำดีที่สุดเพื่อพวกเขาเท่าที่จะทรงทำได้. พระองค์เริ่มสอนพวกเขาเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้า.
6, 7. (ก) พระธรรมกิตติคุณเปิดเผยอย่างไรถึงลำดับความสำคัญที่พระเยซูตอบสนองความจำเป็นของประชาชน? (ข) พระเยซูทรงประกาศและสั่งสอนด้วยแรงกระตุ้นเช่นไร?
6 ขอให้สังเกตลำดับและข้อบ่งชี้ถึงลำดับความสำคัญของการงานซึ่งปรากฏอยู่ในบันทึกเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน. เหตุการณ์ตอนนี้บันทึกโดยลูกาซึ่งเป็นแพทย์และเป็นผู้ที่สนใจอย่างยิ่งในสวัสดิภาพทางกายของผู้อื่น. “ประชาชน . . . ตาม [พระเยซู] ไป. พระองค์ทรงต้อนรับเขาตรัสสั่งสอนเขาถึงแผ่นดิน ของพระเจ้า. และ ทุกคนที่ต้องการให้หายโรคพระองค์ก็ทรงรักษา ให้.” (ลูกา 9:11; โกโลซาย 4:14) แม้ว่าไม่ได้เป็นอย่างนี้ทุกครั้งที่มีบันทึกเกี่ยวกับการอัศจรรย์ แต่ในกรณีนี้ บันทึกซึ่งลูกาเขียนภายใต้การดลใจกล่าวถึงอะไรก่อน? ข้อเท็จจริงที่ว่า พระเยซูทรงสอนประชาชน.
7 เรื่องนี้สอดคล้องอย่างแท้จริงกับการเน้นที่เราพบในมาระโก 6:34. ข้อนั้นแสดงไว้ชัดว่าพระเยซูทรงถูกกระตุ้นพระทัยให้แสดงความสงสารในวิธีใดเป็นประการสำคัญ. พระองค์ทรงสอนประชาชน ตอบสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของพวกเขา. ก่อนหน้านั้นในงานรับใช้ของพระองค์ พระเยซูตรัสว่า “เราต้องประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่เมืองอื่น ๆ ด้วย เพราะเราถูกใช้มาเพื่อการนี้.” (ลูกา 4:43, ล.ม.) อย่างไรก็ตาม เราคงเข้าใจผิดแน่หากจะคิดว่าพระเยซูทรงประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรตามหน้าที่เท่านั้น ราวกับว่าพระองค์ทรงทำเป็นกิจวัตรตามพันธะหน้าที่ซึ่งต้องทำในงานประกาศ. ความรักความเมตตาต่อประชาชนต่างหากเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้พระองค์แบ่งปันข่าวดีแก่พวกเขา. คุณความดีสุดยอดที่พระเยซูทรงสามารถทำ—แม้แต่กับคนป่วย, คนถูกผีปิศาจรังควาน, คนจน, หรือคนหิวโหย—คือการช่วยพวกเขาให้รู้จัก, ยอมรับ, และรักความจริงเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้า. ความจริงนั้นสำคัญที่สุดเนื่องจากราชอาณาจักรมีบทบาทในการพิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาและจะอำนวยพระพรถาวรแก่มนุษย์.
8. พระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการประกาศและการสอนของพระองค์?
8 การประกาศอย่างขันแข็งของพระเยซูเกี่ยวกับราชอาณาจักรเป็นเหตุผลสำคัญที่พระองค์เสด็จมายังโลกนี้. ขณะใกล้จะสิ้นสุดงานรับใช้ทางแผ่นดินโลก พระเยซูตรัสแก่ปีลาตว่า “เพราะเหตุนี้เราจึงเกิดมา และเพราะเหตุนี้เราได้เข้ามาในโลก เพื่อเราจะให้คำพยานถึงความจริง. ทุกคนที่อยู่ฝ่ายความจริงฟังเสียงของเรา.” (โยฮัน 18:37, ล.ม.) เราได้สังเกตในสองบทความก่อนหน้านี้แล้วว่าพระเยซูทรงเป็นคนที่มีความรู้สึกอ่อนละมุน—เอาใจใส่ดูแล, เข้าหาได้ง่าย, คำนึงถึงผู้อื่น, ไว้วางใจผู้อื่น, และที่เหนืออื่นใด เปี่ยมด้วยความรัก. เราจำเป็นต้องเข้าใจแง่มุมเหล่านี้แห่งบุคลิกภาพของพระองค์ หากเราต้องการอย่างแท้จริงที่จะเข้าใจพระทัยของพระคริสต์. สำคัญพอ ๆ กันด้วยที่จะตระหนักว่าพระทัยของพระคริสต์หมายรวมถึงการที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญในอันดับแรกแก่การประกาศและงานสั่งสอน.
พระองค์ทรงกระตุ้นผู้อื่นให้คำพยาน
9. การประกาศและการสอนมีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับใคร?
9 การให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกแก่การประกาศและสั่งสอน—อันเป็นการแสดงออกซึ่งความรักและความเมตตา—ไม่ได้มีไว้สำหรับพระเยซูแต่ผู้เดียว. พระองค์ทรงกระตุ้นสาวกให้เลียนแบบแรงกระตุ้น, การจัดลำดับความสำคัญ, และการกระทำของพระองค์. ตัวอย่างเช่น หลังจากพระเยซูทรงเลือกอัครสาวก 12 คน พวกเขาต้องทำอะไร? มาระโก 3:14-16 บอกเราว่า “พระองค์จึงทรงตั้งศิษย์สิบสองคนไว้ให้อยู่กับพระองค์ เพื่อจะใช้เขาไปประกาศสั่งสอน. และให้มีอำนาจขับผีออก ได้.” คุณเห็นถึงการจัดลำดับความสำคัญสำหรับอัครสาวกไหม?
10, 11. (ก) เมื่อทรงส่งอัครสาวกออกไป พระเยซูทรงมีพระบัญชาให้พวกเขาทำอะไร? (ข) ในการส่งอัครสาวกออกไป มีการเน้นถึงเรื่องอะไร?
10 ต่อมา พระเยซูทรงให้อำนาจแก่ 12 คนนี้ที่จะรักษาคนป่วยและขับผี. (มัดธาย 10:1; ลูกา 9:1) จากนั้น พระองค์ทรงส่งพวกเขาให้เที่ยวตามหา “แกะที่หลงหายของเรือนยิศราเอล.” เพื่อจะทำอะไร? พระเยซูทรงมีพระบัญชาแก่พวกเขาว่า “ขณะที่พวกเจ้าไป จงประกาศ โดยบอกว่า ‘ราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์มาใกล้แล้ว.’ จงรักษาคนป่วยให้หาย, ปลุกคนตายให้ฟื้น, ทำให้คนโรคเรื้อนหายสะอาด, ขับผีปิศาจออก.” (มัดธาย 10:5-8, ล.ม.; ลูกา 9:2) พวกเขาทำอะไรจริง ๆ? “ฝ่ายเหล่าสาวกก็ออกไป [1] เทศนาประกาศให้กลับใจเสียใหม่. [2] เขาได้ขับผีให้ออกเสียหลายผี, และได้เอาน้ำมันทาคนเจ็บให้หายโรคหลายคน.”—มาระโก 6:12, 13.
11 เนื่องจากไม่ใช่ทุกกรณีที่มีการกล่าวถึงการสอนก่อน ข้อสังเกตดังข้างต้นให้ความสำคัญมากเกินไปไหมต่อการจัดลำดับความสำคัญหรือแรงกระตุ้นที่เกี่ยวข้อง? (ลูกา 10:1-8) จริง ๆ แล้ว เราไม่น่าจะให้ความสำคัญน้อยเกินไปต่อข้อเท็จจริงที่ว่ามักจะมีการกล่าวถึงการสอนก่อนการรักษาโรค. ขอให้พิจารณาบริบทในกรณีนี้. ก่อนหน้าที่จะส่งอัครสาวก 12 คนออกไป พระเยซูทรงรู้สึกสะเทือนพระทัยเพราะสภาพของฝูงชน. เราอ่านดังนี้: “พระเยซูจึงเสด็จดำเนินไปรอบบ้านรอบเมืองทรงสั่งสอนในธรรมศาลาของเขา, ประกาศกิตติคุณแห่งแผ่นดินของพระเจ้า, และได้ทรงรักษาโรคและความป่วยไข้ของพลเมืองให้หาย. แต่เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชนก็ทรงพระกรุณาเขา, ด้วยเขาอิดโรยกระจัดกระจายไปดุจฝูงแกะไม่มีผู้เลี้ยง. แล้วพระองค์ตรัสแก่พวกศิษย์ของพระองค์ว่า, ‘การเกี่ยวนั้นเป็นการใหญ่นักหนา, แต่คนทำการยังน้อยอยู่. เหตุฉะนั้นจงอธิษฐานขอต่อเจ้าของของการเกี่ยวนั้น, ให้ใช้คนทำการหลายคนไปในการเกี่ยวของพระองค์.’ ”—มัดธาย 9:35-38.
12. การอัศจรรย์ที่พระเยซูและอัครสาวกทำสามารถบรรลุจุดประสงค์อะไรอีก?
มัดธาย 4:24, 25; 8:16; 9:32, 33; 14:35, 36; โยฮัน 6:26) อย่างไรก็ตาม นอกจากการช่วยเหลือทางกายแล้ว งานเหล่านั้นยังกระตุ้นอย่างแท้จริงให้ผู้ที่สังเกตยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าและเป็น “ผู้พยากรณ์คนนั้น” ที่โมเซได้บอกไว้ล่วงหน้า.—โยฮัน 6:14, ล.ม.; พระบัญญัติ 18:15.
12 โดยการอยู่กับพระเยซู อัครสาวกสามารถซึมซับพระทัยของพระคริสต์ได้บางส่วน. พวกเขาตระหนักได้ว่าการแสดงความรักและความเมตตาอันแท้จริงต่อประชาชนหมายรวมถึงการประกาศและสั่งสอนเกี่ยวกับราชอาณาจักร—และนั่นต้องเป็นแง่หลักแห่งการดีที่พวกเขาทำ. สอดคล้องกับการทำดังกล่าว การทำดีทางกาย เช่น การรักษาคนป่วย ก่อผลไม่เพียงแค่ช่วยคนที่เดือดร้อน. ดังที่คุณอาจนึกภาพออก บางคนอาจถูกชักนำเข้ามาโดยการรักษาโรคและการเลี้ยงอาหารด้วยการอัศจรรย์. (13. คำพยากรณ์ที่พระบัญญัติ 18:18 เน้นถึงบทบาทอะไรสำหรับ “ผู้พยากรณ์คนนั้น” ที่จะมา?
13 เหตุใดจึงนับว่าสำคัญที่พระเยซูทรงเป็น “ผู้พยากรณ์คนนั้น”? เอาละ บทบาทสำคัญที่มีบอกไว้ล่วงหน้าสำหรับผู้พยากรณ์คนนั้นคืออะไร? “ผู้พยากรณ์คนนั้น” จะมีชื่อเสียงเพราะการรักษาโรคด้วยการอัศจรรย์หรือการแสดงความเมตตาด้วยการผลิตอาหารเลี้ยงคนหิวโหยไหม? พระบัญญัติ 18:18 บอกล่วงหน้าว่า “เราจะให้ผู้พยากรณ์บังเกิดขึ้นสำหรับเขาทั้งหลายจากในท่ามกลางพี่น้องเขา, เหมือนอย่างตัวเจ้า [โมเซ]; และเราจะเอาถ้อยคำของเราใส่ไว้ในปากผู้นั้น, และผู้นั้นจะกล่าวสำแดงแก่เขาทั้งหลาย สิ่งสารพัตรที่เราจะสั่งแก่ผู้นั้น.” ดังนั้น ในขณะที่อัครสาวกเรียนรู้ที่จะมีและแสดงความรู้สึกอันอ่อนละมุน พวกเขาสามารถลงความเห็นได้ว่า พระทัยของพระคริสต์ต้องปรากฏชัดด้วยในการประกาศและการสอนของพวกเขา. นั่นย่อมเป็นสิ่งดีที่สุดที่พวกเขาจะทำได้เพื่อประชาชน. โดยวิธีนั้น คนป่วยและคนยากจนสามารถได้รับผลประโยชน์ถาวร ไม่ใช่ผลประโยชน์ที่จำกัดไว้เพียงในช่วงชีวิตสั้น ๆ ของมนุษย์หรืออาหารมื้อสองมื้อ.—โยฮัน 6:26-30.
จงพัฒนาพระทัยของพระคริสต์ เสียแต่วันนี้
14. การมีพระทัยของพระคริสต์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการประกาศของเรา?
14 ไม่มีใครในพวกเราที่จะถือว่าพระทัยของพระคริสต์เกี่ยวข้องเฉพาะแต่ในศตวรรษแรก—เฉพาะพระเยซูและเหล่าสาวกสมัยแรกที่อัครสาวกเปาโลเขียนถึงว่า “เรามีพระทัยของพระคริสต์.” (1 โกรินโธ 2:16) และเราพร้อมจะยอมรับว่า เรามีพันธะที่จะประกาศข่าวดีและทำให้คนเป็นสาวก. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) ถึงกระนั้น นับว่าเป็นประโยชน์ที่จะใคร่ครวญเกี่ยวกับแรงกระตุ้นของเราเองในการทำงานนั้น. ไม่ควรเป็นการทำเพียงเพราะสำนึกในหน้าที่. ความรักต่อพระเจ้าเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เราร่วมในงานรับใช้ และการเป็นเหมือนพระเยซูอย่างแท้จริงหมายรวมถึงการถูกกระตุ้นจากความเมตตาให้ประกาศและสั่งสอน.—มัดธาย 22:37-39.
15. เหตุใดความเมตตาเป็นส่วนหนึ่งที่เหมาะสมในงานประกาศของเราต่อสาธารณชน?
15 จริงอยู่ ไม่ง่ายเสมอไปที่จะรู้สึกเมตตาคนที่ไม่มีความเชื่อเหมือนเรา โดยเฉพาะเมื่อเราเผชิญความไม่แยแส, การปฏิเสธ, หรือการต่อต้าน. กระนั้น หากเราสูญเสียความรักและความเมตตาต่อประชาชน เราอาจสูญเสียแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เราเข้าร่วมในงานรับใช้ของคริสเตียน. ดังนั้น เราจะปลูกฝังความเมตตาได้อย่างไร? เราอาจจะทำได้ด้วยการพยายามมองประชาชนเหมือนที่พระเยซูทรงมองพวกเขา มัดธาย 9:36) นั่นคือสภาพของคนจำนวนมากในปัจจุบันนี้มิใช่หรือ? พวกเขาถูกพวกหัวหน้าศาสนาเท็จละเลยและทำให้เขาตาบอดฝ่ายวิญญาณ. ผลก็คือ พวกเขาไม่รู้จักเสียงชี้นำซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล อีกทั้งไม่ทราบเรื่องสภาพอุทยานที่ราชอาณาจักรของพระเจ้าจะนำมาสู่แผ่นดินโลกในอีกไม่ช้านี้. พวกเขาเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวัน—อย่างเช่นความยากจน, ครอบครัวแตกแยก, ความเจ็บป่วย, และความตาย—โดยปราศจากความหวังที่ราชอาณาจักรเสนอให้. เรามีสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องมี: ข่าวดีที่ช่วยชีวิตเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งบัดนี้ได้รับการสถาปนาแล้วในสวรรค์!
คือ “อิดโรยกระจัดกระจายไปดุจฝูงแกะไม่มีผู้เลี้ยง.” (16. เหตุใดเราควรปรารถนาจะแบ่งปันข่าวดีแก่คนอื่น ๆ?
16 ดังนั้น เมื่อคุณใคร่ครวญถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของคนเหล่านั้นที่อยู่รอบตัวคุณ หัวใจคุณกระตุ้นคุณให้ปรารถนาจะทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อบอกพวกเขาเกี่ยวกับพระประสงค์อันเปี่ยมด้วยความรักของพระเจ้ามิใช่หรือ? ใช่แล้ว งานของเราเป็นงานที่เปี่ยมด้วยความเมตตา. เมื่อเรารู้สึกต่อประชาชนแบบเดียวกับพระเยซู ความรู้สึกนั้นจะปรากฏให้เห็นในน้ำเสียงของเรา, สีหน้าของเรา, และท่าทีที่เราสอน. ทั้งหมดนี้จะทำให้ข่าวสารของเราเป็นที่ดึงดูดยิ่งขึ้นสำหรับคนเหล่านั้นที่ “มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์.”—กิจการ 13:48, ล.ม.
17. (ก) เราสามารถแสดงความรักและความเมตตาของเราต่อผู้อื่นในทางใดบ้าง? (ข) เหตุใดเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องของการเลือกว่าจะทำการดีหรือการเข้าร่วมในงานประกาศต่อสาธารณชน?
17 แน่นอน ความรักและความเมตตาของเราน่าจะปรากฏชัดในวิถีชีวิตทั้งสิ้นของเรา. นี่หมายรวมถึงการที่เราแสดงความกรุณาต่อคนที่เสียเปรียบ, คนป่วย, และคนจน—ทำสิ่งที่เราสามารถทำได้ตามที่สมเหตุผลเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อนของเขา. ทั้งนี้รวมไปถึงความพยายามของเราทั้งในคำพูดและการกระทำที่จะปลอบโยนคนทุกข์โศกเนื่องจากคนที่เขารักเสียชีวิต. (ลูกา 7:11-15; โยฮัน 11:33-35) กระนั้น การแสดงออกซึ่งความรัก, ความกรุณา, และความเมตตาเช่นนั้นต้องไม่กลายเป็นเป้าหมายสำคัญแห่งการดีของเรา เหมือนกับที่ผู้มีมนุษยธรรมบางคนทำ. งานที่มีความหมายยั่งยืนกว่ามากได้แก่ความพยายามที่ได้รับแรงกระตุ้นจากคุณลักษณะแบบพระเจ้าดังที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งแสดงออกโดยการเข้าร่วมในงานประกาศและสั่งสอนของคริสเตียน. ขอให้ระลึกถึงสิ่งที่พระเยซูตรัสถึงพวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวว่า “พวกเจ้าถวายสะระแหน่ยี่หร่าและขมิ้นสิบลดหนึ่ง ส่วนข้อสำคัญแห่งพระบัญญัติคือความชอบธรรมความเมตตาความเชื่อนั้นได้ละเว้นเสีย การถวายสิบลดพวกเจ้าควรได้กระทำอยู่แล้ว, แต่ข้ออื่น ๆ นั้นก็ไม่ควรละเว้นด้วย.” (มัดธาย 23:23) สำหรับพระเยซูแล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องของการเลือกสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น—เลือกที่จะช่วยประชาชนในส่วนที่พวกเขาจำเป็นต้องได้รับทางกาย หรือเลือกจะสอนสิ่งฝ่ายวิญญาณที่ให้ชีวิตแก่พวกเขา. พระเยซูทรงทำทั้งสองอย่าง. ถึงกระนั้น เห็นได้ชัดว่างานสอนของพระองค์สำคัญเป็นอันดับแรก เพราะผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ความช่วยเหลือถาวรตลอดไป.—โยฮัน 20:16.
18. การพิจารณาถึงพระทัยของพระคริสต์น่าจะกระตุ้นเราให้ทำอะไร?
18 เราสามารถขอบคุณสักเพียงไรที่พระยะโฮวาทรงเปิดเผยพระทัยของพระคริสต์แก่เรา! โดยทางพระธรรมกิตติคุณ เราสามารถได้มารู้จักความคิด, ความรู้สึก, คุณลักษณะ, กิจการงาน, และงานที่สำคัญเป็นอันดับแรกของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเราที่จะอ่าน, คิดรำพึง, และนำสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลเปิดเผยแก่เราเกี่ยวกับพระเยซูไปใช้ให้เกิดประโยชน์. จำไว้ว่า เพื่อที่เราจะทำได้เช่นเดียวกับพระเยซูอย่างแท้จริง ก่อนอื่นเราต้องเรียนที่จะคิด, รู้สึก, และประเมินเรื่องราวเหมือนกับพระองค์ เท่าที่ความสามารถของเราในฐานะมนุษย์ไม่สมบูรณ์จะทำได้. ดังนั้น ให้เราตั้งใจแน่วแน่จะปลูกฝังและแสดงออกซึ่งพระทัยของพระคริสต์. ไม่มีทางชีวิตอื่นใดที่ดีกว่านี้, ไม่มีวิธีช่วยประชาชนวิธีใดที่ดีกว่านี้, และไม่มีวิธีอื่นใดที่ดีกว่าสำหรับเราและคนอื่น ๆ ที่จะเข้าใกล้ชิดพระองค์ผู้นั้นที่พระเยซูทรงสะท้อนคุณลักษณะของพระองค์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ คือพระเจ้าของเราผู้อ่อนละมุน พระยะโฮวา.—2 โกรินโธ 1:3; เฮ็บราย 1:3.
คุณจะตอบอย่างไร?
• คัมภีร์ไบเบิลให้ความหยั่งเห็นเข้าใจเช่นไรถึงวิธีที่พระเยซูมักจะตอบสนองต่อประชาชนที่เดือดร้อน?
• พระเยซูทรงเน้นถึงเรื่องอะไรในพระบัญชาที่ให้แก่เหล่าสาวก?
• เราจะแสดงออกซึ่ง “พระทัยของพระคริสต์” ได้อย่างไรในกิจการงานของเรา?
[คำถาม]
[ภาพเต็มหน้า 23]
[ภาพหน้า 24]
อะไรคือการดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งคริสเตียนสามารถทำเพื่อผู้อื่น?