รับการปลอบโยนจากพลังของพระยะโฮวา
รับการปลอบโยนจากพลังของพระยะโฮวา
“ครั้นข้าพเจ้ามีความสาละวนในใจเป็นอันมากความประเล้าประโลมของพระองค์ก็จะทรงกระทำให้จิตต์วิญญาณของข้าพเจ้าชื่นบาน.”—บทเพลงสรรเสริญ 94:19.
สำหรับทุกคนที่ปรารถนาการปลอบใจ คัมภีร์ไบเบิลมีถ้อยคำที่ปลอบโยน. ดังนั้นแล้ว ไม่น่าแปลกใจที่สารานุกรม เดอะ เวิลด์ บุ๊ก กล่าวว่า “ผู้คนนับไม่ถ้วนหันไปหาคัมภีร์ไบเบิลเพื่อได้รับการปลอบโยน, ความหวัง, และการนำทางระหว่างยุคแห่งความยุ่งยากและความไม่แน่นอน.” เพราะเหตุใด?
เพราะคัมภีร์ไบเบิลมีขึ้นโดยการดลใจจากพระผู้สร้างของเราองค์เปี่ยมด้วยความรัก “พระเจ้าแห่งการปลอบโยนทุกอย่าง” พระองค์ “ผู้ทรงปลอบโยนเราในความทุกข์ยากทั้งสิ้นของเรา.” (2 โกรินโธ 1:3, 4, ล.ม.) พระองค์เป็น ‘พระเจ้าผู้ทรงให้มีการปลอบโยน.’ (โรม 15:5, ล.ม.) พระยะโฮวาได้ทรงวางตัวอย่างในการจัดเตรียมวิธีการบรรเทาไว้สำหรับเราทุกคน. พระองค์ได้ส่งพระคริสต์เยซู พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระองค์มายังแผ่นดินโลกเพื่อประทานความหวังและการประเล้าประโลมให้เรา. พระเยซูทรงสอนว่า “พระเจ้าทรงรักโลกมากถึงกับทรงประทานพระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่สำแดงความเชื่อในพระองค์นั้นจะไม่ถูกทำลายแต่มีชีวิตนิรันดร์.” (โยฮัน 3:16, ล.ม.) คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาถึงพระยะโฮวาว่าเป็นพระองค์ “ผู้ทรงแบกภาระของพวกเราทุก ๆ วัน, ที่จริงก็เป็นพระเจ้าแห่งความรอดของพวกเรา.” (บทเพลงสรรเสริญ 68:19) มนุษย์ที่เกรงกลัวพระเจ้าสามารถกล่าวด้วยความมั่นใจได้ว่า “ข้าพเจ้าได้ตั้งพระยะโฮวาไว้ตรงหน้าข้าพเจ้าเสมอ: เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่ข้างมือขวาของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจะไม่แปรปรวนไป.”—เพลงสรรเสริญ 16:8.
ตอนต่าง ๆ ดังกล่าวในคัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นความรักอันลึกซึ้งที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงมีต่อพวกเราที่เป็นมนุษย์. เป็นเรื่องชัดแจ้งว่าพระองค์ทรงมีความปรารถนาด้วยน้ำใสใจจริง—อีกทั้งความสามารถ—ที่จะจัดเตรียมการปลอบโยนมากมายและทำให้ความเจ็บปวดของเราในยามทุกข์ร้อนนั้นเบาบางลง. “พระองค์ทรงประทานแรงแก่ผู้ที่อิดโรย, ส่วนผู้ที่อ่อนเปลี้ย, พระองค์ทรงประทานกำลังให้.” (ยะซายา 40:29) ดังนั้นแล้ว เราจะรับการปลอบโยนจากพลังของพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด?
ความใฝ่พระทัยของพระยะโฮวายังผลเป็นการปลอบโยน
ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “จงมอบภาระของท่านไว้กับพระยะโฮวา และพระองค์เองจะทรงค้ำจุนท่าน. ไม่มีวันที่พระองค์จะทรงยอมให้คนชอบธรรมกะปลกกะเปลี้ยเลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 55:22, ล.ม.) ถูกแล้ว พระยะโฮวาพระเจ้ามีความสนพระทัยในครอบครัวมนุษย์. อัครสาวกเปโตรทำให้คริสเตียนในศตวรรษแรกมั่นใจอีกว่า “พระองค์ [พระเจ้า] ทรงใฝ่พระทัยในท่านทั้งหลาย.” (1 เปโตร 5:7, ล.ม.) พระเยซูคริสต์ทรงเน้นการที่พระเจ้าถือว่ามนุษย์มีคุณค่าโดยตรัสว่า “นกกะจาบห้าตัวเขาขายหกสตางค์มิใช่หรือ และนกนั้นแม้สักตัวเดียวพระเจ้ามิได้ทรงลืมเลย. ถึงผมของท่านทั้งหลายก็ทรงนับไว้แล้วทุกเส้น. อย่ากลัวเลย, ท่านทั้งหลายประเสริฐกว่านกกะจาบหลายตัว.” (ลูกา 12:6, 7) เรามีค่าสำหรับพระเจ้าจนถึงกับพระองค์ทรงสังเกตแม้แต่รายละเอียดเล็กน้อยที่สุดเกี่ยวกับตัวเรา. พระองค์ทรงทราบสิ่งต่าง ๆ ที่ตัวเราเองไม่รู้ เพราะพระองค์สนพระทัยอย่างลึกซึ้งในเราแต่ละคน.
การรู้สึกถึงความสนพระทัยเป็นส่วนตัวของพระยะโฮวาเช่นนี้ปรากฏว่าเป็นการปลอบโยนจริง ๆ สำหรับสเว็ตลานา โสเภณีเด็กที่กล่าวถึงในบทความก่อน. เธอได้พบกับพยานพระยะโฮวาตอนที่เธอกำลังจะฆ่าตัวตาย. ต่อจากนั้นเธอยอมรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งได้ช่วยเธอให้มารู้จักคุ้นเคยกับพระยะโฮวาฐานะเป็นบุคคลจริงซึ่งสนพระทัยในสวัสดิภาพของเธอ. นี่ทำให้เธอซาบซึ้งตรึงใจ เป็นแรงจูงใจให้เธอเปลี่ยนวิถีชีวิตและอุทิศตัวแด่พระเจ้า. นั่นยังทำให้สเว็ตลานามีความนับถือต่อตัวเองอีกด้วย ซึ่งเธอจำเป็นต้องมีความรู้สึกเช่นนั้นเพื่อจะบากบั่นต่อไปทั้ง ๆ ที่มีปัญหาและเพื่อจะมีทัศนะในแง่บวกต่อชีวิต. ตอนนี้เธอบอกว่า “ดิฉันมั่นใจว่าพระยะโฮวาจะไม่ละทิ้งดิฉันเลย. ดิฉันได้พบว่าข้อความซึ่งเขียนที่ 1 เปโตร 5:7 (ล.ม.) เป็นความจริง. ข้อนั้นบอกว่า ‘จงมอบความกระวนกระวายทั้งสิ้นของท่านไว้กับ [พระยะโฮวา] เพราะว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในท่านทั้งหลาย.’ ”
ความหวังที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลให้การปลอบโยน
วิธีหนึ่งโดยเฉพาะที่พระเจ้าทรงจัดให้มีการปลอบโยนคือ โดยทางพระคำของพระองค์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเสนอความหวังอันยอดเยี่ยมสำหรับอนาคต. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ทุกสิ่งที่เขียนไว้คราวก่อนได้เขียนไว้สั่งสอนพวกเรา เพื่อว่า โดยการอดทนของเราและโดยการปลอบโยนจากพระคัมภีร์เราจะมีความหวัง.” (โรม 15:4, ล.ม.) เปาโลอธิบายความเกี่ยวพันกันระหว่างความหวังแท้กับการปลอบโยนเมื่อท่านเขียนว่า “ขอ . . . พระเจ้าพระบิดาของเรา ผู้ทรงรักเราและทรงประทานการชูใจนิรันดร์และความหวังอันดีโดยพระกรุณาอันไม่พึงได้รับ ทรงชูใจท่านทั้งหลายและทำให้พวกท่านมั่นคงในการกระทำและคำพูดที่ดีทุกอย่าง.” (2 เธซะโลนิเก 2:16, 17) “ความหวังอันดี” นี้หมายรวมถึงความคาดหวังเกี่ยวกับชีวิตที่สมบูรณ์, มีความสุข, และไม่สิ้นสุดบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน.—2 เปโตร 3:13.
ความหวังที่แน่นอนและแจ่มใสดังกล่าวได้ให้กำลังใจแก่ไลมานิส ซึ่งเป็นอัมพาตและติดเหล้าตามที่กล่าวถึงในยะซายา 35:5, 6) เพื่อจะมีคุณสมบัติที่จะได้ชีวิตในอุทยานนั้น ไลมานิสทำการเปลี่ยนแปลงมากมาย. เขาเลิกดื่มเหล้า และการเปลี่ยนแปลงของเขาไม่ได้รอดพ้นจากการสังเกตของเพื่อนบ้านและคนที่รู้จักเขา. ตอนนี้เขานำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลหลายราย แบ่งปันการปลอบโยนที่ได้รับจากความหวังซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลนั้นให้กับคนอื่น.
บทความก่อน. โดยอ่านสรรพหนังสือของพยานพระยะโฮวาที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิล เขายินดีที่เรียนรู้เรื่องโลกใหม่ภายใต้ราชอาณาจักรของพระเจ้า ที่นั่นเขาสามารถมีสุขภาพดีดังเดิมได้อย่างแท้จริง. ในคัมภีร์ไบเบิล เขาอ่านคำสัญญาอันทำให้แจ่มใสต่อไปนี้เกี่ยวกับการเยียวยาอย่างอัศจรรย์ที่ว่า “ขณะนั้นตาของคนตาบอดจะเห็นได้, และหูของคนหูหนวกจะยินได้. แล้วคนง่อยจะเต้นได้ดุจดังอีเก้ง, และลิ้นของคนใบ้จะร้องเพลง.” (บทบาทของการอธิษฐาน
เมื่อหัวใจของเราอยู่ในสภาพเจ็บปวดเนื่องด้วยเหตุผลบางประการ เราอาจพบการปลอบโยนได้โดยการอธิษฐานถึงพระยะโฮวา. การทำเช่นนั้นอาจปลดเปลื้องภาระของเราออกไป. ระหว่างการวิงวอน เราอาจได้รับการปลอบโยนจากการระลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในพระคำของพระเจ้า. เพลงสรรเสริญบทยาวที่สุดในคัมภีร์ไบเบิลเป็นเหมือนคำอธิษฐานที่ไพเราะ. ผู้ประพันธ์เพลงบทนั้นได้ร้องเพลงว่า “ข้าพเจ้าระลึกถึงการตัดสินความของพระองค์ตั้งแต่เวลาไม่มีกำหนด โอพระยะโฮวา และข้าพเจ้าได้รับการปลอบโยนสำหรับข้าพเจ้าเอง.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:52, ล.ม.) ในสภาพการณ์ที่ลำบากแสนสาหัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะฉุกเฉินทางด้านสุขภาพ บ่อยครั้งไม่มีคำตอบอย่างเดียวที่ครอบคลุมไปหมด. ด้วยกำลังของเราเอง เราอาจไม่รู้แน่ชัดว่าจะหันไปที่ไหน. หลายคนพบว่าเมื่อได้ทำทุกอย่างเท่าที่มนุษย์จะทำได้แล้ว การหันไปหาพระเจ้าในคำอธิษฐานยังผลด้วยการปลอบโยนมากมาย และบางครั้งพบวิธีแก้ที่ไม่คาดคิดมาก่อน.—1 โกรินโธ 10:13.
แพตซึ่งถูกนำตัวส่งเข้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลอย่างรีบด่วน ได้ประสบผลที่เป็นการปลอบโยนจากการอธิษฐาน. หลังจากเธอมีสุขภาพดีดังเดิมแล้ว เธอกล่าวว่า “ดิฉันอธิษฐานถึงพระยะโฮวาและได้เรียนรู้อย่างแท้จริงว่าดิฉันต้องฝากชีวิตไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ ไว้วางใจพระองค์ให้ทำอะไรก็ตามที่เป็นพระทัยประสงค์ของพระองค์. ตลอดช่วงเวลานั้น ดิฉันรู้สึกสงบใจ; ดิฉันประสบสันติสุขของพระเจ้าตามที่บอกไว้ในฟิลิปปอย 4:6, 7 (ล.ม.).” ข้อเหล่านี้อาจให้การปลอบโยนสักเพียงไรแก่เราทุกคน! เปาโลเตือนเราในข้อนั้นว่า “อย่ากระวนกระวายด้วยสิ่งใด แต่ในทุกสิ่งจงทูลขอต่อพระเจ้าโดยการอธิษฐานและการวิงวอนพร้อมด้วยการขอบพระคุณ; แล้วสันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของท่านไว้โดยพระคริสต์เยซู.”
พระวิญญาณบริสุทธิ์ฐานะเป็นผู้ปลอบโยน
ในคืนก่อนการวายพระชนม์ พระเยซูทรงชี้ชัดแก่เหล่าอัครสาวกของพระองค์ว่า ในไม่ช้าพระองค์จะทรงจากพวกเขาไป. นี่ทำให้พวกเขาเป็นทุกข์และเศร้าระทม. (โยฮัน 13:33, 36; 14:27-31) โดยสำนึกถึงความจำเป็นที่พวกเขาต้องได้รับการปลอบโยนต่อไป พระเยซูทรงสัญญาว่า “เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์ก็จะประทานผู้ช่วยเหลือ [หรือผู้ปลอบโยน] อีกผู้หนึ่งให้แก่เจ้าทั้งหลาย เพื่อจะอยู่กับพวกเจ้าตลอดไป.” (โยฮัน 14:16, ล.ม.; เชิงอรรถ) ในที่นี้ พระเยซูกำลังพาดพิงถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า. นอกจากสิ่งอื่น ๆ แล้ว พระวิญญาณของพระเจ้ายังปลอบโยนพวกอัครสาวกระหว่างการทดลอง และเสริมกำลังให้พวกเขาทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าต่อไป.—กิจการ 4:31.
แอนจีซึ่งสามีของเธอใกล้จะเสียชีวิตหลังจากอุบัติเหตุร้ายแรง สามารถรับมืออย่างเป็นผลสำเร็จกับความทุกข์ร้อนและความเจ็บปวดจากสภาพการณ์ทุกอย่างของเธอ. อะไรได้ช่วยเธอ? เธอบอกว่า “หากไม่มีการเกื้อหนุนจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาแล้ว เราไม่สามารถผ่านสิ่งที่เราได้ประสบและคงเข้มแข็งอยู่ต่อไปได้. พลังของพระยะโฮวาถูกทำให้ปรากฏชัดจริง ๆ โดยทางความอ่อนแอของเรา และพระองค์ทรงพิสูจน์แล้วว่าเป็นป้อมปราการในยามที่เราทุกข์ร้อน.”
ภราดรภาพที่ให้การปลอบโยน
ไม่ว่าสภาพการณ์ในชีวิตของคนเราอาจเป็นเช่นไร ไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่ทำให้เจ็บปวดใด ๆ ก็ตามอาจเกิดขึ้น เขาน่าจะสามารถพบการปลอบโยนได้ในภราดรภาพที่มีอยู่ภายในประชาคมของพระยะโฮวา. ภราดรภาพนี้จัดให้มีการเกื้อหนุนและความช่วยเหลือทางด้านวิญญาณสำหรับคนเหล่านั้นที่คบหากับประชาคม. ภายในประชาคม คนเราสามารถพบกลุ่มมิตรสหายที่มีความรัก, ห่วงใย, และให้การปลอบโยน ผู้ซึ่งอยู่พร้อมและเต็มใจจะช่วยเหลือและปลอบโยนคนอื่นในยามทุกข์ร้อน.—2 โกรินโธ 7:5-7.
ฆะลาเตีย 6:10, ล.ม.) การศึกษาที่พวกเขาได้รับซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักนั้นกระตุ้นพวกเขาให้สำแดงความรักฉันพี่น้องและความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกันและกัน. (โรม 12:10; 1 เปโตร 3:8) พี่น้องชายและหญิงฝ่ายวิญญาณในประชาคมได้รับการกระตุ้นให้เป็นคนกรุณา, ให้การปลอบโยน, และมีความเมตตาสงสารอันอ่อนละมุน.—เอเฟโซ 4:32.
สมาชิกของประชาคมคริสเตียนได้รับการสอนให้ “ทำการดีต่อคนทั้งปวง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่สัมพันธ์กับ [เขา] ในความเชื่อ.” (โจกับรีเบกกา ซึ่งสูญเสียลูกชายไปด้วยความตายอย่างน่าเศร้านั้น ได้ประสบการเกื้อหนุนที่ปลอบโยนดังกล่าวจากสมาชิกของประชาคมคริสเตียน. เขาทั้งสองบอกว่า “พระยะโฮวาและประชาคมที่เปี่ยมด้วยความรักของพระองค์ได้ช่วยเราให้ผ่านพ้นช่วงที่ลำบาก. เราได้รับบัตร, จดหมาย, และโทรศัพท์แสดงความเสียใจจำนวนนับร้อย. นี่ทำให้เราตระหนักว่า ภราดรภาพของเราช่างล้ำค่าสักเพียงไร. ขณะที่เราอยู่ในสภาพงงงันเนื่องจากเหตุการณ์ที่น่าเศร้านั้น หลายประชาคมในท้องถิ่นได้มาให้ความช่วยเหลือ เตรียมอาหารและทำความสะอาดบ้านให้เรา.”
รับการปลอบโยน!
เมื่อลมแห่งความทุกข์ลำบากเริ่มพัดกระโชกและสายฝนที่ไร้ความปรานีและลูกเห็บแห่งความทุกข์โหมกระหน่ำไม่หยุดหย่อน พระเจ้าทรงพร้อมจะจัดให้มีการปกป้องที่ปลอบประโลม. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญคนหนึ่งพรรณนาถึงพระองค์ว่าทรงจัดเตรียมที่หลบภัยซึ่งให้การปลอบโยนไว้ทำนองนี้ “พระองค์จะทรงปกคลุมท่านไว้ด้วยปลายปีกของพระองค์ และท่านจะอาศัยอยู่ใต้ปีกของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 91:4, ล.ม.) นี่อาจเป็นภาพเปรียบเทียบเกี่ยวกับนกอินทรี. เป็นภาพของนกที่รู้สึกถึงอันตรายและครั้นแล้วก็กางปีกออกเพื่อปกป้องลูกน้อยของมัน. ในความหมายที่สำคัญกว่านั้นอีก พระยะโฮวาทรงเป็นผู้ปกป้องแท้สำหรับทุกคนซึ่งหาที่หลบภัยในพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 7:1.
หากคุณประสงค์จะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระเจ้า, บุคลิกภาพ, พระประสงค์ของพระองค์, และความสามารถของพระองค์ที่จะจัดเตรียมการปลอบโยนให้แล้ว คุณได้รับเชิญให้ศึกษาพระคำของพระองค์. พยานพระยะโฮวาจะยินดีช่วยคุณในการพยายามทำเช่นนั้น. ถูกแล้ว คุณสามารถรับการปลอบโยนจากพลังของพระยะโฮวาด้วยเช่นกัน!
[ภาพหน้า 7]
ความหวังสำหรับอนาคตที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลให้การปลอบโยนได้