ทำไมการทุจริตมีมากเหลือเกิน?
ทำไมการทุจริตมีมากเหลือเกิน?
“อย่ารับสินบนเลย เพราะว่าสินบนทำให้คนตาดีกลายเป็นคนตาบอดไป และอาจพลิกคดีของคนชอบธรรมเสียได้.”—เอ็กโซโด [อพยพ] 23:8, ฉบับแปลใหม่.
สามพันห้าร้อยปีมาแล้ว พระบัญญัติของโมเซตำหนิการรับสินบน. ตลอดหลายศตวรรษตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กฎหมายที่ต่อต้านการทุจริตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว. ถึงอย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายมิได้ประสบผลสำเร็จในการยับยั้งการทุจริต. มีการให้สินบนนับล้านรายทุกวัน และผู้คนนับพันล้านประสบผลที่เกิดขึ้น.
การทุจริตได้แพร่ไปทั่วและสลับซับซ้อนมากจนมีเค้าว่าจะบ่อนทำลายโครงสร้างของสังคมเลยทีเดียว. ในบางประเทศแทบทุกอย่างจะทำให้สำเร็จไม่ได้นอกเสียจากจะมีการหยอดน้ำมัน. สินบนที่ให้แก่บุคคลที่เหมาะจะทำให้คนเราสามารถสอบผ่าน, ได้รับใบอนุญาตขับขี่ยวดยาน, ชนะการประมูล, หรือชนะคดีฟ้องร้อง. อาร์โน มงต์บูร์ ทนายความชาวปารีสคร่ำครวญว่า “การทุจริตเป็นเหมือนภาวะมลพิษที่หนักหน่วงซึ่งถ่วงผู้คนให้หมดกำลังใจ.”
การติดสินบนลุกลามไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการค้า. บางบริษัทจัดสรรหนึ่งในสามของกำไรทั้งหมดที่ได้รับนั้นเพื่อติดสินบนข้าราชการที่ทุจริตโดยเฉพาะ. ตามที่วารสารดิ อิโคโนมิสต์ ของอังกฤษกล่าว มีการใช้เงินมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐทุกปีในการค้าอาวุธระหว่างชาติเพื่อติดสินบนผู้ที่มีทีท่าว่าจะเป็นลูกค้าได้. ขณะที่อัตราของการทุจริตนี้เพิ่มทวีขึ้น ผลที่เกิดขึ้นกลายเป็นความหายนะ. ระหว่างทศวรรษที่แล้ว กล่าวกันว่าระบบทุนนิยมแบบ “เล่นพรรคเล่นพวก”—กิจปฏิบัติทางธุรกิจที่ทุจริตซึ่งให้สิทธิพิเศษแก่ไม่กี่คนซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างดี—ได้ทำลายเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศ.
เป็นสิ่งเลี่ยงไม่พ้น คนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการทุจริตและการสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเป็นผลสืบเนื่องนั้นได้แก่คนจน ซึ่งอยู่ในฐานะที่ยากจะติดสินบนใคร ๆ ได้. ดังที่ดิ อิโคโนมิสต์ กล่าวอย่างรวบรัดว่า “การทุจริตเป็นเพียงการกดขี่รูปแบบหนึ่งเท่านั้น.” จะเอาชนะการกดขี่แบบนี้ได้ไหม หรือว่าการทุจริตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้? เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องระบุสาเหตุพื้นฐานบางอย่างของการทุจริตก่อน.
อะไรเป็นสาเหตุของการทุจริต?
ทำไมผู้คนเลือกจะทุจริตแทนที่จะเป็นคนสุจริต? สำหรับบางคน การทุจริตอาจเป็นทางที่ง่ายที่สุด—หรือเป็นทางเดียวจริง ๆ ที่จะได้สิ่งที่เขาต้องการ. บางครั้ง สินบนอาจทำให้สะดวกที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษ. เมื่อสังเกตว่า พวกนักการเมือง, ตำรวจ, และผู้พิพากษาดูเหมือนจะมองข้ามการทุจริตหรือถึงกับทำการทุจริตเสียเอง หลายคนก็ได้แต่ติดตามตัวอย่างของพวกเขา.
ขณะที่การทุจริตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การกระทำดังกล่าวเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติของชีวิตในที่สุด. คนที่ได้ค่าจ้างต่ำอย่างน่าสมเพชเกิดความรู้สึกว่าตนไม่มีทางเลือก. เขาต้องเรียกร้องเอาสินบนหากท่านผู้ประกาศ 8:11.
ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย. และเมื่อคนเหล่านั้นที่รีดไถสินบนหรือจ่ายสินบนเพื่อได้ผลประโยชน์อันมิชอบนั้นดำเนินไปโดยไม่ถูกลงโทษ จึงมีน้อยคนพร้อมจะทวนกระแส. กษัตริย์ซะโลโมได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “เพราะการตัดสินการงานไม่ได้ตัดสินโดยเร็ว, เหตุฉะนั้นใจของบุตรมนุษย์จึงปลงแน่วจะทำชั่ว.”—พลังที่มีอิทธิพลสองอย่างที่กระพือไฟแห่งการทุจริตอยู่เรื่อย ๆ คือ ความเห็นแก่ตัวและความโลภ. เนื่องจากความเห็นแก่ตัว คนทุจริตจึงเพิกเฉยต่อความทุกข์ที่เขาทำให้เกิดขึ้นกับคนอื่นเพราะการทุจริตของเขา และเขาอ้างเหตุผลว่าการติดสินบนถูกต้องเพียงเพราะเขาได้รับประโยชน์จากการทำเช่นนั้น. ยิ่งเขาส่ำสมผลประโยชน์ด้านวัตถุมากขึ้นเท่าใด คนที่ทำการทุจริตก็กลายเป็นคนโลภมากขึ้นเท่านั้น. ซะโลโมให้ข้อสังเกตว่า “คนรักเงิน, ไม่อิ่มด้วยเงิน; และคนรักกำไร, ไม่รู้อิ่มด้วยความมั่งคั่ง.” (ท่านผู้ประกาศ 5:10) เป็นความจริงที่ว่า ความโลภอาจเป็นตัวกระตุ้นในการหาเงิน แต่มักจะทำให้คนเราทำเป็นมองไม่เห็นการทุจริตและการทำผิดกฎหมายเสมอ.
ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ บทบาทของผู้ครองโลกนี้ที่ไม่ประจักษ์แก่ตา ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลระบุตัวว่าเป็นซาตานพญามาร. (1 โยฮัน 5:19; วิวรณ์ 12:9) ซาตานเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดการทุจริต. การให้สินบนมากที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมาคือสินบนที่ซาตานเสนอแก่พระคริสต์. ‘เราจะให้ทุกอาณาจักรของโลกแก่ท่านถ้าท่านคุกเข่าลง และกราบไหว้เราสักครั้ง.’—มัดธาย 4:8, 9, ล.ม.
อย่างไรก็ตาม พระเยซูเป็นผู้ที่ไม่มีใครติดสินบนได้ และพระองค์ทรงสอนเหล่าสาวกให้ประพฤติในแนวทางคล้ายกัน. คำสอนของพระคริสต์อาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับต่อสู้การทุจริตในทุกวันนี้ได้ไหม? บทความต่อไปจะวิเคราะห์คำถามนี้.