กิตติคุณ—ประวัติศาสตร์หรือเทพนิยาย?
กิตติคุณ—ประวัติศาสตร์หรือเทพนิยาย?
ตลอดทั่วโลก ประวัติของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ—ชายหนุ่มซึ่งได้เปลี่ยนแนวประวัติศาสตร์ของมนุษย์—ได้แทรกซึมอยู่ทั่วโครงสร้างของสังคม. ประวัตินั้นกลายเป็นส่วนของการศึกษาเรียนรู้ของผู้คนในสถานศึกษาและจากแหล่งอื่น ๆ. หลายคนถือว่ากิตติคุณเป็นต้นกำเนิดของสัจธรรมและคติพจน์ตลอดกาล เช่น “ให้คำของเจ้าที่ว่าใช่ หมายความว่าใช่ ที่ว่าไม่ ก็หมายความว่าไม่.” (มัดธาย 5:37, ล.ม.) ที่จริง เรื่องราวในกิตติคุณอาจเป็นพื้นฐานสำหรับบทเรียนต่าง ๆ ที่บิดามารดาได้สอนคุณ ไม่ว่าท่านเป็นคริสเตียนหรือไม่ก็ตาม.
สำหรับสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระคริสต์นับล้าน ๆ คนแล้ว กิตติคุณได้ให้คำพรรณนาเกี่ยวกับบุรุษผู้ซึ่งพวกเขาเต็มใจจะทนทุกข์และยอมตายเพื่อท่านผู้นี้. กิตติคุณยังจัดให้มีรากฐานและแรงบันดาลใจสำหรับความกล้าหาญ, ความอดทน, ความเชื่อ, และความหวังด้วย. ถ้าเช่นนั้น คุณเห็นพ้องด้วยมิใช่หรือว่า การบอกปัดเรื่องราวเหล่านี้ว่าเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นนั้น จะต้องมีหลักฐานที่ไม่อาจโต้แย้งได้มายืนยัน? เมื่อคำนึงถึงการที่เรื่องราวในกิตติคุณมีผลกระทบอย่างมากมายต่อความคิดและความประพฤติของมนุษย์แล้ว คุณจะไม่เรียกร้องเอาข้อพิสูจน์ที่ทำให้มั่นใจได้หรอกหรือ ถ้ามีคนต้องการแสดงความสงสัยต่อความน่าเชื่อถือของกิตติคุณ?
เราขอเชิญคุณให้พิจารณาคำถามที่กระตุ้นความคิดบางข้อเกี่ยวกับกิตติคุณ. โปรดดูด้วยตัวคุณเองว่านักศึกษาเกี่ยวกับกิตติคุณบางคนคิดอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ถึงแม้บางคนในพวกเขาไม่ได้อ้างว่าเป็นคริสเตียนก็ตาม. ครั้นแล้ว คุณสามารถลงความเห็นอย่างที่ได้ข้อมูลครบถ้วนได้ด้วยตัวเอง.
คำถามที่พึงพิจารณา
◆ กิตติคุณอาจเป็นการแต่งเรื่องอย่างชำนาญไหม?
โรเบิร์ต ฟุงก์ ผู้ก่อตั้งการสัมมนาว่าด้วยพระเยซูกล่าวว่า “มัดธาย, มาระโก, ลูกาและโยฮัน ‘นำเสนอพระมาซีฮา’ เพื่อทำให้พระองค์สอดคล้องกับหลักคำสอนคริสเตียนซึ่งได้พัฒนาขึ้นหลังจากความตายของพระเยซู.” อย่างไรก็ดี ขณะที่มีการเขียนกิตติคุณ หลายคนซึ่งได้ยินคำตรัสของพระเยซู, ได้สังเกตเห็นการกระทำของพระองค์, และได้เห็นพระองค์หลังจากการคืนพระชนม์นั้นยังคงมีชีวิตอยู่. พวกเขาไม่ได้กล่าวหาผู้เขียนกิตติคุณว่ากุเรื่องใด ๆ ขึ้น.
ขอพิจารณาดูการวายพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระคริสต์. ไม่เพียงกิตติคุณเท่านั้นมีเรื่องราวที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการวายพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระเยซู แต่เรื่องนั้นมีในจดหมายฉบับแรกของอัครสาวกเปาโลที่เป็นส่วนของพระคัมภีร์ซึ่งเขียนถึงคริสเตียนในเมืองโกรินโธโบราณด้วย. ท่านเขียนว่า “ข้อความอันสำคัญที่สุดซึ่งข้าพเจ้ารับไว้แล้วนั้น ข้าพเจ้าได้ประกาศแก่ท่านทั้งหลาย, คือว่าพระคริสต์ได้วายพระชนม์เพราะความผิดของเราทั้งหลายตามคัมภีร์ที่เขียนไว้แล้วนั้น, และทรงถูกฝังไว้, แล้ววันที่สามพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาใหม่ตามคัมภีร์ที่เขียนไว้แล้วนั้น. แล้วพระองค์ทรงปรากฏแก่เกฟา ภายหลังทรงปรากฏแก่อัครสาวกสิบสองคนนั้น. ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏแก่พวกพี่น้องกว่าห้าร้อยคนในคราวเดียว, ซึ่งส่วนมากยังอยู่จนถึงทุกวันนี้, แต่บางคนก็ล่วงหลับไปแล้ว. ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏแก่ยาโกโบอีก, แล้วทรงปรากฏแก่อัครสาวกทั้งหมด. ภายหลังที่สุดพระองค์ทรงปรากฏแก่ข้าพเจ้าด้วย, เหมือนอย่างเด็กคลอดก่อนกำหนด.” (1 โกรินโธ 15:3-8) ประจักษ์พยานดังกล่าวเป็นผู้อารักขาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู.
การแต่งเรื่องขึ้นตามที่พวกนักวิจารณ์สมัยใหม่กล่าวหานั้นไม่ปรากฏในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก. แทนที่กิจการ 20:28-30.
จะเป็นเช่นนั้น ลักษณะดังกล่าวปรากฏในเอกสารของศตวรรษที่สองสากลศักราช. ดังนั้น การบรรยายที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์เกี่ยวกับพระคริสต์บางเรื่องเกิดขึ้นคราวที่การออกหากจากศาสนาคริสเตียนแท้พัฒนาขึ้นท่ามกลางชุมชนที่ห่างเหินจากประชาคมของอัครสาวก.—◆ กิตติคุณอาจเป็นตำนานไหม?
นักประพันธ์และนักวิจารณ์ชื่อ ซี. เอส. ลีวิส พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะถือว่ากิตติคุณเป็นเพียงตำนาน. เขาเขียนว่า “ในฐานะนักประวัติศาสตร์ด้านวรรณคดี ผมมั่นใจอย่างแท้จริงว่า ไม่ว่าจะเป็นเช่นไรก็ตาม กิตติคุณไม่ใช่ตำนาน. กิตติคุณไม่ได้สะท้อนถึงจินตนาการมากพอที่จะเป็นตำนาน. . . . ชีวิตส่วนใหญ่ของพระเยซูเป็นอย่างไรเราไม่รู้ และคนที่แต่งตำนานขึ้นจะไม่ยอมปล่อยให้เป็นเช่นนั้น.” เป็นที่น่าสนใจด้วยว่า ถึงแม้ เอช. จี. เวลส์ นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไม่ได้อ้างว่าเป็นคริสเตียนก็ตาม เขาก็ยังยอมรับว่า “[ผู้เขียนกิตติคุณ] ทั้งสี่เล่มลงรอยกันในการให้เรื่องราวแก่เราเกี่ยวกับบุคลิกภาพอันแน่นอน; กิตติคุณเหล่านั้นถ่ายทอด . . . ความมั่นใจในความเป็นจริง.”
ขอพิจารณากรณีหนึ่งที่พระเยซูผู้คืนพระชนม์แล้วได้ปรากฏแก่เหล่าสาวกของพระองค์. นักแต่งตำนานที่เก่งคงมีท่าทีว่าจะให้การคืนพระชนม์ของพระเยซูเป็นไปอย่างที่น่าตื่นตาตื่นใจ, ทรงให้คำบรรยายที่ยิ่งใหญ่, หรือเต็มไปด้วยรัศมีและความรุ่งโรจน์โชติช่วง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนกิตติคุณเพียงแต่พรรณนาว่าพระองค์ทรงยืนอยู่หน้าพวกสาวก. พระองค์ปล่อยให้พวกเขาแตะต้องพระองค์ แล้วทรงถามว่า “ลูกเอ๋ย พวกเจ้าไม่มีอะไรกินหรือ?” (โยฮัน 21:5, ล.ม.) ผู้คงแก่เรียนชื่อเกรก อีสเทอร์บรุก สรุปว่า “นี่เป็นรายละเอียดที่บ่งชี้ถึงเรื่องราวที่แท้จริง ไม่ใช่การแต่งเทพนิยาย.”
ข้อกล่าวหาที่ว่ากิตติคุณเป็นตำนานยังเผชิญอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งด้วย นั่นคือวิธีการสอนที่เคร่งครัดของพวกรับบีซึ่งกำลังแพร่หลายอยู่ระหว่างช่วงเวลาที่มีการเขียนกิตติคุณ. วิธีนั้นยึดติดอยู่กับการเรียนโดยการท่องจำ—ท่องเป็นกิจวัตรหรือท่องซ้ำ ๆ จนขึ้นใจ. นี่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดที่ถูกต้องและถี่ถ้วนเกี่ยวกับคำตรัสและผลงานของพระเยซูอย่างที่ตรงกันข้ามกับการผลิตเรื่องที่มีการแต่งเติม.
◆ ถ้ากิตติคุณเป็นตำนานแล้ว จะเรียบเรียงกิตติคุณนั้นอย่างรวดเร็วหลังจากการวายพระชนม์ของพระเยซูได้หรือ?
ตามหลักฐานที่หาได้ กิตติคุณได้รับการเขียนระหว่างปี ส.ศ. 41 กับปี ส.ศ. 98. พระเยซูสิ้นพระชนม์ในปี ส.ศ. 33. นี่หมายความว่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ได้รับการเรียบเรียงในเวลาค่อนข้างสั้นหลังจากงานรับใช้ของพระองค์สิ้นสุดลง. นี่ก่อปัญหามากมายต่อข้อโต้แย้งที่ว่าเรื่องเล่าของกิตติคุณเป็นเพียงตำนาน. เพื่อจะเกิดตำนานขึ้นมาต้องอาศัยเวลา. ขอยกตัวอย่างเรื่องอิเลียด กับออดิซี ซึ่งแต่งโดยโฮเมอร์กวีชาวกรีกโบราณ. บางคนถือว่าข้อความของตำนานมหากาพย์สองเรื่องนั้นใช้เวลาหลายร้อยปีในการพัฒนาขึ้นแล้วกลายเป็นเรื่องที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง. จะว่าอย่างไรกับกิตติคุณ?
ในหนังสือซีซาร์และพระคริสต์ (ภาษาอังกฤษ) นักประวัติศาสตร์วิลล์ ดูแรนต์ เขียนว่า “ที่ว่าบุคคลธรรมดาไม่กี่คน . . . ได้แต่งเรื่องบุคคลผู้ทรงพลังและมีบุคลิกที่ดึงดูดใจมาก แต่งหลักจรรยาและอุดมการณ์อันสูงส่งในเรื่องภราดรภาพของมนุษยชาติอันเป็นแรงบันดาลใจนั้นขึ้นมา คงจะเป็นเรื่องอัศจรรย์ไม่น่าเชื่อยิ่งกว่าการอัศจรรย์ใด ๆ ซึ่งมีบันทึกในกิตติคุณทั้งสี่เสียอีก. หลังจากสองศตวรรษของการวิพากษ์วิจารณ์คัมภีร์ไบเบิล เค้าโครงของชีวิต, อุปนิสัย, และคำสอนของพระคริสต์, ยังคงชัดเจนพอควร และประกอบกันเป็นลักษณะเด่นที่ตรึงใจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวตะวันตก.”
◆ กิตติคุณได้รับการแก้ไขภายหลังเพื่อให้เหมาะกับความจำเป็นของชุมชนคริสเตียนยุคแรกไหม?
นักวิจารณ์บางคนโต้แย้งว่า นักการเมืองของชุมชนคริสเตียนยุคแรกเป็นต้นเหตุทำให้ผู้เขียนกิตติคุณแก้ไขเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูหรือเพิ่มเติมเรื่องนั้น. อย่างไรก็ตาม การศึกษากิตติคุณอย่างละเอียดแสดงว่าไม่มีการแก้ดังกล่าว. หากเรื่องราวในกิตติคุณเกี่ยวกับพระเยซูได้ถูกเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากแผนการของคริสเตียนในศตวรรษแรกแล้ว ทำไมคำกล่าวในแง่ลบเกี่ยวกับทั้งชาวยิวและคนต่างชาติจึงยังคงปรากฏอยู่ในต้นฉบับ?
ตัวอย่างหนึ่งพบได้ที่มัดธาย 6:5-7 ในข้อนั้นมีการยกคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เมื่อท่านทั้งหลายจะอธิษฐาน, อย่าเป็นเหมือนคนหน้าซื่อใจคด เพราะเขาชอบยืนอธิษฐานใน ธรรมศาลาและตามถนน, เพื่อจะให้คนทั้งปวงเห็น. เราบอกท่านตามจริงว่า, เขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว.” ปรากฏชัด นี่เป็นการตำหนิผู้นำศาสนาชาวยิว. พระเยซูตรัสต่อไปว่า “เมื่อท่านอธิษฐาน, อย่ากล่าวคำซ้ำให้มากเหมือนคนต่างประเทศ [คนต่างชาติ] เพราะเขาคิดว่าพูดมากหลายคำพระจึงจะโปรดฟัง.” โดยการยกคำตรัสของพระเยซูในลักษณะนี้ ผู้เขียนกิตติคุณไม่ได้พยายามทำให้คนเปลี่ยนศาสนา. พวกเขาเพียงแต่บันทึกถ้อยคำที่พระเยซูคริสต์ตรัสอย่างแท้จริง.
ขอพิจารณาเรื่องราวในกิตติคุณเกี่ยวกับพวกผู้หญิงซึ่งได้ไปที่อุโมงค์ฝังศพของพระเยซูและเห็นว่าอุโมงค์นั้นว่างเปล่าด้วย. (มาระโก 16:1-8) ตามที่เกรก อีสเทอร์บรุก กล่าวนั้น “ในสังคมวิทยาเกี่ยวกับตะวันออกกลางโบราณ ถือกันมาแต่ดั้งเดิมว่าหลักฐานพยานโดยพวกผู้หญิงนั้นเชื่อถือไม่ได้: ตัวอย่างเช่น พยานที่เป็นชายสองคนนับว่าพอเพียงที่จะตัดสินว่าผู้หญิงที่เล่นชู้นั้นกระทำผิด ขณะที่หลักฐานของผู้หญิงไม่อาจตัดสินได้ว่าผู้ชายกระทำผิด.” ที่จริง เหล่าสาวกของพระเยซูเองก็ไม่ได้เชื่อพวกผู้หญิงด้วยซ้ำ! (ลูกา 24:11) ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าจะมีทางเป็นไปได้เลยว่าเรื่องราวดังกล่าวจะถูกแต่งขึ้นอย่างจงใจ.
การที่อุปมาต่าง ๆ ไม่มีอยู่ในจดหมายของอัครสาวกและในพระธรรมกิจการนั้นเป็นข้อพิสูจน์ที่หนักแน่นว่า คริสเตียนยุคแรกไม่ได้สอดแทรกอุปมาเหล่านั้นที่มีอยู่ในกิตติคุณเข้ามา แต่เป็นคำตรัสของพระเยซูเอง. นอกจากนี้ การเปรียบเทียบกิตติคุณกับจดหมายของอัครสาวกอย่างถี่ถ้วนเผยให้เห็นว่า ไม่ได้มีการใช้เล่ห์เหลี่ยมดัดแปลงถ้อยคำและทำให้ดูเหมือนว่าพระเยซูเป็นผู้ตรัส ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของเปาโลหรือคำพูดของผู้เขียนพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกคนอื่น ๆ. หากชุมชนคริสเตียนยุคแรกได้ทำเช่นนั้นจริง เราก็น่าจะคาดหมายได้ว่า จะพบเนื้อหาอย่างน้อยบางเรื่องจากจดหมายของอัครสาวกที่พูดถึงเรื่องราวในกิตติคุณ. เนื่องจากเราไม่พบ เราจึงสามารถสรุปได้อย่างแน่นอนว่า เรื่องราวในกิตติคุณเป็นผลงานดั้งเดิมและเชื่อถือได้.
◆ จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับข้อที่ดูเหมือนว่าขัดแย้งกันในกิตติคุณ?
พวกนักวิจารณ์ได้อ้างมานานแล้วว่ากิตติคุณเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง? นักประวัติศาสตร์ดูแรนต์พยายามจะตรวจสอบเรื่องราวในกิตติคุณจากแง่คิดที่ไม่ลำเอียงอย่างแท้จริง—ในฐานะเป็นเอกสารที่เป็นจริงทางประวัติศาสตร์. ถึงแม้เขาบอกว่ามีข้อที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันในกิตติคุณก็ตาม เขาสรุปว่า “ข้อขัดแย้งต่าง ๆ เป็นข้อปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ใช่สาระสำคัญ โดยเนื้อแท้แล้วกิตติคุณที่เป็นข้อใหญ่ใจความสอดคล้องกันอย่างเด่นชัดทีเดียว และประกอบกันเป็นคำพรรณนาที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับพระคริสต์.”
ข้อที่ดูเหมือนว่าขัดแย้งกันในกิตติคุณนั้นบ่อยครั้งอธิบายได้ไม่ยาก. เพื่อเป็นเป็นตัวอย่าง: มัดธาย 8:5 กล่าวว่า “มีนายร้อยคนหนึ่งมาอ้อนวอน [พระเยซู]” เพื่อรักษาบ่าวให้หาย. ที่ลูกา 7:3 เราอ่านว่านายร้อย “ใช้ผู้เฒ่าของพวกยูดายให้ไปอ้อนวอนเชิญ [พระเยซู] เสด็จมารักษาทาสของตน.” นายร้อยส่งพวกผู้เฒ่าไปฐานะเป็นตัวแทนของเขา. มัดธายกล่าวว่านายร้อยได้อ้อนวอนพระเยซูด้วยตัวเอง เพราะเขาเสนอคำขอร้องผ่านทางพวกผู้เฒ่า ซึ่งรับใช้ฐานะเป็นกระบอกเสียง ของเขา. นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งซึ่งแสดงว่าข้อต่าง ๆ ที่ถือว่าไม่ประสานกันในกิตติคุณนั้นสามารถอธิบายได้.
จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่ากิตติคุณไม่บรรลุมาตรฐานของประวัติศาสตร์แท้? ดูแรนต์กล่าวต่อไปว่า “ด้วยความกระตือรือร้นในการค้นพบที่การวิพากษ์วิจารณ์ได้นำมาใช้กับการทดสอบความน่าเชื่อถือของพันธสัญญาใหม่อย่างจริงจังจนกระทั่งโดยการทดสอบเหล่านั้น บุคคลผู้มีชื่อเสียงในสมัยโบราณหลายคน เช่น ฮัมมูราบิ, ดาวิด, โสกราตีสคงจะกลายเป็นบุคคลในตำนานไป. แม้จะมีอคติและข้อคิดเห็นทางเทววิทยาอยู่ก่อนแล้วของผู้เผยแพร่กิตติคุณก็ตาม พวกเขาก็บันทึกเหตุการณ์หลายอย่างซึ่งคนที่เป็นเพียงผู้แต่งเรื่องเท่านั้นจะปิดบังไว้ เช่น เรื่องการแข่งขันชิงดีกันระหว่างพวกอัครสาวกเพื่อจะได้ตำแหน่งสูงในราชอาณาจักร, การที่พวกเขาหนีไปหลังจากพระเยซูถูกจับกุม, การที่เปโตรปฏิเสธพระเยซู . . . ไม่มีใครที่อ่านเรื่องราวเหล่านี้แล้วจะสงสัยความเป็นจริงของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องเหล่านี้.”
◆ ศาสนาคริสเตียนสมัยปัจจุบันเป็นตัวแทนของพระเยซูบุคคลในกิตติคุณไหม?
การสัมมนาว่าด้วยพระเยซูได้แถลงว่าการวิจัยค้นคว้าของการประชุมในเรื่องกิตติคุณนั้น “ไม่ได้ถูกจำกัดไว้โดยการบงการของสภาประชุมคริสตจักร.” แต่นักประวัติศาสตร์เวลส์ตระหนักว่า มีช่องว่างที่ใหญ่โตระหว่างคำสอนของพระเยซูดังที่เสนอในกิตติคุณกับคำสอนของคริสต์ศาสนจักร. เขาเขียนว่า “ไม่มีหลักฐานที่ว่าอัครสาวกของพระเยซูเคยได้ยินเรื่องตรีเอกานุภาพ—อย่างน้อยที่สุดจากพระองค์. . . . ทั้ง [พระเยซู] ก็มิได้ตรัสอะไรเกี่ยวกับการนมัสการมาเรียมารดาของพระองค์ ซึ่งเป็นรูปโฉมใหม่ของไอซิส ราชินีแห่งสวรรค์. คำสอนทั้งหมดของคริสต์ศาสนจักรในการนมัสการและธรรมเนียมปฏิบัตินั้น พระองค์ไม่ทรงทราบเลย.” ฉะนั้น คนเราไม่อาจตัดสินคุณค่าของกิตติคุณโดยอาศัยคำสอนของคริสต์ศาสนจักรได้.
ข้อสรุปของคุณเป็นอย่างไร?
หลังจากพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คุณ คิดอย่างไร? มีข้อพิสูจน์กิจการ 17:11) เมื่อคุณพิจารณาว่ากิตติคุณเสนอบุคลิกภาพของพระเยซูด้วยความสอดคล้องกัน, ด้วยความซื่อสัตย์, และความถูกต้องแล้ว คุณก็จะตระหนักว่าเรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่การรวบรวมนิทานต่าง ๆ อย่างแน่นอน. *
ที่แท้จริง และเชื่อถือได้ไหมว่ากิตติคุณเป็นเพียงเทพนิยาย? หลายคนพบว่าคำถามและข้อสงสัยที่มีการยกขึ้นมาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของกิตติคุณนั้นเป็นที่น่าสงสัยและเชื่อถือไม่ได้. เพื่อลงความเห็นด้วยตัวเอง คุณต้องอ่านกิตติคุณด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง. (หากคุณตรวจสอบคัมภีร์ไบเบิลอย่างถี่ถ้วนและเอาคำแนะนำของพระคัมภีร์มาใช้แล้ว คุณจะเห็นว่าพระคัมภีร์สามารถเปลี่ยนชีวิตของคุณให้ดีขึ้น. (โยฮัน 6:68) นี่เป็นความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำตรัสของพระเยซูที่บันทึกในกิตติคุณ. นอกจากนั้น คุณยังสามารถเรียนรู้ในกิตติคุณเกี่ยวกับอนาคตอันน่าพิศวงซึ่งรอมนุษยชาติที่เชื่อฟังอยู่.—โยฮัน 3:16; 17:3, 17.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 29 โปรดดูบท 5 ถึง 7 ของหนังสือคัมภีร์ไบเบิล—คำของพระเจ้าหรือของมนุษย์? (ภาษาอังกฤษ) และจุลสารหนังสือสำหรับทุกคน. ทั้งสองเล่มได้รับการจัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก.
[กรอบหน้า 7]
หลักฐานของการรายงานที่น่าเชื่อถือ
หลายปีมาแล้ว นักเขียนบทละครชาวออสเตรเลียคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นนักวิจารณ์คัมภีร์ไบเบิลได้สารภาพว่า “เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้ทำสิ่งซึ่งปกติเป็นภารกิจแรกของนักข่าว: ตรวจสอบข้อเท็จจริง. . . . และผมรู้สึกขนลุก เพราะสิ่งที่ผมอ่าน [เรื่องราวในกิตติคุณ] นั้นไม่ใช่เป็นตำนาน และไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นที่ทำให้มีลักษณะเหมือนจริง. นั่นเป็นการรายงาน. เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ จากประจักษ์พยานและจากคนอื่นอีกต่อหนึ่ง . . . การรายงานมีรสชาติ และรสชาตินั้นอยู่ในกิตติคุณ.”
คล้ายกัน อี. เอ็ม. เบลกล็อก ศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีกรีกและโรมันโบราณ ณ มหาวิทยาลัยโอ๊กแลนด์ ได้อ้างเหตุผลว่า “ผมยืนยันว่าเป็นนักประวัติศาสตร์. วิธีของผมในการเข้าถึงวรรณคดีกรีกและโรมันโบราณนั้นเป็นไปทางประวัติศาสตร์. และผมทำให้คุณมั่นใจได้ว่าหลักฐานในเรื่องชีวิต, ความตาย, และการกลับเป็นขึ้นจากตายของพระคริสต์นั้นน่าเชื่อถือยิ่งกว่าข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์โบราณ.”
[แผน/ภาพหน้า 8, 9]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
ฟอยนิเก
ฆาลิลาย
แม่น้ำยาระเดน
ยูเดีย
[ภาพหน้า 8]
“หลักฐานในเรื่องชีวิต, ความตาย, น่าเชื่อถือยิ่งกว่าข้อเท็จจริง และการกลับเป็นขึ้นจากตายของพระคริสต์นั้น ส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์โบราณ.”—ศาสตราจารย์ อี. เอ็ม. เบลกล็อก
[ที่มาของภาพ]
Background maps: Based on a map copyrighted by Pictorial Archive (Near Eastern History) Est. and Survey of Israel.