โฉมหน้าที่เปลี่ยนไปของ “ศาสนาคริสเตียน”—เป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้าไหม?
โฉมหน้าที่เปลี่ยนไปของ “ศาสนาคริสเตียน”—เป็นที่ยอมรับสำหรับพระเจ้าไหม?
สมมุติว่าคุณให้จิตรกรคนหนึ่งวาดภาพตัวคุณ. เมื่อเขาวาดเสร็จ คุณรู้สึกตื่นเต้น เนื่องจากเป็นภาพที่เหมือนมาก. คุณคิดถึงลูก หลาน เหลนของคุณที่จะมองดูภาพวาดนี้ด้วยความภูมิใจยิ่งนัก.
อย่างไรก็ดี หลายชั่วอายุต่อมา ลูกหลานคนหนึ่งของคุณรู้สึกว่าศีรษะคุณเถิกไปทำให้รูปนั้นไม่น่าดู ดังนั้นเขาจึงเติมผมลงไป. อีกคนหนึ่งไม่ชอบลักษณะของจมูก ดังนั้น เขาจึงเปลี่ยนรูปของจมูกนั้น. “การปรับปรุง” อื่น ๆ ติดตามมาในชั่วอายุต่อ ๆ มา ดังนั้น ในที่สุดภาพวาดนั้นแทบจะไม่เหมือนคุณเลย. หากคุณได้รู้ว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น คุณจะรู้สึกอย่างไร? คงจะขุ่นเคืองใจเป็นแน่.
น่าเศร้าใจ เรื่องราวเกี่ยวกับภาพวาดนี้ จริง ๆ แล้วเป็นประวัติของคริสตจักรคริสเตียนในนาม. ประวัติศาสตร์แสดงว่าไม่นานหลังจากความตายของเหล่าอัครสาวกของพระคริสต์ โฉมหน้าอย่างเป็นทางการของ “ศาสนาคริสเตียน” เริ่มเปลี่ยนไป ดังที่คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ล่วงหน้า.—มัดธาย 13:24-30, 37-43; กิจการ 20:30. *
แน่นอน นับว่าเหมาะสมทีเดียวที่จะนำหลักการของคัมภีร์ไบเบิลมาใช้กับวัฒนธรรมหลากหลายและยุคต่าง ๆ. แต่เป็นคนละเรื่องกันเลยที่จะเปลี่ยนคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลให้เข้ากับความคิดที่นิยมกัน. กระนั้น นั่นเป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นอย่างแน่ชัด. เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่ได้ดำเนินอยู่ในขอบเขตที่สำคัญหลายประการ.
คริสตจักรรวมตัวกับรัฐ
พระเยซูคริสต์ทรงสอนว่าการปกครองหรือราชอาณาจักรของพระองค์เป็นราชอาณาจักรทางภาคสวรรค์ซึ่งจะทำลายการปกครองทั้งสิ้นของมนุษย์ และปกครองเหนือแผ่นดินโลกทั้งสิ้นในเวลาที่กำหนดไว้. (ดานิเอล 2:44; มัดธาย 6:9, 10) ราชอาณาจักรนั้นจะไม่ปกครองผ่านทางระบบการเมืองของมนุษย์. พระเยซูตรัสว่า “ราชอาณาจักรของเรามิได้เป็นส่วนของโลกนี้.” (โยฮัน 17:16; 18:36, ล.ม.) ดังนั้น เหล่าสาวกของพระเยซู ขณะที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็อยู่นอกแวดวงการเมือง.
อย่างไรก็ดี ระหว่างสมัยของคอนสแตนตินจักรพรรดิโรมันในศตวรรษที่สี่ หลายคนที่อ้างว่าเป็นคริสเตียนไม่ได้อดใจรอการเสด็จกลับของพระคริสต์และการสถาปนาราชอาณาจักรของพระเจ้า. เจตคติของเขาต่อการเมืองค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย. หนังสือยุโรป—ประวัติศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “ก่อนสมัยคอนสแตนติน คริสเตียนมิได้แสวงหาที่จะครองอำนาจ [ด้านการเมือง] เพื่อเป็นวิถีทางในการส่งเสริมเป้าประสงค์และความเชื่อของพวกเขา. ภายหลังสมัยคอนสแตนติน ศาสนาคริสเตียนและนักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่งสูงได้ร่วมมือกัน.” ศาสนาคริสเตียนที่เปลี่ยนรูปแบบใหม่ได้กลายเป็นศาสนา “สากล” หรือ “คาทอลิก” ศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิโรมัน.
สารานุกรมยุคสำคัญ ๆ ของมนุษย์ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า เนื่องจากการเชื่อมผนึกกันอย่างแนบแน่นระหว่างคริสตจักรมัดธาย 23:9, 10; 28:19, 20) นักประวัติศาสตร์ เอช. จี. เวลส์เขียนเกี่ยวกับ “ความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง” ศาสนาคริสเตียนในศตวรรษที่สี่ “กับคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ.” “ความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง” เหล่านี้มีผลกระทบต่อคำสอนพื้นฐานเรื่องพระเจ้าและพระคริสต์ทีเดียว.
กับรัฐเช่นนี้ “ช่วงปี ค.ศ. 385 เพียง 80 ปีเท่านั้นหลังจากคลื่นการข่มเหงคริสเตียนอย่างรุนแรงครั้งสุดท้าย คริสตจักรเองเริ่มประหารชีวิตคนนอกรีต และนักเทศน์นักบวชของคริสตจักรใช้อำนาจเกือบเท่ากับอำนาจของจักรพรรดิ.” โดยวิธีนี้จึงเริ่มยุคที่ดาบได้เข้ามาแทนการจูงใจเพื่อให้เปลี่ยนศาสนา และนักเทศน์นักบวชที่ละโมบตำแหน่งและอำนาจเข้ามาแทนผู้ประกาศเผยแพร่ที่ถ่อมในศตวรรษแรก. (การเปลี่ยนรูปแบบพระเจ้าใหม่
พระคริสต์และเหล่าสาวกของพระองค์สอนว่ามีเพียง “พระเจ้าองค์เดียวคือ พระบิดา” เท่านั้น ซึ่งได้รับการแยกให้เห็นความแตกต่างโดยพระนามเฉพาะของพระองค์ คือ ยะโฮวา ซึ่งปรากฏประมาณ 7,000 ครั้งในฉบับสำเนาแรก ๆ ของคัมภีร์ไบเบิล. (1 โกรินโธ 8:6; บทเพลงสรรเสริญ 83:18) พระเยซูได้รับการสร้างโดยพระเจ้า คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลดูเอย์ของคาทอลิกที่โกโลซาย 1:15 กล่าวว่า พระองค์เป็น “บุตรหัวปีในสรรพสิ่งทรงสร้าง.” ดังนั้น ในฐานะผู้ที่ถูกสร้างขึ้น พระเยซูตรัสอย่างตรงไปตรงมาว่า “พระบิดาเป็นใหญ่กว่าเรา.”—โยฮัน 14:28.
แต่ระหว่างศตวรรษที่สาม นักเทศน์นักบวชที่มีอิทธิพลบางคนได้หลงใหลในคำสอนเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพของเพลโต นักปรัชญากรีกนอกรีต ได้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบพระเจ้าใหม่เพื่อให้เหมาะกับสูตรของผู้ที่เชื่อตรีเอกานุภาพ. ในศตวรรษต่อ ๆ มา คำสอนนี้ได้ยกพระเยซูขึ้นอย่างไม่ถูกหลักพระคัมภีร์ให้เท่าเทียมกับพระยะโฮวาและทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพลังปฏิบัติการของพระเจ้าเป็นบุคคล.
เกี่ยวกับการที่คริสตจักรยอมรับแนวคิดนอกรีตในเรื่องตรีเอกานุภาพนั้น สารานุกรมคาทอลิกฉบับใหม่ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “คำสอนเรื่อง ‘พระเจ้าองค์เดียวในสามบุคคล’ ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างมั่นคง เป็นที่แน่นอนว่ายังไม่ได้เข้ามาอย่างเต็มที่ในชีวิตคริสเตียนและพวกที่รับเชื่อศาสนานี้ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 4. แต่เป็นคำสอนนี้อย่างแน่นอนที่ได้อ้างเป็นครั้งแรกว่าเป็นหลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ. ในหมู่นักเขียนคริสเตียนสมัยหลังพวกอัครสาวก ไม่มีแนวคิดที่ใกล้เคียงกับทัศนะเช่นนั้นเลย.”
คล้ายกัน สารานุกรมอเมริกานา (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “การเชื่อตรีเอกานุภาพในศตวรรษที่สี่มิได้สะท้อนอย่างถูกต้องถึงคำสอนคริสเตียนยุคแรกเกี่ยวกับลักษณะของพระเจ้า; ตรงกันข้าม เป็นการหันเหไปจากคำสอนนี้.” ดิ ออกซฟอร์ด คอมแพนยัน ทู เดอะ ไบเบิล เรียกตรีเอกานุภาพว่าเป็นหนึ่งในบรรดา “คำสอนเกี่ยวกับหลักความเชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลัง” หลายข้อ. กระนั้น ตรีเอกานุภาพใช่ว่าเป็นแนวคิดนอกรีตอย่างเดียวเท่านั้นที่ถูกรับเข้าไว้ในคริสตจักร.
การเปลี่ยนรูปแบบจิตวิญญาณเสียใหม่
ทุกวันนี้มีการเชื่อกันโดยทั่วไปว่ามนุษย์มีจิตวิญญาณอมตะที่มีชีวิตอยู่ต่อไปหลังจากร่างกายตายแล้ว. แต่คุณทราบไหมว่า คำสอนนี้ของคริสตจักรเป็นการเพิ่มเข้ามาในภายหลังเช่นกัน? พระเยซูทรงยืนยันความจริงจากคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า คนตาย “ไม่รับรู้อะไรเลย” เป็นประหนึ่งว่า เขานอนหลับอยู่. (ท่านผู้ประกาศ 9:5, ล.ม.; โยฮัน 11:11-13) จะได้ชีวิตกลับคืนมาโดยการกลับเป็นขึ้นจากตาย—‘การลุกขึ้นอีก’ จากการนอนหลับในความตาย. (โยฮัน 5:28, 29) ถ้าจิตวิญญาณเป็นอมตะจริง ก็คงจะไม่จำเป็นต้องมีการกลับเป็นขึ้นจากตาย เนื่องจากหากมีสภาพอมตะก็ย่อมไม่มีความตาย.
พระเยซูถึงกับพิสูจน์ให้เห็นคำสอนจากคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการกลับเป็นขึ้นจากตายโดยการปลุกคนให้เป็นขึ้นจากตาย. ขอยกตัวอย่างลาซะโร ผู้ซึ่งตายไปสี่วัน. เมื่อพระเยซูทรงปลุกเขาขึ้นจากตาย ลาซะโรออกมาจากอุโมงค์ฝังศพ เป็นคนที่มีชีวิตและหายใจอยู่. ไม่มีจิตวิญญาณอมตะที่ย้ายจากความสุขสำราญบนสวรรค์กลับสู่ร่างกายของลาซะโรเมื่อเขาตื่นขึ้นจากตาย. หากเป็นเช่นนั้น พระเยซูคงจะไม่ได้แสดงความกรุณาต่อเขาเลยที่ปลุกเขาขึ้นจากตาย!—โยฮัน 11:39, 43, 44.
ถ้าเช่นนั้น อะไรเป็นแหล่งที่มาของทฤษฎีเรื่องจิตวิญญาณอมตะ? เดอะ เวสต์มินสเตอร์ ดิกชันนารี ออฟ คริสเตียน ทีออลอจี กล่าวว่าแนวคิดนั้น “เกิดจากปรัชญากรีกยิ่งกว่าเกิดจากการเปิดเผยของคัมภีร์ไบเบิล.” สารานุกรม เดอะ จูวิช อธิบายว่า “ความเชื่อที่ว่าจิตวิญญาณดำรงอยู่ต่อไปหลังจากร่างกายตายนั้นเป็นเรื่องการคาดคะเน
ทางปรัชญาหรือทางเทววิทยายิ่งกว่าเป็นเรื่องของความเชื่อแท้ ๆ และดังนั้น ไม่มีการสอนอย่างชัดแจ้งไม่ว่าที่ไหนในพระคัมภีร์บริสุทธิ์.”บ่อยครั้ง ความเท็จอย่างหนึ่งนำไปสู่ความเท็จอีกอย่างหนึ่ง และคำสอนเรื่องจิตวิญญาณอมตะก็เป็นเช่นนั้นแหละ. คำสอนนั้นเปิดทางสำหรับความคิดเห็นแบบนอกรีตเกี่ยวกับการทรมานตลอดกาลในไฟนรก. * กระนั้น คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า “ค่าจ้างของความบาปนั้นคือความตาย”—ไม่ใช่การทรมานตลอดกาล. (โรม 6:23) ดังนั้น เมื่อพรรณนาถึงการกลับเป็นขึ้นจากตาย พระคัมภีร์กล่าวว่า “ทะเลก็คืนคนตายทั้งหลายที่อยู่ในทะเลนั้น ความตายและเมืองผี [“นรก,” คิงเจมส์] กักคนตายไว้มากเท่าใด, ก็ได้คืนให้เท่านั้น.” เช่นเดียวกัน คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลดูเอย์ กล่าวว่า “ทะเล . . . และความตายและนรกมอบคนตายในที่เหล่านั้นคืนให้.” ถูกแล้ว กล่าวง่าย ๆ คนเหล่านั้นที่อยู่ในนรกก็คือคนตาย, ‘นอนหลับอยู่’ ดังที่พระเยซูตรัสนั้น.—วิวรณ์ 20:13.
คุณเชื่อจริง ๆ หรือว่า คำสอนเรื่องการสาปแช่งตลอดกาลในนรกชักนำผู้คนมาหาพระเจ้า? ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น. ในจิตใจของคนยุติธรรมและมีความรัก นั่นเป็นความคิดที่น่ารังเกียจ! ในอีกด้านหนึ่ง คัมภีร์ไบเบิลสอนว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” และการทารุณ แม้แต่กับสัตว์ก็เป็นที่น่ารังเกียจสำหรับพระองค์.—1 โยฮัน 4:8; สุภาษิต 12:10; ยิระมะยา 7:31; โยนา 4:11.
การทำให้ “ภาพวาด” เสียโฉมไปในสมัยปัจจุบัน
การทำให้โฉมหน้าของพระเจ้าและศาสนาคริสเตียนผิดรูปไปยังคงดำเนินอยู่ในทุกวันนี้. ศาสตราจารย์ด้านศาสนาคนหนึ่งได้พรรณนาไม่นานมานี้ถึงการต่อสู้ในคริสตจักรโปรเตสแตนต์ของเขาว่า เป็นการต่อสู้ “ระหว่างหลักฐานของพระคัมภีร์และหลักความเชื่อกับหลักฐานของคตินิยมที่ต่างกันและที่เป็นแบบมนุษยนิยม, ระหว่างการที่คริสตจักรซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งของพระคริสต์ฐานะองค์พระผู้เป็นเจ้ากับการเปลี่ยนและการทำให้ศาสนาคริสเตียนเข้ากันได้กับแนวคิดของยุคสมัย. ประเด็นที่สำคัญคือดังนี้: ใครกำหนดแนวทางของคริสตจักร . . . พระคัมภีร์บริสุทธิ์หรือว่าคตินิยมที่ครอบงำอยู่ของยุคสมัย?”
น่าเศร้า “คตินิยมที่ครอบงำอยู่ของยุคสมัย” ยังคงมีแนวโน้มที่จะมีชัยชนะ. ตัวอย่างเช่น เห็นได้ชัดที่หลายคริสตจักรได้เปลี่ยนจุดยืนของตนในประเด็นต่าง ๆ เพื่อจะให้ดูเหมือนว่ามีความคิดที่ก้าวหน้าและมีจิตใจเปิดกว้าง. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องศีลธรรม คริสตจักรกลับมีความคิดแบบเสรีทีเดียว ดังที่กล่าวไว้ในบทความแรก. กระนั้น คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างชัดแจ้ง การผิดประเวณี, การเล่นชู้, และรักร่วมเพศเป็นบาปที่ร้ายแรงในสายพระเนตรของพระเจ้า และคนเหล่านั้นที่ทำบาปดังกล่าว “จะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก.”—1 โกรินโธ 6:9, 10, ล.ม.; มัดธาย 5:27-32; โรม 1:26, 27.
เมื่ออัครสาวกเปาโลเขียนถ้อยคำดังกล่าวนี้ สังคมโลกกรีก-โรมันรอบ ๆ ตัวท่านเต็มไปด้วยความชั่วทุกรูปแบบ. เปาโลอาจหาเหตุผลก็ได้ว่า ‘ใช่ พระเจ้าเคยทำให้เมืองโซโดมกับโกโมร์ราห์กลายเป็นเถ้าธุลีเนื่องด้วยการทำบาปทางเพศที่ร้ายแรง แต่นั่นเป็นเวลา 2,000 ปีมาแล้ว! แน่นอน เรื่องนั้นนำมาใช้ไม่ได้กับยุคที่มีความรอบรู้เช่นนี้.’ อย่างไรก็ตาม ท่านมิได้หาข้อแก้ตัว; ท่านไม่ยอมทำให้ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลเสื่อมเสียไป.—ฆะลาเตีย 5:19-23.
มองไปยัง “ภาพวาด” ดั้งเดิม
เมื่อพูดกับพวกผู้นำศาสนาชาวยิวในสมัยของพระองค์ พระเยซูตรัสว่าการนมัสการของพวกเขา “ไร้ประโยชน์ เพราะเขาสอนบัญญัติของมนุษย์ว่าเป็นหลักคำสอน.” (มัดธาย 15:9, ล.ม.) ผู้นำศาสนาเหล่านั้นทำอย่างเดียวกันนั้นเองกับพระบัญญัติของพระยะโฮวาที่ประทานผ่านทางโมเซอย่างที่นักเทศน์นักบวชแห่งคริสต์ศาสนจักรได้ทำกับคำสอนของพระคริสต์ และยังคงทำอยู่—พวกเขาได้ทำให้ความจริงของพระเจ้าเปรอะเปื้อนไปด้วย “สี” แห่งประเพณี. แต่พระเยซูทรงขจัดรอยเปื้อนของความเท็จทั้งมวลออกไปเพื่อผลประโยชน์ของชนที่มีหัวใจสุจริต. (มาระโก 7:7-13) พระเยซูตรัสความจริง ไม่ว่าเรื่องนั้นเป็นที่นิยมชมชอบหรือไม่. พระคำของพระเจ้าเป็นหลักฐานอ้างอิงของพระองค์เสมอ.—โยฮัน 17:17.
พระเยซูทรงแสดงให้เห็นความแตกต่างเด่นชัดอะไรเช่นนี้สำหรับคนส่วนใหญ่ที่อ้างว่าเป็นคริสเตียน! ที่จริง คัมภีร์ไบเบิล2 ติโมเธียว 4:3, 4, เดอะ เจรูซาเลม ไบเบิล) “เทพนิยาย” เหล่านี้ ซึ่งเราได้พิจารณาบางเรื่องไปแล้ว ก่อผลเสียหายทางฝ่ายวิญญาณ ในขณะที่ความจริงแห่งพระคำของพระเจ้าเสริมสร้างขึ้น และนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์. นี่เป็นความจริงที่พยานพระยะโฮวาสนับสนุนคุณให้ตรวจสอบดู.—โยฮัน 4:24; 8:32; 17:3.
ได้บอกล่วงหน้าไว้ว่า “ผู้คนจะ . . . อยากได้สิ่งแปลกใหม่และจะรวบรวมครูไว้ให้ตนเองตามที่เขาชอบ และแล้วเขาจะหันไปหาเทพนิยาย แทนที่จะฟังความจริง.” ([เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 ดังที่พระเยซูทรงเปิดเผยไว้ในคำอุปมาว่าด้วยข้าวสาลีกับวัชพืชและในอุทาหรณ์เรื่องทางกว้างและทางแคบ (มัดธาย 7:13, 14) มีน้อยคนจะปฏิบัติตามหลักการคริสเตียนแท้เรื่อยมาตลอดยุคต่าง ๆ. อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะถูกบดบังไว้โดยคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเหมือนวัชพืช ผู้ซึ่งจะส่งเสริมตัวเองและคำสอนของเขาประหนึ่งเป็นโฉมหน้าอันแท้จริงของศาสนาคริสเตียน. นี่แหละเป็นโฉมหน้าที่บทความของเรากล่าวถึง.
^ วรรค 19 “นรก” เป็นคำแปลของคำฮีบรู เชโอล และคำกรีก ฮาเดส ซึ่งทั้งสองคำมีความหมายแต่เพียงว่า “หลุมฝังศพ.” ดังนั้น ขณะที่ผู้แปลภาษาอังกฤษของฉบับแปลคิง เจมส์ แปลเชโอลว่า “นรก” 31 ครั้ง พวกเขาแปลคำนั้นว่า “หลุมฝังศพ” 31 ครั้งด้วย และแปลว่า “หลุม” 3 ครั้ง โดยวิธีนี้ จึงแสดงให้เห็นว่าคำเหล่านี้โดยพื้นฐานแล้วหมายถึงสิ่งเดียวกัน.
[กรอบ/ภาพหน้า 7]
แหล่งที่มาของชื่อคริสเตียน
เป็นเวลาอย่างน้อยสิบปีหลังจากการวายพระชนม์ของพระเยซู เหล่าสาวกของพระองค์เป็นที่รู้จักว่าเป็นสมาชิกของ “ทางนั้น.” (กิจการ 9:2; 19:9, 23; 22:4) เพราะเหตุใด? เพราะแนวทางชีวิตของพวกเขามีจุดรวมอยู่ที่ความเชื่อในพระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งเป็น “ทางนั้น, เป็นความจริง, และเป็นชีวิต.” (โยฮัน 14:6) ครั้นแล้ว ระหว่างช่วงใดช่วงหนึ่งหลังจากปี ส.ศ. 44 ในเมืองอันติโอเกียของซีเรีย เหล่าสาวกของพระเยซู “โดยการทรงนำของพระเจ้า . . . ถูกเรียกว่า คริสเตียน.” (กิจการ 11:26, ล.ม.) ชื่อนี้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว กระทั่งในท่ามกลางเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล. (กิจการ 26:28) ชื่อใหม่นี้มิได้เปลี่ยนแนวทางชีวิตแบบคริสเตียนซึ่งยังคงติดตามแบบอย่างของพระคริสต์อยู่ต่อไป.—1 เปโตร 2:21.
[ภาพหน้า 7]
โดยงานเผยแพร่ต่อสาธารณชน พยานพระยะโฮวาชี้นำผู้คนไปยังคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า
[ที่มาของภาพหน้า 4]
Third from left: United Nations/Photo by Saw Lwin