จงให้เกียรติผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเหนือคุณ
จงให้เกียรติผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเหนือคุณ
“จงให้เกียรติคนทุกชนิด มีความรักต่อสังคมแห่งพี่น้องทั้งสิ้น จงเกรงกลัวพระเจ้า จงให้เกียรติพระมหากษัตริย์.”—1 เปโตร 2:17, ล.ม.
1, 2. ผู้คนมีทัศนะต่อผู้มีอำนาจอย่างไรในทุกวันนี้? เพราะเหตุใด?
“พวกเด็ก ๆ ได้รับสิทธิทุกอย่าง. ไม่มีการแสดงความนับถือต่อพ่อแม่เลย” มารดาผู้หนึ่งคร่ำครวญ. ข้อความที่ปรากฏบนสติกเกอร์ซึ่งติดอยู่ที่กันชนรถคันหนึ่งเขียนว่า “จงค้านอำนาจ.” นี่เป็นเพียงสองตัวอย่างที่สะท้อนถึงปัญหาซึ่งมีอยู่ดาษดื่นในทุกวันนี้ ดังที่คุณคงทราบ. การขาดความนับถือซึ่งมีอยู่โดยทั่วไปต่อบิดามารดา, ครูบาอาจารย์, นายจ้าง, และเจ้าหน้าที่รัฐบาลเป็นเรื่องปกติธรรมดาตลอดทั่วโลก.
2 บางคนอาจแสดงท่าไม่สนใจไยดีและกล่าวว่า ‘ก็คนที่มีอำนาจเหล่านั้นทำตัวไม่คู่ควรจะได้รับความนับถือจากฉันนี่นา.’ บางครั้ง อาจยากที่จะปฏิเสธคำกล่าวนี้. เราพบกับข่าวมากมายหลายลักษณะเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง, นายจ้างผู้ละโมบ, ครูอาจารย์ที่ขาดความสามารถ, และบิดามารดาที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ. น่ายินดี มีคริสเตียนไม่กี่คนที่มีทัศนะแบบเดียวกันนั้นต่อผู้มีอำนาจในประชาคม.—มัดธาย 24:45-47.
3, 4. เหตุใดคริสเตียนควรแสดงความนับถือต่อผู้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ?
3 ในฐานะคริสเตียน เรามี “เหตุผลหนักแน่น” ที่จะนับถือคนที่ใช้อำนาจฝ่ายโลก. อัครสาวกเปาโลเตือนสติคริสเตียนให้ “ยอมอยู่ใต้อำนาจที่สูงกว่า ด้วยว่าไม่มีอำนาจใด ๆ เว้นไว้โดยพระเจ้า; อำนาจต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงต่ำโดยพระเจ้า.” (โรม 13:1, 2, 5, ล.ม.; 1 เปโตร 2:13-15) นอกจากนั้น เปาโลยังชี้ถึงเหตุผลที่น่ารับฟังสำหรับการเชื่อฟังผู้มีอำนาจในครอบครัว โดยกล่าวว่า “ฝ่ายภรรยาจงยอมฟังสามีของตนในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นการสมควร. ฝ่ายบุตรจงนบนอบเชื่อฟังบิดามารดาของตนในทุกสิ่ง, เพราะการนี้เป็นที่ชอบพระทัยองค์พระผู้เป็นเจ้า.” (โกโลซาย 3:18, 20) ผู้ปกครองประชาคมสมควรได้รับความนับถือจากเรา เพราะ ‘พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้แต่งตั้งพวกเขาเป็นผู้ดูแล ให้บำรุงเลี้ยงประชาคมของพระเจ้า.’ (กิจการ 20:28, ล.ม.) เนื่องด้วยความนับถือต่อพระยะโฮวา เราจึงให้เกียรติผู้มีอำนาจที่เป็นมนุษย์. แน่นอน การนับถืออำนาจของพระยะโฮวามาเป็นอันดับแรกในชีวิตของเราเสมอ.—กิจการ 5:29.
4 โดยคำนึงถึงอำนาจสูงสุดของพระยะโฮวา ให้เราพิจารณาตัวอย่างของบางคนซึ่งไม่นับถือผู้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจและบางคนซึ่งได้แสดงความนับถือ.
ความไม่นับถือนำไปสู่ความไม่พอพระทัย
5. มีคัลแสดงเจตคติที่ไม่แสดงความนับถือต่อดาวิดเช่นไร และนั่นยังผลเช่นไร?
5 จากประวัติของกษัตริย์ดาวิด เราเห็นได้ถึงวิธีที่พระยะโฮวาทรงมองดูคนเหล่านั้นซึ่งดูถูกอำนาจที่ได้รับจากพระเจ้า. เมื่อดาวิดได้โปรดให้นำหีบสัญญาไมตรีมาไว้ที่กรุงยะรูซาเลม มีคัลมเหสีของท่าน “เห็นกษัตริย์ดาวิดเต้นโลดเฉพาะพระยะโฮวา, แล้วมีคัลก็มีพระทัยหมิ่นประมาท.” มีคัลควรตระหนักว่าดาวิดมิได้เป็นเพียงประมุขครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นกษัตริย์ของประเทศอีกด้วย. อย่างไรก็ตาม เธอแสดงความรู้สึกออกมาโดยกล่าวเหน็บแนมว่า “วันนี้กษัตริย์ยิศราเอลได้เกียรติยศเท่าใดเล่า? ที่ได้ถอดเครื่อง2 ซามูเอล 6:14-23.
ทรงออกต่อหน้าทาสีของคนใช้, ดุจคนหน้าด้านแก้ผ้าไม่มีความละอาย!” ผลของการทำเช่นนี้ก็คือ มีคัลไม่มีบุตรเลยตลอดชีวิต.—6. พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่อการที่โคราไม่นับถือผู้ที่พระองค์ทรงเจิม?
6 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องการไม่นับถือความเป็นผู้นำตามระบอบของพระเจ้าที่ได้ทรงตั้งไว้นั้นคือโครา. ในฐานะลูกหลานของโคฮาธ เขามีสิทธิพิเศษมากเพียงไรในการรับใช้พระยะโฮวา ณ พลับพลา! กระนั้น เขาพยายามจับผิดโมเซกับอาโรน ผู้นำของชาวยิศราเอลซึ่งพระเจ้าได้ทรงแต่งตั้ง. โครารวมหัวกับพวกหัวหน้าคนอื่น ๆ ของยิศราเอลและกล่าวแก่โมเซและอาโรนอย่างไร้ยางอายว่า “คนทั้งปวงที่ชุมนุมเป็นคนบริสุทธิ์ทุกคน, แลพระยะโฮวาสถิตอยู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย, เหตุไฉนท่านจึงยกตัวขึ้นเหนือคนทั้งปวงในที่ประชุมของพระยะโฮวา.” พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่อเจตคติของโคราและสมัครพรรคพวก? พระเจ้าทรงถือว่าการกระทำของพวกเขาเป็นเหมือนกับการหลู่เกียรติพระยะโฮวาเอง. หลังจากที่ได้เห็นคนทั้งปวงซึ่งอยู่ฝ่ายตนถูกธรณีสูบแล้ว โครากับพวกหัวหน้า 250 คนก็ถูกทำลายด้วยไฟที่มาจากพระยะโฮวา.—อาฤธโม 16:1-3, 28-35.
7. “พวกอัครสาวกสุดวิเศษ” มีเหตุผลไหมที่วิพากษ์วิจารณ์อำนาจของเปาโล?
7 ในประชาคมคริสเตียนสมัยศตวรรษแรก มีบางคนที่ไม่นับถืออำนาจตามระบอบของพระเจ้า. “พวกอัครสาวกสุดวิเศษ” เหล่านี้ในประชาคมโกรินโธมีเจตคติไม่นับถือเปาโล. พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์ความสามารถในการพูดของท่าน กล่าวว่า “การปรากฏตัวของเขาอ่อนแอและคำพูดของเขาไม่น่านับถือ.” (2 โกรินโธ 10:10; 11:5, ล.ม.) ไม่ว่าเปาโลเป็นนักพูดที่โดดเด่นหรือไม่ก็ตาม ท่านสมควรได้รับความนับถือในฐานะอัครสาวกคนหนึ่ง. แต่คำพูดของเปาโลไม่น่านับถือจริง ๆ ไหม? การบรรยายของท่านในที่สาธารณะซึ่งบันทึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิลให้หลักฐานว่าท่านเป็นผู้บรรยายที่น่าเชื่อถือทีเดียว. คิดดูซิว่า ผลของการพิจารณากันสั้น ๆ กับเฮโรดอะฆะริปาที่สองซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ “เชี่ยวชาญใน . . . ข้อขัดแย้งท่ามกลางพวกยิว” เปาโลชักเหตุผลจนกษัตริย์องค์นี้ถึงกับตรัสว่า “ไม่ช้าเจ้าจะโน้มน้าวใจเราให้เป็นคริสเตียน”! (กิจการ 13:15-43; 17:22-34; 26:1-28, ล.ม.) แม้กระนั้น พวกอัครสาวกสุดวิเศษในเมืองโกรินโธกล่าวหาว่าคำพูดของท่านไม่น่านับถือ! พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่อเจตคติของพวกเขา? ในข่าวสารที่มีไปถึงผู้ดูแลประชาคมเอเฟโซ พระเยซูคริสต์ตรัสแสดงความโปรดปรานต่อผู้ที่ไม่คล้อยตามการชักจูงให้ออกห่างโดยคนเหล่านั้นที่ “บอกว่าเขาเป็นอัครสาวกแต่หาได้เป็นไม่.”—วิวรณ์ 2:2, ล.ม.
นับถือแม้ไม่สมบูรณ์
8. ดาวิดแสดงอย่างไรว่าท่านนับถืออำนาจที่พระยะโฮวาได้ประทานแก่ซาอูล?
8 ในคัมภีร์ไบเบิล มีตัวอย่างของคนที่นับถือผู้มีอำนาจหลายตัวอย่าง แม้แต่เมื่อผู้มีอำนาจเหล่านั้นใช้อำนาจของตนอย่างผิด ๆ หรือโดยมิชอบ. ดาวิดเป็นคนหนึ่งซึ่งได้วางตัวอย่างที่ดีเช่นนั้น. กษัตริย์ซาอูล ซึ่งท่านได้รับใช้ อิจฉาในความสำเร็จของดาวิดและพยายามจะฆ่าท่าน. (1 ซามูเอล 18:8-12; 19:9-11; 23:26) ถึงกระนั้น แม้ว่ามีโอกาสจะฆ่าซาอูล ดาวิดกล่าวว่า “จากทัศนะของพระยะโฮวา เป็นเรื่องเหลือคิดที่เราจะยื่นมือทำร้ายผู้ถูกเจิมของพระยะโฮวา!” (1 ซามูเอล 24:3-6; 26:7-13, ล.ม.) ดาวิดทราบว่าซาอูลประพฤติตัวไม่ถูกต้อง แต่ท่านฝากเรื่องนั้นไว้กับพระยะโฮวาให้พิพากษาเขา. (1 ซามูเอล 24:12, 15; 26:22-24) ท่านมิได้กล่าวหยาบหยามซาอูล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง.
9. (ก) ดาวิดรู้สึกอย่างไรเมื่อถูกซาอูลปฏิบัติอย่างเลวร้าย? (ข) เราบอกได้อย่างไรว่าดาวิดให้ความนับถืออย่างแท้จริงต่อซาอูล?
9 ดาวิดเป็นทุกข์เดือดร้อนไหมในช่วงที่ท่านถูกปฏิบัติอย่างเลวร้าย? “คนโหดร้ายแสวงหาชีวิตของข้าพเจ้า” ดาวิดร้องทูลพระยะโฮวา. (บทเพลงสรรเสริญ 54:3) ท่านระบายความในใจทั้งสิ้นต่อพระยะโฮวาโดยกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า, ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้าพ้นจากพวกศัตรูของข้าพเจ้า . . . ข้าแต่พระยะโฮวา, คนใหญ่คนโตมั่วสุมกันจะกระทำร้ายข้าพเจ้า: ไม่ใช่เพราะการล่วงละเมิดหรือความผิดของข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำผิดเลยแต่เขาทั้งหลายก็วิ่งวุ่นตระเตรียมตัวไว้: ขอพระองค์ทรงตื่น ขึ้นเพื่อจะได้ทอดพระเนตรดู, และช่วยข้าพเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 59:1-4) คุณเคยรู้สึกอย่างเดียวกันไหมว่าคุณไม่ได้ทำผิดอะไรเลยต่อผู้มีอำนาจ แต่กระนั้นเขาก็ยังสร้างความลำบากให้คุณอยู่เรื่อย ๆ? ดาวิดมิได้แสดงความไม่นับถือต่อซาอูล. เมื่อซาอูลสิ้นพระชนม์ แทนที่จะยินดีปรีดา ดาวิดแต่งเพลงโศกซึ่งมีเนื้อร้องว่า “ขณะซาอูลและโยนาธานยังทรงพระชนม์อยู่ก็เป็นที่น่ารักและชื่นชม . . . ท่านทั้งสองก็ว่องไวยิ่งกว่านกอินทรี, มีกำลังยิ่งกว่าสิงโต. โอ้บุตรีของพวกยิศราเอล, จงร้องไห้ครวญครางถึงซาอูล.” (2 ซามูเอล 1:23, 24) ช่างเป็นตัวอย่างที่ดีสักเพียงไรในการให้ความนับถืออย่างแท้จริงต่อผู้ที่พระยะโฮวาทรงเจิมไว้ แม้ว่าซาอูลได้ทำเรื่องเลวร้ายต่อดาวิด!
10. เปาโลวางตัวอย่างที่ดีอะไรในการให้ความนับถืออำนาจที่คณะกรรมการปกครองได้รับจากพระเจ้า และนั่นยังผลเช่นไรในที่สุด?
10 ในยุคคริสเตียน เราพบตัวอย่างอันโดดเด่นของผู้ที่ให้ความนับถืออำนาจซึ่งได้รับจากพระเจ้าด้วย. ขอให้พิจารณาตัวอย่างของเปาโล. ท่านแสดงความนับถือต่อการตัดสินของคณะกรรมการปกครองของประชาคมคริสเตียนในศตวรรษแรก. ระหว่างที่เปาโลเยี่ยมกรุงยะรูซาเลมในครั้งสุดท้าย คณะกรรมการปกครองแนะนำท่านให้ทำพิธีชำระตัวเพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าท่านมิได้จงเกลียดจงชังพระบัญญัติของโมเซ. เปาโลอาจหาเหตุผลก็ได้ว่า ‘ก่อนหน้านี้พี่น้องเหล่านี้สั่งข้าพเจ้าให้ออกไปจากกรุงยะรูซาเลมตอนที่ข้าพเจ้าถูกขู่จะเอาชีวิต. มาบัดนี้ พวกเขาต้องการให้ข้าพเจ้าแสดงให้สาธารณชนเห็นว่าข้าพเจ้านับถือพระบัญญัติของโมเซ. ข้าพเจ้าได้เขียนจดหมายถึงชาวฆะลาเตียแนะนำพวกเขาแล้วว่าให้เว้นเสียจากการถือรักษาพระบัญญัติ. หากข้าพเจ้าไปที่พระวิหาร คนอื่นอาจเข้าใจผิดในการกระทำของข้าพเจ้า คิดว่าข้าพเจ้ากำลังประนีประนอมกับพวกที่ถือพิธีสุหนัต.’ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเปาโลไม่ได้หาเหตุผลอย่างนั้น. เนื่องจากเรื่องนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการประนีประนอมหลักการคริสเตียน ท่านแสดงความนับถือและทำตามคำแนะนำของคณะกรรมการปกครองแห่งศตวรรษแรก. ผลที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ เปาโลต้องได้รับการช่วยให้พ้นจากฝูงชนชาวยิวที่ก่อความวุ่นวาย และหลังจากนั้นท่านติดคุกอยู่สองปี. ในท้ายที่สุดแล้ว ได้มีการทำให้พระทัยประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จลุล่วง. เปาโลให้คำพยานต่อหน้าเจ้าหน้าที่ชั้นสูงในเมืองกายซาไรอา และต่อจากนั้นรัฐก็ส่งตัวท่านไปที่กรุงโรมเพื่อให้คำพยานต่อหน้าซีซาร์ด้วยตัวท่านเอง.—กิจการ 9:26-30; 21:20-26; 23:11; 24:27; ฆะลาเตีย 2:12; 4:9, 10.
คุณแสดงความนับถือไหม?
11. เราจะแสดงความนับถือต่อผู้มีอำนาจฝ่ายโลกได้อย่างไร?
11 คุณแสดงความนับถืออย่างสมควรต่อผู้มีอำนาจไหม? คริสเตียนได้รับพระบัญชาที่จะ “ให้แก่ทุกคนตามที่เขาควรได้รับ . . . ผู้ใดเรียกร้องเกียรติยศ จงให้เกียรติยศ.” จริง ๆ แล้ว การยอมอยู่ใต้ “อำนาจที่สูงกว่า” นั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะแต่การที่เราเสียภาษี แต่รวมไปถึงการที่เรานับถือผู้มีอำนาจเหล่านั้นโดยการกระทำและคำพูดของเราด้วย. (โรม 13:1-7, ล.ม.) หากเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่อาจแสดงความเกรี้ยวกราด เราแสดงปฏิกิริยาอย่างไร? ที่รัฐเชียปัส ประเทศเม็กซิโก เจ้าหน้าที่ในชุมชนแห่งหนึ่งได้ยึดไร่นาของพยานพระยะโฮวา 57 ครอบครัว เนื่องจากคริสเตียนเหล่านี้ไม่เข้าร่วมในเทศกาลทางศาสนา. ณ การประชุมที่จัดขึ้นเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหานี้ พยานฯ ซึ่งแต่งตัวสะอาดเรียบร้อยพูดอย่างให้เกียรติและนับถือเสมอ. หลังจากนั้นได้ปีกว่า ๆ ก็มีคำพิพากษาออกมาว่าพวกเขาเป็นฝ่ายถูก. เจตคติของพวกเขาทำให้ผู้สังเกตการณ์บางคนรู้สึกนับถือพวกเขาจนเขาเองอยากเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวาด้วย!
12. เหตุใดจึงสำคัญที่จะมี “ความนับถืออันสุดซึ้ง” ต่อสามีที่ไม่เชื่อ?
12 คุณจะแสดงความนับถืออำนาจในครอบครัวซึ่งพระเจ้าประทานให้ได้อย่างไร? หลังจากที่ได้พิจารณาถึงตัวอย่างของพระเยซูในการทนรับการร้าย อัครสาวกเปโตรกล่าวว่า “ในลักษณะเดียวกัน ท่านทั้งหลายที่เป็นภรรยา จงยอมอยู่ใต้อำนาจสามีของท่าน เพื่อว่า ถ้าคนใดไม่เชื่อฟังพระคำ แม้นไม่เอ่ยปาก เขาก็อาจถูกโน้มน้าวโดยการประพฤติของภรรยา เนื่องจากได้เห็นประจักษ์ถึงการประพฤติอันบริสุทธิ์ของท่านทั้งหลายพร้อมกับความนับถืออันสุดซึ้ง.” (1 เปโตร 3:1, 2, ล.ม.; เอเฟโซ 5:22-24) ในที่นี้ เปโตรเน้นถึงความสำคัญในการที่ภรรยาจะอยู่ใต้อำนาจของสามีพร้อมกับ “ความนับถืออันสุดซึ้ง” แม้ว่าสามีบางคนอาจแทบไม่ได้ทำอะไรที่สมควรได้รับความนับถือเช่นนั้น. เจตคติที่ให้ความนับถือของภรรยาอาจชนะใจสามีที่ไม่เชื่อ.
13. ภรรยาจะให้เกียรติสามีได้อย่างไร?
13 ในบริบทของข้อพระคัมภีร์ข้างต้น เปโตรดึงความโรม 4:16, 17; ฆะลาเตีย 3:6-9; 1 เปโตร 3:6) ภรรยาที่สามีมีความเชื่อในพระเจ้าควรให้เกียรติเขาน้อยกว่าที่ภรรยาซึ่งมีสามีที่ไม่เชื่อจะให้เกียรติแก่สามีไหม? จะว่าอย่างไรหากคุณไม่เห็นด้วยกับสามีของคุณในบางเรื่อง? ในที่นี้ พระเยซูทรงให้คำแนะนำซึ่งอาจใช้ได้ในกรณีทั่วไปว่า “ถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปสี่สิบเส้น, ก็ให้เลยไปกับเขาถึงแปดสิบเส้น.” (มัดธาย 5:41) คุณให้เกียรติสามีของคุณโดยคล้อยตามความปรารถนาของเขาไหม? หากดูเหมือนว่ายากจะทำอย่างนั้นได้ จงพูดคุยกันและบอกเขาถึงความรู้สึกของคุณในเรื่องนั้น. อย่าคิดไปเองว่าเขาทราบว่าคุณรู้สึกอย่างไร. แต่เมื่อคุณบอกเขาถึงความปรารถนาต่าง ๆ ของคุณ จงทำอย่างนั้นด้วยท่าทีแสดงความนับถือ. คัมภีร์ไบเบิลเตือนสติเราว่า “ให้วาจาของท่านทั้งหลายประกอบด้วยความสุภาพอ่อนโยนเสมอ ปรุงรสด้วยเกลือ เพื่อจะรู้ว่าท่านควรให้คำตอบแต่ละคนอย่างไร.”—โกโลซาย 4:6, ล.ม.
สนใจของเราไปที่ตัวอย่างของซารา ซึ่งอับราฮามสามีของเธอเป็นตัวอย่างเด่นด้านความเชื่อ. (14. การให้เกียรติบิดามารดาหมายรวมถึงอะไร?
14 พวกคุณที่เป็นบุตรล่ะจะว่าอย่างไร? พระคำของพระเจ้ามีพระบัญชาว่า “ฝ่ายบุตรทั้งหลาย จงเชื่อฟังบิดามารดาของตนร่วมสามัคคีกันกับองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะว่าการนี้ชอบธรรม: ‘จงให้เกียรติบิดาและมารดาของตน’ ซึ่งเป็นบัญญัติแรกพร้อมด้วยคำสัญญา.” (เอเฟโซ 6:1-3, ล.ม.) โปรดสังเกตว่าการเชื่อฟังบิดามารดาของคุณถือว่ามีความหมายเหมือนกับ ‘การให้เกียรติบิดามารดาของคุณ.’ คำภาษากรีกซึ่งแปลในที่นี้ว่า “ให้เกียรติ” มีความหมายว่า “ตีค่าสูง” หรือ “ถือว่ามีค่า.” ดังนั้น การเชื่อฟังเรียกร้องไม่เฉพาะการจำใจทำตามกฎของบิดามารดาซึ่งอาจดูเหมือนว่าไม่มีเหตุผลสำหรับคุณ. พระเจ้าทรงเรียกร้องคุณให้นับถือบิดามารดาอย่างสูงและถือว่าการชี้นำของท่านมีค่าอย่างยิ่ง.—สุภาษิต 15:5.
15. บุตรจะรักษาความนับถือของตนไว้ได้อย่างไรแม้จะคิดว่าบิดามารดาทำผิดพลาด?
15 จะว่าอย่างไรหากบิดามารดาของคุณทำอะไรบางอย่างที่อาจทำให้คุณเสื่อมความนับถือต่อท่าน? จงพยายามมองเรื่องราวจากมุมมองของท่าน. ท่านได้ ‘ให้กำเนิดคุณ’ และเลี้ยงดูคุณมิใช่หรือ? (สุภาษิต 23:22) ท่านได้รับแรงกระตุ้นจากความรักที่มีต่อคุณมิใช่หรือ? (เฮ็บราย 12:) จงพูดด้วยความนับถือต่อบิดามารดา อธิบายด้วยใจอ่อนสุภาพว่าคุณรู้สึกอย่างไร. แม้ว่าท่านตอบรับอย่างที่คุณไม่ชอบ ก็จงหลีกเลี่ยงการพูดอย่างขาดความนับถือต่อท่าน. ( 7-11สุภาษิต 24:29) พึงระลึกเสมอถึงวิธีที่ดาวิดรักษาความนับถือของท่านต่อซาอูลแม้แต่เมื่อกษัตริย์หันเหไปจากการปฏิบัติตามคำแนะนำของพระเจ้า. จงทูลขอให้พระยะโฮวาช่วยคุณรับมือกับความรู้สึกของคุณ. ดาวิดกล่าวว่า “[จง] ระบายความในใจของเจ้าต่อพระองค์. พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยแก่เรา.”—บทเพลงสรรเสริญ 62:8, ล.ม.; บทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 3:25-27.
ให้เกียรติคนที่นำหน้า
16. เราจะเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของผู้สอนเท็จและเหล่าทูตสวรรค์?
16 ผู้ปกครองในประชาคมได้รับการแต่งตั้งโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่กระนั้นพวกเขายังไม่สมบูรณ์และมีข้อผิดพลาด. (บทเพลงสรรเสริญ 130:3; ท่านผู้ประกาศ 7:20; กิจการ 20:28; ยาโกโบ 3:2) ผลก็คือ บางคนในประชาคมอาจรู้สึกไม่พอใจผู้ปกครอง. เราควรมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อเราคิดว่าบางสิ่งบางอย่างในประชาคมไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง หรืออย่างน้อยก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น? ขอให้สังเกตความแตกต่างระหว่างผู้สอนเท็จในศตวรรษแรกกับเหล่าทูตสวรรค์: “โดยบังอาจและเอาแต่ใจตัวเอง พวกเขา [ผู้สอนเท็จ] ไม่สะทกสะท้านต่อผู้มีสง่าราศี แต่พูดหยาบคาย ส่วนพวกทูตสวรรค์ ถึงแม้มีกำลังและอำนาจมากกว่า ก็มิได้นำข้อกล่าวหามาว่าเขาด้วยถ้อยคำหยาบคาย มิได้ทำเช่นนั้นเนื่องด้วยความนับถือต่อพระยะโฮวา.” (2 เปโตร 2:10-13, ล.ม.) ในขณะที่ผู้สอนเท็จกล่าวหยาบหยาม “ผู้มีสง่าราศี” ซึ่งก็คือผู้ปกครองที่ได้รับอำนาจในประชาคมคริสเตียนศตวรรษแรก แต่พวกทูตสวรรค์ไม่ได้กล่าวหยาบหยามผู้สอนเท็จเหล่านั้นซึ่งได้ก่อให้เกิดความไม่ปรองดองขึ้นในหมู่พี่น้อง. พวกทูตสวรรค์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่สูงกว่าและสำนึกถึงความยุติธรรมแจ่มชัดกว่ามนุษย์ ทราบดีว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในประชาคม. แต่กระนั้น “เนื่องด้วยความนับถือต่อพระยะโฮวา” พวกเขาปล่อยเรื่องนั้นไว้ให้พระเจ้าเป็นผู้พิพากษาตัดสิน.—เฮ็บราย 2:6, 7; ยูดา 9.
17. ความเชื่อของคุณเกี่ยวข้องด้วยอย่างไรเมื่อเกิดมีปัญหาที่คุณคิดว่าผู้ปกครองทำไม่ถูก?
17 แม้ว่าบางเรื่องไม่ได้รับการจัดการอย่างที่ควรจะเป็น เราควรมีความเชื่อในพระเยซูคริสต์ในฐานะประมุขผู้ทรงพระชนม์ของประชาคมคริสเตียนมิใช่หรือ? พระองค์ทรงทราบดีว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในประชาคมของพระองค์เองตลอดทั่วโลกมิใช่หรือ? เราควรนับถือวิธีของพระองค์ในการจัดการสถานการณ์และยอมรับความสามารถของพระองค์ที่จะควบคุมเรื่องราวต่าง ๆ มิใช่หรือ? จริง ๆ แล้ว ‘เราเป็นผู้ใดเล่าจึงพิพากษาเพื่อนบ้านของเรา?’ (ยาโกโบ 4:12, ล.ม.; 1 โกรินโธ 11:3; โกโลซาย 1:18) ทำไมจึงไม่เข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยเรื่องที่คุณเป็นห่วงกังวลในคำอธิษฐานของคุณล่ะ?
18, 19. คุณจะทำอะไรได้หากคุณคิดว่าผู้ปกครองได้ทำผิดพลาด?
18 เนื่องด้วยความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์เรา ข้อยุ่งยากหรือปัญหาอาจเกิดขึ้น. อาจมีบางครั้งด้วยซ้ำที่ผู้ปกครอง2 ติโมเธียว 3:16; เฮ็บราย 12:7-11.
ผิดพลาด ทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายใจ. การที่เราจะทำอย่างรีบร้อนภายใต้สถานการณ์เช่นนั้นย่อมจะไม่ทำให้อะไรดีขึ้น. การทำเช่นนั้นมีแต่จะสร้างปัญหาให้หนักยิ่งขึ้น. คนที่มีความสังเกตเข้าใจฝ่ายวิญญาณจะคอยให้พระยะโฮวาจัดการเรื่องราวให้เรียบร้อยและให้การตีสอนเช่นไรก็ตามที่จำเป็นในเวลาและวิธีการของพระองค์เอง.—19 จะว่าอย่างไรหากคุณรู้สึกเป็นทุกข์ในบางเรื่อง? แทนที่จะพูดคุยกับคนอื่น ๆ ในประชาคม ทำไมไม่เข้าพบผู้ปกครองด้วยความนับถือเพื่อขอความช่วยเหลือล่ะ? โดยไม่มุ่งติเตียน จงอธิบายว่าคุณได้รับความกระทบกระเทือนอย่างไร. จง “แสดงความเห็นอกเห็นใจ” ต่อเขาเสมอ และรักษาไว้ซึ่งความนับถือขณะที่คุณปรับทุกข์กับเขา. (1 เปโตร 3:8, ล.ม.) อย่าใช้วิธีพูดกระทบกระเทียบ แต่จงไว้ใจในความอาวุโสแบบคริสเตียนของเขา. จงหยั่งรู้ค่าการหนุนกำลังใจจากข้อพระคัมภีร์ที่เขาอาจได้ให้อย่างกรุณา. และหากดูเหมือนว่าจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อการแก้ไขอย่างอื่น ก็ขอให้เชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะชี้นำเหล่าผู้ปกครองให้ทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง.—ฆะลาเตีย 6:10; 2 เธซะโลนิเก 3:13.
20. เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
20 อย่างไรก็ดี มีอีกแง่หนึ่งที่ควรจะพิจารณาในเรื่องการให้เกียรติและการนับถือผู้มีอำนาจ. ผู้ที่ได้รับมอบตำแหน่งที่มีอำนาจควรจะนับถือคนที่เขาดูแลมิใช่หรือ? ให้เราพิจารณาเรื่องนี้ในบทความถัดไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เรามีเหตุผลที่ดีอะไรที่จะให้เกียรติผู้มีอำนาจ?
• พระยะโฮวาและพระเยซูทรงมีทัศนะอย่างไรต่อคนที่ไม่นับถืออำนาจซึ่งได้รับจากพระเจ้า?
• เรามีตัวอย่างที่ดีอะไรบ้างของคนที่ให้เกียรติผู้ได้รับมอบอำนาจ?
• เราจะทำอะไรได้หากผู้ที่มีอำนาจเหนือเราดูเหมือนว่าได้ทำผิดพลาด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
ซารานับถืออำนาจของอับราฮามอย่างสุดซึ้งและมีความสุข
[ภาพหน้า 13]
มีคัลมิได้แสดงความนับถือต่ออำนาจของดาวิดในฐานะประมุขครอบครัวและกษัตริย์
[ภาพหน้า 15]
“เป็นเรื่องเหลือคิดที่เราจะยื่นมือทำร้ายผู้ถูกเจิมของพระยะโฮวา!”
[ภาพหน้า 16]
ทำไมจึงไม่เข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยเรื่องที่คุณเป็นห่วงกังวลในคำอธิษฐานของคุณล่ะ?