แบบอย่างที่ดี—คุณได้รับประโยชน์จากแบบอย่างเหล่านั้นไหม?
แบบอย่างที่ดี—คุณได้รับประโยชน์จากแบบอย่างเหล่านั้นไหม?
“ท่านทั้งหลายจึงเป็นแบบอย่างแก่ผู้เชื่อถือทั้งปวงในมาซิโดเนียและอะคายะ.” อัครสาวกเปาโลเขียนถ้อยคำเหล่านี้ถึงคริสเตียนผู้ซื่อสัตย์ที่อยู่ในเมืองเธซะโลนิเก. แบบอย่างที่พวกเขาได้วางไว้สำหรับเพื่อนร่วมความเชื่อนับว่าน่าชมเชยอย่างแท้จริง. กระนั้น ชาวเธซะโลนิเกเองได้ตอบรับแบบอย่างที่เปาโลและเพื่อนของท่านได้วางไว้นั้น. เปาโลกล่าวว่า “ข่าวดีที่เราประกาศไม่ได้มาถึงท่ามกลางท่านทั้งหลายโดยวาจาเท่านั้นแต่โดยฤทธิ์และโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์และความมั่นใจเต็มที่ด้วย ดังที่ท่านทั้งหลายรู้ว่าเรากลายเป็นคนชนิดใดแก่พวกท่านเพื่อเห็นแก่ท่าน; และท่านทั้งหลายได้มาเป็นผู้เลียนแบบอย่างของเรา.”—1 เธซะโลนิเก 1:5-7, ล.ม.
ถูกแล้ว เปาโลไม่เพียงประกาศคำสอนเท่านั้น. ชีวิตของท่านนั่นเองเป็นแรงบันดาลใจ—แบบอย่างของความเชื่อ, ความอดทน, และการเสียสละตัวเอง. เพราะเหตุนี้ เปาโลกับเพื่อนร่วมงานของท่านจึงเป็นบุคคลที่มีผลกระทบอันทรงพลังในชีวิตของชาวเธซะโลนิเก กระตุ้นพวกเขาให้ยอมรับความจริง “ในความยากลำบากเป็นอันมาก.” กระนั้น ไม่เพียงแต่เปาโลกับเพื่อนร่วมงานของท่านเท่านั้นที่มีผลกระทบในเชิงบวกต่อผู้มีความเชื่อเหล่านั้น. แบบอย่างของคนอื่นซึ่งได้อดทนความยากลำบากก็ให้กำลังใจด้วย. เปาโลเขียนถึงชาวเธซะโลนิเกว่า “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย, ท่านได้กระทำตามเยี่ยงอย่างคริสตจักรของพระเจ้าในประเทศยูดายที่อยู่ฝ่ายพระเยซูคริสต์ เพราะว่าท่านได้รับทนลำบากจากพลเมืองของตนเหมือนอย่างเขาเหล่านั้นได้ทนลำบากจากพวกยูดาย.”—1 เธซะโลนิเก 2:14.
พระคริสต์เยซู—แบบอย่างอันดับแรก
ถึงแม้เปาโลเองได้วางตัวอย่างที่เหมาะแก่การเลียนแบบไว้ ท่านก็ไม่พลาดที่จะชี้ถึงพระเยซูคริสต์ในฐานะเป็นแบบอย่างอันดับแรกที่คริสเตียนควรติดตาม. (1 เธซะโลนิเก 1:6) พระคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างแรกสุดของเราเสมอมา. อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “ท่านทั้งหลายถูกเรียกไว้สำหรับแนวทางนี้ เพราะแม้แต่พระคริสต์ได้ทรงทนทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย ทรงวางแบบอย่างไว้ให้ท่าน เพื่อท่านจะได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์อย่างใกล้ชิด.”—1 เปโตร 2:21, ล.ม.
อย่างไรก็ดี พระเยซูได้จบชีวิตมนุษย์ของพระองค์เกือบ 2,000 ปีมาแล้ว. ปัจจุบันพระองค์ “สถิตอยู่ในความสว่างที่ไม่มีผู้ใดเข้าไปถึงได้” ในฐานะองค์วิญญาณอมตะ. ในฐานะเช่นนั้น “มนุษย์คนใดไม่เคยเห็นหรือจะเห็นพระองค์ไม่ได้.” (1 ติโมเธียว 6:16, ล.ม.) ถ้าเช่นนั้น เราจะเลียนแบบพระองค์ได้โดยวิธีใด? วิธีหนึ่งคือโดยการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูจากพระธรรมสี่เล่มในคัมภีร์ไบเบิล. กิตติคุณเสนอความหยั่งเห็นในบุคลิกภาพ, แนวทางชีวิต, และ “เจตคติ” ของพระองค์. (ฟิลิปปอย 2:5-8, ล.ม.) อาจได้รับความหยั่งเห็นเพิ่มอีกโดยการศึกษาอย่างละเอียดในหนังสือบุรุษผู้ใหญ่ยิ่งเท่าที่โลกเคยเห็น ซึ่งพิจารณาเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูด้วยรายละเอียดมากมายและตามลำดับเวลา. *
แบบอย่างการเสียสละตัวเองของพระเยซูมีผลกระทบอันทรงพลังต่ออัครสาวกเปาโล. ท่านได้บอกคริสเตียนชาวโกรินโธว่า “สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายินดีอย่างยิ่งจะทุ่มเทและทุ่มเทหมดตัวเพื่อจิตวิญญาณของท่านทั้งหลาย.” (2 โกรินโธ 12:15, ล.ม.) ช่างเป็นเจตคติที่เหมือนกับพระคริสต์เสียจริง ๆ! ขณะที่เราไตร่ตรองดูแบบอย่างที่สมบูรณ์พร้อมของพระคริสต์ เราน่าจะได้รับการกระตุ้นให้เลียนแบบพระองค์ในแนวทางชีวิตของเราเองด้วยเช่นกัน.
มัดธาย 6:25; 8:20) ความกังวลทางด้านวัตถุครอบงำความคิดและการกระทำของคุณไหม? หรือชีวิตของคุณให้หลักฐานว่าคุณกำลังแสวงหาราชอาณาจักรก่อนไหม? และเจตคติของคุณต่อการรับใช้พระยะโฮวาเป็นอย่างไร? เจตคตินั้นเหมือนกับของพระเยซู ผู้เป็นแบบอย่างของเราไหม? คัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าพระเยซูไม่เพียงแต่สอนให้มีใจแรงกล้าเท่านั้น แต่ทรงสำแดงความมีใจแรงกล้าที่ร้อนแรงในหลายโอกาส. (โยฮัน 2:14-17) นอกจากนั้น พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่ดีอะไรเช่นนี้เมื่อมาถึงเรื่องความรัก! พระองค์ถึงกับสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อเหล่าสาวก! (โยฮัน 15:13) คุณเลียนแบบพระเยซูโดยการแสดงความรักต่อพี่น้องคริสเตียนของคุณไหม? หรือว่าคุณยอมให้ความไม่สมบูรณ์ของบางคนขัดขวางความรักของคุณที่มีต่อพวกเขา?
ตัวอย่างเช่น พระเยซูทรงสอนว่า เราควรไว้วางใจในคำสัญญาของพระเจ้าที่จะจัดหาให้ทางด้านวัตถุ. แต่พระองค์ทรงทำมากกว่านั้น. พระองค์ทรงแสดงให้เห็นความเชื่อและความมั่นใจเช่นนั้นในพระยะโฮวาในแต่ละวัน. พระองค์ตรัสว่า “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง, และนกในอากาศก็ยังมีรัง, แต่บุตรมนุษย์ไม่มีที่ ๆ จะวางศีรษะ.” (เมื่อเราบากบั่นที่จะติดตามแบบอย่างของพระคริสต์ เรามักจะพลาดไปอยู่เนือง ๆ. แต่พระยะโฮวาทรงพอพระทัยแน่ ๆ เมื่อเราพยายามที่จะ “ประดับตัวด้วยพระเยซูคริสต์เจ้า.”—โรม 13:14.
“แบบอย่างแก่ฝูงแกะ”
มีปัจเจกบุคคลในประชาคมทุกวันนี้ไหมซึ่งอาจใช้เป็นแบบอย่างสำหรับเรา? มีแน่! พี่น้องชายที่ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งซึ่งมีความรับผิดชอบนั้นต้องวางแบบอย่างไว้เป็นพิเศษ. เปาโลได้บอกติโต ผู้ซึ่งรับใช้ประชาคมต่าง ๆ ในเมืองเกรเตและเป็นผู้แต่งตั้งเหล่าผู้ดูแลว่า ผู้ปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งแต่ละคนต้องเป็นคน “ปราศจากข้อกล่าวหา.” (ติโต 1:5, 6, ล.ม.) อัครสาวกเปโตรได้ตักเตือนคล้ายกันให้ “พวกผู้เฒ่าผู้แก่” เป็น “แบบอย่างแก่ฝูงแกะ.” (1 เปโตร 5:1-3, ล.ม.) และจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับคนเหล่านั้นที่รับใช้ในฐานะผู้ช่วยงานรับใช้? พวกเขาก็เช่นกันต้องเป็น “ชายที่รับใช้อย่างดีงาม.”—1 ติโมเธียว 3:13, ล.ม.
แน่นอน เป็นเรื่องไม่ตรงกับสภาพจริงที่จะคาดหมายว่าผู้ปกครองหรือผู้ช่วยงานรับใช้ทุกคนจะชำนาญอย่างโดดเด่นในทุกด้านของงานรับใช้คริสเตียน. เปาโลได้บอกคริสเตียนในกรุงโรมว่า “เราทุกคนมีของประทานที่ต่างกันตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา.” (โรม 12:6, ฉบับแปลใหม่) พี่น้องต่างคนต่างก็มีข้อดีเด่นในขอบเขตที่ไม่เหมือนกัน. ไม่มีเหตุผลที่จะคาดหมายว่าผู้ปกครองจะทำและพูดทุกสิ่งในแบบที่สมบูรณ์พร้อม. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวที่ยาโกโบ 3:2 (ล.ม.) ว่า “เราทุกคนต่างก็พลาดพลั้งกันหลายครั้ง. ถ้าผู้ใดไม่พลาดพลั้งในวาจา ผู้นั้นก็เป็นคนสมบูรณ์ สามารถเหนี่ยวรั้งทั้งร่างกายของตนได้ด้วย.” อย่างไรก็ดี ทั้ง ๆ ที่ไม่สมบูรณ์ ผู้ปกครองก็ยังคงเป็นเหมือนติโมเธียวได้อยู่ คือ “เป็นแบบอย่างแก่คนซื่อสัตย์ในการพูด, การประพฤติ, ความรัก, ความเชื่อ, ความบริสุทธิ์.” (1 ติโมเธียว 4:12, ล.ม.) เมื่อผู้ปกครองทำเช่นนั้น คนเหล่านั้นที่อยู่ในฝูงแกะก็จะเต็มใจนำคำตักเตือนในเฮ็บราย 13:7 ไปใช้ที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคนเหล่านั้นที่ได้เคยปกครองท่าน . . . และจงพิจารณาดูผลแห่งปลายทางแห่งประวัติของเขา, แล้วจงเอาอย่างความเชื่อของเขา.”
แบบอย่างอื่น ๆ ในสมัยปัจจุบัน
ตลอดสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คนอื่นจำนวนนับไม่ถ้วนได้แสดงตัวว่าเป็นแบบอย่างที่ดี. จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับมิชชันนารีที่เสียสละตัวเองหลายพันคนซึ่งได้ “สละบ้านหรือพี่น้องชายหญิงหรือบิดามารดาหรือลูกหรือไร่นา” เพื่อทำให้งานมอบหมายคริสเตียนสำเร็จในเขตงานต่างประเทศ? (มัดธาย 19:29, ฉบับแปลใหม่) ขอพิจารณาผู้ดูแลเดินทางกับภรรยาของเขา ชายและหญิงซึ่งรับใช้ฐานะอาสาสมัคร ณ สำนักงานของสมาคมว็อชเทาเวอร์ และพวกไพโอเนียร์ซึ่งรับใช้ประชาคมต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน. ตัวอย่างดังกล่าวอาจเป็นแรงจูงใจคนอื่น ๆ ไหม? คริสเตียนผู้เผยแพร่กิตติคุณคนหนึ่งในเอเชียหวนรำลึกถึงมิชชันนารีคนหนึ่งจากชั้นที่แปดของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด. เขากล่าวว่า พี่น้องชายที่ซื่อสัตย์คนนี้ “เต็มใจเผชิญกับฝูงยุงและอากาศชื้นที่อบอ้าว. . . . น่าประทับใจยิ่งกว่านั้นเสียอีกคือความสามารถของเขาที่ จะเสนอข่าวดีทั้งในภาษาจีนและภาษามลายูถึงแม้เขามาจากอังกฤษก็ตาม.” ผลกระทบจากตัวอย่างที่ดีนี้ล่ะ? พี่น้องคนนี้กล่าวว่า “ความสงบเยือกเย็นและความมั่นใจของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้ผมอยากเป็นมิชชันนารีเมื่อโตขึ้น.” ไม่น่าแปลกใจที่พี่น้องคนนี้ได้มาเป็นมิชชันนารีจริง ๆ.
ดัชนีสรรพหนังสือของว็อชเทาเวอร์ มีเรื่องราวชีวิตจริงมากมายที่เคยปรากฏในวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! เรื่องราวเหล่านี้เล่าถึงบุคคลต่าง ๆ ที่ได้ละทิ้งงานอาชีพและเป้าหมายทางโลก, เอาชนะข้อบกพร่องต่าง ๆ, ทำการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพอย่างโดดเด่น, คงไว้ซึ่งทัศนะในแง่บวกเมื่อเผชิญความยากลำบาก, และแสดงความขยันหมั่นเพียร, ความอดทน, ความภักดี, ความถ่อม, และน้ำใจเสียสละ. ผู้อ่านคนหนึ่งเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ว่า “เมื่อดิฉันอ่านสิ่งที่คนอื่น ๆ ได้ประสบ นั่นทำให้ดิฉันเป็นคริสเตียนที่ถ่อมและรู้สำนึกบุญคุณมากขึ้น และเรื่องราวเหล่านั้นช่วยดิฉันที่จะไม่ คิดถึงตัวเองมากเกินไปหรือเป็นคนเห็นแก่ตัว.”
นอกจากนี้ อย่าลืมตัวอย่างที่ดีในประชาคมของคุณเอง: หัวหน้าครอบครัวซึ่งเอาใจใส่ต่อความจำเป็นทั้งทางด้านวัตถุและด้านวิญญาณของครอบครัวเสมอไม่ขาด; พี่น้องหญิง—รวมทั้งมารดาไร้คู่—ซึ่งรับมือกับความกดดันในการเลี้ยงดูลูกขณะที่ยังคงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในงานรับใช้; คนสูงอายุและคนทุพพลภาพซึ่งยังคงซื่อสัตย์อยู่ต่อไปทั้ง ๆ ที่อ่อนแอลงเรื่อย ๆ และมีสุขภาพทรุดโทรม. คุณไม่ได้รับการกระตุ้นจากตัวอย่างดังกล่าวหรอกหรือ?
เป็นที่ยอมรับว่า โลกเต็มไปด้วยตัวอย่างที่ไม่ดี. (2 ติโมเธียว 3:13) ถึงกระนั้น ขอพิจารณาคำกระตุ้นเตือนของเปาโลถึงคริสเตียนที่มีชีวิตอยู่ในแคว้นยูเดีย. หลังจากบรรยายความประพฤติที่เป็นแบบอย่างของชายและหญิงที่มีความเชื่อหลายคนในสมัยโบราณแล้ว อัครสาวกเปาโลกระตุ้นพวกเขาว่า “ดังนั้น เมื่อเรามีเมฆใหญ่แห่งพยานล้อมรอบเรา ให้เรา . . . วิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ต่อหน้าเรา ขณะที่เรามองเขม้นไปที่พระเยซู ผู้นำองค์เอกและผู้ปรับปรุงความเชื่อของเราให้สมบูรณ์ขึ้น.” (เฮ็บราย 12:1, 2, ล.ม.) คริสเตียนในทุกวันนี้ถูกล้อมรอบด้วย “เมฆใหญ่” แห่งตัวอย่างที่ดี—ทั้งในสมัยโบราณและในสมัยปัจจุบัน. คุณได้รับประโยชน์จริง ๆ จากตัวอย่างเหล่านั้นไหม? คุณจะรับประโยชน์ได้หากคุณตั้งใจที่จะเป็น “ผู้เลียนแบบ ไม่ใช่สิ่งที่ชั่ว แต่สิ่งที่ดี.”—3 โยฮัน 11, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 จัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก.
[คำโปรยหน้า 20]
เป็นเรื่องไม่ตรงกับสภาพจริงที่จะคาดหมายว่าผู้ปกครองหรือผู้ช่วยงานรับใช้ทุกคนจะชำนาญอย่างโดดเด่นในทุกด้านของงานรับใช้คริสเตียน
[ภาพหน้า 21]
ผู้ปกครองต้องเป็น “แบบอย่างแก่ฝูงแกะ”