การทำเกินสิทธิ์นำไปสู่ความอัปยศ
การทำเกินสิทธิ์นำไปสู่ความอัปยศ
“มีการทำเกินสิทธิ์หรือ? ถ้าเช่นนั้น ก็จะมีความอัปยศ; แต่สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว.”—สุภาษิต 11:2, ล.ม.
1, 2. ความถือดีคืออะไร และลักษณะนิสัยเช่นนี้นำไปสู่ความหายนะอย่างไร?
ชาวเลวีผู้อิจฉาคนหนึ่งนำฝูงชนที่แข็งขืนต่อต้านผู้มีอำนาจที่พระยะโฮวาทรงตั้งไว้. เจ้าชายผู้ทะเยอทะยานวางแผนอันฉลาดแกมโกงเพื่อยึดราชบัลลังก์ของพระบิดา. กษัตริย์ผู้ขาดความอดทนไม่นับถือคำแนะนำที่ชัดเจนจากผู้พยากรณ์ของพระเจ้า. ชาวยิศราเอลทั้งสามคนนี้มีลักษณะเฉพาะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง: ความถือดี.
2 ความถือดีเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของหัวใจที่อาจก่อผลเสียหายต่อทุกคน. (บทเพลงสรรเสริญ 19:13) คนที่ถือดีหาญกล้าถือสิทธิ์ทำอะไรโดยพลการ. บ่อยครั้ง การทำเช่นนี้นำไปสู่ความหายนะ. ที่จริง ความถือดีได้ทำให้กษัตริย์บางองค์ประสบความหายนะและทำให้จักรวรรดิล่มสลาย. (ยิระมะยา 50:29, 31, 32; ดานิเอล 5:20) ความถือดีทำให้แม้แต่ผู้รับใช้บางคนของพระยะโฮวาติดกับและนำเขาไปถึงความพินาศ.
3. เราจะเรียนรู้ถึงอันตรายของการทำเกินสิทธิ์ได้อย่างไร?
3 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้อย่างสมเหตุสมผลว่า “มีการทำเกินสิทธิ์หรือ? ถ้าเช่นนั้น ก็จะมีความอัปยศ; แต่สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว.” (สุภาษิต 11:2, ล.ม.) คัมภีร์ไบเบิลบันทึกไว้หลายตัวอย่างซึ่งยืนยันความเป็นจริงของสุภาษิตข้อนี้. การตรวจดูตัวอย่างเหล่านี้บางตัวอย่างจะช่วยเราให้เห็นถึงอันตรายของการก้าวล้ำขอบเขตอันควร. ด้วยเหตุนั้น ให้เรามาพิจารณาวิธีที่ความอิจฉา, ความทะเยอทะยาน, และการขาดความอดทนทำให้ชายสามคนที่กล่าวถึงในตอนต้นทำเกินสิทธิ์ ซึ่งนำพวกเขาไปสู่ความอัปยศ.
โครา—ผู้ขืนอำนาจที่อิจฉา
4. (ก) โคราเป็นใคร และเหตุการณ์ใดซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ที่ท่านคงมีส่วนร่วมด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย? (ข) ในช่วงท้ายของชีวิต โครายุยงส่งเสริมการกระทำอันฉาวโฉ่อะไร?
4 โคราเป็นลูกหลานของโคฮาธแห่งตระกูลเลวี เป็นลูกพี่ลูกน้องของโมเซและอาโรน. ดูเหมือนว่า ท่านจงรักภักดีต่อพระยะโฮวามาหลายสิบปี. โครามีสิทธิพิเศษเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการช่วยให้รอดอย่างมหัศจรรย์ผ่านทะเลแดง และท่านคงจะมีส่วนร่วมอยู่ด้วยในการพิพากษาของพระยะโฮวาต่อชาวยิศราเอลที่นมัสการรูปโค ณ ภูเขาซีนาย. (เอ็กโซโด 32:26) อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายโครากลายเป็นผู้นำในการลุกฮือขึ้นต่อต้านโมเซและอาโรน ซึ่งในกลุ่มนี้ก็มีดาธาน, อะบีราม, และโอนแห่งตระกูลรูเบ็น พร้อมทั้งพวกหัวหน้าชาวยิศราเอล 250 คน. * พวกเขาพากันกล่าวต่อโมเซและอาโรนว่า “ท่านทำเกินเหตุไปเพราะว่าชุมนุมชนทั้งหมดก็บริสุทธิ์ทุก ๆ คนและพระเจ้าทรงสถิตท่ามกลางเขา. เหตุใดท่านจึงผยองขึ้นเหนือที่ประชุมแห่งพระเจ้า.”—อาฤธโม 16:1-3, ฉบับแปลใหม่.
5, 6. (ก) เหตุใดโคราจึงขืนอำนาจต่อโมเซและอาโรน? (ข) เหตุใดจึงอาจกล่าวได้ว่าโคราคงจะประเมินค่าตำแหน่งของตัวเองในการจัดเตรียมของพระเจ้าต่ำไป?
5 หลังจากที่ซื่อสัตย์มาเนิ่นนานปี ทำไมโคราจึงขืนอำนาจ? การนำชาติยิศราเอลของโมเซนั้นไม่เป็นแบบกดขี่แน่นอน เพราะท่าน “เป็นคนถ่อมจิตใจอ่อนยิ่งมากกว่าคนทั้งปวงที่อยู่บนแผ่นดิน.” (อาฤธโม 12:3) กระนั้น ดูเหมือนว่าโคราอิจฉาโมเซกับอาโรนและขุ่นเคืองในความเด่นของท่านทั้งสอง และนั่นก็ทำให้เขากล่าวอย่างผิด ๆ ว่า โมเซกับอาโรนยกตัวเองขึ้นเหนือชนทั้งชาติอย่างเห็นแก่ตัวและตามอำเภอใจ.—บทเพลงสรรเสริญ 106:16.
6 ปัญหาของโครานั้น ส่วนหนึ่งคงจะเนื่องมาจากเขาไม่เห็นคุณค่าสิทธิพิเศษของตนเองในการจัดเตรียมของพระเจ้า. จริงอยู่ ลูกหลานโคฮาธแห่งตระกูลเลวีไม่ได้เป็นปุโรหิต แต่พวกเขาก็เป็นครูสอนพระบัญญัติของพระเจ้า. พวกเขายังเป็นผู้ถือเครื่องเรือนและภาชนะต่าง ๆ ของพลับพลาในยามที่ต้องขนย้ายของเหล่านี้. งานนี้ไม่ใช่งานที่ไม่สำคัญ เพราะคนที่จะถือภาชนะบริสุทธิ์เหล่านี้ต้องเป็นคนที่บริสุทธิ์สะอาดด้านศาสนาและศีลธรรมเท่านั้น. (ยะซายา 52:11) ด้วยเหตุนั้น ตอนที่โมเซเผชิญหน้ากับโครา ท่านจึงถามในทำนองว่า ท่านทั้งหลายถือว่าหน้าที่มอบหมายของตัวเองนั้นไม่สำคัญจนถึงกับต้องแสวงหาตำแหน่งปุโรหิตด้วยหรือ? (อาฤธโม 16:9, 10) โครามิได้ตระหนักว่าเกียรติสูงสุดนั้นคือการรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ตามการจัดเตรียมของพระองค์—ไม่ใช่การบรรลุสถานภาพหรือตำแหน่งพิเศษบางอย่าง.—บทเพลงสรรเสริญ 84:10.
7. (ก) โมเซจัดการอย่างไรกับโคราและสมัครพรรคพวก? (ข) การขืนอำนาจของโครานำไปสู่จุดจบอันเป็นความหายนะอย่างไร?
พระบัญญัติ 11:6; อาฤธโม 16:16-35; 26:10) การที่โคราทำเกินสิทธิ์เช่นนั้นนำเขาไปถึงความอัปยศอย่างยิ่ง อันได้แก่ความไม่พอพระทัยจากพระเจ้า!
7 โมเซบอกโครากับสมัครพรรคพวกให้มารวมตัวกันในเช้าวันรุ่งขึ้นที่พลับพลาประชุมพร้อมด้วยกระถางไฟและเครื่องหอม. โคราและสมัครพรรคพวกไม่มีอำนาจหน้าที่ในการถวายเครื่องหอม เนื่องจากพวกเขามิได้เป็นปุโรหิต. หากพวกเขามาพร้อมกับกระถางไฟและเครื่องหอม ก็ย่อมแสดงอย่างชัดเจนว่าคนเหล่านี้ยังคงคิดว่าตนมีสิทธิ์จะทำหน้าที่อย่างปุโรหิต—แม้ว่าได้มีเวลาทั้งคืนที่จะคิดทบทวนในเรื่องนี้. เมื่อพวกเขามาปรากฏตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น จึงสมควรที่พระยะโฮวาทรงสำแดงพระพิโรธ. สำหรับพวกตระกูลรูเบ็น “แผ่นดินได้อ้าปากกลืนเขาทั้งหลายเข้าไป.” ส่วนพวกที่เหลือ รวมทั้งโคราด้วย ก็ถูกไฟจากพระเจ้าเผาผลาญ. (จงต้านทาน “แนวโน้มที่จะอิจฉา”
8. “แนวโน้มที่จะอิจฉา” อาจปรากฏในท่ามกลางคริสเตียนได้อย่างไร?
8 เรื่องราวของโครานับเป็นคำเตือนสำหรับเรา. เนื่องจาก “แนวโน้มที่จะอิจฉา” มีอยู่ในมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ แนวโน้มนี้จึงอาจปรากฏแม้กระทั่งในประชาคมคริสเตียน. (ยาโกโบ 4:5, ล.ม.) ยกตัวอย่าง เราอาจสนใจในเรื่องตำแหน่ง. เช่นเดียวกับโครา เราอาจอิจฉาคนที่มีสิทธิพิเศษที่เราอยากมี. หรือเราอาจกลายเป็นเหมือนคริสเตียนคนหนึ่งในศตวรรษแรกที่ชื่อดิโอเตรเฟส. เขาวิพากษ์วิจารณ์อำนาจของเหล่าอัครสาวกอย่างมาก ทั้งนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นเพราะเขาอยากทำหน้าที่นี้. ที่จริง โยฮันเขียนว่าดิโอเตรเฟส “ชอบเป็นเอก.”—3 โยฮัน 9, ล.ม.
9. (ก) เราต้องหลีกเลี่ยงเจตคติเช่นไรต่อหน้าที่รับผิดชอบในประชาคม? (ข) ทัศนะที่ถูกต้องเกี่ยวกับฐานะของเราในการจัดเตรียมของพระเจ้าควรเป็นเช่นไร?
9 แน่ละ ไม่ผิดที่ผู้ชายคริสเตียนจะเอื้อมแขนเพื่อรับเอาหน้าที่รับผิดชอบในประชาคม. เปาโลสนับสนุนให้ทำเช่นนั้นด้วยซ้ำ. (1 ติโมเธียว 3:1) อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรถือเอาสิทธิพิเศษแห่งการรับใช้เป็นเหมือนเครื่องหมายบ่งบอกความสำเร็จ ราวกับว่าด้วยการบรรลุสิทธิพิเศษเหล่านี้ เราได้ก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งบนบันไดแห่งความก้าวหน้า ดังที่มีบางคนกล่าวไว้อย่างนั้น. พึงจำไว้ว่าพระเยซูตรัสดังนี้: “ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ก็ให้ผู้นั้นเป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย. ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นเอกเป็นต้นก็ให้ผู้นั้นเป็นทาสของพวกท่าน.” (มัดธาย 20:26, 27) เห็นได้ชัดว่า ไม่ถูกต้องที่จะอิจฉาคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่า ราวกับว่าคุณค่าของเราในสายพระเนตรของพระเจ้าขึ้นอยู่กับ “ตำแหน่ง” ของเราในองค์การของพระองค์. พระเยซูตรัสว่า “ท่านทั้งหลายเป็นพี่น้องกันทั้งหมด.” (มัดธาย 23:8) ใช่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกาศหรือไพโอเนียร์ เป็นผู้ที่เพิ่งรับบัพติสมาหรือผู้รักษาความซื่อสัตย์มั่นคงมานาน—ทุกคนที่รับใช้พระยะโฮวาด้วยสิ้นสุดจิตวิญญาณอยู่ในฐานะอันมีค่าในการจัดเตรียมของพระองค์. (ลูกา 10:27; 12:6, 7; ฆะลาเตีย 3:28; เฮ็บราย 6:10) นับเป็นพระพรอย่างแท้จริงที่จะทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับหลายล้านคนที่กำลังพยายามอย่างยิ่งในการใช้คำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “จงคาดเอวตนเองไว้ด้วยจิตใจอ่อนน้อมต่อกันและกัน.”—1 เปโตร 5:5, ล.ม.
อับซาโลม —นักฉวยโอกาสผู้ทะเยอทะยาน
10. อับซาโลมเป็นใคร และเขาพยายามอย่างไรเพื่อหาเสียงสนับสนุนจากคนที่มาเฝ้ากษัตริย์เพื่อทูลขอให้ตัดสินความ?
10 แนวทางชีวิตของอับซาโลม ราชบุตรองค์ที่สามของกษัตริย์ดาวิด ให้บทเรียนในเรื่องความทะเยอทะยาน. นักฉวยโอกาสผู้นี้ซึ่งกำลังวางแผนร้ายพยายามหาเสียงสนับสนุนจากคนที่มาเฝ้ากษัตริย์เพื่อทูลขอให้ตัดสินความ. ทีแรก เขากล่าวเป็นเชิงว่าดาวิดไม่สนพระทัยไยดีในความทุกข์ร้อนของพวกเขา. จากนั้น เขาก็เลิกใช้เล่ห์เหลี่ยม และเผยเจตนารมณ์อันแท้จริงออกมาตรง ๆ. อับซาโลมเอื้อนเอ่ยออกมาว่า “โอ ถ้าเราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาในแผ่นดิน เพื่อทุกคนที่มีเรื่องทางกฎหมายหรือขอการตัดสินความจะมาหาเรา! ครั้นแล้วเราจะให้ความยุติธรรมแก่เขาเป็นแน่.” การเล่นการเมืองอย่างมีเล่ห์เหลี่ยมของอับซาโลมนั้นไม่มีขอบเขต. คัมภีร์ไบเบิลแจ้งว่า “เมื่อเกิดมีชายคนใดเข้ามาใกล้เพื่อคำนับท่าน ท่านจะยื่นมือจับเขาไว้และจูบเขา. และอับซาโลมทำอย่างนี้เรื่อยไปแก่ชาวยิศราเอลทุกคนที่มาหากษัตริย์เพื่อขอการตัดสินความ.” ผลเป็นเช่นไร? “อับซาโลมเฝ้าชิงเอาหัวใจของชายชาวยิศราเอลไป.”—2 ซามูเอล 15:1-6, ล.ม.
11. อับซาโลมพยายามช่วงชิงบัลลังก์ของดาวิดโดยวิธีใด?
2 ซามูเอล 13:28, 29) อย่างไรก็ตาม อาจจะตั้งแต่ในตอนนั้นแล้วที่อับซาโลมหมายตาราชบัลลังก์ และเห็นช่องที่จะสังหารอำโนนเพื่อกำจัดคู่แข่ง. * ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เมื่อได้จังหวะ อับซาโลมก็ลงมือ. เขาใช้คนให้ประกาศการขึ้นครองบัลลังก์ของเขาไปทั่วแผ่นดิน.— 2 ซามูเอล 15:10.
11 อับซาโลมตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะช่วงชิงตำแหน่งกษัตริย์จากราชบิดา. ห้าปีก่อนหน้านั้น เขาสั่งให้สังหารอำโนนราชบุตรหัวปีของดาวิด ทำทีว่าเพื่อล้างแค้นที่อำโนนข่มขืนธามารน้องสาวของอับซาโลม. (12. จงอธิบายว่าการทำเกินสิทธิ์ของอับซาโลมนำเขาไปสู่ความอัปยศอย่างไร.
12 ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง อับซาโลมประสบความสำเร็จ เพราะ “การที่คบคิดกันนั้นก็มีกำลังพรรคพวกมากสมัครเข้ากับอับซาโลม.” ต่อมา กษัตริย์ดาวิดต้องหนีเอาชีวิตรอด. (2 ซามูเอล 15:12-17) อย่างไรก็ตาม ไม่ช้าวิถีชีวิตของอับซาโลมก็จบสิ้นลงเมื่อเขาถูกสังหารโดยโยอาบ, โยนลงหลุมแอ่ง, และปิดทับด้วยหิน. ขอให้นึกภาพดูเถอะ—ชายผู้ทะเยอทะยานคนนี้ที่ต้องการจะเป็นกษัตริย์ไม่ได้รับแม้กระทั่งที่ฝังศพอันสมพระเกียรติเมื่อสิ้นชีวิต! * การทำเกินสิทธิ์นำอับซาโลมไปสู่ความอัปยศอย่างแท้จริง.— 2 ซามูเอล 18:9-17.
จงหลีกเลี่ยงความทะเยอทะยานอันเห็นแก่ตัว
13. น้ำใจทะเยอทะยานอาจก่อรากขึ้นในหัวใจของคริสเตียนได้อย่างไร?
13 การขึ้นมามีอำนาจของอับซาโลมและความตกต่ำของเขาในเวลาต่อมา เป็นบทเรียนสำหรับเรา. ในโลกปัจจุบันอันทารุณโหดเหี้ยม เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้คนจะป้อยอผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตน พยายามประจบเอาใจเพียงเพื่อจะสร้างความประทับใจหรือไม่ก็หวังจะได้รับอภิสิทธิ์บางอย่างหรือการเลื่อนตำแหน่ง. ในเวลาเดียวกัน เขาอาจคุยโตโอ้อวดกับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยหวังจะได้รับความเห็นชอบและการสนับสนุนจากพวกเขา. หากเราไม่ระวัง น้ำใจทะเยอทะยานเช่นนั้นอาจก่อรากขึ้นในหัวใจเราได้. ดูเหมือนว่ามีบางคนในศตวรรษแรกประพฤติตัวอย่างนี้ ทำให้เหล่าอัครสาวกจำเป็นต้องตักเตือนคนเช่นนั้นอย่างแรง.—ฆะลาเตีย 4:17; 3 โยฮัน 9, 10.
14. เหตุใดเราควรหลีกเลี่ยงน้ำใจทะเยอทะยานและยกตัวเอง?
14 พระยะโฮวาไม่ทรงยอมให้มีผู้วางแผนร้ายที่คุยโตซึ่งพยายาม “เที่ยวเสาะหาเกียรติยศใส่ตนเอง” อยู่ในองค์การของพระองค์. (สุภาษิต 25:27) ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า “พระยะโฮวาจะทรงตัดริมฝีปากที่ป้อยอนั้นออกเสียทั้งหมด; รวมทั้งลิ้นที่คุยโตด้วย.” (บทเพลงสรรเสริญ 12:3) อับซาโลมมีคำพูดที่ฟังรื่นหู. เขาพูดป้อยอคนที่เขาต้องการจะได้ความเห็นชอบ—ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งที่มีอำนาจที่เขาอยากได้. ในทางตรงกันข้าม เราได้รับพระพรสักเพียงไรที่อยู่ท่ามกลางพี่น้องซึ่งปฏิบัติตามคำแนะนำของเปาโลโดยที่ “ไม่ทำสิ่งใดเพราะชอบทุ่มเถียงหรือเพราะถือดี แต่ด้วยจิตใจอ่อนน้อม ถือว่าคนอื่นดีกว่าตัว.”—ฟิลิปปอย 2:3, ล.ม.
ซาอูล—กษัตริย์ผู้ขาดความอดทน
15. ซาอูลเคยแสดงตัวอย่างไรว่าเป็นคนเจียมตัว?
15 ซาอูล ซึ่งภายหลังได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของชาติยิศราเอล เคยเป็นคนเจียมตัวมาก่อน. เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอให้พิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ท่านยังเยาว์วัย. เมื่อซามูเอลผู้พยากรณ์ของพระเจ้ากล่าวชมท่าน ซาอูลตอบอย่างถ่อมตัวว่า “ข้าพเจ้าเป็นแต่ตระกูลเบ็นยามิน, คือตระกูลน้อยที่สุดในท่ามกลางตระกูลยิศราเอลทั้งวงศ์ของข้าพเจ้าก็ต่ำกว่าบรรดาวงศ์ในตระกูลเบ็นยามินนั้นมิใช่หรือ? เหตุไรท่านจึงกล่าวแก่ข้าพเจ้าอย่างนั้น?”—1 ซามูเอล 9:21.
16. ซาอูลแสดงเจตคติที่ขาดความอดทนอย่างไร?
16 อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาความเจียมตัวของซาอูลได้สูญไปเสียสิ้น. ระหว่างที่ทำศึกกับพวกฟะลิศตีม ท่านล่าถอยมาที่ฆีละฆาลซึ่งท่านจะต้องคอยอยู่ที่นั่นเพื่อให้ซามูเอลมาถวายเครื่องบูชาวิงวอนต่อพระเจ้า. เมื่อซามูเอลไม่ได้มาตามเวลากำหนด ซาอูลทำเกินสิทธิ์ของตนด้วยการถวายเครื่องบูชาเผาด้วยตัวเอง. ทันทีที่ท่านถวายเสร็จ ซามูเอลก็มาถึง. ซามูเอลทูลถามว่า “ท่านได้ทำอะไร?” ซาอูลตอบว่า “เราเห็นชนนิกรกระจัดกระจายไป, ทั้งท่านก็มิได้มา1 ซามูเอล 13:8-12.
ตามเวลากำหนด, . . . เหตุฉะนั้นเราจำเป็นต้องถวายเครื่องบูชายัญ.”—17. (ก) เมื่อมองเผิน ๆ ทำไมอาจดูเหมือนว่าการกระทำของซาอูลมีเหตุผลที่ฟังขึ้น? (ข) เหตุใดพระยะโฮวาทรงตำหนิซาอูลสำหรับการกระทำอย่างขาดความอดทนของท่าน?
17 เมื่อมองเผิน ๆ การกระทำของซาอูลอาจดูเหมือนมีเหตุผลที่ฟังขึ้น. อันที่จริง ไพร่พลของพระเจ้า “อยู่ในที่คับแค้น” “มีความลำบากมาก” และตัวสั่นเนื่องด้วยสถานการณ์เข้าตาจน. (1 ซามูเอล 13:6, 7) แน่นอน ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะริเริ่มทำบางสิ่งบางอย่างเมื่อสถานการณ์ทำให้มีเหตุผลสมควรจะทำอย่างนั้น. * อย่างไรก็ตาม ต้องจำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงสามารถอ่านหัวใจและมองเห็นแรงกระตุ้นในส่วนลึกของเรา. (1 ซามูเอล 16:7) ด้วยเหตุนั้น พระองค์คงต้องเห็นปัจจัยบางอย่างเกี่ยวกับซาอูลที่ไม่มีกล่าวถึงโดยตรงในบันทึกของคัมภีร์ไบเบิล. ยกตัวอย่าง พระยะโฮวาอาจทรงมองเห็นว่าการขาดความอดทนของซาอูลนั้นถูกกระตุ้นโดยความหยิ่ง. อาจเป็นได้ว่า ซาอูลขุ่นเคืองอยู่ลึก ๆ ว่าตัวเขาเป็นถึงกษัตริย์ของยิศราเอลทั้งหมด แต่กลับต้องมาคอยคนที่เขาเห็นว่าเป็นผู้พยากรณ์แก่ ๆ ที่ชักช้าอืดอาด! ไม่ว่าจะอย่างไร ซาอูลรู้สึกว่าการมาช้าของซามูเอลทำให้เขามีสิทธิ์ที่จะลงมือทำด้วยตัวเอง และไม่นำพาคำสั่งที่ชัดเจนซึ่งเขาได้รับ. ผลเป็นอย่างไร? ซามูเอลมิได้สรรเสริญการมีความคิดริเริ่มของซาอูล. ตรงกันข้าม ท่านตำหนิซาอูลอย่างแรงโดยกล่าวว่า “พระราชตระกูลของท่านจะดำรงอยู่ไม่ได้ . . . ด้วยท่านมิได้รักษาพระบัญญัติตามซึ่งพระยะโฮวาทรงสั่งไว้แล้ว.” (1 ซามูเอล 13:13, 14) อีกครั้งหนึ่ง การทำเกินสิทธิ์นำไปสู่ความอัปยศ.
จงระวังการขาดความอดทน
18, 19. (ก) จงพรรณนาวิธีที่การขาดความอดทนอาจทำให้ผู้รับใช้ของพระเจ้าในปัจจุบันกระทำอย่างถือดี. (ข) เราควรจำอะไรไว้เกี่ยวกับการดำเนินงานของประชาคมคริสเตียน?
18 เรื่องราวเกี่ยวกับการทำเกินสิทธิ์ของซาอูลได้บันทึกไว้ในพระคำของพระเจ้าเพื่อประโยชน์ของพวกเรา. (1 โกรินโธ 10:11) เป็นเรื่องง่ายที่เราอาจรู้สึกรำคาญความไม่สมบูรณ์ของพี่น้อง. เช่นเดียวกับซาอูล เราอาจขาดความอดทน รู้สึกว่าเพื่อจะจัดการเรื่องราวอย่างที่ควรเป็น เราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง. เพื่อเป็นตัวอย่าง สมมุติว่าพี่น้องคนหนึ่งมีความสามารถเป็นเยี่ยมในการจัดระเบียบ. เขาเป็นคนตรงเวลา, รู้ขั้นตอนล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินงานในประชาคม, และมีพรสวรรค์ในการบรรยายและการสอน. ในขณะเดียวกัน เขารู้สึกว่าคนอื่น ๆ ทำไม่ได้ตามมาตรฐานอันพิถีพิถันอย่างยิ่งของเขา และมีประสิทธิภาพห่างไกลระดับที่เขาอยากให้เป็น. เรื่องนี้ทำให้เขามีเหตุผลอันฟังขึ้นที่จะแสดงความไม่อดทนไหม? เขาควรวิพากษ์วิจารณ์พี่น้องไหม อาจจะโดยพูดเป็นนัย ๆ ว่าหากไม่ใช่เพราะความพยายามของเขาแล้วก็คงไม่มีทางจะทำอะไรได้สำเร็จและประชาคมคงขาดประสิทธิภาพ? นั่นย่อมเป็นความถือดีจริง ๆ!
19 จริง ๆ แล้ว อะไรที่ยึดประชาคมไว้ด้วยกัน? ความเชี่ยวชาญในการจัดการไหม? ความมีประสิทธิภาพไหม? ความรู้อันลึกซึ้งไหม? จริงอยู่ คุณลักษณะเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการดำเนินงานที่ราบรื่นของประชาคม. (1 โกรินโธ 14:40; ฟิลิปปอย 3:16; 2 เปโตร 3:18) อย่างไรก็ตาม พระเยซูตรัสว่าความรักเป็นเครื่องหมายสำคัญที่ระบุตัวเหล่าสาวกของพระองค์. (โยฮัน 13:35) นั่นเป็นเหตุผลที่ผู้ปกครองที่เอาใจใส่ แม้ว่ามีระเบียบ แต่ก็ตระหนักว่าประชาคมไม่ใช่บริษัททำธุรกิจที่จำเป็นต้องจัดการอย่างเข้มงวด; ตรงกันข้าม ประชาคมประกอบด้วยฝูงแกะที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างนุ่มนวล. (ยะซายา 32:1, 2; 40:11) การไม่นำพาต่อหลักการดังกล่าวอย่างถือดีมักยังผลเป็นความไม่ปรองดองกัน. ในทางตรงกันข้าม ความเป็นระเบียบพร้อมด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าก่อให้เกิดสันติสุข.— 1 โกรินโธ 14:33; ฆะลาเตีย 6:16.
20. จะมีการพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
สุภาษิต 11:2 (ล.ม.). อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์ข้อเดียวกันนี้กล่าวอีกด้วยว่า “สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว.” ความเจียมตัวคืออะไร? มีตัวอย่างอะไรบ้างจากคัมภีร์ไบเบิลที่สามารถช่วยให้ความกระจ่างมากขึ้นเกี่ยวกับคุณลักษณะนี้ และเราจะแสดงความเจียมตัวได้อย่างไรในทุกวันนี้? คำถามเหล่านี้จะได้พิจารณากันในบทความถัดไป.
20 เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับโครา, อับซาโลม, และซาอูลแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทำเกินสิทธิ์นำไปสู่ความอัปยศ ดังกล่าวไว้ที่[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 เนื่องจากรูเบ็นเป็นบุตรหัวปีของยาโคบ คนที่เป็นลูกหลานของเขาซึ่งถูกโคราชักนำให้ขืนอำนาจอาจขุ่นเคืองที่โมเซ ซึ่งเป็นลูกหลานของเลวี มีอำนาจปกครองพวกเขา.
^ วรรค 11 คิละอาบ ราชบุตรองค์ที่สองของดาวิด ไม่ถูกกล่าวถึงอีกเลยภายหลังการประสูติ. อาจเป็นได้ว่า เขาเสียชีวิตก่อนที่อับซาโลมจะก่อกบฏ.
^ วรรค 12 ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล พิธีฝังศพผู้เสียชีวิตเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น การไม่ได้รับการจัดฝังศพนับเป็นความหายนะและมักเป็นเครื่องแสดงถึงความไม่พอพระทัยของพระเจ้า.—ยิระมะยา 25:32, 33.
^ วรรค 17 ตัวอย่างเช่น ฟีนะฮาศลงมือทำอย่างฉับไวเพื่อหยุดโรคร้ายที่ทำให้ชาวยิศราเอลหลายหมื่นคนเสียชีวิต และดาวิดสนับสนุนคนของท่านที่หิวโหยให้ร่วมกับท่านในการรับประทานขนมปังถวายใน “โบสถ์ของพระเจ้า.” เหตุการณ์ทั้งสองนี้ไม่ถูกตำหนิจากพระเจ้าว่าเป็นการทำเกินสิทธิ์.—มัดธาย 12:2-4; อาฤธโม 25:7-9; 1 ซามูเอล 21:1-6.
คุณจำได้ไหม?
• ความถือดีคืออะไร?
• ความอิจฉาทำให้โคราทำเกินสิทธิ์อย่างไร?
• เราเรียนอะไรจากเรื่องราวของอับซาโลมผู้ทะเยอทะยาน?
• เราจะหลีกเลี่ยงน้ำใจขาดความอดทนอย่างที่ซาอูลแสดงออกได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
ซาอูลขาดความอดทนและทำเกินสิทธิ์