ความนับถือต่ออำนาจ—ทำไมจึงสำคัญ?
ความนับถือต่ออำนาจ—ทำไมจึงสำคัญ?
ใครหรือจะไม่รู้สึกขอบคุณที่ตำรวจมีอำนาจจับกุมอาชญากรที่ขโมยทรัพย์สินหรือคุกคามครอบครัวของเรา? และเราหยั่งรู้ค่ามิใช่หรือที่ศาลมีอำนาจลงโทษอาชญากรเพื่อจะปกป้องชุมชน?
อาจคิดถึงสาธารณูปโภคที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ด้วย เช่นการซ่อมบำรุงถนน, การสุขาภิบาล, และการศึกษา—ซึ่งตามปกติใช้เงินภาษีที่จัดเก็บโดยผู้มีอำนาจของรัฐบาล. คริสเตียนแท้อยู่แรกสุดในการยอมรับว่าความนับถือต่อผู้มีอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเหมาะสมนั้นเป็นเรื่องสำคัญ. แต่ความนับถือดังกล่าวดำเนินไปถึงขีดไหน? และมีการเรียกร้องความนับถือต่อผู้มีอำนาจในขอบเขตใดบ้างของชีวิต?
อำนาจในชุมชน
คัมภีร์ไบเบิลสั่งคนทั้งปวง ไม่ว่าเป็นผู้มีความเชื่อหรือผู้ไม่มีความเชื่อก็ตามให้นับถือผู้มีอำนาจของบ้านเมือง ซึ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชุมชน. คริสเตียนอัครสาวกเปาโลเขียนถึงเพื่อนร่วมความเชื่อในกรุงโรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาสิ่งซึ่งท่านกล่าว ดังบันทึกไว้ที่โรม 13:1-7, ล.ม.
เปาโลเป็นพลเมืองคนหนึ่งของโรมัน และโรมเป็นมหาอำนาจโลกในตอนนั้น. จดหมายของเปาโลซึ่งเขียนราว ๆ ปี ส.ศ. 56 ได้แนะนำคริสเตียนให้เป็นพลเมืองตัวอย่าง. ท่านเขียนว่า “จงให้ทุกจิตวิญญาณยอมอยู่ใต้อำนาจที่สูงกว่า ด้วยว่าไม่มีอำนาจใด ๆ เว้นไว้โดยพระเจ้า; อำนาจต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงต่ำโดยพระเจ้า.”
ในข้อนี้เปาโลอธิบายว่า จะไม่มีอำนาจใด ๆ ของมนุษย์ดำรงอยู่หากพระเจ้าไม่ทรงอนุญาต. ในความหมายเช่นนั้น ผู้มีอำนาจที่สูงกว่ามีตำแหน่งในขอบเขตจำกัดภายในโครงสร้างแห่งพระประสงค์ของพระเจ้า. เพราะฉะนั้น “ผู้ซึ่งต่อต้านอำนาจนั้นตั้งตัวต่อต้านการจัดเตรียมของพระเจ้า.”
ขณะที่พลเมืองซึ่งทำดีอาจได้รับคำชมเชยจากอำนาจที่สูงกว่า อำนาจเหล่านี้ยังได้รับมอบสิทธิที่จะดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดด้วย. คนเหล่านั้นที่กระทำสิ่งที่ไม่ดีย่อมมีเหตุผลสมควรที่จะเกรงกลัวสิทธิของผู้มีอำนาจนั้นที่จะปฏิบัติฐานะ “ผู้แก้แค้น” เนื่องจากรัฐบาลต่าง ๆ ทำเช่นนั้นในฐานะเป็น “ผู้รับใช้ของพระเจ้า.”
เปาโลสรุปการอ้างเหตุผลของท่านโดยกล่าวว่า “เหตุฉะนั้นจึงมีเหตุผลหนักแน่นที่ท่านทั้งหลายจะต้องอยู่ใต้อำนาจ
มิใช่เนื่องด้วยพระอาญานั้นอย่างเดียว แต่เนื่องด้วยสติรู้สึกผิดชอบของท่านทั้งหลายด้วย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเสียภาษีด้วย; เพราะคนเหล่านั้นเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าเพื่อสาธารณประโยชน์ซึ่งรับใช้เพื่อจุดประสงค์นี้เสมอไป.”ความรับผิดชอบในการจัดการเกี่ยวกับเงินภาษีนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจที่สูงกว่า ไม่ใช่ผู้เสียภาษี. ในฐานะพลเมืองที่ซื่อสัตย์ คริสเตียนรักษาสติรู้สึกผิดชอบที่ดีไว้. เขาทราบว่าโดยการยอมตัวอยู่ใต้อำนาจที่สูงกว่าและเสียภาษีที่พึงจ่าย เขาไม่เพียงสนับสนุนมาตรฐานของชุมชนที่ตนอยู่เท่านั้น แต่เขายังดำเนินชีวิตประสานกับข้อเรียกร้องของพระเจ้าด้วย.
ครอบครัวและอำนาจ
จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับอำนาจในครอบครัว? ในช่วงแรกเริ่มของชีวิต ทารกมักจะเรียกร้องความสนใจโดยการร้องไห้หรือกระทั่งกรีดร้องด้วยซ้ำ. แต่บิดาหรือมารดาที่ฉลาดจะมองออกว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ สำหรับทารกและไม่ปล่อยให้การกรีดร้องนั้นมาบีบบังคับตน. เมื่อโตขึ้นเด็ก ๆ บางคนถูกปล่อยตามอำเภอใจและถูกปล่อยให้ตั้งมาตรฐานของตนเองขึ้น. เนื่องจากขาดประสบการณ์ พวกเขาอาจเข้าไปมีส่วนพัวพันในอาชญากรรมหรือการกระทำผิดอื่น ๆ ทำให้ทั้งครอบครัวและชุมชนโดยรวมยุ่งเหยิง ดังที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นหลายคนทราบดี.
รอสลินด์ ไมลส์ ผู้ประพันธ์เรื่องเด็กแบบที่เราพึงมี (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “บิดามารดาตีสอนลูกช้าเกินไป. เวลาที่พึงเริ่มต้นคือขณะที่เด็กเกิดมานั่นแหละ.” หากบิดามารดาพูดด้วยเสียงของผู้มีอำนาจที่กรุณา ห่วงใยและเสมอต้นเสมอปลายในการกระทำของเขาตั้งแต่ตอนต้นแล้ว ไม่ช้าเด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะยอมรับอำนาจนั้นและการตีสอนด้วยความรักที่มาจากอำนาจนั้น.
คัมภีร์ไบเบิลมีความรู้มากมายเกี่ยวกับอำนาจในครอบครัว. ในพระธรรมสุภาษิต ซะโลโมบุรุษผู้ฉลาดดึงความสนใจไปยังการแสดงความเป็นเอกภาพของบิดามารดาผู้ยำเกรงพระเจ้าให้ลูก ๆ เห็นโดยกล่าวว่า “บุตรของเราเอ๋ย จงฟังการตีสอนจากบิดาเจ้า และอย่าละเลยข้อบังคับจากมารดาเจ้า.” (สุภาษิต 1:8, ล.ม.) เมื่อบิดามารดารักษาจุดยืนที่เห็นพ้องต้องกันอย่างสมเหตุผลเช่นนั้นให้เด็ก ๆ เห็นแล้ว เด็กย่อมรู้จุดยืนของบิดามารดา. เขาอาจพยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมทำให้บิดามารดาขัดแย้งกันด้วยความพยายามจะให้ได้ตามใจตนเอง แต่อำนาจของบิดามารดาที่ปรองดองกันเป็นการปกป้องสำหรับเยาวชน.
คัมภีร์ไบเบิลอธิบายว่า สามีมีหน้าที่รับผิดชอบอันดับแรกต่อสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณไม่เพียงของลูก ๆ เท่านั้น แต่ของภรรยาด้วย. นี่เรียกว่าการเป็นประมุข. ควรใช้ตำแหน่งประมุขนี้อย่างไร? เปาโลชี้แจงว่า ดังที่พระคริสต์เป็นประมุขของประชาคม ผู้ชายก็เป็นประมุขของภรรยาตนเช่นเดียวกัน. ครั้นแล้วเปาโลกล่าวเสริมว่า “สามีทั้งหลาย จงรักภรรยาของตนต่อ ๆ ไปเช่นเดียวกับพระคริสต์ได้ทรงรักประชาคม [เจ้าสาวฝ่ายวิญญาณของพระองค์] และได้สละพระองค์เองเพื่อประชาคม.” (เอเฟโซ 5:25, ล.ม.) เมื่อผู้ชายปฏิบัติตามตัวอย่างของพระเยซูและใช้ตำแหน่งประมุขในวิธีที่แสดงความรักแล้ว เขาจะได้รับ “ความนับถืออย่างสุดซึ้ง” จากภรรยาของตน. (เอเฟโซ 5:33, ล.ม.) เด็ก ๆ ในครอบครัวดังกล่าวจะเห็นคุณค่าของอำนาจที่พระเจ้าทรงมอบให้นั้นด้วยและได้รับการสนับสนุนให้ยอมรับอำนาจนั้น.—เอเฟโซ 6:1-3.
บิดามารดาไร้คู่ รวมทั้งคนเหล่านั้นที่สูญเสียคู่ชีวิตไปด้วยความตาย จะรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างไร? ไม่ว่าเป็นบิดาหรือมารดา เขาสามารถอ้างถึงอำนาจของพระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์โดยตรง. พระเยซูตรัสด้วยอำนาจเสมอ—อำนาจแห่งพระบิดาพระองค์และอำนาจของพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจ.—มัดธาย 4:1-10; 7:29; โยฮัน 5:19, 30; 8:28.
คัมภีร์ไบเบิลเสนอหลักการที่มีคุณค่ามากมายเกี่ยวกับปัญหาที่เด็ก ๆ เผชิญ. โดยการหาพบหลักการเหล่านี้แล้วปฏิบัติตาม บิดาหรือมารดาจะสามารถให้คำแนะนำด้วยเยเนซิศ 6:22; สุภาษิต 13:20; มัดธาย 6:33; 1 โกรินโธ 15:33; ฟิลิปปอย 4:8, 9) นอกจากนี้ บิดามารดาอาจค้นดูเรื่องราวที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักซึ่งได้รับการเตรียมไว้โดยเฉพาะเพื่อช่วยเขาอบรมลูก ๆ ให้หยั่งรู้ค่าผลประโยชน์ของการนับถืออำนาจในพระคัมภีร์. *
ความรักและเป็นประโยชน์ต่อเด็กได้. (ประชาคมคริสเตียนและอำนาจ
“นี่คือบุตรของเรา ผู้เป็นที่รัก ผู้ซึ่งเราโปรดปราน; จงฟังท่านเถิด.” (มัดธาย 17:5, ล.ม.) ถ้อยคำเหล่านี้ ซึ่งพระยะโฮวาพระเจ้าตรัสด้วยพระองค์เอง ทรงรับรองพระเยซูฐานะเป็นผู้ที่พูดด้วยอำนาจของพระเจ้า. สิ่งที่พระองค์ตรัสได้รับการบันทึกไว้ในเรื่องราวกิตติคุณทั้งสี่ซึ่งเราอาจค้นดูได้ง่าย ๆ.
ก่อนการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์นั่นเอง พระเยซูทรงแจ้งแก่เหล่าสาวกของพระองค์ว่า “อำนาจทั้งสิ้นได้มอบให้กับเราแล้ว ทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก.” (มัดธาย 28:18, ล.ม.) ในฐานะประมุขของประชาคมของพระองค์ พระเยซูไม่เพียงเฝ้าดูเหล่าสาวกผู้ถูกเจิมซึ่งเจริญรอยตามพระบาทของพระองค์บนแผ่นดินโลกเท่านั้น แต่พระองค์ทรงใช้พวกเขาเป็นช่องทางของความจริง ในฐานะ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ด้วย นับตั้งแต่การเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ในวันเพนเตคอสเต ส.ศ. 33. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.; กิจการ 2:1-36) พระองค์ได้ทรงทำอะไรเพื่อให้งานทั้งหมดนี้บรรลุผลสำเร็จเพื่อจะเสริมสร้างประชาคมคริสเตียนให้เข้มแข็งขึ้น? “คราวที่พระองค์เสด็จขึ้นเบื้องสูง . . . พระองค์ทรงให้ของประทานในลักษณะมนุษย์.” (เอเฟโซ 4:8, ล.ม.) “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เหล่านี้คือคริสเตียนผู้ปกครองซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์และได้รับอำนาจที่จะเอาใจใส่ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายวิญญาณของเพื่อนร่วมความเชื่อ.—กิจการ 20:28.
เพราะเหตุนี้เปาโลจึงแนะนำว่า “ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคนเหล่านั้นที่ได้เคยปกครองท่าน, คือคนที่ได้ประกาศพระคำของพระเจ้าแก่ท่าน. และจงพิจารณาดูผลแห่งปลายทางแห่งประวัติของเขา, แล้วจงเอาอย่างความเชื่อของเขา.” เนื่องจากชายผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ติดตามรอยพระบาทของพระเยซูอย่างใกล้ชิด การเลียนแบบความเชื่อของพวกเขาจึงเป็นแนวทางแห่งสติปัญญาอย่างแน่นอน. ครั้นแล้วเปาโลกล่าวเสริมว่า “จงเชื่อฟังคนเหล่านั้นซึ่งนำหน้าในท่ามกลางท่านทั้งหลายและจงอยู่ใต้อำนาจ [“ยอมรับเรื่อยไปในอำนาจที่พวกเขามีอยู่เหนือท่าน,” ดิ แอมพลิไฟด์ ไบเบิล] เพราะพวกเขาคอยเฝ้าระวังดูจิตวิญญาณของท่านในฐานะเป็นผู้ซึ่งจะชี้แจงรายงาน; เพื่อเขาจะทำเช่นนี้ด้วยความยินดี และไม่ใช่ด้วยการถอนใจ เพราะการเช่นนั้นคงจะเป็นความเสียหายแก่ท่าน.”—เฮ็บราย 13:7; 13:17, ล.ม.
เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการเพิกเฉยต่อการชี้นำดังกล่าว? สมาชิกบางคนของประชาคมคริสเตียนยุคแรกได้ทำเช่นนั้นทีเดียวแล้วกลายเป็นคนออกหาก. มีการกล่าวถึงฮุเมนายกับฟิเลโตว่าเป็นคนที่ทำลายความเชื่อของบางคนและการพูดไร้สาระของเขา “ละเมิดสิ่งบริสุทธิ์.” การยืนยันอย่างหนึ่งของเขาคือข้อที่ว่าการกลับเป็นขึ้นจากตายได้เกิดขึ้นแล้ว ดูเหมือนว่าถ้าไม่ใช่ทางฝ่ายวิญญาณก็เป็นแบบที่มีความหมายเป็นนัย และดังนั้น จึงไม่มีการกลับเป็นขึ้นจากตายอีกต่อไปในอนาคตภายใต้ราชอาณาจักรของพระเจ้า.—2 ติโมเธียว 2:16-18, ล.ม.
ผู้มีอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งได้เข้ามาช่วยเหลือ. คริสเตียนผู้ปกครองสามารถหักล้างการอ้างเหตุผลดังกล่าว เพราะในฐานะเป็นตัวแทนของพระเยซูคริสต์ พวกเขาใช้อำนาจของพระคัมภีร์. (2 ติโมเธียว 3:16, 17) ทุกวัน นี้ก็เป็นเช่นเดียวกันในประชาคมคริสเตียน ซึ่งได้รับการพรรณนาว่า “เป็นหลัก และรากแห่งความจริง.” (1 ติโมเธียว 3:15) จะไม่มีการยอมให้คำสอนเท็จมาทำลาย “แบบแผนแห่งถ้อยคำที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ” ซึ่งได้รับการรักษาไว้สำหรับเราเสมือนสิ่งดีที่ฝากไว้ในหน้าต่าง ๆ ของคัมภีร์ไบเบิล.—2 ติโมเธียว 1:13, 14, ล.ม.
ขณะที่ความนับถือต่ออำนาจกำลังเหือดหายไปอย่างรวดเร็วในโลก ในฐานะที่เป็นคริสเตียนเราตระหนักว่าอำนาจที่เหมาะสมในชุมชน, ในครอบครัว, และในประชาคมคริสเตียนได้รับการตั้งขึ้นไว้เพื่อผลประโยชน์ของเรา. ความนับถือต่ออำนาจจำเป็นเพื่อสวัสดิภาพของเราทางด้านร่างกาย, ด้านความรู้สึก, และด้านวิญญาณ. โดยการยอมรับนับถืออำนาจดังกล่าวที่พระเจ้าทรงตั้งไว้ เราจะได้รับการคุ้มครองจากผู้มีอำนาจองค์ใหญ่ยิ่งที่สุด คือพระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์—เพื่อผลประโยชน์ถาวรของเรา.—บทเพลงสรรเสริญ 119:165; เฮ็บราย 12:9.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 โปรดดูหนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล และเคล็ดลับสำหรับความสุขในครอบครัว ทั้งสองเล่มจัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก.
[คำโปรยหน้า 5]
คัมภีร์ไบเบิลมีความรู้มากมายเกี่ยวกับอำนาจในครอบครัว
[ภาพหน้า 6]
บิดามารดาไร้คู่สามารถอ้างถึงอำนาจของพระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์โดยตรง
[ภาพหน้า 7]
คริสเตียนตระหนักว่าอำนาจที่เหมาะสมในครอบครัว, ในประชาคมคริสเตียน, และในชุมชนได้รับการตั้งขึ้นไว้เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา
[ที่มาของภาพหน้า 4]
Photo by Josh Mathes, Collection of the Supreme Court of the United States