ทำไมเราควรคาดหมายอย่างสมเหตุผล?
ทำไมเราควรคาดหมายอย่างสมเหตุผล?
เมื่อความหวังของเราเป็นจริงหรือเราได้สมตามความมุ่งหมาย เราก็มีความรู้สึกพอใจ. กระนั้นก็เป็นที่ยอมรับกันว่า ความฝันและความคาดหมายของเราหลายอย่างไม่ได้เป็นไปตามที่เราต้องการ. ความผิดหวังในชีวิตที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าอาจทำให้เรารู้สึกโมโหตัวเองและแม้กระทั่งคนอื่น. บุรุษผู้ปราดเปรื่องคนหนึ่งให้ข้อสังเกตอย่างเหมาะเจาะดังนี้: “ความคาดหมายที่เลื่อนไปทำให้หัวใจเจ็บป่วย.”—สุภาษิต 13:12, ล.ม.
อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกผิดหวัง? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นคนที่คาดหมายอย่างสมเหตุผล? ยิ่งกว่านั้น ทำไมการคาดหมายอย่างสมเหตุผลจึงเป็นประโยชน์สำหรับตัวเรา?
ความคาดหวังและความผิดหวัง
ด้วยจังหวะชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ยิ่งเราพยายามก้าวไปข้างหน้า ก็ดูเหมือนว่าเรายิ่งล้าหลัง. มีการเรียกร้องเอาเวลาและพลังงานของเราอย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน และเมื่อเราไม่สามารถทำสิ่งที่เราเริ่มต้นให้สำเร็จได้ เราก็มีแนวโน้มจะโทษตัวเอง. เราอาจถึงกับเริ่มรู้สึกว่าเราทำให้คนอื่นผิดหวัง. ซินเทีย ผู้เป็นภรรยาและมารดาซึ่งรู้ดีถึงความกดดันของการเป็นบิดามารดา กล่าวว่า “การอบรมลูก ๆ อย่างไม่เสมอต้นเสมอปลายและความรู้สึกที่ว่าดิฉันยังไม่ได้ฝึกสอนพวกเขาอย่างพอเพียงเป็นเรื่องที่น่าโมโห.” สเตฟานี วัยรุ่นคนหนึ่ง พูดถึงการเรียนของเธอว่า “หนูไม่มีเวลาที่จะทำทุกสิ่งที่หนูอยากจะทำ และมันทำให้หนูรู้สึกหงุดหงิด.”
การคาดหมายสูงอย่างไม่สมเหตุผลอาจกลายเป็นการมุ่งแต่ความสมบูรณ์พร้อมได้ง่าย ๆ และการคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ก่อความข้องขัดใจได้มากที่สุด. เบน ชายหนุ่มซึ่งสมรสแล้ว สารภาพว่า “เมื่อผมคิดทบทวนถึงการกระทำ, ความคิด, หรือความรู้สึกของผม ผมจะนึกเสมอว่าผมจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร. ผมจะพยายามทำให้สมบูรณ์พร้อมเสมอ และการทำอย่างนี้ก่อให้เกิดความหงุดหงิด, ความข้องขัดใจ, และความผิดหวัง.” เกล ภรรยาผู้เป็นคริสเตียน กล่าวว่า “ความคิดแบบมุ่งแต่ความสมบูรณ์พร้อมจะยอมให้เกิดความผิดพลาดไม่ได้. เราต้องการเป็นยอดคุณแม่และยอดภรรยา. เราต้องทำอะไรให้บังเกิดผลเราถึงจะมีความสุข ดังนั้น งานที่ไร้ผลจะทำให้เราอารมณ์เสีย.”
กระนั้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อาจนำไปสู่ความผิดหวังเป็นส่วนตัวได้ก็คือสุขภาพที่ทรุดโทรมและวัยชรา. การเคลื่อนไหวไม่สะดวกและพลังงานที่ลดน้อยลงทำให้ข้อจำกัดของเรามีมากขึ้นและทำให้ความข้องขัดใจยิ่งเพิ่มขึ้น. เอลิซาเบทยอมรับว่า “ดิฉันรู้สึกหงุดหงิดกับตัวเองที่ไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเคยเป็นเรื่องง่าย ๆ และปกติธรรมดาก่อนที่ดิฉันจะป่วย.”
ที่กล่าวมาเป็นบางส่วนของสิ่งที่อาจทำให้เรารู้สึกผิดหวัง. ถ้าไม่มีการควบคุม ความรู้สึกเหล่านั้นอาจถึงกับทำให้เราเชื่อว่าไม่มีใครเห็นคุณค่าในตัวเรา. ด้วยเหตุนั้น เราจะใช้มาตรการในด้านบวกอะไรได้เพื่อรับมือกับความผิดหวังและสร้างความคาดหมายอย่างสมเหตุผล?
วิธีสร้างความคาดหมายที่สมเหตุผล
ประการแรก ขอจำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงมีเหตุผลและทรงเห็นอกเห็นใจ. บทเพลงสรรเสริญ 103:14 เตือนเราว่า “พระองค์ทรงทราบร่างกายของพวกข้าพเจ้าแล้ว; พระองค์ทรงระลึกอยู่ว่าพวกข้าพเจ้าเป็นแต่ผงคลีดิน.” เนื่องจากพระยะโฮวาทรงทราบความสามารถและขีดจำกัดของเรา พระองค์จึงทรงคาดหมายเฉพาะแต่ในสิ่งที่เราให้ได้. และสิ่งหนึ่งที่พระองค์ทรงประสงค์จากเราคือ “ให้เจียมตัวในการดำเนินกับพระเจ้าของ [เรา].”—มีคา 6:8, ล.ม.
นอกจากนั้น พระยะโฮวายังทรงกระตุ้นให้เราเข้าเฝ้าโรม 12:12; 1 เธซะโลนิเก 5:17) กระนั้น การอธิษฐานจะช่วยเราได้อย่างไร? การอธิษฐานทำให้ความคิดของเรามั่นคงและสมดุล. การอธิษฐานอย่างแรงกล้าคือการยอมรับว่าเราต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเราเจียมตัวและถ่อมใจ. พระยะโฮวาทรงกระตือรือร้นที่จะตอบคำอธิษฐานของเราโดยประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่เรา ซึ่งมีผลเป็นความรัก, ความกรุณา, ความดี, และการรู้จักบังคับตน. (ลูกา 11:13; ฆะลาเตีย 5:22, 23) การอธิษฐานยังช่วยบรรเทาความกังวลและความข้องขัดใจด้วย. เอลิซาเบทกล่าวว่า โดยการอธิษฐาน “คุณจะได้รับการปลอบประโลมซึ่งหาจากแหล่งอื่นไม่ได้.” เควินเห็นด้วยโดยกล่าวว่า “ผมอธิษฐานขอให้มีหัวใจที่สงบและมีจิตใจที่ไม่ว้าวุ่นเพื่อผมจะรับมือกับปัญหาได้. พระยะโฮวาไม่เคยละทิ้งผม.” อัครสาวกเปาโลรู้ว่าการอธิษฐานล้ำค่าสักเพียงไร. นั่นเป็นเหตุผลที่ท่านแนะว่า “จงทูลขอต่อพระเจ้า . . . แล้วสันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของท่านไว้โดยพระคริสต์เยซู.” (ฟิลิปปอย 4:6, 7) ใช่แล้ว การติดต่อสนทนากับพระยะโฮวาช่วยเราได้จริง ๆ ที่จะสร้างความคาดหมายอย่างสมเหตุผลต่อตัวเราเองและคนอื่น.
พระองค์ด้วยการอธิษฐาน. (ถึงกระนั้น บางครั้งบางคราวเราต้องการคำรับรองให้เรามั่นใจในตอนนี้. คำพูดที่เหมาะกับเวลาเป็นสิ่งที่ดี. การพูดอย่างเป็นความลับกับมิตรที่วางใจได้และอาวุโสอาจช่วยเราให้ได้มาซึ่งทัศนะแบบใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกผิดหวังหรือกังวล. (สุภาษิต 15:23; 17:17; 27:9) หนุ่มสาวซึ่งต่อสู้กับความข้องขัดใจเรียนรู้ว่าการหาคำแนะนำจากบิดามารดาช่วยพวกเขาให้มีความสมดุล. แคนดียอมรับด้วยความหยั่งรู้ค่าว่า “คำชี้แนะที่เปี่ยมด้วยความรักจากคุณพ่อคุณแม่ช่วยดิฉันให้มีเหตุผลและสมดุลมากขึ้นและทำให้ดิฉันเป็นเพื่อนที่ดีขึ้น.” ใช่แล้ว คำเตือนสติที่สุภาษิต 1:8, 9 (ล.ม.) เป็นสิ่งที่เหมาะแก่เวลามาก: “บุตรของเราเอ๋ย จงฟังการตีสอนจากบิดาเจ้า และอย่าละเลยข้อบังคับจากมารดาเจ้า. เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นดุจมาลางดงามสำหรับศีรษะเจ้าและดุจสายสร้อยเส้นงามสำหรับสวมคอเจ้า.”
เกี่ยวกับผลของการคิดแบบมุ่งแต่ความสมบูรณ์พร้อม ภาษิตข้อหนึ่งพูดไว้อย่างดีที่ว่า “ที่จะคาดหมายให้ชีวิตเป็นอย่างที่เราคิดก็เป็นการเชื้อเชิญความข้องขัดใจเข้ามา.” เพื่อจะหลีกเลี่ยงผลกระทบแบบนี้ จำต้องมีการปรับความคิด. ความถ่อมและความเจียมตัว—การมีทัศนะตามที่เป็นจริงเกี่ยวกับข้อจำกัดของเรา—จะเสริมสร้างความคาดหมายที่สมดุลและสมเหตุผลอย่างแน่นอน. นับว่าเหมาะที่โรม 12:3 (ล.ม.) เตือนเราว่า “อย่าคิดถึงตัวเองเกินกว่าที่จำเป็นจะคิดนั้น.” นอกจากนั้น ฟิลิปปอย 2:3 สนับสนุนให้เรามีความอ่อนน้อมและถือว่าคนอื่นดีกว่า.
เอลิซาเบท ซึ่งกล่าวถึงข้างต้น หงุดหงิดกับตัวเธอเองเนื่องจากความเจ็บป่วย. สำหรับเธอแล้ว จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อจะได้มาซึ่งทัศนะของพระยะโฮวาในเรื่องต่าง ๆ และรู้สึกได้รับการชูใจที่ได้รู้ว่าพระองค์ไม่ทรงลืมงานรับใช้ของเรา. คอลินขยับเขยื้อนไม่ได้เนื่องจากความเจ็บป่วยที่ทำให้อ่อนเปลี้ย. ตอนแรก เขามีความรู้สึกว่างานรับใช้ของเขาเกือบจะไร้ค่าเมื่อเทียบกับสิ่งที่เขาเคยทำเมื่อยังมีสุขภาพดี. โดยการคิดรำพึงข้อคัมภีร์เช่น 2 โกรินโธ 8:12 เขาก็สามารถสลัดทิ้งความรู้สึกเหล่านั้นออกไป. ข้อนั้นบอกว่า “ถ้ามีน้ำใจพร้อมอยู่ก่อนแล้ว, พระเจ้าก็พอพระทัยที่จะทรงโปรดรับไว้ตามซึ่งทุกคนมีอยู่, มิใช่ตามซึ่งเขาไม่มี.” คอลินกล่าวว่า “แม้ว่าผมให้ได้น้อยลงมาก แต่ผมก็ยังสามารถให้ ได้ และพระยะโฮวาทรงยอมรับสิ่งนั้น.” ที่เฮ็บราย 6:10 เราได้รับการเตือนว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์.”
ถ้าอย่างนั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความคาดหมายของเราสมเหตุผลหรือไม่? จงถามตัวคุณเองว่า ‘ความคาดหมายของฉันตรงกับความคาดหมายของพระยะโฮวาไหม?’ ฆะลาเตีย 6:4 (ล.ม.) กล่าวว่า “ให้แต่ละคนพิสูจน์ดูว่างานของเขาเองเป็นอย่างไร และครั้นแล้วเขาจะมีเหตุที่จะปีติยินดีเกี่ยวกับตัวเขาเองเท่านั้น และไม่ใช่โดยเปรียบเทียบกับคนอื่น.” จงจำไว้ว่าพระเยซูตรัสดังนี้: “แอกของเราก็พอเหมาะและภาระของเราก็เบา.” ใช่แล้ว ในฐานะคริสเตียน เรามีแอกที่ต้องแบก แต่แอกนั้น “พอเหมาะ” และ “เบา” และพระเยซูทรงสัญญาว่าแอกนั้นจะทำให้เราสดชื่นถ้าเราเรียนรู้ที่จะแบกอย่างเหมาะสม.—มัดธาย 11:28-30.
ความคาดหมายที่สมเหตุผลนำบำเหน็จมาให้
การฟังและการใช้คำแนะนำในพระคำของพระเจ้าขณะที่เราพยายามสร้างความคาดหมายที่สมเหตุผลทำให้มีบำเหน็จสุภาษิต 4:21, 22 กระตุ้นเราให้เอาใจใส่พระดำรัสของพระยะโฮวาด้วยสายตาและหัวใจของเรา “เพราะว่าคำเหล่านั้นเป็นชีวิตแก่คนทั้งปวงที่พบ, และเป็นสุขภาพแก่ทุกส่วนฝ่ายเนื้อหนังของเขา.”
ในตอนนี้และบำเหน็จถาวร. ประการหนึ่ง นี่มีผลกระทบในทางที่ดีต่อสุขภาพของเรา. เจนนิเฟอร์ ซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อเตือนใจของพระยะโฮวา ยอมรับว่า “ดิฉันมีพลังและความกระตือรือร้นมากขึ้นที่จะดำเนินชีวิต.” นับว่าเหมาะสมที่บำเหน็จอีกประการหนึ่งคือสวัสดิภาพทางด้านอารมณ์และจิตใจ. เทเรซากล่าวว่า “เมื่อดิฉันใส่พระคำของพระเจ้าเข้าไปในจิตใจและหัวใจ ดิฉันพบว่าดิฉันจะเป็นคนที่มีความสุขมากขึ้นเสมอ.” จริงอยู่ เราจะยังประสบกับความผิดหวังในชีวิต. กระนั้น เราจะสามารถอดทนกับสิ่งเหล่านั้นได้ดีขึ้น. ยาโกโบ 4:8 กระตุ้นว่า “จงเข้ามาใกล้พระเจ้า, และพระองค์จะสถิตอยู่ใกล้ท่าน.” นอกจากนั้น พระยะโฮวายังทรงสัญญาที่จะเสริมสร้างเราให้เข้มแข็งเพื่อเผชิญกับปัญหาชีวิตที่ท้าทายและอวยพระพรเราให้มีสันติสุข.—บทเพลงสรรเสริญ 29:11.
การมีความคาดหมายที่สมเหตุผลช่วยให้เรารักษาความมั่นคงฝ่ายวิญญาณ. นี่ก็เป็นพระพรด้วย. เราสามารถจดจ่อกับสิ่งที่สำคัญกว่าในชีวิต. (ฟิลิปปอย 1:10, ล.ม.) เป้าหมายของเราจึงเป็นไปตามความเป็นจริงและสามารถบรรลุได้ ซึ่งนำความยินดีและความพึงพอใจมากขึ้นมาให้เรา. เราจะเต็มใจมากขึ้นที่จะมอบตัวเราไว้กับพระยะโฮวา โดยรู้ว่าพระองค์จะทรงทำให้สิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปในแบบที่ดีที่สุด. เปโตรกล่าวว่า “เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงถ่อมใจลงใต้พระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระเจ้า, เพื่อพระองค์จะได้ทรงยกท่านขึ้นในเวลาอันควร.” (1 เปโตร 5:6) จะมีอะไรอีกที่ให้ผลตอบแทนมากไปกว่าการได้รับเกียรติจากพระยะโฮวาหรือ?
[ภาพหน้า 31]
การสร้างความคาดหมายที่สมเหตุผลสามารถช่วยเราให้รับมือกับ ความข้องขัดใจและความผิดหวัง