คุณจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร?
คุณจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร?
ทุกวันเราติดต่อเกี่ยวข้องกับบุคคลหลากหลาย. เรื่องนี้มักนำความยินดีและมุมมองใหม่ ๆ มาให้เราเสมอ. บางครั้ง นั่นก่อความขัดแย้งขึ้นมาด้วย ซึ่งบางเรื่องเป็นปัญหาร้ายแรง ขณะที่เรื่องอื่นเป็นเพียงสภาพที่ทำให้ลำบากใจเล็กน้อยในชีวิตประจำวันของเรา. ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตาม วิธีที่เรารับมือกับความขัดแย้งย่อมมีผลกระทบต่อเราทางด้านจิตใจ, ด้านอารมณ์, และด้านวิญญาณ.
การทำเท่าที่เราสามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างที่น่าพอใจนั้นจะเอื้ออำนวยให้เรามีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้นและมีสัมพันธภาพที่สงบสุขมากขึ้นกับคนอื่น. สุภาษิตโบราณกล่าวว่า “ใจที่สงบเป็นความจำเริญชีวิตฝ่ายกาย.”—สุภาษิต 14:30.
ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือความจริงที่ว่า “คนที่ไม่มีอำนาจบังคับระงับใจของตนเองก็เป็นเหมือนเมืองที่หักพังและไม่มีกำแพงเมือง.” (สุภาษิต 25:28) ใครบ้างในพวกเราจะต้องการให้ความคิดผิด ๆ จู่โจมตัวเราอย่างง่ายดายซึ่งอาจเป็นเหตุให้เราปฏิบัติในแนวทางที่ไม่สมควร—แนวทางที่อาจนำความเสียหายมาสู่คนอื่นและตัวเราด้วย? การตอบโต้ด้วยความโกรธอย่างไม่มีการควบคุมอาจทำให้เป็นเช่นนั้นได้ทีเดียว. ในคำเทศน์บนภูเขา พระเยซูทรงแนะนำให้เราตรวจสอบเจตคติของเรา ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อวิธีที่เราจัดการกับความขัดแย้งใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเรากับคนอื่น. (มัดธาย 7:3-5) แทนที่เราจะติเตียนคนอื่น เราควรคิดถึงวิธีที่เราสามารถปลูกฝังและรักษาไว้ซึ่งมิตรภาพกับคนเหล่านั้นที่มีทัศนะและภูมิหลังต่างจากเรา.
เจตคติของเรา
ขั้นแรกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่คิดเอาเองหรือที่เป็นเรื่องจริงคือ ยอมรับว่าเราไวต่อความคิดและเจตคติที่ผิด. พระคัมภีร์เตือนใจเราว่า เราทุกคนทำบาป “และขาดการถวายเกียรติยศแก่พระเจ้า.” (โรม 3:23) นอกจากนี้ ความสังเกตเข้าใจอาจเผยให้เห็นว่า ต้นเหตุแห่งปัญหาของเราไม่ได้อยู่ที่คนอื่น. ในเรื่องนี้ ขอให้เราพิจารณาประสบการณ์ของโยนา.
โดยคำบัญชาจากพระยะโฮวา โยนาได้เดินทางไปกรุงนีนะเวเพื่อประกาศเกี่ยวกับการพิพากษาของพระเจ้าที่กำลังจะมาถึงชาวเมืองนั้น. ผลที่น่ายินดีคือ ชาวเมืองนีนะเวทั้งสิ้นกลับใจและแสดงความเชื่อในพระเจ้าองค์เที่ยงแท้. (โยนา 3:5-10) พระยะโฮวาทรงรู้สึกว่าเจตคติที่กลับใจของพวกเขาสมควรได้รับการให้อภัย ดังนั้น พระองค์ทรงไว้ชีวิตพวกเขา. “แต่เหตุการณ์นี้ไม่เป็นที่พอใจแก่โยนาอย่างยิ่ง, ท่านโกรธมาก.” (โยนา 4:1) ปฏิกิริยาของโยนาต่อความเมตตาของพระยะโฮวาเป็นที่น่าตกตะลึง. ทำไมโยนาจะมาโกรธขึ้งเอากับพระยะโฮวา? ดูเหมือนว่า โยนาถูกครอบงำด้วยความรู้สึกของตนเอง คิดว่าเขาเสียหน้าในชุมชน. เขามิได้หยั่งรู้ค่าความเมตตาของพระยะโฮวา. ด้วยความกรุณา พระยะโฮวาทรงให้โยนาได้รับบทเรียนซึ่งเป็นตัวอย่างที่ใช้ได้จริงซึ่งช่วยเขาให้เปลี่ยนเจตคติและเห็นคุณค่าอันเลิศล้ำแห่งความเมตตาของพระเจ้า. (โยนา 4:7-11) ปรากฏชัดว่าโยนาจำเป็นต้องเปลี่ยนเจตคติ หาใช่พระยะโฮวาไม่.
เช่นเดียวกัน บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเจตคติของเราเองต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งไหม? อัครสาวกเปาโลโรม 12:10, ล.ม.) ท่านหมายความอย่างไร? ในแง่หนึ่ง ท่านสนับสนุนเราให้เป็นคนมีเหตุผลและปฏิบัติกับคริสเตียนคนอื่นด้วยความนับถือสุดซึ้งและคำนึงถึงศักดิ์ศรี. นี่เกี่ยวข้องกับการยอมรับว่าแต่ละบุคคลมีสิทธิพิเศษในการเลือกอย่างเสรี. เปาโลเตือนใจเราด้วยว่า “ทุกคนต้องแบกภาระของตนเอง.” (ฆะลาเตีย 6:5) ฉะนั้น ก่อนความขัดแย้งก่อความร้าวฉานขึ้น คงจะเป็นการฉลาดสักเพียงไรที่จะพิจารณาว่าเราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเจตคติของตัวเองหรือไม่! เราต้องพยายามอย่างแข็งขันที่จะสะท้อนความคิดของพระยะโฮวาและรักษาสันติสุขกับคนอื่นซึ่งรักพระเจ้าอย่างแท้จริง.—ยะซายา 55:8, 9.
ตักเตือนเราว่า “ในการให้เกียรติกัน จงนำหน้า.” (วิธีแก้ปัญหาของเรา
ขอให้นึกภาพเด็กเล็ก ๆ สองคนยื้อยุดของเล่นชิ้นเดียวกัน ต่างคนต่างดึงแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจะได้ของนั้น. อาจมีการใช้ถ้อยคำที่แสดงถึงความโกรธในการยื้อแย่งนั้นกระทั่งในที่สุดฝ่ายหนึ่งปล่อยมือจากของนั้น หรือมีคนอื่นเข้ามาไกล่เกลี่ย.
เรื่องราวในพระธรรมเยเนซิศบอกเราว่า อับราฮามได้ยินเรื่องการโต้เถียงที่เกิดขึ้นระหว่างคนเลี้ยงสัตว์ของท่านกับคนเลี้ยงสัตว์ของโลตหลานชายของท่าน. อับราฮามเป็นฝ่ายริเริ่มเข้าไปพูดกับโลตว่า “ขออย่าให้เราทุ่มเถียงกันเลย; อย่าให้คนเลี้ยงสัตว์ของเรากับคนเลี้ยงสัตว์ของเจ้าทะเลาะวุ่นวายกันเลย: เพราะเราเป็นญาติสนิทกัน.” อับราฮามมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งใด ๆ มาทำลายความสัมพันธ์ของพวกเขา. โดยต้องแลกด้วยอะไร? ท่านพร้อมจะสละสิทธิพิเศษในการเลือกในฐานะเป็นคนที่สูงวัยกว่า; ท่านพร้อมที่จะสละอะไรบางอย่าง. อับราฮามยอมให้โลตเลือกที่ที่เขาต้องการสำหรับครอบครัวและฝูงสัตว์. ต่อมาโลตได้เลือกบริเวณที่เขียวขจีของเมืองซะโดมและกะโมราสำหรับตัวเอง. อับราฮามกับโลตแยกทางกันโดยสันติ.—เยเนซิศ 13:5-12.
เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่สงบสุขกับคนอื่น เราพร้อมจะลงมือปฏิบัติด้วยน้ำใจดังที่อับราฮามได้แสดงนั้นไหม? เรื่องราวตอนนี้ในคัมภีร์ไบเบิลวางแบบอย่างที่ดีเลิศไว้ให้เราเลียนแบบเมื่อจัดการกับความขัดแย้ง. อับราฮามได้ขอร้องว่า “ขออย่าให้เราทุ่มเถียงกันเลย.” ความปรารถนาอย่างจริงใจของอับราฮามคือที่จะบรรลุถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างสันติ. แน่นอน คำเชื้อเชิญที่จะรักษาสัมพันธภาพอย่างสงบสุขเช่นนั้นคงช่วยขจัดความเข้าใจผิดใด ๆ. แล้วอับราฮามก็จบลงด้วยคำพูดที่ว่า “เพราะเราเป็นญาติสนิทกัน.” ไฉนจะยอมเสียสัมพันธภาพอันล้ำค่าดังกล่าวไปเพราะเห็นแก่สิ่งที่ชอบเป็นส่วนตัวหรือเพราะความหยิ่ง? อับราฮามมองเห็นชัดเสมอว่าอะไรสำคัญ. ท่านทำเช่นนั้นอย่างน่านับถือและด้วยความนับถือตัวเอง ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงศักดิ์ศรีหลานชายของท่าน.
แม้เกิดสถานการณ์ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการไกล่เกลี่ยจากบุคคลอื่นเพื่อจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกัน จะดีกว่ามากสักเพียงไรถ้าสามารถจัดการเรื่องนั้นเป็นส่วนตัว! พระเยซูทรงสนับสนุนเราให้เป็นฝ่ายริเริ่มในการคืนดีกับพี่น้องของเรา หากจำเป็นก็ขอโทษ. * (มัดธาย 5:23, 24, ล.ม.) นั่นจะต้องใช้ความถ่อม หรือจิตใจอ่อนน้อม แต่เปโตรเขียนว่า “จงคาดเอวตนเองไว้ด้วยจิตใจอ่อนน้อมต่อกันและกัน เพราะพระเจ้าทรงต่อต้านผู้ที่หยิ่งยโส แต่พระองค์ทรงประทานพระกรุณาอันไม่พึงได้รับแก่ผู้ที่ถ่อมใจ.” (1 เปโตร 5:5, ล.ม.) วิธีที่เราปฏิบัติกับเพื่อนร่วมนมัสการมีผลกระทบโดยตรงต่อสัมพันธภาพของเรากับพระเจ้า.—1 โยฮัน 4:20.
ภายในประชาคมคริสเตียน เราอาจถูกขอร้องให้สละสิทธิ์เพื่อจะรักษาไว้ซึ่งสันติสุข. คนเหล่านั้นที่สมทบกับพยานพระยะโฮวาขณะนี้มีจำนวนมากพอสมควรที่ได้เข้ามาในครอบครัวผู้นมัสการแท้ของพระเจ้าในห้าปีที่แล้ว. เรื่องนี้
นำความยินดีมาสู่หัวใจของเราเสียจริง ๆ! วิธีที่เราประพฤติตัวมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อคนเหล่านี้และคนอื่นในประชาคม. นี่เป็นเหตุผลที่ดีในการคำนึงถึงอย่างรอบคอบต่อการที่เราเลือกความบันเทิง, งานอดิเรก, กิจกรรมทางสังคม, หรืองานอาชีพ โดยพิจารณาว่าคนอื่นอาจมองเราอย่างไร. การกระทำหรือคำพูดของเราอย่างใดอย่างหนึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดและด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุทำให้คนอื่นสะดุดไหม?อัครสาวกเปาโลเตือนใจเราว่า “เราทำสิ่งสารพัตรได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่สมควรที่เราจะทำทุกสิ่ง. เราทำทุกสิ่งได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่เรากระทำนั้นจะทำให้เราเจริญขึ้น. อย่าให้ผู้ใดกระทำอะไรเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น แต่ให้คิดถึงประโยชน์ของคนอื่นด้วย.” (1 โกรินโธ 10:23, 24) ในฐานะคริสเตียน เราห่วงใยด้วยน้ำใสใจจริงในการเสริมสร้างความรักและเอกภาพของภราดรภาพคริสเตียน.—บทเพลงสรรเสริญ 133:1; โยฮัน 13:34, 35.
ถ้อยคำที่ทำให้คืนดีกัน
คำพูดอาจก่อผลกระทบที่มีพลังในทางดี. “ถ้อยคำที่เพราะหูเป็นเหมือนรวงผึ้ง, คือมีรสหวานแก่จิตต์ใจ, และทำให้กะดูกสมบูรณ์ขึ้น.” (สุภาษิต 16:24) เรื่องราวที่ฆิดโอนหลีกเลี่ยงการต่อสู้กับพวกเอ็ฟรายิมที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นความจริงของสุภาษิตข้อนี้.
ฆิดโอนซึ่งเข้าสู้รบอย่างหนักกับพวกมิดยาน ได้เรียกตระกูลเอ็ฟรายิมไปช่วย. อย่างไรก็ตาม หลังจากการสู้รบเสร็จสิ้น พวกเอ็ฟรายิมหันมาเล่นงานฆิดโอนและบ่นอย่างเจ็บแค้นที่ท่านไม่ได้เรียกพวกเขาตั้งแต่ตอนเริ่มของการสู้รบ. บันทึกกล่าวว่า “ฝูงชน . . . จึงพูดว่ากล่าวแก่ฆิดโอนอย่างแข็งแรง [“พวกเขาพยายามอย่างจริงจังที่จะหาเรื่องทะเลาะกับท่าน,” ล.ม.].” ฆิดโอนตอบว่า “เราได้ทำอะไรเล่า, ถ้าจะเปรียบเทียบกับการของท่านทั้งหลายก็สู้ไม่ได้? ผลองุ่นของพวกเอ็ฟรายิมที่เหลือพ้นมือของผู้เก็บก็มากกว่าผลของพวกอะบีเอศรีที่เก็บได้ทั้งหมดมิใช่หรือ? พระเจ้าทรงมอบโอเรบและเซพเจ้านายมิดยาน, ไว้ในมือท่านทั้งหลายแล้ว: การที่เรากระทำนั้นจะเทียบสู้กับการของท่านไม่ได้?” (วินิจฉัย 8:1-3) โดยคำพูดที่เลือกอย่างเหมาะสมด้วยใจเย็น ๆ ฆิดโอนหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกลายเป็นสงครามระหว่างตระกูลที่ยังความหายนะนั้นได้. คนเหล่านั้นในตระกูลเอ็ฟรายิมอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการถือว่าตัวเองสำคัญและมีความหยิ่ง. แต่นั่นมิได้ทำให้ฆิดโอนเลิกความพยายามที่จะทำให้เกิดผลที่เป็นความสงบสุข. เราจะทำคล้ายกันได้ไหม?
ความโกรธอาจพุ่งขึ้นมาภายในตัวคนอื่นและก่อความเป็นปรปักษ์ต่อเรา. จงยอมรับความรู้สึกของเขา และพยายามเข้าใจทัศนะของเขา. เราอาจได้มีส่วนอยู่บ้างในการทำให้เขาเกิดความรู้สึกนั้นไหม? ถ้าเช่นนั้น ทำไมไม่ยอมรับการที่เรามีส่วนก่อความยุ่งยากและแสดงความเสียใจที่ทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้น. คำพูดที่ไตร่ตรองมาอย่างดีไม่กี่คำอาจทำให้สัมพันธภาพที่ถูกทำลายนั้นกลับดีดังเดิม. (ยาโกโบ 3:4) บางคนที่อารมณ์เสียอาจต้องการแค่ที่เราทำให้เขาสบายใจด้วยความกรุณา. คัมภีร์ไบเบิลชี้ชัดว่า “ที่ไหนไม่มีฟืนไฟก็ดับ.” (สุภาษิต 26:20) ถูกแล้ว ถ้อยคำที่เลือกอย่างระมัดระวังและพูดด้วยน้ำใจที่ถูกต้องอาจ “กระทำให้ความโกรธผ่านพ้นไป” และปรากฏว่าเป็นการทำให้คืนดีกัน.—สุภาษิต 15:1.
อัครสาวกเปาโลแนะนำว่า “หากเป็นได้ ตราบที่ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลาย จงอยู่อย่างสันติกับคนทั้งปวง.” (โรม 12:18, ล.ม.) เป็นความจริงที่เราไม่สามารถควบคุมความรู้สึกของคนอื่น แต่เราสามารถทำส่วนของเราได้เพื่อส่งเสริมสันติสุข. แทนที่จะถูกครอบงำด้วยปฏิกิริยาที่ไม่สมบูรณ์ของเราเองหรือของคนอื่น เราสามารถลงมือทำในตอนนี้ที่จะนำหลักการที่ชอบด้วยเหตุผลของคัมภีร์ไบเบิลมาใช้. การจัดการกับความขัดแย้งต่าง ๆ ในวิธีที่พระยะโฮวาทรงสั่งสอนเรา จะยังผลด้วยสันติและความสุขชั่วนิรันดร์สำหรับเรา.—ยะซายา 48:17.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 13 ดูบทความเรื่อง “จงให้อภัยจากหัวใจของคุณ” และ “คุณอาจได้พี่น้องคืนมา” ในหอสังเกตการณ์ ฉบับวันที่ 15 ตุลาคม 1999.
[ภาพหน้า 24]
เรายืนกรานในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามวิธีการของเราเองไหม?
[ภาพหน้า 25]
อับราฮามวางตัวอย่างที่ดีในการเป็นฝ่ายยอมเพื่อจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง