เครื่องบูชาที่พระเจ้าพอพระทัย
เครื่องบูชาที่พระเจ้าพอพระทัย
“พระองค์ทรงตั้งมหาปุโรหิตทุกคนขึ้นเพื่อให้ถวายของกำนัลและเครื่องบูชา.”—เฮ็บราย 8:3, ฉบับแปลใหม่.
1. เหตุใดผู้คนรู้สึกถึงความจำเป็นต้องหันเข้าหาพระเจ้า?
“การถวายเครื่องบูชาดูเหมือนว่าเป็น ‘เรื่องที่ฝังติด’ อยู่กับมนุษย์เราพอ ๆ กับการอธิษฐาน; อย่างแรกบ่งบอกว่าเขารู้สึกเช่นไรเกี่ยวกับตัวเขาเอง ส่วนอย่างหลังนั้นบ่งบอกว่าเขารู้สึกเช่นไรเกี่ยวกับพระเจ้า.” อัลเฟรด เอเดอร์ไชม์ นักประวัติศาสตร์ด้านคัมภีร์ไบเบิลเขียนไว้ดังกล่าว. นับตั้งแต่ที่บาปเข้ามาในโลก บาปได้นำมาซึ่งความเจ็บปวดที่เกิดจากความผิด, ความห่างเหินจากพระเจ้า, และความสิ้นหวัง. การบรรเทาทุกข์จากความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็น. เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าเมื่อคนเราพบว่าตนอยู่ในสภาพสิ้นหวังเช่นนั้น พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องหันเข้าหาพระเจ้าเพื่อขอความช่วยเหลือ.—โรม 5:12.
2. เราพบว่ามีการบันทึกไว้เช่นไรในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าในยุคแรก ๆ?
2 บันทึกแรกในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้านั้นเกี่ยวข้องกับคายินและเฮเบล. เราอ่านดังนี้: “อยู่มาวันหนึ่งคายินได้นำผลที่เกิดแต่ไร่นามาบูชาถวายพระยะโฮวา. ส่วนเฮเบลนำเครื่องบูชามาด้วย, คือแกะหัวปีกับมันสัตว์.” (เยเนซิศ 4:3, 4) ต่อมา เราพบว่าโนฮา ซึ่งพระเจ้าทรงพิทักษ์ชีวิตให้ผ่านพ้นมหาอุทกภัยที่ทำลายคนชั่วอายุที่ชั่วช้าในสมัยท่าน ถูกกระตุ้นให้ “เผาถวายบูชาที่แท่น” แด่พระยะโฮวา. (เยเนซิศ 8:20) หลายต่อหลายครั้ง อับราฮามผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์และมิตรสหายของพระเจ้าถูกกระตุ้นโดยคำสัญญาและพระพรของพระเจ้า จึงได้ ‘ก่อแท่นถวายบูชาและออกพระนามพระองค์.’ (เยเนซิศ 12:8; 13:3, 4, 18) ในเวลาต่อมา อับราฮามเผชิญการทดสอบความเชื่อที่หนักที่สุด เมื่อพระยะโฮวาทรงมีรับสั่งให้ท่านถวายยิศฮาคบุตรชายเป็นเครื่องบูชาเผา. (เยเนซิศ 22:1-14) เรื่องราวเหล่านี้แม้จะสั้น แต่ก็ให้ความกระจ่างมากทีเดียวในเรื่องเครื่องบูชา ดังที่เราจะได้เห็นกันต่อไป.
3. เครื่องบูชามีบทบาทเช่นไรในการนมัสการ?
3 จากเรื่องเหล่านี้และเรื่องอื่น ๆ ในคัมภีร์ไบเบิล เห็นได้ชัดว่าการถวายเครื่องบูชาบางรูปแบบเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่งของการนมัสการอยู่นานแล้วก่อนที่พระยะโฮวาจะประทานกฎหมายโดยเฉพาะในเรื่องนี้. สอดคล้องกับที่ได้กล่าวไป หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งให้คำนิยาม “การถวายเครื่องบูชา” ว่าเป็น “พิธีทางศาสนาซึ่งมีการถวายวัตถุสิ่งของแด่พระผู้เป็นเจ้าเพื่อก่อตั้ง, รักษาไว้, หรือฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีที่คนเรามีต่อสิ่งที่เขาถือว่าศักดิ์สิทธิ์.” แต่ทั้งนี้ทำให้เกิดปัญหาสำคัญบางอย่างซึ่งเราควรพิจารณาให้ถ่องแท้ เช่น เหตุใดการถวายเครื่องบูชาจึงจำเป็นในการนมัสการ? เครื่องบูชาแบบไหนเป็นที่ยอมรับของพระเจ้า? และเครื่องบูชาในสมัยโบราณมีความหมายอะไรสำหรับเราในทุกวันนี้?
เหตุใดจึงจำเป็นต้องมีเครื่องบูชา?
4. ผลเป็นเช่นไรสำหรับอาดามและฮาวาเมื่อทั้งสองทำบาป?
4 เมื่ออาดามทำบาป เขาทำโดยเจตนา. การที่เขารับและกินผลจากต้นไม้เกี่ยวกับความรู้เรื่องความดีและความชั่วเป็นการกระทำที่จงใจไม่เชื่อฟัง. บทลงโทษสำหรับการกระทำที่ไม่เชื่อฟังนั้นคือความตาย ดังที่พระเจ้าได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า “ในวันซึ่งเจ้ากินจากต้นนั้นเจ้าจะตายเป็นแน่.” (เยเนซิศ 2:17, ล.ม.) ในท้ายที่สุด อาดามกับฮาวาก็ เก็บเกี่ยวผลอันเป็นการชดใช้บาป—ทั้งสองเสียชีวิต.—เยเนซิศ 3:19; 5:3-5.
5. เหตุใดพระยะโฮวาทรงริเริ่มดำเนินการเพื่อเห็นแก่ลูกหลานของอาดาม และพระองค์ทรงทำอะไรเพื่อพวกเขา?
5 แต่จะว่าอย่างไรสำหรับลูกหลานของอาดาม? เนื่องจากบาปและความไม่สมบูรณ์ที่ตกทอดมาจากอาดาม พวกเขาตกอยู่ใต้อำนาจของความห่างเหินจากพระเจ้า, ความสิ้นหวัง, และความตายเช่นเดียวกับที่มนุษย์คู่แรกประสบ. (โรม 5:14) อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาไม่เพียงแต่เป็นพระเจ้าแห่งความยุติธรรมและทรงไว้ซึ่งอำนาจเท่านั้น แต่ที่จริง ในประการสำคัญ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรักด้วย. (1 โยฮัน 4:8, 16) ดังนั้น พระองค์ทรงริเริ่มที่จะแก้ไขความแตกแยก. หลังจากที่กล่าวว่า “ค่าจ้างที่บาปจ่ายคือความตาย” คัมภีร์ไบเบิลกล่าวต่อไปว่า “แต่ของประทานที่พระเจ้าทรงโปรดให้นั้นคือชีวิตนิรันดรโดยพระคริสต์เยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา.”—โรม 6:23, ล.ม.
6. พระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาเกี่ยวด้วยความเสียหายที่บาปของอาดามทำให้เกิดขึ้นคืออะไร?
6 สิ่งที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงทำในที่สุดเพื่อรับประกันในเรื่องของประทานนั้นก็คือ ทรงจัดให้มีบางสิ่งที่จะปิดคลุมความสูญเสียที่เกิดจากการล่วงละเมิดของอาดาม. ในภาษาฮีบรู คำคาฟาร์ ประการแรกคงมีความหมายว่า “ปิดคลุม” หรืออาจหมายถึง “เช็ดออก” ทั้งยังแปลได้ด้วยว่า “การไถ่โทษ.” * พูดอีกอย่างก็คือ พระยะโฮวาทรงจัดให้มีวิธีการอันเหมาะสมที่จะปิดคลุมบาปที่ตกทอดมาจากอาดามและลบล้างความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อคนที่มีคุณสมบัติเหมาะกับของประทานนั้นจะได้รับการปลดเปลื้องจากการกล่าวโทษเนื่องจากบาปและปลดเปลื้องจากความตาย.—โรม 8:21.
7. (ก) การพิพากษาของพระเจ้าต่อซาตานให้ความหวังอะไร? (ข) ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อปลดเปลื้องมนุษยชาติให้พ้นจากบาปและความตายคืออะไร?
7 ความหวังที่จะได้รับการปลดเปลื้องจากการเป็นทาสบาปและความตายนั้นมีการกล่าวพาดพิงถึงทันทีหลังจากที่มนุษย์คู่แรกทำบาป. ในการประกาศการพิพากษาต่อซาตานซึ่งงูนั้นเป็นภาพเล็งถึง พระยะโฮวาตรัสว่า “เราจะให้เจ้ากับหญิงและพงศ์พันธุ์ของเจ้ากับพงศ์พันธุ์ของนางเป็นศัตรูกัน. เขาจะบดขยี้หัวของเจ้าและเจ้าจะบดขยี้ส้นเท้าของเขา.” (เยเนซิศ 3:15, ล.ม.) ด้วยคำกล่าวเชิงพยากรณ์นี้เอง ลำแสงแห่งความหวังก็สาดส่องสำหรับทุกคนที่แสดงความเชื่อในคำสัญญานี้. อย่างไรก็ตาม มีราคาที่ต้องจ่ายเพื่อจะได้รับการปลดเปลื้องเช่นนั้น. พงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญาไว้จะไม่เพียงแต่เสด็จมาและทำลายซาตาน; พงศ์พันธุ์นั้นต้องถูกบดขยี้ที่ส้นเท้า ซึ่งก็คือ ต้องพบกับความตาย แม้ว่าไม่ถาวร.
8. (ก) คายินทำให้ผิดหวังอย่างไร? (ข) เหตุใดเครื่องบูชาของเฮเบลจึงเป็นที่ยอมรับในสายพระเนตรพระเจ้า?
8 ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อาดามและฮาวาคงต้องขบคิดกันอย่างมากในเรื่องเอกลักษณ์ของพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญา. เมื่อฮาวาให้กำเนิดบุตรชายคนแรก คือคายิน เธอประกาศว่า “ข้าพเจ้าได้บุตรคนนี้เพราะพระยะโฮวาเจ้า.” (เยเนซิศ 4:1, 2) เป็นได้ไหมที่เธอคิดว่าบุตรชายคนนี้จะได้มาเป็นพงศ์พันธุ์นั้น? ไม่ว่าเธอคิดเช่นนี้หรือไม่ คายินและของถวายของเขาทำให้ผิดหวัง. ในอีกด้านหนึ่ง เฮเบลน้องชายของเขาแสดงความเชื่อในคำสัญญาของพระเจ้าและถูกกระตุ้นให้ถวายลูกสัตว์หัวปีจากฝูงสัตว์ของเขาเป็นเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวา. เราอ่านดังนี้: “โดยความเชื่อเฮเบลนั้นจึงได้นำเครื่องบูชาอันประเสริฐกว่าเครื่องบูชาของคายินมาถวายแก่พระเจ้า เพราะเหตุเครื่องบูชานั้นจึงมีพยานว่าเขาเป็นคนชอบธรรม.”—เฮ็บราย 11:4.
9. (ก) เฮเบลแสดงความเชื่อในอะไร และท่านแสดงความเชื่อนั้นอย่างไร? (ข) การถวายของเฮเบลทำให้อะไรบรรลุผลสำเร็จ?
9 ความเชื่อของเฮเบลไม่ได้เป็นเพียงความเชื่อว่ามีพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งคายินก็คงต้องมีเช่นเดียวกัน. เฮเบลมีความเชื่อในคำสัญญาของพระเจ้าเกี่ยวกับพงศ์พันธุ์ที่จะนำความรอดมาสู่มนุษย์ที่ซื่อสัตย์. ไม่ได้มีการเปิดเผยให้ท่านทราบถึงวิธีที่จะทำให้สำเร็จผลเช่นนั้น แต่คำสัญญาของพระเจ้าทำให้เฮเบลตระหนักว่าต้องมีใครคนหนึ่งถูกทำให้ส้นเท้าฟกช้ำ. ถูกแล้ว ดูเหมือนว่าท่านลงความเห็นว่าต้องมีการหลั่งโลหิต—แนวคิดเรื่องเครื่องบูชานั่นเอง. เฮเบลถวายของถวายที่ประกอบด้วยชีวิตและเลือดแด่บ่อเกิดแห่งชีวิต ซึ่งก็คงจะเป็นเครื่องแสดงถึงความปรารถนาอันแรงกล้าและความคาดหวังของท่านที่จะเห็นคำสัญญาของพระยะโฮวาเป็นเยเนซิศ 4:4; เฮ็บราย 11:1, 6.
จริง. การแสดงความเชื่ออย่างนี้ทำให้เครื่องบูชาของเฮเบลเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา และในระดับหนึ่งนั้น เครื่องบูชาของเฮเบลแสดงถึงสาระสำคัญของเครื่องบูชา—คือเป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์ผิดบาปสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าเพื่อจะได้รับความโปรดปรานจากพระองค์.—10. ความหมายของเครื่องบูชากระจ่างขึ้นอย่างไรจากการที่พระยะโฮวาทรงมีรับสั่งให้อับราฮามถวายยิศฮาค?
10 ความหมายอันลึกซึ้งของเครื่องบูชาเห็นได้ชัดเจนอย่างน่าตื่นเต้น เมื่อพระยะโฮวาทรงมีพระบัญชาให้อับราฮามถวายยิศฮาคบุตรชายเป็นเครื่องบูชาเผา. แม้ว่าไม่ได้มีการถวายเครื่องบูชานั้นจริง ๆ แต่ก็เป็นภาพเล็งถึงสิ่งที่พระยะโฮวาเองจะทรงทำในที่สุด—มอบพระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวเป็นเครื่องบูชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพื่อให้สำเร็จตามพระประสงค์ของพระองค์สำหรับมนุษยชาติ. (โยฮัน 3:16) ด้วยเครื่องบูชาและของถวายที่ระบุไว้ในพระบัญญัติของโมเซ พระยะโฮวาทรงวางแบบอย่างเชิงพยากรณ์ไว้เพื่อสอนไพร่พลผู้ถูกเลือกสรรของพระองค์ถึงสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อได้รับอภัยโทษสำหรับบาปของตน และเพื่อทำให้ความหวังสำหรับความรอดของตนมั่นคง. เราจะเรียนรู้อะไรได้จากเรื่องเหล่านี้?
เครื่องบูชาที่พระยะโฮวาทรงยอมรับ
11. มหาปุโรหิตของยิศราเอลถวายเครื่องบูชาสองประเภทอะไร และด้วยจุดประสงค์เช่นไร?
11 อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “พระองค์ทรงตั้งมหาปุโรหิตทุกคนขึ้นเพื่อให้ถวายของกำนัลและเครื่องบูชา.” (เฮ็บราย 8:3, ฉบับแปลใหม่) โปรดสังเกตว่า เปาโลแบ่งเครื่องบูชาที่มหาปุโรหิตของชาติยิศราเอลโบราณถวายออกเป็นสองประเภทคือ “ของกำนัล” และ “เครื่องบูชา” หรือ ‘เครื่องบูชาเพราะบาป.’ (เฮ็บราย 5:1) ผู้คนโดยทั่วไปมอบของขวัญให้แก่กันเพื่อแสดงความรักใคร่และความหยั่งรู้ค่า อีกทั้งเพื่อพัฒนามิตรภาพ, ความชอบพอ, หรือการยอมรับ. (เยเนซิศ 32:20; สุภาษิต 18:16) ในทำนองเดียวกัน ของถวายหลายอย่างที่พระบัญญัติระบุไว้อาจถือได้ว่าเป็น “ของกำนัล” แด่พระเจ้าเพื่อจะได้รับการยอมรับและความโปรดปรานจากพระองค์. * มีข้อเรียกร้องว่าเมื่อล่วงละเมิดพระบัญญัติจะต้องมีการชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการชดเชยให้ ก็ต้องถวาย ‘เครื่องบูชาเพราะบาป.’ หนังสือเพนทาทุก โดยเฉพาะพระธรรมเอ็กโซโด, เลวีติโก, และอาฤธโม ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับเครื่องบูชาและของถวายชนิดต่าง ๆ. แม้ว่าอาจเป็นเรื่องท้าทายจริง ๆ ที่เราจะซึมซับและจดจำรายละเอียดทุกอย่าง แต่จุดหลัก ๆ บางจุดเกี่ยวกับเครื่องบูชาชนิดต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เราควรเอาใจใส่.
12. เราจะพบคำพรรณนาอย่างรวบรัดเกี่ยวกับเครื่องบูชาซึ่งระบุไว้ในพระบัญญัติได้ที่ไหนในคัมภีร์ไบเบิล?
12 เราจะสังเกตได้ว่า ในเลวีติโกบท 1 ถึงบท 7 ได้มีการพรรณนาถึงเครื่องบูชาหลัก ๆ ห้าชนิดเป็นอย่าง ๆ ไป—คือเครื่องบูชาเผา, เครื่องบูชาธัญชาติ, เครื่องบูชาสมานไมตรี, เครื่องบูชาไถ่บาป, และเครื่องบูชาไถ่ความผิด—แม้ว่าจริง ๆ แล้วบางชนิดถวายร่วมกัน. เราจะสังเกตได้ด้วยว่ามีการพรรณนาเกี่ยวกับเครื่องบูชาชนิดต่าง ๆ ถึงสองครั้งในบทเหล่านี้ด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน: ครั้งแรก ในเลวีติโก 1:2 ถึง 6:7 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องถวายบนแท่นบูชา และครั้งที่สอง ในเลวีติโก 6:8 ถึง 7:36 บอกถึงส่วนที่กันไว้สำหรับปุโรหิตและส่วนที่กันไว้สำหรับผู้ถวาย. ต่อมา ในอาฤธโมบท 28 และ 29 เราพบสิ่งที่อาจถือได้ว่าเป็นตารางเวลาอย่างละเอียด ระบุว่าต้องถวายอะไรในแต่ละวัน, แต่ละสัปดาห์, แต่ละเดือน, และเมื่อถึงเทศกาลต่าง ๆ ในรอบปี.
13. จงพรรณนาถึงเครื่องบูชาที่ถวายด้วยใจสมัครเป็นของกำนัลแด่พระเจ้า.
13 ในกลุ่มของเครื่องบูชาต่าง ๆ ที่ถวายด้วยใจสมัครเพื่อเลวีติโก 1:3, 4, 9, ฉบับแปลใหม่; เยเนซิศ 8:21.
เป็นของกำนัลหรือเพื่อเข้าเฝ้าขอความโปรดปรานจากพระเจ้านั้นก็มีเครื่องบูชาเผา, เครื่องบูชาธัญชาติ, และเครื่องบูชาสมานไมตรี. ผู้คงแก่เรียนบางคนให้ความเห็นว่า คำภาษาฮีบรูสำหรับ “เครื่องบูชาเผา” มีความหมายว่า “เครื่องบูชาที่ขึ้นไป.” ทั้งนี้นับว่าเหมาะทีเดียว เพราะในการถวายเครื่องบูชาเผา สัตว์ที่ฆ่าถวายจะถูกเผาบนแท่นบูชาและกลิ่นหอมหวานหรือกลิ่นที่ทำให้ใจสงบก็จะลอยขึ้นสู่สวรรค์ไปถึงพระเจ้า. ลักษณะเด่นของเครื่องบูชาเผาคือหลังจากประพรมเลือดรอบแท่นบูชาแล้ว สัตว์นั้นก็จะถูกถวายแด่พระเจ้าทั้งตัว. ปุโรหิตจะ “เผาของทั้งหมดบนแท่นเป็นเครื่องเผาบูชา เป็นเครื่องบูชาด้วยไฟ เป็นกลิ่นที่พอพระทัยแด่พระเจ้า.”—14. เครื่องบูชาธัญชาติถวายกันอย่างไร?
14 สำหรับเครื่องบูชาธัญชาตินั้น มีพรรณนาไว้ในเลวีติโกบท 2. เครื่องบูชาที่ถวายด้วยใจสมัครชนิดนี้ประกอบด้วยแป้งละเอียด ซึ่งมักจะทำให้ชื้นด้วยน้ำมัน และเติมกำยานลงไปด้วย. “ให้ปุโรหิตหยิบเอาแป้งเต็มกำมือ, และน้ำมันกับกำยานทั้งหมดออกเสีย, และส่วนเหล่านี้ให้ปุโรหิตเผาบนแท่นเป็นเครื่องบูชาทำด้วยไฟ, เป็นโอชารสอันหอมแก่พระยะโฮวา.” (เลวีติโก 2:2) กำยานเป็นส่วนผสมอย่างหนึ่งของเครื่องหอมศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเผาบนแท่นเครื่องหอมในพลับพลาและพระวิหาร. (เอ็กโซโด 30:34-36) ดูเหมือนว่า กษัตริย์ดาวิดคิดถึงภาพเช่นนี้ในใจเมื่อท่านกล่าวว่า “ขอให้คำทูลของข้าพเจ้าขึ้นไปเป็นเหมือนเครื่องหอมถวายบูชาต่อพระองค์; ซึ่งข้าพเจ้าประนมมือขึ้นขอให้เป็นเหมือนเครื่องบูชาถวายในเวลาเย็น.”—บทเพลงสรรเสริญ 141:2.
15. จุดประสงค์ของเครื่องบูชาสมานไมตรีคืออะไร?
15 เครื่องบูชาที่ถวายด้วยใจสมัครอีกชนิดหนึ่งคือเครื่องบูชาสมานไมตรี ซึ่งได้พรรณนาไว้ในเลวีติโกบท 3. ชื่อนี้อาจแปลได้ด้วยว่า “เครื่องบูชาแห่งสันติสุข.” ในภาษาฮีบรู คำว่า “สันติสุข” สื่อความหมายมากกว่าสภาพที่ปลอดจากสงครามหรือความไม่สงบ. หนังสือที่ชื่อคู่มือการศึกษาสถาบันต่าง ๆ ในสมัยของโมเซ กล่าวว่า “ในคัมภีร์ไบเบิล นอกจากจะมีความหมายดังกล่าวแล้ว สันติสุขยังหมายรวมถึงสภาพหรือความเกี่ยวข้องของสันติสุขกับพระเจ้า, ความรุ่งเรือง, ความยินดี, และความสุข.” ด้วยเหตุนั้น เครื่องบูชาสมานไมตรีจึงถวาย ไม่ใช่เพื่อขอมีสันติสุขกับพระเจ้า ราวกับว่าเพื่อระงับพระพิโรธของพระองค์ เลวีติโก 3:17; 7:16-21; 19:5-8) ในวิธีที่งดงามและมีความหมายโดยนัย ผู้ถวาย, ปุโรหิต, และพระยะโฮวาพระเจ้าต่างก็มีส่วนร่วมด้วยกันในอาหารมื้อนั้น เพื่อแสดงนัยถึงสัมพันธภาพอันเปี่ยมสันติสุขที่มีอยู่ในหมู่พวกเขาและกับพระเจ้า.
หากแต่เพื่อแสดงความขอบพระคุณหรือเพื่อฉลองสภาพแห่งสันติสุขกับพระเจ้าอันเป็นพระพร ซึ่งคนที่ได้รับก็คือคนที่พระองค์ทรงพอพระทัย. ปุโรหิตและผู้ถวายจะรับประทานเครื่องบูชานั้นหลังจากที่ได้ถวายเลือดและไขมันแด่พระยะโฮวาแล้ว. (16. (ก) จุดประสงค์ของเครื่องบูชาไถ่บาปและเครื่องบูชาไถ่ความผิดคืออะไร? (ข) เครื่องบูชาทั้งสองนี้แตกต่างจากเครื่องบูชาเผาอย่างไร?
16 เครื่องบูชาที่ถวายเพื่อขออภัยโทษสำหรับบาปหรือเพื่อไถ่โทษสำหรับการล่วงละเมิดพระบัญญัตินั้น มีเครื่องบูชาไถ่บาปและเครื่องบูชาไถ่ความผิดรวมอยู่ด้วย. แม้ว่าเครื่องบูชาทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับการเผาบนแท่นบูชาด้วยเหมือนกัน แต่แตกต่างจากเครื่องบูชาเผาในข้อที่ว่าไม่ได้ถวายสัตว์แด่พระเจ้าทั้งตัว คือถวายเฉพาะไขมันและบางส่วนของสัตว์นั้น. ส่วนที่เหลือของสัตว์นั้นจะถูกทิ้งเสียนอกค่าย หรือในบางกรณีก็ให้ปุโรหิตรับประทาน. ข้อแตกต่างนี้มีความหมาย. เครื่องบูชาเผาถวายเป็นของกำนัลแด่พระเจ้าเพื่อได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าพระองค์ได้ ดังนั้นจึงถวายแด่พระเจ้าเท่านั้นและทั้งหมด. น่าสนใจ ตามปกติแล้วเครื่องบูชาเผาจะถวายหลังจากการถวายเครื่องบูชาไถ่บาปหรือเครื่องบูชาไถ่ความผิด ซึ่งแสดงว่าเพื่อจะทำให้ของกำนัลของคนบาปเป็นที่ยอมรับจากพระเจ้า จำเป็นต้องมีการให้อภัยบาป.—เลวีติโก 8:14, 18; 9:2, 3; 16:3, 5.
17, 18. เครื่องบูชาไถ่บาปจัดไว้เพื่ออะไร และจุดมุ่งหมายของเครื่องบูชาไถ่ความผิดคืออะไร?
17 เครื่องบูชาไถ่บาปเป็นที่ยอมรับเฉพาะบาปที่ละเมิดพระบัญญัติโดยไม่เจตนา บาปซึ่งทำเนื่องด้วยความอ่อนแอของเนื้อหนัง. “ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดสิ่งใดซึ่งพระเจ้าได้ทรงบัญชามิให้กระทำโดยเขามิได้เจตนา” ผู้ทำบาปนั้นต้องถวายเครื่องบูชาไถ่บาปตามสัดส่วนกับสถานะหรือตำแหน่งของตนในชุมชน. (เลวีติโก 4:2, 3, 22, 27, ฉบับแปลใหม่) ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ทำบาปที่ไม่กลับใจจะถูกตัดขาด; ไม่มีเครื่องบูชาใด ๆ สำหรับคนเหล่านี้.—เอ็กโซโด 21:12-15; เลวีติโก 17:10; 20:2, 6, 10; อาฤธโม 15:30; เฮ็บราย 2:2.
18 ความหมายและจุดประสงค์ของเครื่องบูชาไถ่ความผิดนั้นมีอธิบายไว้ชัดเจนในเลวีติโกบท 5 และ 6. บุคคลคนหนึ่งอาจได้ทำบาปโดยไม่เจตนา. ถึงกระนั้น การล่วงละเมิดของเขาอาจก่อให้เกิดความผิดต่อสิทธิของเพื่อนร่วมชาติหรือสิทธิของพระยะโฮวาพระเจ้า และความผิดนั้นต้องได้มีการแก้ไขให้ถูกต้อง. มีการกล่าวถึงบาปหลายประเภท. บางอย่างเป็นบาปส่วนตัว (5:2-6), บางอย่างเป็นบาปต่อ “ของบริสุทธิ์แห่งพระเจ้า” (5:14-16, ฉบับแปลใหม่), และบางอย่าง แม้ว่าไม่ใช่โดยไม่รู้ตัวเสียทั้งหมด เป็นบาปที่เกิดจากความปรารถนาผิด ๆ หรือความอ่อนแอของเนื้อหนัง (6:1-3). นอกจากการสารภาพบาปเช่นนั้นแล้ว ผู้ทำผิดจำเป็นต้องทำการชดเชยตามสมควร เสร็จแล้วจึงจะถวายเครื่องบูชาไถ่ความผิดแด่พระยะโฮวา.—เลวีติโก 6:4-7.
สิ่งดีกว่าที่จะมีมา
19. แม้ว่ามีพระบัญญัติและเครื่องบูชา เหตุใดชาติยิศราเอลจึงไม่ได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า?
19 พระบัญญัติของโมเซ พร้อมกับเครื่องบูชาและของถวายมากมาย ได้ประทานแก่ชาวยิศราเอลเพื่อทำให้พวกเขาสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าเพื่อรับและรักษาไว้ซึ่งความโปรดปรานและพระพรจากพระองค์จนกระทั่งพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญาไว้มาถึง. อัครสาวกเปาโลซึ่งเป็นชาวยิวโดยกำเนิดกล่าวดังนี้: “พระบัญญัติจึงเป็นครูสอนซึ่งนำเราให้มาถึงพระคริสต์, เพื่อเราจะได้ความชอบธรรมโดยความเชื่อ.” (ฆะลาเตีย 3:24) น่าเศร้า ชาวยิศราเอลในฐานะชาติมิได้ตอบรับการนำนั้น แต่ได้ใช้สิทธิพิเศษนั้นอย่างผิด ๆ. ผลก็คือ เครื่องบูชามากมายที่พวกเขาถวายนั้นกลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจต่อ พระยะโฮวา ผู้ได้ตรัสว่า “เราเบื่อเครื่องบูชาเผาแกะตัวผู้, และมันข้นแห่งสัตว์เลี้ยง; และมิได้ชื่นใจในโลหิตแห่งลูกโคผู้, หรือของลูกแกะ, หรือของแพะผู้.”—ยะซายา 1:11.
20. เกิดอะไรขึ้นในปี ส.ศ. 70 ในส่วนที่เกี่ยวกับพระบัญญัติและเครื่องบูชา?
20 ในปี ส.ศ. 70 ระบบยิวพร้อมกับพระวิหารและคณะปุโรหิตได้มาถึงกาลอวสาน. นับแต่นั้นมา เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปที่จะถวายเครื่องบูชาในลักษณะที่กำหนดไว้โดยพระบัญญัติ. นี่หมายความไหมว่าเครื่องบูชาต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของพระบัญญัติ ได้สูญเสียความหมายไปหมดแล้วสำหรับผู้นมัสการพระเจ้าในทุกวันนี้? เราจะตรวจสอบเรื่องนี้ในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) จัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก อธิบายดังนี้: “ตามที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิล ‘การไถ่โทษ’ มีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ ‘การปิดคลุม’ หรือ ‘การแลกเปลี่ยน’ และสิ่งซึ่งได้ให้ไปเพื่อแลกเปลี่ยนหรือ ‘ปิดคลุม’ อีกสิ่งหนึ่งนั้นต้องเหมือนกันทุกอย่าง. . . . เพื่อจะชดเชยได้อย่างพอเพียงสำหรับสิ่งที่อาดามได้ทำให้สูญเสียไป ต้องจัดให้มีเครื่องบูชาไถ่บาปที่มีค่าเท่ากันพอดีกับชีวิตมนุษย์สมบูรณ์.”
^ วรรค 11 คำภาษาฮีบรูที่บ่อยครั้งแปลกันว่า “ของถวาย” คือโกระบัน. เมื่อบันทึกคำตำหนิของพระเยซูต่อการกระทำที่ขาดคุณธรรมของพวกอาลักษณ์และฟาริซาย มาระโกอธิบายว่า “โกระบาน” หมายความว่า “เป็นของถวายแด่พระเจ้าแล้ว.”—มาระโก 7:11, ฉบับแปลใหม่.
คุณอธิบายได้ไหม?
• อะไรกระตุ้นผู้ซื่อสัตย์ในสมัยโบราณให้ถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวา?
• เหตุใดจึงจำเป็นต้องถวายเครื่องบูชา?
• เครื่องบูชาชนิดหลัก ๆ อะไรบ้างที่พระบัญญัติกำหนดไว้ให้ถวาย และจุดประสงค์ของเครื่องบูชาเหล่านี้คืออะไร?
• ตามที่เปาโลกล่าว พระบัญญัติและเครื่องบูชามีไว้เพื่อจุดประสงค์สำคัญเช่นไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 14]
เครื่องบูชาของเฮเบลเป็นที่ชอบพระทัยเพราะแสดงถึงความเชื่อของท่านในคำสัญญาของพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 15]
คุณเข้าใจความหมายของเหตุการณ์นี้ไหม?