ทำไมจึงควรเป็นคนเสียสละ?
ทำไมจึงควรเป็นคนเสียสละ?
บิลล์อยู่ในวัย 50 เศษ ๆ มีครอบครัว เป็นครูสอนด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง. ตลอดทั้งปีเขาใช้เวลาหลายสัปดาห์ช่วยกะโครงการและสร้างหอประชุมราชอาณาจักรสำหรับประชาคมต่าง ๆ ของพยานพระยะโฮวาโดยใช้เงินทุนส่วนตัว. เอมมา วัย 22 ปีเป็นโสด การศึกษาดีและมีคุณสมบัติพร้อม. แทนที่จะแสวงหาเป้าหมายและความเพลิดเพลินสำหรับตัวเองเท่านั้น เธอใช้เวลามากกว่า 70 ชั่วโมงแต่ละเดือนฐานะเป็นผู้เผยแพร่ ช่วยผู้คนเรียนรู้คัมภีร์ไบเบิล. มอริสกับเบตตีเกษียณอายุแล้ว. แทนที่ตอนนี้จะอยู่อย่างสบาย ๆ ทั้งสองได้ย้ายไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง เพื่อช่วยประชาชนที่นั่นเรียนรู้พระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับแผ่นดินโลก.
บุคคลเหล่านี้ไม่ถือว่าตัวเองเป็นคนพิเศษหรือเด่น. พวกเขาคือปกติชนธรรมดานี่แหละ ทำสิ่งที่เขาเห็นว่าสมควรจะทำ. ทำไมพวกเขาใช้เวลา, พละกำลัง, ความสามารถ, และทรัพยากรของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น? สิ่งที่กระตุ้นพวกเขาได้แก่ความรักอันล้ำลึกที่เขามีต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนบ้าน. ความรักอย่างนี้ก่อให้เกิดน้ำใจเสียสละแท้ในตัวเขาแต่ละคน.
เราหมายความอย่างไรเกี่ยวกับน้ำใจเสียสละ? การเสียสละไม่ต้องดำเนินชีวิตอย่างถือสันโดษหรือเป็นนักพรต. ไม่ถึงกับต้องปฏิเสธตัวเองอย่างสุดขั้ว ซึ่งปล้นเอาความยินดีหรือความอิ่มใจพอใจของเราไป. ดังที่พจนานุกรม เดอะ ชอร์ตเทอร์ ออกซฟอร์ด อิงลิช ให้คำนิยามไว้ว่า การเสียสละหมายถึง “การสละผลประโยชน์, ความสุข, และความปรารถนาของตนเองเพื่อเห็นแก่หน้าที่หรือสวัสดิภาพของผู้อื่น.”
พระเยซูคริสต์—แบบอย่างที่ยอดเยี่ยม
พระเยซูคริสต์ พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระเจ้าเป็นแบบอย่างที่ยอดเยี่ยมของการเป็นคนที่มีน้ำใจเสียสละ. ในสภาพความเป็นอยู่ก่อนกำเนิดเป็นมนุษย์ ชีวิตของพระองค์คงต้องร่าเริงเบิกบานและน่าพอใจอย่างที่สุด. พระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิดสนิทกับพระบิดาของพระองค์และกับเหล่ากายวิญญาณทั้งหลาย. ยิ่งกว่านั้น พระบุตรของพระเจ้าทรงใช้พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำการงานที่ท้าทายและน่าตื่นเต้นในฐานะ “เป็นลูกมือของพระองค์.” (สุภาษิต 8:30, 31) แน่นอน พระองค์ทรงดำรงชีวิตท่ามกลางสภาพการณ์ที่ดีเลิศยิ่งกว่าสภาพใด ๆ ซึ่งคนร่ำรวยที่สุดบนแผ่นดินโลกเคยได้ชื่นชมด้วยซ้ำ. พระองค์ทรงอยู่ในฐานะสูงส่งและเปี่ยมด้วยสิทธิพิเศษในสวรรค์รองจากพระยะโฮวาพระเจ้า.
กระนั้น พระบุตรของพระเจ้า “ทรงสละพระองค์เองฟิลิปปอย 2:7, ล.ม.) พระองค์ทรงเต็มพระทัยสละผลประโยชน์ทุกอย่าง โดยได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และได้สละชีวิตเป็นค่าไถ่เพื่อขจัดความเสียหายที่ซาตานได้ก่อขึ้น. (เยเนซิศ 3:1-7; มาระโก 10:45) นั่นหมายถึงการลงมาอยู่ท่ามกลางมนุษย์ที่ผิดบาปในโลกซึ่งทอดตัวจมอยู่ใต้อำนาจซาตานพญามาร. (1 โยฮัน 5:19) อีกทั้งหมายถึงการอดทนกับความไม่สะดวกสบายเฉพาะตัว. แต่ไม่ว่าจะลำบากอย่างไร พระเยซูคริสต์ก็ได้ตั้งพระทัยแน่วแน่จะทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดา. (มัดธาย 26:39; โยฮัน 5:30; 6:38) การนี้ทดสอบความรักและความภักดีของพระเยซูจนถึงที่สุด. พระองค์เต็มพระทัยเสียสละถึงขนาดไหน? อัครสาวกเปาโลบอกว่า “พระองค์ทรงถ่อมพระองค์ และยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา คือความมรณาบนหลักทรมาน.”—ฟิลิปปอย 2:8, ล.ม.
แล้วรับสภาพทาสและมาเป็นอย่างมนุษย์.” (“จงรักษาเจตคติอย่างนี้ไว้ในตัวท่าน”
พวกเราได้รับการกระตุ้นให้ติดตามแบบอย่างของพระเยซู. เปาโลกระตุ้นดังนี้: “จงรักษาเจตคติอย่างนี้ไว้ในตัวท่านซึ่งเจตคติอย่างนี้ก็มีอยู่ในพระคริสต์เยซูด้วย.” (ฟิลิปปอย 2:5, ล.ม.) เราจะทำได้อย่างไร? วิธีหนึ่งคือ “คอยดูด้วยความสนใจเป็นส่วนตัวไม่เพียงเรื่องของตนเองเท่านั้น แต่สนใจเป็นส่วนตัวในเรื่องของคนอื่น ๆ ด้วย.” (ฟิลิปปอย 2:4, ล.ม.) ความรักแท้ “ไม่แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเอง.”—1 โกรินโธ 13:5, ล.ม.
ปัจเจกชนที่เอื้ออาทรมักแสดงให้เห็นการอุทิศอย่างไม่เห็นแก่ตัวด้วยการปรนนิบัติผู้อื่น. อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน หลายคนโน้มเอียงไปในทางคิดห่วงแต่ความต้องการของตัวเอง. โลกมีทัศนะนึกถึงตัวเองก่อน. เราจำต้องเฝ้าระวังน้ำใจของโลก เพราะหากมันนวดปั้นแง่คิดและทัศนคติของเราได้สำเร็จ อาจเป็นไปได้ที่เราจะถือเอาความปรารถนาของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด. ครั้นแล้ว ทุกสิ่งที่เราทำ—วิธีที่เราใช้เวลาของเรา, พละกำลังของเรา, ทรัพยากรของเรา—ย่อมตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของความคิดห่วงแต่ความต้องการของตัวเอง. ดังนั้นเราต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อต้านอิทธิพลนี้.
บางครั้งแม้คำแนะนำด้วยเจตนาที่ดีก็อาจระงับน้ำใจเสียสละตัวเองของเราได้. เมื่อตระหนักว่า แนวทางการเสียสละของพระเยซูจะนำไปสู่อะไร อัครสาวกเปโตรพูดว่า “พระองค์เจ้าข้า จงกรุณาพระองค์เองเถิด.” (มัดธาย 16:22, ล.ม.) ดูเหมือนเปโตรรู้สึกว่ายากที่จะยอมรับความเต็มพระทัยของพระเยซูกระทั่งจะทรงยอมวายพระชนม์เพื่อผลประโยชน์แห่งพระบรมเดชานุภาพของพระบิดาและความรอดของมนุษยชาติ. ดังนั้นท่านจึงได้ทัดทานพระเยซูจากการติดตามแนวทางดังกล่าว.
“เอาชนะตัวเอง”
พระเยซูทรงมีปฏิกิริยาอย่างไร? รายงานแจ้งว่า: “พระองค์จึงหันพระพักตร์ดูเหล่าสาวกแล้วติเปโตรว่า: ‘อ้ายซาตาน, จงถอยไปข้างหลังเรา, เพราะเจ้ามิได้คิดตามพระดำริของพระเจ้า, แต่ตามความคิดของมนุษย์.’ ” ครั้นแล้ว พระเยซูตรัสเรียกประชาชนกับเหล่าสาวกให้เข้ามาหาพระองค์ ตรัสว่า: “ถ้าผู้ใดจะใคร่ตามเรามา, ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง, และรับกางเขน [“หลักทรมาน,” ล.ม.] ของตนแบกตามเรามา.”—มาระโก 8:33, 34.
ประมาณ 30 ปีหลังจากท่านได้ให้การชี้แนะนี้แก่พระเยซู เปโตรแสดงให้เห็นว่าตอนนี้ท่านได้มาเข้าใจความหมายของการเสียสละแล้ว. ท่านไม่ได้สนับสนุนเพื่อนร่วมความเชื่อให้หย่อนความพยายามและสงสารตัวเอง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท่านกระตุ้นเตือนเขาให้เตรียมจิตใจไว้พร้อมเพื่อกิจการงาน และเลิกจากการถูกนวดปั้นตามความปรารถนาในทางโลกซึ่งแต่ก่อนเขาเคยเป็นเช่นนั้น. ถึงแม้ประสบความทุกข์ลำบาก พวกเขาควรจัดเอาการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเป็นอันดับแรกในชีวิต.—1 เปโตร 1:6, 13, 14; 4:1, 2.
แนวทางที่ให้ผลตอบแทนอย่างยิ่งที่ใคร ๆ ในพวกเราจะติดตามได้คือการมอบทุกสิ่งที่เรามีให้พระยะโฮวาเป็นเจ้าของ ดำเนินตามพระเยซูคริสต์ด้วยความซื่อสัตย์และยอมให้พระเจ้าชี้นำกิจกรรมต่าง ๆ ของเรา. เกี่ยวกับเรื่องนี้ เปาโลได้วางตัวอย่างที่ดี. การสำนึกของท่านถึงความเร่งด่วนและการ2 โกรินโธ 12:15, ล.ม.) เปาโลได้ใช้ความสามารถของท่านส่งเสริมผลประโยชน์ของพระเจ้า ไม่ใช่ของตัวเอง.—กิจการ 20:24; ฟิลิปปอย 3:8.
สำนึกในบุญคุณของพระยะโฮวากระตุ้นท่านให้ระงับความมุ่งมาดปรารถนาหรือความคาดหมายต่าง ๆ ทางโลกซึ่งอาจชักพาท่านเขวไปจากการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. ท่านกล่าวว่า “สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายินดีอย่างยิ่งจะทุ่มเทและทุ่มเทหมดตัว” ในการรับใช้เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น. (เราอาจตรวจสอบตัวเองโดยวิธีใดเพื่อจะรู้ว่าเรามีมุมมองอย่างเดียวกันกับอัครสาวกเปาโลหรือเปล่า? เราอาจถามตัวเองทำนองนี้: ฉันใช้เวลา, พละกำลัง, สมรรถภาพ, และทรัพยากรของฉันอย่างไร? ฉันได้ใช้สิ่งเหล่านี้และความสามารถพิเศษอื่น ๆ เพียงเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของตัวเอง หรือฉันใช้สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวช่วยเหลือคนอื่น? ฉันเคยใคร่ครวญถึงการมีส่วนร่วมเต็มที่ยิ่งขึ้นไหมในงานช่วยชีวิตด้วยการประกาศข่าวดี บางทีเป็นผู้ประกาศข่าวราชอาณาจักรประเภทเต็มเวลา? ฉันสามารถเข้าส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านั้นได้เต็มที่ยิ่งขึ้นไหม เช่น การก่อสร้างหรือการบำรุงรักษาหอประชุม? ฉันกำลังฉวยเอาโอกาสต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์คนขัดสนไหม? ฉันถวายสิ่งดีที่สุดแด่พระยะโฮวาไหม?—สุภาษิต 3:9.
“การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่า”
กระนั้น ถือว่าสุขุมจริง ๆ ไหมที่จะเป็นคนเสียสละ? ใช่แน่นอน! เปาโลรู้ได้จากประสบการณ์ของตัวเองว่าน้ำใจดังกล่าวมีผลตอบแทนอันอุดม. มันทำให้ท่านได้รับความสุขมหาศาลและความอิ่มใจพอใจมากมาย. ท่านได้ชี้แจงเรื่องนี้ต่อผู้เฒ่าผู้แก่จากเมืองเอเฟโซในคราวที่พบปะคนเหล่านั้นที่เมืองมีเลโต. เปาโลกล่าวดังนี้: “ข้าพเจ้าได้แสดงให้ท่านทั้งหลายเห็นในสิ่งทั้งปวงว่า ด้วยการงานเช่นนั้น [ทำด้วยน้ำใจเสียสละ] ท่านทั้งหลายจำต้องช่วยคนเหล่านั้นที่อ่อนกำลัง และจำต้องระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์เองตรัสว่า ‘การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.’ ” (กิจการ 20:35, ล.ม.) หลายล้านคนเคยประสบว่าการแสดงน้ำใจดังกล่าวก่อความสุขมากมายในเวลานี้ ทั้งจะประสบความยินดีในอนาคตด้วยเมื่อพระยะโฮวาทรงประทานบำเหน็จแก่บรรดาคนเหล่านั้นที่จัดเอาผลประโยชน์ของพระองค์และของผู้อื่นขึ้นหน้าผลประโยชน์ของตัวเอง.—1 ติโมเธียว 4:8-10, ล.ม.
เมื่อถามบิลล์ว่าทำไมเขาถึงได้ทุ่มเทตัวเองในการช่วยคนอื่นสร้างหอประชุมราชอาณาจักร? เขาให้ความเห็นดังนี้: “การช่วยประชาคมซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นประชาคมขนาดเล็ก โดยวิธีนี้ทำให้ผมอิ่มใจพอใจมาก. ผมยินดีจะใช้ความชำนิชำนาญใด ๆ ที่ผมมีอยู่เพื่อประโยชน์ของผู้
อื่น.” เพราะเหตุใดเอมมาถึงเลือกที่จะสละกำลังวังชาและความสามารถของเธอช่วยเหลือคนอื่นให้เรียนความจริงในพระคัมภีร์? “ดิฉันนึกภาพไม่ออกว่าจะทำอะไรอื่นนอกจากนี้. ในขณะที่ยังมีพลังวังชาและสามารถจะทำงานนี้ได้ ดิฉันต้องการแต่เพียงว่าจะทำมากที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อเป็นที่ชอบพระทัยพระยะโฮวาและช่วยเหลือผู้อื่น. การสละผลประโยชน์บางอย่างด้านวัตถุไม่ใช่เรื่องใหญ่. ดิฉันทำสิ่งที่สมควรทำเท่านั้น เมื่อคำนึงถึงสิ่งที่พระยะโฮวาทรงทำเพื่อดิฉัน.”มอริสกับเบตตีไม่เคยรู้สึกเสียใจกับการที่ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างสบาย ๆ หลังจากทำงานหนักหาเลี้ยงครอบครัวมานานหลายปี. ตอนนี้ทั้งสองคนเกษียณอายุแล้ว เขาต้องการทำอะไรบางอย่างต่อ ๆ ไปซึ่งเป็นคุณประโยชน์และมีความหมายต่อชีวิตของเขา. เขาบอกว่า “ตอนนี้เราไม่อยากพักผ่อนอยู่เฉย ๆ ดำเนินชีวิตสบาย ๆ. การช่วยผู้คนในต่างประเทศเรียนรู้เรื่องพระยะโฮวาเปิดโอกาสให้เราทำอะไรบางอย่างที่มีจุดมุ่งหมายอยู่เสมอ.”
คุณได้ตั้งใจจะเป็นคนเสียสละไหม? เรื่องนี้ไม่ง่าย. มีการต่อสู้เรื่อย ๆ ระหว่างความปรารถนาของมนุษย์ไม่สมบูรณ์ของเรากับความต้องการอันแรงกล้าที่จะทำให้ชอบพระทัยพระเจ้า. (โรม 7:21-23) แต่มันเป็นการต่อสู้ที่เอาชนะได้ถ้าเรายอมให้พระยะโฮวาชี้นำชีวิตของเรา. (ฆะลาเตีย 5:16, 17) แน่นอน พระองค์จะทรงระลึกถึงการเสียสละของเราในงานรับใช้พระองค์และจะอวยพรเราอย่างอุดม. แท้จริง พระยะโฮวาพระเจ้าจะทรง ‘เปิดบัญชรแห่งฟ้าสวรรค์และเทพรลงเหนือพวกเราจนเกินความต้องการ.’—มาลาคี 3:10; เฮ็บราย 6:10.
[ภาพหน้า 23]
พระเยซูทรงมีน้ำใจเสียสละ. คุณล่ะ?
[ภาพหน้า 24]
เปาโลมุ่งความพยายามของท่านไปที่งานประกาศราชอาณาจักร