“ยังไม่ถึงเวลากำหนดของพระองค์”
“ยังไม่ถึงเวลากำหนดของพระองค์”
“ไม่มีผู้ใดยื่นมือจับพระองค์เพราะยังไม่ถึงเวลากำหนดของพระองค์.”—โยฮัน 7:30, ล.ม.
1. ปัจจัยสองประการอะไรที่ควบคุมแนวทางการกระทำของพระเยซู?
พระเยซูคริสต์ตรัสกับเหล่าอัครสาวกว่า “บุตรมนุษย์เสด็จมา มิใช่เพื่อให้เขารับใช้ แต่เพื่อจะรับใช้ และเพื่อประทานจิตวิญญาณของท่านเป็นค่าไถ่เพื่อแลกกับคนเป็นอันมาก.” (มัดธาย 20:28, ล.ม.) พระองค์ตรัสกับปนเตียวปีลาตผู้สำเร็จราชการโรมันว่า “เพราะเหตุนี้เราจึงบังเกิดมาและเข้ามาในโลก เพื่อเราจะเป็นพยานถึงความจริง.” (โยฮัน 18:37) พระเยซูทรงทราบชัดถึงเหตุผลที่พระองค์จะต้องสิ้นพระชนม์และงานที่พระองค์ต้องทำก่อนจะสิ้นพระชนม์. พระองค์ทรงทราบด้วยว่าพระองค์ทรงมีเวลาเท่าไรที่จะทำงานมอบหมายให้สำเร็จ. พระองค์มีเวลาทำงานรับใช้บนแผ่นดินโลกในฐานะพระมาซีฮาเพียงสามปีครึ่ง. งานรับใช้นี้เริ่มต้นด้วยการรับบัพติสมาในน้ำที่แม่น้ำยาระเดน (ส.ศ. 29) ในตอนเริ่มต้นของสัปดาห์ที่เจ็ดสิบโดยนัยตามที่มีบอกไว้ล่วงหน้า และสิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์บนหลักทรมานเมื่อถึงกลางสัปดาห์นั้น (ส.ศ. 33). (ดานิเอล 9:24-27; มัดธาย 3:16, 17; 20:17-19) ดังนั้น แนวทางการกระทำทั้งสิ้นของพระเยซูถูกควบคุมด้วยปัจจัยสำคัญสองประการ: จุดมุ่งหมายที่พระองค์เสด็จมาและการทราบกำหนดเวลาอย่างแม่นยำ.
2. พระธรรมกิตติคุณให้ภาพพระเยซูคริสต์ไว้อย่างไร และพระองค์ทรงแสดงให้เห็นอย่างไรว่าทรงตระหนักดีถึงงานมอบหมายของพระองค์?
2 เรื่องราวในพระธรรมกิตติคุณให้ภาพพระเยซูคริสต์ว่าทรงเป็นบุรุษผู้ขันแข็งที่เดินทางไปทั่วแผ่นดินปาเลสไตน์ ประกาศข่าวดีแห่งราชอาณาจักรของพระเจ้าและทำการงานหลายอย่างที่เปี่ยมด้วยพลัง. ในช่วงแรก ๆ แห่งงานรับใช้อันเปี่ยมด้วยพลังของพระเยซู มีการกล่าวเกี่ยวกับพระองค์ว่า “ยังไม่ถึงเวลากำหนดของพระองค์.” พระเยซูเองตรัสว่า “เวลากำหนดของเรายังมาไม่ถึงทีเดียว.” เมื่อใกล้ถึงตอนสิ้นสุดงานรับใช้ พระองค์ตรัสว่า “เวลา . . . ก็มาถึงแล้ว.” โยฮัน 7:8, 30; 12:23, ล.ม.) การที่พระเยซูทรงตระหนักดีถึงโมงยามหรือเวลาสำหรับงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งรวมไปถึงการสิ้นพระชนม์เป็นเครื่องบูชา คงต้องมีผลต่อสิ่งที่พระองค์ตรัสและทำ. ความเข้าใจที่ว่าเรื่องนี้มีผลต่อพระองค์ทำให้เราเข้าใจลึกซึ้งถึงบุคลิกภาพและแบบแผนความคิดของพระองค์ ช่วยเราให้ “ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์” ได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น.—1 เปโตร 2:21, ล.ม.
(ตั้งใจแน่วแน่จะทำตาม พระทัยประสงค์ของพระเจ้า
3, 4. (ก) เกิดอะไรขึ้น ณ งานเลี้ยงสมรสที่บ้านคานา? (ข) เหตุใดพระบุตรของพระเจ้าไม่ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของมาเรียที่ว่าพระองค์น่าจะทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหล้าองุ่นซึ่งจวนจะหมด และเราอาจเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้?
3 ขณะนั้นเป็นปี ส.ศ. 29. พระเยซูเพิ่งจะเลือกสาวกรุ่นแรกด้วยพระองค์เองมาได้ไม่กี่วัน. บัดนี้ พระองค์กับเหล่าสาวกมาที่บ้านคานาในแคว้นฆาลิลายเพื่อร่วมงานสมรส. มาเรียมารดาของพระเยซูอยู่ที่นั่นด้วย. เหล้าองุ่นจวนจะหมด. มาเรียกล่าวกับบุตรชายเป็นเชิงแนะว่าพระองค์ควรทำอะไรบางอย่าง โดยบอกว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่น.” แต่พระเยซูตรัสว่า “หญิงเอ๋ย ข้าพเจ้ามีธุระอะไรกับท่าน? เวลาของข้าพเจ้ายังมาไม่ถึง.”—โยฮัน 1:35-51; 2:1-4, ล.ม.
4 คำตอบของพระเยซูที่ว่า “หญิงเอ๋ย ข้าพเจ้ามีธุระอะไรกับท่าน?” เป็นคำถามแบบที่ใช้กันในสมัยโบราณอันเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อสิ่งที่ได้มีการแนะนำหรือเสนอแนะ. เหตุใดพระเยซูไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวของมาเรีย? เอาละ ตอนนี้พระองค์มีพระชนมายุได้ 30 พรรษาแล้ว. เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ พระองค์เพิ่งจะรับบัพติสมา, ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์, และเพิ่งได้รับการแนะนำตัวจากโยฮันผู้ให้บัพติสมาว่าทรงเป็น “พระเมษโปดกของพระเจ้าซึ่งรับบาปของโลกไป.” (โยฮัน 1:29-34, ล.ม.; ลูกา 3:21-23) บัดนี้ การชี้นำที่ให้แก่พระองค์จะต้องมาจากองค์ใหญ่ยิ่งผู้มีอำนาจสูงสุดซึ่งได้ส่งพระองค์มา. (1 โกรินโธ 11:3) ไม่มีใคร แม้กระทั่งสมาชิกที่ใกล้ชิดในครอบครัว ได้รับอนุญาตให้เข้าแทรกแซงการงานที่พระเยซูเสด็จมาทำบนแผ่นดินโลก. คำตรัสของพระเยซูที่ตอบแก่มาเรียนั้นช่างแสดงออกถึงความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดาสักเพียงไร! ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่คล้าย ๆ กันที่จะทำให้สำเร็จตาม “พันธะทั้งสิ้น” ของเราต่อพระเจ้า.—ท่านผู้ประกาศ 12:13, ล.ม.
5. พระเยซูคริสต์ทรงทำการอัศจรรย์อะไรที่บ้านคานา และเหตุการณ์นี้มีผลต่อผู้อื่นเช่นไร?
5 เพราะเข้าใจคำตรัสของบุตรชาย มาเรียจึงถอยมาอยู่ข้าง ๆ ทันที และสั่งคนรับใช้ว่า “ท่านสั่งให้เจ้าทำสิ่งใด ก็จงกระทำตามเถิด.” และพระเยซูก็ทรงช่วยแก้ปัญหา. พระองค์ทรงสั่งคนรับใช้ให้ตักน้ำใส่โอ่ง แล้วทรงเปลี่ยนน้ำนั้นให้กลายเป็นเหล้าองุ่นชั้นเยี่ยม. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็เพื่อแนะนำให้เห็นถึงอำนาจของพระเยซูในการทำการอัศจรรย์ ซึ่งเป็นหมายสำคัญว่าพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตกับพระองค์. เมื่อเหล่าสาวกใหม่เห็นการอัศจรรย์นี้ ความเชื่อของพวกเขาก็เข้มแข็งขึ้น.—โยฮัน 2:5-11, ล.ม.
มีใจแรงกล้าเพื่อพระนิเวศของพระยะโฮวา
6. เหตุใดพระเยซูทรงเคืองพระทัยในสิ่งที่พระองค์เห็นที่พระวิหารในกรุงยะรูซาเลม และพระองค์ทรงลงมือทำเช่นไร?
6 ไม่ช้าก็มาถึงฤดูใบไม้ผลิ ส.ศ. 30 และพระเยซูกับผู้ติดตามกำลังเดินทางไปยังกรุงยะรูซาเลมเพื่อร่วมเทศกาลปัศคา. ระหว่างอยู่ที่นั่น เหล่าสาวกเห็นผู้นำของเขาทำอย่างที่เขาคงไม่เคยเห็นพระองค์ทำมาก่อน. พวกพ่อค้าชาวยิวที่ละโมบกำลังขายสัตว์และนกสำหรับถวายเป็นเครื่องบูชาที่ข้างในพระวิหารเลยทีเดียว. และพวกเขาคิดเงินกับผู้นมัสการชาวยิวที่ซื่อสัตย์ในราคาที่แพงมาก. ด้วยความเคืองพระทัย พระเยซูทรงลงมือ. พระองค์ทรงใช้เชือกต่างแส้ขับไล่พวกพ่อค้าเหล่านั้นออกไป. พระองค์ทรงเทเหรียญเงินของคนรับแลกเงินและคว่ำโต๊ะของพวกเขา. พระองค์ทรงสั่งคนขายนกพิราบว่า “จงเอาสิ่งเหล่านี้ไปให้พ้น!” เมื่อเหล่าสาวกของพระเยซูเห็นพระองค์ลงมือด้วยความรู้สึกอันแรงกล้าเช่นนั้น ก็ระลึกขึ้นได้ถึงคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระบุตรของพระเจ้าที่ว่า “น้ำใจแรงกล้าเพื่อราชนิเวศของพระองค์จะเผาผลาญข้าพเจ้า.” (โยฮัน 2:13-17, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 69:9) เราก็เช่นกันต้องมีใจแรงกล้าที่จะระวังตัวไม่ปล่อยให้แนวโน้มอย่างโลกมาปนเปื้อนการนมัสการของเรา.
7. (ก) อะไรกระตุ้นนิโกเดโมให้ไปหาพระมาซีฮา? (ข) เราเรียนอะไรจากการให้คำพยานของพระเยซูแก่หญิงชาวซะมาเรีย?
7 ขณะอยู่ที่กรุงยะรูซาเลม พระเยซูทรงแสดงหมายสำคัญที่น่าทึ่งบางอย่าง และหลายคนเชื่อในพระองค์. แม้แต่นิโกเดโมสมาชิกคนหนึ่งของซันเฮดริน ซึ่งเป็นศาลสูงของพวกยิว ก็ยังประทับใจในพระเยซูและมาหาพระองค์ตอนกลางคืนเพื่อจะเรียนรู้มากขึ้น. หลังจากนั้น พระเยซูและเหล่าสาวกอยู่ในเขต “ชนบทของแคว้นยูเดีย” ประมาณแปดเดือน โยฮัน 2:23; 3:1-22; 4:1-42, ล.ม.; มาระโก 1:14.
ประกาศสั่งสอนและทำให้คนเป็นสาวก. อย่างไรก็ตาม หลังจากที่โยฮันผู้ให้บัพติสมาถูกจำคุก พวกเขาก็ออกจากยูดายไปฆาลิลาย. ระหว่างการเดินทางผ่านแคว้นซะมาเรีย พระเยซูทรงฉวยโอกาสให้คำพยานอย่างละเอียดแก่หญิงชาวซะมาเรียคนหนึ่ง. การให้คำพยานดังกล่าวนี้เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งทำให้ในที่สุดมีชาวซะมาเรียหลายคนเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ. ขอให้เราตื่นตัวด้วยเช่นกันต่อโอกาสที่จะพูดเรื่องราชอาณาจักร.—การสอนอย่างกว้างขวางในฆาลิลาย
8. พระเยซูทรงเริ่มต้นงานอะไรในฆาลิลาย?
8 ก่อนถึง “เวลา” ที่พระเยซูจะต้องสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงมีงานรับใช้ของพระบิดาฝ่ายสวรรค์ที่จะต้องทำมากมาย. ที่ฆาลิลาย พระเยซูทรงเริ่มต้นทำงานรับใช้ที่กว้างขวางยิ่งกว่าที่ทำในยูดายและกรุงยะรูซาเลม. พระองค์เสด็จ “ไปทั่วฆาลิลาย ทรงสอนในธรรมศาลาของพวกเขาและทรงประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรและทรงรักษาโรคทุกชนิดและความทุพพลภาพทุกชนิดท่ามกลางผู้คน.” (มัดธาย 4:23, ล.ม.) คำตรัสกระตุ้นใจของพระองค์ที่ว่า “ท่านทั้งหลาย จงกลับใจเสียใหม่ เพราะราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์มาใกล้แล้ว” ดังไปทั่วแว่นแคว้น. (มัดธาย 4:17, ล.ม.) ภายในเวลาไม่กี่เดือน เมื่อสาวกสองคนของโยฮันผู้ให้บัพติสมาได้มาหาเพื่อจะได้ข่าวโดยตรงจากพระเยซู พระองค์ตรัสแก่เขาว่า “จงกลับไปแจ้งแก่โยฮันซึ่งท่านได้เห็นและได้ยิน คือว่าคนตาบอดก็เห็นได้, คนง่อยก็เดินได้, คนโรคเรื้อนก็หายสะอาด, คนหูหนวกก็ยินได้, คนตายแล้วก็เป็นขึ้นมา, และข่าวประเสริฐก็ประกาศแก่คนอนาถา. บุคคลผู้ใดไม่สะดุดกะดากเพราะเราก็เป็นสุข.”—ลูกา 7:22, 23.
9. เหตุใดฝูงชนจึงพากันมาหาพระคริสต์เยซู และเราอาจเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้?
9 ‘กิตติศัพท์เกี่ยวกับพระเยซูเลื่องลือไปทั่วตำบลที่อยู่รอบนั้น’ และฝูงชนมากมายก็พากันมาหาพระองค์—จากฆาลิลาย, เดกาโปลี, ยะรูซาเลม, ยูดาย, และแม่น้ำยาระเดนฟากตะวันออก. (ลูกา 4:14, 15; มัดธาย 4:24, 25) พวกเขามาหาพระองค์ไม่เพียงเพราะการรักษาโรคอย่างอัศจรรย์เท่านั้น แต่เพราะการสั่งสอนอันยอดเยี่ยมของพระองค์ด้วย. ข่าวสารของพระองค์นั้นดึงดูดใจและให้กำลังใจ. (มัดธาย 5:) คำตรัสของพระเยซูก่อให้เกิดความยินดี. ( 1–7:27ลูกา 4:22) ฝูงชน “อัศจรรย์ใจด้วยคำสั่งสอนของพระองค์” เนื่องจากพระองค์ตรัสคำที่มาจากพระคัมภีร์อย่างผู้มีอำนาจ. (มัดธาย 7:28, 29; ลูกา 4:32) ใครล่ะจะไม่ถูกดึงดูดให้เข้ามาหาคนเช่นนี้? ขอให้เราปลูกฝังศิลปะแห่งการสอนแบบเดียวกันนั้น เพื่อผู้มีหัวใจสุจริตจะถูกดึงดูดให้เข้ามาหาความจริง.
10. เหตุใดชาวเมืองนาซาเร็ธจึงพยายามจะฆ่าพระเยซู และเหตุใดพวกเขาทำไม่สำเร็จ?
10 อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้ที่ฟังพระเยซูจะตอบรับกันทุกคน. แม้แต่ช่วงแรก ๆ ในงานรับใช้ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงสอนในธรรมศาลาเมืองนาซาเร็ธซึ่งเป็นที่ที่พระองค์ทรงเจริญวัยขึ้น ก็มีคนพยายามจะฆ่าพระองค์. แม้ว่าชาวเมืองรู้สึกทึ่งใน “ถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ” ที่พระองค์ตรัส แต่ว่าพวกเขาอยากเห็นการอัศจรรย์. อย่างไรก็ตาม แทนที่จะทำการอัศจรรย์หลายอย่างที่นั่น พระเยซูทรงเปิดโปงความเห็นแก่ตัวและการขาดความเชื่อของพวกเขา. ด้วยความโกรธ คนเหล่านั้นที่อยู่ในธรรมศาลาจึงลุกฮือขึ้น จับพระเยซู และผลักรุนพระองค์ไปที่เงื้อมเขาเพื่อจะโยนพระองค์ให้พุ่งหลาวลงจากหน้าผา. แต่พระองค์สลัดหลุดจากการจับกุมของพวกเขาและหนีไปได้อย่างปลอดภัย. “เวลา” ที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ยังมาไม่ถึง.—ลูกา 4:16-30.
11. (ก) เหตุใดหัวหน้าศาสนาบางคนจึงมาฟังพระเยซู? (ข) เหตุใดพระเยซูจึงถูกกล่าวหาว่าละเมิดวันซะบาโต?
11 พวกหัวหน้าศาสนา—อาลักษณ์, ฟาริซาย, ซาดูกาย, และคนอื่น ๆ—มักจะอยู่ด้วยในที่ที่พระเยซูทรงสั่งสอน. หลายคนอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เพื่อฟังและเรียนรู้ หากแต่เพื่อจับผิดและพยายามล่อให้พระองค์ติดกับ. (มัดธาย 12:38; 16:1; ลูกา 5:17; 6:1, 2) ยกตัวอย่าง ขณะที่เสด็จมายังกรุงยะรูซาเลมเพื่อร่วมปัศคาประจำปี ส.ศ. 31 พระเยซูทรงรักษาชายผู้หนึ่งซึ่งป่วยมานานถึง 38 ปี. พวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวตั้งข้อกล่าวหาพระเยซูว่าละเมิดวันซะบาโต. พระองค์ตรัสตอบว่า “พระบิดาของเราก็ยังทรงกระทำการอยู่จนถึงบัดนี้, และเราก็กระทำด้วย.” ถึงตอนนี้ พวกยิวกล่าวหาพระองค์ว่าหมิ่นประมาทด้วยเหตุที่อ้างว่าเป็นบุตรของพระเจ้าโดยเรียกพระองค์เป็นพระบิดา. พวกเขาพยายามจะฆ่าพระเยซู แต่พระองค์กับเหล่าสาวกได้ออกจากกรุงยะรูซาเลมไปยังฆาลิลาย. คล้ายกันนั้น เราควรสุขุมที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ามากเกินไปกับผู้ต่อต้านขณะที่เราทุ่มเทพลังของเราเพื่อประกาศเรื่องราชอาณาจักรและทำให้คนเป็นสาวก.—โยฮัน 5:1-18; 6:1.
12. พระเยซูทรงทำงานในเขตของฆาลิลายกว้างขวางขนาดไหน?
12 ต่อจากนั้นเป็นเวลาประมาณปีครึ่ง พระเยซูทรงจำกัดให้งานรับใช้ส่วนใหญ่ของพระองค์อยู่ที่ฆาลิลาย เสด็จไปที่กรุงยะรูซาเลมเพียงเพื่อเข้าร่วมเทศกาลประจำปีของชาวยิวสามครั้ง. รวมทั้งหมดแล้ว พระองค์ทรงเดินทางประกาศสั่งสอนในฆาลิลายสามรอบ: รอบแรกกับสาวกใหม่ 4 คน, รอบที่สองกับอัครสาวก 12 คน, และรอบสุดท้ายซึ่งมีการขยายงานให้กว้างยิ่งขึ้น พระองค์ยังได้ส่งอัครสาวกซึ่งผ่านการฝึกอบรมออกไปในที่ต่าง ๆ ด้วย. การให้คำพยานถึงความจริงในฆาลิลายนั้นดำเนินไปอย่างกว้างขวางทีเดียว!—มัดธาย 4:18-25; ลูกา 8:1-3; 9:1-6.
ให้คำพยานอย่างกล้าหาญในยูดายและพีเรีย
13, 14. (ก) พวกยิวพยายามจะจับพระเยซูในโอกาสใด? (ข) เหตุใดพวกเจ้าหน้าที่จึงมิได้จับกุมพระเยซู?
13 ตอนนั้นเป็นฤดูใบไม้ร่วง ส.ศ. 32 และ “เวลา” ของพระเยซูยังมาไม่ถึง. จวนจะถึงเทศกาลตั้งทับอาศัย. น้องชายต่างบิดาของพระเยซูจึงกระตุ้นพระองค์ว่า “จงออกจากที่นี่เข้าไปยังแคว้นยูเดีย.” พวกเขาอยากให้พระเยซูแสดงอำนาจอัศจรรย์แก่คนทั้งปวงที่มาชุมนุมกันที่เทศกาลในกรุงยะรูซาเลม. ทว่า พระเยซูทรงสำนึกถึงอันตราย. ดังนั้น พระองค์ตรัสกับน้อง ๆ ของพระองค์ว่า “เราจะยังไม่ขึ้นไปที่เทศกาลนี้ เพราะว่าเวลากำหนดของเรายังมาไม่ถึงทีเดียว.”—โยฮัน 7:1-8, ล.ม.
14 หลังจากประวิงเวลาอยู่ในฆาลิลายชั่วระยะหนึ่ง พระเยซูทรงขึ้นไปยังกรุงยะรูซาเลม “อย่างลับ ๆ ไม่เปิดเผย.” ที่จริง พวกยิวมองหาพระองค์ในเทศกาลนั้น โดยพูดกันว่า “ชายคนนั้นอยู่ที่ไหน?” เมื่อเทศกาลนั้นผ่านไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว พระเยซูทรงเข้าไปในพระวิหารและเริ่มสั่งสอนอย่างกล้าหาญ. พวกเขาพยายามจะจับพระองค์ อาจจะเพื่อขังพระองค์ไว้ในคุกหรือฆ่าพระองค์เสีย. อย่างไรก็ตาม พวกเขาทำไม่สำเร็จเพราะ “ยังไม่ถึงเวลากำหนดของพระองค์.” ตอนนี้ หลายคนเชื่อในพระเยซู. แม้แต่พวกเจ้าหน้าที่ซึ่งพวกฟาริซายส่งไปให้จับพระองค์ก็กลับมามือเปล่าและพูดว่า “ไม่เคยมีผู้ใดพูดเช่นนี้เลย.”—โยฮัน 7:9-14, 30-46, ล.ม.
15. เหตุใดพวกยิวหยิบก้อนหินจะขว้างพระเยซู และหลังจากนั้นพระองค์ทรงริเริ่มการรณรงค์ประกาศเช่นไร?
15 การปะทะกันระหว่างพระเยซูกับชาวยิวผู้ต่อต้านดำเนินต่อไปขณะที่พระองค์ทรงสอนเกี่ยวกับพระบิดา ณ พระโยฮัน 8:12-59) เมื่อมาอยู่นอกกรุงยะรูซาเลม พระเยซูทรงริเริ่มการรณรงค์ให้คำพยานในยูดายอย่างเอาจริงเอาจัง. พระองค์ทรงเลือกสาวก 70 คน และหลังจากสั่งสอนพวกเขาแล้วก็ส่งพวกเขาออกไปเป็นคู่ ๆ ให้ทำงานในเขตมอบหมาย. พวกเขาล่วงหน้าไปทุกบ้านและทุกเมืองที่พระเยซูกับเหล่าอัครสาวกมีแผนการจะไป.—ลูกา 10:1-24.
วิหารในระหว่างเทศกาล. ในวันสุดท้ายของเทศกาล ด้วยความโกรธเคืองในคำตรัสของพระเยซูเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระองค์ก่อนเป็นมนุษย์ พวกยิวหยิบก้อนหินจะขว้างพระองค์. แต่พระองค์ทรงซ่อนตัวและหลบหนีไปโดยไม่ได้รับอันตราย. (16. พระเยซูทรงหลบพ้นอันตรายอะไรในระหว่างเทศกาลฉลองการอุทิศ และพระองค์ทรงมีธุระยุ่งอยู่กับงานอะไรอีกครั้งหนึ่ง?
16 ในฤดูหนาวปี ส.ศ. 32 “เวลา” ของพระเยซูคืบใกล้เข้ามา. พระองค์เสด็จมาที่กรุงยะรูซาเลมเพื่อร่วมเทศกาลฉลองการอุทิศ. พวกยิวยังคงพยายามจะฆ่าพระองค์. ขณะพระเยซูกำลังเดินอยู่ที่บริเวณเสาระเบียงซึ่งเรียงกันเป็นแถวในพระวิหาร พวกเขาเข้ามาล้อมพระองค์ไว้. โดยตั้งข้อหาหมิ่นประมาทต่อพระองค์อีกครั้งหนึ่ง พวกเขาหยิบก้อนหินขึ้นมาหมายจะฆ่าพระองค์เสีย. แต่ก็เหมือนกับครั้งก่อน ๆ พระเยซูทรงหลบหนีไปได้. ไม่ช้า พระองค์ทรงเดินทางเพื่อประกาศสั่งสอน ในครั้งนี้จากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่งในแขวงพีเรีย ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำยาระเดนกับแคว้นยูดาย. มีหลายคนที่เชื่อในพระองค์. แต่ข่าวด่วนที่ทรงได้รับเกี่ยวกับลาซะโร สหายที่รักของพระองค์ ทำให้พระองค์เสด็จกลับไปที่ยูดายอีก.—ลูกา 13:33; โยฮัน 10:20-42.
17. (ก) พระเยซูทรงได้รับข่าวด่วนอะไรขณะประกาศสั่งสอนอยู่ในแขวงพีเรีย? (ข) อะไรแสดงว่าพระเยซูทรงทราบดีถึงจุดประสงค์ของสิ่งที่พระองค์ต้องทำและเวลาที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้น?
17 ข่าวด่วนดังกล่าวมาจากมาธาและมาเรีย พี่สาวของลาซะโร ซึ่งอยู่ที่บ้านเบธาเนียแห่งแคว้นยูดาย. ผู้ส่งข่าวเล่าว่า “พระองค์เจ้าข้า ดูเถอะ! ผู้ที่พระองค์ทรงมีความรักใคร่นั้นกำลังป่วยอยู่.” พระเยซูตรัสตอบว่า “โรคนี้ไม่มุ่งหมายจะให้ตาย แต่เป็นไปเพื่อพระเกียรติของพระเจ้า เพื่อพระบุตรของพระเจ้าจะได้รับเกียรติเพราะโรคนั้น.” เพื่อจะบรรลุจุดมุ่งหมายนี้ พระเยซูทรงจงใจอยู่ที่นั่นต่อไปอีกสองวัน. จากนั้น พระองค์ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “ให้เราเข้าไปยังแคว้นยูเดียอีก.” พวกเขาทูลตอบอย่างไม่เชื่อหูตัวเองว่า “รับบีเจ้าข้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ชาวยูเดียหาโอกาสที่จะเอาก้อนหินขว้างพระองค์ และพระองค์ยังจะเสด็จไปที่นั่นอีกหรือ?” แต่พระเยซูทรงทราบดีว่า “แสงตะวัน” ที่เหลืออยู่หรือเวลาที่พระเจ้าทรงจัดไว้ให้สำหรับงานรับใช้ทางแผ่นดินโลกของพระองค์นั้นเหลืออยู่ไม่มาก. พระองค์ทรงทราบชัดถึงสิ่งที่พระองค์ต้องทำตลอดจนเหตุผลที่ต้องทำ.—โยฮัน 11:1-10, ล.ม.
การอัศจรรย์ที่ไม่มีใครอาจมองข้ามได้
18. เมื่อพระเยซูมาถึงบ้านเบธาเนีย สถานการณ์ที่นั่นเป็นเช่นไร และเกิดเหตุการณ์เช่นไรหลังจากที่พระองค์เสด็จมาถึง?
18 ที่บ้านเบธาเนีย มาธาเป็นคนแรกที่ได้พบกับพระเยซู และเธอกล่าวว่า “พระองค์เจ้าข้า ถ้าพระองค์ได้อยู่ที่นี่น้องชายของข้าพเจ้าคงไม่ตาย.” มาเรียและคนอื่น ๆ ซึ่งได้มาที่บ้านของเธอตามออกมา. ทุกคนร้องไห้. “พวกเจ้าเอาเขาไปไว้ที่ไหน?” พระเยซูตรัสถาม. พวกเขาทูลตอบว่า “พระองค์เจ้าข้า เชิญเสด็จมาดูเถิด.” เมื่อพวกเขามาถึงอุโมงค์รำลึก—ถ้ำซึ่งมีหินก้อนหนึ่งปิดไว้ที่ปากถ้ำ—พระเยซูทรงมีรับสั่งอย่างหนักแน่นว่า “จงเอาหินออกเสีย.” เนื่องจากไม่เข้าใจความมุ่งหมายของพระเยซู มาธาคัดค้านว่า “พระองค์เจ้าข้า ป่านนี้ศพคงมีกลิ่นเหม็น เพราะสี่วันแล้ว.” แต่พระเยซูตรัสถามว่า “เราบอกเจ้าแล้วมิใช่หรือว่า ถ้าเจ้าเชื่อ เจ้าจะเห็นสง่าราศีของพระเจ้า?”—โยฮัน 11:17-40, ล.ม.
19. เหตุใดพระเยซูทรงอธิษฐานต่อหน้าผู้คนก่อนจะปลุกลาซะโรให้เป็นขึ้นจากตาย?
19 เมื่อหินปิดปากทางเข้าอุโมงค์ศพของลาซะโรถูกเลื่อนออกไป พระเยซูทรงอธิษฐานเสียงดังให้ผู้คนทราบถึงสิ่งที่พระองค์กำลังจะทำให้สำเร็จด้วยอำนาจที่ได้รับจากพระเจ้า. จากนั้น พระองค์ทรงเปล่งเสียงดังว่า “ลาซะโรเอ๋ย ออกมาโยฮัน 11:41-44, ล.ม.
เถิด!” ลาซะโรก็ออกมาโดยที่ยังคงมีผ้าพันมือและเท้า และที่หน้าก็มีผ้าพันอยู่. พระเยซูตรัสว่า “จงแก้เขาและให้เขาไปเถิด.—20. คนเหล่านั้นที่เห็นพระเยซูปลุกลาซะโรให้เป็นขึ้นจากตายแสดงปฏิกิริยาอย่างไร?
20 เมื่อได้เห็นการอัศจรรย์นี้ ชาวยิวหลายคนที่ได้มาเพื่อจะปลอบโยนมาธาและมาเรียจึงเชื่อในพระเยซู. คนอื่น ๆ ก็ออกไปบอกให้พวกฟาริซายทราบสิ่งที่เกิดขึ้น. ปฏิกิริยาของพวกเขาเป็นเช่นใด? โดยไม่รอช้า พวกเขากับพวกปุโรหิตใหญ่เรียกประชุมศาลซันเฮดรินเป็นการด่วน. ด้วยความตกใจกลัว พวกเขาร้องครวญว่า “เราจะทำอย่างไรกัน เพราะว่าชายผู้นี้กระทำหมายสำคัญหลายประการ? ถ้าเราปล่อยเขาไว้อย่างนี้ คนทั้งปวงก็จะเชื่อถือเขา แล้วพวกโรมันก็จะมายึดเอาทั้งที่และชาติของเรา.” แต่มหาปุโรหิตกายะฟากล่าวกับพวกเขาว่า “ท่านทั้งหลายไม่รู้จักหาเหตุผลว่า การที่จะให้คนเดียวตายแทนประชาชนและเพื่อไม่ให้คนทั้งชาติต้องพินาศไปย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย.” ด้วยเหตุนั้น นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาเขาทั้งหลายจึงคิดอ่านจะฆ่าพระเยซูเสีย.—โยฮัน 11:45-53, ล.ม.
21. การอัศจรรย์ในการปลุกลาซะโรให้เป็นขึ้นจากตายเป็นการเกริ่นนำสำหรับอะไร?
21 ดังนั้น ด้วยการประวิงเวลาไว้ให้มาถึงบ้านเบธาเนียช้าลง พระเยซูทรงสามารถทำการอัศจรรย์ที่ไม่มีใครอาจมองข้ามได้. โดยได้รับอำนาจจากพระเจ้า พระเยซูทรงปลุกชายคนหนึ่งที่ตายไปแล้วสี่วันให้กลับมีชีวิตอีก. แม้แต่ศาลซันเฮดรินที่ทรงเกียรติก็ถูกบีบให้ใส่ใจและออกคำพิพากษาประหารชีวิตผู้ทำการอัศจรรย์นี้! ด้วยเหตุนั้น การอัศจรรย์นี้จึงเป็นการเกริ่นนำสำหรับจุดเปลี่ยนสำคัญในงานรับใช้ของพระเยซู—คือเปลี่ยนจากช่วงเวลาที่ “ยังไม่ถึงเวลากำหนดของพระองค์” มาเป็นช่วงเวลาที่ “เวลา . . . ก็มาถึงแล้ว.”
คุณจะตอบอย่างไร?
• พระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์ทรงตระหนักดีเกี่ยวกับงานที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้พระองค์ทำ?
• เหตุใดพระเยซูทรงคัดค้านคำเสนอแนะของมารดาพระองค์ในเรื่องเหล้าองุ่น?
• เราอาจเรียนอะไรได้จากวิธีที่พระเยซูมักจะใช้เพื่อรับมือผู้ต่อต้าน?
• เหตุใดพระเยซูทรงประวิงเวลาเอาไว้เมื่อทราบข่าวการป่วยของลาซะโร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
พระเยซูทรงทุ่มเทพลังในการทำหน้าที่รับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบหมายแก่พระองค์