หลักศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลดีที่สุดไหม?
หลักศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลดีที่สุดไหม?
“สังคมจำเป็นต้องมีโครงสร้างของค่านิยมพื้นฐานที่ให้ความปลอดภัยและการชี้นำแก่สมาชิกของสังคมนั้น.” นักเขียนและโฆษกสถานีโทรทัศน์ชาวเยอรมันผู้มีประสบการณ์คนหนึ่งได้แสดงความเห็นดังกล่าว. นั่นฟังดูมีเหตุผลอย่างแน่นอน. เพื่อที่สังคมมนุษย์จะมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง ผู้คนต้องมีหลักพื้นฐานของมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปซึ่งระบุว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรไม่ดี. ปัญหาคือว่า มาตรฐานอะไรดีที่สุด ทั้งสำหรับสังคมและสมาชิกของสังคมนั้น?
หากค่านิยมด้านศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลเป็นมาตรฐานที่มีการนำมาใช้แล้ว ค่านิยมเหล่านั้นน่าจะช่วยคนเราเป็นรายบุคคลให้ดำเนินชีวิตที่มั่นคงและมีความสุข. ในขอบเขตที่กว้างออกไปอีก ค่านิยมเหล่านั้นน่าจะทำให้สังคมของผู้คนซึ่งปฏิบัติตามค่านิยมเหล่านั้นมีความสุขมากขึ้นและมั่นคงยิ่งขึ้น. เป็นเช่นนั้นไหม? ขอให้เราพิจารณาสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลได้กล่าวไว้ในประเด็นที่สำคัญสองประการ: ความซื่อสัตย์ในชีวิตสมรสและความซื่อสัตย์ในชีวิตประจำวัน.
ยึดมั่นอยู่กับคู่ชีวิตของคุณ
พระผู้สร้างของเราได้ทรงสร้างอาดาม ครั้นแล้วก็สร้างฮาวาเป็นคู่ของเขา. การมาอยู่ร่วมกันของเขาทั้งสองเป็นการสมรสครั้งแรกในประวัติศาสตร์และควรเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน. พระเจ้าตรัสว่า “ผู้ชายจึงจะละบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา.” ประมาณ 4,000 ปีต่อมา พระเยเนซิศ 1:27, 28; 2:24; มัดธาย 5:27-30; 19:5.
เยซูคริสต์ได้ตรัสซ้ำมาตรฐานการสมรสนี้สำหรับเหล่าสาวกของพระองค์ทั้งสิ้น. นอกจากนี้ พระองค์ตรัสว่าเพศสัมพันธ์นอกสายสมรสนั้นผิด.—ตามที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวนั้น ปัจจัยสำคัญสองประการที่นำไปสู่ชีวิตสมรสที่มีความสุขคือความรักและความนับถือกันของทั้งสองฝ่าย. สามีซึ่งเป็นประมุขของครอบครัว ควรแสดงความรักอย่างไม่เห็นแก่ตัวโดยแสวงหาผลประโยชน์อันดีที่สุดของภรรยา. เขาต้องอยู่กินกับเธอ “โดยใช้ความรู้” และไม่ควร “พูดคำขมขื่น” กับเธอ. ภรรยาต้องปฏิบัติกับสามีด้วย “ความนับถืออย่างสุดซึ้ง.” หากคู่สมรสปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้แล้ว ก็สามารถหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะความยุ่งยากส่วนใหญ่ในชีวิตสมรสได้. สามีจะต้องการอยู่กับภรรยาต่อ ๆ ไป และภรรยาก็ต้องการอยู่กับสามีต่อ ๆ ไป.—1 เปโตร 3:1-7; โกโลซาย 3:18, 19; เอเฟโซ 5:22-33, ล.ม.
มาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการอยู่กับคู่สมรสของตนต่อ ๆ ไปอย่างซื่อสัตย์เอื้ออำนวยต่อชีวิตสมรสที่มีความสุขไหม? ขอพิจารณาผลจากการสำรวจที่ทำในเยอรมนีก็แล้วกัน. มีการถามผู้คนว่าปัจจัยไหนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตสมรสที่เป็นสุข. ปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงคือ ความซื่อสัตย์ต่อกันและกัน. คุณคงจะเห็นด้วยมิใช่หรือว่า คนที่สมรสแล้วมีความสุขมากกว่าเมื่อเขารู้ว่าคู่ของตนเป็นคนซื่อสัตย์?
จะว่าอย่างไรถ้าเกิดปัญหาขึ้น?
แต่จะว่าอย่างไรหากสามีกับภรรยามีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง? จะว่าอย่างไรถ้าความรักของเขาทั้งสองจืดจางลง? ภายใต้สภาพการณ์เช่นนั้น ดีที่สุดมิใช่หรือที่จะทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดลง? หรือว่ามาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการอยู่กับคู่สมรสต่อ ๆ ไปอย่างซื่อสัตย์ยังคงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลพึงปฏิบัติอยู่?
ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลยอมรับว่าคู่สมรสทุกคู่จะมีปัญหาอันเป็นผลมาจากการเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์. (1 โกรินโธ 7:28) กระนั้นก็ตาม คู่สมรสซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานด้านศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลพยายามจะให้อภัยกันและหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยกัน. แน่นอน มีสภาพการณ์ต่าง ๆ—เช่น การเล่นชู้หรือการทำร้ายร่างกาย—ที่คริสเตียนอาจพิจารณาอย่างเหมาะสมถึงการแยกกันอยู่หรือการหย่า. (มัดธาย 5:32; 19:9) แต่การทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดลงอย่างหุนหันโดยไม่มีเหตุผลอันควรจริง ๆ หรือเพื่อจะมีคู่ใหม่นั้นเผยให้เห็นการไม่คำนึงถึงคนอื่นอย่างเห็นแก่ตัว. การทำเช่นนั้นมิได้นำความมั่นคงหรือความสุขมาสู่ชีวิตของคนเราอย่างแน่นอน. ขอให้เรายกตัวอย่างรายหนึ่ง.
ปีเตอร์รู้สึกว่าชีวิตสมรสของเขาไม่มีชีวิตชีวาเหมือนก่อน. * ดังนั้น เขาจึงทิ้งภรรยาแล้วย้ายเข้าไปอยู่กับโมนิกาซึ่งได้ทิ้งสามีของเธอเช่นกัน. เหตุการณ์เป็นไปอย่างไร? ภายในไม่กี่เดือน ปีเตอร์ยอมรับว่า การอยู่กินกับโมนิกา “ไม่ง่ายอย่างที่ผมนึกเลย.” ทำไมเป็นเช่นนั้น? ข้อบกพร่องของมนุษย์ปรากฏชัดในความสัมพันธ์ใหม่ของเขาเช่นเดียวกับที่มีอยู่ในความสัมพันธ์เก่า. ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น การที่เขาตัดสินใจอย่างหุนหันและเห็นแก่ตัวทำให้เขาตกเข้าสู่ปัญหาร้ายแรงด้านการเงิน. นอกจากนี้ ความรู้สึกของลูก ๆ ของโมนิกาถูกทำลายย่อยยับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในชีวิตครอบครัวของพวกเขา.
ดังที่ประสบการณ์นี้แสดงให้เห็น เมื่อชีวิตสมรสเผชิญมรสุม การสละนาวาแห่งชีวิตคู่ไปมักไม่ใช่การแก้ปัญหา. ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อเผชิญกับพายุแห่งความยุ่งยาก การดำเนินชีวิตตามค่านิยมด้านศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า บ่อยครั้งสามารถทำให้นาวาชีวิตคู่ลอยอยู่ต่อไป และนำไปสู่น่านน้ำที่คลื่นลมสงบกว่า. เป็นเช่นนี้กับโทมัสและโดริส.
หลังจากโทมัสกับโดริสแต่งงานกันมา 30 กว่าปี โทมัสเริ่มดื่มจัด. โดริสจมอยู่ในความซึมเศร้า และเขาทั้งสองถกกันเรื่องการหย่า. โดริสได้เผยความในใจกับพยานพระยะโฮวาคนหนึ่ง. พยานฯ ได้ชี้ให้โดริสดูสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับชีวิตสมรส สนับสนุนเธอไม่ให้ด่วนแยกกันอยู่ แต่ให้ปรึกษากับสามีก่อนเพื่อพยายามหาทางแก้ปัญหา. โดริสได้ทำเช่นนั้น. ภายในไม่กี่เดือน ไม่มีการคิดถึงการหย่าอีกต่อไป. โทมัสและโดริสพยายามแก้ปัญหาด้วยกัน. การปฏิบัติตามคำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลทำให้ชีวิตสมรสมั่นคงขึ้นและให้โอกาสเขาทั้งสองในการแก้ปัญหาด้วยกัน.
ความซื่อสัตย์ในทุกสิ่ง
การอยู่กับคู่สมรสต่อ ๆ ไปอย่างซื่อสัตย์เรียกร้องความเข้มแข็งด้านศีลธรรมและความรักต่อหลักการที่ถูกต้อง. จำเป็นต้องมีคุณลักษณะอย่างเดียวกันนี้เพื่อจะคงซื่อสัตย์อยู่ต่อไปในโลกที่ไม่ซื่อสัตย์. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้มากมายเกี่ยวกับความซื่อสัตย์. อัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในศตวรรษแรกที่อยู่ในมณฑลยูดายว่า “เราปรารถนาจะประพฤติตัวซื่อสัตย์ในทุกสิ่ง.” (เฮ็บราย 13:18, ล.ม.) นั่นหมายความอย่างไร?
บุคคลที่ซื่อสัตย์เป็นคนพูดความจริงและปราศจากการฉ้อฉล. เขาเป็นคนซื่อตรงในการปฏิบัติกับคนอื่น—เป็นคนตรงไปตรงมา, น่านับถือ, ไม่หลอกลวงหรือทำให้หลงผิด. นอกจากนั้น บุคคลที่ซื่อสัตย์เป็นคนที่มีคุณธรรมไม่ฉ้อโกงเพื่อนมนุษย์. คนที่ซื่อสัตย์ส่งเสริมบรรยากาศของความไว้วางใจและความมั่นใจ ซึ่งนำไปสู่เจตคติที่ดีงามและส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น.
ผู้คนที่ซื่อสัตย์มีความสุขไหม? พวกเขามีเหตุผลที่จะมีความสุข. ทั้ง ๆ ที่การทุจริตและการฉ้อโกงมีอยู่แพร่หลาย—หรือบางทีเนื่องจากสภาพเช่นนั้น—โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่ซื่อสัตย์ได้รับความนิยมชมชอบจากคนอื่น. จากการสำรวจในท่ามกลางคนหนุ่มสาว ความซื่อสัตย์เป็นคุณความดีซึ่งได้รับการประเมินค่าอย่างสูงส่งจาก 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบคำถาม. นอกจากนี้ ไม่ว่าเราอยู่ในวัยใดก็ตาม ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในคนเหล่านั้นที่เราถือว่าเป็นเพื่อน.
คริสตินถูกสอนให้ขโมยตั้งแต่ตอนอายุ 12 ขวบ. ตลอดหลายปีเธอกลายเป็นนักล้วงกระเป๋าที่ช่ำชอง. เธอกล่าวว่า “มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดิฉันนำเงินสดถึง 5,000 มาร์ก (95,000 บาท) กลับมาบ้าน.” แต่คริสตินถูกจับกุมหลายครั้ง และเธอมีชีวิตอยู่ด้วยการเสี่ยงต่อการถูกส่งตัวเข้าคุกได้ทุกเมื่อ. เมื่อพยานพระยะโฮวาอธิบายสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ให้เธอฟัง มาตรฐานด้านศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลดึงดูดใจคริสติน. เธอเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังคำตักเตือนที่ว่า “ฝ่ายคนที่เคยลักขโมยก็อย่าให้ลักขโมยอีกต่อไป.”—เอเฟโซ 4:28.
เมื่อคริสตินได้รับบัพติสมาเป็นพยานพระยะโฮวาแล้ว เธอก็ไม่ได้เป็นขโมยอีกต่อไป. เธอพยายามจะเป็นคนซื่อสัตย์ในทุกสิ่ง เนื่องจากพวกพยานฯ เน้นหนักเรื่องความซื่อสัตย์และคุณสมบัติอื่น ๆ ของคริสเตียน. หนังสือพิมพ์เลาซิทเซอร์ รุนด์เชา รายงานว่า “ข้อเรียกร้องทางด้านศีลธรรมดังกล่าว เช่น ความซื่อสัตย์, การรู้จักประมาณตน, และความรักต่อเพื่อนบ้านถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในความเชื่อของพวกพยานฯ.” คริสตินรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเธอ? “ตอนนี้ดิฉันมีความสุขมากขึ้นที่ได้เลิกขโมย. ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นสมาชิกที่น่านับถือของสังคม.”
สังคมทั้งสิ้นได้รับประโยชน์
ผู้คนที่ซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสและเป็นคนซื่อตรง ไม่เพียงแต่จะทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั่วไปด้วย. นายจ้างชอบคนงานที่ไม่ฉ้อโกงมากกว่า. เราทุกคนอยากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ และเราชอบไปซื้อของในร้านที่ดำเนินการโดยพ่อค้าที่ซื่อตรง. เรานับถือนักการเมือง, ตำรวจ, และผู้พิพากษาซึ่งหลบเลี่ยงการทุจริตมิใช่หรือ? ชุมชนได้รับประโยชน์อย่างมากมายเมื่อสมาชิกของชุมชนนั้นประพฤติอย่างซื่อสัตย์เนื่องด้วยหลักการ ไม่ใช่เพียงแต่เพราะพวกเขาได้รับผลประโยชน์บางอย่างในการทำเช่นนั้น.
นอกจากนี้ คู่สมรสที่ซื่อสัตย์เป็นรากฐานของครอบครัวที่มั่นคง. และคนส่วนใหญ่คงจะเห็นพ้องกับนักการเมืองชาวยุโรปคนหนึ่งซึ่งได้ประกาศว่า “ครอบครัว [ตามแบบแผนที่สืบทอดมา] ยังคงเป็นที่พำนักสำคัญที่สุดซึ่งมีความปลอดภัยและมีความหมายสำหรับมนุษย์จนกระทั่งทุกวันนี้.” หน่วยครอบครัวที่สงบสุขเป็นแหล่งที่ผู้ใหญ่และเด็กมีโอกาสดีที่สุดที่จะรู้สึกปลอดภัยทางด้านอารมณ์. ด้วยเหตุนี้ คนเหล่านั้นที่ซื่อสัตย์ในชีวิตสมรสจึงช่วยสร้างสังคมที่มั่นคง.
คิดดูซิว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์สักเพียงไรถ้าไม่มีคู่สมรสที่ถูกทอดทิ้ง, ไม่มีศาลที่ตัดสินการหย่า, หรือการฟ้องร้องเพื่อได้อำนาจเลี้ยงดูเด็ก. และจะว่าอย่างไรหากไม่มีนักล้วงกระเป๋า, คนขโมยของตามร้าน, คนโกง, ข้าราชการที่ทุจริต, หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ฉ้อฉล? นั่นฟังดูเหมือนเป็นแค่ความฝันไหม? สำหรับคนเหล่านั้นที่มีความสนใจแรงกล้าในคัมภีร์ไบเบิลและสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวเกี่ยวกับอนาคตของเราแล้ว นี่ไม่ใช่ความฝัน. พระคำของพระเจ้าสัญญาว่าราชอาณาจักรมาซีฮาของพระยะโฮวาจะเข้ามาแทนการปกครองของสังคมบทเพลงสรรเสริญ 37:29.
มนุษย์ทั้งสิ้นบนแผ่นดินโลกในไม่ช้า. ภายใต้ราชอาณาจักรนั้น ประชากรทั้งสิ้นจะได้รับการสอนให้ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับหลักศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิล. เมื่อถึงตอนนั้น “คนสัตย์ธรรมจะได้แผ่นดินเป็นมฤดก, และจะอาศัยอยู่ที่นั่นต่อไปเป็นนิตย์.”—หลักศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลดีที่สุด
ผู้คนนับล้านซึ่งได้พิจารณาพระคัมภีร์บริสุทธิ์อย่างถี่ถ้วนได้มาหยั่งรู้เข้าใจว่าคำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลอาศัยสติปัญญาของพระเจ้า ซึ่งเหนือกว่าความคิดของมนุษย์มากนัก. คนเช่นนั้นถือว่าคัมภีร์ไบเบิลควรแก่การไว้วางใจและเหมาะกับชีวิตในโลกปัจจุบันของเรา. พวกเขาทราบว่าการเอาใจใส่ฟังคำแนะนำในพระคำของพระเจ้าเป็นผลประโยชน์อันดีที่สุดของเขา.
ฉะนั้น บุคคลเช่นนั้นเอาใจใส่คำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง: จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง.” (สุภาษิต 3:5, 6) โดยทำเช่นนั้น พวกเขาทำให้ชีวิตของตนเองดีขึ้นอย่างมากมาย และพวกเขายังอำนวยประโยชน์แก่คนเหล่านั้นที่อยู่รอบข้างเขาด้วย. และพวกเขาพัฒนาความมั่นใจที่ไม่สั่นคลอนใน “ชีวิตอนาคต” คราวที่มวลมนุษยชาติทั้งสิ้นจะปฏิบัติตามหลักศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิล.—1 ติโมเธียว 4:8, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 11 ชื่อต่าง ๆ ในบทความนี้เป็นนามสมมุติ.
[คำโปรยหน้า 5]
เมื่อเผชิญกับพายุแห่งชีวิตสมรส การดำเนินชีวิตตามมาตรฐานในคัมภีร์ไบเบิลบ่อยครั้งสามารถทำให้นาวาชีวิตคู่ลอยอยู่ต่อไป และนำไปสู่น่านน้ำที่คลื่นลมสงบกว่า
[คำโปรยหน้า 6]
ทั้ง ๆ ที่การทุจริตมีอยู่แพร่หลาย—หรือบางทีเนื่องจากสภาพเช่นนั้น—โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่ซื่อสัตย์ได้รับความนิยมชมชอบจากคนอื่น