คริสเตียนประสบความสุขในงานรับใช้
คริสเตียนประสบความสุขในงานรับใช้
“การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.”—กิจการ 20:35, ล.ม.
1. เจตคติผิด ๆ อะไรแพร่หลายในทุกวันนี้ และเหตุใดเจตคติแบบนี้ก่อผลเสีย?
ในระหว่างทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 “ฉันก่อน” เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อย ๆ. ที่จริง คำว่า “ฉันก่อน” หรือ “ทัศนะที่ว่าฉันต้องมาก่อน” แสดงถึงเจตคติแบบที่รวมเอาความเห็นแก่ตัวและความละโมบเข้ากับการขาดความคำนึงถึงผู้อื่น. เราแน่ใจได้เลยว่าในปี 2000 นี้ ทัศนะแบบนี้จะยังไม่สูญหายไปไหน. บ่อยเพียงไรที่คุณได้ยินคำถามที่ว่า “เรื่องนี้ให้ประโยชน์อะไรแก่ฉัน?” หรือ “ฉันจะได้อะไรจากเรื่องนี้?” เจตคติแบบเห็นแก่ตัวเช่นนี้ไม่ทำให้มีความสุข. เจตคติดังกล่าวตรงข้ามกันเลยกับหลักการซึ่งพระเยซูได้ตรัสไว้ ที่ว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.”—กิจการ 20:35, ล.ม.
2. จะเห็นได้อย่างไรว่าการให้ทำให้มีความสุข?
2 จริงหรือที่ว่าการให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ? เป็นอย่างนั้นจริง ๆ. ขอให้คิดถึงพระยะโฮวาพระเจ้า. “บ่อเกิดแห่งชีวิต” อยู่กับพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 36:9, ล.ม.) พระองค์ทรงจัดเตรียมทุกสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีเพื่อทำให้เรามีความสุขและเกิดผล. ที่จริง พระองค์ทรงเป็นแหล่งแห่ง “ของประทานอันดีทุกอย่าง และของประทานอันสมบูรณ์ทุกอย่าง.” (ยาโกโบ 1:17, ล.ม.) พระยะโฮวา “พระเจ้าผู้มีความสุข” ทรงเป็นผู้ให้เสมอมา. (1 ติโมเธียว 1:11, ล.ม.) พระองค์ทรงรักมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งทรงสร้างของพระองค์ และพระองค์ประทานแก่มนุษย์มากมายหลายสิ่ง. (โยฮัน 3:16) ขอให้คิดถึงครอบครัวมนุษย์เช่นกัน. หากคุณเป็นบิดาหรือมารดา คุณทราบดีว่าต้องเสียสละมากเพียงใด ให้มากขนาดไหน ในการเลี้ยงดูบุตรคนหนึ่ง. และเป็นเวลาหลายปีที่บุตรไม่สำนึกถึงการเสียสละที่คุณทำ. เขาถือว่าทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องธรรมดา. ถึงกระนั้น คุณมีความสุขเมื่อเห็นบุตรเติบโตขึ้นอันเป็นผลมาจากการให้อย่างไม่เห็นแก่ตัวของคุณ. เพราะเหตุใด? เพราะคุณรักเขา.
3. เหตุใดจึงเป็นความยินดีที่จะรับใช้พระยะโฮวาและเพื่อนร่วมความเชื่อของเรา?
3 ในทำนองเดียวกัน การนมัสการแท้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การให้อันเนื่องมาจากความรัก. เนื่องจากเรารักพระยะโฮวาและเพื่อนร่วมความเชื่อ เราจึงยินดีรับใช้และให้ตัวเราเองแก่พระเจ้าและพี่น้อง. (มัดธาย 22:37-39) ผู้ที่นมัสการด้วยแรงกระตุ้นที่เห็นแก่ตัวจะประสบความยินดีน้อยมาก. แต่ผู้ที่รับใช้อย่างไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งสนใจในสิ่งที่เขาสามารถให้ได้มากกว่าจะสนใจในสิ่งที่เขาหวังจะได้รับ ย่อมมีความสุขจริง ๆ. ความจริงข้อนี้จะสังเกตเห็นได้จากการพิจารณาวิธีที่มีการใช้คำบางคำในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเกี่ยวข้องกับการนมัสการของเรา. เราจะพิจารณาสามคำในบทความนี้และบทความถัดไป.
การรับใช้สาธารณชนของพระเยซู
4. “การรับใช้สาธารณชน” ในคริสต์ศาสนจักรมีลักษณะเช่นไร?
4 ในภาษากรีกดั้งเดิม คำสำคัญคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการก็คือลิตูร์เยีย ซึ่งฉบับแปลโลกใหม่ แปลคำนี้ว่า “การรับใช้สาธารณชน.” ในคริสต์ศาสนจักร ลิตูร์เยีย ได้ทำให้เกิดคำ “ลิเทอร์จี” (พิธีสวด). * อย่างไรก็ตาม พิธีสวดของคริสต์ศาสนจักรไม่ใช่การรับใช้สาธารณชนซึ่งเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง.
5, 6. (ก) มีการรับใช้สาธารณชนเช่นไรในยิศราเอล และการรับใช้นั้นเป็นประโยชน์อย่างไร? (ข) อะไรคือการรับใช้สาธารณชนที่ยิ่งใหญ่กว่ามากซึ่งได้เข้ามาแทนที่การรับใช้สาธารณชนที่กระทำในชาติยิศราเอล และเพราะเหตุใด?
เฮ็บราย 10:11, ล.ม.) ปุโรหิตชาวเลวีรับใช้สาธารณชนในยิศราเอลอันเป็นการรับใช้ที่มีค่ายิ่ง. พวกเขาสอนพระบัญญัติของพระเจ้าและถวายเครื่องบูชาซึ่งปิดคลุมบาปของประชาชน. (2 โครนิกา 15:3; มาลาคี 2:7) เมื่อปุโรหิตและประชาชนปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระยะโฮวา ชาตินี้ก็มีเหตุผลที่จะยินดี.—พระบัญญัติ 16:15.
5 อัครสาวกเปาโลใช้คำกรีกซึ่งเกี่ยวโยงกับคำลิตูร์เยีย เพื่อกล่าวพาดพิงถึงพวกปุโรหิตของยิศราเอล. ท่านกล่าวว่า “ปุโรหิตทุกคนเข้าประจำหน้าที่ของตนวันแล้ววันเล่าเพื่อรับใช้สาธารณชน [รูปหนึ่งของคำลิตูร์เยีย] และเพื่อถวายเครื่องบูชาอย่างเดียวกันบ่อย ๆ.” (6 การรับใช้สาธารณชนภายใต้พระบัญญัติเป็นสิทธิพิเศษอย่างแท้จริงสำหรับปุโรหิตชาวยิศราเอล แต่การรับใช้ของพวกเขาไม่มีคุณค่าอีกต่อไปเมื่อชาติยิศราเอลถูกปฏิเสธเนื่องด้วยความไม่ซื่อสัตย์. (มัดธาย 21:43) พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่ามาก—การรับใช้สาธารณชนซึ่งกระทำโดยพระเยซู มหาปุโรหิตองค์ยิ่งใหญ่. เกี่ยวกับพระองค์ เราอ่านดังนี้: “พระองค์ เนื่องด้วยทรงพระชนม์อยู่ตลอดกาลจึงทรงดำรงตำแหน่งปุโรหิตของพระองค์โดยไม่มีผู้สืบทอดใด ๆ. ฉะนั้น พระองค์จึงทรงสามารถช่วยคนที่เข้าเฝ้าพระเจ้าโดยทางพระองค์ให้รอดได้อย่างครบถ้วนด้วย เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เสมอเพื่อวิงวอนแทนพวกเขา.”—เฮ็บราย 7:24, 25, ล.ม.
7. เหตุใดการรับใช้สาธารณชนของพระเยซูนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้?
7 พระเยซูทรงเป็นปุโรหิตตลอดไปโดยไม่ต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่ง. ด้วยเหตุนั้น พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นที่ช่วยประชาชนให้รอดได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์. พระองค์ทรงทำการรับใช้สาธารณชนซึ่งไม่มีงานใดจะเทียบได้ ไม่ใช่ในพระวิหารที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ในสิ่งที่พระวิหารเป็นภาพเล็งถึง คือการจัดเตรียมอันยิ่งใหญ่ของพระยะโฮวาเพื่อการนมัสการซึ่งเริ่มดำเนินงานในปีสากลศักราช 29. บัดนี้ พระเยซูทรงรับใช้ในห้องบริสุทธิ์ที่สุดของพระวิหารนั้น คือในสวรรค์. พระองค์ทรงเป็น “ผู้รับใช้สาธารณชน [ลิตูร์กอส] แห่งสถานบริสุทธิ์และพลับพลาแท้ ซึ่งพระยะโฮวาทรงตั้งขึ้น และไม่ใช่มนุษย์.” (เฮ็บราย 8:2; 9:11, 12, ล.ม.) แม้ว่าพระเยซูทรงดำรงตำแหน่งอันสูงส่ง พระองค์ก็ยังทรงเป็น “ผู้รับใช้สาธารณชน.” พระองค์ทรงใช้อำนาจหน้าที่อันสูงส่งของพระองค์เพื่อให้ ไม่ใช่เพื่อรับ. และการให้เช่นนั้นทำให้พระองค์ทรงยินดี. นั่นเป็นส่วนหนึ่งของ “ความยินดีที่มีอยู่ตรงหน้า” พระองค์ และเสริมกำลังพระองค์ให้อดทนตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ทรงอยู่บนแผ่นดินโลก.—เฮ็บราย 12:2.
8. พระเยซูทรงทำการรับใช้สาธารณชนอย่างไรเพื่อมีสิ่งที่มาแทนที่สัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติ?
8 ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งในการรับใช้ของพระเยซูเพื่อสาธารณชน. เปาโลเขียนว่า “พระเยซูทรงได้รับงานรับใช้สาธารณชนซึ่งเป็นงานรับใช้ที่ประเสริฐกว่า เพื่อว่าพระองค์จะทรงเป็นผู้กลางแห่งสัญญาไมตรีที่ประเสริฐกว่าเช่นกันด้วย ซึ่งถูกตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยคำสัญญาที่ดีกว่า.” (เฮ็บราย 8:6, ล.ม.) โมเซเป็นผู้กลางในสัญญาไมตรีซึ่งเป็นรากฐานของสัมพันธภาพระหว่างยิศราเอลกับพระยะโฮวา. (เอ็กโซโด 19:4, 5) พระเยซูทรงเป็นผู้กลางในสัญญาไมตรีใหม่ซึ่งทำให้เกิดชาติใหม่ขึ้นมาชาติหนึ่ง คือ “ชาติยิศราเอลของพระเจ้า” ซึ่งประกอบด้วยคริสเตียนที่ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณจากหลายชาติ. (ฆะลาเตีย 6:16, ล.ม.; เฮ็บราย 8:8, 13; วิวรณ์ 5:9, 10) ช่างเป็นการรับใช้สาธารณชนอันเยี่ยมยอดอะไรเช่นนี้! เรามีความสุขสักเพียงไรที่ได้มารู้จักคุ้นเคยกับพระเยซู ผู้รับใช้สาธารณชนซึ่งเราสามารถถวายการนมัสการที่พระยะโฮวาทรงยอมรับได้โดยทางพระองค์!—โยฮัน 14:6.
คริสเตียนก็ถวายการรับใช้สาธารณชนด้วย
9, 10. มีการรับใช้สาธารณชนอะไรบ้างซึ่งทำโดยคริสเตียน?
9 ไม่มีมนุษย์คนใดรับใช้สาธารณชนอย่างสูงส่งเทียบเท่ากับพระเยซู. อย่างไรก็ตาม เมื่อคริสเตียนผู้ถูกเจิมได้รับรางวัลฝ่ายสวรรค์ พวกเขารับเอาตำแหน่งที่เคียงบ่าเคียงไหล่ด้วยกันกับพระเยซูและร่วมในการรับใช้สาธารณชนกับพระองค์ในฐานะกษัตริย์และปุโรหิตฝ่ายสวรรค์. (วิวรณ์ 20:6; 22:1-5) ทว่า คริสเตียนที่อยู่บนแผ่นดินโลกก็รับใช้สาธารณชนด้วยเช่นกัน และพวกเขาประสบความยินดีอย่างยิ่งในการรับใช้นี้. ยกตัวอย่าง เมื่อมีการขาดแคลนอาหารในปาเลสไตน์ อัครสาวกเปาโลดำเนินการในการรับบริจาคจากพี่น้องในยุโรปเพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่คริสเตียนชาวยิวในยูเดีย. นั่นเป็นการรับใช้สาธารณชนอย่างหนึ่ง. (โรม 15:27; 2 โกรินโธ 9:12) ในปัจจุบัน คริสเตียนมีความสุขที่ได้รับใช้คล้าย ๆ กัน โดยให้ความช่วยเหลือทันทีเมื่อพี่น้องประสบความทุกข์ยาก, ภัยธรรมชาติ, หรือภัยพิบัติอื่น ๆ.—สุภาษิต 14:21.
ฟิลิปปอย 2:17, ล.ม.) งานหนักของเปาโลเพื่อชาวฟิลิปปอยเป็นการรับใช้สาธารณชนซึ่งได้ทำด้วยความรักและความขยันขันแข็ง. ปัจจุบัน มีการรับใช้สาธารณชนคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยคริสเตียนผู้ถูกเจิมซึ่งรับใช้ในฐานะ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” จ่ายแจกอาหารฝ่ายวิญญาณตามเวลาที่สมควร. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) นอกจากนั้น ผู้ถูกเจิมเหล่านี้ทั้งกลุ่มเป็น “คณะปุโรหิตบริสุทธิ์” ซึ่งได้รับมอบหมายให้ “ถวายเครื่องบูชาฝ่ายวิญญาณอันเป็นที่พระเจ้ารับรองเอาได้โดยพระเยซูคริสต์” และ “ประกาศเผยแพร่คุณความดีอันล้ำเลิศของพระองค์ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลายออกจากความมืดเข้าสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์.” (1 เปโตร 2:5, 9, ล.ม.) เช่นเดียวกับเปาโล พวกเขายินดีในสิทธิพิเศษเช่นนั้น แม้ในขณะที่พวกเขา ‘ทุ่มเทตัวเอง’ ในการทำหน้าที่รับผิดชอบของตนให้สำเร็จ. และสหายของพวกเขาซึ่งเป็น “แกะอื่น” ก็เข้าร่วมด้วยและสนับสนุนพวกเขาในงานบอกข่าวสารเกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระประสงค์ของพระองค์แก่มนุษยชาติ. * (โยฮัน 10:16; มัดธาย 24:14) ช่างเป็นการรับใช้สาธารณชนอันยิ่งใหญ่และน่ายินดีสักเพียงไร!—บทเพลงสรรเสริญ 107:21, 22.
10 เปาโลกล่าวถึงการรับใช้สาธารณชนอีกอย่างหนึ่งเมื่อท่านเขียนว่า “แม้ว่าข้าพเจ้าถูกเทออกเหมือนเครื่องบูชาดื่มบนเครื่องบูชาและการรับใช้สาธารณชนซึ่งความเชื่อชักนำท่านทั้งหลายให้มีส่วน ข้าพเจ้าก็ดีใจและข้าพเจ้าชื่นชมยินดีร่วมกับท่านทั้งหลายทุกคน.” (ถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์
11. ผู้พยากรณ์หญิงอันนาเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างไรสำหรับคริสเตียนทุกคน?
11 คำกรีกอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการของเราคือ เลเตรีย ซึ่งฉบับแปลโลกใหม่ แปลไว้ว่า “การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์.” การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับการนมัสการ. เพื่อเป็นตัวอย่าง มีการพรรณนาถึงอันนาหญิงม่ายชราวัย 84 ปีซึ่งเป็นผู้พยากรณ์หญิงว่า เธอ “ไม่เคยหายหน้าไปจากพระวิหารเลย ถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ [คำกรีกซึ่งเกี่ยวโยงกับเลเตรีย] อยู่ทั้งกลางวันกลางคืนด้วยการอดอาหารและทูลวิงวอน.” (ลูกา 2:36, 37, ล.ม.) อันนานมัสการพระยะโฮวาอย่างสม่ำเสมอ. เธอเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเราทุกคน ทั้งคนหนุ่มและผู้สูงอายุ ชายและหญิง. เช่นเดียวกับที่อันนาอธิษฐานถึงพระยะโฮวาอย่างกระตือรือร้นและนมัสการพระองค์เป็นประจำ ณ พระวิหาร การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเราหมายรวมถึงการอธิษฐานและการเข้าร่วมประชุม.—โรม 12:12; เฮ็บราย 10:24, 25.
12. ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเราคืออะไร และนี่เป็นการรับใช้สาธารณชนด้วยอย่างไร?
12 อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเราเมื่อท่านเขียนว่า “ด้วยว่าพระเจ้าซึ่งข้าพเจ้าปฏิบัติ [“ถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์,” ล.ม.] ด้วยวิญญาณจิตต์ของข้าพเจ้าในกิตติคุณแห่งพระบุตรของพระองค์นั้นก็เป็นพยานฝ่ายข้าพเจ้าว่า เมื่อข้าพเจ้าอธิษฐานข้าพเจ้าระลึกถึงท่านทั้งหลายเสมอไม่เว้น.” (โรม 1:9) ใช่แล้ว การประกาศข่าวดีไม่ได้เป็นเพียงการรับใช้สาธารณชนเพื่อคนที่ฟังข่าวดีเท่านั้น แต่ยังเป็นการนมัสการพระยะโฮวาพระเจ้าด้วย. ไม่ว่าเราพบกับการตอบรับที่ดีหรือไม่ งานประกาศเป็นการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ที่ถวายแด่พระยะโฮวา. ความพยายามของเราในการบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีและพระประสงค์ที่เอื้อประโยชน์ของพระบิดาฝ่ายสวรรค์ผู้เป็นที่รักของเรานั้นนำความยินดีมากมายมาให้เราแน่นอน.—บทเพลงสรรเสริญ 71:23.
เราถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน?
13. ผู้ที่ถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ที่ลานพระวิหารชั้นในของพระวิหารฝ่ายวิญญาณของพระยะโฮวามีความหวังอะไร และใครร่วมชื่นชมยินดีกับพวกเขา?
13 เปาโลเขียนถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิมดังนี้: “เมื่อเห็นว่าเราจะได้ราชอาณาจักรซึ่งหวั่นไหวไม่ได้ ขอให้เราได้รับพระกรุณาเฮ็บราย 12:28, ล.ม.) โดยคาดหวังอย่างเชื่อมั่นว่าจะได้รับราชอาณาจักรเป็นมรดก ผู้ถูกเจิมมีความเชื่ออันมั่นคงขณะที่เขานมัสการพระผู้สูงสุด. เฉพาะพวกเขาเท่านั้นที่สามารถถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ในห้องบริสุทธิ์และที่ลานพระวิหารชั้นในของพระวิหารฝ่ายวิญญาณของพระยะโฮวา และพวกเขาคอยท่าด้วยความกระตือรือร้นที่จะได้รับใช้ร่วมกับพระเยซูในห้องบริสุทธิ์ที่สุด คือในสวรรค์. แกะอื่นสหายของพวกเขาชื่นชมยินดีกับพวกเขาในความหวังอันเยี่ยมยอดของพวกเขา.—เฮ็บราย 6:19, 20; 10:19-22.
อันไม่พึงได้รับต่อไป เพื่อโดยทางนั้นเราจะถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้าอย่างที่ทรงยอมรับด้วยความเกรงกลัวและเกรงขามพระองค์.” (14. ชนฝูงใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างไรจากการรับใช้ของพระเยซูเพื่อสาธารณชน?
14 อย่างไรก็ตาม จะว่าอย่างไรสำหรับแกะอื่น? ดังที่อัครสาวกโยฮันเห็นล่วงหน้า มีชนฝูงใหญ่แห่งแกะอื่นปรากฏออกมาในสมัยสุดท้ายนี้ และ “พวกเขาได้ชำระเสื้อยาวของเขาและทำให้ขาวในพระโลหิตของพระเมษโปดก.” (วิวรณ์ 7:14, ล.ม.) นี่หมายความว่า เช่นเดียวกับเพื่อนผู้นมัสการที่เป็นผู้ถูกเจิม พวกเขาแสดงความเชื่อในการรับใช้สาธารณชนของพระเยซู การที่พระองค์ถวายชีวิตมนุษย์สมบูรณ์ของพระองค์เป็นเครื่องบูชาเพื่อมนุษยชาติ. แกะอื่นยังได้รับประโยชน์จากการรับใช้สาธารณชนของพระเยซูในข้อที่ว่าพวกเขา “ยึดคำสัญญาไมตรี” ของพระยะโฮวา. (ยะซายา 56:6, ล.ม.) เปล่า พวกเขาไม่ใช่ผู้มีส่วนร่วมในสัญญาไมตรีใหม่ แต่พวกเขายึดสัญญาไมตรีของพระเจ้าในแง่ที่ว่าพวกเขาเชื่อฟังข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและร่วมมือกับการจัดเตรียมซึ่งมีขึ้นโดยทางสัญญาไมตรีใหม่. พวกเขาร่วมสมทบกับชาติยิศราเอลของพระเจ้า รับการบำรุงเลี้ยงที่โต๊ะฝ่ายวิญญาณโต๊ะเดียวกันและทำงานด้วยกันกับสมาชิกแห่งยิศราเอลของพระเจ้า ถวายคำสรรเสริญแด่พระเจ้าอย่างเปิดเผยและถวายเครื่องบูชาฝ่ายวิญญาณซึ่งเป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.—เฮ็บราย 13:15.
15. ชนฝูงใหญ่ถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน และพระพรนี้มีผลอย่างไรต่อพวกเขา?
15 ด้วยเหตุนั้น ชนฝูงใหญ่ “ยืนอยู่ต่อหน้าราชบัลลังก์และวิวรณ์ 7:9, 15, ล.ม.) ในยิศราเอล ผู้เปลี่ยนมาถือศาสนายิวนมัสการที่ลานชั้นนอกของพระวิหารของซะโลโม. ในทำนองเดียวกัน ชนฝูงใหญ่นมัสการพระยะโฮวาที่ลานพระวิหารชั้นนอกของพระวิหารฝ่ายวิญญาณของพระองค์. การรับใช้ที่นั่นทำให้พวกเขาชื่นชมยินดี. (บทเพลงสรรเสริญ 122:1) แม้แต่หลังจากที่ผู้ถูกเจิมสหายของพวกเขาได้รับมรดกฝ่ายสวรรค์ไปหมดแล้ว พวกเขาจะถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปในฐานะไพร่พลของพระองค์.—วิวรณ์ 21:3.
ต่อพระพักตร์พระเมษโปดก คนเหล่านั้นสวมเสื้อยาวสีขาว.” นอกจากนั้น “พวกเขาจึงอยู่ต่อหน้าราชบัลลังก์ของพระเจ้า; และพวกเขาถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระองค์ทั้งวันทั้งคืนในพระวิหารของพระองค์; และพระองค์ผู้ประทับบนราชบัลลังก์จะทรงกางพลับพลาของพระองค์ไว้เหนือเขา.” (การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ
16. มีคำเตือนอะไรเกี่ยวกับการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์?
16 ในสมัยยิศราเอลโบราณ การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ต้องถวายอย่างที่สอดคล้องกับกฎหมายของพระยะโฮวา. (เอ็กโซโด 30:9; เลวีติโก 10:1, 2) เช่นเดียวกันในทุกวันนี้ มีข้อเรียกร้องที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อพระยะโฮวาจะทรงยอมรับการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเรา. นั่นเป็นเหตุผลที่เปาโลเขียนถึงพี่น้องชาวโกโลซายว่า “เราไม่ได้เลิกอธิษฐานเพื่อท่านทั้งหลาย และทูลขอให้ท่านประกอบด้วยความรู้ถ่องแท้เรื่องพระทัยประสงค์ของพระองค์ในสรรพปัญญาและความเข้าใจฝ่ายวิญญาณ เพื่อจะดำเนินคู่ควรกับพระยะโฮวา เพื่อทำให้พระองค์พอพระทัยอย่างเต็มเปี่ยม ขณะที่ท่านทั้งหลายเกิดผลต่อไปในการงานที่ดีทุกอย่าง และเพิ่มพูนในความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้า.” (โกโลซาย 1:9, 10, ล.ม.) การตัดสินว่าวิธีไหนเป็นวิธีที่ถูกต้องในการนมัสการพระเจ้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา. สิ่งที่สำคัญคือความรู้ในพระคัมภีร์, ความเข้าใจฝ่ายวิญญาณ, และสติปัญญาของพระเจ้า. มิฉะนั้นแล้ว อาจเกิดผลเสียหายร้ายแรง.
17. (ก) การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ถูกทำให้เสื่อมไปอย่างไรในสมัยของโมเซ? (ข) อาจมีการถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์อย่างผิด ๆ อย่างไรในทุกวันนี้?
17 ขอให้นึกถึงชาวยิศราเอลในสมัยของโมเซ. เราอ่านดังนี้: “พระเจ้าได้ทรงทอดทิ้งเขา, และปล่อยให้เขาปฏิบัติหมู่ดาวในท้องฟ้า.” (กิจการ 7:42) ชาวยิศราเอลเหล่านั้นได้เห็นราชกิจอันทรงฤทธิ์ของพระยะโฮวาที่ทรงทำเพื่อพวกเขา. ถึงกระนั้น พวกเขาหันไปหาพระอื่นเมื่อคิดว่าการทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา. พวกเขาไม่ภักดี ในขณะที่ความภักดีเป็นข้อเรียกร้องสำคัญอย่างหนึ่งเพื่อการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเราจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 18:25) จริงอยู่ มีน้อยคนในทุกวันนี้ที่จะหันเหจากพระยะโฮวาเพื่อไปนมัสการดวงดาวหรือรูปโคทองคำ แต่มีการบูชารูปเคารพในรูปแบบอื่นหลายอย่าง. พระเยซูทรงเตือนว่าอย่ารับใช้ “เงินทอง” และเปาโลเรียกความโลภว่าเป็นการไหว้รูปเคารพ. (มัดธาย 6:24; โกโลซาย 3:5) ซาตานยกตัวมันเอง ขึ้นเป็นพระเจ้า. (2 โกรินโธ 4:4) การบูชารูปเคารพแบบที่ได้กล่าวไปมีอยู่ดาษดื่นและเป็นบ่วงแร้วอย่างหนึ่ง. ยกตัวอย่าง ขอให้นึกถึงบางคนที่อ้างว่าติดตามพระเยซู แต่เป้าหมายแท้จริงในชีวิตคือความมั่งคั่ง หรือที่เขาไว้วางใจจริง ๆ คือตัวเขาเองและความคิดของตนเอง. เขากำลังรับใช้ใครจริง ๆ? เขาแตกต่างตรงไหนกับชาวยิวในสมัยของยะซายาซึ่งสาบานในพระนามของพระยะโฮวาแต่กลับมอบเกียรติยศสำหรับราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ให้แก่รูปเคารพที่เป็นมลทิน?—ยะซายา 48:1, 5.
18. มีการถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์อย่างผิด ๆ อย่างไรในอดีตและในทุกวันนี้?
18 พระเยซูทรงเตือนด้วยว่า “เวลาจะมาเมื่อทุกคนที่ประหารชีวิตเจ้าจะคิดว่าเขาได้ถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้า.” (โยฮัน 16:2, ล.ม.) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเซาโล ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นอัครสาวกเปาโล คงคิดว่าเขากำลังรับใช้พระเจ้าเมื่อเขา ‘เห็นชอบด้วยกับการฆ่าซะเตฟาโน’ และ “ขู่คำรามกล่าวว่าจะฆ่าศิษย์ของพระเยซูเสีย.” (กิจการ 8:1; 9:1) ปัจจุบัน ผู้ก่อกรรมทำเข็ญบางคนที่ร่วมในการล้างชาติพันธุ์และฆ่าล้างชาติพันธุ์ก็อ้างว่านมัสการพระเจ้า. มีหลายคนที่อ้างว่านมัสการพระเจ้า แต่ที่จริงพวกเขานมัสการพระเจ้าแห่งชาตินิยม, การถือเผ่า, ความมั่งคั่ง, ตัวเอง, หรือพระเจ้าในแบบอื่น ๆ.
19. (ก) เรามีทัศนะอย่างไรต่อการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเรา? (ข) การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แบบไหนซึ่งจะนำความยินดีมาให้เรา?
19 พระเยซูตรัสว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้านั่นแหละที่เจ้าต้องนมัสการ และแด่พระองค์ผู้เดียวที่เจ้าต้องถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์.” (มัดธาย 4:10, ล.ม.) พระองค์ตรัสกับซาตาน แต่สำคัญสักเพียงไรที่เราทุกคนต้องเอาใจใส่คำตรัสของพระองค์! การถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่องค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งเอกภพเป็นสิทธิพิเศษอันสูงส่งและน่ายำเกรง. และอาจกล่าวได้เช่นไรเกี่ยวกับการรับใช้สาธารณชนซึ่งเกี่ยวข้องกับการนมัสการของเรา? การทำเช่นนี้เพื่อเพื่อนมนุษย์เป็นงานที่น่ายินดีซึ่งทำให้มีความสุขอย่างยิ่ง. (บทเพลงสรรเสริญ 41:1, 2; 59:16) กระนั้น การรับใช้เช่นนั้นนำความสุขแท้มาให้เฉพาะเมื่อได้ถวายอย่างสุดหัวใจและในวิธีที่ถูกต้อง. ใครกำลังนมัสการพระเจ้าอย่างถูกต้องจริง ๆ? การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของใครที่พระยะโฮวาทรงยอมรับ? เราสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้หากเราพิจารณาคำในคัมภีร์ไบเบิลคำที่สามซึ่งเกี่ยวข้องกับการนมัสการของเรา. เราจะพิจารณาคำนี้ในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 โดยทั่วไปแล้ว ลิเทอร์จีซึ่งทำกันในคริสต์ศาสนจักรมีทั้งพิธีในการนมัสการและพิธีเฉพาะบางอย่าง อย่างเช่น พิธีศีลมหาสนิทในคริสต์จักรโรมันคาทอลิก.
^ วรรค 10 ที่กิจการ 13:2 (ล.ม.) มีการรายงานว่าพวกผู้พยากรณ์และครูในเมืองอันติโอเกียกำลัง ‘ถวายการรับใช้อย่างเปิดเผย’ (แปลจากคำกรีกซึ่งเกี่ยวโยงกับคำลิตูร์เยีย ) แด่พระยะโฮวา. การรับใช้อย่างเปิดเผยซึ่งกล่าวในที่นี้คงหมายรวมถึงการประกาศต่อสาธารณชน.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การรับใช้สาธารณชนอันยิ่งใหญ่อะไรที่พระเยซูทรงทำ?
• คริสเตียนรับใช้สาธารณชนอย่างไร?
• การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของคริสเตียนคืออะไร และทำกันที่ไหน?
• เราต้องมีอะไรเพื่อการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเราจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
บิดามารดามีความสุขอย่างยิ่งในการให้
[ภาพหน้า 12, 13]
คริสเตียนรับใช้สาธารณชนเมื่อพวกเขาช่วยเหลือคนอื่น ๆ และเมื่อพวกเขาประกาศข่าวดี
[ภาพหน้า 14]
เราจำเป็นต้องมีความรู้ถ่องแท้และความเข้าใจเพื่อจะแน่ใจว่าพระเจ้าทรงยอมรับการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเรา