ใครเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าในปัจจุบัน?
ใครเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าในปัจจุบัน?
“คุณวุฒิเพียงพอของเรานั้นมาจากพระเจ้า ผู้ได้ทรงโปรดให้เรามีคุณวุฒิเพียงพออย่างแท้จริงให้เป็นผู้รับใช้แห่งสัญญาไมตรีใหม่.”—2 โกรินโธ 3:5, 6, ล.ม.
1, 2. คริสเตียนในศตวรรษแรกทุกคนมีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบอะไร แต่สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปอย่างไร?
ในศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช คริสเตียนทุกคนมีส่วนในหน้าที่รับผิดชอบสำคัญอย่างหนึ่ง คือหน้าที่ในการประกาศข่าวดี. ทุกคนเป็นผู้ถูกเจิมและเป็นผู้รับใช้แห่งสัญญาไมตรีใหม่. บางคนมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น การสอนในประชาคม. (1 โกรินโธ 12:27-29; เอเฟโซ 4:11) คนที่เป็นบิดามารดามีพันธะหน้าที่สำคัญในครอบครัว. (โกโลซาย 3:18-21) แต่ทุกคนมีส่วนร่วมในงานพื้นฐานสำคัญ คืองานประกาศ. ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกดั้งเดิม หน้าที่รับผิดชอบนี้คือดีอาโคนีอา—การบริการ หรือการรับใช้.—โกโลซาย 4:17.
2 เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป. เกิดมีชนชั้นพวกหนึ่งขึ้นมาที่เรียกกันว่าพวกนักบวช ซึ่งได้สงวนสิทธิพิเศษแห่งการประกาศไว้สำหรับพวกเขาเอง. (กิจการ 20:30) พวกนักบวชเป็นคนกลุ่มน้อยในบรรดาคนที่เรียกตัวเองว่าคริสเตียน. ส่วนคนหมู่มากนั้นเรียกกันว่าฆราวาส. แม้มีการสอนว่าฆราวาสมีพันธะหน้าที่บางอย่าง รวมทั้งการบริจาคเพื่อทำนุบำรุงพวกนักบวช แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขากลายเป็นเพียงผู้ฟังที่ไม่มีบทบาทอะไรในการประกาศ.
3, 4. (ก) บางคนในคริสต์ศาสนจักรได้กลายเป็นผู้รับใช้ (นักเทศน์) โดยวิธีใด? (ข) ใครที่ถือกันว่าเป็นผู้รับใช้ในคริสต์ศาสนจักร และเหตุใดในท่ามกลางพยานพระยะโฮวาจึงแตกต่างออกไป?
* เพื่อจะเป็นนักเทศน์ได้ พวกเขาต้องสำเร็จหลักสูตรจากวิทยาลัยหรือโรงเรียนนักธรรมและได้รับแต่งตั้ง. สารานุกรม ดิ อินเตอร์แนชันแนล สแตนดาร์ด ไบเบิล กล่าวว่า “ตามปกติ คำ ‘แต่งตั้ง’ หรือ ‘การแต่งตั้ง’ พาดพิงถึงสถานภาพพิเศษที่มอบให้แก่นักเทศน์หรือบาทหลวงโดยที่มีการทำพิธีแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ พร้อมกับมีการเน้นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการประกาศพระคำหรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือทั้งสองอย่าง.” ใครเป็นผู้แต่งตั้งนักเทศน์? สารานุกรมบริแทนนิกาฉบับใหม่ กล่าวว่า “ในคริสตจักรที่ยังมีตำแหน่งราชาคณะ การแต่งตั้งนักเทศน์ทำโดยบิชอปเสมอ. ในคริสตจักรเพรสไบทีเรียน การแต่งตั้งทำโดยนักเทศน์แห่งคณะปกครองเพรสไบทีเรียน.”
3 พวกนักบวชอ้างว่าตนเป็นผู้ทำหน้าที่เทศนาสั่งสอน (คำภาษากรีกดีอาโคโนส หมายถึง “ผู้รับใช้”).4 ด้วยเหตุนั้น ในคริสตจักรต่าง ๆ แห่งคริสต์ศาสนจักร สิทธิพิเศษในการเป็นนักเทศน์ (ผู้รับใช้) ถูกจำกัดอย่างมาก. ทว่า ไม่เป็นอย่างนั้นในท่ามกลางพยานพระยะโฮวา. เพราะเหตุใด? เพราะไม่เป็นอย่างนั้นในประชาคมคริสเตียนแห่งศตวรรษแรก.
ใครเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าอย่างแท้จริง?
5. ตามในคัมภีร์ไบเบิล มีใครบ้างซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้?
5 ตามในคัมภีร์ไบเบิล ผู้นมัสการพระยะโฮวาทั้งหมด—ทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก—เป็นผู้รับใช้. พวกทูตสวรรค์รับใช้พระเยซู. (มัดธาย 4:11; 26:53; ลูกา 22:43) นอกจากนั้น ทูตสวรรค์ยัง “รับใช้คนเหล่านั้นที่จะรับความรอดเป็นมรดก.” (เฮ็บราย 1:14, ล.ม.; มัดธาย 18:10, ล.ม.) พระเยซูทรงเป็นผู้รับใช้. พระองค์ตรัสว่า “บุตรมนุษย์เสด็จมา มิใช่เพื่อให้เขารับใช้ แต่เพื่อจะรับใช้.” (มัดธาย 20:28, ล.ม.; โรม 15:8) ดังนั้น เนื่องจากเหล่าสาวกของพระเยซู “ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์อย่างใกล้ชิด” จึงไม่แปลกที่พวกเขาเองต้องเป็นผู้รับใช้ด้วย.—1 เปโตร 2:21, ล.ม.
6. พระเยซูทรงระบุอย่างไรว่าเหล่าสาวกของพระองค์ต้องเป็นผู้รับใช้?
6 ชั่วเวลาไม่นานก่อนเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระเยซูตรัสแก่เหล่าสาวกว่า “จงไปและทำให้ชนจากทุกชาติเป็นสาวก ให้เขารับบัพติสมาในนามแห่งพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.” (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) เหล่าสาวกของพระเยซูต้องเป็นผู้รับใช้ที่ทำให้คนเป็นสาวก. สาวกใหม่ที่พวกเขาทำให้เกิดขึ้นจะเรียนรู้ในการปฏิบัติตามทุก สิ่งที่พระเยซูทรงมีพระบัญชา รวมทั้งพระบัญชาให้ออกไปและทำให้คนเป็นสาวก. ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง ผู้ใหญ่หรือว่าเด็ก สาวกแท้ของพระเยซูคริสต์เป็นผู้รับใช้.—โยเอล 2:28, 29.
7, 8. (ก) พระคัมภีร์ข้อใดบ้างแสดงว่าคริสเตียนแท้ทุกคนเป็นผู้รับใช้? (ข) เกิดคำถามอะไรขึ้นมาเกี่ยวกับการแต่งตั้ง?
7 สอดคล้องกับเรื่องนี้ ในวันเพนเตคอสเต สากลศักราช 33 สาวกทุกคนของพระเยซูที่ประชุมอยู่ด้วยกัน ทั้งชายและหญิง ได้ร่วมกันกล่าวถึง “การอิทธิฤทธิ์ของพระเจ้า.” (กิจการ 2:1-11) นอกจากนั้น อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ด้วยหัวใจคนเราสำแดงความเชื่อเพื่อความชอบธรรม แต่ด้วยปากคนเราประกาศอย่างเปิดเผยเพื่อความรอด.” (โรม 10:10, ล.ม.) เปาโลเขียนถ้อยคำเหล่านั้นส่งไป ไม่ใช่ถึงชนชั้นนักบวชในวงแคบ ๆ แต่ “ถึงทุกคนที่อยู่ในโรมในฐานะผู้ซึ่งพระเจ้าทรงรัก.” (โรม 1:1, 7, ล.ม.) คล้ายกัน ‘สิทธชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาทุกคนซึ่งอยู่ที่เมืองเอเฟโซ’ ต้อง “เอากิตติคุณแห่งสันติสุขซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความพร้อมเพรียงมาสวมเป็นรองเท้า.” (เอเฟโซ 1:1; 6:15) และทุกคนที่ได้ยินได้ฟังจดหมายซึ่งเขียนถึงชาวฮีบรูต้อง ‘ยึดมั่นกับการประกาศอย่าง เปิดเผยเกี่ยวกับความหวังของพวกเขาโดยไม่สั่นคลอน.’—เฮ็บราย 10:23, ล.ม.
8 อย่างไรก็ตาม คนเรากลายเป็นผู้รับใช้เมื่อไร? กล่าวอีกอย่างคือ เขาได้รับแต่งตั้งเมื่อไร? และใครเป็นผู้แต่งตั้งเขา?
การแต่งตั้งให้เป็นผู้รับใช้—เมื่อไร?
9. พระเยซูทรงได้รับแต่งตั้งเมื่อไร และโดยผู้ใด?
9 เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าคนเราได้รับแต่งตั้งเมื่อไรและโดยใคร ขอให้พิจารณาตัวอย่างของพระเยซูคริสต์. พระองค์ไม่มีวุฒิบัตรหรือปริญญาจากโรงเรียนนักธรรมเพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการแต่งตั้งพระองค์ให้เป็นนักเทศน์ (ผู้รับใช้) และพระองค์มิได้รับแต่งตั้งจากมนุษย์คนใด. ถ้าอย่างนั้น เหตุใดเราจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รับใช้? เนื่องจากถ้อยคำซึ่งยะซายาเขียนโดยการดลใจสำเร็จเป็นจริงในพระองค์ ที่ว่า “พระวิญญาณแห่งพระยะโฮวาองค์บรมมหิศรสถิตบนข้าพเจ้า เพราะเหตุที่พระยะโฮวาได้เจิมข้าพเจ้าให้ประกาศข่าวดี.” (ลูกา 4:17-19; ยะซายา 61:1, ล.ม.) ถ้อยคำเหล่านี้ทำให้ไม่มีข้อสงสัยว่าพระเยซูทรงได้รับมอบหมายให้บอกข่าวดี. โดยผู้ใด? เนื่องจากพระวิญญาณของพระยะโฮวาได้เจิมพระองค์ไว้สำหรับงานนี้ เห็นได้ชัดว่าพระเยซูทรงได้รับแต่งตั้งจากพระยะโฮวาพระเจ้า. การแต่งตั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อไร? พระวิญญาณของพระยะโฮวาได้ลงมาบนพระเยซูจริง ๆ เมื่อพระองค์ทรงรับบัพติสมา. (ลูกา 3:21, 22) ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นตอนที่รับบัพติสมานั่นเองที่พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้ง.
10. ใครทำให้คริสเตียนผู้รับใช้กลายเป็นผู้มี “คุณวุฒิเพียงพอ”?
10 จะว่าอย่างไรสำหรับเหล่าสาวกของพระเยซูในศตวรรษแรก? เช่นเดียวกัน สถานภาพของพวกเขาในฐานะผู้รับใช้มาจากพระยะโฮวา. เปาโลกล่าวว่า “คุณวุฒิเพียงพอของเรานั้นมาจากพระเจ้า ผู้ได้ทรงโปรดให้เรามีคุณวุฒิเพียงพออย่างแท้จริงให้เป็นผู้รับใช้แห่งสัญญาไมตรีใหม่.” (2 โกรินโธ 3:5, 6, ล.ม.) โดยวิธีใดที่พระยะโฮวาทรงโปรดให้ผู้นมัสการพระองค์มีคุณวุฒิเป็นผู้รับใช้? ขอให้พิจารณาตัวอย่างของติโมเธียวซึ่งเปาโลเรียกท่านว่า “ผู้รับใช้ของพระเจ้าในเรื่องข่าวประเสริฐของพระคริสต์.”—1 เธซะโลนิเก 3:2, ฉบับแปลใหม่.
11, 12. โดยวิธีใดติโมเธียวทำความก้าวหน้าจนกลายมาเป็นผู้รับใช้คนหนึ่ง?
11 คำกล่าวต่อไปนี้ซึ่งมีไปถึงติโมเธียวช่วยเราให้เข้าใจวิธีที่ท่านได้กลายมาเป็นผู้รับใช้: “แต่ส่วนท่าน จงดำเนินต่อไปในสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้และสิ่งที่ท่านถูกโน้มน้าวใจให้เชื่อ โดยรู้อยู่ว่าท่านได้เรียนรู้จากผู้ใด และตั้งแต่เป็นทารกมา ท่านได้รู้จักคำจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอาจให้ท่านได้ปัญญาถึงที่รอดได้ โดยความเชื่อเกี่ยวด้วยพระคริสต์เยซู.” (2 ติโมเธียว 3:14, 15, ล.ม.) รากฐานความเชื่อของติโมเธียว ซึ่งคงได้กระตุ้นท่านให้ประกาศอย่างเปิดเผย คือความรู้ในพระคัมภีร์. สิ่ง ที่จำเป็นต้องทำมีเพียงการอ่านด้วยตัวเองไหม? ไม่เลย. ติโมเธียวจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือให้รับเอาความรู้ถ่องแท้และความเข้าใจฝ่ายวิญญาณในสิ่งที่ท่านได้อ่าน. (โกโลซาย 1:9) โดยวิธีนี้ ติโมเธียวถูก “โน้มน้าวใจให้เชื่อ.” เนื่องจากท่านได้รู้จักพระคัมภีร์ “ตั้งแต่เป็นทารกมา” ผู้สอนท่านในตอนเริ่มแรกต้องได้แก่มารดาและยาย เพราะมีหลักฐานชี้ว่าบิดาท่านเป็นผู้ไม่มีความเชื่อ.—2 ติโมเธียว 1:5.
12 อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่เกี่ยวข้องกับการที่ติโมเธียวกลายมาเป็นผู้รับใช้. ประการหนึ่งนั้น ความเชื่อของท่านได้รับการเสริมโดยการคบหาสมาคมกับคริสเตียนในประชาคมที่อยู่ใกล้ ๆ. เราทราบได้อย่างไร? เนื่องจากเมื่อเปาโลพบติโมเธียวเป็นครั้งแรก ชายหนุ่มคนนี้ “มีชื่อเสียงดีในท่ามกลางพวกพี่น้องที่อยู่ในเมืองลุศตราและเมืองอิโกนิอัน.” (กิจการ 16:2) นอกจากนั้น ในสมัยนั้นมีพี่น้องบางคนเขียนจดหมายถึงประชาคมต่าง ๆ เพื่อเสริมกำลังพวกพี่น้อง. และมีผู้ดูแลซึ่งเยี่ยมเยียนประชาคมต่าง ๆ เพื่อหนุนกำลังน้ำใจพี่น้อง. การจัดเตรียมเช่นนั้นช่วยคริสเตียนแบบติโมเธียวให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ.—กิจการ 15:22-32; 1 เปโตร 1:1.
13. ติโมเธียวได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับใช้เมื่อไร และเหตุใดคุณจึงกล่าวว่าความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณของท่านไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น?
13 เมื่อคำนึงถึงพระบัญชาของพระเยซูดังบันทึกไว้ที่มัดธาย 28:19, 20 เราแน่ใจได้ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่ง ความเชื่อของติโมเธียวได้กระตุ้นท่านให้เลียนแบบพระเยซูและรับบัพติสมา. (มัดธาย 3:15-17; เฮ็บราย 10:5-9) การทำเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ของการที่ติโมเธียวอุทิศตัวอย่างสิ้นสุดจิตวิญญาณแด่พระเจ้า. เมื่อรับบัพติสมา ติโมเธียวได้กลายมาเป็นผู้รับใช้คนหนึ่ง. นับแต่นั้นมา ชีวิตของท่าน, กำลังวังชา, และทุกสิ่งที่ท่านมีเป็นของพระเจ้าทั้งหมด. นี่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งแห่งการนมัสการของท่าน ซึ่งเป็น “การรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์.” อย่างไรก็ตาม ติโมเธียวไม่ได้พอใจกับการเป็นผู้รับใช้แล้วก็หยุดอยู่แค่นั้น. ท่านยังคงเติบโตฝ่ายวิญญาณต่อไป จนได้เป็นคริสเตียนผู้รับใช้ที่อาวุโส. ที่เป็นอย่างนี้ก็เนื่องจากติโมเธียวได้คบหาใกล้ชิดกับคริสเตียนอาวุโสอย่างเปาโล, การศึกษาส่วนตัวของท่าน, และกิจการงานประกาศที่ท่านทำด้วยใจแรงกล้า.—1 ติโมเธียว 4:14; 2 ติโมเธียว 2:2; เฮ็บราย 6:1.
14. ในปัจจุบัน บางคนที่ “มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์” ทำความก้าวหน้าโดยวิธีใดจนได้เป็นผู้รับใช้?
14 ปัจจุบัน การแต่งตั้งสำหรับงานรับใช้ของคริสเตียนก็มีลักษณะคล้ายกัน. คนที่ “มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์” ได้รับการช่วยเหลือให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์ด้วยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. (กิจการ 13:48, ล.ม.) คนเหล่านี้เรียนรู้ที่จะใช้หลักการของคัมภีร์ไบเบิลในชีวิตตนและอธิษฐานถึงพระเจ้าอย่างมีความหมาย. (บทเพลงสรรเสริญ 1:1-3; สุภาษิต 2:1-9; 1 เธซะโลนิเก 5:17, 18) เขาคบหากับผู้มีความเชื่อคนอื่น ๆ และรับประโยชน์จากสิ่งที่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” จัดและเตรียมไว้ให้. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.; สุภาษิต 13:20; เฮ็บราย 10:23-25) โดยวิธีนี้ เขาทำความก้าวหน้าในกระบวนการศึกษาอย่างมีระบบ.
15. เกิดอะไรขึ้นเมื่อใครคนหนึ่งรับบัพติสมา? (ดูเชิงอรรถด้วย.)
15 ในที่สุด เมื่อนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้พัฒนาความรักต่อพระยะโฮวาพระเจ้าและมีความเชื่อมั่นคงในเครื่องบูชาไถ่ เขาปรารถนาจะอุทิศตัวอย่างครบถ้วนแด่พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของตน. (โยฮัน 14:1) เขาทำการอุทิศตัวในคำอธิษฐานเป็นส่วนตัว แล้วจากนั้นก็รับบัพติสมาอันเป็นสัญลักษณ์ซึ่งเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบถึงการอุทิศตัวดังกล่าว. การรับบัพติสมา ของเขาเป็นพิธีแต่งตั้งเขา เนื่องจากในตอนนี้เองเขาได้รับการยอมรับในฐานะผู้รับใช้ หรือดีอาโคโนส ซึ่งอุทิศตัวเต็มที่แด่พระเจ้า. เขาต้องรักษาตัวต่างหากจากโลก. (โยฮัน 17:16; ยาโกโบ 4:4) เขาได้เสนอตัวทั้งหมดเพื่อเป็น “เครื่องบูชาอันมีชีวิตอยู่, บริสุทธิ์, ที่พระเจ้าทรงยอมรับได้” โดยไม่มีการขยักเอาไว้และโดยไม่มีเงื่อนไข. (โรม 12:1, ล.ม.) * เขาเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า โดยเลียนแบบพระคริสต์.
งานรับใช้ของคริสเตียนคืออะไร?
16. หน้าที่รับผิดชอบบางอย่างของติโมเธียวในฐานะผู้รับใช้คืออะไร?
16 งานรับใช้ของติโมเธียวเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? ท่านมีหน้าที่พิเศษในฐานะเพื่อนร่วมเดินทางของเปาโล. และเมื่อท่านได้เป็นผู้ปกครอง ติโมเธียวทำงานหนักในการสอนและเสริมกำลังเพื่อนคริสเตียน. แต่ส่วนสำคัญแห่งงานรับใช้ของท่าน เช่นเดียวกับในกรณีของพระเยซูและเปาโล คือการประกาศข่าวดีและการทำให้คนเป็นสาวก. (มัดธาย 4:23; 1 โกรินโธ 3:5) เปาโลบอกกับติโมเธียวว่า “ฝ่ายท่านจงรักษาสติในทุกสิ่ง จงอดทนความยากลำบาก จงทำงานของผู้เผยแพร่กิตติคุณ จงทำให้งานรับใช้ของท่านสำเร็จครบถ้วน.”—2 ติโมเธียว 4:5, ล.ม.
17, 18. (ก) คริสเตียนผู้รับใช้ร่วมในการรับใช้เช่นไร? (ข) งานประกาศสำคัญขนาดไหนต่อคริสเตียนผู้รับใช้?
17 เรื่องนี้คล้ายกันกับคริสเตียนผู้รับใช้ในปัจจุบัน. พวกเขาร่วมในงานรับใช้สาธารณชนอย่างหนึ่งคืองานเผยแพร่กิตติคุณ นำผู้อื่นไปสู่ความรอดซึ่งอาศัยเครื่องบูชาของพระเยซูและสอนคนอ่อนน้อมให้ร้องเรียกพระนามของพระยะโฮวา. (กิจการ 2:21; 4:10-12; โรม 10:13) พวกเขาพิสูจน์โดยใช้คัมภีร์ไบเบิลว่าราชอาณาจักรเป็นความหวังอย่างเดียวสำหรับมนุษยชาติที่ทนทุกข์ และแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ในเวลานี้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นเมื่อเราดำเนินชีวิตตามหลักการของพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 15:1-5; มาระโก 13:10) แต่คริสเตียนผู้รับใช้ไม่ประกาศเกี่ยวกับการใช้หลักการคริสเตียนกับปัญหาของสังคม. แทนที่จะทำอย่างนั้น พวกเขาสอนว่า ‘ความเลื่อมใสในพระเจ้าอำนวยประโยชน์แก่ชีวิตทั้งในปัจจุบันและชีวิตอนาคต.’—1 ติโมเธียว 4:8, ล.ม.
18 จริงอยู่ ผู้รับใช้ส่วนใหญ่มีทางเลือกอื่น ๆ อีกเกี่ยวกับวิธีที่จะรับใช้ ซึ่งก็อาจแตกต่างกันไป. หลายคนมีพันธะต่อครอบครัว. (เอเฟโซ 5:21–6:4) ผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้มีหน้าที่ในประชาคม. (1 ติโมเธียว 3:1, 12, 13; ติโต 1:5; เฮ็บราย 13:7) คริสเตียนหลายคนช่วยในการก่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักร. บางคนมีสิทธิพิเศษที่ดีเยี่ยมโดยทำงานเป็นอาสาสมัครในสำนักเบเธลของสมาคมว็อชเทาเวอร์. อย่างไรก็ตาม คริสเตียนผู้รับใช้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประกาศข่าวดี. ไม่มีข้อยกเว้น. การมีส่วนร่วมในงานนี้แหละที่ทำให้คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเขาเป็นคริสเตียนผู้รับใช้ที่แท้จริง.
เจตคติของคริสเตียนผู้รับใช้
19, 20. คริสเตียนผู้รับใช้ต้องปลูกฝังเจตคติเช่นไร?
19 ผู้รับใช้ (นักเทศน์) ส่วนใหญ่แห่งคริสต์ศาสนจักรคาดหมายว่าจะได้รับความนับถือเป็นพิเศษ และพวกเขามีตำแหน่งอย่างเช่น “สาธุคุณ” และ “คุณพ่อ.” อย่างไรก็ตาม คริสเตียนผู้รับใช้ทราบว่าพระยะโฮวาผู้เดียวเท่านั้นคู่ควรกับความนับถือเช่นนั้น. (1 ติโมเธียว 2:9, 10) ไม่มีคริสเตียนผู้รับใช้คนใดเรียกร้องความนับถืออันสูงส่งเช่นนั้นหรือทะเยอทะยานอยากได้ตำแหน่งพิเศษ. (มัดธาย 23:8-12) เขาทราบว่าความหมายพื้นฐานของดีอาโคนีอา คือ “การรับใช้.” ในบางครั้ง มีการใช้คำกริยาที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ในคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องที่เกี่ยวกับการรับใช้ส่วนตัว เช่น การคอยให้บริการที่โต๊ะอาหาร. (ลูกา 4:39; 17:8; โยฮัน 2:5) แม้ว่าการใช้คำนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานรับใช้ของคริสเตียนนั้นสูงส่งกว่า ดีอาโคโนส ก็ยังคงเป็นผู้ทำหน้าที่รับใช้อยู่นั่นเอง.
20 ดังนั้น คริสเตียนผู้รับใช้ไม่มีเหตุผลที่จะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญ. คริสเตียนผู้รับใช้ที่แท้จริง—แม้แต่คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นพิเศษในประชาคม—เป็นทาสรับใช้ที่ถ่อมใจ. พระเยซูตรัสว่า “ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ก็ให้ผู้นั้นเป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย. ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นเอกเป็นต้นก็ให้ผู้นั้นเป็นทาสของพวกท่าน.” (มัดธาย 20:26, 27) เมื่อแสดงให้เหล่าสาวกเห็นถึงเจตคติที่ถูกต้องซึ่งควรปลูกฝังแล้ว พระเยซูทรงล้างเท้าพวกเขา ซึ่งเป็นงานของทาสชั้นต่ำที่สุด. (โยฮัน 13:1-15) ช่างเป็นการรับใช้ด้วยใจถ่อมจริง ๆ! เพราะฉะนั้น คริสเตียนผู้รับใช้ถวายการรับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ด้วยใจถ่อม. (2 โกรินโธ 6:4; 11:23) พวกเขาแสดงความอ่อนน้อมถ่อมใจด้วยการรับใช้กันและกัน. และเมื่อพวก เขาประกาศข่าวดี พวกเขารับใช้เพื่อนบ้านผู้ไม่มีความเชื่ออย่างไม่เห็นแก่ตัว.—โรม 1:14, 15; เอเฟโซ 3:1-7.
จงอดทนในงานรับใช้
21. เปาโลได้รับรางวัลอย่างไรสำหรับความอดทนในงานรับใช้?
21 สำหรับเปาโลแล้ว การเป็นผู้รับใช้ต้องใช้ความอดทน. ท่านบอกกับพี่น้องชาวโกโลซายว่าท่านทนทุกข์มากมายเพื่อประกาศข่าวดีแก่พวกเขา. (โกโลซาย 1:24, 25) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากท่านได้อดทน หลายคนจึงตอบรับข่าวดีและเข้ามาเป็นผู้รับใช้. พวกเขาได้รับกำเนิดเป็นบุตรของพระเจ้าและเป็นพี่น้องของพระเยซูคริสต์ พร้อมกับมีความคาดหวังจะได้เป็นกายวิญญาณซึ่งอยู่เคียงข้างพระองค์ในสวรรค์. ช่างเป็นรางวัลอันรุ่งโรจน์สักเพียงไรสำหรับความอดทน!
22, 23. (ก) เหตุใดคริสเตียนผู้รับใช้ในปัจจุบันจำเป็นต้องอดทน? (ข) เกิดผลอันดีเยี่ยมเช่นไรจากความอดทนของคริสเตียน?
22 ในปัจจุบัน คนที่เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าอย่างแท้จริงจำเป็นต้องมีความอดทน. แต่ละวัน หลายคนต่อสู้กับความเจ็บป่วยหรือความเจ็บปวดเนื่องด้วยวัยชรา. บิดามารดาทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูบุตร—และหลายคนเป็นบิดาหรือมารดาไร้คู่. ด้วยความกล้าหาญ เด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนต้านทานอิทธิพลไม่ดีซึ่งมีอยู่รอบตัว. คริสเตียนหลายคนดิ้นรนต่อสู้อย่างหนักในทางเศรษฐกิจ. และหลายคนประสบการกดขี่ข่มเหงหรือเผชิญความลำบากเนื่องด้วย “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้” ในสมัยนี้! (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) ถูกแล้ว ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาเกือบหกล้านคนในปัจจุบันสามารถกล่าวแบบเดียวกับที่อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “ในทุกวิถีทางเราแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า โดยการเพียรอดทนมากมาย.” (2 โกรินโธ 6:4, ล.ม.) คริสเตียนผู้รับใช้ไม่ยอมแพ้. พวกเขาสมควรได้รับคำชมเชยอย่างแท้จริงสำหรับความอดทนของเขา.
23 นอกจากนั้น ดังในกรณีของเปาโล ความอดทนนำมาซึ่งผลอันดีเยี่ยม. ด้วยความอดทน เรารักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับพระยะโฮวาและทำให้พระทัยของพระองค์ยินดี. (สุภาษิต 27:11) เราเสริมความเชื่อของเราเองและทำให้คนเป็นสาวก เพิ่มเข้ากับสังคมพี่น้องคริสเตียน. (1 ติโมเธียว 4:16) พระยะโฮวาทรงค้ำจุนผู้รับใช้ของพระองค์และทรงอวยพรงานรับใช้ของพวกเขาในสมัยสุดท้ายนี้. ผลก็คือ ชนที่เหลือแห่ง 144,000 คนได้รับการรวบรวม และอีกหลายล้านคนมีความหวังอันเปี่ยมด้วยความมั่นใจว่าจะมีชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน. (ลูกา 23:43; วิวรณ์ 14:1) แท้จริง งานรับใช้ของคริสเตียนเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งถึงความเมตตาของพระยะโฮวา. (2 โกรินโธ 4:1) ขอให้เราทุกคนทะนุถนอมงานรับใช้ของเราเอาไว้และหยั่งรู้ค่าในข้อที่ว่าผลของงานนี้จะยั่งยืนตลอดไป.—1 โยฮัน 2:17.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 คำกรีกดีอาโคโนส เป็นที่มาของคำ “ดีคอน” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานในคริสตจักร.
^ วรรค 15 แม้ว่าโรม 12:1 เกี่ยวข้องกับคริสเตียนผู้ถูกเจิมโดยเฉพาะ แต่หลักการในที่นี้ใช้ได้ด้วยกับ “แกะอื่น.” (โยฮัน 10:16) คนเหล่านี้ “นำตัวเข้ามาสมทบกับพระยะโฮวาที่จะปรนนิบัติพระองค์และรักพระนามของพระยะโฮวา เพื่อจะได้เข้ามาเป็นผู้รับใช้ของพระองค์.”—ยะซายา 56:6, ล.ม.
คุณอธิบายได้ไหม?
• คริสเตียนทุกคนในศตวรรษแรกมีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบอะไร?
• คริสเตียนผู้รับใช้ได้รับแต่งตั้งเมื่อไรและโดยผู้ใด?
• คริสเตียนผู้รับใช้ควรปลูกฝังเจตคติเช่นไร?
• เหตุใดคริสเตียนผู้รับใช้ควรอดทนเมื่อเผชิญความยากลำบาก?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16, 17]
ติโมเธียวได้รับการสอนพระคำของพระเจ้าตั้งแต่เป็นทารก. ท่านกลายมาเป็นผู้รับใช้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อท่านรับบัพติสมา
[ภาพหน้า 18]
การรับบัพติสมาเป็นสัญลักษณ์ถึงการอุทิศตัวแด่พระเจ้าและแสดงถึงการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับใช้
[ภาพหน้า 20]
คริสเตียนผู้รับใช้เต็มใจรับใช้