คุณรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวาอย่างยิ่งไหม?
คุณรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวาอย่างยิ่งไหม?
“จิตวิญญาณของข้าพเจ้าถือรักษาข้อเตือนใจของพระองค์ และข้าพเจ้ารักข้อเตือนใจเหล่านั้นอย่างยิ่ง.”—บทเพลงสรรเสริญ 119:167, ล.ม.
1. เราพบการกล่าวถึงข้อเตือนใจของพระยะโฮวาซ้ำหลายครั้งเป็นพิเศษที่ไหน?
พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้ไพร่พลของพระองค์มีความสุข. แน่นอน เพื่อจะมีความสุขแท้ได้เราต้องดำเนินในกฎหมายของพระเจ้าและปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์. เพื่อจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว พระองค์ประทานข้อเตือนใจแก่เรา. มีการกล่าวซ้ำข้อเตือนใจเหล่านี้หลายครั้งในพระคัมภีร์ โดยเฉพาะในเพลงสรรเสริญบท 119 ซึ่งเป็นไปได้ว่าประพันธ์โดยฮิศคียาเจ้าชายหนุ่มแห่งยูดา. เพลงอันไพเราะบทนี้เริ่มด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้: “ความสุขมีแก่คนที่ปราศจากผิดในแนวทางของเขา คือผู้ที่ดำเนินในกฎหมายของพระยะโฮวา. ความสุขมีแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระองค์; พวกเขาแสวงหาพระองค์เสมอด้วยสุดหัวใจ.”—บทเพลงสรรเสริญ 119:1, 2, ล.ม.
2. ข้อเตือนใจของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับความสุขอย่างไร?
2 เรา “ดำเนินในกฎหมายของพระยะโฮวา” โดยรับเอาความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระคำของพระองค์และใช้ความรู้นั้นในชีวิต. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเราไม่สมบูรณ์ เราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจ. คำฮีบรูซึ่งแปลในที่นี้ว่า “ข้อเตือนใจ” บ่งบอกว่าพระเจ้าทรงเตือนเราให้ระลึกถึงกฎหมาย, พระบัญชา, ระเบียบ, พระบัญญัติ, และกฎหมายลายลักษณ์อักษรของพระองค์. (มัดธาย 10:18-20) เราจะรักษาความสุขเอาไว้หากเราปฏิบัติตามข้อเตือนใจต่าง ๆ เช่นนั้นเสมอไป เพราะข้อเตือนใจเหล่านี้ช่วยเราให้หลีกเลี่ยงหลุมพรางฝ่ายวิญญาณซึ่งยังผลเป็นความหายนะและความเศร้าเสียใจ.
จงยึดมั่นในข้อเตือนใจของพระยะโฮวา
3. โดยอาศัยบทเพลงสรรเสริญ 119:60, 61 เรามีความเชื่อมั่นเช่นไร?
3 ข้อเตือนใจของพระเจ้ามีค่าอย่างยิ่งต่อผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งร้องเพลงว่า “ข้าพเจ้าได้รีบเร่ง, และไม่เนิ่นช้า, ในการที่จะรักษาข้อบัญญัติของพระองค์. เชือกของพวกคนชั่วนั้นได้รัดข้าพเจ้าไว้รอบ; แต่ข้าพเจ้าไม่ลืมพระบัญญัติของพระองค์เลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:60, 61) ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาช่วยเราให้อดทนการข่มเหง เพราะเราเชื่อมั่นว่าพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของ เราสามารถตัดเชือกที่ศัตรูรัดเราไว้. เมื่อถึงเวลาอันควร พระองค์ทรงปลดปล่อยเราจากอุปสรรคเช่นนั้น เพื่อเราจะสามารถดำเนินงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรให้สำเร็จ.—มาระโก 13:10.
4. เราควรตอบรับอย่างไรต่อข้อเตือนใจของพระเจ้า?
4 บางครั้ง เราได้รับการแก้ไขจากข้อเตือนใจของพระยะโฮวา. ขอให้เราหยั่งรู้ค่าเสมอสำหรับการแก้ไขเช่นนั้น เช่นเดียวกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ. ท่านทูลพระเจ้าด้วยความเลื่อมใสว่า “ข้อปฏิญาณ [“ข้อเตือนใจ,” ล.ม.] ของพระองค์เป็นที่นิยมแก่ข้าพเจ้า . . . ข้าพเจ้าจึงรักข้อปฏิญาณ [“ข้อเตือนใจ,” ล.ม.] ของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:24, 119) เราได้รับข้อเตือนใจของพระเจ้ามากกว่าที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญได้รับ. ข้อความในพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกที่ยกมาจากพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูหลายร้อยข้อเตือนใจเราไม่เพียงแค่คำสั่งของพระยะโฮวาต่อไพร่พลของพระองค์ซึ่งอยู่ใต้พระบัญญัติเท่านั้น แต่ยังเตือนให้นึกถึงพระประสงค์ของพระองค์ในส่วนที่เกี่ยวกับประชาคมคริสเตียนด้วย. เมื่อพระเจ้าทรงเห็นสมควรจะเตือนใจเราถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายของพระองค์ เรารู้สึกขอบพระคุณสำหรับการชี้นำเช่นนั้น. และโดยการ ‘ยึดมั่นในข้อเตือนใจของพระยะโฮวา’ เราหลีกเลี่ยงการล่อใจอันผิดบาปซึ่งทำให้เราไม่เป็นที่พอพระทัยพระผู้สร้างและทำลายความสุขของเรา.—บทเพลงสรรเสริญ 119:31.
5. เราจะรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวาอย่างยิ่งได้อย่างไร?
5 เราควรรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวามากเพียงไร? ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงว่า “จิตวิญญาณของข้าพเจ้าถือรักษาข้อเตือนใจของพระองค์ และข้าพเจ้ารักข้อเตือนใจเหล่านั้นอย่างยิ่ง.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:167, ล.ม.) เราจะรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวาอย่างยิ่งหากเรามองและยอมรับข้อเตือนใจเหล่านั้นว่าเป็นคำตักเตือนของพระบิดาผู้ทรงใฝ่พระทัยในตัวเราอย่างแท้จริง. (1 เปโตร 5:6, 7) เราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจจากพระองค์ และความรักของเราต่อข้อเตือนใจเหล่านั้นจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเราเห็นถึงวิธีที่เราได้รับประโยชน์จากข้อเตือนใจของพระเจ้า.
เหตุที่เราจำเป็นต้องได้รับ ข้อเตือนใจของพระเจ้า
6. เหตุผลหนึ่งที่เราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจของพระยะโฮวาคืออะไร และอะไรจะช่วยเราให้ระลึกถึงข้อเตือนใจเหล่านั้น?
6 เหตุผลหนึ่งที่เราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจของพระยะโฮวาก็คือ เรามักจะลืม. สารานุกรม เดอะ เวิลด์ บุ๊ก กล่าวว่า “โดยทั่วไป คนเราจะลืมไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป. . . . คุณคงเคยมีประสบการณ์ที่นึกชื่อหรือข้อมูลอื่น ๆ บางอย่างไม่ออก ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลนั้นมาอยู่ที่ปลายลิ้นแล้ว. . . . การสูญเสียความทรงจำไปชั่วขณะเช่นนั้น ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เรียกกันว่าความล้มเหลวในการกู้ข้อมูล. นักวิทยาศาสตร์เปรียบอาการเช่นนี้เหมือนกับการพยายามหาของที่ลืมทิ้งไว้ในห้องที่รก ๆ. . . . วิธีที่ดีวิธีหนึ่งเพื่อรับประกันว่าจะสามารถจำข้อมูลในเรื่องหนึ่งได้คือ ให้พินิจพิจารณาเรื่องนั้นต่อไปอีกหลังจากที่คุณคิดว่าเข้าใจเรื่องนั้นดีแล้ว.” การศึกษาอย่างขยันขันแข็งและการทบทวนจะช่วยเราให้ระลึกถึงข้อเตือนใจของพระเจ้าและประพฤติสอดคล้องกับข้อเตือนใจนั้นเพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง.
7. เหตุใดในเวลานี้เราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจของพระเจ้ายิ่งกว่าที่แล้ว ๆ มา?
บทเพลงสรรเสริญ 119:99-101) โดยปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระเจ้า เราจะรักษาตัวห่างจาก “ทางชั่วทุกทาง” และจะไม่เป็นเช่นเดียวกับมนุษยชาติทั้งมวลซึ่ง “อยู่ในความมืดทางจิตใจและเหินห่างไปจากชีวิตซึ่งเป็นของพระเจ้า.”—เอเฟโซ 4:17-19, ล.ม.
7 เราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจของพระยะโฮวาในสมัยนี้ยิ่งกว่าที่แล้ว ๆ มา เนื่องจากความชั่วร้ายได้ทวีขึ้นจนถึงขีดสุดแล้วในประวัติศาสตร์ของมนุษย์. หากเราเอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระเจ้า เราได้รับความหยั่งเห็นเข้าใจที่จำเป็นเพื่อจะหลีกเลี่ยงการถูกลวงให้หลงเข้าสู่แนวทางอันชั่วร้ายของโลก. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีความเข้าใจมากกว่าบรรดาอาจารย์ของข้าพเจ้า; เพราะข้อปฏิญาณ [“ข้อเตือนใจ,” ล.ม.] ของพระองค์เป็นข้อภาวนาของข้าพเจ้า. ข้าพเจ้ามีความเข้าใจมากกว่าคนชรา, เพราะข้าพเจ้าได้ถือรักษาพระโอวาทของพระองค์. ข้าพเจ้าได้ยั้งเท้าของข้าพเจ้าให้เว้นเสียจากทางชั่วทุกทาง, เพื่อข้าพเจ้าจะได้ประพฤติตามพระวจนะของพระองค์.” (8. เราจะเตรียมตัวให้พร้อมยิ่งขึ้นเพื่อเผชิญกับการทดสอบความเชื่ออย่างประสบผลสำเร็จได้อย่างไร?
8 ข้อเตือนใจของพระเจ้ายังเป็นสิ่งที่จำเป็นอีกด้วยเนื่องจากข้อเตือนใจนั้นจะช่วยเราให้อดทนการทดลองมากมายใน “เวลาอวสาน” นี้. (ดานิเอล 12:4, ล.ม.) หากปราศจากข้อเตือนใจเช่นนั้นแล้ว เราคงกลายเป็น “ผู้ฟังที่หลงลืม.” (ยาโกโบ 1:25, ล.ม.) แต่การศึกษาส่วนตัวอย่างขยันขันแข็งและการศึกษาพระคัมภีร์ที่ประชาคมโดยใช้สรรพหนังสือจาก “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” จะช่วยเราให้เผชิญกับการทดสอบความเชื่ออย่างประสบผลสำเร็จ. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) การจัดเตรียมฝ่ายวิญญาณเช่นนั้นช่วยให้เราเห็นว่าเราต้องทำอะไรเพื่อจะเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวาเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยากเข็ญ.
บทบาทสำคัญของการประชุม
9. “ของประทานในลักษณะมนุษย์” คือใคร และพวกเขาช่วยเพื่อนร่วมความเชื่ออย่างไร?
9 ความจำเป็นของเราที่ต้องได้รับข้อเตือนใจของพระเจ้าได้รับการสนองส่วนหนึ่ง ณ การประชุมคริสเตียน ซึ่งได้จัดให้มีการสอนโดยพี่น้องชายที่ได้รับแต่งตั้ง. อัครสาวกเปาโลเขียนว่าเมื่อพระเยซู “เสด็จขึ้นเบื้องสูงพระองค์ทรงนำเอาเชลยไป; พระองค์ทรงให้ของประทานในลักษณะมนุษย์.” เปาโลกล่าวอีกว่า “[พระคริสต์] ได้ประทานบางคนให้เป็นอัครสาวก ให้บางคนเป็นผู้พยากรณ์ ให้บางคนเป็นผู้เผยแพร่กิตติคุณ ให้บางคนเป็นผู้บำรุงเลี้ยงและผู้สอน โดยมุ่งหมายที่จะปรับผู้บริสุทธิ์ให้เข้าที่อีกเพื่องานรับใช้ เพื่อการก่อร่างสร้างพระกายของพระคริสต์.” (เอเฟโซ 4:8, 11, 12, ล.ม.) เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่ “ของประทานในลักษณะมนุษย์” เหล่านี้ ซึ่งก็คือเหล่าผู้ปกครองที่ได้รับแต่งตั้ง ชี้นำเราให้เอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาเมื่อเราประชุมด้วยกันเพื่อนมัสการ!
10. จุดสำคัญของเฮ็บราย 10:24, 25 คืออะไร?
10 การหยั่งรู้ค่าต่อสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมให้จะกระตุ้นเราให้อยู่ ณ การประชุมประชาคมทั้งห้ารายการในแต่ละสัปดาห์. เปาโลเน้นถึงความจำเป็นต้องประชุมด้วยกันเป็นประจำ. ท่านเขียนว่า “ให้เราพิจารณาดูกันและกันเพื่อเร้าใจให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี ไม่ละการประชุมร่วมกันเหมือนบางคนทำเป็นนิสัย แต่ชูใจซึ่งกันและกัน และให้มากขึ้นเมื่อท่านทั้งหลายเห็นวันนั้นใกล้เข้ามา.”—เฮ็บราย 10:24, 25, ล.ม.
11. การประชุมประจำสัปดาห์ของเราแต่ละรายการให้ประโยชน์แก่เราอย่างไร?
1 โกรินโธ 2:12; กิจการ 15:31) ในการประชุมสาธารณะ ผู้บรรยายเสนอคำสอนจากพระคำของพระเจ้า รวมทั้งข้อเตือนใจของพระยะโฮวาและ “ถ้อยคำแห่งชีวิตนิรันดร์” อันเยี่ยมยอดของพระเยซู. (โยฮัน 6:68, ล.ม.; 7:46; มัดธาย 5:1–7:29) ทักษะในการสอนของเราได้รับการฝึกฝนในโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า. การประชุมวิธีปฏิบัติงานเป็นประโยชน์มากในการช่วยเราให้ปรับปรุงการเสนอข่าวดีตามบ้าน, การกลับเยี่ยมเยียน, การนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน, และแนวทางอื่น ๆ ในงานรับใช้ของเรา. กลุ่มการศึกษาหนังสือประจำประชาคมซึ่งมีขนาดเล็กกว่าทำให้เรามีโอกาสแสดงความเห็นได้มากขึ้น และบ่อยครั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อเตือนใจของพระเจ้า.
11 คุณหยั่งรู้ค่าผลประโยชน์ที่การประชุมมีให้แก่เราไหม? การศึกษาหอสังเกตการณ์ ประจำสัปดาห์เสริมความเชื่อของเรา, ช่วยเราปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับข้อเตือนใจของพระยะโฮวา, และเสริมเราให้แข็งแกร่งเพื่อต่อต้าน “วิญญาณของโลก.” (12, 13. ไพร่พลของพระเจ้าในประเทศหนึ่งทางเอเชียแสดงความหยั่งรู้ค่าอย่างไรต่อการประชุมคริสเตียน?
12 การอยู่ร่วม ณ การประชุมประชาคมเป็นประจำช่วยเตือนเราให้ระลึกถึงพระบัญญัติของพระเจ้า และช่วยเราให้แข็งแรงเสมอทางฝ่ายวิญญาณแม้เผชิญกับสงคราม, ความลำบากทางเศรษฐกิจ, และการทดสอบความเชื่อในลักษณะอื่น ๆ. มีการตระหนักถึงความสำคัญของการประชุมอย่างมากในกลุ่มของคริสเตียนประมาณ 70 คนในประเทศหนึ่งทางเอเชีย ซึ่งต้องหนีจากบ้านเรือนของตนและอาศัยในป่าลึก. ด้วยความตั้งใจแน่วแน่จะประชุมร่วมกันต่อไปเป็นประจำ พวกเขาหวนกลับเข้ามาในเมืองซึ่งประสบความเสียหายเพราะสงคราม รื้อถอนส่วนที่ยังเหลืออยู่ของหอประชุมราชอาณาจักร แล้วนำไปสร้างขึ้นใหม่ในป่า.
13 หลังจากหลายปีที่ต้องอดทนกับการต่อสู้ในอีกส่วนหนึ่งของประเทศเดียวกันนี้ ไพร่พลของพระยะโฮวายังคงรับใช้ด้วยใจแรงกล้า. เมื่อถามผู้ปกครองคนหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวว่า “อะไรช่วยให้พี่น้องเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกันได้ดีที่สุด?” เขาตอบอย่างไร? “เป็นเวลานานถึง 19 ปี เราไม่เคยพลาดการประชุม. บางครั้ง เนื่องจากมีการทิ้งระเบิดหรือมีปัญหาอื่น ๆ พี่น้องบางคนไม่อาจมาถึงสถานที่ประชุมได้ แต่เราไม่เคยงดการประชุม.” แน่นอนทีเดียว พี่น้องที่รักเหล่านี้เห็นความสำคัญของการ “ไม่ละการประชุมร่วมกัน.”
14. เราเรียนอะไรได้จากสิ่งที่อันนาผู้ชราทำเป็นปกติวิสัย?
14 อันนา หญิงม่ายวัย 84 ปี “ไม่เคยหายหน้าไปจากพระวิหารเลย.” ผลคือ เธออยู่ที่นั่นเมื่อได้มีการนำพระกุมารเยซูมาที่พระวิหารไม่กี่วันหลังจากพระองค์ประสูติ. (ลูกา 2:36-38, ล.ม.) คุณตั้งใจแน่วแน่ไหมว่าจะไม่ขาดการประชุม? คุณพยายามอย่างดีที่สุดไหมเพื่อจะสามารถเข้าร่วมทุกส่วนในการ ประชุมหมวดและการประชุมภาค? การสอนที่ให้ประโยชน์ฝ่ายวิญญาณซึ่งได้รับ ณ การประชุมเหล่านี้ทำให้เรามีหลักฐานชัดเจนว่าพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราทรงใฝ่พระทัยไพร่พลของพระองค์. (ยะซายา 40:11) โอกาสเหล่านั้นยังส่งเสริมให้มีความยินดี และการที่เราอยู่ที่นั่นแสดงถึงความหยั่งรู้ค่าของเราที่มีต่อข้อเตือนใจของพระยะโฮวา.—นะเฮมยา 8:5-8, 12.
ถูกแยกไว้ต่างหากด้วยข้อเตือนใจของพระยะโฮวา
15, 16. การปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระยะโฮวามีผลกระทบต่อความประพฤติของเราอย่างไร?
15 การปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระเจ้าช่วยแยกเราไว้ต่างหากจากโลกชั่วนี้. เพื่อเป็นตัวอย่าง การเอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระเจ้าช่วยป้องกันเราไว้จากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการผิดศีลธรรมทางเพศ. (พระบัญญัติ 5:18; สุภาษิต 6:29-35; เฮ็บราย 13:4) เราสามารถเอาชนะการล่อใจให้โกหก, ให้ประพฤติไม่ซื่อสัตย์, หรือให้ขโมย ด้วยการปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระเจ้า. (เอ็กโซโด 20:15, 16; เลวีติโก 19:11; สุภาษิต 30:7-9; เอเฟโซ 4:25, 28; เฮ็บราย 13:18) การปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระยะโฮวายังยับยั้งเราไว้จากการแก้แค้น, การผูกใจเจ็บ, หรือการให้ร้ายป้ายสีผู้อื่นด้วย.—เลวีติโก 19:16, 18; บทเพลงสรรเสริญ 15:1, 3.
16 โดยการเอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระเจ้า เรารักษาตัวบริสุทธิ์หรือถูกแยกไว้ต่างหากเพื่อการรับใช้พระองค์. และสำคัญสักเพียงไรที่จะต้องอยู่ต่างหากจากโลกนี้! ในคำอธิษฐานถึงพระยะโฮวาในคืนสุดท้ายของชีวิตพระองค์บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงวิงวอนขอเพื่อเหล่าสาวกดังนี้: “ข้าพเจ้ามอบพระคำของพระองค์แก่พวกเขาแล้ว แต่โลกได้เกลียดชังเขา เพราะเขาไม่เป็นส่วนของโลก เหมือนข้าพเจ้าไม่เป็นส่วนของโลก. ข้าพเจ้าทูลขอพระองค์ มิให้นำพวกเขาไปจากโลก แต่ขอทรงพิทักษ์เขาไว้เพราะตัวชั่วร้าย. พวกเขาไม่เป็นส่วนของโลก เหมือนข้าพเจ้าไม่เป็นส่วนของโลก. ขอทรงทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ด้วยความจริง; พระคำของพระองค์เป็นความจริง.” (โยฮัน 17:14-17, ล.ม.) ขอให้เราถือว่าพระคำของพระเจ้าเป็นสิ่งล้ำค่า ซึ่งช่วยแยกเราไว้ต่างหากเพื่อถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระองค์.
17. อาจเกิดอะไรขึ้นหากเราเพิกเฉยข้อเตือนใจของพระเจ้า และดังนั้นเราควรทำอะไร?
17 ในฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวา เราต้องการรักษาตัวให้เป็นที่ยอมรับได้สำหรับการรับใช้พระองค์. อย่างไรก็ตาม หากเราเพิกเฉยข้อเตือนใจของพระเจ้า เราอาจพ่ายแพ้แก่วิญญาณของโลก ซึ่งมีการส่งเสริมในคำพูด, หนังสือ, ความบันเทิง, และความประพฤติส่วนใหญ่ของโลกนี้. และแน่นอน เราไม่ต้องการเป็นคนรักเงินทอง, อวดตัว, จองหอง, อกตัญญู, ไม่ภักดี, ดุร้าย, หัวดื้อ, พองตัวด้วยความหยิ่ง, เป็นคนรักการสนุกสนานแทนที่จะรักพระเจ้า—ทั้งนี้กล่าวเพียงแค่ไม่กี่อย่างของลักษณะนิสัยที่ผู้คนซึ่งเหินห่างจากพระเจ้าแสดงออก. (2 ติโมเธียว 3:1-5) เนื่องจากเรามีชีวิตล่วงเลยเข้ามามากแล้วในสมัยสุดท้ายแห่งระบบชั่วนี้ ให้เราอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอยู่เสมอ เพื่อเราจะสามารถปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป และโดยวิธีนี้จึง “ระวังในทางประพฤติตามพระดำรัสของพระองค์” อยู่เสมอ.—บทเพลงสรรเสริญ 119:9.
18. การปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระเจ้าจะเป็นเหตุให้เราทำอะไรที่ดี?
พระบัญญัติ 6:5; บทเพลงสรรเสริญ 4:5; สุภาษิต 3:5, 6; มัดธาย 22:37; มาระโก 12:30) ข้อเตือนใจของพระเจ้ายังกระตุ้นเราให้รักเพื่อนบ้านของเราด้วย. (เลวีติโก 19:18; มัดธาย 22:39) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราแสดงความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนบ้านโดยการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าและแบ่งปัน “ความรู้ของพระเจ้า” ที่ให้ชีวิตแก่ผู้อื่น.—สุภาษิต 2:1-5.
18 ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาไม่เพียงแค่เตือนเราถึงสิ่งที่เราต้องไม่ทำ. การปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระองค์จะทำให้เราลงมือทำสิ่งที่ดี, กระตุ้นเราให้ไว้วางใจพระยะโฮวาเต็มที่, และรักพระองค์ด้วยสิ้นสุดหัวใจ, จิตวิญญาณ, จิตใจ, และกำลังของเรา. (การปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระยะโฮวาหมายถึงชีวิต!
19. เราจะแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้อย่างไรว่าการเอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์?
19 หากเราปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระยะโฮวาและช่วยผู้อื่นให้ทำอย่างนั้น เราจะช่วยทั้งตัวเราเองและคนที่ฟังเราให้รอด. (1 ติโมเธียว 4:16) เราจะแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้โดยวิธีใดว่าการเอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง? โดยการใช้หลักการในคัมภีร์ไบเบิลในชีวิตของเราเอง. โดยวิธีนี้ “คนทั้งหลายที่มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์” จะเห็นหลักฐานว่าแนวทางที่วางไว้ในพระคำของพระเจ้าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่ควรติดตาม. (กิจการ 13:48, ล.ม.) พวกเขายังจะเห็นด้วยว่า ‘พระเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางเราจริง ๆ’ และจะถูกกระตุ้นให้ร่วมกับเราในการนมัสการพระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศร.—1 โกรินโธ 14:24, 25.
20, 21. ข้อเตือนใจของพระเจ้าและพระวิญญาณของพระองค์จะช่วยเราให้สามารถทำอะไร?
20 โดยการศึกษาพระคัมภีร์, ใช้สิ่งที่เราเรียนรู้, และรับประโยชน์เต็มที่ต่อ ๆ ไปจากการจัดเตรียมต่าง ๆ ทางฝ่ายวิญญาณของพระยะโฮวา เราก็จะรักข้อเตือนใจของพระองค์อย่างยิ่ง. หากเราเอาใจใส่ ข้อเตือนใจเหล่านี้จะช่วยเราให้สวม “บุคลิกภาพใหม่ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าในความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟโซ 4:20-24, ล.ม.) ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์จะช่วยเราให้สำแดงความรัก, ความยินดี, สันติสุข, ความอดกลั้นทนนาน, ความกรุณา, ความดี, ความเชื่อ, ความอ่อนโยน, การรู้จักบังคับตน—คุณลักษณะที่ต่างอย่างมากจากลักษณะนิสัยของโลกซึ่งอยู่ในอำนาจของซาตาน! (ฆะลาเตีย 5:22, 23; 1 โยฮัน 5:19) ด้วยเหตุนั้น เราน่าจะหยั่งรู้ค่าเมื่อเราได้รับการเตือนใจให้นึกถึงข้อเรียกร้องของพระยะโฮวาขณะที่เราศึกษาส่วนตัว, โดยผู้ปกครองซึ่งได้รับแต่งตั้ง, อีกทั้ง ณ การประชุมประชาคม, การประชุมหมวด, และการประชุมภาค.
21 เนื่องจากเราปฏิบัติตามข้อเตือนใจของพระยะโฮวา เราจึงสามารถชื่นชมยินดี แม้แต่เมื่อต้องทนทุกข์เพราะเห็นแก่ความชอบธรรม. (ลูกา 6:22, 23) เราหมายพึ่งพระเจ้าเพื่อช่วยเราให้รอดพ้นสถานการณ์ที่คุกคามอย่างหนักที่สุด. การหมายพึ่งดังกล่าวนับว่าสำคัญเป็นพิเศษในเวลานี้ที่ชาติทั้งปวงกำลังถูกรวบรวมเข้ามาสู่ “สงครามแห่งวันใหญ่ของพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ” ณ ฮาร์–มาเกดโอน.—วิวรณ์ 16:14-16, ล.ม.
22. ความตั้งใจแน่วแน่ของเราควรเป็นเช่นไรเกี่ยวด้วยข้อเตือนใจของพระยะโฮวา?
22 หากเราปรารถนาจะได้รับของประทานอันไม่พึงได้รับอันได้แก่ชีวิตนิรันดร์ เราต้องรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวาอย่างยิ่งและปฏิบัติตามด้วยสิ้นสุดหัวใจ. ด้วยเหตุนั้น ขอให้เรามีน้ำใจแบบเดียวกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งร้องเพลงว่า “ข้อปฏิญาณ [“ข้อเตือนใจ,” ล.ม.] ของพระองค์ก็ยุติธรรมเป็นนิตย์: ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้าเข้าใจ, เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:144) และขอให้เราสำแดงความแน่วแน่อย่างที่เห็นได้ชัดในคำกล่าวของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ที่ว่า “ข้าพเจ้าร้องทูลพระองค์ [พระยะโฮวา] แล้ว; ขอทรงช่วยให้รอด, ข้าพเจ้าจะได้ถือตามข้อปฏิญาณ [“ข้อเตือนใจ,” ล.ม.] ของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:146) ใช่แล้ว ด้วยคำพูดและการกระทำ ให้เราพิสูจน์ว่าเรารักข้อเตือนใจของพระยะโฮวามากยิ่งอย่างแท้จริง.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญมีทัศนะอย่างไรต่อข้อเตือนใจของพระยะโฮวา?
• เหตุใดเราจำเป็นต้องได้รับข้อเตือนใจของพระเจ้า?
• การประชุมต่าง ๆ ของเรามีบทบาทเช่นไรเกี่ยวข้องกับข้อเตือนใจของพระเจ้า?
• ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาแยกเราไว้ต่างหากจากโลกนี้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญรักข้อเตือนใจของพระยะโฮวาอย่างยิ่ง
[ภาพหน้า 16, 17]
โดยติดตามตัวอย่างของอันนา คุณตั้งใจแน่วแน่จะไม่ขาดการประชุมไหม?
[ภาพหน้า 18]
การเอาใจใส่ข้อเตือนใจของพระยะโฮวาแยกเราไว้ต่างหากในฐานะคนที่สะอาดและเป็นที่ยอมรับสำหรับการรับใช้ของพระองค์