ความรักของคุณกว้างขวางขนาดไหน?
ความรักของคุณกว้างขวางขนาดไหน?
“เจ้าต้องรักเพื่อนบ้านของเจ้าเหมือนตนเอง.”—มัดธาย 22:39, ล.ม.
1. หากเรารักพระยะโฮวา เหตุใดเราต้องรักเพื่อนบ้านของเราด้วย?
เมื่อมีผู้ถามพระเยซูว่าบัญญัติข้อใดใหญ่ที่สุด พระองค์ตรัสตอบว่า “จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตต์ของเจ้า, และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า.” จากนั้น พระองค์ทรงยกบัญญัติข้อที่สองซึ่งคล้ายกับข้อแรก ที่ว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.” (มัดธาย 22:37, 39) ถูกแล้ว ความรักต่อเพื่อนบ้านเป็นเครื่องหมายระบุตัวคริสเตียน. ที่จริง หากเรารักพระยะโฮวา เราต้อง รักเพื่อนบ้านของเรา. เพราะเหตุใด? เพราะเราแสดงความรักต่อพระเจ้าโดยเชื่อฟังพระคำของพระองค์ และพระคำของพระองค์มีพระบัญชาให้เรารักเพื่อนบ้านของเรา. ดังนั้น หากเราไม่รักพี่น้องของเรา ความรักของเราต่อพระเจ้าไม่อาจเป็นความรักที่แท้จริงได้.—โรม 13:8; 1 โยฮัน 2:5; 4:20, 21.
2. เราควรมีความรักแบบใดต่อเพื่อนบ้านของเรา?
2 เมื่อพระเยซูตรัสว่าเราควรรักเพื่อนบ้านของเรา พระองค์ไม่ได้หมายถึงเพียงมิตรภาพ. และพระองค์ทรงหมายถึงความรักที่ต่างไปจากความรักตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในวงครอบครัวหรือระหว่างชายหญิง. พระองค์กำลังตรัสถึงความรักแบบที่พระยะโฮวาทรงมีต่อผู้รับใช้ที่อุทิศตัวของพระองค์และความรักที่พวกเขามีต่อพระองค์. (โยฮัน 17:26; 1 โยฮัน 4:11, 19) อาลักษณ์ชาวยิวคนหนึ่ง—ซึ่งพระเยซูทรงสังเกตว่าพูดจาหลักแหลม—เห็นพ้องกับพระเยซูในข้อที่ว่า ควรรักพระเจ้า “ด้วยสุดใจสุดความเข้าใจและสิ้นสุดกำลัง.” (มาระโก 12:28-34) เขากล่าวถูกต้อง. ความรักที่คริสเตียนปลูกฝังทั้งต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนบ้านเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความสามารถของเราในการเข้าใจเหตุผล. ความรักนี้รู้สึกได้ในหัวใจและได้รับการนำทางโดยความคิดจิตใจ.
3. (ก) พระเยซูทรงสอน “บาเรียนคนหนึ่ง” อย่างไรให้เขามีทัศนะที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับผู้ที่เป็นเพื่อนบ้านของเขา? (ข) อุทาหรณ์ของพระเยซูใช้กับคริสเตียนในทุกวันนี้อย่างไร?
ลูกา 10:25-37) ชายที่ชำนาญในพระบัญญัติอาจตกตะลึงที่ได้ยินพระเยซูตรัสว่าชาวซะมาเรียสามารถเป็นเพื่อนบ้านที่ดียิ่งกว่าปุโรหิตและเลวี. เห็นได้ชัด พระเยซูกำลังช่วยชายผู้นี้ให้รักเพื่อนบ้านในแบบที่กว้างขวางกว่า. คริสเตียนมีความรักแบบนั้นด้วย. ขอให้พิจารณาว่าพวกเขาแสดงความรักต่อใครบ้าง.
3 ตามที่ลูการายงานไว้ เมื่อพระเยซูตรัสว่าเราควรรักเพื่อนบ้านของเรา “บาเรียนคนหนึ่ง” ถามขึ้นมาว่า “ใครเป็นเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า?” พระเยซูทรงตอบด้วยอุทาหรณ์. มีชายคนหนึ่งถูกทุบตีและปล้นชิงทรัพย์ แล้วทิ้งไว้ข้างถนนในสภาพปางตาย. ทีแรกมีปุโรหิตคนหนึ่งเดินผ่านมา และหลังจากนั้นก็มีเลวีคนหนึ่งผ่านมา. ทั้งสองคนต่างไม่แยแสชายคนนี้. ในที่สุด มีชาวซะมาเรียคนหนึ่งผ่านมา เห็นชายคนนี้บาดเจ็บอยู่ จึงได้ช่วยด้วยความกรุณาอย่างยิ่ง. ใครในสามคนนี้เป็นเพื่อนบ้านของชายที่บาดเจ็บ? คำตอบเห็นได้ชัดอยู่แล้ว. (ความรักในครอบครัว
4. ก่อนอื่น คริสเตียนแสดงความรักที่ไหน?
4 คริสเตียนรักคนในครอบครัว—ภรรยารักสามี, สามีรักภรรยา, บิดามารดารักบุตร. (ท่านผู้ประกาศ 9:9; เอเฟโซ 5:33; ติโต 2:4) จริงอยู่ ความผูกพันตามธรรมชาติของความรักมีอยู่ในครอบครัวส่วนใหญ่. อย่างไรก็ตาม รายงานเกี่ยวกับครอบครัวที่แตกแยก, การทุบตีคู่สมรส, และเด็ก ๆ ที่ถูกละเลยหรือถูกกระทำทารุณชี้ว่าครอบครัวในปัจจุบันประสบความตึงเครียด และความรู้สึกตามธรรมชาติภายในครอบครัวอาจไม่เพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวครอบครัวไว้ด้วยกัน. (2 ติโมเธียว 3:1-3) เพื่อจะประสบความสำเร็จจริง ๆ ในชีวิตครอบครัว คริสเตียนจำเป็นต้องแสดงความรักแบบที่พระยะโฮวาและพระเยซูทรงมี.—เอเฟโซ 5:21-27.
5. บิดามารดาหมายพึ่งความช่วยเหลือจากผู้ใดในการเลี้ยงดูบุตร และผลเป็นเช่นไรสำหรับหลายคน?
5 คริสเตียนที่เป็นบิดามารดาถือว่าบุตรเป็นสิ่งมีค่าที่พระยะโฮวาทรงมอบให้ และหมายพึ่งความช่วยเหลือจากพระองค์ในการเลี้ยงดูบุตร. (บทเพลงสรรเสริญ 127:3-5; สุภาษิต 22:6) โดยวิธีนี้พวกเขาปลูกฝังความรักแบบคริสเตียน ซึ่งช่วยเขาให้ปกป้องบุตรไว้จากอิทธิพลอันเสื่อมทรามที่คนหนุ่มสาวอาจตกเป็นเหยื่อ. ผลคือ คริสเตียนที่เป็นบิดามารดาหลายคนประสบความยินดีคล้าย ๆ กับที่มารดาผู้หนึ่งในเนเธอร์แลนด์ประสบ. หลังจากที่เห็นบุตรชายรับบัพติสมา—หนึ่งใน 575 คนในเนเธอร์แลนด์ที่รับบัพติสมาเมื่อปีที่แล้ว—เธอเขียนจดหมายมาดังนี้: “ในตอนนี้ การลงทุนลงแรงของดิฉันตลอด 20 ปีมานี้ได้รับผลตอบแทนแล้ว. ดิฉันลืมไปหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นเวลาและพลังทั้งหมดที่ได้ใช้ไป หรือความสะเทือนใจ, ความบากบั่น, และความเสียใจ.” เธอมีความสุขสักเพียงไรที่บุตรชายใช้เจตจำนงเสรีของเขาเองเลือกที่จะรับใช้พระยะโฮวา. ในยอดผู้ประกาศทั้งหมด 31,089 คนที่ส่งรายงานในเนเธอร์แลนด์เมื่อปีที่แล้ว มีหลายคนซึ่งได้เรียนรู้จากบิดามารดาของตนที่จะรักพระยะโฮวา.
6. ความรักแบบคริสเตียนช่วยเสริมสายสมรสให้เหนียวแน่นได้อย่างไร?
6 เปาโลเรียกความรักว่าเป็น “เครื่องเชื่อมสามัคคีที่ดีพร้อม” และความรักสามารถรักษาสายสมรสเอาไว้แม้ต้องฟันฝ่าช่วงเวลาที่ปั่นป่วนวุ่นวาย. (โกโลซาย 3:14, 18, 19, ล.ม.; 1 เปโตร 3:1-7) เมื่อชายผู้หนึ่งในรูรูตู เกาะเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะตาฮิตี 700 กิโลเมตร เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวา ภรรยาของเขาต่อต้านอย่างหนัก. ในที่สุด เธอทิ้งเขาและพาลูก ๆ ไปอยู่กับเธอที่ตาฮิตี. ถึงกระนั้น เขาแสดงความรักโดยส่งเงินไปให้เธอเป็นประจำและโทรศัพท์ไปถามว่าเธอกับลูกขาดสิ่งจำเป็นอะไรไหม. โดยวิธีนี้ เขาได้ทำอย่างดีที่สุดเพื่อทำตามพันธะในฐานะคริสเตียน. (1 ติโมเธียว 5:8) เขาอธิษฐานเป็นประจำขอให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ร่วมกัน และในที่สุดภรรยาเขาก็กลับมา. เมื่อเธอกลับมา เขาปฏิบัติต่อเธอด้วย “ความรัก, ความอดทน, มีใจอ่อนโยน.” (1 ติโมเธียว 6:11, ล.ม.) ในปี 1998 เขารับบัพติสมา และในเวลาต่อมาเขาก็ยินดีอย่างยิ่งเมื่อภรรยาของเขาตกลงจะศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. การศึกษานี้เป็นรายหนึ่งจากจำนวนทั้งหมด 1,351 รายในปีที่แล้วในเขตที่สาขาตาฮิตีดูแล.
7. ตามที่ชายผู้หนึ่งในเยอรมนีกล่าว อะไรทำให้สายสัมพันธ์ในชีวิตสมรสของเขาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น?
7 ที่เยอรมนี ชายผู้หนึ่งต่อต้านเมื่อภรรยาสนใจความจริงในคัมภีร์ไบเบิล และเขาปักใจเชื่อว่าพยานพระยะโฮวามุ่งหมายจะหลอกลวงเธอ. อย่างไรก็ตาม ต่อมาเขาได้เขียน
จดหมายถึงพยานฯ ที่ติดต่อกับภรรยาของเขาเป็นคนแรกว่า “ขอบคุณที่คุณช่วยภรรยาผมให้ได้รู้จักกับพยานพระยะโฮวา. ทีแรก ผมรู้สึกกังวลเพราะผมได้ยินเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับพวกเขามามาก. แต่ตอนนี้ เมื่อได้ไปร่วมการประชุมกับภรรยาของผม ผมรู้แล้วว่าผมคิดผิดไปถนัด. ผมรู้ว่าสิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังอยู่นี้เป็นความจริง และความจริงนี้ทำให้สายสัมพันธ์ในชีวิตสมรสของเราแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น.” ในบรรดาพยานพระยะโฮวา 162,932 คนในเยอรมนีและ 1,773 คนในเกาะต่าง ๆ ที่สาขาตาฮิตีดูแล มีหลายครอบครัวที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความรักแบบพระเจ้า.ความรักต่อพี่น้องคริสเตียนของเรา
8, 9. (ก) ใครสอนเราให้รักพี่น้องของเรา และความรักกระตุ้นเราให้ทำอะไร? (ข) จงยกตัวอย่างวิธีที่ความรักสามารถช่วยพี่น้องให้เกื้อหนุนกันและกัน.
8 เปาโลกล่าวต่อคริสเตียนในเมืองเธซะโลนิเกว่า “พวกท่านเองได้รับการสอนจากพระเจ้าให้รักกันและกัน.” (1 เธซะโลนิเก 4:9, ล.ม.) ใช่แล้ว คนเหล่านั้นที่ได้รับการ “สั่งสอนจากพระยะโฮวา” รักกันและกัน. (ยะซายา 54:13, ล.ม.) ความรักของพวกเขาแสดงออกด้วยการกระทำ ดังที่เปาโลชี้ให้เห็นเมื่อท่านกล่าวว่า “จงรับใช้กันและกันด้วยความรักเถิด.” (ฆะลาเตีย 5:13, ฉบับแปลใหม่; 1 โยฮัน 3:18) ยกตัวอย่าง พวกเขาแสดงความรักเมื่อพวกเขาเยี่ยมพี่น้องที่ป่วย, หนุนกำลังใจคนที่หดหู่, และเกื้อหนุนผู้ที่อ่อนแอ. (1 เธซะโลนิเก 5:14) ความรักแท้แบบคริสเตียนที่เราแสดงออกมีส่วนสนับสนุนอุทยานฝ่ายวิญญาณของเราให้เติบโตต่อ ๆ ไป.
9 ในประชาคมอังโคน ซึ่งเป็นประชาคมหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 544 ประชาคมในเอกวาดอร์ พวกพี่น้องแสดงความรักในภาคปฏิบัติ. วิกฤติการณ์ทางการเงินทำให้พวกเขาไม่มีงานไม่มีรายได้ ดังนั้น เหล่าผู้ประกาศจึงตัดสินใจว่าจะหาเงินด้วยการขายอาหารแก่ชาวประมงในท้องถิ่นเมื่อคนเหล่านี้กลับถึงบ้านหลังจากออกหาปลาในเวลากลางคืน. ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งเด็ก ๆ ด้วย. พวกเขาต้องเริ่มตอนตีหนึ่งเพื่อจะทำอาหารให้เสร็จก่อนตีสี่ซึ่งเป็นเวลาที่ชาวประมงกลับมา. มีการนำเงินที่พี่น้องหาได้มาแบ่งกันตามความจำเป็นของแต่ละคน. การช่วยเหลือกันและกันเช่นนี้แสดงถึงความรักแท้แบบคริสเตียน.
10, 11. เราจะแสดงความรักต่อพี่น้องที่เราไม่รู้จักเป็นส่วนตัวได้อย่างไร?
10 อย่างไรก็ตาม ความรักของเราไม่จำกัดอยู่เฉพาะกับคริสเตียนที่เรารู้จักเป็นส่วนตัว. อัครสาวกเปโตรกล่าวว่า “[จง] มีความรักต่อสังคมแห่งพี่น้องทั้งสิ้น.” (1 เปโตร 2:, ล.ม.) เรารักพี่น้องของเราทุกคนเนื่องจากพวกเขาล้วนเป็นเพื่อนผู้นมัสการพระยะโฮวาพระเจ้าด้วยกัน. ในสมัยอันวิกฤติเช่นนี้ เราอาจมีโอกาสจะแสดงความรักแบบนี้. ยกตัวอย่าง ในระหว่างปีรับใช้ 2000 โมซัมบิกประสบอุทกภัยอย่างรุนแรง และสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อในแองโกลาทำให้หลายคนยากจน. พี่น้องจำนวนมากจากทั้งหมด 31,725 คนในโมซัมบิกและ 41,222 คนในแองโกลาได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว. ด้วยเหตุนั้น พยานฯ ในแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศใกล้เคียงได้ส่งข้าวของจำนวนมากเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับพี่น้องของพวกเขาในทั้งสองประเทศ. ความเต็มใจของพวกเขาที่จะบริจาคสิ่งที่เขา “มีบริบูรณ์” ให้แก่พี่น้องที่ขัดสนแสดงถึงความรักของพวกเขา.— 172 โกรินโธ 8:8, 13-15, 24.
11 นอกจากนี้ ยังเห็นถึงความรักได้ชัดเจนด้วยเมื่อพี่น้องในหลายประเทศบริจาคเพื่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักรและหอประชุมใหญ่ในดินแดนที่ยากจน. ตัวอย่างหนึ่งคือที่หมู่เกาะโซโลมอน. แม้ว่ามีความไม่สงบอยู่มาก แต่ก็มีการเพิ่มของผู้ประกาศในหมู่เกาะโซโลมอน 6 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดผู้ประกาศ 1,697 คนในปีที่แล้ว. พวกเขาวางแผนจะสร้างหอประชุมสำหรับการประชุมใหญ่. แม้ว่าชาวเกาะจำนวนมากกำลังอพยพออกนอกประเทศ เหล่าอาสาสมัครได้มาจากออสเตรเลียเพื่อช่วยในการก่อสร้าง. ในที่สุด อาสาสมัครเหล่านี้จำเป็นต้องจากไป แต่ก่อนหน้านั้นพวกเขาได้ฝึกอบรมพี่น้องท้องถิ่นไว้แล้วเพื่อจะก่อสร้างฐานรากให้เสร็จ. โครงเหล็กสำหรับสร้างอาคารหอประชุมซึ่งทำเตรียมไว้ก่อนแล้วถูกส่งมาจากออสเตรเลีย และเมื่ออาคารที่สวยงามนี้ซึ่งใช้ในการนมัสการแล้วเสร็จ—ในขณะที่อาคารมากมายในสถานที่ก่อสร้างต่าง ๆ ถูกทิ้งไว้สร้างไม่เสร็จ—จะให้คำพยานอย่างดีแก่พระนามของพระยะโฮวาและให้คำพยานถึงความรักของพวกพี่น้อง.
เช่นเดียวกับพระเจ้า เรารักโลก
12. เราเลียนแบบพระยะโฮวาอย่างไรในเรื่องเจตคติของเราต่อคนที่ไม่มีความเชื่อเช่นเดียวกับเรา?
12 ความรักของเราจำกัดไว้เฉพาะสำหรับครอบครัวและพี่น้องของเราเท่านั้นไหม? ไม่เป็นอย่างนั้นหากเราเป็น “ผู้เลียนแบบพระเจ้า.” พระเยซูตรัสว่า “พระเจ้าทรงรักโลก มากถึงกับทรงประทานพระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่สำแดงความเชื่อในพระองค์นั้นจะไม่ถูกทำลายแต่มีชีวิตนิรันดร์.” (เอเฟโซ 5:1, ล.ม.; โยฮัน 3:16, ล.ม.) เช่นเดียวกับพระยะโฮวาพระเจ้า เราแสดงความรักต่อทุกคน—รวมทั้งคนที่ไม่มีความเชื่อเช่นเดียวกับเรา. (ลูกา 6:35, 36; ฆะลาเตีย 6:10) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่นี้ เราประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรและบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับการกระทำอันยิ่งใหญ่ที่เปี่ยมด้วยความรักของพระเจ้าเพื่อพวกเขา. การประกาศนี้อาจยังผลเป็นความรอดสำหรับใครก็ตามที่รับฟัง.—มาระโก 13:10; 1 ติโมเธียว 4:16.
13, 14. มีประสบการณ์อะไรบ้างที่พี่น้องแสดงความรักต่อผู้ที่ไม่ใช่พยานฯ แม้ว่าตนเองจะไม่สะดวกอย่างมาก?
13 ขอให้พิจารณาประสบการณ์ของไพโอเนียร์พิเศษสี่คนในเนปาล. ทั้งสี่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในเมืองใหญ่แห่งหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และในช่วงห้าปีที่ผ่านไป พวกเขาได้แสดงความรักด้วยการให้คำพยานอย่างอดทนทั้งในเมืองและหมู่บ้านรอบนอก. เพื่อจะทำงานทั่วเขต บ่อยครั้งพวกเขาเดินทางหลายชั่วโมงด้วยจักรยานในสภาพอากาศที่ร้อนกว่า 40 องศาเซลเซียส. ความรักของพวกเขาและ “ความเพียรอดทนในการงานที่ดี” ก่อผลที่ดีเมื่อได้มีการตั้งกลุ่มศึกษาขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. (โรม 2:7) ในเดือนมีนาคมปี 2000 มี 32 คนได้มาฟังคำบรรยายสาธารณะจากผู้ดูแลหมวด. เนปาลมียอดผู้ประกาศ 430 คนเมื่อปีที่แล้ว—เพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์. พระยะโฮวาทรงอวยพรความมีใจแรงกล้าและความรักของพี่น้องในดินแดนแห่งนี้อย่างเห็นได้ชัด.
14 ที่โคลัมเบีย ไพโอเนียร์พิเศษชั่วคราวบางคนได้ไปประกาศในกลุ่มของชาวอินเดียนแดงไวยู. เพื่อจะประกาศที่นั่นได้ พวกเขาต้องเรียนภาษาใหม่ แต่ความสนใจด้วยความรักของพวกเขาได้รับรางวัลตอบแทนเมื่อมี 27 คนเข้าร่วมฟังคำบรรยายสาธารณะ แม้ว่าฝนตกหนัก. ความมีใจแรงกล้าด้วยความรักเช่นนั้นซึ่งไพโอเนียร์เหล่านี้แสดงออกมีส่วนช่วยให้มีการเพิ่มทวี 5 เปอร์เซ็นต์ในโคลัมเบียและมียอดผู้ประกาศ 107,613 คน. ที่เดนมาร์ก พี่น้องหญิงสูงอายุคนหนึ่งต้องการแบ่งปันข่าวดีแก่ผู้อื่น แต่เธอพิการ. เธอไม่ท้อถอย และติดต่อกับผู้สนใจด้วยการเขียนจดหมาย. ปัจจุบัน เธอติดต่อกับ 42 คนทางจดหมายและนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล 11 ราย. เธอเป็นคนหนึ่งในผู้ประกาศทั้งหมด 14,885 คนที่ส่งรายงานในเดนมาร์กเมื่อปีที่แล้ว.
จงรักศัตรูของคุณ
15, 16. (ก) พระเยซูตรัสว่าความรักของเราควรกว้างขวางขนาดไหน? (ข) พี่น้องที่รับผิดชอบจัดการด้วยความรักอย่างไรกับคนหนึ่งที่ได้กล่าวหาพยานพระยะโฮวาอย่างผิด ๆ?
15 พระเยซูทรงบอกชายซึ่งชำนาญในพระบัญญัติว่าชาวซะมาเรียนับเป็นเพื่อนบ้านของเขาด้วย. ในคำเทศน์บนภูเขา พระเยซูตรัสยิ่งกว่านั้นอีกว่า “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า ‘ท่านต้องรักเพื่อนบ้านของท่านและต้องเกลียดชังศัตรูของท่าน.’ แต่เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงรักศัตรูของท่านทั้งหลายต่อ ๆ ไป และอธิษฐานเผื่อผู้ที่ประทุษร้ายท่านทั้งหลาย; เพื่อท่านทั้งหลายจะได้พิสูจน์ตัวว่า เป็นบุตรแห่งพระบิดาของท่านทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์.” (มัดธาย 5:43-45, ล.ม.) แม้แต่เมื่อบางคนต่อต้านเรา เราพยายาม “เอาชนะความชั่วด้วยความดีต่อ ๆ ไป.” (โรม 12:19-21, ล.ม.) หากเป็นได้ เราแบ่งปันสิ่งล้ำค่าที่สุดที่เรามีให้แก่เขา คือความจริง.
16 ที่ยูเครน บทความหนึ่งในหนังสือพิมพ์คริมินชุก เฮรัลด์ กล่าวถึงพยานพระยะโฮวาว่าเป็นนิกายอันตราย. นี่นับเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะในยุโรปมีบางพวกกล่าวหาพยานพระยะโฮวาอย่างนี้เพื่อชักจูงประชาชนให้เห็นว่าควรจำกัดหรือห้ามกิจกรรมของพยานฯ. ดังนั้น จึงได้มีการเข้าพบพูดคุยกับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นี้และขอให้ตีพิมพ์คำประกาศแก้ไขบทความดังกล่าวให้ถูกต้อง. เขาบอกว่าจะทำ แต่เมื่อคำประกาศออกมา เขาได้พิมพ์ว่าบทความที่ลงในครั้งแรกมีข้อเท็จจริงสนับสนุน. เมื่อเป็นอย่างนี้ พี่น้องที่รับผิดชอบในเรื่องนี้จึงเข้าพบเขาอีกครั้งพร้อมกับได้ให้ข้อมูลมากขึ้น. ในที่สุด บรรณาธิการผู้นี้ก็ตระหนักว่าบทความที่ลงในครั้งแรกนั้นไม่ถูกต้อง และเขาได้ตีพิมพ์คำประกาศแก้ข่าว. การติดต่อกับชายผู้นี้อย่างจริงใจและกรุณาเป็นวิธีที่เปี่ยมด้วยความรักในการจัดการสถานการณ์ และทำให้เกิดผลดีในที่สุด.
เราจะปลูกฝังความรักได้โดยวิธีใด?
17. อะไรแสดงว่าไม่ง่ายเสมอไปที่จะปฏิบัติด้วยความรักต่อผู้อื่น?
17 เมื่อทารกคลอดออกมา บิดามารดาของเด็กนั้นเกิดความรักต่อเขาอย่างรวดเร็ว. การแสดงความรักต่อผู้ใหญ่ไม่ได้เป็นไปโดยสัญชาตญาณแบบนี้เสมอไป. นั่นคงเป็นเหตุที่คัมภีร์ไบเบิลบอกเราครั้งแล้วครั้งเล่าให้รักกันและกัน ซึ่งก็หมายความว่าความรักเป็นสิ่งที่เราต้องปลูกฝัง. (1 เปโตร 1:22; 4:8; 1 โยฮัน 3:11) พระเยซูทรงทราบว่าความรักของเราจะถูกทดสอบเมื่อพระองค์ตรัสว่าเราควรให้อภัยพี่น้องของเรา “ถึงเจ็ดสิบเจ็ดครั้ง.” (มัดธาย 18:21, 22, ล.ม.) เปาโลก็กระตุ้นเราเช่นเดียวกันที่จะ “ทนต่อกันและกันอยู่เรื่อยไป.” (โกโลซาย 3:12, 13, ล.ม.) ไม่แปลกที่พระคัมภีร์ บอกเราว่า “จงแสวงหาความรัก”! (1 โกรินโธ 14:1, ล.ม.) เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
18. อะไรจะช่วยเราให้ปลูกฝังความรักต่อผู้อื่น?
18 ประการแรกที่เราสามารถทำได้ คือให้เราระลึกเสมอถึงความรักที่เรามีต่อพระยะโฮวาพระเจ้า. ความรักนี้เป็นแรงกระตุ้นที่มีพลังให้เรารักเพื่อนบ้าน. เพราะเหตุใด? เพราะเมื่อเราแสดงความรักเช่นนั้น นั่นสะท้อนเป็นอย่างดีถึงพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราและนำเกียรติยศและคำสรรเสริญมาสู่พระองค์. (โยฮัน 15:8-10; ฟิลิปปอย 1:9-11) ประการที่สองซึ่งเราสามารถทำได้ คือให้เราพยายามมองเรื่องต่าง ๆ อย่างที่พระยะโฮวาทรงมอง. ทุกครั้งที่เราทำบาป เราทำบาปต่อพระยะโฮวา; ถึงกระนั้น พระองค์ทรงให้อภัยเราครั้งแล้วครั้งเล่าและทรงรักเราอยู่เสมอ. (บทเพลงสรรเสริญ 86:5; 103:2, 3; 1 โยฮัน 1:9; 4:18) หากเราปลูกฝังทัศนะแบบพระยะโฮวา เราจะเต็มใจแสดงความรักต่อผู้อื่นและให้อภัยที่เขาทำผิดต่อเรา. (มัดธาย 6:12) ประการที่สามซึ่งเราทำได้ คือให้เราปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเรา. (มัดธาย 7:12) เนื่องจากเราไม่สมบูรณ์ เราจำเป็นต้องได้รับการให้อภัยอยู่บ่อยครั้ง. ยกตัวอย่าง เมื่อเราพูดอะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บใจ เราหวังว่าเขาจะระลึกว่าทุกคนต่างก็ผิดพลาดทางวาจาบ้างในบางครั้ง. (ยาโกโบ 3:2) หากเราต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเราด้วยความรัก เราก็ควรปฏิบัติต่อเขาด้วยความรัก.
19. เราสามารถแสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อปลูกฝังความรักได้โดยวิธีใด?
19 ประการที่สี่ซึ่งเราสามารถทำได้คือ การแสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ เนื่องจากความรักเป็นหนึ่งในผลของพระวิญญาณ. (ฆะลาเตีย 5:22, 23) มิตรภาพ, ความรู้สึกผูกพันต่อครอบครัว, และความรักระหว่างชายหญิงมักเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ. แต่เราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระยะโฮวาเพื่อปลูกฝังความรักแบบที่พระยะโฮวาทรงมี ความรักที่เป็นเครื่องเชื่อมสามัคคีที่ดีพร้อม. เราสามารถแสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ด้วยการอ่านคัมภีร์ไบเบิลซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจ. ยกตัวอย่าง หากเราศึกษาชีวิตของพระเยซู เราจะเห็นถึงวิธีที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อผู้คน และเราสามารถเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพระองค์. (โยฮัน 13:34, 35; 15:12) นอกจากนั้น เราสามารถทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระยะโฮวา โดยเฉพาะในสถานการณ์ซึ่งยากที่เราจะปฏิบัติด้วยความรัก. (ลูกา 11:13) ประการสุดท้าย เราสามารถแสวงหาความรักโดยติดสนิทอยู่กับประชาคมคริสเตียน. การอยู่กับพี่น้องที่มีความรักช่วยเราให้ปลูกฝังความรัก.—สุภาษิต 13:20.
20, 21. พยานพระยะโฮวาแสดงอย่างเด่นชัดถึงความรักเช่นไรในระหว่างปีรับใช้ 2000?
20 ในปีที่แล้ว มียอดผู้ประกาศข่าวดีทั่วโลก 6,035,564 คน. พยานพระยะโฮวาใช้เวลาทั้งหมด 1,171,270,425 ชั่วโมงในการเสาะหาผู้คนเพื่อจะบอกข่าวดี. ความรักทำให้พวกเขาอดทนแม้ว่าจะอากาศร้อน, ฝนตก, หรือว่าหนาวเหน็บ ขณะที่พวกเขาออกไปในงานนี้. ความรักกระตุ้นพวกเขาให้พูดคุยกับเพื่อนที่โรงเรียนและเพื่อนร่วมงาน และเข้าไปพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักกันเลยตามถนนและสถานที่อื่น ๆ. หลายคนที่พยานฯ ไปเยี่ยมไม่แยแสและบางคนต่อต้าน. อย่างไรก็ตาม บางคนแสดงความสนใจ ทำให้มีการกลับเยี่ยมเยียน 433,454,049 ราย และมีการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล 4,766,631 ราย. *
21 ทั้งหมดนี้แสดงถึงความรักที่พยานพระยะโฮวามีต่อพระเจ้าของพวกเขาและความรักที่มีต่อเพื่อนบ้านอย่างแท้จริง! ความรักนั้นจะไม่เย็นชาไป. เราเชื่อมั่นว่าในปีรับใช้ 2001 นี้เราจะได้เห็นการให้คำพยานที่ยิ่งใหญ่กว่านี้อีกมีไปถึงมวลมนุษย์. ขอให้พระพรของพระยะโฮวามีต่อ ๆ ไปแก่ผู้นมัสการของพระองค์ที่ภักดีและกระตือรือร้นขณะที่พวกเขา ‘ทำให้เรื่องราวทั้งปวงของพวกเขาเกิดขึ้นด้วยความรัก’!—1 โกรินโธ 16:14, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 สำหรับรายละเอียดโดยครบถ้วนของรายงานปีรับใช้ 2000 โปรดดูแผนภูมิในหน้า 18-21.
คุณอธิบายได้ไหม?
• เราเลียนแบบใครเมื่อเรารักเพื่อนบ้านของเรา?
• ความรักของเราควรกว้างขวางขนาดไหน?
• มีประสบการณ์อะไรบ้างที่แสดงถึงความรักแบบคริสเตียน?
• เราจะปลูกฝังความรักแบบคริสเตียนได้โดยวิธีใด?
[คำถาม]
[แผนภูมิหน้า 18-21]
รายงานเกี่ยวกับปีรับใช้ 2000 ของพยานพระยะโฮวาตลอดทั่วโลก
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
[ภาพหน้า 15]
ความรักแบบคริสเตียนช่วยครอบครัวให้ติดสนิทอยู่ด้วยกัน
[ภาพหน้า 17]
ความรักกระตุ้นเราให้แบ่งปันความหวังที่เรามีแก่ผู้อื่น