ก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวา
ก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวา
“ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข . . . ทรงกระทำให้ท่านทั้งหลายเป็นคนสำเร็จถ้วนถี่ในการดีทุกอย่าง, เพื่อจะได้ประพฤติตามพระทัยของพระองค์.”—เฮ็บราย 13:20, 21.
1. ประชากรโลกมีจำนวนเท่าไร และสมาชิกของบางศาสนามีจำนวนเท่าไร?
ในปี 1999 ประชากรโลกบรรลุจำนวนหกพันล้านคน! จากจำนวนดังกล่าว เดอะ เวิลด์ ออลมาแนก แจ้งให้ทราบว่า เป็นชาวมุสลิม 1,165,000,000 คน; ชาวโรมันคาทอลิก 1,030,000,000 คน; ชาวฮินดู 762,000,000 คน; ชาวพุทธ 354,000,000 คน; ชาวโปรเตสแตนต์ 316,000,000 คน; และชาวออร์โทด็อกซ์ 214,000,000 คน.
2. อาจกล่าวได้อย่างไรเกี่ยวกับสถานการณ์ทางศาสนาในปัจจุบัน?
2 เมื่อคำนึงถึงความแตกแยกและความสับสนวุ่นวายทางศาสนาที่มีอยู่ในทุกวันนี้ เป็นไปได้ไหมที่ประชาชนหลายล้านคนทั้งหมดนี้ประพฤติสอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า? ไม่อาจเป็นเช่นนั้น “ด้วยว่าพระเจ้ามิใช่พระเจ้าแห่งความยุ่งเหยิง แต่เป็นพระเจ้าแห่งสันติสุข.” (1 โกรินโธ 14:33, ล.ม.) ในอีกด้านหนึ่ง จะว่าอย่างไรสำหรับภราดรภาพทั่วโลกในหมู่ผู้รับใช้ของพระยะโฮวา? (1 เปโตร 2:17) เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียด มีหลักฐานชัดเจนว่า ‘พระเจ้าแห่งสันติสุขทรงกระทำให้พวกเขามีทุกสิ่งที่ดีเพื่อจะได้ปฏิบัติตามพระทัยพระองค์.’—เฮ็บราย 13:20, 21, ฉบับแปลใหม่.
3. เกิดอะไรขึ้นในกรุงยะรูซาเลมในวันเพนเตคอสเตปีสากลศักราช 33 และเพราะเหตุใด?
3 แน่นอน จำนวนคนที่ร่วมสมทบกับพยานพระยะโฮวาไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าพวกเขาได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าหรือไม่; อีกทั้งจำนวนที่เพิ่มทวีก็ไม่ทำให้พระยะโฮวาทรงรู้สึกประทับใจ. พระองค์ทรงเลือกชาติยิศราเอลไม่ใช่เพราะพวกเขา “มีจำนวนมากกว่า” ประชาชาติอื่น ๆ. ที่จริง พวกเขาเป็นชาติที่มี “จำนวนน้อยที่สุด.” (พระบัญญัติ 7:7, ฉบับแปลใหม่) ทว่า เนื่องจากชาติยิศราเอลพิสูจน์ตัวว่าไม่ซื่อสัตย์ ดังนั้น ในวันเพนเตคอสเตปีสากลศักราช 33 พระยะโฮวาทรงโยกย้ายความโปรดปรานของพระองค์มายังประชาคมที่เพิ่งเกิดใหม่ซึ่งประกอบด้วยเหล่าสาวกของพระเยซูคริสต์. พวกเขาได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาและออกไปประกาศความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าและพระคริสต์ด้วยใจแรงกล้าแก่คนอื่น ๆ.—กิจการ 2:41, 42.
ก้าวรุดหน้าไปเรื่อย ๆ
4. เหตุใดคุณจึงกล่าวว่าประชาคมคริสเตียนในยุคแรกได้ก้าวรุดหน้าไปเรื่อย ๆ?
4 ในศตวรรษแรก ประชาคมคริสเตียนก้าวรุดหน้าไปเรื่อย ๆ, มีการเปิดเขตใหม่ ๆ, มีการทำคนให้เป็นสาวก, และมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้า. คริสเตียนยุคแรกก้าวทันกับแสงสว่างฝ่ายวิญญาณที่ได้จัดไว้ให้ทางจดหมายฉบับต่าง ๆ ซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า. โดยถูกกระตุ้นจากการเยี่ยมของเหล่าอัครสาวกและคนกิจการ 10:21, 22; 13:46, 47; 2 ติโมเธียว 1:13; 4:5; เฮ็บราย 6:1-3; 2 เปโตร 3:17, 18.
อื่น ๆ พวกเขาบรรลุผลในงานรับใช้ของตน. เรื่องนี้ได้มีบันทึกไว้เป็นอย่างดีในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก.—5. เหตุใดองค์การของพระเจ้ากำลังก้าวรุดหน้าในทุกวันนี้ และเหตุใดเราควรก้าวให้ทันกับองค์การ?
5 เช่นเดียวกับคริสเตียนในยุคแรก พยานพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันได้พัฒนาจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ. (ซะคาระยา 4:8-10) ตั้งแต่ตอนปลายศตวรรษที่ 19 มีหลักฐานชัดเจนว่าพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตกับองค์การของพระองค์. เนื่องจากเราได้ไว้วางใจการชี้นำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ใช่อำนาจของมนุษย์ เราจึงได้พัฒนามาเรื่อย ๆ ด้านความเข้าใจในพระคัมภีร์และการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. (ซะคาระยา 4:6) บัดนี้ ขณะที่เราอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” จึงนับว่าสำคัญที่เราจะก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวาที่ก้าวรุดหน้า. (2 ติโมเธียว 3:1-5, ล.ม.) การทำเช่นนั้นช่วยเราให้สามารถรักษาความหวังของเราให้แจ่มชัดและร่วมในการให้คำพยานเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งสถาปนาแล้ว ก่อนที่อวสานในขั้นสุดยอดจะมาถึงระบบนี้.—มัดธาย 24:3-14.
6, 7. เราจะพิจารณาถึงสามขอบเขตอะไรที่องค์การของพระยะโฮวาได้ก้าวรุดหน้าไป?
6 มีบางคนในพวกเราที่เริ่มสมทบกับองค์การของพระยะโฮวามาตั้งแต่ทศวรรษ 1920, 1930, และ 1940. ในสมัยแรก ๆ นี้ มีใครล่ะในพวกเราที่ได้คาดไว้ก่อนแล้วว่าองค์การจะมีการเติบโตที่น่าทึ่งและพัฒนาเป็นขั้น ๆ มาจนถึงเวลานี้? ขอให้คิดถึงเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เราได้ประสบในประวัติศาสตร์ของเราสมัยปัจจุบัน! มีผลตอบแทนทางฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริงที่จะใคร่ครวญถึงสิ่งที่พระยะโฮวาได้ทรงทำให้สำเร็จโดยใช้ไพร่พลซึ่งได้รับการจัดระเบียบตามระบอบของพระองค์.
7 ดาวิดผู้ซึ่งมีชีวิตในสมัยโบราณรู้สึกประทับใจอย่างลึกซึ้งเมื่อท่านใคร่ครวญถึงราชกิจอันมหัศจรรย์ของพระยะโฮวา. ท่านกล่าวว่า “ถ้าข้าพเจ้าจะสำแดงหรือพูดถึงการเหล่านั้นก็เหลือที่จะนับได้.” (บทเพลงสรรเสริญ 40:5) เราพบกับข้อจำกัดอย่างเดียวกัน คือไม่สามารถบอกเล่าได้ครบถ้วนถึงราชกิจอันยิ่งใหญ่และคู่ควรคำสรรเสริญซึ่งมีอยู่มากมายในสมัยของเรา. อย่างไรก็ตาม ให้เรามาพิจารณาสามขอบเขตที่องค์การของพระยะโฮวาได้ก้าวรุดหน้า: (1) ความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณที่ชัดขึ้นเรื่อย ๆ, (2) งานรับใช้ที่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและขยายให้กว้างออกไป, และ (3) การปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานขององค์การที่เหมาะกับเวลา.
หยั่งรู้ค่าความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณ
8. สอดคล้องกับสุภาษิต 4:18 ความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณช่วยเราให้สามารถเข้าใจอะไรเกี่ยวกับราชอาณาจักร?
8 เกี่ยวกับความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณที่ชัดขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ปรากฏชัดว่าสุภาษิต 4:18 (ล.ม.) เป็นความจริง. ข้อนี้อ่านว่า “วิถีของเหล่าคนชอบธรรมเป็นดุจแสงสว่างอันรุ่งโรจน์ซึ่งส่องแสงกล้าขึ้นทุกทีจนกระทั่งถึงวันได้ตั้งขึ้นมั่นคง.” เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรสำหรับความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณที่เราได้รับซึ่งชัดขึ้นเรื่อย ๆ! ณ การประชุมภาคในปี 1919 ที่ซีดาร์พอยต์ รัฐโอไฮโอ มีการเน้นถึงเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. พระยะโฮวาทรงใช้ราชอาณาจักรเพื่อทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์และพิสูจน์ความถูกต้องเที่ยงธรรมแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระองค์. ที่จริง ความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณได้ช่วยเราให้เข้าใจว่า ตั้งแต่พระธรรมเยเนซิศจนถึงวิวรณ์ คัมภีร์ไบเบิลให้หลักฐานยืนยันถึงพระประสงค์ของพระยะโฮวาในการทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์โดยทางราชอาณาจักรซึ่งปกครองโดยพระบุตรของพระองค์. ความหวังอันยิ่งใหญ่ของทุกคนที่รักความชอบธรรมอยู่ตรงนี้เอง.—มัดธาย 12:18, 21.
9, 10. ในทศวรรษ 1920 ได้มีการเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับราชอาณาจักรและเกี่ยวกับสององค์การที่เป็นปฏิปักษ์กัน และความรู้นี้ให้ประโยชน์อย่างไร?
9 ณ การประชุมภาคที่ซีดาร์พอยต์ ในปี 1922 เจ. เอฟ. รัทเทอร์ฟอร์ด ผู้บรรยายคำปราศรัยสำคัญ กระตุ้นไพร่พลของพระเจ้าให้ “โฆษณา, โฆษณา, โฆษณาพระมหากษัตริย์และราชอาณาจักรของพระองค์.” ในบทความที่ชื่อ “กำเนิดของชาติ” ซึ่งลงในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 มีนาคม 1925 (ภาษาอังกฤษ) ได้มีการเน้นให้พี่น้องสนใจในเรื่องความเข้าใจอันลึกซึ้งฝ่ายวิญญาณเกี่ยวกับคำพยากรณ์ต่าง ๆ ซึ่งชี้ถึงการสถาปนาราชอาณาจักรของพระเจ้าในปี 1914. นอกจากนี้ ยังได้มาเข้าใจกันในทศวรรษ 1920 ด้วยว่า มีสององค์การที่เป็นปฏิปักษ์กัน คือองค์การของพระยะโฮวาและองค์การของซาตาน. มีการต่อสู้กันระหว่างสององค์การนี้ และเราจะอยู่ฝ่ายที่ได้ชัยชนะก็ต่อเมื่อเราก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวา.
10 ความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณเช่นนั้นช่วยเราอย่างไร? เนื่องจากราชอาณาจักรของพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ผู้เป็นกษัตริย์ไม่เป็นส่วนของโลก เราจึงไม่อาจเป็นส่วนของโลก. ด้วยการรักษาตัวต่างหากจากโลก เราแสดงตัวว่าเราอยู่ฝ่ายความจริง. (โยฮัน 17:16; 18:37) เมื่อเราสังเกตเห็นว่ามีปัญหาอันซับซ้อนที่กำลังก่อความทุกข์เดือดร้อนในระบบชั่วนี้ เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่เราไม่เป็นส่วนขององค์การของซาตาน! และเราได้เปรียบสักเพียงไรที่ได้รับความปลอดภัยฝ่ายวิญญาณภายในองค์การของพระยะโฮวา!
11. ไพร่พลของพระเจ้าในปี 1931 ได้รับชื่ออะไรตามพระคัมภีร์?
11 ณ การประชุมภาคในปี 1931 ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ ได้มีการใช้ยะซายา 43:10-12 อย่างเหมาะเจาะ. กลุ่มนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้รับเอาชื่อที่ระบุชัด คือพยานพระยะโฮวา. ช่างเป็นสิทธิพิเศษที่ยิ่งใหญ่สักเพียงไรที่จะประกาศให้ผู้อื่นได้รู้จักพระนามของพระเจ้า เพื่อให้เขาร้องเรียกพระนามของพระองค์และได้รับความรอด!—บทเพลงสรรเสริญ 83:18; โรม 10:13.
12. มีการจัดเตรียมให้หยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณเช่นไรเกี่ยวกับชนฝูงใหญ่ในปี 1935?
12 ก่อนทศวรรษ 1930 ไพร่พลของพระเจ้าหลายคนไม่ค่อยแน่ใจนักเกี่ยวกับความหวังของตนสำหรับชีวิตในอนาคต. บางคนคิดเกี่ยวกับชีวิตฝ่ายสวรรค์ และในขณะเดียวกันก็รู้สึกประทับใจในคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน. ณ การประชุมภาคที่วอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 1935 มีความตื่นเต้นยินดีเมื่อได้ทราบว่ามหาชนหมู่ใหญ่หรือชนฝูงใหญ่ซึ่งมีกล่าวถึงในวิวรณ์บท 7 ได้แก่ชนจำพวกที่มีความหวังที่จะอยู่บนแผ่นดินโลก. นับแต่นั้นมา การรวบรวมชนฝูงใหญ่ก็รุดหน้าเร็วยิ่งขึ้น. เรารู้สึกขอบคุณมิใช่หรือที่การระบุตัวชนฝูงใหญ่ไม่เป็นเรื่องลึกลับสำหรับเราอีกต่อไป? ความเป็นจริงที่ว่าผู้คนจำนวนมากกำลังได้รับการรวบรวมเข้ามาจากทุกชาติ, ทุกเผ่าชน, และทุกภาษา กระตุ้นเราให้เร่งฝีเท้าเร็วขึ้นเพื่อจะก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวา.
13. มีการเน้นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญอะไร ณ การประชุมภาคที่เมืองเซนต์หลุยส์ในปี 1941?
13 มีการเน้นประเด็นสำคัญที่สังคมมนุษย์น่าจะสนใจ ณ การประชุมภาคที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ในปี 1941 คือประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองเหนือเอกภพหรือพระบรมเดชานุภาพ. นี่เป็นประเด็นที่ต้องได้มีการจัดการให้เรียบร้อยในไม่ช้านี้ และวันอันยิ่งใหญ่และน่าสะพรึงกลัวสำหรับการจัดการดังกล่าวก็คืบใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว! นอกจากนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกยกขึ้นมาพิจารณาในปี 1941 คือประเด็นเกี่ยวกับความซื่อสัตย์มั่นคงซึ่งเกี่ยวข้องกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้เราแสดงตัวได้ว่าเราแต่ละคนยืนอยู่ตรงไหนในประเด็นเกี่ยวกับพระบรมเดชานุภาพของพระเจ้า.
14. ณ การประชุมนานาชาติในปี 1950 มีการเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับเจ้าชายตามที่มีกล่าวถึงที่ยะซายา 32:1, 2?
14 ณ การประชุมนานาชาติในปี 1950 ที่กรุงนิวยอร์ก ได้มีการระบุชัดเกี่ยวกับเจ้าชายตามที่มีกล่าวถึงในยะซายา 32:1, 2. นับว่าเป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง เมื่อบราเดอร์เฟรเดอริก แฟรนซ์ บรรยายในเรื่องนี้และอธิบายว่าผู้ที่จะได้เป็นเจ้าชายแห่งแผ่นดินโลกใหม่อยู่ในท่ามกลางพวกเรานี่เอง. ในการประชุมภาคครั้งนั้นและในครั้งต่อ ๆ มา ได้มีแสงสว่างฝ่ายวิญญาณแวบขึ้นหลายครั้ง. (บทเพลงสรรเสริญ 97:11) เราหยั่งรู้ค่าสักเพียงไรที่วิถีของเรา “เป็นดุจแสงสว่างอันรุ่งโรจน์ซึ่งส่องแสงกล้าขึ้นทุกที”!
รุดหน้าไปในงานรับใช้ของเรา
15, 16. (ก) งานรับใช้ของเราได้ก้าวรุดหน้าไปอย่างไรในช่วงทศวรรษ 1920 และทศวรรษ 1930? (ข) หนังสืออะไรบ้างที่ช่วยกระตุ้นส่งเสริมงานรับใช้ของคริสเตียนในทศวรรษหลัง ๆ มานี้?
15 ขอบเขตที่สองที่องค์การของพระยะโฮวาได้ก้าวรุดไปมัดธาย 28:19, 20; มาระโก 13:10) เพื่อจะทำงานนี้ให้สำเร็จ องค์การย้ำกับเราเสมอถึงความสำคัญของการขยายงานรับใช้ของเรา. ในปี 1922 คริสเตียนทุกคนได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในงานประกาศ. คริสเตียนแต่ละคนควรสำนึกถึงความรับผิดชอบส่วนตัวที่จะฉายความสว่างของตนออกไป และโดยวิธีนี้จึงมีส่วนร่วมเป็นส่วนตัวในการให้คำพยานถึงความจริง. (มัดธาย 5:14-16) ในปี 1927 ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อจะจัดวันอาทิตย์ไว้สำหรับงานรับใช้ในเขตทำงาน. นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 1940 เป็นต้นมา เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นพยานฯ ตามถนนในย่านธุรกิจ เสนอวารสารหอสังเกตการณ์ และคอนโซเลชัน (ปัจจุบันคือวารสารตื่นเถิด! ).
เกี่ยวข้องกับงานหลักของเราในการประกาศเรื่องราชอาณาจักรและการทำให้คนเป็นสาวก. (16 ในปี 1937 มีการออกหนังสือเล่มเล็กวิธีนำการศึกษา ซึ่งเน้นถึงความจำเป็นต้องกลับเยี่ยมเยียนเพื่อจะสอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่ผู้อื่น. ในปีต่อ ๆ มา ได้มีการเน้นอย่างมากในเรื่องการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ได้มีการกระตุ้นส่งเสริมให้ทำส่วนสำคัญนี้ของงานรับใช้ด้วยการออกหนังสือ “จงให้พระเจ้าเป็นองค์สัตย์จริง” ในปี 1946 และหนังสือความจริงซึ่งนำไปสู่ชีวิตถาวร ในปี 1968. ปัจจุบัน เราใช้หนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์. การพิจารณาเนื้อหาในหนังสือเหล่านี้ช่วยวางรากฐานที่มั่นคงตามหลักพระคัมภีร์ในการทำให้คนเป็นสาวก.
รุดหน้าไปโดยการปรับเปลี่ยน วิธีดำเนินงานขององค์การ
17. สอดคล้องกับยะซายา 60:17 องค์การของพระยะโฮวาได้ก้าวรุดหน้าไปอย่างไร?
17 ขอบเขตที่สามที่องค์การของพระยะโฮวาได้ก้าวรุดหน้าไป เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนระเบียบวิธีดำเนินงานขององค์การ. ดังบันทึกไว้ที่ยะซายา 60:17 (ล.ม.) พระยะโฮวาทรงสัญญาว่า “เราจะเอาทองคำมาแทนทองแดง และเราจะเอาเงินมาแทนเหล็ก เอาทองแดงมาแทนไม้ เอาเหล็กมาแทนหิน; และเราจะแต่งตั้งสันติสุขเป็นผู้ดูแลเจ้าและแต่งตั้งความชอบธรรมเป็นผู้มอบหมายงานแก่เจ้า.” สอดคล้องกับคำพยากรณ์นี้ ได้มีการดำเนินตามขั้นตอนบางอย่างเพื่อปรับปรุงการดูแลงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรและการบำรุงเลี้ยงฝูงแกะให้ดียิ่งขึ้น.
18, 19. ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานขององค์การเช่นไรในช่วงที่ผ่านมา?
18 ในปี 1919 สมาคมฯ ได้แต่งตั้งผู้อำนวยการงานรับใช้ในแต่ละประชาคมซึ่งขอให้มีการจัดระเบียบสำหรับงานรับใช้ในเขตประกาศ. การจัดเตรียมนี้เสริมแรงกระตุ้นที่จะทำงานรับใช้ในเขตประกาศ. การเลือกตั้งผู้ปกครองและมนตรีรับใช้ (ผู้ช่วยงานรับใช้) ในประชาคมสิ้นสุดลงในปี 1932 เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเลิกใช้วิธีการแบบประชาธิปไตย. เหตุการณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในปี 1938 เมื่อผู้รับใช้ทั้งหมด ในประชาคมเริ่มได้รับแต่งตั้งสอดคล้องยิ่งขึ้นกับการจัดเตรียมสำหรับการแต่งตั้งตามระบอบของพระเจ้าในประชาคมคริสเตียนสมัยแรก. (กิจการ 14:23; 1 ติโมเธียว 4:14) ในปี 1972 ผู้ดูแลและผู้ช่วยงานรับใช้ได้รับแต่งตั้งให้รับใช้ เช่นเดียวกับผู้มีหน้าที่ดังกล่าวได้รับแต่งตั้งในหมู่คริสเตียนยุคแรก. แทนที่จะมีเพียงคนเดียวทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลประชาคม ฟิลิปปอย 1:1 และข้อพระคัมภีร์อื่น ๆ ชี้ว่า คนเหล่านั้นที่บรรลุข้อเรียกร้องตามหลักพระคัมภีร์ที่กำหนดไว้สำหรับผู้ดูแลจะประกอบกันเป็นคณะผู้ปกครอง.—กิจการ 20:28; เอเฟโซ 4:11, 12.
19 ในปี 1975 ได้มีการจัดเตรียมเพื่อให้คณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาดูแลกิจการงานทั่วโลกขององค์การของพระเจ้า. คณะกรรมการสาขาได้รับแต่งตั้งให้ดูแลงานในประเทศของตน. นับแต่นั้นมา ได้มีการเอาใจใส่เพื่อทำให้งานที่สำนักงานใหญ่และงานในสาขาต่าง ๆ ของสมาคมว็อชเทาเวอร์ง่ายขึ้น เพื่อจะ “ตรวจดูให้รู้แน่ถึงสิ่งที่สำคัญกว่า.” (ฟิลิปปอย 1:9, 10, ล.ม.) หน้าที่รับผิดชอบที่ตกอยู่กับรองผู้บำรุงเลี้ยงของพระคริสต์เกี่ยวข้องกับการนำหน้าในงานเผยแพร่กิตติคุณ, การสอนในประชาคม, และการบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าอย่างเหมาะสมด้วย.—1 ติโมเธียว 4:16; เฮ็บราย 13:7, 17; 1 เปโตร 5:2, 3.
การนำอย่างแข็งขันของพระเยซู
20. เพื่อจะก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวา เราจำเป็นต้องยอมรับอะไรเกี่ยวกับตำแหน่งของพระเยซู?
20 การก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวาที่ก้าวรุดหน้าไปเรียกร้องให้เรายอมรับบทบาทที่พระเจ้าทรงมอบหมายแก่พระเยซูคริสต์ในฐานะ “ประมุขของประชาคม.” (เอเฟโซ 5:22, 23, ล.ม.) ที่น่าสังเกตด้วย ยะซายา 55:4 (ฉบับแปลใหม่) บอกเราว่า “ดูเถิด เรา [พระยะโฮวา] กระทำ ให้ท่านเป็นพยานต่อชนชาติทั้งหลาย เป็นหัวหน้าและเป็นผู้บัญชาการเพื่อชนชาติทั้งปวง.” แน่นอน พระเยซูทรงทราบวิธีนำหน้า. พระองค์ทรงรู้จักแกะของพระองค์และการกระทำของพวกเขาด้วย. ที่จริง เมื่อทรงตรวจตราประชาคมทั้งเจ็ดในเอเชียไมเนอร์ พระองค์ตรัสถึงห้าครั้งว่า “เรารู้จักการกระทำของเจ้า.” (วิวรณ์ 2:2, 19; 3:1, 8, 15, ล.ม.) นอกจากนี้ พระเยซูทรงทราบถึงสิ่งที่เราจำเป็นต้องได้รับ เหมือนกับที่พระยะโฮวาพระบิดาของพระองค์ทรงทราบ. ก่อนที่พระเยซูจะประทานคำอธิษฐานแบบอย่าง พระองค์ตรัสว่า “สิ่งไรซึ่งท่านต้องการ, พระบิดาของท่านทรงทราบก่อนเมื่อท่านยังไม่ได้ขอ.”—มัดธาย 6:8-13.
21. การนำหน้าของพระเยซูแสดงออกมาโดยวิธีใดในประชาคมคริสเตียน?
21 การนำหน้าของพระเยซูแสดงออกมาโดยวิธีใด? วิธีหนึ่งคือโดยทางคริสเตียนผู้ดูแล “ของประทานในลักษณะมนุษย์.” (เอเฟโซ 4:8, ล.ม.) วิวรณ์ 1:16 พรรณนาผู้ดูแลที่ได้รับการเจิมว่าอยู่ในพระหัตถ์เบื้องขวาของพระคริสต์ คืออยู่ในการควบคุมของพระองค์. ปัจจุบัน พระเยซูทรงชี้นำการจัดเตรียมเกี่ยวกับผู้ปกครอง ไม่ว่าผู้ปกครองเหล่านั้นมีความหวังฝ่ายสวรรค์หรือแผ่นดินโลก. ดังอธิบายไปแล้วในบทความก่อน พวกเขาได้รับแต่งตั้งโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามข้อเรียกร้องของพระคัมภีร์. (1 ติโมเธียว 3:1-7; ติโต 1:5-9) ในศตวรรษแรก กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงยะรูซาเลมประกอบกันเป็นคณะกรรมการปกครองเพื่อดูแลประชาคมและกิจการงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรโดยทั่วไป. มีการดำเนินตามแบบแผนเดียวกันนี้ภายในองค์การของพระยะโฮวาในปัจจุบัน.
ก้าวให้ทัน!
22. คณะกรรมการปกครองให้ความช่วยเหลืออะไร?
22 ผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรทั้งหมดบนแผ่นดินโลกได้มอบให้อยู่ในการดูแลของ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ซึ่งมีคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาเป็นตัวแทนของพวกเขา. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) ในอันดับแรก คณะกรรมการปกครองเอาใจใส่การสอนฝ่ายวิญญาณและให้การชี้นำประชาคมคริสเตียน. (กิจการ 6:1-6) อย่างไรก็ตาม เมื่อเพื่อนผู้นมัสการประสบภัยธรรมชาติ คณะกรรมการปกครองจะขอนิติบุคคลคณะหนึ่งหรือมากกว่าเพื่อจัดให้มีการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์และซ่อมแซมบ้านและหอประชุมราชอาณาจักร หรือสร้างขึ้นใหม่. เมื่อมีคริสเตียนบางคนถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายหรือถูกกดขี่ มีการดำเนินการตามขั้นตอนบางอย่างเพื่อให้การเสริมสร้างฝ่ายวิญญาณแก่พวกเขา. และแม้ใน “ยามยากลำบาก” จะมีการพยายามทำในทุกวิถีทางเพื่อให้งานประกาศก้าวรุดหน้าไปเรื่อย ๆ.—2 ติโมเธียว 4:1, 2, ล.ม.
23, 24. ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไพร่พลของพระองค์ พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมอะไรให้เสมอ และเราควรตั้งใจแน่วแน่เช่นไร?
23 ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไพร่พลของพระองค์ พระยะโฮวาทรงจัดให้มีอาหารฝ่ายวิญญาณเป็นประจำและการชี้นำที่จำเป็น. นอกจากนี้ พระเจ้ายังประทานความสังเกตเข้าใจและความหยั่งเห็นเข้าใจแก่พวกพี่น้องที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อเตรียมการสำหรับความก้าวหน้าและการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในองค์การซึ่งดำเนินงานตามระบอบของพระเจ้า. (พระบัญญัติ 34:9; เอเฟโซ 1:16, 17) พระยะโฮวาทรงจัดให้เรามีสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีอย่างแน่นอนเพื่อปฏิบัติภารกิจของเราในการทำให้คนเป็นสาวกให้ลุล่วงและทำให้งานรับใช้ของเราสำเร็จครบถ้วนไปทั่วโลก.—2 ติโมเธียว 4:5.
24 เรามีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าพระยะโฮวาจะไม่ทรงละทิ้งไพร่พลที่ซื่อสัตย์ของพระองค์; พระองค์จะทรงช่วยพวกเขาให้รอดพ้นผ่าน “ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่” ที่กำลังจะมาถึง. (วิวรณ์ 7:9-14, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 94:14; 2 เปโตร 2:9) เรามีเหตุผลทุกประการที่จะรักษาความเชื่อมั่นที่เรามีแต่แรกให้มั่นคงจนถึงที่สุด. (เฮ็บราย 3:14) ด้วยเหตุนั้น ให้เราตั้งใจแน่วแน่จะก้าวให้ทันกับองค์การของพระยะโฮวา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดเราจึงกล่าวได้ว่าองค์การของพระยะโฮวากำลังก้าวรุดหน้าไป?
• มีหลักฐานอะไรแสดงว่าไพร่พลของพระเจ้าได้รับความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณชัดขึ้นเรื่อย ๆ?
• ได้มีการปรับปรุงอะไรบ้างในงานรับใช้ของคริสเตียน?
• มีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้างที่เหมาะกับเวลาในวิธีดำเนินงานขององค์การที่ใช้กับผู้รับใช้ของพระยะโฮวา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
เช่นเดียวกับดาวิด เราไม่อาจนับราชกิจอันมหัศจรรย์ทั้งสิ้นของพระยะโฮวาได้หมด
[ภาพหน้า 18]
ฝูงแกะของพระเจ้าได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานขององค์การที่เหมาะกับเวลา