คณะกรรมการปกครองกับนิติบุคคลต่างกันอย่างไร?
คณะกรรมการปกครองกับนิติบุคคลต่างกันอย่างไร?
การประชุมประจำปีของสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนียมีการจัดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1885. เมื่อการรวบรวมเหล่าคริสเตียนผู้ถูกเจิมมีขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 คณะกรรมการของนิติบุคคลนี้เป็นผู้มีความหวังทางภาคสวรรค์. ตามจริงแล้ว เกือบทั้งหมดเป็นเช่นนั้น.
มียกเว้นอยู่คนเดียว. ในปี 1940 เฮย์เดน ซี. คัฟวิงตัน—ที่ปรึกษาทางกฎหมายของสมาคมฯ ในเวลานั้นและเป็น “แกะอื่น” คนหนึ่งซึ่งมีความหวังทางแผ่นดินโลก—ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการคนหนึ่งของสมาคมฯ. (โยฮัน 10:16) เขาทำหน้าที่เป็นรองนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 1942 ถึงปี 1945. ตอนนั้นบราเดอร์คัฟวิงตันลาออกจากการเป็นกรรมการสมาคมฯ เพื่อทำตามสิ่งที่ตอนนั้นดูเหมือนเป็นพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา—นั่นคือ ให้กรรมการทุกคนของนิติบุคคลนี้เป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิม. ไลแมน เอ. สวิงเกิล ดำรงตำแหน่งแทนเฮย์เดน ซี. คัฟวิงตัน ในคณะกรรมการบริหาร และเฟรเดอริก ดับเบิลยู. แฟรนซ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกสมาคมฯ.
ทำไมเหล่าผู้รับใช้ของพระยะโฮวาจึงเชื่อว่ากรรมการทุกคนของสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนียควรเป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิม? นั่นเป็นเพราะในเวลานั้นถือกันว่าคณะกรรมการของนิติบุคคลนี้เป็นอันเดียวกับคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวา ซึ่งประกอบด้วยชนผู้ถูกเจิมทั้งหมดเสมอ.
การประชุมประจำปีครั้งประวัติการณ์
ณ การประชุมประจำปีซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1944 ในพิตส์เบิร์ก เหล่าสมาชิกของนิติบุคคลนี้ได้รับเอามติหกข้อซึ่งแก้ไขกฎบัตรของนิติบุคคลนี้. กฎบัตรนั้นเคยกำหนดให้ผู้ที่บริจาคเงินทุนแก่งานของสมาคมฯ ได้มีส่วนในการออกเสียงลงคะแนน แต่การแก้ไขข้อที่สามยกเลิกข้อกำหนดนั้น. รายงานการประชุมประจำปีนั้นมีว่า “จำกัดให้สมาชิกในสมาคมฯ นี้มีไม่เกิน 500 คน . . . แต่ละคนที่ถูกเลือกต้องเป็นผู้รับใช้เต็มเวลาของสมาคมฯ หรือเป็นผู้รับใช้แบบไม่เต็มเวลาของกลุ่ม [ประชาคม] พยานพระยะโฮวาและต้องแสดงน้ำใจขององค์พระผู้เป็นเจ้า.”
หลังจากนั้น คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้รับการออกเสียงลงคะแนนให้ดำรงตำแหน่งโดยเหล่าผู้ที่ทุ่มเทตนแด่พระยะโฮวาอย่างเต็มที่โดยไม่คำนึงถึงจำนวนเงินที่เขาบริจาคเพื่อส่งเสริมงานราชอาณาจักร. ทั้งนี้ประสานกับการปรับปรุงเป็นขั้น ๆ ดังที่มีบอกล่วงหน้าไว้ที่ยะซายา 60:17 (ล.ม.) ซึ่งอ่านว่า “เราจะเอาทองคำมาแทนทองแดง และเราจะเอาเงินมาแทนเหล็ก เอาทองแดงมาแทนไม้ เอาเหล็กมาแทนหิน; และเราจะแต่งตั้งสันติสุขเป็นผู้ดูแลเจ้าและแต่งตั้งความชอบธรรมเป็นผู้มอบหมายงานแก่เจ้า.” เมื่อกล่าวถึง “ผู้ดูแล” และ “ผู้มอบหมายงาน” คำพยากรณ์ข้อนี้ชี้ถึงการปรับปรุงวิธีดำเนินงานขององค์การท่ามกลางไพร่พลของพระยะโฮวา.
ขั้นตอนอันสำคัญนี้ในการนำองค์การเข้าสู่การปรับแนวตามระบอบของพระเจ้าเกิดขึ้นในตอนปลายของ “สองพันสามร้อยเวลาเย็นและเวลาเช้า” ที่มีกล่าวถึงในดานิเอล 8:14 (ล.ม.). ในเวลานั้น “สถานบริสุทธิ์” ถูก “นำเข้าสู่สภาพอันถูกต้อง.”
อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุมประจำปี 1944 ซึ่งเป็นครั้งประวัติการณ์นั้น ยังมีคำถามสำคัญยิ่งอีกข้อหนึ่ง. เนื่องจากในเวลานั้นคณะกรรมการปกครองถือกันว่าเป็นอันเดียวกับคณะกรรมการเจ็ดคนของนิติบุคคลนี้ นี่หมายความว่าคณะกรรมการปกครองจะไม่อาจประกอบด้วยคริสเตียนผู้ถูกเจิมมากกว่าเจ็ดคนหรือ? ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากบรรดาสมาชิกของนิติบุคคลเป็นผู้เลือกคณะกรรมการ ดังนั้น พวกเขาจะเลือกสมาชิกคณะกรรมการปกครองในการประชุมประจำปีทุกครั้งไหม? คณะกรรมการของสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนีย
กับสมาชิกของคณะกรรมการปกครองเหมือนกันหรือแตกต่างกัน?การประชุมประจำปีอีกครั้งหนึ่งที่พึงจดจำ
คำถามเหล่านั้นได้รับคำตอบ ณ การประชุมประจำปีซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1971. ในโอกาสนั้น ผู้บรรยายคนหนึ่งชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมการปกครองแห่ง “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” มีอยู่ก่อนสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนียหลายร้อยปี. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) คณะกรรมการปกครองถูกตั้งขึ้นในวันเพนเตคอสเตปี ส.ศ. 33 กว่า 18 ศตวรรษก่อนจะมีนิติบุคคลนี้. ในตอนแรก คณะกรรมการปกครองประกอบด้วยอัครสาวก 12 คน ไม่ใช่ 7 คน. ปรากฏชัดว่าหลังจากนั้นจำนวนคณะกรรมการปกครองได้เพิ่มขึ้นอีก เพราะ “อัครสาวกและผู้ปกครอง ในกรุงยะรูซาเลม” เป็นผู้นำหน้าอยู่ในเวลานั้น.—กิจการ 15:2.
ในปี 1971 ผู้บรรยายคนเดิมชี้แจงว่า สมาชิกของสมาคมว็อชเทาเวอร์ไม่อาจเลือกตั้งสมาชิกแห่งคณะกรรมการปกครองที่ถูกเจิม. เพราะเหตุใด? เขากล่าวว่า “เพราะคณะกรรมการปกครองแห่งชนจำพวก ‘ทาส’ ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยมนุษย์คนใด. พวกเขาถูกแต่งตั้งโดย . . . พระเยซูคริสต์ผู้เป็นประมุขของประชาคมคริสเตียนแท้และเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและนายของชนจำพวก ‘ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม.’ ” จึงเห็นได้ชัดว่า สมาชิกแห่งคณะกรรมการปกครองไม่อาจได้รับการลงคะแนนเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยสมาชิกของนิติบุคคลใด ๆ.
ต่อจากนั้นผู้บรรยายได้กล่าวข้อความสำคัญยิ่งนี้: “คณะกรรมการปกครองไม่มีตำแหน่งต่าง ๆ เหมือนที่คณะกรรมการของสมาคมฯ มี อันได้แก่ นายกสมาคม, รองนายกสมาคม, เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิก. มีแต่ประธานเท่านั้น.” เป็นเวลาหลายปีที่นายกของนิติบุคคลนี้เป็นสมาชิกคนสำคัญที่สุดของคณะกรรมการปกครองด้วย ซึ่งจะไม่เป็นเช่นนี้อีกต่อไป. แม้ประสบการณ์หรือความสามารถไม่เท่ากัน แต่สมาชิกแห่งคณะกรรมการปกครองจะมีหน้าที่รับผิดชอบเท่ากัน. ผู้บรรยายกล่าวอีกว่า “สมาชิกคนใด ๆ แห่งคณะกรรมการปกครองต่างสามารถเป็นประธานคณะกรรมการปกครองได้โดยไม่ต้องเป็นนายกสมาคม . . . ในเวลาเดียวกัน . . . ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับการหมุนเวียนตำแหน่งประธานในคณะกรรมการปกครอง.”
ณ การประชุมประจำปีอันพึงจดจำในปี 1971 นั้น มีการชี้ให้เห็นชัดถึงความแตกต่างระหว่างสมาชิกผู้ถูกเจิมแห่งคณะกรรมการปกครองกับคณะกรรมการนิติบุคคลนี้. ถึงกระนั้น สมาชิกของคณะกรรมการปกครองก็ยังทำหน้าที่เป็นกรรมการของสมาคมฯ ต่อไป. แต่ตอนนี้เกิดคำถามขึ้นมาว่า มีเหตุผลใด ๆ ตามหลักพระคัมภีร์ไหมที่กรรมการของสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนียจะต้องเป็นสมาชิกแห่งคณะกรรมการปกครอง?
คำตอบคือ ไม่มี. นิติบุคคลนี้ไม่ใช่นิติบุคคลเพียงรายเดียวที่พยานพระยะโฮวาใช้. ยังมีนิติบุคคลอื่น ๆ อีก. นิติบุคคลรายหนึ่งคือสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก. นิติบุคคลนี้อำนวยความสะดวกแก่งานของเราในสหรัฐ. ปรากฏชัดว่าพระพรจากพระยะโฮวามีเหนือนิติบุคคลนี้แม้ว่ากรรมการของสมาคมฯ นี้ส่วนใหญ่มาจาก “แกะอื่น.” ส่วนในบริเตนก็มีการใช้สมาคมนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลนานาชาติ. มีการใช้นิติบุคคลอื่น ๆ อีกเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรในประเทศอื่น ๆ. นิติบุคคลทั้งหมดนั้นประสานงานกันให้การสนับสนุนและมีบทบาทในการทำให้ข่าวดีได้รับการประกาศไปทั่วแผ่นดินโลก. ไม่ว่านิติบุคคลเหล่านั้นจะตั้งอยู่ที่ไหนหรือมีใครทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ นิติบุคคลเหล่านั้นต่างก็ได้รับการชี้นำตามระบอบของพระเจ้าและถูกใช้โดยคณะกรรมการปกครอง. ฉะนั้น นิติบุคคลเหล่านั้นจึงได้รับมอบหมายงานให้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักร.
นับว่าเป็นประโยชน์ที่เรามีนิติบุคคล. โดยที่เรามีนิติบุคคลเหล่านั้น เราจึงปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายของประเทศ ดังที่พระคำของพระเจ้าเรียกร้องให้ทำ. (ยิระมะยา 32:11; โรม 13:1) นิติบุคคลเหล่านั้นอำนวยความสะดวกแก่งานของเราในการแพร่ข่าวราชอาณาจักรโดยการพิมพ์คัมภีร์ไบเบิล, หนังสือ, วารสาร, จุลสาร และอื่น ๆ. นิติบุคคลเหล่านั้นยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือตามกฎหมายเพื่อจัดการกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน, งานบรรเทาทุกข์, สัญญาใช้สถานที่สำหรับการประชุมภาค และอื่น ๆ อีก. เรารู้สึกขอบคุณสำหรับงานบริการของนิติบุคคลเหล่านั้น.
การทำให้พระนามของพระยะโฮวาปรากฏเด่น
ในปี 1944 กฎบัตรข้อที่สองของสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนียได้รับการแก้ไขเพื่อเน้นวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนี้. กฎบัตรข้อนี้มีว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ รวมถึงวัตถุประสงค์สำคัญประการนี้ด้วยคือ “เพื่อประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าภายใต้พระคริสต์เยซูแก่ชาติทั้งปวงในฐานะเป็นพยานถึงพระนาม, พระคำ, และฐานะสูงสุดของพระยะโฮวาพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ.”
ตั้งแต่ปี 1926 ‘ทาสสัตย์ซื่อ’ ได้ทำให้พระนามของพระยะโฮวาปรากฏเด่น. ปีที่น่าเอาใจใส่เป็นพิเศษคือปี 1931 เมื่อเหล่านักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลรับเอาชื่อพยานพระยะโฮวา. (ยะซายา 43:10-12) สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของสมาคมฯ ซึ่งเน้นเรื่องพระนามของพระเจ้านั้นได้แก่หนังสือ พระยะโฮวา (1934) (ภาษาอังกฤษ), “ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์” (1961) (ภาษาอังกฤษ), และ “ชาติทั้งหลายจะรู้ว่าเราคือยะโฮวา”—โดยวิธีใด? (1971) (ภาษาอังกฤษ).
คงต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษเกี่ยวกับพระคัมภีร์บริสุทธิ์ฉบับแปลโลกใหม่ ซึ่งพิมพ์ครบชุดในภาษาอังกฤษในปี 1960. พระคัมภีร์ฉบับนี้ใส่พระนามยะโฮวาในทุกที่ซึ่งมีเททรากรัมมาทอนปรากฏในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู. ฉบับแปลนี้ยังมีพระนามของพระเจ้าอยู่ด้วย 237 แห่งในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ. เรารู้สึกขอบคุณจริง ๆ ที่พระยะโฮวาทรงอนุญาตให้ “ทาส” กับคณะกรรมการปกครองของเขาใช้สิ่งพิมพ์และนิติบุคคลของพวกเขาในวิธีต่าง ๆ เพื่อทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักทั่วโลก!
การจำหน่ายจ่ายแจกพระคำของพระเจ้าได้รับการส่งเสริม
ไพร่พลของพระยะโฮวาเป็นพยานถึงพระนามของพระองค์อย่างไม่ละลดและยกย่องพระคำของพระองค์โดยการพิมพ์และจำหน่ายจ่ายแจกสิ่งพิมพ์ที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักและคัมภีร์ไบเบิลออกหลายล้านเล่ม. ในตอนต้นทศวรรษที่เริ่มปี 1900 สมาคมว็อชเทาเวอร์ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดิ เอมฟาติก ไดอะกลอตต์ พระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกฉบับกรีก-อังกฤษแปลบรรทัดต่อบรรทัดของเบนจามิน วิลสัน. สมาคมฯ ได้จัดพิมพ์ฉบับแปลคิงเจมส์ ฉบับสำหรับนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลซึ่งมีภาคผนวก 500 หน้ารวมอยู่ด้วย. ในปี 1942 สมาคมฯ ได้จัดพิมพ์ฉบับแปลคิงเจมส์ พร้อมด้วยข้ออ้างอิงริมหน้า. ต่อมาในปี 1944 สมาคมฯ เริ่มพิมพ์ฉบับแปลอเมริกันสแตนดาร์ด ปี 1901 ซึ่งใช้พระนามของพระเจ้า. นอกจากนี้ พระนามของพระยะโฮวายังเป็นลักษณะเด่นของเดอะ ไบเบิล อิน ลิฟวิง อิงลิช โดยสตีเฟน ที. ไบอิงตันด้วย ซึ่งสมาคมฯ ได้จัดพิมพ์ในปี 1972.
นิติบุคคลต่าง ๆ ที่พยานพระยะโฮวาใช้ได้ช่วยในการพิมพ์และจำหน่ายจ่ายแจกคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลต่าง ๆ เหล่านั้น. แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือการร่วมมืออย่างใกล้ชิดยิ่งระหว่างสมาคมว็อชเทาเวอร์กับกลุ่มพยานผู้ถูกเจิมของพระยะโฮวาซึ่งประกอบกันเป็นคณะกรรมการการแปลคัมภีร์ไบเบิลฉบับโลกใหม่. เรารู้สึกปีติยินดีที่จนถึงบัดนี้ มีการพิมพ์ฉบับแปลนี้ ทั้งครบชุดหรือบางส่วน ออกมามากกว่า 106,400,000 เล่มใน 38 ภาษา. สมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งเพนซิลเวเนีย เป็นสมาคมคัมภีร์ไบเบิล อย่างแท้จริง!
“ทาสสัตย์ซื่อ” ได้รับการแต่งตั้ง “ให้ดูแลทรัพย์สมบัติทั้งหมดของนาย.” ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นรวมถึงอาคารและอุปกรณ์ที่สำนักงานกลางในมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และสำนักงานสาขา 110 แห่งที่กำลังดำเนินงานอยู่ทั่วโลกในขณะนี้. สมาชิกแห่งชนจำพวกทาสทราบว่า พวกเขามัดธาย 25:14-30) ถึงกระนั้น เรื่องนี้ไม่ได้ยับยั้ง “ทาส” ไว้จากการให้เหล่าผู้ดูแลซึ่งมีคุณวุฒิเหมาะกับงานจากท่ามกลาง “แกะอื่น” มาเอาใจใส่หน้าที่รับผิดชอบด้านกฎหมายและด้านบริหาร. ที่จริง การทำเช่นนี้ทำให้สมาชิกของคณะกรรมการปกครองมีโอกาสจะทุ่มเทเวลามากขึ้นเพื่อ “อธิษฐานและสั่งสอนพระโอวาท.”—กิจการ 6:4.
จะถูกเรียกไปให้การสำหรับวิธีที่พวกเขาได้ใช้สิ่งที่ฝากไว้กับพวกเขา. (ตราบที่สภาพการณ์ในโลกอำนวย คณะกรรมการปกครองซึ่งเป็นตัวแทนของ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” จะใช้นิติบุคคลต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์. นิติบุคคลเหล่านั้นช่วยให้ดำเนินงานได้สะดวก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ขาดไม่ได้. หากนิติบุคคลใดถูกรัฐบาลสั่งยกเลิก งานประกาศจะยังดำเนินต่อไป. แม้แต่ขณะนี้ ในประเทศที่มีการจำกัดสิทธิ์และไม่มีการใช้นิติบุคคล ข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรก็มีการประกาศอยู่ การทำคนเป็นสาวกดำเนินอยู่ และการเพิ่มทวีตามระบอบของพระเจ้ายังมีต่อไป. สิ่งเหล่านั้นมีขึ้นเพราะพยานพระยะโฮวาปลูกและรดน้ำ และ ‘พระเจ้าทรงบันดาลให้เจริญอยู่เรื่อยไป.’—1 โกรินโธ 3:6, 7.
ขณะที่เรามองไปยังอนาคต เรามั่นใจว่าพระยะโฮวาจะเอาพระทัยใส่ความจำเป็นฝ่ายวิญญาณและด้านวัตถุของไพร่พลของพระองค์. พระยะโฮวากับพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์ จะประทานการทรงนำจากสวรรค์ต่อ ๆ ไปและทรงจัดให้ตามความจำเป็นเพื่อทำให้งานประกาศเรื่องราชอาณาจักรบรรลุผลสำเร็จ. แน่นอน ไม่ว่าสิ่งใดที่เราทำสำเร็จในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า สิ่งนั้นทำได้ ‘ไม่ใช่ด้วยกำลังแลฤทธิ์ แต่โดยพระวิญญาณของพระยะโฮวา.’ (ซะคาระยา 4:6) ฉะนั้น เราจึงทูลอธิษฐานขอการช่วยเหลือจากพระเจ้าโดยรู้อยู่ว่า ด้วยกำลังที่พระยะโฮวาทรงประทาน เราจึงสามารถทำงานที่พระองค์ทรงมอบหมายให้เราทำในสมัยสุดท้ายนี้จนสำเร็จ!