วิธีที่เราสามารถพัฒนาความดีงาม
วิธีที่เราสามารถพัฒนาความดีงาม
พจนานุกรมสมัยใหม่ให้ความหมายของคำ “ความดีงาม” ว่า “ความดีเลิศทางด้านศีลธรรม; ความดี; การกระทำและความคิดที่ถูกต้อง; ความดีที่มีอยู่ในอุปนิสัย.” มาร์วิน อาร์. วินเซนต์ ผู้เรียบเรียงพจนานุกรมกล่าวว่า ความหมายของคำกรีกโบราณซึ่งได้รับการแปลว่า “ความดีงาม” นั้นหมายถึง “ความดีเลิศชนิดใด ๆ.” ดังนั้นแล้ว ไม่น่าแปลกใจ คุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ความสุขุม, ความกล้าหาญ, การใช้วินัยกับตัวเอง, ความยุติธรรม, ความเมตตาสงสาร, ความพากเพียร, ความซื่อสัตย์, ความถ่อม, และความภักดีได้รับการยกย่องว่าเป็นความดีงามไม่คราวใดก็คราวหนึ่ง. ความดีงามยังได้รับการนิยามด้วยว่าเป็น “การปฏิบัติตามมาตรฐานของความถูกต้อง.”
มาตรฐานของความดีเลิศ, ความดี, และความถูกต้องของผู้ใดที่เราควรปฏิบัติตาม? วารสารนิวส์วีก กล่าวว่า “ตามที่พวกนักปรัชญาทางศีลธรรมที่เด่นว่าไว้นั้น ความสงสัยที่ก่อขึ้นโดยขบวนการซึ่งยึดถือหลักปรัชญาของยุคสว่างนั้นได้ทำให้แนวคิดทั้งสิ้นเกี่ยวกับความถูกผิดกลายเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว, ความรู้สึกชอบไม่ชอบตามแต่อารมณ์หรือวัฒนธรรม.” แต่เพียงแค่รสนิยมหรือความรู้สึกชอบไม่ชอบเท่านั้นเพียงพอไหมในการกำหนดความถูกผิด? ไม่. เพื่อเราจะพัฒนาความดีงาม เราต้องมีมาตรฐานที่เชื่อถือได้ในเรื่องความดีและความชั่ว—มาตรฐานที่อาจใช้ตัดสินการกระทำ, เจตคติ, หรือคุณลักษณะบางอย่างว่าถูกหรือผิด.
แหล่งแท้แห่งเดียวของมาตรฐานด้านศีลธรรม
มีแหล่งแท้แห่งเดียวเท่านั้นสำหรับมาตรฐานด้านศีลธรรม—นั่นคือพระยะโฮวาพระเจ้า พระผู้สร้างของมนุษยชาติ. หลังจากสร้างอาดามมนุษย์คนแรกไม่นาน พระยะโฮวาพระเจ้าทรงให้พระบัญชาข้อนี้แก่เขาที่ว่า “จากต้นไม้ทุกต้นในสวนเจ้ากินได้จนเป็นที่พอใจ. ส่วนต้นไม้เกี่ยวกับความรู้เรื่องความดีและความชั่วนั้นเจ้าอย่ากินจากต้นนั้น เพราะว่าในวันซึ่งเจ้ากินจากต้นนั้นเจ้าจะตายเป็นแน่.” (เยเนซิศ 2:16, 17, ล.ม.) พระยะโฮวาพระเจ้าทรงเรียกต้นไม้นี้ด้วยชื่อที่ไม่มีใดเหมือนเพื่อแสดงว่าเป็นสิทธิของพระองค์โดย เฉพาะที่จะตัดสินว่าอะไรดีและอะไรชั่วสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงสร้างนั้น. ดังนั้น มาตรฐานของพระเจ้าเกี่ยวกับความดีและความชั่วจึงกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสิน, หรือการประเมินเกี่ยวกับการกระทำ, แง่คิด, และบุคลิกลักษณะของคนเรา. หากปราศจากมาตรฐานดังกล่าวแล้ว เราก็ไม่สามารถแยกแยะอย่างถูกต้องว่าอะไรถูกอะไรผิด.
พระบัญชาเกี่ยวกับต้นไม้แห่งความรู้เรื่องความดีและความชั่วนั้นได้ตั้งทางเลือกไว้ต่อหน้าอาดามและฮาวา—จะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟัง. สำหรับเขาทั้งสองแล้ว ความดีงามหมายถึงการเชื่อฟังพระบัญชานั้น. ในเวลาต่อมา พระยะโฮวาทรงเปิดเผยมากขึ้นอีกถึงสิ่งที่ทำให้พระองค์พอพระทัยและไม่พอพระทัย และพระองค์ทรงให้มีการบันทึกเรื่องนี้ไว้ในคัมภีร์ไบเบิลสำหรับพวกเรา. ดังนั้นแล้ว เพื่อจะพัฒนาความดีงามเราต้องปฏิบัติตามมาตรฐานอันชอบธรรมของพระยะโฮวาที่ชี้แจงไว้ในพระคัมภีร์.
จงทำความคุ้นเคยกับ มาตรฐานของพระเจ้าอย่างเต็มที่
เนื่องจากพระยะโฮวาพระเจ้าได้ทรงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความดีและความชั่วและเปิดเผยเรื่องนั้นไว้ในคัมภีร์ไบเบิล มิควรหรือที่เราจะทำความคุ้นเคยกับมาตรฐานเหล่านั้นให้เต็มที่? อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์เพื่อการสั่งสอน, เพื่อการว่ากล่าว, เพื่อจัดการเรื่องราวให้เรียบร้อย, เพื่อตีสอนด้วยความชอบธรรม, เพื่อคนของพระเจ้าจะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน, เตรียมพร้อมสำหรับการดีทุกอย่าง.”—2 ติโมเธียว 3:16, 17, ล.ม.
ตัวอย่างเช่น ขอพิจารณาความเข้าใจผิดที่คุนิฮิโตะซึ่งกล่าวถึงในบทความก่อนได้ประสบเมื่อแสดงความเจียมตัวตามวัฒนธรรมของเขา. การพิจารณามาตรฐานตามหลักพระคัมภีร์อย่างละเอียดมากขึ้นในภายหลังได้ช่วยเขาให้ใช้วิธีที่สมดุลมากขึ้นในการเข้าหาพูดจากับคนอื่น. แน่นอน คัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนความเจียมตัว และพระคัมภีร์เตือนให้ระวังการมั่นใจมากเกินไปและการทำเกินสิทธิ์. (สุภาษิต 11:2, ล.ม.; มีคา 6:8, ล.ม.) ถึงกระนั้น เมื่อสรุปคุณวุฒิสำหรับ “ตำแหน่งผู้ดูแล” อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงการ “เอื้อมแขนออกไป” เพื่อจะได้สิทธิพิเศษนั้น. (1 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) การ “เอื้อมแขนออกไป” เช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำไปโดยปราศจากการโอ้อวดหรือถือดีเท่านั้น แต่ไม่ลดค่าตัวเองลงโดยไม่จำเป็นอีกด้วย.
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างไรเกี่ยวกับความดีงามด้านศีลธรรมในแวดวงธุรกิจ? การใช้วิธีที่น่าสงสัย หรือการลัดขั้นตอนในเรื่องกฎข้อบังคับของรัฐบาลและกฎหมายว่าด้วยภาษี เป็นกิจปฏิบัติธรรมดาในวงการธุรกิจทุกวันนี้. แต่ไม่ว่าคนอื่นจะปฏิบัติอย่างไรก็ตาม มาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิลคือ เราต้อง “ประพฤติตัวซื่อสัตย์ในทุกสิ่ง.” (เฮ็บราย 13:18, ล.ม.) ฉะนั้น เราสำแดงคุณธรรมโดยการเป็นคนซื่อสัตย์และยุติธรรมกับนายจ้าง, ลูกจ้าง, ลูกค้า, และรัฐบาลฝ่ายโลก. (พระบัญญัติ 25:13-16; โรม 13:1; ติโต 2:9, 10) แน่นอน ความซื่อสัตย์ส่งเสริมความไว้วางใจและไมตรีจิต. และการเขียนข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรบ่อยครั้งป้องกันความเข้าใจผิดและความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก “เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า.”—ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.; ยาโกโบ 4:13, 14.
เรื่องเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและการแต่งตัวเป็นอีกขอบเขตหนึ่งซึ่งเราต้องสำแดงความดีงาม. การเลือกเสื้อผ้าย่อมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และอาจมีความกดดันอย่างหนักให้ไล่ตามแฟชั่นล่าสุด. แต่ทำไมเราจะต้องไปติดตามแฟชั่นทุกอย่างที่เห่อกันชั่วประเดี๋ยวประด๋าว? คัมภีร์ไบเบิลตักเตือนเราให้ “เลิกถูกนวดปั้นตามระบบนี้.” (โรม 12:2, ล.ม.) แทนที่จะตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อัครสาวกเปาโลเขียนภายใต้การดลใจว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาให้พวกผู้หญิงประดับตัวด้วยเสื้อผ้าที่จัดเรียบร้อย ด้วยความสงบเสงี่ยมและสุขภาพจิตดี ไม่ใช่ด้วยแบบถักทรงผมและทองคำ หรือไข่มุก หรือเสื้อผ้าราคาแพงมาก แต่ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับสตรีที่ประกาศตัวว่านับถือพระเจ้า.” (1 ติโมเธียว 2:9, 10, ล.ม.) มาตรฐานที่เป็นหลักข้อนี้นำมาใช้ได้กับทั้งชายและหญิง. แน่นอน มีการเปิดช่องสำหรับรูปแบบที่หลากหลายซึ่งน่าชื่นชมอันเป็นผลมาจากความชอบตามวัฒนธรรมหรือรสนิยมส่วนตัว.
คัมภีร์ไบเบิลยังระบุกิจปฏิบัติที่ผิดศีลธรรมซึ่งพระเจ้าทรงตำหนิอย่างชัดเจนไว้ด้วย. ที่ 1 โกรินโธ 6:9, 10 (ล.ม.) เราอ่านคำเตือนว่า “อะไรกัน! ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าคนอธรรมจะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก? อย่าให้ใครชักนำท่านให้หลง. คนผิดประเวณี, หรือคนบูชารูปเคารพ, หรือคนเล่นชู้, หรือชายเก็บไว้เพื่อวัตถุประสงค์ผิดธรรมชาติ, หรือชายที่นอนกับชายด้วยกัน, หรือขโมย, หรือคนโลภ, หรือนักเลงสุรา, หรือคนด่าประจาน, หรือคนกรรโชกจะไม่ได้ รับราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก.” ข้อคัมภีร์นี้ได้ช่วยมาเรีย ที่กล่าวถึงในบทความก่อนให้เข้าใจว่า ตามมาตรฐานความดีงามด้านศีลธรรมที่พระผู้สร้างทรงกำหนดไว้นั้น การที่เธอเข้าไปเกี่ยวพันทางเพศกับฮวนนั้นเป็นการกระทำที่ผิดและเธอต้องยุติความสัมพันธ์นั้นเพื่อจะได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้า. ปรากฏชัดว่า ที่จะปลูกฝังความดีงามทางศีลธรรม เราต้องทำความคุ้นเคยอย่างถี่ถ้วนกับมาตรฐานของพระยะโฮวา.
เรียนรู้ด้วยหัวใจ
การสำแดงความดีงามมิใช่เป็นเพียงการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ชั่วเท่านั้น. ความดีงามมีพลังทางศีลธรรม. บุคคลที่มีความดีงามทางศีลธรรมเป็นคนดี. ศาสตราจารย์คนหนึ่งกล่าวว่า “ความดีงามเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ด้วยหัวใจเช่นเดียวกับด้วยหัวสมอง.” ดังนั้นแล้ว ที่จะพัฒนาความดีงามจำต้องมีไม่เพียงแค่การคุ้นเคยกับพระคำของพระเจ้าอย่างถี่ถ้วนเท่านั้น แต่ต้องมีการคิดรำพึงถึงสิ่งที่เขียนไว้ในนั้นด้วยเพื่อเราจะมีหัวใจที่เปี่ยมด้วยความกตัญญูต่อพระยะโฮวาและได้รับการกระตุ้นให้นำหลักการของพระคัมภีร์มาใช้ในชีวิตของเรา.
ผู้ประพันธ์บทเพลงสรรเสริญร้องออกมาว่า “ข้าพเจ้ารักข้อกฎหมายของพระองค์มากเพียงใด! ข้าพเจ้าคำนึงถึงตลอดวัน.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:97, ล.ม.) และกษัตริย์ดาวิดได้เขียนว่า “ข้าพเจ้าจะระลึกถึงเวลาที่ล่วงไปแล้ว; ข้าพเจ้าภาวนาถึงพระราชกิจทั้งปวงที่พระองค์ [พระเจ้า] ทรงกระทำนั้น; ข้าพเจ้ารำพึงถึงพระหัตถกิจการต่าง ๆ ของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 143:5) เราควรทำให้การคิดรำพึงด้วยการอธิษฐานเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือที่อาศัยพระคัมภีร์ด้วยเช่นกัน.
จริงอยู่ การหาเวลาสำหรับการศึกษาอย่างขยันขันแข็งพร้อมกับการคิดรำพึงอาจเป็นข้อท้าทาย. แต่การติดตามความดีงามเรียกร้องให้เราซื้อเวลาจากกิจกรรมอื่น ๆ. (เอเฟโซ 5:15, 16) แอรันวัย 24 ปีซื้อเวลาดังกล่าวทุกวันโดยการตื่นนอนเร็วกว่าเดิม 30 นาที. เขาเล่าว่า “ทีแรก ผมแค่อ่านคัมภีร์ไบเบิลตลอดครึ่งชั่วโมงนั้น. เพิ่งจะไม่นานมานี้เองที่ผมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคิดรำพึง. ดังนั้น ตอนนี้ผมใช้ครึ่งหนึ่งของเวลานั้นไว้โดยเฉพาะเพื่อไตร่ตรองสิ่งที่ผมเพิ่งอ่าน. การทำเช่นนั้นให้ผลตอบแทนอย่างแท้จริง.” การคิดรำพึงอาจทำได้ในเวลาอื่น. ดาวิดได้ร้องเพลงบทที่ใช้สำหรับสรรเสริญพระยะโฮวาว่า “ในยามกลางคืนข้าพเจ้าคิดรำพึงถึงพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 63:6, ล.ม.) และคัมภีร์ไบเบิลพรรณนาว่า “เวลาเย็นยิศฮาคก็ออกไปที่ทุ่งนาเพื่อจะตรึกตรองถึงเรื่องต่าง ๆ.”—เยเนซิศ 24:63.
การคิดรำพึงเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้ในการปลูกฝังความดีงาม เพราะนั่นช่วยเราให้รู้สึกอย่างที่พระยะโฮวาทรงรู้สึกและทำให้เรามีทัศนะเหมือนพระองค์. ตัวอย่างเช่น มาเรียรู้ดีว่าพระเจ้าทรงห้ามการผิดประเวณี. แต่เพื่อจะ ‘เกลียดชังสิ่งที่ชั่ว และยึดถือสิ่งที่ดีไว้’ เธอต้องคิดรำพึงถึงข้อคัมภีร์ที่สำคัญต่าง ๆ. (โรม 12:9) เธอได้รับการช่วยให้เห็นความจำเป็นที่จะทำการเปลี่ยนแปลงหลังจากอ่านโกโลซาย 3:5 (ล.ม.) ซึ่งกระตุ้นเราให้ ‘ประหารอวัยวะแห่งร่างกายของเราในเรื่องการล่วงประเวณี, การโสโครก, ราคะตัณหา, ความปรารถนาที่ก่อความเสียหาย, และความละโมบ.’ มาเรียต้องถามตัวเองว่า ‘ราคะตัณหาชนิดใดที่ฉันต้องประหาร? ฉันควรหลีกเลี่ยงอะไรซึ่งอาจปลุกเร้าความปรารถนาที่ไม่สะอาดทางศีลธรรม? ฉันต้องทำการเปลี่ยนแปลงไหมในวิธีที่ฉันปฏิบัติต่อคนเหล่านั้นที่เป็นเพศตรงข้าม?’
1 เธซะโลนิเก 4:3-7, ล.ม.) คำถามต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่พึงใคร่ครวญคือ ‘โดยการประพฤติเช่นนั้น ฉันจะก่อความเสียหายอะไรแก่ตัวเอง, แก่ครอบครัวของฉัน, หรือคนอื่น ๆ? ฉันจะได้รับผลกระทบอย่างไรทางด้านวิญญาณ, ด้านอารมณ์, และด้านร่างกาย? ผลเป็นอย่างไรสำหรับคนอื่น ๆ ในอดีตที่ได้ฝ่าฝืนกฎหมายของพระเจ้า?’ การไตร่ตรองดังกล่าวทำให้หัวใจของมาเรียเข้มแข็งขึ้น และการคิดรำพึงแบบนั้นสามารถช่วยเราให้เข้มแข็งได้เช่นกัน.
การคิดรำพึงหมายรวมถึงการพิจารณาผลของการกระทำด้วย. เปาโลกระตุ้นคริสเตียนให้ละเว้นจากการผิดประเวณีและให้แสดงการรู้จักบังคับตนเพื่อจะ “ไม่มีใครดำเนินไปถึงขั้นที่เกิดความเสียหายและละเมิดสิทธิ์แห่งพี่น้องของตน.” (เรียนจากตัวอย่างต่าง ๆ
จะสอนเรื่องความดีงามในห้องเรียนได้ไหม? นี่เป็นคำถามที่ทำให้คนช่างคิดสับสนมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว. เพลโตนักปรัชญากรีกคิดว่าน่าจะทำได้. ในอีกด้านหนึ่ง อาริสโตเติลให้เหตุผลว่า ความดีงามเป็นสิ่งที่ได้มาโดยการปฏิบัติ. นักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งได้สรุปการโต้แย้งในประเด็นนั้นไว้ดังนี้: “โดยสรุปแล้ว หลักจรรยาเกี่ยวกับความดีงามไม่ใช่เรื่องที่จะเพียงแค่เรียนรู้เท่านั้น. อีกทั้งไม่อาจสอนเรื่องนี้จากตำราต่าง ๆ ได้. อุปนิสัยที่ดีเกิดจากการดำเนินชีวิตในชุมชน . . . ที่มีการสนับสนุนและให้ผลตอบแทนแก่ความดีงามนั้น.” แต่เราจะพบบุคคลที่มีความดีงามอย่างแท้จริงได้ที่ไหน? ขณะที่วัฒนธรรมส่วนใหญ่เสนอตัวอย่างบางเรื่องเกี่ยวกับคนที่ดีมีคุณธรรม อย่างน้อยก็พวกวีรบุรุษจากเทพนิยายและนิทานต่าง ๆ ของพวกเขานั้น คัมภีร์ไบเบิลมีตัวอย่างจริงมากมาย.
ตัวอย่างเด่นที่สุดเกี่ยวกับความดีงามก็คือพระยะโฮวา. พระองค์ทรงปฏิบัติในวิธีที่ดีงามเสมอและทรงทำสิ่งที่ดีและชอบธรรม. เราสามารถพัฒนาความดีงามได้โดยการเป็น “ผู้เลียนแบบพระเจ้า.” (เอเฟโซ 5:1, ล.ม.) และพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า ‘ทรงวางแบบอย่างไว้ให้เรา เพื่อเราจะได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์อย่างใกล้ชิด.’ (1 เปโตร 2:21, ล.ม.) นอกจากนี้ คัมภีร์ไบเบิลมีเรื่องราวของบุคคลที่ซื่อสัตย์หลายคน เช่น อับราฮาม, ซารา, โยเซฟ, รูธ, โยบ, และดานิเอลกับเพื่อนชาวฮีบรูสามคนของท่าน. ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือตัวอย่างเกี่ยวกับความดีงามในท่ามกลางผู้รับใช้ของพระยะโฮวาสมัยปัจจุบัน.
เราสามารถบรรลุผลสำเร็จ
เราสามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างแท้จริงในการทำสิ่งที่เป็นความดีงามในสายพระเนตรของพระเจ้าได้ไหม? เนื่องจากได้รับความไม่สมบูรณ์เป็นมรดก บางครั้งอาจมีการต่อสู้อย่างดุเดือดในตัวเราระหว่างจิตใจกับเนื้อหนัง—ระหว่างความต้องการทำสิ่งที่เป็นความดีงามกับการทำตามแนวโน้มที่ผิดบาปของเรา. (โรม 5:12; 7:13-23) แต่จะเอาชนะในการต่อสู้นั้นได้โดยความช่วยเหลือจากพระเจ้า. (โรม 7:24, 25) พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมพระคำของพระองค์และสรรพหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลไว้. โดยการศึกษาพระคัมภีร์อย่างขยันขันแข็งและการคิดรำพึงด้วยการอธิษฐานในเรื่องเหล่านั้น เราจะกลายเป็นคนมีหัวใจบริสุทธิ์ได้. จากหัวใจบริสุทธิ์นั่นแหละที่ความคิด, คำพูด, และการกระทำที่ดีงามจะออกมาได้. (ลูกา 6:45) โดยอาศัยตัวอย่างของพระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ เราสามารถสร้างบุคลิกภาพแบบพระเจ้าได้. และแน่นอน เราสามารถเรียนรู้ได้มากมายจากบุคคลต่าง ๆ ซึ่งรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ในทุกวันนี้.
อัครสาวกเปาโลกระตุ้นเตือนผู้อ่านของท่านให้ ‘ใคร่ครวญต่อ ๆ ไป’ ในสิ่งที่มีคุณความดีและสิ่งที่น่าสรรเสริญอื่น ๆ. การทำเช่นนี้จะก่อผลด้วยพระพรจากพระเจ้าแน่ ๆ. (ฟิลิปปอย 4:8, 9, ล.ม.) โดยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา เราสามารถบรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาความดีงาม.
[ภาพหน้า 6]
จงทำให้การคิดรำพึงเป็นส่วนหนึ่งแห่งการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลของคุณ
[ภาพหน้า 7]
จงสร้างบุคลิกภาพแบบพระเจ้าโดยการเลียนแบบพระเยซูคริสต์