คุณดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของคุณไหม?
คุณดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของคุณไหม?
“สิ่งใด ๆ ก็ดีที่ท่านทั้งหลายทำ จงทำด้วยสิ้นสุดจิตวิญญาณเหมือนหนึ่งทำแด่พระยะโฮวาและไม่ใช่แก่มนุษย์.”—โกโลซาย 3:23, ล.ม.
1. ในทางโลก คำ “การอุทิศตัว” มีความหมายเช่นไร?
นักกีฬาขึ้นถึงจุดสูงสุดในการเล่นของตนโดยวิธีใด? ในกีฬาเทนนิส, ฟุตบอล, บาสเกตบอล, เบสบอล, วิ่ง, กอล์ฟ, หรือกีฬาประเภทใดก็ตาม คนที่เก่งที่สุดขึ้นถึงจุดสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อเขาอุทิศทุ่มเทตัวโดยไม่วอกแวก. สิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกคือการเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม. เรื่องนี้รับกันพอดีกับคำนิยามอย่างหนึ่งของคำ “อุทิศตัว” ที่ว่า “ผูกมัดตัวเองอย่างสิ้นเชิงอยู่กับแนวคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง.”
2. คำ “การอุทิศตัว” มีความหมายเช่นไรในคัมภีร์ไบเบิล? จงยกตัวอย่าง.
2 อย่างไรก็ตาม “การอุทิศตัว” ตามที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลมีความหมายเช่นไร? คำ “อุทิศตัว” แปลมาจากคำกริยาฮีบรูซึ่งมีความหมายว่า “แยกไว้ต่างหาก; ถูกแยกออก; ถอนตัว.” * ในยิศราเอลโบราณ มหาปุโรหิตอาโรนคาด “เครื่องหมายอันบริสุทธิ์แห่งการอุทิศตัว” ไว้กับผ้าโพกศีรษะ ซึ่งเป็นแผ่นทองคำบริสุทธิ์สุกปลั่งสลักคำภาษาฮีบรูไว้ว่า “ความบริสุทธิ์เป็นของพระยะโฮวา.” ทั้งนี้เป็นข้อเตือนใจแก่มหาปุโรหิตว่า เขาต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่จะเป็นการดูหมิ่นสถานศักดิ์สิทธิ์ “เพราะเครื่องหมายแห่งการอุทิศตัว น้ำมันเจิมแห่งพระเจ้าของเขา อยู่บนเขา.”—เอ็กโซโด 29:6; 39:30, ล.ม.; เลวีติโก 21:12, ล.ม.
3. การอุทิศตัวควรมีผลกระทบต่อความประพฤติของเราอย่างไร?
3 เราสามารถเห็นได้จากเนื้อความตอนนี้ว่าการอุทิศตัวเป็นเรื่องจริงจัง. การอุทิศตัวแสดงนัยถึงการแสดงตัวว่าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าด้วยความสมัครใจ และเรียกร้องการรักษาความประพฤติที่สะอาด. ด้วยเหตุนั้น เราจึงเข้าใจได้ถึงเหตุผลที่อัครสาวกเปโตรยกพระดำรัสของพระยะโฮวาที่ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายต้องเป็นคนบริสุทธิ์เพราะเราเป็นผู้บริสุทธิ์.” (1 เปโตร 1:15, 16, ล.ม.) ในฐานะคริสเตียนที่อุทิศตัว เรามีหน้าที่รับผิดชอบหนักในการดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเรา รักษาความซื่อสัตย์จนถึงที่สุด. แต่การอุทิศตัวของคริสเตียนเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?—เลวีติโก 19:2; มัดธาย 24:13.
4. เราจะบรรลุถึงขั้นอุทิศตัวโดยวิธีใด และการอุทิศตัวอาจเปรียบได้กับอะไร?
4 หลังจากที่ได้รับความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระยะโฮวาพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์ รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และบทบาทของพระองค์ในพระประสงค์เหล่านั้น เราตัดสินใจด้วยตัวเองที่จะรับใช้พระเจ้าด้วยสุดหัวใจ, สุดจิตใจ, สุดจิตวิญญาณ, และสุดกำลังของเรา. (มาระโก 8:34; 12:30; โยฮัน 17:3) การทำเช่นนั้นอาจถึงกับถือได้ว่าเป็นการปฏิญาณตัวเราเองต่อพระเจ้า อุทิศตัวอย่างไม่มีเงื่อนไขแด่พระองค์. การอุทิศตัวของเราไม่ได้เป็นผลมาจากอารมณ์ชั่วแล่น หากแต่เกิดขึ้นหลังจากที่คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบพร้อมด้วยการอธิษฐาน โดยใช้ความสามารถในการหาเหตุผล. ด้วยเหตุนั้น การอุทิศตัวไม่ใช่การตัดสินใจชั่วคราว. เราไม่อาจเป็นเหมือนบางคนที่เริ่มไถนาแต่แล้วก็ทิ้งไปกลางคัน เพราะงานหนักเหลือทน หรือเพราะฤดูเกี่ยวดูเหมือนว่ายังอีกนานเหลือเกิน หรือเพราะผลที่จะได้นั้นไม่แน่นอน. ขอให้พิจารณาตัวอย่างของบางคนที่ได้ “เอามือจับคันไถ” แห่งหน้าที่รับผิดชอบตามระบอบของพระเจ้าไม่ว่าจะเผชิญอุปสรรคหรือความลำบากอย่างไรก็ตาม.—ลูกา 9:62; โรม 12:1, 2.
พวกเขาไม่ล้มเลิกการอุทิศตัวของตน
5. ยิระมะยาเป็นผู้รับใช้ที่อุทิศตัวแด่พระเจ้าซึ่งเป็นตัวอย่างเด่นอย่างไร?
5 งานรับใช้ของยิระมะยาฐานะผู้พยากรณ์ในกรุงยะรูซาเลมกินเวลานานกว่า 40 ปี (647-607 ก่อนสากลศักราช) ยิระมะยา 1:2-6) ท่านจำเป็นต้องมีความกล้าหาญและความอดทนในการเผชิญหน้ากับประชาชนชาวยูดาที่หัวแข็งไม่เว้นแต่ละวัน. (ยิระมะยา 18:18; 38:4-6) อย่างไรก็ตาม ยิระมะยาวางใจในพระยะโฮวาพระเจ้า ผู้ทรงเสริมกำลังเพื่อให้ท่านพิสูจน์ตัวเป็นผู้รับใช้ที่อุทิศตัวอย่างแท้จริงแด่พระเจ้า.—ยิระมะยา 1:18, 19.
และไม่ใช่งานมอบหมายง่าย ๆ เลย. ท่านสำนึกอย่างยิ่งถึงข้อจำกัดของท่าน. (6. อัครสาวกโยฮันวางตัวอย่างอะไรไว้ให้เรา?
6 จะว่าอย่างไรสำหรับอัครสาวกโยฮันผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งถูกเนรเทศในวัยชราให้ไปอยู่ที่เกาะปัตโมสอันแห้งแล้งเนื่องด้วย “ได้กล่าวถึงพระเจ้าและให้คำพยานถึงพระเยซู.” (วิวรณ์ 1:9, ล.ม.) ท่านอดทนและดำเนินชีวิตสมกับสถานภาพที่ได้อุทิศตัวเป็นคริสเตียนเป็นเวลาประมาณ 60 ปี. ท่านมีชีวิตต่อไปหลังจากที่กรุงยะรูซาเลมถูกทำลายโดยน้ำมือของกองทัพโรมัน. ท่านได้รับสิทธิพิเศษให้เขียนพระธรรมกิตติคุณหนึ่งเล่ม, จดหมายที่เขียนโดยการดลใจสามฉบับ, รวมถึงพระธรรมวิวรณ์ซึ่งท่านได้เห็นล่วงหน้าถึงสงครามอาร์มาเก็ดดอน. ท่านละเลิกเสียไหมเมื่อทราบว่าอาร์มาเก็ดดอนจะยังไม่มาในช่วงชีวิตของท่าน? ท่านหมดความสนใจไปเลยไหม? ไม่ โยฮันยังคงซื่อสัตย์ตราบจนวันตาย โดยทราบอยู่ว่าแม้ “เวลากำหนดใกล้เข้ามาแล้ว” นิมิตที่ท่านได้รับจะสำเร็จในภายภาคหน้า.—วิวรณ์ 1:3, ล.ม.; ดานิเอล 12:4.
ตัวอย่างแห่งการอุทิศตัวในสมัยปัจจุบัน
7. พี่น้องคนหนึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างไรในเรื่องการอุทิศตัวแบบคริสเตียน?
7 ในสมัยปัจจุบัน คริสเตียนผู้ซื่อสัตย์มากมายยึดมั่นอยู่กับการอุทิศตัวของตนด้วยใจแรงกล้าแม้ว่าไม่ได้มีชีวิตอยู่จนเห็นอาร์มาเก็ดดอน. คนหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นคือเออร์เนสต์ อี. บีเวอร์ ชาวอังกฤษ. ท่านเข้ามาเป็นพยานฯ ในปี 1939 ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง และท่านทิ้งธุรกิจอันรุ่งเรืองในการถ่ายทำภาพสำหรับหนังสือพิมพ์และนิตยสารเพื่อจะรับใช้เต็มเวลา. เพราะรักษาความเป็นกลางในฐานะคริสเตียน ท่านถูกจำคุกสองปี. ครอบครัวของท่านยืนหยัดเคียงข้างท่าน และในปี 1950 บุตรสามคนของท่านได้เข้าโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียดเพื่อฝึกอบรมงานมิชชันนารี ที่นิวยอร์ก. บราเดอร์บีเวอร์มีใจแรงกล้ามากในการประกาศจนเพื่อน ๆ เรียกท่านว่า อาร์มาเก็ดดอน เออร์นี. ท่านดำเนินชีวิตอย่างภักดีสมกับการอุทิศตัว และจนกระทั่งถึงวันที่ท่านเสียชีวิตในปี 1986 ท่านประกาศว่าอาร์มาเก็ดดอนสงครามของพระเจ้าจวนจะถึงอยู่แล้ว. ท่านไม่ได้ถือว่าการอุทิศตัวของท่านเป็นเพียงสัญญาชั่วระยะหนึ่งกับพระเจ้า! *—1 โกรินโธ 15:58.
8, 9. (ก) ชายหนุ่มหลายคนในสเปนได้วางตัวอย่างอะไรไว้ในช่วงที่จอมเผด็จการฟรานซิสโก ฟรังโกปกครอง? (ข) นับว่าเหมาะที่จะถามอะไร?
8 อีกตัวอย่างหนึ่งของความมีใจแรงกล้าที่ไม่หดหายมาจากสเปน. ในช่วงที่จอมเผด็จการฟรานซิสโก ฟรังโกปกครอง (1939-1975) พยานฯ หนุ่มหลายร้อยคนที่อุทิศตัวยึดมั่นอยู่กับจุดยืนในฐานะคริสเตียนที่รักษาความเป็นกลาง. หลายคนใช้เวลาสิบปีหรือกว่านั้นในคุกทหาร. พยานฯ คน
หนึ่งชื่อเคซูส มาร์ตินถึงกับถูกพิพากษาให้จำคุกรวมทั้งหมด 22 ปี. เขาถูกทุบตีอย่างรุนแรงขณะถูกขังที่คุกทหารในแอฟริกาเหนือ. ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรเป็นเรื่องง่ายเลย แต่เขาไม่ยอมประนีประนอม.9 ตลอดเวลาส่วนใหญ่ คนหนุ่มเหล่านี้ไม่รู้แม้แต่น้อยว่าจะถูกปล่อยเมื่อไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะมีวันนั้นหรือไม่ เพราะพวกเขาถูกพิพากษาลงโทษเรียงกระทงต่อเนื่อง. กระนั้น พวกเขารักษาความซื่อสัตย์มั่นคงและความมีใจแรงกล้าเพื่องานรับใช้ขณะถูกคุมขัง. เมื่อในที่สุดสถานการณ์เริ่มดีขึ้นในปี 1973 พยานฯ เหล่านี้หลายคน ซึ่งตอนนั้นอยู่ในช่วงอายุสามสิบเศษ ๆ ก็ถูกปล่อยออกจากคุกและตรงเข้าสู่งานรับใช้เต็มเวลา บางคนได้เป็นไพโอเนียร์พิเศษและผู้ดูแลเดินทาง. พวกเขาดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวเมื่ออยู่ในคุก และส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตเช่นนั้นต่อไปหลังจากที่พวกเขาถูกปล่อยตัว. * จะว่าอย่างไรสำหรับเราในทุกวันนี้? เรากำลังรักษาตัวซื่อสัตย์ต่อการอุทิศตัวของเราเช่นเดียวกับผู้ภักดีเหล่านี้ไหม?—เฮ็บราย 10:32-34; 13:3.
ทัศนะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอุทิศตัวของเรา
10. (ก) เราควรมีทัศนะอย่างไรต่อการอุทิศตัวของเรา? (ข) พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่องานรับใช้ที่เราถวายแด่พระองค์?
10 เรามีทัศนะอย่างไรต่อการอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้าเพื่อทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์? เรื่องนี้เป็นอันดับแรกในชีวิตเราไหม? ไม่ว่าสภาพการณ์ของเราเป็นเช่นไร, หนุ่มแน่นหรือชราแล้ว, สมรสหรือเป็นโสด, สุขภาพดีหรือว่าป่วย เราควรมานะพากเพียรจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเรา ตามสภาพของเราเอง. สภาพการณ์ของบุคคลหนึ่งอาจทำให้เขาสามารถรับใช้เต็มเวลาในฐานะไพโอเนียร์, อาสาสมัครในสำนักงานสาขาของสมาคมฯ, มิชชันนารี, หรืองานรับใช้เดินทาง. ในอีกด้านหนึ่ง คนที่เป็นบิดามารดาอาจมีงานเต็มมือ เอาใจใส่ความจำเป็นฝ่ายวัตถุและฝ่ายวิญญาณของครอบครัว. ในสายพระเนตรของพระยะโฮวา เวลาไม่กี่ชั่วโมงที่เขารับใช้ในแต่ละเดือนมีค่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเวลาหลายชั่วโมงของผู้รับใช้เต็มเวลาไหม? ไม่เลย. พระเจ้าไม่เคยคาดหมายจากเราในสิ่งที่เราไม่มี. อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงหลักการนี้ว่า “ถ้ามีน้ำใจพร้อมอยู่ก่อนแล้ว, พระเจ้าก็พอพระทัยที่จะทรงโปรดรับไว้ตามซึ่งทุกคนมีอยู่, มิใช่ตามซึ่งเขาไม่มี.”—2 โกรินโธ 8:12.
11. ความรอดของเราขึ้นอยู่กับอะไร?
11 ไม่ว่ากรณีใด ความรอดของเรามิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำ แต่ขึ้นอยู่กับพระกรุณาอันไม่พึงได้รับของพระยะโฮวาโดยทางพระคริสต์เยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา. เปาโลอธิบายอย่างชัดเจนดังนี้: “คนทั้งปวงได้ทำบาปและขาดไปจากสง่าราศีของพระเจ้า และการที่พวกเขาได้รับการประกาศว่าชอบธรรมนั้นนับว่าเป็นของประทานอันไม่ต้องเสียค่าใด ๆ โดยพระกรุณาอันไม่พึงได้รับของพระองค์ด้วยการปลดเปลื้องด้วยค่าไถ่ที่พระคริสต์เยซูได้ทรงชำระแล้วนั้น.” อย่างไรก็ตาม การงานของเราเป็นข้อพิสูจน์ถึงความเชื่อในภาคปฏิบัติที่มีต่อคำสัญญาของพระเจ้า.—โรม 3:23, 24, ล.ม.; ยาโกโบ 2:17, 18, 24.
12. เหตุใดเราไม่ควรคิดเปรียบเทียบกับผู้อื่น?
12 ไม่มีความจำเป็นที่เราจะเปรียบเทียบกับคนอื่นในฆะลาเตีย 6:3, 4) ไม่ว่าเราสำเร็จผลเช่นไรบ้างในงานรับใช้ของคริสเตียน เราทุกคนต้องจำเอาไว้ถึงคำตรัสของพระเยซูซึ่งช่วยให้ถ่อมใจ ที่ว่า “ฉันใดก็ดี, เมื่อท่านทั้งหลายได้กระทำสิ่งสารพัตรซึ่งทรงบัญชาไว้แก่ท่านนั้น, ก็คงพูดด้วยว่า, ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบ่าวที่ไม่มีบุญคุณต่อนาย, ข้าพเจ้าได้กระทำตามหน้าที่ซึ่งข้าพเจ้าควรกระทำเท่านั้น?’ ” (ลูกา 17:10) บ่อยเพียงไรที่เราสามารถกล่าวได้จริง ๆ ว่าเราได้ทำ “สิ่งสารพัตรซึ่งทรงบัญชาไว้” แก่เรา? ดังนั้น มีคำถามว่า คุณภาพแห่งงานรับใช้ที่เราถวายแด่พระเจ้าควรเป็นเช่นไร?— 2 โกรินโธ 10:17, 18.
เรื่องเวลาที่เราใช้ในการรับใช้พระเจ้า, จำนวนหนังสือที่เราจำหน่ายจ่ายแจก, หรือจำนวนรายศึกษาที่เรานำ. (ทำให้แต่ละวันมีคุณค่า
13. เราจำเป็นต้องมีเจตคติเช่นไรขณะที่เราทำการอุทิศตัวของเราให้สำเร็จ?
13 หลังจากให้คำแนะนำแก่ภรรยา, สามี, บุตร, บิดามารดา, และทาส เปาโลเขียนว่า “สิ่งใด ๆ ก็ดีที่ท่านทั้งหลายทำ จงทำด้วยสิ้นสุดจิตวิญญาณเหมือนหนึ่งทำแด่พระยะโฮวาและไม่ใช่แก่มนุษย์ ด้วยท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า ท่านจะได้รับบำเหน็จอันควรเป็นมรดกจากพระยะโฮวา. จงทำงานอย่างทาสให้นายคือพระคริสต์.” (โกโลซาย 3:23, 24, ล.ม.) เราไม่รับใช้เพื่อให้มนุษย์ประทับใจในสิ่งที่เราสำเร็จผลในการรับใช้พระยะโฮวา. เราพยายามรับใช้พระเจ้าโดยติดตามตัวอย่างของพระเยซูคริสต์. พระองค์ทรงทำงานรับใช้ที่ค่อนข้างสั้นด้วยสำนึกถึงความเร่งด่วน.—1 เปโตร 2:21.
14. เปโตรให้คำเตือนอะไรเกี่ยวกับสมัยสุดท้าย?
14 อัครสาวกเปโตรแสดงให้เห็นว่าท่านสำนึกถึงความเร่งด่วนด้วย. ในจดหมายของท่านฉบับที่สอง ท่านเตือนว่าในสมัยสุดท้ายจะมีคนเยาะเย้ย—ผู้ออกหากและคนช่างสงสัย—ซึ่งจะตั้งคำถามตามใจชอบเกี่ยวกับการประทับของพระคริสต์. อย่างไรก็ตาม เปโตรกล่าวว่า “พระยะโฮวาไม่ได้ทรงเฉื่อยช้าในเรื่องคำสัญญาของพระองค์เหมือนบางคนถือว่าช้านั้น แต่พระองค์อดกลั้นพระทัยกับท่านทั้งหลาย เพราะพระองค์ไม่ประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใดถูกทำลาย แต่2 เปโตร 3:3, 4, 9, 10, ล.ม.
ทรงปรารถนาจะให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่. กระนั้น วันของพระยะโฮวาจะมาเหมือนอย่างขโมย.” ถูกแล้ว วันของพระยะโฮวาจะมาแน่นอน. ด้วยเหตุนั้น ในแต่ละวันเราควรสนใจว่า จริง ๆ แล้วความเชื่อของเราในคำสัญญาของพระเจ้านั้นแน่นอนและมั่นคงขนาดไหน.—15. เราควรมองดูแต่ละวันในชีวิตของเราอย่างไร?
15 เพื่อจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเราอย่างที่สำนึกในหน้าที่ เราควรใช้แต่ละวันเพื่อสรรเสริญพระยะโฮวา. เมื่อสิ้นสุดแต่ละวัน เราสามารถมองย้อนไปและเห็นถึงวิธีที่เรามีส่วนบางอย่างในการทำให้พระนามของพระเจ้าเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์และในการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรไหม? ส่วนที่ว่าอาจได้แก่ความประพฤติที่สะอาดของเรา, คำสนทนาที่เสริมสร้าง, หรือความห่วงใยด้วยความรักต่อครอบครัวและเพื่อน ๆ. เราใช้โอกาสที่มีอยู่เพื่อแบ่งปันความหวังของคริสเตียนให้แก่ผู้อื่นไหม? เราได้ช่วยบางคนให้คิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับคำสัญญาของพระเจ้าไหม? แต่ละวัน ให้เราเพิ่มพูนบางสิ่งที่มีคุณค่าในแง่ฝ่ายวิญญาณ เสมือนกับการสะสมทรัพย์ไว้มาก ๆ ในบัญชีฝ่ายวิญญาณ.—มัดธาย 6:20; 1 เปโตร 2:12; 3:15; ยาโกโบ 3:13.
จงรักษาวิสัยทัศน์ของคุณให้แจ่มชัด
16. ซาตานพยายามทำให้การอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้าอ่อนลงไปโดยวิธีใดบ้าง?
16 เราอยู่ในสมัยที่ยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคริสเตียน. ซาตานและพรรคพวกของมันพยายามทำให้ความแตกต่างระหว่างความดีกับความชั่วเห็นได้ไม่ชัดเจน เช่นเดียวกับความแตกต่างระหว่างความสะอาดกับความไม่สะอาด, มีศีลธรรมกับผิดศีลธรรม, มีจรรยาบรรณกับไม่มีจรรยาบรรณ. (โรม 1:24-28; 16:17-19) มันทำให้เป็นเรื่องง่ายมากที่จะทำให้หัวใจและจิตใจของเราเป็นมลทินโดยทางรีโมตคอนโทรลของโทรทัศน์หรือแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์. วิสัยทัศน์ของเราทางฝ่ายวิญญาณอาจเริ่มพร่ามัว หรือปรับไม่ชัด จนเราไม่ทันสังเกตเล่ห์เหลี่ยมของมัน. ความตั้งใจแน่วแน่ของเราที่จะดำเนินชีวิตให้สมกับการอุทิศตัวอาจอ่อนลงไปได้และมือที่เคยจับ “คันไถ” ไว้แน่นค่อย ๆ คลายออก หากเราประนีประนอมค่านิยมฝ่ายวิญญาณของเรา.—ลูกา 9:62; ฟิลิปปอย 4:8.
17. คำแนะนำของเปาโลจะช่วยเราได้อย่างไรให้รักษาสัมพันธภาพที่เรามีกับพระเจ้า?
17 ด้วยเหตุนั้น ถ้อยคำของเปาโลที่มีไปถึงประชาคมในเมืองเธซะโลนิเกจึงเหมาะกับเวลาอย่างยิ่งที่ว่า “นี่แหละเป็นสิ่งที่พระเจ้าประสงค์ คือการทำให้ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ คือให้ท่านเว้นจากการล่วงประเวณี; เพื่อท่านแต่ละคนจะรู้วิธีควบคุมภาชนะของตนเองในทางที่บริสุทธิ์และมีเกียรติ ไม่ใช่ด้วยราคะตัณหาอย่างละโมบ เช่นชาติเหล่านั้นซึ่งไม่รู้จักพระเจ้ามีด้วย.” (1 เธซะโลนิเก 4:3-5, ล.ม.) การทำผิดศีลธรรมได้ทำให้บางคนถูกตัดสัมพันธ์จากประชาคมคริสเตียน ซึ่งก็คือผู้ที่ละเลยการอุทิศตัวของตนแด่พระเจ้า. เขาปล่อยให้สัมพันธภาพของตนกับพระเจ้าอ่อนลงไป จนพระองค์ไม่ได้มีความสำคัญอีกต่อไปในชีวิตของเขา. ถึงกระนั้น เปาโลกล่าวว่า “พระเจ้าทรงเรียกเรา ไม่ใช่โดยยอมให้มีความไม่สะอาด แต่เพื่อทำให้บริสุทธิ์. ฉะนั้น คนที่แสดงการละเลย ไม่ได้ละเลยมนุษย์ แต่ละเลยพระเจ้า ผู้ทรงใส่พระวิญญาณบริสุทธิ์ไว้ในท่านทั้งหลาย.”—1 เธซะโลนิเก 4:7, 8, ล.ม.
ความตั้งใจแน่วแน่ของคุณเป็นเช่นไร?
18. เราควรตั้งใจแน่วแน่เช่นไร?
18 หากเราเข้าใจถึงความจริงจังแห่งการอุทิศตัวของเราแด่พระยะโฮวาพระเจ้า เราควรตั้งใจแน่วแน่จะทำเช่นไร? เราควรมีความตั้งใจแน่วแน่มั่นคงที่จะมีสติรู้สึกผิดชอบที่ดี ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับความประพฤติและงานรับใช้ของเรา. เปโตรกระตุ้นเตือนดังนี้: “จงรักษาสติรู้สึกผิดชอบอันดีไว้ เพื่อว่าในเรื่องซึ่งท่านทั้งหลายถูกกล่าวหานั้น พวกเขาซึ่งพูดดูถูกความประพฤติดีของท่านเกี่ยวเนื่องกับพระคริสต์นั้นจะได้รับความละอาย.” (1 เปโตร 3:16, ล.ม.) เราอาจต้องทนทุกข์และเผชิญกับการกระทำทารุณเนื่องด้วยความประพฤติของเราในฐานะคริสเตียน แต่พระคริสต์ก็ประสบเช่นนั้นเนื่องด้วยความเชื่อของพระองค์และความภักดีต่อพระเจ้า. เปโตรกล่าวว่า “ฉะนั้น โดยเหตุที่พระคริสต์ได้ทรงทนทุกข์ทรมานในเนื้อหนัง ท่านทั้งหลายจงเตรียมตัวให้มีแนวโน้มทางใจอย่างเดียวกันเป็นอาวุธ เพราะบุคคลที่ได้ทนทุกข์ทรมานในเนื้อหนังก็ได้หยุดจากความบาปแล้ว.”—1 เปโตร 4:1, ล.ม.
19. เราปรารถนาให้ผู้อื่นกล่าวถึงเราเช่นไร?
19 จริงทีเดียว ความตั้งใจแน่วแน่ของเราที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวจะช่วยป้องกันเราไว้จากกับดักในโลกของซาตานที่ป่วยฝ่ายวิญญาณ, ทางศีลธรรม, และทางกาย. แต่ยิ่งกว่านั้น เราจะได้รับความเชื่อมั่นว่า เราเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าซึ่งดีกว่าสิ่งใด ๆ ที่ซาตานและพรรคพวกของมันสามารถเสนอให้เราอย่างเทียบกันไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น อย่าให้ใครกล่าวได้ว่าเราได้ทิ้งความรักที่เราเคยมีเมื่อแรกรู้จักความจริง. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ให้ผู้อื่นกล่าวถึงเราเหมือนกับที่พระเยซูเคยกล่าวถึงคนเหล่านั้นในศตวรรษแรกที่อยู่ในประชาคมที่เมืองธุอาทิราว่า “เรารู้จักการกระทำของเจ้า และความรักและความเชื่อและงานรับใช้และความเพียรอดทนของเจ้า และรู้ว่าการกระทำของเจ้าในตอนหลังมีมากกว่าในตอนก่อน.” (วิวรณ์ 2:4, 18, 19, ล.ม.) ถูกแล้ว ในส่วนที่เกี่ยวกับการอุทิศตัวของเรา อย่าให้เราเป็นแต่อุ่น ๆ แต่ให้เรา “รุ่งโรจน์ด้วยพระวิญญาณ” มีใจแรงกล้าจนถึงที่สุด—และที่สุดปลายนั้นใกล้จะถึงแล้ว.—โรม 12:11, ล.ม.; วิวรณ์ 3:15, 16, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 2 โปรดดูหอสังเกตการณ์ 15 เมษายน 1987 หน้า 31 (ภาษาอังกฤษ).
^ วรรค 7 สำหรับรายละเอียดเรื่องราวชีวิตของเออร์เนสต์ บีเวอร์ โปรดดูหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 มีนาคม 1980 หน้า 8-11 (ภาษาอังกฤษ).
^ วรรค 9 ดูหนังสือประจำปีแห่งพยานพระยะโฮวา 1978 หน้า 156-158, 201-218 (ภาษาอังกฤษ) จัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก.
คุณจำได้ไหม?
• การอุทิศตัวเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
• ตัวอย่างของใครบ้างซึ่งเป็นผู้รับใช้ที่อุทิศตัวของพระเจ้าในสมัยโบราณและสมัยปัจจุบันที่เราควรเลียนแบบ?
• เราควรมีทัศนะอย่างไรต่องานรับใช้ที่เราถวายแด่พระเจ้า?
• เราควรตั้งใจแน่วแน่เช่นไรเกี่ยวกับการอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้า?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
ยิระมะยารักษาความซื่อสัตย์แม้ถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย
[ภาพหน้า 16]
เออร์เนสต์ บีเวอร์วางตัวอย่างแก่บุตรเกี่ยวด้วยความมีใจแรงกล้าในฐานะคริสเตียน
[ภาพหน้า 17]
พยานฯ หนุ่มหลายร้อยคนในคุกของสเปนรักษาความซื่อสัตย์มั่นคง
[ภาพหน้า 18]
แต่ละวันให้เราเพิ่มพูนบางสิ่งที่มีคุณค่าในแง่ฝ่ายวิญญาณ