อะไรคือความจริงเกี่ยวกับม้วนหนังสือทะเลตาย?
อะไรคือความจริงเกี่ยวกับม้วนหนังสือทะเลตาย?
มากกว่า 50 ปีมาแล้ว หินก้อนหนึ่งที่ผู้เลี้ยงแกะชาวเบดูอินโยนเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่งได้นำไปสู่สิ่งที่บางคนเรียกว่าการค้นพบทางโบราณคดีอันใหญ่ยิ่งที่สุดของศตวรรษที่ 20. ชาวเบดูอินคนนั้นได้ยินเสียงก้อนหินกระทบไหดินเผาแตก. เมื่อสำรวจดู เขาได้พบส่วนแรกของสิ่งที่กลายมาเป็นที่รู้จักกันว่าม้วนหนังสือทะเลตาย.
ม้วนหนังสือเหล่านี้เป็นจุดรวมของความสนใจและการโต้แย้งกัน ทั้งในวงการผู้คงแก่เรียนและสื่อมวลชนทั่วไป. ในหมู่คนทั่วไป ความสับสนและข้อมูลที่ผิดพลาดมีดาษดื่น. มีการแพร่ข่าวลือเกี่ยวกับการปกปิดอย่างขนานใหญ่ อันเนื่องมาจากความกลัวที่ว่าม้วนหนังสือนั้นจะเปิดเผยข้อเท็จจริงซึ่งจะบ่อนทำลายความเชื่อของคริสเตียนและรวมทั้งชาวยิวด้วย. แต่จริง ๆ แล้วม้วนหนังสือเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร? จะทราบข้อเท็จจริงได้ไหมหลังจากเวลาผ่านไป 50 กว่าปีแล้ว?
ม้วนหนังสือทะเลตายคืออะไร?
ม้วนหนังสือทะเลตายคือเอกสารที่เขียนด้วยมือของชาวยิวโบราณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาฮีบรู, บางส่วนเป็นภาษาอาระเมอิก, และส่วนน้อยเป็นภาษากรีก. ม้วนหนังสือเหล่านี้หลายม้วนและหลายชิ้นส่วนมีอายุกว่า 2,000 ปี ย้อนไปถึงช่วงเวลาก่อนการประสูติของพระเยซู. ในบรรดาม้วนหนังสือชุดแรกที่ได้จากพวกเบดูอินนั้นมีฉบับสำเนาที่ยืดยาวเจ็ดฉบับซึ่งอยู่ในสภาพที่ชำรุดมาก. เมื่อตรวจค้นอีกหลายถ้ำ ก็มีการพบม้วนอื่น ๆ และชิ้นส่วนของม้วนหนังสือหลายพันชิ้น. ระหว่างปี 1947 ถึง 1956 มีการค้นพบถ้ำที่มีม้วนหนังสือรวมทั้งหมด 11 ถ้ำใกล้เมืองคุมรานที่อยู่ริมทะเลตาย.
เมื่อมีการแยกประเภทม้วนหนังสือและชิ้นส่วนทั้งหมด มีฉบับสำเนาประมาณ 800 ฉบับ. ราว ๆ หนึ่งในสี่ หรือเพียง 200 กว่าฉบับ เป็นสำเนาของส่วนต่าง ๆ ของข้อความในคัมภีร์ไบเบิลภาษา *
ฮีบรู. ฉบับสำเนานอกจากนั้นเป็นข้อเขียนของชาวยิวโบราณที่ไม่ได้เป็นส่วนของคัมภีร์ไบเบิล ทั้งอธิกธรรมและข้อเขียนทางศาสนาซึ่งใช้นามปลอม.ม้วนหนังสือบางม้วนที่ได้เร้าความสนใจเหล่าผู้คงแก่เรียนมากที่สุดเป็นข้อเขียนซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันมาก่อน. ข้อเขียนเหล่านี้รวมเอาการตีความในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายของชาวยิว, กฎเกณฑ์ที่เจาะจงสำหรับชุมชนของนิกายที่อาศัยอยู่ในเมืองคุมราน, บทกวีและบทสวดที่ใช้ในพิธีนมัสการ, อีกทั้งบทประพันธ์ทางเทววิทยาว่าด้วยวาระสุดท้ายของโลกซึ่งเปิดเผยทัศนะเกี่ยวกับความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลและสมัยสุดท้าย. นอกจากนี้ยังมีอรรถาธิบายเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งเก่าแก่ที่สุดก่อนจะมีอรรถาธิบายคัมภีร์ไบเบิลข้อต่อข้ออย่างในปัจจุบัน.
ใครเขียนม้วนหนังสือทะเลตาย?
วิธีต่าง ๆ ในการกำหนดอายุของเอกสารโบราณบ่งชี้ว่า ม้วนหนังสือเหล่านั้นได้รับการคัดลอกหรือไม่ก็เรียบเรียงระหว่างศตวรรษที่สามก่อนสากลศักราชกับศตวรรษแรกสากลศักราช. ผู้คงแก่เรียนบางคนได้เสนอความเห็นที่ว่า มีการซ่อนม้วนหนังสือนั้นไว้ในถ้ำโดยชาวยิวที่มาจากกรุงยะรูซาเลมก่อนพินาศกรรมของพระวิหารในปี ส.ศ. 70. อย่างไรก็ตาม ผู้คงแก่เรียนส่วนใหญ่ที่วิจัยม้วนหนังสือพบว่าความเห็นเช่นนั้นไม่ประสานกับเนื้อหาของม้วนหนังสือนั้น. ม้วนหนังสือหลายม้วนแสดงให้เห็นทัศนะและธรรมเนียมที่ขัดแย้งกับทัศนะของผู้มีอำนาจทางศาสนาในกรุงยะรูซาเลม. ม้วนหนังสือเหล่านี้เผยให้เห็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงปฏิเสธพวกปุโรหิตและการรับใช้ ณ พระวิหารในกรุงยะรูซาเลม และเชื่อว่าพระองค์ทรงถือว่าการนมัสการของกลุ่มพวกเขาในทะเลทรายมาแทนการรับใช้ที่พระวิหาร. ดูเหมือนว่าพวกผู้มีอำนาจในพระวิหารของกรุงยะรูซาเลมคงจะไม่ซ่อนม้วนหนังสือดังกล่าวรวมกับม้วนหนังสืออื่น ๆ ที่เก็บรวบรวมไว้.
ถึงแม้ว่าอาจจะมีกลุ่มผู้คัดลอกที่เมืองคุมรานก็ตาม แต่ม้วนหนังสือหลายม้วนน่าจะถูกรวบรวมจากที่อื่นมากกว่าและหมู่ผู้เชื่อถือได้นำมาไว้ที่นั่น. ในแง่หนึ่ง ม้วนหนังสือทะเลตายเป็นห้องสมุดที่มีการรวบรวมเรื่องต่าง ๆ ไว้มากมาย. เช่นเดียวกับห้องสมุดใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่นำมารวบรวมไว้อาจครอบคลุมแนวความคิดที่กว้างขวาง ใช่ว่าทุกอย่างที่รวบรวมไว้จะต้องแสดงให้เห็นทัศนะทางศาสนาของผู้อ่านหนังสือในห้องสมุดนั้น. อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีอยู่ในสำเนาหลายฉบับดูเหมือนแสดงให้เห็นความสนใจและความเชื่อที่ไม่มีใดเหมือนของคนกลุ่มนั้น.
ผู้อยู่อาศัยในเมืองคุมรานเป็นพวกเอสซีนไหม?
หากม้วนหนังสือเหล่านี้เคยเป็นห้องสมุดของเมืองคุมรานแล้ว ใครเป็นผู้อยู่อาศัยในเมืองนั้น. ศาสตราจารย์เอลีอาซาร์ ซูเคนนิก ซึ่งได้รับม้วนหนังสือสามม้วนสำหรับมหาวิทยาลัยฮีบรูในกรุงเยรูซาเลมในปี 1947 เป็นคนแรกที่เสนอความเห็นว่า ม้วนหนังสือเหล่านี้เคยเป็นของพวกเอสซีน.
พวกเอสซีนเป็นนิกายชาวยิวที่ได้รับการกล่าวถึงโดยพวกนักเขียนในศตวรรษแรก เช่น โยเซฟุส, ฟิโลแห่งอะเล็กซานเดรีย, และพลินีผู้สูงวัยกว่า. จุดเริ่มต้นที่แน่ชัดของพวกเอสซีนเป็นเรื่องที่ยังเอาแน่ไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาได้ปรากฏขึ้นมาระหว่างช่วงที่มีความวุ่นวายหลังจากการกบฏของพวกแมกคาบีในศตวรรษที่สองก่อนสากลศักราช. * โยเซฟุสได้รายงานการที่พวกเขาดำรงอยู่ระหว่างช่วงเวลานั้น เมื่อให้รายละเอียดว่าทัศนะทางศาสนาของพวกนั้นต่างกันอย่างไรกับทัศนะของพวกฟาริซายและพวกซาดูกาย. พลินีได้กล่าวถึงที่ตั้งของชุมชนพวกเอสซีนว่าอยู่ใกล้ทะเลตายระหว่างเมืองยะริโฮกับเมืองเอนฆะดี.
ศาสตราจารย์เจมส์ แวนเดอร์แคม ผู้คงแก่เรียนด้านม้วนหนังสือทะเลตายเสนอข้อคิดเห็นว่า “พวกเอสซีนซึ่งอยู่ในเมืองคุมรานเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยของขบวนการเอสซีนที่ใหญ่กว่า” ซึ่งโยเซฟุสได้คำนวณว่ามีประมาณสี่พันคน. ถึงแม้ไม่สอดคล้องตรงกันอย่างครบถ้วนกับการพรรณนาทั้งปวงก็ตาม แต่ภาพโดยรวมที่เห็นได้จากข้อความต่าง ๆ ที่พบที่เมืองคุมรานดูเหมือนเข้ากันได้กับพวกเอสซีนยิ่งกว่าชาวยิวกลุ่มอื่นใดซึ่งเป็นที่รู้จักกันในช่วงเวลานั้น.
บางคนได้อ้างว่าศาสนาคริสเตียนมีจุดเริ่มต้นที่เมืองคุมราน. มัดธาย 15:1-20; ลูกา 6:1-11) อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันเกี่ยวกับการที่พวกเอสซีนแยกตัวจากสังคม, ความเชื่อของพวกเขาในเรื่องโชคชะตาและอมตภาพของจิตวิญญาณ, และการอยู่เป็นโสดและแนวคิดที่ลึกลับเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมกับทูตสวรรค์ในการนมัสการของพวกเขา. เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าคำสอนของพวกเขาไม่ประสานกับคำสอนของพระเยซูและของคริสเตียนยุคแรก.—มัดธาย 5:14-16; โยฮัน 11:23, 24; โกโลซาย 2:18; 1 ติโมเธียว 4:1-3.
ถึงอย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดหลายประการระหว่างทัศนะทางศาสนาของนิกายที่คุมรานกับคริสเตียนยุคแรกนั้นสามารถสังเกตเห็นได้. ข้อเขียนที่ได้จากคุมรานเผยให้เห็นกฎข้อบังคับที่เข้มงวดยิ่งเรื่องซะบาโตและการหมกมุ่นที่แทบจะเลยเถิดเกี่ยวกับความสะอาดทางพิธีกรรม. (ไม่มีการปกปิด ไม่มีม้วนหนังสือที่ถูกซ่อน
ระหว่างหลายปีหลังจากการค้นพบม้วนหนังสือทะเลตาย มีการจัดพิมพ์หนังสือต่าง ๆ ซึ่งทำให้สิ่งที่ค้นพบในตอนแรกนั้นหาได้ง่ายสำหรับพวกผู้คงแก่เรียนทั่วโลก. แต่ชิ้นส่วนหลายพันชิ้นจากถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าถ้ำ 4 กลายเป็นปัญหามากกว่าอีก. ชิ้นส่วนเหล่านี้อยู่ในมือของทีมผู้คงแก่เรียนนานาชาติกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งตั้งขึ้นในกรุงเยรูซาเลมตะวันออก (ตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจอร์แดน) ที่พิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดีของปาเลสไตน์. ไม่มีผู้คงแก่เรียนชาวยิวหรือชาวอิสราเอลรวมอยู่ในทีมนี้.
ทีมนี้ได้กำหนดนโยบายที่ไม่อนุญาตให้เข้าถึงม้วนหนังสือจนกว่าพวกเขาจะจัดพิมพ์ผลจากการวิจัยของพวกเขาอย่างเป็นทางการ. จำนวนของผู้คงแก่เรียนในทีมนี้ถูกจำกัดไว้ชุดหนึ่งเสมอ. เมื่อสมาชิกของทีมนี้เสียชีวิต ก็จะมีการเพิ่มผู้คงแก่เรียนใหม่เพียงคนเดียวเข้ามาแทนเขา. ปริมาณของงานเรียกร้องทีมที่ใหญ่กว่ามาก และในบางกรณี ต้องมีความเชี่ยวชาญมากกว่าในภาษาฮีบรูและภาษาอาระเมอิกโบราณ. เจมส์ แวนเดอร์แคมกล่าวว่า “ชิ้นส่วนหลายหมื่นชิ้นนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญแปดคนจะรับมือได้แม้มีทักษะมากเท่าไรก็ตาม.”
เนื่องด้วยสงครามหกวันในปี 1967 กรุงเยรูซาเลมตะวันออกและม้วนหนังสือของกรุงนั้นได้มาอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของอิสราเอล แต่ไม่มีการเปลี่ยนนโยบายสำหรับทีมวิจัยม้วนหนังสือที่ได้รับการตั้งขึ้น. ขณะที่ความล่าช้าในการจัดพิมพ์ม้วนหนังสือจากถ้ำ 4 ยืดเวลาจากหลายปีไปเป็นหลายทศวรรษ ก็มีเสียงประท้วงจากผู้คงแก่เรียนหลายคน. ในปี 1977 ศาสตราจารย์เกซา เวอร์เมชแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเรื่องอื้อฉาวทางวิชาการที่เด่นที่สุดในศตวรรษที่ 20. ข่าวลือเริ่มแพร่ออกไปที่ว่าคริสตจักรคาทอลิกจงใจปิดบังข้อมูลจากม้วนหนังสือซึ่งจะก่อความเสียหายต่อศาสนาคริสเตียน.
ในทศวรรษ 1980 ในที่สุดทีมงานได้เพิ่มจำนวนเป็นผู้คงแก่เรียน 20 คน. ครั้นแล้ว ในปี 1990 ภายใต้การชี้นำของหัวหน้าบรรณาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ของทีมงานคือเอมมานูเอล โทฟ แห่งมหาวิทยาลัยฮีบรูในเยรูซาเลม ทีมงานนี้ได้เพิ่มจำนวนผู้คนแก่เรียนขึ้นอีกเป็น 50 กว่าคน. มีการกำหนดตารางเวลาที่เข้มงวดสำหรับการจัดพิมพ์ฉบับที่มีคำอธิบายของนักวิชาการทั้งหมดเกี่ยวกับม้วนหนังสือที่ยังเหลืออยู่.
ความสำเร็จที่แท้จริงได้เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงในปี 1991. ทีแรก มีการจัดพิมพ์หนังสือฉบับเริ่มต้นของม้วนหนังสือทะเลตายที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์ (ภาษาอังกฤษ). มีการเรียบเรียงฉบับนี้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยที่อาศัยสำเนาของดรรชนีของทีมงาน. ต่อจากนั้น ห้องสมุดฮันทิงตันในซานมารีโน แคลิฟอร์เนีย ได้ประกาศว่าพวกเขาจะทำให้ภาพถ่ายครบชุดของม้วนหนังสือเหล่านั้นเป็นสิ่งที่หาได้สำหรับผู้คงแก่เรียนไม่ว่าคนใด ๆ. ในไม่ช้า โดยทางหนังสือฉบับสำเนาของม้วนหนังสือทะเลตาย ภาพถ่ายของม้วนหนังสือที่ก่อนหน้านั้นยังไม่ได้พิมพ์กลายเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย.
ดังนั้น ตลอดทศวรรษที่แล้ว ม้วนหนังสือทะเลตายทั้งหมด มีอยู่พร้อมสำหรับการตรวจสอบ. การสำรวจเผยให้เห็นว่าไม่มีการปกปิด ไม่มีม้วนหนังสือที่ถูกซ่อน. ขณะที่ชุดสุดท้ายอย่างเป็นทางการของม้วนหนังสือได้รับการพิมพ์ เฉพาะตอนนี้เท่านั้นการวิเคราะห์ที่ครบถ้วนจึงจะเริ่มขึ้นได้. ผู้คงแก่เรียนด้านม้วนหนังสือรุ่นใหม่ได้เกิดขึ้น. แต่การวิจัยนี้มีความสำคัญอะไรสำหรับนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 ทั้งอธิกธรรม (ตามตัวอักษรแปลว่า “ซ่อนอยู่”) และข้อเขียนทางศาสนาซึ่งใช้นามปลอม (ตามตัวอักษรหมายถึง “ข้อเขียนที่อ้างชื่อผู้เขียนอย่างผิด ๆ”) เป็นข้อเขียนของชาวยิวตั้งแต่ศตวรรษที่สามก่อนสากลศักราชจนถึงศตวรรษแรกสากลศักราช. อธิกธรรมได้รับการยอมรับจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสารบบของคัมภีร์ไบเบิลที่มีขึ้นโดยการดลใจ แต่ชาวยิวและชาวโปรเตสแตนต์ปฏิเสธหนังสือเหล่านี้. ข้อเขียนทางศาสนาซึ่งใช้นามปลอมมักอยู่ในลักษณะการขยายเรื่องราวของคัมภีร์ไบเบิล โดยให้เข้าใจว่าเขียนโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงในคัมภีร์ไบเบิลบางคน.
^ วรรค 13 โปรดดูบทความเรื่อง “พวกแมกคาบีคือใคร?” ในหอสังเกตการณ์ วันที่ 15 พฤศจิกายน 1998, หน้า 21-24.
[ภาพหน้า 3]
ถ้ำเหล่านี้อยู่ในบรรดาถ้ำใกล้ทะเลตายซึ่งมีการพบม้วนหนังสือโบราณ
[ที่มาของภาพหน้า 3]
Scroll fragment: Pages 3, 4, and 6: Courtesy of Israel Antiquities Authority
[ที่มาของหน้า 5]
Courtesy of Shrine of the Book, Israel Museum, Jerusalem