ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

อินเดีย—“เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย”

อินเดีย—“เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย”

ผู้​ประกาศ​ราชอาณาจักร​รายงาน

อินเดีย—“เอกภาพ​ท่ามกลาง​ความ​หลาก​หลาย”

“เอกภาพ​ท่ามกลาง​ความ​หลาก​หลาย” เป็น​คำ​ขวัญ​ที่​แพร่​หลาย​ซึ่ง​ใช้​พรรณนา​การ​รวม​กัน​เป็น​หนึ่ง​เดียว​ของ​ประชาชาติ​ใน​อินเดีย. การ​บรรลุ​เอกภาพ​ใน​ประเทศ​อัน​ไพศาล​นี้​ซึ่ง​มี​ความ​หลาก​หลาย​มาก​มาย​ใน​ด้าน​วัฒนธรรม, ภาษา, ศาสนา, ต้น​กำเนิด​ของ​ชาติ​พันธุ์, การ​แต่ง​กาย, และ​อาหาร​นั้น​ไม่​ใช่​เรื่อง​ง่าย​เลย. อย่าง​ไร​ก็​ตาม เอกภาพ​ดัง​กล่าว​ปรากฏ​ชัด ณ สำนักงาน​ฝ่าย​บริหาร​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ใน​อินเดีย ถึง​แม้​อาสา​สมัคร​ซึ่ง​อาศัย​อยู่​และ​ทำ​งาน​ที่​นั่น​มา​จาก​หลาย​รัฐ​หลาย​แคว้น​และ​พูด​ภาษา​ต่าง ๆ กัน​หลาย​ภาษา.

• ให้​เรา​มา​รู้​จัก​กับ​ราชรานี—หญิง​สาว​คน​หนึ่ง​จาก​แคว้น​ปัญจาบ​ซึ่ง​อยู่​ไกล​สุด​ทาง​ตะวัน​ตก​เฉียง​เหนือ​ของ​อินเดีย. เมื่อ​ราชรานี​ยัง​เรียน​หนังสือ​อยู่ เพื่อน​ร่วม​ชั้น​คน​หนึ่ง​ของ​เธอ​เริ่ม​ศึกษา​คัมภีร์​ไบเบิล​กับ​พยาน​พระ​ยะโฮวา. เด็ก​หญิง​คน​นี้​พยายาม​ทำ​ให้​ราชรานี​สนใจ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล. เนื่อง​จาก​เพื่อน​ร่วม​ชั้น​มี​ความ​รู้​ภาษา​อังกฤษ​จำกัด และ​ไม่​มี​หอสังเกตการณ์ ภาษา​ปัญจาบี​ใน​ตอน​นั้น เธอ​จึง​ขอ​ให้​ราชรานี​ช่วย​แปล​เนื้อ​ความ​ของ​วารสาร​ให้. สิ่ง​ที่​ราชรานี​อ่าน​ใน​หอสังเกตการณ์ เริ่ม​มี​ผล​กระทบ​ต่อ​เธอ​อย่าง​สุด​ซึ้ง​จน​กระทั่ง​เธอ​ก้าว​หน้า​ถึง​ขั้น​อุทิศ​ชีวิต​แด่​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​ทั้ง ๆ ที่​มี​การ​ต่อ​ต้าน​จาก​บิดา​มารดา​ของ​เธอ. โดย​รับใช้ ณ สำนัก​เบเธล​อินเดีย​ใน​ปัจจุบัน เธอ​ทำ​สิ่ง​เดียว​กัน​นั่น​แหละ​ที่​ได้​เปิด​ตา​เธอ​ให้​มอง​เห็น​ความ​จริง. เธอ​แปล​สิ่ง​พิมพ์​คริสเตียน​เป็น​ภาษา​ปัญจาบี!

• ขอ​พิจารณา​ดู​บิโจ​ด้วย ผู้​ซึ่ง​มา​จาก​อีก​ภาค​หนึ่ง​ของ​อินเดีย—รัฐ​เกรละ​ทาง​ตะวัน​ตก​เฉียง​ใต้. บิโจ​ถูก​ไล่​ออก​จาก​โรง​เรียน​มัธยม​เนื่อง​ด้วย​ยึด​จุด​ยืน​ที่​เป็น​กลาง​ระหว่าง​พิธี​แสดง​ความ​รัก​ชาติ. หลัง​จาก​การ​พิจารณา​คดี​ใน​ศาล​ที่​ยืดเยื้อ​ซึ่ง​จบ​ลง​ด้วย​ชัย​ชนะ​ครั้ง​สำคัญ​สำหรับ​การ​นมัสการ​บริสุทธิ์ บิโจ​กลับ​เข้า​โรง​เรียน​ตาม​เดิม. * เขา​ได้​ศึกษา​ต่อ​ใน​วิทยาลัย​ด้วย. อย่าง​ไร​ก็​ตาม บรรยากาศ​ที่​ผิด​ศีลธรรม ณ ที่​นั่น​รบกวน​สติ​รู้สึก​ผิด​ชอบ​ของ​เขา ดัง​นั้น เขา​จึง​ลา​ออก​ใน​ภาค​เรียน​แรก. ปัจจุบัน หลัง​จาก​อยู่​ใน​เบเธล​สิบ​ปี เขา​รู้สึก​ว่า​ได้​รับ​ประโยชน์​จาก​การ​เป็น​สมาชิก​ของ​ครอบครัว​เบเธล​ที่​หลาก​หลาย​แต่​ก็​เป็น​อัน​หนึ่ง​อัน​เดียว​กัน​มาก​กว่า​ที่​จะ​ได้​จาก​การ​ศึกษา​ต่อ​ใน​ระดับ​สูง.

• ทั้ง​นอร์​มา​และ​ลิลี​มี​อายุ 70 กว่า​ปี​และ​เป็น​ม่าย​มา​หลาย​ปี. แต่​ละ​คน​ทำ​งาน​รับใช้​เต็ม​เวลา​มา 40 กว่า​ปี​แล้ว. ลิลี​ทำ​งาน​เป็น​ผู้​แปล​ภาษา​ทมิฬ​อยู่​ใน​สำนักงาน​สาขา​มา​เป็น​เวลา​ประมาณ 20 ปี. นอร์​มา​เข้า​มา​เบเธล​เมื่อ 13 ปี​ที่​แล้ว​หลัง​จาก​ที่​สูญ​เสีย​สามี. นอก​จาก​จะ​เป็น​แบบ​อย่าง​ที่​ดี​ใน​เรื่อง​การ​เป็น​ผู้​ทำ​งาน​ที่​ขยัน​หมั่น​เพียร​และ​ซื่อ​ตรง​แล้ว เธอ​ทั้ง​สอง​ยัง​เป็น​แรง​ชักจูง​ที่​ทำ​ให้​เกิด​เอกภาพ​ทั่ว​ทั้ง​ครอบครัว​เบเธล. พี่​น้อง​ทั้ง​สอง​นี้​ชอบ​ต้อนรับ​แขก​ที่​มา​เยี่ยม และ​ยินดี​ใน​การ​คบหา​กับ​กลุ่ม​สมาชิก​ครอบครัว​ที่​เป็น​คน​หนุ่ม​สาว เล่า​ถึง​ความ​ยินดี​ใน​ชีวิต​คริสเตียน​ที่​ยาว​นาน​หลาย​ปี. และ​คน​หนุ่ม​สาว​ก็​เชิญ​เธอ​ทั้ง​สอง​ไป​สังสรรค์​ที่​ห้อง​ของ​ตน​เป็น​การ​ตอบ​แทน​และ​ให้​การ​ช่วยเหลือ​เมื่อ​เธอ​ทั้ง​สอง​ต้องการ. ช่าง​เป็น​แบบ​อย่าง​ที่​ดี​จริง ๆ!

เนื่อง​จาก​เอา​ชนะ​ความ​แตกต่าง​ที่​เป็น​สาเหตุ​ของ​การ​ต่อ​สู้​และ​การ​ไม่​ปรองดอง​กัน​ใน​หลาย​แห่ง อาสา​สมัคร​เหล่า​นี้​ทำ​งาน​ด้วย​กัน​อย่าง​มี​ความ​สุข​เพื่อ​รับใช้​คน​อื่น​ใน​ฐานะ​สมาชิก​ของ​ครอบครัว​เบเธล​ที่​เป็น​อัน​หนึ่ง​อัน​เดียว​กัน​ใน​อินเดีย.—บทเพลง​สรรเสริญ 133:1.

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 5 โปรด​ดู​หอสังเกตการณ์ ฉบับ​วัน​ที่ 1 พฤศจิกายน 1987 หน้า 26-29.

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 8]

Background: Mountain High Maps® Copyright © 1997 Digital Wisdom, Inc.