การชี้นำจากพระเจ้าสำหรับการเลือกคู่สมรส
การชี้นำจากพระเจ้าสำหรับการเลือกคู่สมรส
“เราจะทำให้เจ้ามีความหยั่งเห็นเข้าใจ และสั่งสอนเจ้าในทางที่เจ้าควรดำเนิน. เราจะให้คำแนะนำพร้อมกับเฝ้าดูเจ้า.”—บทเพลงสรรเสริญ 32:8, ล.ม.
1. มีปัจจัยอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับชีวิตสมรสที่ดี?
นักกายกรรมพุ่งตัวออกจากชิงช้าสูงที่กำลังแกว่ง ม้วนตัว และตีลังกากลางอากาศอย่างคล่องแคล่ว. หลังจากที่ตีลังกาจบ เขาก็เหยียดตัวยื่นแขนออกไปเพื่อให้นักกายกรรมอีกคนซึ่งห้อยหัวลงมาจากชิงช้าที่แกว่งมาจากด้านตรงข้ามคว้าจับเอาไว้. นักสเกตน้ำแข็งคู่หนึ่งเคลื่อนตัวไปอย่างนุ่มนวลบนลานสเกต. ทันใดนั้นเอง นักแสดงชายยกคู่แสดงโยนลอยขึ้นไป. เธอหมุนติ้ว ลงสู่พื้นอย่างงดงามด้วยสเกตข้างหนึ่ง และตีวงคู่กับเขาต่อไปบนลานน้ำแข็ง. การแสดงทั้งสองนี้ดูราวกับแทบไม่ต้องออกความพยายามเลย. กระนั้น ใครล่ะจะพยายามทำอย่างนี้โดยไม่ฝึกมาก่อน, โดยไม่มีคู่ที่มีความสามารถ, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยไม่มีการชี้นำหรือการสอนที่ถูกต้อง? คล้ายคลึงกัน ชีวิตสมรสที่ดีก็อาจดูเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ. อย่างไรก็ตาม ในเรื่องชีวิตสมรสก็เช่นกัน ต้องอาศัยคู่ครองที่ดี, ความพยายามร่วมกัน, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำแนะนำที่สุขุม. การชี้นำที่เหมาะสมนับว่าจำเป็นจริง ๆ.
2. (ก) ใครก่อตั้งการสมรสขึ้น และด้วยจุดประสงค์อะไร? (ข) มีการจัดให้มีการสมรสกันอย่างไรบ้าง?
2 เป็นเรื่องธรรมดาที่ชายหนุ่มหรือหญิงสาวที่ยังโสดจะคิดถึงเรื่องคู่สมรส—คนที่จะมาเป็นคู่ครองในชีวิต. นับตั้งแต่ที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงก่อตั้งการสมรสขึ้น การสมรสระหว่างชายหญิงเป็นวิถีชีวิตตามปกติอย่างหนึ่ง. แต่อาดามชายคนแรกไม่ได้เลือกภรรยาเอง. พระยะโฮวาประทานเธอให้แก่เขาด้วยความรัก. (เยเนซิศ 2:18-24) พระองค์ทรงประสงค์ให้มนุษย์คู่แรกเกิดลูกหลานทวีขึ้น เพื่อว่าในที่สุดจะมีมนุษย์เต็มแผ่นดินโลก. หลังจากการสมรสแรกนั้น การจัดเตรียมเรื่องการสมรสมักทำโดยบิดามารดาของเจ้าสาวและเจ้าบ่าว ในบางกรณี หลังจากได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง. (เยเนซิศ 21:21; 24:2-4, 58; 38:6; ยะโฮซูอะ 15:16, 17) ในขณะที่การสมรสแบบผู้ใหญ่จัดให้ยังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปในบางประเทศและบางวัฒนธรรม หลายคนในปัจจุบันเลือกคู่สมรสเอง.
3. ควรเลือกคู่สมรสอย่างไร?
3 ควรเลือกคู่สมรสอย่างไร? บางคนถูกครอบงำโดยรูปลักษณะภายนอก—ลักษณะที่เขาเห็นว่าน่ามองและน่าปรารถนา. ส่วนบางคนมองที่ผลประโยชน์ด้านวัตถุ คนที่จะเอาใจใส่ดูแลตนได้ดีและสามารถให้สิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่ตนปรารถนา. แต่เพียงแค่สองปัจจัยนี้จะนำไปสู่สายสัมพันธ์ที่มีความสุขและน่าพอใจไหม? สุภาษิต 31:30 กล่าวว่า “ท่าทางนวยนาดเป็นของลวง, และความสวยงามเป็นของไม่เที่ยง; แต่สตรีที่ยำเกรงพระยะโฮวานั้นจะรับคำชมเชย.” จุดสำคัญอยู่ในข้อนี้เอง: จงให้พระยะโฮวามีส่วนร่วมเมื่อเลือกคู่สมรส.
การชี้นำที่เปี่ยมด้วยความรักจากพระเจ้า
4. พระเจ้าทรงจัดให้มีเครื่องช่วยอะไรในเรื่องการเลือกคู่สมรส?
4 พระยะโฮวา พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราผู้เปี่ยมด้วยความรัก ทรงจัดให้มีพระคำของพระองค์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อชี้นำเราในทุกเรื่อง. พระองค์ตรัสว่า “เราคือยะโฮวา, พระเจ้าของเจ้าผู้สั่งสอนเจ้า, เพื่อประโยชน์แก่ตัวของเจ้าเอง, และผู้นำเจ้าให้ดำเนินในทางที่เจ้าควรดำเนิน.” (ยะซายา 48:17) ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะพบข้อชี้นำที่ผ่านการพิสูจน์มาเนิ่นนานว่าได้ผลดีเกี่ยวกับการเลือกคู่สมรสในคัมภีร์ไบเบิล. พระยะโฮวาทรงประสงค์ให้ชีวิตสมรสของเรายั่งยืนและมีความสุข. ด้วยเหตุนั้น พระองค์ทรงจัดให้มีเครื่องช่วยเพื่อเราจะเข้าใจและใช้ข้อชี้นำเหล่านั้น. นั่นเป็น สิ่งที่เราคงจะคาดหมายจากพระผู้สร้างของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักมิใช่หรือ?—บทเพลงสรรเสริญ 19:8.
5. อะไรที่นับว่าสำคัญมากเพื่อจะมีความสุขยั่งยืนในชีวิตสมรส?
5 เมื่อพระยะโฮวาทรงก่อตั้งการสมรสขึ้น พระองค์ทรงมุ่งหมายให้เป็นสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืน. (มาระโก 10:6-12; 1 โกรินโธ 7:10, 11) นั่นเป็นเหตุที่พระองค์ทรง “เกลียดการหย่าร้างกัน” และทรงยอมให้หย่าได้เฉพาะในกรณี “ผิดประเวณี.” (มาลาคี 2:13-16; มัดธาย 19:9, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น การเลือกคู่สมรสเป็นขั้นตอนหนึ่งที่เราต้องทำอย่างจริงจังที่สุดและรอบคอบ. มีการตัดสินใจไม่กี่อย่างที่ส่งผลทำให้สุขหรือเศร้าได้มากเท่ากับการสมรส. ในขณะที่การเลือกที่ดีสามารถเสริมสร้างชีวิตของคนเราและทำให้อิ่มใจยินดี การเลือกที่ไม่สุขุมอาจนำมาซึ่งความเสียใจไม่รู้จักจบสิ้น. (สุภาษิต 21:19; 26:21) เพื่อจะมีความสุขต่อ ๆ ไป นับว่าสำคัญที่จะเลือกอย่างฉลาดสุขุมและเต็มใจรับข้อผูกมัดถาวร เพราะพระเจ้าทรงก่อตั้งการสมรสให้เป็นหุ้นส่วนที่จะประสบผลสำเร็จด้วยการประสานและร่วมมือกัน.—มัดธาย 19:6.
6. เหตุใดชายหนุ่มและหญิงสาวต้องรอบคอบเป็นพิเศษเมื่อเลือกคู่ครอง และพวกเขาจะตัดสินใจอย่างสุขุมที่สุดได้อย่างไร?
6 ชายหนุ่มและหญิงสาวจำเป็นต้องระวังเป็นพิเศษอย่าให้เสน่ห์ทางกายและแรงกระตุ้นที่รุนแรงทำให้ความสามารถในการตัดสินของตนเสียไปเมื่อเขาเลือกคู่ครอง. ที่จริง ความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนฐานของปัจจัยเช่นนั้นเพียงอย่างเดียวอาจเสื่อมไปอย่างรวดเร็วกลายเป็นความดูถูกเหยียดหยามหรือแม้แต่ความเกลียดชังได้. (2 ซามูเอล 13:15) ในทางตรงข้าม อาจปลูกฝังความรักที่ยั่งยืนได้เมื่อเราทำความรู้จักคู่ของเราและเข้าใจตัวเราเองให้ดีขึ้นด้วย. นอกจากนั้น เรายังจำเป็นต้องตระหนักด้วยว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราอาจไม่ใช่สิ่งที่หัวใจเราปรารถนาในตอนแรก. (ยิระมะยา 17:9) นั่นเป็นเหตุที่การชี้นำของพระเจ้าซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลจึงสำคัญมาก. การชี้นำนี้ช่วยเราให้สังเกตเข้าใจวิธีที่เราจะสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างสุขุมที่สุด. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญพูดแทนพระยะโฮวาเมื่อท่านกล่าวว่า “เราจะทำให้เจ้ามีความหยั่งเห็นเข้าใจ และสั่งสอนเจ้าในทางที่เจ้าควรดำเนิน. เราจะให้คำแนะนำพร้อมกับเฝ้าดูเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 32:8, ล.ม.; เฮ็บราย 4:12) ในขณะที่การสมรสสามารถตอบสนองความจำเป็นตามธรรมชาติเพื่อจะได้รับความรักและมิตรภาพ แต่ก็ทำให้เกิดข้อท้าทายที่จำเป็นต้องใช้ความอาวุโสและความสังเกตเข้าใจด้วย.
7. เหตุใดบางคนไม่ยอมรับคำแนะนำตามหลักคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง แต่การไม่ยอมรับคำแนะนำเช่นนี้อาจนำไปสู่อะไร?
7 นับเป็นแนวทางแห่งสติปัญญาที่จะเอาใจใส่สิ่งที่พระผู้สุภาษิต 23:19; 28:26) เราอาจพบว่าเรามีชีวิตสมรสที่ปราศจากความรัก, อีกทั้งมีบุตรที่ดูแลเอาใจใส่ยาก, และอาจถึงกับมีคู่สมรสที่ไม่มีความเชื่อ. น่าเศร้าสักเพียงไรหากการจัดเตรียมที่สามารถทำให้เรามีความสุขใหญ่หลวงกลายเป็นที่มาแห่งความทุกข์มหันต์!
ริเริ่มการสมรสได้ตรัสไว้ในเรื่องการเลือกคู่ครอง. ถึงกระนั้น เราอาจปฏิเสธคำแนะนำที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักเมื่อคำแนะนำนั้นมาจากบิดามารดาหรือจากคริสเตียนผู้ปกครอง. เราอาจรู้สึกว่าพวกเขาไม่เข้าใจเราเต็มที่ และความปรารถนาที่เกิดจากอารมณ์อันรุนแรงอาจผลักดันเราให้ทำตามแนวโน้มของหัวใจ. อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและเผชิญความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน เราอาจรู้สึกเสียใจที่เราไม่ได้เอาใจใส่คำแนะนำอันสุขุมที่ได้ให้แก่เราเพื่อประโยชน์ของเรา. (ความเลื่อมใสในพระเจ้า—ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
8. ความเลื่อมใสในพระเจ้าช่วยชีวิตสมรสให้ยั่งยืนและมีความสุขอย่างไร?
8 ต้องยอมรับว่า เสน่ห์ดึงดูดใจที่มีต่อกันช่วยทำให้ชีวิตสมรสมั่นคง. แต่ค่านิยมที่ดีซึ่งทั้งสองยึดถือร่วมกันมีความสำคัญยิ่งกว่าเพื่อสายสมรสจะยั่งยืนและก่อให้เกิดความสุข. ความเลื่อมใสในพระยะโฮวาพระเจ้าที่ทั้งสองมีร่วมกันจะโน้มนำให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและส่งเสริมเอกภาพอย่างที่ไม่มีปัจจัยอื่นทำได้อย่างนั้น. (ท่านผู้ประกาศ 4:12) เมื่อคู่สมรสคริสเตียนยึดการนมัสการแท้ของพระยะโฮวาให้เป็นแกนกลางในชีวิตของตน ทั้งสองก็จะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางฝ่ายวิญญาณ, ทางจิตใจ, และทางศีลธรรม. ทั้งสองศึกษาพระคำของพระเจ้าด้วยกัน. ทั้งสองอธิษฐานด้วยกัน และการทำเช่นนี้ทำให้หัวใจของเขาเป็นหนึ่งเดียว. เขาไปประชุมคริสเตียนด้วยกัน และทำงานรับใช้ในเขตประกาศด้วยกัน. ทั้งหมดนี้ช่วยหล่อหลอมสายสัมพันธ์ฝ่ายวิญญาณซึ่งชักนำทั้งสองให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น. ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีก การทำเช่นนี้ยังผลเป็นพระพรจากพระยะโฮวา.
9. อับราฮามทำเช่นไรในเรื่องการหาภรรยาให้แก่ยิศฮาค และผลเป็นเช่นไร?
9 เนื่องด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า อับราฮามปฐมบรรพบุรุษผู้ซื่อสัตย์พยายามทำให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้าเมื่อถึงเวลาที่จะเลือกภรรยาให้แก่ยิศฮาคบุตรชาย. อับราฮามเยเนซิศ 24:3, 4, 7, 14-21, 67.
กล่าวกับคนต้นเรือนที่ท่านไว้วางใจว่า “เราจะให้เจ้าสาบานต่อพระพักตร์พระยะโฮวาผู้เป็นพระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์และพระเจ้าแห่งแผ่นดินโลก, ว่าเจ้าจะไม่รับบุตรสาวของชาติคะนาอันที่เราอาศัยอยู่นี้มาให้เป็นภรรยาบุตรชายของเรา: แต่เจ้าจงไปหาภรรยาให้ยิศฮาคบุตรของเราที่เมืองและหมู่ญาติของเรา. . . . [พระยะโฮวา] จะใช้ทูตของพระองค์ไปข้างหน้าเจ้า, เจ้าจึงจะได้บุตรสาวจากที่นั่นมาเป็นภรรยาบุตรชายของเรา.” ผลปรากฏว่าริบะคาเป็นภรรยาที่โดดเด่นซึ่งยิศฮาครักมาก.—10. พันธะอะไรตามหลักพระคัมภีร์ที่วางไว้กับสามีและภรรยา?
10 หากเราเป็นคริสเตียนที่ยังไม่สมรส ความเลื่อมใสในพระเจ้าจะช่วยเราให้พัฒนาคุณลักษณะที่จะช่วยเราให้สามารถบรรลุข้อเรียกร้องตามหลักพระคัมภีร์เกี่ยวกับการสมรส. ในบรรดาพันธะหน้าที่หลายอย่างของสามีและภรรยา อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงพันธะหน้าที่บางอย่างว่า “จงให้ภรรยาทั้งหลายยอมอยู่ใต้อำนาจสามีของตนเหมือนกระทำต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า . . . สามีทั้งหลาย จงรักภรรยาของตนต่อ ๆ ไปเช่นเดียวกับพระคริสต์ได้ทรงรักประชาคมและได้สละพระองค์เองเพื่อประชาคม . . . สามีทั้งหลายจึงควรรักภรรยาของตนเหมือนรักร่างกายของตนเอง. . . . ให้พวกท่านทุกคนต่างก็รักภรรยาของตนเหมือนรักตัวเอง; ส่วนภรรยาก็ควรแสดงความนับถืออย่างสุดซึ้งต่อสามีของตน.” (เอเฟโซ 5:22-23, ล.ม.) ดังที่เราจะเห็นได้ พระคำซึ่งเปาโลเขียนโดยการดลใจเน้นถึงความจำเป็นที่จะรักและนับถือกัน. การทำตามคำแนะนำนี้เกี่ยวข้องกับความยำเกรงพระยะโฮวา. การทำดังกล่าวเรียกร้องคำมั่นสัญญาอย่างสุดหัวใจไม่ว่าจะในยามยากดีมีจนเช่นไรก็ตาม. คริสเตียนที่ใคร่ครวญในเรื่องการสมรสควรจะสามารถแบกรับความรับผิดชอบนี้ได้.
การตัดสินใจว่าจะสมรสเมื่อไร
11. (ก) มีคำแนะนำเช่นไรในพระคัมภีร์เกี่ยวกับเวลาที่เหมาะจะสมรส? (ข) ตัวอย่างอะไรแสดงถึงสติปัญญาของการทำตามคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลซึ่งบันทึกไว้ที่ 1 โกรินโธ 7:36?
11 การทราบว่าเมื่อไรที่เราพร้อมจริง ๆ จะสมรสเป็นเรื่องสำคัญ. เนื่องจากเรื่องนี้ต่างกันไปในแต่ละคน พระคัมภีร์ไม่ได้กำหนดว่าอายุเท่าใดจึงเหมาะจะสมรส. อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์ชี้ว่าดีกว่าที่จะคอยจนกว่าเรา “เลยความเปล่งปลั่งแห่งวัยหนุ่มสาวไปแล้ว” คือเลยช่วงที่มีแรงกระตุ้นทางเพศสูงซึ่งสามารถบิดเบือนการตัดสินที่ดีได้. (1 โกรินโธ 7:36, ล.ม.) มิเชลล์กล่าวว่า “เมื่อดิฉันเห็นเพื่อน ๆ มีนัดและแต่งงาน หลายคนอายุยังไม่ถึงยี่สิบ บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะทำตามคำแนะนำนี้. แต่ดิฉันตระหนักว่าคำแนะนำนี้มาจากพระยะโฮวา และพระองค์ทรงบอกให้เราทำเฉพาะแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเราเท่านั้น. ระหว่างที่คอยก่อนจะสมรส ดิฉันสามารถเพ่งเล็งในเรื่องสัมพันธภาพของดิฉันกับพระยะโฮวา และได้ประสบการณ์ชีวิตเพิ่มเติมที่ไม่อาจหาได้ในช่วงวัยรุ่น. หลายปีต่อมา ดิฉันมีความพร้อมมากขึ้นต่อความรับผิดชอบต่าง ๆ ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตสมรส.”
12. เหตุใดจึงฉลาดสุขุมที่จะไม่รีบสมรสขณะอายุยังน้อย?
12 คนที่รีบร้อนสมรสขณะที่อายุยังน้อยมักพบว่าความต้องการและความปรารถนาของตนเปลี่ยนไปเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่. ถึงตอนนั้น เขาจึงตระหนักว่าหลายสิ่งซึ่งเดิมทีเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญอีกต่อไป. คริสเตียนสาวคนหนึ่งตั้งใจไว้ว่าจะสมรสเมื่อเธออายุครบ 16 ปี. ทั้งแม่และยายของเธอสมรสเมื่ออายุ 16 ปี. เมื่อชายหนุ่มที่เธอสนใจปฏิเสธที่จะสมรสกับเธอในตอนนั้น เธอเลือกอีกคนหนึ่งที่เต็มใจจะสมรสกับเธอ. อย่างไรก็ตาม ในภายหลังเธอคร่ำครวญเสียใจที่ด่วนตัดสินใจ.
13. ผู้ที่สมรสก่อนเวลาอันควรมักขาดความพร้อมในเรื่องใด?
13 เมื่อคิดใคร่ครวญเรื่องการสมรส นับว่าสำคัญที่จะมีความเข้าใจเต็มที่เกี่ยวกับทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง. การสมรสก่อนเวลาอันควรอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาเป็นพรวน และคงเป็นเรื่องยากที่คู่สมรสวัยรุ่นพร้อมจะรับมือ. เขาอาจขาดประสบการณ์และความอาวุโสซึ่งจำเป็นในการรับความเครียดในชีวิตสมรสและการเลี้ยงบุตร. ต่อเมื่อเราพร้อมทางกาย, ทางจิตใจ, และทางฝ่ายวิญญาณที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนถาวรแล้วเท่านั้นจึงควรจะสมรส.
14. จำเป็นต้องมีอะไรเพื่อรับมือสถานการณ์ที่ตึงเครียดในชีวิตสมรส?
14 เปาโลเขียนไว้ว่าคนที่สมรส “จะมีความลำบากในเนื้อหนังของตน.” (1 โกรินโธ 7:28, ล.ม.) ปัญหาย่อมเกิดขึ้นเพราะมีสองคนซึ่งบุคลิกภาพต่างกัน และในบางครั้ง ทัศนะก็แตกต่าง. เนื่องจากเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ อาจยากจะทำได้ตามบทบาทที่พระคัมภีร์กำหนดไว้ในเรื่องการสมรส. (1 โกรินโธ 11:3; โกโลซาย 3:18, 19; ติโต 2:4, 5; 1 เปโตร 3:1, 2, 7) ต้องมีความอาวุโสและความมั่นคงฝ่ายวิญญาณเพื่อแสวงหาและทำตามการชี้นำของพระเจ้าเกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์ที่ตึงเครียดด้วยความรัก.
15. บิดามารดามีบทบาทอะไรในการเตรียมบุตรให้พร้อมสำหรับชีวิตสมรส? จงยกตัวอย่าง.
15 บิดามารดาสามารถเตรียมบุตรให้พร้อมสำหรับชีวิตสมรสโดยช่วยเขาให้เข้าใจความสำคัญของการทำตามการชี้นำของพระเจ้า. โดยใช้พระคัมภีร์และสรรพหนังสือคริสเตียนอย่างชำนาญ บิดามารดาสามารถช่วยลูก ๆ ให้ตัดสินใจได้ว่าตัวเขาและคนที่จะเป็นคู่ครองของเขาพร้อมหรือไม่ที่จะรับพันธะผูกพันของการสมรส. * บลอสซัมซึ่งอายุได้ 18 ปีคิดว่าเธอกับชายหนุ่มคนหนึ่งในประชาคมรักกัน. เขารับใช้เต็มเวลาเป็นไพโอเนียร์ และทั้งสองต้องการสมรสกัน. แต่บิดามารดาของเธอขอให้เธอรอไปก่อนสักปีหนึ่ง เนื่องจากรู้สึกว่าเธอยังอายุน้อยเกินไป. ในภายหลัง บลอสซัมเขียนดังนี้: “ดิฉันดีใจที่ฟังคำแนะนำที่สุขุมนั้น. ภายในปีนั้นเอง ดิฉันอาวุโสขึ้นพอสมควรและเริ่มเห็นว่าผู้ชายคนนี้ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นคู่สมรสที่ดี. ในที่สุด เขาออกจากองค์การไป และดิฉันจึงรอดพ้นความหายนะในชีวิตมาได้. ช่างวิเศษจริง ๆ ที่มีคุณพ่อคุณแม่ที่ฉลาดสุขุมซึ่งสามารถไว้ใจในการตัดสินของท่านได้!”
‘จงสมรสเฉพาะกับ ผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า’
16. (ก) คริสเตียนอาจถูกทดสอบอย่างไรในเรื่อง ‘การสมรสเฉพาะกับผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า’? (ข) เมื่อสถานการณ์ล่อใจให้สมรสกับผู้ไม่เชื่อถือ คริสเตียนควรใคร่ครวญในเรื่องใด?
16 พระบัญชาของพระยะโฮวาสำหรับคริสเตียนชัดเจนมาก: ‘จงสมรสเฉพาะกับผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า.’ (1 โกรินโธ 7:39) คริสเตียนที่เป็นบิดามารดาและบุตรอาจถูกทดสอบในเรื่องนี้. โดยวิธีใด? คนหนุ่มสาวอาจปรารถนาจะสมรส แต่ในประชาคมอาจขาดคนที่จะมาเป็นคู่ครองของเขา. อย่างน้อยก็ดูเหมือนว่าเป็นอย่างนั้น. ในบางท้องถิ่น อาจมีผู้ชายน้อยกว่าผู้หญิง หรืออาจไม่มีคนที่ดูเหมือนว่าเหมาะสมในท้องถิ่น. ชายหนุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกที่อุทิศตัวแล้วของประชาคมอาจแสดงความสนใจในหญิงสาวคริสเตียน (หรือในทางกลับกัน) จึงทำให้เกิดแรงกดดันที่จะประนีประนอมมาตรฐานที่พระยะโฮวาทรงวางไว้. ในสภาพการณ์เช่นนั้น คงเป็นการดีที่จะใคร่ครวญดูตัวอย่างของอับราฮาม. วิธีหนึ่งที่ท่านรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับพระเจ้าก็คือท่านจัดการให้ยิศฮาคบุตรชายได้สมรสกับผู้นมัสการแท้ของพระยะโฮวา. ยิศฮาคทำแบบเดียวกันเพื่อยาโคบบุตรชายของท่าน. การทำอย่างนี้ต้องอาศัยความพยายามของทุกคนที่เกี่ยวข้อง แต่นั่นทำให้พระเจ้าพอพระทัยและยังผลเป็นพระพรจากพระองค์.—เยเนซิศ 28:1-4.
17. เหตุใดการสมรสกับผู้ไม่เชื่อถือจึงมีโอกาสมากที่อาจก่อผลเสียหายร้ายแรง และเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการ ‘สมรสเฉพาะกับผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า’ คืออะไร?
17 ในบางกรณี ผู้ไม่เชื่อถือเข้ามาเป็นคริสเตียนในภายหลัง. อย่างไรก็ตาม การสมรสกับผู้ที่ไม่เชื่อถือบ่อยครั้งปรากฏว่าก่อผลเสียหายอย่างมาก. คนที่เข้าเทียมแอกอย่างที่ไม่เสมอกันเช่นนี้มีความเชื่อ, มาตรฐาน, หรือเป้าหมายต่างกัน. (2 โกรินโธ 6:14) เรื่องนี้อาจก่อผลเสียหายต่อการสื่อความและความสุขในชีวิตสมรส. ยกตัวอย่าง สตรีคริสเตียนคนหนึ่งรำพึงรำพันด้วยความทุกข์ใจมากเนื่องจากเมื่อการประชุมที่เสริมสร้างจบลง เธอไม่สามารถพูดคุยกับคู่สมรสที่ไม่เชื่อถือในเรื่องฝ่ายวิญญาณเมื่อกลับไปถึงบ้าน. แน่นอน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ‘การสมรสเฉพาะกับผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า’ เป็นการแสดงความภักดีต่อพระยะโฮวา. เมื่อเราทำตามพระคำของพระเจ้า หัวใจ เราไม่กล่าวโทษเรา เพราะเรากำลังทำสิ่งซึ่ง “เป็นที่ชอบในสายพระเนตรของพระองค์.”—1 โยฮัน 3:21, 22, ล.ม.
18. เมื่อคิดจะสมรส ควรเอาใจใส่เรื่องสำคัญอะไร และเพราะเหตุใด?
18 เมื่อคิดจะสมรส สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรพิจารณาคือคุณความดีและสภาพฝ่ายวิญญาณของคนที่จะครองคู่ด้วย. บุคลิกภาพแบบคริสเตียน พร้อมกับความรักพระเจ้าและการอุทิศตัวสิ้นสุดจิตวิญญาณแด่พระองค์มีค่ายิ่งกว่าเสน่ห์ทางกายมากนัก. พระเจ้าทรงพอพระทัยคนที่หยั่งรู้ค่าและทำตามพันธะหน้าที่ของตนเพื่อจะเป็นคู่สมรสที่เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ. และพลังอันเข้มแข็งที่สุดซึ่งคู่สมรสจะมีได้มาจากความเลื่อมใสที่ทั้งสองมีต่อพระผู้สร้างและยอมรับเอาการชี้นำจากพระองค์อย่างเต็มที่. โดยวิธีนี้ เป็นการถวายพระเกียรติแด่พระยะโฮวา และชีวิตสมรสจึงเริ่มต้นบนรากฐานฝ่ายวิญญาณที่หนักแน่นมั่นคงซึ่งจะส่งเสริมให้มีสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืน.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 15 โปรดดูหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 กุมภาพันธ์ 1999 หน้า 4-8.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดการชี้นำจากพระเจ้าจึงจำเป็นในการเลือกคู่สมรสที่ดี?
• ความเลื่อมใสในพระเจ้าจะช่วยสายสมรสให้แน่นแฟ้นได้อย่างไร?
• บิดามารดาจะเตรียมบุตรให้พร้อมสำหรับการสมรสได้อย่างไร?
• เหตุใดจึงสำคัญที่จะ ‘สมรสเฉพาะกับผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า’?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
การใช้คำแนะนำของพระเจ้าในการเลือกคู่ครองสามารถก่อให้เกิดความสุขได้มาก
[ภาพหน้า 18]
พระพรอันอุดมมาจาก ‘การสมรสเฉพาะกับผู้ที่เชื่อถือองค์พระผู้เป็นเจ้า’