รุดหน้าสู่ชัยชนะขั้นสุดท้าย!
รุดหน้าสู่ชัยชนะขั้นสุดท้าย!
“นี่แน่ะ! ม้าขาวตัวหนึ่ง; และผู้ที่นั่งบนม้านั้นมีธนู; และผู้นั้นได้รับมงกุฎและได้ออกไปอย่างมีชัยและเพื่อทำให้ชัยชนะของตนครบถ้วน.”—วิวรณ์ 6:2, ล.ม.
1. เหตุการณ์อะไรในอนาคตที่โยฮันเห็นในนิมิต?
ด้วยการดลใจจากพระเจ้า อัครสาวกโยฮันสามารถมองเห็นล่วงหน้าถึงอนาคตในอีก 1,800 ปีและพรรณนาการขึ้นครองบัลลังก์ของพระคริสต์ในฐานะกษัตริย์. โยฮันจำเป็นต้องมีความเชื่อว่าสิ่งที่ท่านเห็นในนิมิตจะสำเร็จเป็นจริง. ในปัจจุบัน เรามีหลักฐานชัดเจนว่าการขึ้นครองบัลลังก์ที่บอกล่วงหน้านี้เกิดขึ้นในปี 1914. ด้วยตาแห่งความเชื่อ เราเห็นพระเยซูคริสต์ “ออกไปอย่างมีชัยและเพื่อทำให้ชัยชนะของ [พระองค์] ครบถ้วน.”
2. พญามารแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการสถาปนาราชอาณาจักร และนี่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับอะไร?
2 ภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักร ซาตานถูกขับออกจากสวรรค์ ทำให้มันต่อสู้อย่างหนักยิ่งขึ้นและด้วยความโกรธวิวรณ์ 12:7-12) ความโกรธของมันทำให้สภาพของโลกวิกฤติยิ่งขึ้น. สังคมมนุษย์ดูเหมือนว่ากำลังแตกเป็นเสี่ยง ๆ. สำหรับพยานพระยะโฮวาแล้ว นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่ากษัตริย์ของพวกเขากำลังรุดหน้าไป “เพื่อทำให้ชัยชนะของ [พระองค์] ครบถ้วน.”
ยิ่งกว่าเดิม แต่ก็ไม่มีทางจะประสบผลสำเร็จ. (สังคมโลกใหม่กำลังก่อรูปก่อร่าง
3, 4. (ก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเกี่ยวกับองค์การในประชาคมคริสเตียนนับตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักร และเพราะเหตุใดการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจึงจำเป็น? (ข) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ประโยชน์เช่นไร ดังที่ยะซายาบอกไว้ล่วงหน้า?
3 เมื่อได้มีการสถาปนาราชอาณาจักรขึ้นแล้ว ก็ได้เวลาที่จะนำประชาคมคริสเตียนที่ได้รับการฟื้นฟู—ซึ่งในตอนนี้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น—ให้ดำเนินงานตามแบบแผนของประชาคมคริสเตียนในศตวรรษแรกมากขึ้น. ด้วยเหตุนั้น หอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 และ 15 มิถุนายน 1938 (ภาษาอังกฤษ) จึงพิจารณาวิธีที่องค์การคริสเตียนควรดำเนินงาน. ต่อมา ในฉบับ 15 ธันวาคม 1971 ได้มีการระบุชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคณะกรรมการปกครองสมัยปัจจุบันในบทความที่ชื่อ “คณะกรรมการปกครองซึ่งต่างกับนิติบุคคล.” ในปี 1972 มีการแต่งตั้งคณะผู้ปกครองเพื่อให้การช่วยเหลือและชี้นำในประชาคมท้องถิ่น.
4 การฟื้นฟูให้มีการดูแลอย่างถูกต้องช่วยเสริมความเข้มแข็งแก่ประชาคมคริสเตียนได้มาก. นอกจากนี้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเสริมเช่นนั้นได้แก่การจัดเตรียมจากคณะกรรมการปกครองในการฝึกสอนผู้ปกครองเกี่ยวกับหน้าที่ต่าง ๆ ของพวกเขา รวมทั้งฝึกอบรมพวกเขาในเรื่องการตัดสินความ. การพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ซึ่งรวมไปถึงการจัดระเบียบองค์การทางแผ่นดินโลกของพระเจ้าและผลดีของการพัฒนาดังกล่าวมีบอกล่วงหน้าไว้ที่ยะซายา 60:17 (ล.ม.) ดังนี้: “เราจะเอาทองคำมาแทนทองแดง และเราจะเอาเงินมาแทนเหล็ก เอาทองแดงมาแทนไม้ เอาเหล็กมาแทนหิน; และเราจะแต่งตั้งสันติสุขเป็นผู้ดูแลเจ้าและแต่งตั้งความชอบธรรมเป็นผู้มอบหมายงานแก่เจ้า.” การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเหล่านี้สะท้อนพระพรของพระเจ้า และเป็นหลักฐานว่าพระเจ้าทรงชอบพระทัยผู้ที่สนับสนุนราชอาณาจักรของพระองค์อย่างเปิดเผยและด้วยใจแรงกล้า.
5. (ก) ซาตานแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อพระพรของพระยะโฮวาที่ประทานแก่ไพร่พลของพระองค์? (ข) สอดคล้องกับฟิลิปปอย 1:7 ไพร่พลของพระยะโฮวาตอบโต้ความโกรธของซาตานอย่างไร?
5 ความใฝ่พระทัยและการชี้นำด้วยความรักที่พระเจ้าประทานแก่ไพร่พลของพระองค์หลังการสถาปนาราชอาณาจักรมิได้รอดพ้นสายตาของซาตาน. ขอให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้. ในปี 1931 คริสเตียนกลุ่มเล็ก ๆ นี้ประกาศต่อสาธารณชนว่าพวกเขาไม่ได้เป็นเพียงนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. สอดคล้องกับยะซายา 43:10 พวกเขาเป็นพยานของพระยะโฮวา! ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บังเอิญตรงกันพอดีหรือไม่ก็ตาม พญามารได้ทำให้เกิดคลื่นแห่งการข่มเหงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนทั่วโลก. แม้แต่ในประเทศที่รู้จักกันว่าตามปกติให้เสรีภาพทางศาสนา เช่น สหรัฐ, แคนาดา, และเยอรมนี พยานฯ ถูกบีบครั้งแล้วครั้งเล่าให้ต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการนมัสการ. เมื่อถึงปี 1988 ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้พิจารณาไปแล้ว 71 คดีที่เกี่ยวข้องกับพยานพระยะโฮวา โดยที่สองในสามของคดีเหล่านี้ได้มีการตัดสินให้พวกเขาชนะ. ปัจจุบัน ยังคงมีการต่อสู้ทางกฎหมายตลอดทั่วโลกเพื่อจะสามารถมี “การป้องกันและการทำให้ข่าวดีมีกฎหมายรองรับ” เช่นเดียวกับในศตวรรษแรก.—ฟิลิปปอย 1:7, ล.ม.
6. คำสั่งห้ามและข้อจำกัดต่าง ๆ ขัดขวางไพร่พลของพระยะโฮวาไว้ไม่ให้ก้าวรุดหน้าไหม? จงยกตัวอย่าง.
6 ในทศวรรษ 1930 ช่วงก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายรัฐบาลที่เป็นเผด็จการสั่งห้ามหรือวางข้อจำกัดงานของพยานพระยะโฮวาในประเทศต่าง ๆ ยกตัวอย่างเพียงสามประเทศคือ เยอรมนี, สเปน, และญี่ปุ่น. แต่ในปี 2000 เฉพาะสามประเทศนี้มีผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้าที่เอาการเอางานเกือบ 500,000 คน. จำนวนนี้มากเกือบสิบเท่าของจำนวนพยานฯ ทั่วทั้งโลกในปี 1936! เห็นได้ชัด คำสั่งห้ามและข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่อาจขัดขวางไพร่พลของพระยะโฮวาไว้จากการรุดหน้าไปภายใต้ผู้นำของพวกเขาซึ่งได้รับชัยชนะ คือพระเยซูคริสต์.
7. มีเหตุการณ์โดดเด่นอะไรเกิดขึ้นในปี 1958 และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งเช่นไรนับแต่นั้นมา?
7 นับเป็นการแสดงถึงความก้าวรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อในปี 1958 ณ กรุงนิวยอร์ก มีการจัดการประชุมครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่พยานพระยะโฮวาเคยจัดมา คือการประชุมนานาชาติพระทัยประสงค์ของพระเจ้า โดยมียอดผู้เข้าร่วม 253,922 คน. เมื่อถึงปี 1970 พวกเขาสามารถดำเนินงานอย่างอิสระในสามประเทศที่กล่าวข้างต้น ยกเว้นประเทศที่รู้จักกันในตอนนั้นว่าเยอรมนีตะวันออก. แต่พยานฯ ยังคงถูกห้ามในสหภาพโซเวียตที่กว้างใหญ่ไพศาลและชาติพันธมิตรที่ร่วมในสนธิสัญญาวอร์ซอ. ปัจจุบัน ในชาติเหล่านี้ซึ่งเมื่อก่อนปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์มีพยานฯ ที่ขันแข็งมากกว่าห้าแสนคน.
8. ผลของพระพรจากพระยะโฮวาที่ประทานแก่ไพร่พลของพระองค์เป็นเช่นไร และหอสังเกตการณ์ ฉบับหนึ่งในปี 1950 กล่าวเช่นไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
8 พยานพระยะโฮวาได้รับการอวยพรให้เพิ่มทวีเนื่องจากพวกเขาได้ “แสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของ [พระเจ้า] ก่อน” เรื่อยไป. (มัดธาย 6:33, ล.ม.) ในความหมายตามตัวอักษร คำพยากรณ์ของยะซายาได้สำเร็จเป็นจริงไปแล้ว ที่ว่า “คนจิ๋วจะเพิ่มเป็นจำนวนพัน และคนตัวเล็กจะเพิ่มเป็นชนชาติใหญ่. เราเอง ยะโฮวา จะเร่งกระทำการนี้ในเวลาอันควร.” (ยะซายา 60:22, ล.ม.) และไม่ได้มีเพียงเท่านี้. ในช่วงทศวรรษที่เพิ่งผ่านไป จำนวนผู้สนับสนุนการปกครองแห่งราชอาณาจักรที่ขันแข็งเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,750,000 คน. คนเหล่านี้สมัครใจเข้ามาเป็นส่วนของกลุ่มชนซึ่งหอสังเกตการณ์ ฉบับหนึ่งในปี 1950 ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า “บัดนี้ พระเจ้าทรงจัดสังคมโลกใหม่ไว้พร้อมแล้ว. . . . คนกลุ่มนี้จะรอดผ่านอาร์มาเก็ดดอน . . . เป็นกลุ่มแรกที่อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการใน ‘โลกใหม่’ . . . ซึ่งได้รับการจัดระเบียบตามระบอบของพระเจ้า ด้วยความคุ้นเคยเป็น อย่างดีกับขั้นตอนต่าง ๆ ขององค์การ.” บทความนี้กล่าวลงท้ายว่า “ดังนั้น ขอให้เราทั้งหมดก้าวรุดไปอย่างมั่นคง ในฐานะสังคมโลกใหม่!”
9. สิ่งต่าง ๆ ที่พยานพระยะโฮวาได้เรียนรู้มาตลอดหลายปีปรากฏว่าเป็นประโยชน์อย่างไร?
9 ในระหว่างนี้ สังคมโลกใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นี้ได้เรียนรู้วิธีที่จะดำเนินการอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปรากฏว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในทุกวันนี้และอาจรวมไปถึงในช่วงที่ทำงานฟื้นฟูภายหลังอาร์มาเก็ดดอนด้วย. ยกตัวอย่าง พยานฯ ได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดการประชุมขนาดใหญ่, การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่ฉับไว, และการสร้างอาคารอย่างรวดเร็ว. กิจกรรมดังกล่าวได้ทำให้หลายคนชื่นชมและนับถือพยานพระยะโฮวา.
การแก้ไขข้อฝังใจผิด ๆ
10, 11. จงยกตัวอย่างวิธีที่ข้อฝังใจผิด ๆ เกี่ยวกับพยานพระยะโฮวาได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง.
10 อย่างไรก็ตาม มีบางคนกล่าวหาพยานพระยะโฮวาว่าทำตัวนอกรีตนอกรอยสังคมมนุษย์. ส่วนใหญ่แล้ว เนื่องมาจากจุดยืนตามหลักคัมภีร์ไบเบิลของพยานฯ ในเรื่องการถ่ายเลือด, ความเป็นกลาง, การสูบบุหรี่, และศีลธรรม. แต่สาธารณชนเริ่มจะยอมรับกันมากขึ้นว่าทัศนะของพยานฯ นั้นน่าพิจารณา. ยกตัวอย่าง แพทย์หญิงคนหนึ่งในโปแลนด์โทรศัพท์ถึงสำนักงานของพยานพระยะโฮวาและกล่าวว่า เธอและเพื่อนร่วมงานที่โรงพยาบาลได้ถกกันหลายชั่วโมงเรื่องการถ่ายเลือด. สิ่งที่จุดประกายทำให้มีการถกกันดังกล่าวคือบทความที่ลงในหนังสือพิมพ์รายวันของโปแลนด์ยานนิค ซาฮอดนี. แพทย์หญิงผู้นี้ยอมรับว่า “ดิฉันเองรู้สึกเสียใจที่มีการใช้เลือดมากเกินไปในวงการแพทย์. ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ และดิฉันดีใจที่มีคนยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณา. ดิฉันอยากจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม.”
11 ในการประชุมซึ่งจัดเมื่อปีที่แล้ว บุคลากรทางการแพทย์หลายคนจากแคนาดา, ยุโรป, สหรัฐ, และอิสราเอลร่วมกันอภิปรายในเรื่องซึ่งมุ่งหมายจะช่วยแพทย์ให้รักษาผู้ป่วยโดยไม่ใช้เลือด. ในการประชุมนี้ซึ่งจัดขึ้นที่สวิตเซอร์แลนด์
มีการชี้ว่าจริง ๆ แล้วอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่รับการถ่ายเลือดสูงกว่าในผู้ป่วยที่ไม่รับ ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่. โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นพยานฯ สามารถออกจากโรงพยาบาลเร็วกว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาโดยใช้เลือด และตามปกติแล้วผลที่ตามมาก็คือสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษา.12. จงยกตัวอย่างกรณีที่ผู้มีชื่อเสียงได้กล่าวยกย่องจุดยืนของพยานพระยะโฮวาในเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง.
12 มีการแสดงความเห็นในแง่ดีมากมายเกี่ยวกับจุดยืนที่เป็นกลางของพยานพระยะโฮวาในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพวกเขารักษาความเข้มแข็งแม้เผชิญการโจมตีของนาซี. วีดิทัศน์พยานพระยะโฮวายืนหยัดมั่นคงภายใต้การโจมตีของนาซี ซึ่งผลิตโดยพยานพระยะโฮวาและนำเสนอต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกอย่างเหมาะเจาะที่ค่ายกักกันราเฟนส์บรึค ในประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 1996 ได้ก่อให้เกิดความเห็นในแง่ดีมากมาย. ในการนำเสนอคล้าย ๆ กันนี้ที่ค่ายกักกันซึ่งรู้จักกันดีในเมืองเบอร์เกิน-เบลเซิน เมื่อวันที่ 18 เมษายน 1998 ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการเมืองในโลว์เออร์แซกโซนี ดร. โวล์ฟกัง เชล ยอมรับว่า “ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่น่าอายคือ พยานพระยะโฮวาปฏิเสธชาติสังคมนิยมด้วยความแน่วแน่กว่ามากเมื่อเทียบกับคริสตจักร. . . . ไม่ว่าเราอาจรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับคำสอนและความกระตือรือร้นทางศาสนาของพยานพระยะโฮวา ความแน่วแน่มั่นคงของพวกเขาในช่วงที่นาซีปกครองสมควรได้รับความนับถือ.”
13, 14. (ก) ข้อสังเกตที่สุขุมรอบคอบเช่นไรจากแหล่งที่นอกเหนือความคาดหมายซึ่งกล่าวสนับสนุนคริสเตียนยุคแรก? (ข) จงยกตัวอย่างความเห็นที่ได้มีการกล่าวเพื่อประโยชน์ของไพร่พลพระเจ้าในปัจจุบัน.
13 เมื่อผู้มีชื่อเสียงหรือการพิพากษาตัดสินของศาลแสดงความเห็นชอบกับพยานพระยะโฮวาในประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้ง นั่นอาจช่วยลดอคติและทำให้ผู้คนมองพยานฯ ในแง่ที่ดีขึ้น. ทั้งนี้มักเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดกับผู้คนที่ก่อนนั้นไม่เคยเต็มใจรับฟัง. ด้วยเหตุนั้น พยานพระยะโฮวาจึงตอบรับด้วยความยินดีสำหรับการแสดงความเห็นชอบดังกล่าวและรู้สึกขอบคุณอย่างแท้จริง. เรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในศตวรรษแรกในกรุงยะรูซาเลม. เมื่อซันเฮดริน ศาลสูงของยิว ต้องการกำจัดคริสเตียนเพราะการประกาศด้วยใจแรงกล้าของพวกเขา ฆามาลิเอล “บาเรียนซึ่งเป็นที่นับถือแห่งประชาชน” ได้กล่าวเตือนว่า “ดูก่อนท่านชาวยิศราเอล, ซึ่งท่านหวังจะกระทำแก่คนเหล่านี้จงระวังตัวให้ดี. . . . จงปล่อยคนเหล่านี้ไปตามเรื่อง, อย่าทำอะไรแก่เขาเลย เพราะว่าถ้าความคิดหรือกิจการนี้มาจากมนุษย์ก็จะล้มละลายไปเอง แต่ถ้าเป็นมาจากพระเจ้า, ท่านทั้งหลายจะทำลายเสียก็ไม่ได้, เกลือกว่าท่านทั้งหลายกลับจะเป็นผู้รบสู้ต่อพระเจ้า.”—กิจการ 5:33-39.
14 เช่นเดียวกับฆามาลิเอล เมื่อไม่นานมานี้มีบางคนซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปได้กล่าวอย่างกล้าหาญในการสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนาสำหรับพยานพระยะโฮวา. เพื่อเป็นตัวอย่าง อดีตประธานสถาบันนานาชาติเพื่อเสรีภาพทางศาสนาและความเชื่อได้ให้เหตุผลสำหรับความเห็นของเขาว่า “สิทธิทางศาสนาของศาสนาใดก็ตามไม่ควรถูกปฏิเสธเพียงเพราะความเชื่อมั่นของศาสนานั้นถูกผู้คนในสังคมมองว่าไม่เป็นที่ยอมรับหรือผิดไปจากประเพณีที่ยึดถือกันมา.” และศาสตราจารย์ผู้หนึ่งที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิกซึ่งศึกษาศาสนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่คณะกรรมการคณะหนึ่งของรัฐบาลเยอรมันถูกตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนกลุ่มที่เรียกกันว่านิกายศาสนา โดยกล่าวว่า “เพราะเหตุใดจึงมีเฉพาะศาสนาเล็ก ๆ เท่านั้นถูกสอบสวน แต่สองคริสตจักรใหญ่ [คริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรลูเทอรัน] ไม่ถูกสอบสวน?” เพื่อตอบคำถามดังกล่าว เราสามารถเห็นได้ง่าย ๆ จากคำพูดของอดีตเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งเขียนไว้ว่า “ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวก็คือ บางคนที่เป็นพวกคลั่งศาสนาจากคริสตจักรได้บงการวิธีดำเนินงานของคณะกรรมการที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้น.”
เราหมายพึ่งการบรรเทาจากผู้ใด?
15, 16. (ก) เหตุใดการกระทำของฆามาลิเอลจึงก่อผลในขอบเขตจำกัด? (ข) บุคคลผู้มีอิทธิพลอีกสามคนพบข้อจำกัดอย่างไรในสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อพระเยซู?
15 สิ่งที่ฆามาลิเอลกล่าวมีแต่จะเน้นข้อเท็จจริงที่ว่า งานที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าไม่มีทางล้มเหลว. ไม่ต้องสงสัยว่าคริสเตียนยุคแรกได้รับประโยชน์จากคำกล่าวของเขาต่อศาลซันเฮดริน แต่พวกเขาไม่ได้ลืมว่าคำตรัสของพระเยซูที่ว่าเหล่าสาวกของพระองค์จะถูกข่มเหงก็เป็นความจริงด้วย. การกระทำของฆามาลิเอลช่วยหยุดยั้งแผนการของพวกหัวหน้าศาสนาที่จะกำจัดพวกเขา แต่นั่นมิได้ทำให้การข่มเหงหมดไป เพราะเราอ่านว่า “เขาทั้งหลายจึงยอมฟังฆามาลิเอลนั้น และเมื่อได้เรียกอัครสาวกเข้ามาแล้ว, จึงเฆี่ยนและกำชับไม่ให้ออกนามของพระเยซู, แล้วก็ปล่อยไป.”—กิจการ 5:40.
16 เมื่อพระเยซูทรงถูกดำเนินคดี ปนเตียวปีลาตพยายามจะปล่อยพระเยซูเพราะเขาเห็นว่าพระองค์ไม่ได้ทำผิดแต่อย่างใด. แต่เขาทำไม่สำเร็จ. (โยฮัน 18:38, 39; 19:4, 6, 12-16) แม้แต่สมาชิกสองคนของศาลซันเฮดริน คือนิโกเดโมและโยเซฟแห่งอาริมาธาย ซึ่งเข้าข้างพระเยซู ก็ทำอะไรได้ไม่มากเพื่อขัดขวางศาลนี้ไว้จากการเล่นงานพระเยซู. (ลูกา 23:50-52; โยฮัน 7:45-52; 19:38-40) การบรรเทาที่มนุษย์ทำได้เมื่อพยายามปกป้องไพร่พลของพระยะโฮวา—ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม—อย่างดีที่สุดก็ทำได้ในขอบเขตจำกัด. โลกจะยังคงเกลียดชังสาวกแท้ของพระคริสต์อยู่เรื่อยไปเช่นเดียวกับที่โลกได้ชังพระองค์. การปลดเปลื้องที่ครบถ้วนจริง ๆ นั้นมาจากพระยะโฮวาเท่านั้น.—กิจการ 2:24.
17. พยานพระยะโฮวามีทัศนะตามความเป็นจริงเช่นไร แต่เหตุใดพวกเขาจึงไม่ได้อ่อนลงไปในความตั้งใจแน่วแน่จะประกาศข่าวดีต่อ ๆ ไป?
17 เมื่อมองตามความเป็นจริง พยานพระยะโฮวาคาดว่าการข่มเหงจะมีอยู่ต่อไป. การต่อต้านจะหยุดลงก็ต่อเมื่อระบบของซาตานถูกจัดการให้พ่ายแพ้ในคราวที่สุด. ถึงกระนั้น แม้ว่าการข่มเหงไม่น่ายินดี แต่ก็ไม่ทำให้พยานฯ ละเว้นจากการทำหน้าที่มอบหมายประกาศเรื่องราชอาณาจักรให้สำเร็จ. จะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะ ในเมื่อพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้า? พวกเขามองดูพระเยซูคริสต์ ผู้นำที่กล้าหาญของพวกเขา เป็นแบบอย่างที่ควรดำเนินตาม.—กิจการ 5:17-21, 27-32.
18. ยังคงมีความยุ่งยากลำบากอะไรอีกรออยู่ข้างหน้าสำหรับไพร่พลของพระยะโฮวา แต่พวกเขาเชื่อมั่นว่าผลจะเป็นเช่นไร?
18 ตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว ศาสนาแท้เผชิญการต่อต้านอย่างรุนแรง. อีกไม่ช้า ศาสนาแท้จะตกเป็นเป้าของการโจมตีอย่างสุดตัวจากโกก ซึ่งก็คือซาตานที่อยู่ในสภาพตกต่ำนับตั้งแต่ถูกขับออกจากสวรรค์. แต่ศาสนาแท้จะคงอยู่ต่อไป. (ยะเอศเคล 38:14-16) “กษัตริย์ทั้งปวงทั่วพิภพ” ภายใต้การชี้นำของซาตาน “จะทำสงครามกับพระเมษโปดก, และพระเมษโปดกจะทรงมีชัยชนะ, เพราะว่าท่านทรงเป็นเจ้านายเหนือเจ้านายทั้งหลาย, และทรงเป็นมหากษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งหลาย.” (วิวรณ์ 16:14; 17:14) ถูกแล้ว พระมหากษัตริย์ของเรากำลังก้าวรุดไปสู่ชัยชนะขั้นสุดท้าย และในไม่ช้าพระองค์จะ “ทำให้ชัยชนะของ [พระองค์] ครบถ้วน.” ช่างเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ ที่เรากำลังดำเนินเคียงคู่ไปกับพระองค์ โดยที่ทราบว่าอีกไม่ช้าจะไม่มีผู้ใดขัดแย้งกับผู้นมัสการของพระยะโฮวาอีกต่อไป เมื่อพวกเขากล่าวว่า “พระเจ้าอยู่ฝ่ายเรา”!—โรม 8:31; ฟิลิปปอย 1:27, 28.
คุณอธิบายได้ไหม?
• พระยะโฮวาได้ทรงทำอะไรเพื่อเสริมกำลังประชาคมคริสเตียนนับตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักร?
• ซาตานได้ทำอะไรในการพยายามหยุดพระคริสต์ไว้จากการทำให้ชัยชนะของพระองค์ครบถ้วน และผลเป็นเช่นไร?
• เราควรมีทัศนะที่สมดุลเช่นไรเกี่ยวกับการกระทำของผู้ที่ไม่ใช่พยานฯ ซึ่งก่อผลดีแก่เรา?
• อีกไม่ช้าซาตานจะทำอะไร และผลจะเป็นเช่นไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 18]
การประชุมใหญ่เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งแสดงชัดเจนถึงการก้าวรุดหน้าไปของไพร่พลพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 20]
ความเป็นกลางของพยานฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงนำคำสรรเสริญมาสู่พระยะโฮวา