จงชื่นชมกับความหวังเรื่องราชอาณาจักร!
จงชื่นชมกับความหวังเรื่องราชอาณาจักร!
วันที่ 10 มีนาคม 2001 เป็นโอกาสน่ายินดีที่ 5,784 คนร่วมชุมนุมกัน ณ ชุดอาคารสามหลังในรัฐนิวยอร์กซึ่งครอบครัวเบเธลขนาดใหญ่ใช้. โอกาสนี้เป็นวันที่มิชชันนารีรุ่นที่ 110 จบหลักสูตรโรงเรียนกิเลียด.
แครีย์ บาร์เบอร์ สมาชิกคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาได้กล่าวต้อนรับทุกคนและเริ่มระเบียบวาระ โดยแถลงว่า “พวกเรารู้สึกปีติยินดีที่รู้ว่าบัดนี้นักเรียนกิเลียดรุ่นที่ 110 จบหลักสูตรฝึกอบรมมิชชันนารีแล้วและได้รับมอบหมายไปยังเขตงานในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก.”
วิธีที่จะธำรงความชื่นชมยินดี
หลังจากบราเดอร์บาร์เบอร์แถลงเปิดประชุมแล้ว ดอน แอดัมส์ กล่าวต่อที่ประชุมซึ่งรวมทั้งนักเรียน 48 คนที่จบหลักสูตร ด้วยบทบรรยายชื่อ “พระพรของพระยะโฮวาทำให้เรามั่งคั่ง” ซึ่งอาศัยสุภาษิต 10:22 เป็นหลัก. ท่านได้เตือนผู้ร่วมประชุมให้ระลึกว่าพระยะโฮวาทรงค้ำจุนและอวยพรผู้รับใช้ของพระองค์เมื่อพวกเขาจัดให้ผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในชีวิต. ผู้บรรยายกระตุ้นนักเรียนให้รับเอางานมอบหมายใหม่ของตนด้วยความเต็มใจเช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโลแสดงให้ประจักษ์เมื่อท่านได้รับการขอร้องว่า “ขอโปรดมาช่วย . . . ในเมืองมากะโดเนียเถิด.” (กิจการ 16:9) แม้จะต้องเอาชนะความยุ่งยากและอุปสรรคหลายอย่าง แต่ความเต็มใจของเปาโลที่จะเผยแพร่ในที่ที่ท่านได้รับการชี้นำให้ไปนั้นบังเกิดผลเป็นพระพรที่น่ายินดีมากมาย.
นักเรียนรุ่นนี้จบหลักสูตรการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและการฝึกอบรมระยะห้าเดือนเพื่อเตรียมตัวสู่งานมิชชันนารี. ถึงกระนั้น แดเนียล ซิดลิก สมาชิกคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาก็ยังสนับสนุนให้พวกเขาเป็นนักศึกษาต่อ ๆ ไป. ในคำบรรยายเรื่อง “จงเป็นสาวกแท้” ท่านให้ความเห็นว่า “การเป็นสาวกหมายถึงการเชื่อฟังถ้อยคำของพระเยซูอยู่เสมอ. สิ่งนี้รวมถึงการที่เราเต็มใจฟังถ้อยคำ, ข่าวสาร, และคำสั่งสอนของพระองค์เสมอ.” ท่านชี้ให้เห็นว่าสาวกของพระคริสต์ไม่ได้ตัดสินใจโดยไม่ฟังเสียงของผู้เป็นนาย; สติปัญญาที่มาจากพระเจ้าถูกปิดซ่อนไว้ในชีวิตของพระคริสต์. (โกโลซาย 2:3) ไม่มีสักคนในพวกเราที่ได้ยินถ้อยคำของพระเยซูครั้งเดียวและลงความเห็นได้ว่าตนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับพระองค์ ดังนั้นบราเดอร์ซิดลิกจึงได้สนับสนุนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาให้เรียน, ใช้, และสอนความจริงของคริสเตียนต่อ ๆ ไปซึ่งก่อผลให้มีเสรีภาพ.—โยฮัน 8:31, 32.
ที่จะธำรงความยินดีในงานรับใช้พระเจ้า คนเราต้องเต็มใจรับเอาการตีสอนและการว่ากล่าว. “ไตของคุณจะว่ากล่าวคุณไหม?” เป็นคำถามที่ลอว์เรนซ์ โบเวน ผู้สอนที่โรงเรียนกิเลียดได้ตั้งขึ้นมา. ท่านชี้ให้เห็นว่าในคัมภีร์ไบเบิล ไตโดยนัยมักจะเกี่ยวข้องกับความคิดและอารมณ์ความรู้สึกในส่วนลึกสุดของคนเรา. ไตอาจทำหน้าที่ว่ากล่าวได้ถ้าคำแนะนำที่รับการดลใจจากพระคำของพระเจ้าซึมลึกเข้าไปบทเพลงสรรเสริญ 16:7; ยิระมะยา 17:10, ล.ม.) แนวทางซื่อสัตย์ของคนเราอาจส่งผลอย่างล้ำลึกต่อพระยะโฮวาด้วยซ้ำ. หลังจากอ่านสุภาษิต 23:15, 16 ผู้บรรยายได้ถาม “ไตของคุณจะว่ากล่าวคุณไหม?” ท่านกล่าวเพิ่มว่า “เราขอให้เป็นเช่นนั้น และด้วยเหตุนี้ คุณจะยังความสำราญพระหฤทัยอย่างยิ่งแด่พระยะโฮวา. คุณจะปลุกความรู้สึกอันลึกล้ำของพระองค์. ใช่แล้ว คุณจะทำให้ไตของพระเจ้าปีติยินดีเนื่องจากคุณยืนหยัดอยู่ในหน้าที่มอบหมายของคุณด้วยความภักดี.”
ถึงส่วนที่ลึกที่สุดแห่งบุคลิกภาพของคนเรา. (ผู้ให้คำบรรยายสุดท้ายในส่วนนี้ของระเบียบวาระคือมาร์ก นูแมร์ ซึ่งเคยเป็นมิชชันนารีในประเทศเคนยาก่อนจะมาเป็นผู้สอนในโรงเรียนกิเลียด. คำบรรยายของท่านเรื่อง “เห็นกับตาก็ดีกว่า” เน้นความสำคัญของการปลูกฝังความอิ่มใจพอใจ. สอดคล้องกับพระธรรมท่านผู้ประกาศ 6:9 บราเดอร์นูแมร์ได้แนะนำให้ “ยอมรับความเป็นจริง. นั่นคือ ‘การเห็นกับตา.’ แทนที่จะฝันถึงสิ่งที่คุณอยากทำแต่ไม่ได้ทำ จงจดจ่ออยู่กับการทำอย่างสุดความสามารถของคุณในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน. การอยู่ในโลกแห่งความฝัน, การคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผล, หรือการครุ่นคิดถึงด้านลบของงานมอบหมายมีแต่จะทำให้คุณขาดความอิ่มใจพอใจ.” ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนหรือสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร การปลูกฝังความอิ่มใจในสัมพันธภาพของเรากับพระเจ้าตามสภาพการณ์ของเราเองจะทำให้จิตใจของเราเบิกบานยินดีในงานรับใช้พระผู้สร้างองค์ใหญ่ยิ่ง.
ประสบการณ์ที่น่ายินดีในงานรับใช้ เพื่อราชอาณาจักรและที่กิเลียด
หลังจากมีการให้คำแนะนำที่ใช้ได้จริงจากคำบรรยายเหล่านี้แล้ว นักเรียนหลายคนได้เล่าประสบการณ์ที่ตนเองได้พบเห็นขณะออกไปในงานเผยแพร่ในช่วงหลักสูตรห้าเดือน. โดยการนำส่วนของวอลเลซ ลิเวอร์รันซ์ นายทะเบียนโรงเรียนกิเลียด นักเรียนที่จบหลักสูตรได้เล่าว่าพวกเขาได้แนะนำตัวฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้าอย่างไร. (2 โกรินโธ 4:2) พวกเขาสามารถกระตุ้นสติรู้สึกผิดชอบที่พระเจ้าประทานให้ของบางคน. นักเรียนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีเริ่มการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับบุคคลที่สุจริตใจที่ได้พบตามท้องถนน, ตอนออกเผยแพร่ตามบ้าน, และในที่อื่น ๆ ด้วย. ในโอกาสต่าง ๆ กัน คนสนใจบอกว่าสิ่งพิมพ์ขององค์การของพระยะโฮวาที่ยึดหลักพระคัมภีร์นั้นแสดงออกถึงความจริง. เจ้าของบ้านคนหนึ่งตอบรับเป็นอย่างดีต่อคัมภีร์ข้อหนึ่งโดยเฉพาะ. เวลานี้เธอศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวา.
คนถัดไป โจเอล แอดัมส์ได้สัมภาษณ์ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากกิเลียดรุ่นก่อน ๆ. หัวเรื่องของท่านคือ “อย่าเลิกเรียน, อย่าเลิกรับใช้พระยะโฮวา.” คนเหล่านั้นที่ถูกสัมภาษณ์มีคำแนะนำที่เหมาะกับเวลาสำหรับมิชชันนารีใหม่. แฮร์รี จอห์นสันซึ่งหวนระลึกถึงสมัยเป็นนักเรียนกิเลียดรุ่นที่ 26 บอกว่า “เราได้เรียนว่าพระยะโฮวาทรงนำไพร่พลของพระองค์เสมอมาและจะทรงนำไพร่พลของพระองค์ตลอดไป. ความมั่นใจเช่นนั้นให้การชูใจตลอดหลายปี.” วิลเลียม นอนคีส ผู้สำเร็จการศึกษาจากกิเลียดรุ่นที่ 53 ได้แนะนำรุ่นที่เพิ่งจบดังนี้: “สิ่งสำคัญคือ คำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ของคัมภีร์ไบเบิลไว้เสมอ และจงใช้หลักการเหล่านั้นทุกครั้งเมื่อคุณต้องตัดสินใจทั้งในชีวิตปัจจุบันและตลอดไป. แล้วคุณก็จะสามารถยืนหยัดทำหน้าที่มอบหมายของคุณ และพระพรอันอุดมของพระยะโฮวาจะมีอยู่กับคุณ.”
ริชาร์ด ไรอันได้เลือกหัวเรื่อง “รับการเสริมกำลังเพื่อทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา” เป็นส่วนของเขาในระเบียบวาระ. คนหนึ่งที่เขาสัมภาษณ์คือจอห์น คุตซ์ นักเรียนกิเลียดรุ่นที่ 30 ผู้ซึ่งทำงานฐานะมิชชันนารีในสเปนมากกว่า 41 ปี. เมื่อถามเขาเกี่ยวกับหลักสูตรของโรงเรียนกิเลียด บราเดอร์คุตซ์บอกว่า “ตำราสำคัญคือคัมภีร์ไบเบิล. นอกจากนั้นก็มีคู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเพื่อช่วยเราให้เข้าใจคัมภีร์ไบเบิล. สิ่งเหล่านั้นมีไว้พร้อมสำหรับทุกคน. ที่กิเลียดไม่มีการให้ข้อมูลลับใด ๆ ทั้งสิ้น. ผมเน้นเรื่องนี้อยู่เสมอ เพราะความรู้ที่กิเลียดให้นั้นทุกคนมีอยู่ในมือแล้ว.”
บราเดอร์แกร์ริต เลิช สมาชิกคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาส่งท้ายระเบียบวาระฝ่ายวิญญาณนี้ด้วยการบรรยายในหัวเรื่อง “บนปีกและใต้ปีกของพระยะโฮวา.” ท่านอธิบายว่าในคัมภีร์ไบเบิลนั้น การปกป้องของพระเจ้าและการที่พระองค์ทรงสนับสนุนผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ได้รับการเปรียบกับปีกนกอินทรี. (พระบัญญัติ 32:11, 12; บทเพลงสรรเสริญ 91:4) พ่อหรือแม่นกอินทรีบางครั้งกางปีกออกปกป้องลูกของมันนานหลายชั่วโมง. บางเวลา แม่นกอาจกกลูกของมันไว้ใต้ปีก เป็นการป้องกันไม่ให้ลูกโดนลมหนาว. ในทำนองคล้ายกันและประสานกับพระประสงค์ของพระองค์ พระยะโฮวาทรงสามารถให้การช่วยเหลือผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาเผชิญการทดลองความเชื่อ. พระยะโฮวาไม่ปล่อยให้ผู้รับใช้ของพระองค์ถูกล่อใจเกินที่จะทนได้ แต่ทรงจัดทางออกให้เพื่อเขาจะสามารถทนได้. (1 โกรินโธ 10:13, ล.ม.) บราเดอร์เลิชกล่าวลงท้ายดังนี้: “เพื่อจะได้รับการคุ้มครองฝ่ายวิญญาณต่อ ๆ ไป เราจะต้องอยู่ใต้ร่มปีกของพระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วย. ทั้งนี้หมายความว่าเราต้องไม่พัฒนาน้ำใจที่ไม่หมายพึ่งผู้ใด. ให้เราอยู่ใกล้ชิดพระยะโฮวาและองค์การของพระองค์ซึ่งเป็นเหมือนมารดาอยู่เสมอ อย่าแยกตัวเองออกไปจากการชี้นำขององค์การและคำแนะนำที่เปี่ยมด้วยความรัก.”
ผู้เป็นประธานการประชุมได้อ่านโทรเลขและจดหมายแสดงความยินดีจากผู้ปรารถนาดีทั่วโลก. แล้วก็ถึงเวลาแจกประกาศนียบัตร. ตอนที่ก่อตั้งโรงเรียนกิเลียด มีจุดประสงค์เพียงเพื่อจะสอนนักเรียนไม่กี่รุ่นในระยะเวลาห้าปี. แต่เป็นเวลา 58 ปีแล้วที่พระยะโฮวาพระเจ้ายังคงให้โรงเรียนนี้ดำเนินการอยู่. ดังที่บราเดอร์บาร์เบอร์ได้กล่าวเปิดประชุมว่า “นักเรียนซึ่งจบจากกิเลียดได้สร้างประวัติที่น่าพิศวงจริง ๆ นับตั้งแต่ปี 1943 เมื่อโรงเรียนได้เปิดทำการสอน! ความพยายามร่วมกันของพวกเขาก่อผลให้มีคนอ่อนน้อมบนแผ่นดินโลกจำนวนหลายแสนเพิ่มเข้ามายังองค์การอันรุ่งโรจน์ของพระยะโฮวา.” ใช่แล้ว โรงเรียนมิชชันนารีแห่งนี้มีส่วนทำให้คนหลายล้านได้ชื่นชมกับความหวังเรื่องราชอาณาจักร.
[กรอบหน้า 24]
สถิติของชั้นเรียน
ตัวแทนมาจาก: 8 ประเทศ
ได้รับมอบหมายไปยัง: 18 ประเทศ
จำนวนนักเรียน: 48 คน
เฉลี่ยอายุ: 34 ปี
เฉลี่ยจำนวนปี ที่อยู่ในความจริง: 18 ปี
เฉลี่ยจำนวนปี ในงานรับใช้เต็มเวลา: 13 ปี
[ภาพหน้า 25]
ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 110 ของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด
รายชื่อข้างล่างนี้ เลขแถวนับจากแถวหน้าไปแถวหลัง และชื่อเรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวาในแต่ละแถว.
(1) Vacek, E.; Madelin, L.; Evans, G.; Watanabe, K. (2) Trafford, P.; Turfa, J.; Wilson, P.; Williams, R.; Weber, A. (3) Johnson, T.; Hanau, K.; Mourlhou, F.; Charpentier, F.; Peckham, R.; Androsoff, P. (4) Seegers, T.; Seegers, D.; Bailey, P.; Bailey, M.; Madelin, K.; Lippold, E.; Lippold, T. (5) Evans, N.; Gold, R.; Bollmann, I.; Vacek, R.; Oundjian, J.; Wilson, N. (6) Turfa, J.; Zuidema, L.; Zuidema, R.; Bengtsson, C.; Bengtsson, J.; Galano, M.; Galano, L. (7) Peckham, T.; Mourlhou, J.; Charpentier, C.; Gold, M.; Bollmann, R.; Oundjian, F. (8) Weber, R.; Johnson, B.; Hanau, D.; Watanabe, Y.; Williams, R.; Trafford, G.; Androsoff, T.