จงร่วมในความยินดีแห่งการให้!
จงร่วมในความยินดีแห่งการให้!
“การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.”—กิจการ 20:35.
1. พระยะโฮวาทรงแสดงให้เห็นอย่างไรในเรื่องความยินดีในการให้?
ความยินดีที่ได้รู้จักความจริงและพระพรที่เกิดจากความรู้เช่นนั้นเป็นของประทานล้ำค่าจากพระเจ้า. ผู้ที่ได้มารู้จักพระยะโฮวามีเหตุผลมากมายที่จะชื่นชมยินดี. แม้ว่ามีความยินดีในการรับ แต่ก็มีความยินดีในการให้ด้วยเช่นกัน. พระยะโฮวาทรงเป็นผู้ประทาน “ของประทานอันดีทุกอย่าง และของประทานอันเลิศทุกอย่าง” และพระองค์ทรงเป็น “พระเจ้าผู้ประกอบด้วยความสุข.” (ยาโกโบ 1:17; 1 ติโมเธียว 1:11) พระองค์ประทานคำสอนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแก่ทุกคนที่รับฟังและทรงปีติยินดีเมื่อผู้ที่พระองค์ทรงสอนตอบรับด้วยการเชื่อฟัง เช่นเดียวกับบิดามารดาชื่นใจยินดีเมื่อบุตรตอบรับการสอนด้วยความรักของตน.—สุภาษิต 27:11.
2. (ก) พระเยซูตรัสเช่นไรเกี่ยวกับการให้? (ข) เราได้รับความสุขเช่นไรเมื่อเราสอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่ผู้อื่น?
2 คล้ายคลึงกัน เมื่อพระเยซูทรงอยู่บนแผ่นดินโลกพระองค์ทรงมีความสุขเมื่อเห็นผู้คนตอบรับการสอนของพระองค์. อัครสาวกเปาโลยกคำตรัสของพระเยซูขึ้นมากล่าวดังนี้: “การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” (กิจการ 20:35) ความสุขที่เราได้รับเมื่อเราสอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่ผู้อื่นไม่ใช่เพียงแค่อิ่มใจที่มีคนเห็นด้วยกับความเชื่อทางศาสนาของเรา. ดียิ่งกว่านั้นมาก เรามีความยินดีที่ทราบว่าเรากำลังให้สิ่งที่มีค่าแท้จริงและยั่งยืน. ด้วยการให้สิ่งฝ่ายวิญญาณ เราสามารถช่วยผู้คนให้ได้รับประโยชน์ทั้งในขณะนี้และชั่วนิรันดร์.—1 ติโมเธียว 4:8.
การให้นำมาซึ่งความยินดี
3. (ก) อัครสาวกเปาโลและโยฮันแสดงออกซึ่งความยินดีอย่างไรในการช่วยผู้อื่นฝ่ายวิญญาณ? (ข) เหตุใดการให้ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่บุตรจึงเป็นการแสดงความรัก?
3 ถูกแล้ว เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาและพระเยซูทรงชื่นชมยินดีในการให้ของประทานฝ่ายวิญญาณ คริสเตียนก็ยินดีเพราะเหตุนี้ด้วย. อัครสาวกเปาโลมีความยินดีที่ทราบว่าท่านได้ช่วยเหลือผู้อื่นให้เรียนรู้ความจริงแห่งพระคำของพระเจ้า. ท่านเขียนถึงประชาคมในเมืองเธซะโลนิเก1 เธซะโลนิเก 2:19, 20) อัครสาวกโยฮันเขียนคล้าย ๆ กันเมื่อกล่าวถึงบุตรฝ่ายวิญญาณของท่านว่า “ไม่มีอะไรที่จะทำให้ข้าพเจ้ามีความยินดีมากยิ่งกว่านี้, คือว่าซึ่งข้าพเจ้าได้ยินว่าบุตรทั้งหลายของข้าพเจ้าได้ประพฤติอยู่ในความจริง.” (3 โยฮัน 4) ขอให้คิดด้วยเช่นกันถึงความยินดีที่เกิดจากการช่วยบุตรของเราเองให้เป็นบุตรฝ่ายวิญญาณ! การเลี้ยงดูบุตร “ด้วยการตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา” เป็นการแสดงออกซึ่งความรักของบิดามารดา. (เอเฟโซ 6:4, ล.ม.) โดยวิธีนี้ บิดามารดาแสดงว่าเขาห่วงใยสวัสดิภาพถาวรของบุตรที่อายุยังน้อย. เมื่อบุตรตอบรับ บิดามารดายินดีและอิ่มใจพอใจอย่างยิ่ง.
ดังนี้: “อะไรจะเป็นความหวังหรือความชื่นชมหรือมงกุฎสำหรับมีหน้ามีตาของเรา? ก็มิใช่ท่านทั้งหลายหรือ, จำเพาะพระพักตร์พระเยซูคริสต์เจ้าเมื่อพระองค์จะเสด็จมา? เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นสง่าราศีและความยินดีของเรา.” (4. ประสบการณ์อะไรแสดงถึงความยินดีที่เกิดจากการให้ฝ่ายวิญญาณ?
4 เดลล์รับใช้เต็มเวลาเป็นไพโอเนียร์และเป็นมารดาของบุตรห้าคน. เธอกล่าวว่า “ดิฉันสามารถบอกได้เลยถึงความรู้สึกที่ทำให้อัครสาวกโยฮันกล่าวอย่างนั้น เพราะดิฉันรู้สึกขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ลูกสี่คนของดิฉัน ‘ดำเนินในความจริง.’ ดิฉันทราบว่าเป็นสิ่งที่นำเกียรติยศและสง่าราศีมาสู่พระยะโฮวาเมื่อครอบครัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการนมัสการแท้ ดิฉันจึงรู้สึกอิ่มใจอย่างยิ่งที่เห็นว่าพระองค์ทรงอวยพรความพยายามของดิฉันในการปลูกฝังความจริงไว้ในตัวบุตร. ความหวังอันงดงามเกี่ยวกับการมีชีวิตที่ไม่สิ้นสุดในอุทยานพร้อมกับครอบครัวทำให้ดิฉันเปี่ยมด้วยความหวัง และกระตุ้นหนุนนำให้ดิฉันอดทนแม้จะมีความยุ่งยากลำบากและอุปสรรคหลายอย่าง.” น่าเสียดายที่บุตรสาวคนหนึ่งของเดลล์ถูกตัดสัมพันธ์จากประชาคมเนื่องด้วยการประพฤติในแนวทางที่ไม่เป็นแบบคริสเตียน. ถึงกระนั้น เดลล์พยายามอย่างมากที่จะรักษาทัศนะในแง่ดีเอาไว้. เธอกล่าวว่า “ดิฉันหวังว่าสักวันหนึ่งลูกสาวจะถ่อมใจลงและตั้งใจจริงที่จะกลับมาหาพระยะโฮวา. แต่ดิฉันขอบพระคุณนะเฮมยา 8:10.
พระเจ้าที่ลูก ๆ ส่วนใหญ่รับใช้พระองค์อย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป. ความยินดีที่ดิฉันมีเป็นที่มาของกำลังสำหรับดิฉันอย่างแท้จริง.”—ผูกมิตรชั่วนิจนิรันดร์
5. เมื่อเราทุ่มเทตัวเองในงานช่วยให้คนเป็นสาวก เรารู้สึกอิ่มใจที่ทราบเช่นไร?
5 พระเยซูทรงมีพระบัญชาให้เหล่าสาวกช่วยผู้คนให้เป็นสาวกคริสเตียนและสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระยะโฮวาและข้อเรียกร้องของพระองค์. (มัดธาย 28:19, 20) ทั้งพระยะโฮวาและพระเยซูทรงช่วยผู้คนอย่างไม่เห็นแก่พระองค์เองให้เรียนแนวทางแห่งความจริง. ดังนั้น เมื่อเราทุ่มเทตัวเองในงานช่วยผู้คนให้เป็นสาวก เราอิ่มใจที่ทราบว่าเรากำลังเลียนแบบอย่างของพระยะโฮวาและพระเยซู เช่นเดียวกับที่คริสเตียนยุคแรกได้ทำ. (1 โกรินโธ 11:1) เมื่อเราร่วมประสานงานกับพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการและพระบุตรที่รักของพระองค์ ชีวิตของเรามีความหมายแท้จริง. ช่างเป็นพระพรสักเพียงไรที่ถูกนับว่าอยู่ในหมู่ “ผู้ร่วมทำการ” กับพระเจ้า! (1 โกรินโธ 3:9) และเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอย่างยิ่งมิใช่หรือที่แม้แต่ทูตสวรรค์ก็มีส่วนในกิจการงานประกาศข่าวดีนี้?—วิวรณ์ 14:6, 7.
6. เมื่อเราร่วมในการให้สิ่งฝ่ายวิญญาณแก่ผู้อื่น เรากลายเป็นมิตรกับผู้ใดบ้าง?
6 ที่จริง โดยมีส่วนร่วมในงานให้สิ่งฝ่ายวิญญาณแก่ผู้อื่น เราสามารถเป็นยิ่งกว่าผู้ร่วมทำการกับพระเจ้า—เราสามารถมีมิตรภาพชั่วนิจนิรันดร์กับพระองค์. เนื่องด้วยความเชื่อของท่าน อับราฮามถูกเรียกเป็นมิตรของพระยะโฮวา. (ยาโกโบ 2:23) เมื่อเราพยายามทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า เราเองก็สามารถกลายเป็นมิตรกับพระองค์เช่นกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น เราก็จะกลายเป็นมิตรกับพระเยซูด้วย. พระองค์ตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เราเรียกเจ้าว่ามิตร เพราะสิ่งสารพัดที่เราได้ยินจากพระบิดาของเรานั้นเราได้แจ้งแก่เจ้าแล้ว.” (โยฮัน 15:15, ล.ม.) หลายคนยินดีที่สามารถนับเนื่องได้ว่าเป็นมิตรกับผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าหน้าที่ชั้นสูง แต่เราสามารถได้รับเกียรติในฐานะมิตรของสองบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอกภพทั้งสิ้น!
7. (ก) สตรีผู้หนึ่งได้สร้างมิตรภาพแท้อย่างไร? (ข) คุณเคยมีประสบการณ์คล้าย ๆ กันนี้ไหม?
7 นอกจากนั้น เมื่อเราช่วยผู้คนให้มารู้จักพระเจ้า พวกเขากลายมาเป็นเพื่อนของเราด้วย ซึ่งทำให้เรามีความสุขเป็นพิเศษ. โจน ซึ่งอยู่ที่สหรัฐ เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับสตรีคนหนึ่งชื่อเทลมา. แม้ว่าเทลมาถูกต่อต้านจากครอบครัวซึ่งไม่ต้องการให้เธอศึกษา เธอยืนหยัดและได้รับบัพติสมาในอีกหนึ่งปีต่อมา. โจนเขียนเล่าว่า “การคบหาสมาคมของเราไม่หยุดอยู่แค่นั้น; แต่ได้พัฒนาต่อไปจนเป็นมิตรภาพที่ยืนนาน ถึงตอนนี้ก็ประมาณ 35 ปีแล้ว. เรามักทำงานรับใช้และไปการประชุมใหญ่ด้วยกัน. ในที่สุด ดิฉันย้ายบ้านไปอยู่ในที่ซึ่งห่างออกไป 800 กิโลเมตร. แต่เทลมาก็ยังคงส่งจดหมายอันเปี่ยมด้วยความรักและความอบอุ่นที่สุดถึงดิฉัน บอกว่าคิดถึงดิฉันมากและขอบคุณที่ดิฉันเป็นเพื่อนและเป็นแบบอย่างแก่เธอ และขอบคุณที่สอนเธอเกี่ยวกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิล. การมีเพื่อนที่รักและสนิทสนมอย่างนี้นับเป็นรางวัลอันยอดเยี่ยมสำหรับความพยายามที่ดิฉันได้ทำเพื่อช่วยเธอให้เรียนเกี่ยวกับพระยะโฮวา.”
8. เจตคติในแง่บวกเช่นไรซึ่งช่วยเราได้ในงานรับใช้?
8 ความคาดหวังที่จะพบบางคนซึ่งต้องการเรียนรู้ความจริงสามารถช่วยเราให้อดทนแม้เมื่อหลายคนที่เราพบแทบไม่สนใจหรือไม่สนใจเลยในพระคำของพระยะโฮวา. ความไม่แยแสเช่นนั้นอาจทำให้เกิดข้อท้าทายความเชื่อและความอดทนของเราได้. ถึงกระนั้น เจตคติในแง่บวกจะช่วยเราได้. เฟาสโต ซึ่งมาจากกัวเตมาลา กล่าวว่า “เมื่อผมให้คำพยานแก่ผู้อื่น ผมก็จะนึกภาพว่าคงยอดเยี่ยมสักเพียงไรหากคนที่ผมกำลังคุยด้วยเข้ามาเป็นพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณ. ผมหาเหตุผลว่าอย่างน้อยอาจจะมีสักคนหนึ่งซึ่งผมพบที่ตอบรับความจริงแห่งพระคำของพระเจ้าในที่สุด. การคิดอย่างนี้ช่วยผมที่จะให้คำพยานต่อไป และทำให้ผมยินดีอย่างแท้จริง.”
สะสมทรัพย์ไว้ในสวรรค์
9. พระเยซูตรัสเช่นไรเกี่ยวกับทรัพย์ในสวรรค์ และเราสามารถเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้?
9 การช่วยผู้คนให้เป็นสาวก ไม่ว่าจะลูกของเราหรือคนอื่น ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป. เรื่องนี้คงต้องใช้เวลา, ความอดทน, และความพากเพียร. อย่างไรก็ตาม ขอให้จำไว้ว่าหลายคนเต็มใจทำงานหนักเพื่อสะสมสิ่งฝ่ายวัตถุไว้มาก ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะไม่ทำให้เกิดความยินดีและไม่ยั่งยืนตลอดกาล. พระเยซูทรงบอกผู้ฟังของพระองค์ให้สะสมสิ่งฝ่ายมัดธาย 6:19, 20) ด้วยการติดตามเป้าหมายฝ่ายวิญญาณ—ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมในงานสำคัญด้วยการช่วยผู้คนให้เป็นสาวก—เราสามารถอิ่มใจที่ทราบว่าเรากำลังทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าและพระองค์จะประทานรางวัลแก่เรา. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์.”—เฮ็บราย 6:10.
วิญญาณดีกว่า. พระองค์ตรัสว่า “อย่าสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลก, ที่ตัวหนอนและสนิมอาจทำลายเสียได้, และที่ขโมยอาจขุดช่องล้วงลักเอาไปได้. แต่จงสะสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์, ที่หนอนหรือสนิมทำลายเสียไม่ได้, และที่ไม่มีขโมยขุดช่องล้วงลักเอาไปได้.” (10. (ก) เพราะเหตุใดพระเยซูทรงมีทรัพย์ฝ่ายวิญญาณ? (ข) พระเยซูประทานพระองค์เองอย่างไร และการทำเช่นนั้นให้ประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้อื่นเช่นไร?
10 หากเราขยันขันแข็งในการช่วยผู้คนให้เป็นสาวก เราสะสม “ทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์” สำหรับตัวเราเอง ตามที่พระเยซูได้ตรัสไว้. ทั้งนี้นำความยินดีที่เกิดจากการได้รับมาให้เรา. หากเราให้อย่างไม่เห็นแก่ตัว เราเองก็จะมีทรัพย์บริบูรณ์. พระเยซูเองรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์มานานจนไม่อาจนับได้. ขอให้นึกถึงทรัพย์ที่พระองค์ได้สะสมไว้ในสวรรค์! อย่างไรก็ตาม พระเยซูไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์สำหรับพระองค์เอง. อัครสาวกเปาโลเขียนดังนี้: “พระเยซูนั้นได้ทรงประทานพระองค์เอง เพราะความบาปของเราทั้งหลาย, เพื่อจะช่วยเราให้พ้นจากโลกปัจจุบันอันชั่วนี้, ตามชอบพระทัยพระเจ้าพระบิดาของเรา.” (ฆะลาเตีย 1:4) พระเยซูไม่เพียงแต่ประทานพระองค์เองอย่างไม่เห็นแก่ตัวในงานรับใช้ แต่พระองค์ประทานชีวิตพระองค์เองเป็นค่าไถ่ เพื่อผู้อื่นจะมีโอกาสสะสมทรัพย์ไว้ในสวรรค์.
11. เหตุใดของขวัญฝ่ายวิญญาณจึงดีกว่าของขวัญที่เป็นวัตถุ?
11 โดยสอนผู้คนเกี่ยวกับพระเจ้า เราช่วยพวกเขาให้เห็นวิธีที่พวกเขาเองอาจสะสมทรัพย์ฝ่ายวิญญาณที่ไม่รู้เน่าเปื่อย. ของขวัญอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ซึ่งคุณจะให้ได้? หากคุณให้นาฬิกา, รถ, หรือแม้แต่บ้านราคาแพง เพื่อนที่รับของขวัญนั้นคงขอบคุณและมีความสุข และคุณก็จะมีความยินดีในการให้. แต่ของขวัญนั้นจะอยู่ในสภาพเช่นไรเมื่อผ่านไป 20 ปี? 200 ปี? 2,000 ปี? แต่หากคุณให้ตัวคุณเองเพื่อช่วยใครคนหนึ่งให้รับใช้พระยะโฮวา เขาสามารถได้รับประโยชน์จากของขวัญนั้นตลอดไป.
เสาะแสวงหาผู้ที่ต้องการความจริง
12. หลายคนได้ทุ่มเทตัวอย่างไรเพื่อช่วยผู้อื่นฝ่ายวิญญาณ?
12 เพื่อจะร่วมในความยินดีแห่งการให้ฝ่ายวิญญาณ ไพร่พลของพระยะโฮวาได้ออกไปจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก. หลายพันคนได้จากบ้านและครอบครัวเพื่อรับใช้เป็นมิชชันนารีในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาต้องปรับตัวเข้ากับภาษาและวัฒนธรรมที่แปลกใหม่. คนอื่น ๆ ได้ย้ายไปอยู่ในส่วนอื่นของประเทศของตนซึ่งมีความต้องการผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่า. นอกจากนี้ ยังมีบางคนที่เรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการประกาศในกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง. ยกตัวอย่าง หลังจากเลี้ยงดูบุตรชายสองคนจนเติบใหญ่ซึ่งเวลานี้รับใช้อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของพยานพระยะโฮวา สามีภรรยาคู่หนึ่งที่นิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มเป็นไพโอเนียร์และเรียนภาษาจีน. ตลอดช่วงสามปี พวกเขานำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับคนที่พูดภาษาจีน 74 คนซึ่งศึกษาในวิทยาลัยที่อยู่ใกล้ ๆ. คุณจะขยายงานรับใช้ในบางวิธีเพื่อจะประสบความยินดีมากขึ้นในงานช่วยผู้คนให้เป็นสาวกได้ไหม?
13. คุณอาจทำอะไรหากคุณปรารถนาให้งานรับใช้ของคุณเกิดผลมากขึ้น?
13 อาจเป็นได้คุณปรารถนาจะนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ท่านผู้ประกาศ 11:6, ล.ม.) ในระหว่างนี้ ขอให้ระลึกถึงผู้ซื่อสัตย์อย่างเช่นโนฮาและยิระมะยา. แม้ว่ามีน้อยคนเต็มทีตอบรับการประกาศของท่าน แต่งานรับใช้ของท่านประสบผลสำเร็จ. ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด งานรับใช้นั้นเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา.
แต่ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้. ในบางประเทศ เป็นเรื่องยากที่จะพบผู้สนใจ. ผู้คนที่คุณพบอาจไม่สนใจคัมภีร์ไบเบิลเลย. หากเป็นอย่างนั้น บางทีคุณอาจพูดถึงความปรารถนาของคุณในเรื่องนี้บ่อยยิ่งขึ้นในคำอธิษฐาน โดยทราบอยู่ว่าทั้งพระยะโฮวาและพระเยซูคริสต์ทรงสนพระทัยอย่างยิ่งในงานนี้และอาจนำคุณให้พบกับคนเยี่ยงแกะ. จงขอข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์มากกว่าหรือเกิดผลมากกว่าในงานรับใช้ซึ่งอยู่ในประชาคมของคุณ. จงรับประโยชน์จากการฝึกอบรมและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ณ การประชุมคริสเตียน. จงรับประโยชน์จากคำแนะนำของผู้ดูแลเดินทางและภรรยา. ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด อย่าเลิกรา. บุรุษผู้ฉลาดสุขุมเขียนไว้ว่า “ในเวลาเช้าจงหว่านเมล็ดของเจ้าและอย่าวางมือจนกระทั่งเวลาเย็น; เพราะเจ้าไม่รู้ว่าการนี้จะสำเร็จที่ไหน.” (ทำดีที่สุดเท่าที่คุณทำได้
14. พระยะโฮวาทรงมีทัศนะอย่างไรต่อคนเหล่านั้นที่รับใช้พระองค์จนแก่ชรา?
14 อาจเป็นได้ที่สภาพการณ์ของคุณไม่เปิดโอกาสให้คุณทำได้มากเท่าที่คุณอยากทำในงานรับใช้. ตัวอย่างเช่น เนื่องจากอายุมากแล้ว คุณอาจทำได้ไม่มากนักในการรับใช้พระยะโฮวา. ถึงกระนั้น ขอให้ระลึกเสมอถึงถ้อยคำที่บุรุษผู้ฉลาดสุขุมเขียนไว้ ที่ว่า “ผมหงอกบนศีรษะเป็นเหมือนมงกุฎแห่งสง่าราศีถ้าใจอยู่ในที่ชอบธรรม.” (สุภาษิต 16:31) สำหรับพระยะโฮวาแล้ว พระองค์ทรงพอพระทัยคนที่ใช้ชีวิตรับใช้พระองค์. นอกจากนั้น พระคัมภีร์ยังกล่าวด้วยว่า “เรา [พระยะโฮวา] ยังจะต้องหอบหิ้วเจ้าไปอย่างนี้จนเจ้าชรา, เราจะต้องอุ้มชูเจ้าไปจนเจ้าหัวหงอก, เราได้อุ้มชูมาแล้ว, เราก็จะอุ้มชูต่อไป, เราจะหอบหิ้วและเราจะช่วยให้รอด.” (ยะซายา 46:4) พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักทรงสัญญาว่าจะค้ำจุนและสนับสนุนผู้ที่ภักดีต่อพระองค์.
15. คุณเชื่อไหมว่าพระยะโฮวาทรงเข้าใจสภาพการณ์ของคุณ? เพราะเหตุใด?
15 บางทีคุณอาจกำลังรับมือความเจ็บป่วย, การต่อต้านจากคู่สมรสที่ไม่เชื่อ, หน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวที่หนักหน่วง, หรือปัญหาที่แก้ได้ยากอื่น ๆ. พระยะโฮวาทรงตระหนักถึงข้อจำกัดและสภาพการณ์ของเรา และพระองค์ทรงรักเราที่เราได้พยายามอย่างจริงจังเพื่อรับใช้พระองค์. นั่นเป็นความจริงแม้ว่าสิ่งที่เราทำอาจน้อยกว่าที่คนอื่นทำ. (ฆะลาเตีย 6:4) พระยะโฮวาทรงทราบว่าเราไม่สมบูรณ์ และพระองค์ทรงคาดหมายจากเราตามสภาพที่เป็นจริง. (บทเพลงสรรเสริญ 147:11) หากเราทำดีที่สุดเท่าที่เราทำได้ เราแน่ใจได้ว่าเรามีค่าในสายพระเนตรของพระเจ้า และพระองค์จะไม่ลืมกิจการงานที่เราทำด้วยความเชื่อ.—ลูกา 21:1-4.
16. โดยวิธีใดทั้งประชาคมมีส่วนร่วมในการช่วยผู้คนให้เป็นสาวก?
1 โกรินโธ 14:24, 25) เด็ก ๆ และวัยรุ่นให้คำตอบที่กระตุ้นใจ ทำให้คนใหม่เห็นว่าเยาวชนของเราต่างจากเยาวชนทั่วไปในโลก. คนที่เจ็บป่วย, ผู้ทุพพลภาพ, และผู้สูงอายุในประชาคมช่วยสอนคนใหม่ในเรื่องความอดทน. ไม่ว่าเราอาจมีอายุมากแล้วหรือมีข้อจำกัดอื่น ๆ เราทุกคนมีบทบาทสำคัญในการช่วยคนใหม่ ๆ ขณะที่ความรักของเขาต่อความจริงในคัมภีร์ไบเบิลลึกซึ้งยิ่งขึ้นและก้าวหน้าจนถึงขั้นรับบัพติสมา. ทุกชั่วโมงที่เราใช้ในงานประกาศ, การเยี่ยมเยียนแต่ละครั้ง, การสนทนาแต่ละครั้งกับผู้สนใจที่หอประชุมราชอาณาจักรอาจดูเหมือนไม่สำคัญเท่าไรนัก แต่จริง ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในงานอันทรงพลังที่พระยะโฮวากำลังทำให้สำเร็จผล.
16 พึงจำไว้ด้วยว่า งานช่วยผู้คนให้เป็นสาวกเป็นงานที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม. ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวที่ช่วยผู้อื่นให้เป็นสาวก เช่นเดียวกับที่ฝนเม็ดเดียวไม่อาจให้การบำรุงเลี้ยงต้นพืชได้. จริงอยู่ พยานฯ คนหนึ่งอาจพบผู้สนใจและนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเขา. แต่เมื่อคนใหม่นั้นมาที่หอประชุมราชอาณาจักร ทั้งประชาคมช่วยเขาให้รับเอาความจริง. ความอบอุ่นของสังคมพี่น้องแสดงถึงพลังโน้มนำแห่งพระวิญญาณของพระเจ้า. (17, 18. (ก) นอกจากการเข้าร่วมในงานช่วยคนให้เป็นสาวกแล้ว เราอาจร่วมในความยินดีแห่งการให้โดยวิธีใด? (ข) ด้วยการมีส่วนร่วมในความยินดีแห่งการให้ เราเลียนแบบใคร?
17 แน่นอน นอกจากการมีส่วนร่วมในงานสำคัญเพื่อช่วยคนให้เป็นสาวก เราในฐานะคริสเตียนมีส่วนร่วมในความยินดีแห่งการให้โดยวิธีอื่น ๆ ด้วย. เราสามารถกันทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งไว้สำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการนมัสการบริสุทธิ์และช่วยเหลือคนที่ขัดสน. (ลูกา 16:9; 1 โกรินโธ 16:1, 2) เราสามารถมองหาโอกาสที่จะแสดงน้ำใจรับรองแขกต่อผู้อื่น. (โรม 12:13) อีกสิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือ พยายาม “ทำการดีต่อคนทั้งปวง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่สัมพันธ์กับเราในความเชื่อ.” (ฆะลาเตีย 6:10, ล.ม.) และด้วยวิธีที่ง่าย ๆ แต่ว่าสำคัญ เราสามารถเขียนจดหมาย, โทรศัพท์, ให้ของขวัญ, ช่วยทำบางสิ่งบางอย่าง, หรือพูดให้กำลังใจผู้อื่น.
18 ด้วยการให้ เราแสดงว่าเราเลียนแบบพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา. เรายังแสดงออกซึ่งความรักฉันพี่น้องซึ่งเป็นเครื่องหมายระบุตัวคริสเตียนแท้ด้วย. (โยฮัน 13:35) พึงระลึกเสมอว่า สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเราให้มีส่วนร่วมในความยินดีแห่งการให้.
คุณอธิบายได้ไหม?
• พระยะโฮวาและพระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้อย่างไรในการให้ฝ่ายวิญญาณ?
• เราอาจสร้างมิตรชั่วนิจนิรันดร์โดยวิธีใด?
• มีวิธีใดบ้างที่เราอาจทำได้เพื่อทำให้งานรับใช้ของเราสำเร็จผลมากขึ้น?
• โดยวิธีใดทุกคนในประชาคมสามารถมีส่วนร่วมในความยินดีแห่งการให้?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
เมื่อบุตรตอบรับการฝึกอบรม บิดามารดายินดีและอิ่มใจอย่างยิ่ง
[ภาพหน้า 15]
ในการช่วยคนให้เป็นสาวก เราจะมีมิตรแท้ได้
[ภาพหน้า 16]
พระยะโฮวาทรงอุ้มชูเราในยามชรา
[ภาพหน้า 17]
ด้วยวิธีง่าย ๆ แต่สำคัญเราประสบความยินดีในการให้