คุณสามารถ “แยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด” ไหม?
คุณสามารถ “แยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด” ไหม?
“จงทำให้แน่ใจต่อ ๆ ไปว่า อะไรเป็นสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้ายอมรับ.”—เอเฟโซ 5:10, ล.ม.
1. การดำเนินชีวิตในปัจจุบันอาจเกิดความสับสนอย่างไร และเพราะเหตุใด?
“โอ้พระยะโฮวา, ข้าพเจ้ารู้อยู่ว่าทางที่มนุษย์จะไปนั้นไม่ได้อยู่ในตัวของตัว, ไม่ใช่ที่มนุษย์ซึ่งดำเนินนั้นจะได้กำหนดก้าวของตัวได้.” (ยิระมะยา 10:23) ข้อสังเกตอันเปี่ยมด้วยความหยั่งเห็นเข้าใจของยิระมะยามีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นไปอีกสำหรับเราในปัจจุบัน. เพราะเหตุใด? เพราะเรามีชีวิตอยู่ใน “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้” ดังที่คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ล่วงหน้า. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) ทุกวัน เราเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้สับสนซึ่งเราจำเป็นต้องตัดสินใจ. ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในเรื่องสำคัญหรือเรื่องเล็กน้อยก็อาจมีผลกระทบอย่างมากต่อสวัสดิภาพของเราทั้งทางกาย, ทางอารมณ์, และทางฝ่ายวิญญาณ.
2. การเลือกในเรื่องใดที่อาจถือกันว่าเป็นเรื่องไม่สู้สำคัญนัก แต่คริสเตียนที่อุทิศตัวมีทัศนะอย่างไรในเรื่องนี้?
2 หลายสิ่งที่เราตัดสินใจเลือกในชีวิตประจำวันอาจถือว่าเป็นกิจวัตรหรือเป็นเรื่องที่ไม่สู้สำคัญนัก. เช่น แต่ละวัน เราต้องเลือกเสื้อผ้าที่จะสวมใส่, อาหารที่จะรับประทาน, คนที่เราจะพบ เป็นต้น. ในเรื่องเหล่านี้ เราเลือกโดยอัตโนมัติอย่างที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก. แต่เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องไม่สำคัญจริง ๆ ไหม? สำหรับคริสเตียนที่อุทิศตัว เราสนใจอย่างยิ่งในการเลือกเสื้อผ้าและการปรากฏตัว, การกินดื่ม, ตลอดจนคำพูดและการกระทำของเรา เพื่อจะสะท้อนให้เห็นเสมอว่าเราเป็นผู้รับใช้ขององค์ใหญ่ยิ่งสูงสุด พระยะโฮวาพระเจ้า. คำกล่าวของอัครสาวกเปาโลเตือนใจเราดังนี้: “ถ้าท่านทั้งหลายจะกินจะดื่มก็ดี, หรือจะทำประการใดก็ดี, จงกระทำทุกสิ่งให้เป็นที่ถวายเกียรติยศแก่พระเจ้า.”—1 โกรินโธ 10:31; โกโลซาย 4:6; 1 ติโมเธียว 2:9, 10.
3. การเลือกในเรื่องใดที่ต้องสนใจจริงจังอย่างแท้จริง?
3 มีการเลือกหลายอย่างที่ควรสนใจอย่างจริงจังยิ่งกว่านั้นไปอีก. ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจว่าจะสมรสหรืออยู่เป็นโสดมีผลกระทบที่ลึกซึ้งและถาวรต่อชีวิตของคนเราอย่างแน่นอน. แน่ล่ะ การเลือกคนที่เหมาะจะสมรสด้วย คนที่จะเป็นคู่ชีวิตอย่างถาวร ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเลย. * (สุภาษิต 18:22) นอกจากนั้น การเลือกของเราในเรื่องเพื่อนและคนที่จะคบหา, การศึกษาและงานอาชีพ, รวมทั้งความบันเทิงและนันทนาการ มีบทบาทที่ก่อผลกระทบหรือแม้แต่ตัดสินชี้ขาดสภาพฝ่ายวิญญาณของเรา และด้วยเหตุนั้นจึงมีผลต่อสวัสดิภาพถาวรของเรา.—โรม 13:13, 14; เอเฟโซ 5:3, 4.
4. (ก) ความสามารถอะไรเป็นประโยชน์ที่สุด? (ข) จำเป็นต้องพิจารณาคำถามอะไรบ้าง?
4 เมื่อเผชิญกับการเลือกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ที่เราจะมีความสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด หรือแยกแยะได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดูเหมือนถูกต้องและสุภาษิต 14:12) ด้วยเหตุนั้น เราอาจถามว่า ‘เราจะพัฒนาความสามารถในการแยกแยะผิดถูกชั่วดีได้อย่างไร? เราจะพบการชี้นำที่จำเป็นในการตัดสินใจได้จากที่ไหน? ผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบันทำกันอย่างไรในเรื่องนี้ และผลเป็นเช่นไร?’
อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องจริง ๆ. คัมภีร์ไบเบิลเตือนดังนี้: “มีทางหนึ่งซึ่งดูเหมือนบางคนเห็นว่าเป็นทางถูก; แต่ปลายทางนั้นเป็นทางแห่งความตาย.” (“หลักปรัชญาและ . . . คำล่อลวงเหลวไหล” ของโลก
5. คริสเตียนในยุคแรกมีชีวิตอยู่ในสังคมแบบไหน?
5 คริสเตียนในศตวรรษแรกมีชีวิตอยู่ในสังคมที่ถูกครอบงำโดยค่านิยมและอุดมคติของกรีซและโรม. ในด้านหนึ่ง วิถีชีวิตของชาวโรมันมีความสะดวกสบายและฟุ้งเฟ้อ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นชีวิตที่น่าอิจฉา. ในอีกด้านหนึ่ง เกิดความฮือฮาขึ้นในแวดวงของปัญญาชนในสมัยนั้นไม่เพียงเพราะแนวคิดทางปรัชญาของเพลโตและอาริสโตเติลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปรัชญาของสำนักใหม่ ๆ อย่างเช่นเอพิคิวรัสและสโตอิก. เมื่ออัครสาวกเปาโลมาถึงเมืองเอเธนส์ (อะเธนาย) ในการเดินทางเผยแพร่ในต่างแดนรอบที่สอง ท่านเผชิญหน้ากับนักปรัชญาสำนักเอพิคิวรัสและสโตอิกซึ่งคิดว่าพวกตนเหนือกว่าเปาโล โดยเรียกท่านว่า “คนปากมากคนนี้.”—กิจการ 17:18, ล.ม.
6. (ก) คริสเตียนในยุคแรกบางคนถูกล่อใจให้ทำอะไร? (ข) เปาโลเตือนเช่นไร?
6 ด้วยเหตุนั้น จึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไมบางคนในหมู่คริสเตียนยุคแรกถูกดึงดูดโดยแนวทางที่อวดอ้างและแบบชีวิตของผู้คนรอบข้าง. (2 ติโมเธียว 4:10) คนเหล่านั้นที่เป็นคนสำคัญในระบบของโลกดูเหมือนได้ผลประโยชน์และมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง และการเลือกของพวกเขาก็ดูเหมือนว่าถูกต้อง. ดูเหมือนว่าโลกมีบางสิ่งที่มีค่าเสนอให้อย่างที่แนวทางชีวิตของคริสเตียนที่อุทิศตัวไม่มีให้. อย่างไรก็ตาม อัครสาวกเปาโลเตือนว่า “จงระวังให้ดี, เกรงว่าจะมีผู้หนึ่งผู้ใดนำท่านทั้งหลายให้หลงด้วยหลักปรัชญาและด้วยคำล่อลวงเหลวไหล, ตามเรื่องซึ่งมนุษย์สอนกันต่อ ๆ มานั้น, ตามโลกธรรม, และไม่ใช่ตามพระคริสต์.” (โกโลซาย 2:8) เหตุใดเปาโลจึงกล่าวอย่างนั้น?
7. สติปัญญาของโลกเทียบได้กับอะไรจริง ๆ?
7 เปาโลเตือนอย่างนั้นเพราะท่านสำนึกว่ามีอันตรายอย่างแท้จริงซุ่มซ่อนอยู่เบื้องหลังความคิดของคนที่ถูกโลกดึงดูด. การที่ท่านใช้คำ “หลักปรัชญาและ . . . คำล่อลวงเหลวไหล” นั้นมีนัยความหมายพิเศษ. คำ “ปรัชญา” ในภาษากรีกมีความหมายตามตัวอักษรว่า “รักและแสวงหาสติปัญญา.” ลำพังความรักที่มีต่อสติปัญญาเองอาจเป็นประโยชน์. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะพระธรรมสุภาษิต สนับสนุนให้แสวงหาความรู้และสติปัญญาที่ถูกต้อง. (สุภาษิต 1:1-7; 3:13-18) อย่างไรก็ตาม เปาโลพ่วง “คำล่อลวงเหลวไหล” เข้ากับ “ปรัชญา.” กล่าวอีกอย่างคือ เปาโลถือว่าสติปัญญาที่โลกเสนอให้นั้นเป็นสิ่งเหลวไหลและล่อลวง. เช่นเดียวกับลูกโป่งที่ถูกเป่าให้พอง สติปัญญาของโลกดูราวกับสิ่งที่หนักแน่น แต่จริง ๆ แล้วไร้แก่นสาร. การยึดเอาสิ่งที่ไร้แก่นสารอย่าง “หลักปรัชญาและ . . . คำล่อลวงเหลวไหล” ของโลกเป็นหลักในการเลือกว่าอะไรผิดอะไรถูกย่อมไร้ประโยชน์หรือก่อผลเสียหายร้ายแรงด้วยซ้ำ.
พวกคนที่เรียก “ความชั่วร้ายว่าความดี และความดีว่าความชั่วร้าย”
8. (ก) ผู้คนหันไปหาใครเพื่อขอคำแนะนำ? (ข) มีการให้คำแนะนำกันแบบไหน?
8 ในปัจจุบัน สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปไม่มากนัก. มีผู้เชี่ยวชาญอยู่มากมายในกิจกรรมแทบทุกอย่างของมนุษย์. ผู้ให้คำปรึกษาชีวิตสมรสและครอบครัว, นักเขียนคอลัมน์ประจำ, คนที่เรียกตัวเองเป็นนักบำบัด, นักโหราศาสตร์, คนทรง, และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ต่างก็พร้อมจะให้คำแนะนำ—โดยคิดค่าบริการ. แต่พวกเขาให้คำแนะนำแบบใด? บ่อยครั้ง มาตรฐานด้านศีลธรรมของคัมภีร์ไบเบิลถูกแทนที่โดยสิ่งที่เรียกกันว่าศีลธรรมแบบใหม่. ยกตัวอย่าง เมื่อกล่าวถึงการที่รัฐบาลไม่ยอมออกกฎหมายรับรอง “การสมรสของคนเพศเดียวกัน” บทบรรณาธิการในเดอะ โกลบ แอนด์ เมล์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่รู้จักกันดีฉบับหนึ่งของแคนาดาแถลงว่า “นี่ก็ปี 2000 เข้าไปแล้ว เป็นเรื่องไร้เหตุผลสิ้นดีที่คู่รักซึ่งตกลงปลงใจจะร่วมชีวิตกันกลับถูกปฏิเสธไม่ยอมให้ตามปรารถนาที่น่ารักที่สุด เพียงเพราะบังเอิญพวกเขาเป็นเพศเดียวกัน.” แนวโน้มของทัศนะผู้คนในปัจจุบันคือควรยอมให้ และไม่ควรวิจารณ์ในทางเสียหาย. ทุกสิ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับแต่ละคน; ไม่มีถูกไม่มีผิดอย่างเด็ดขาดอีกต่อไป.—บทเพลงสรรเสริญ 10:3, 4.
9. บ่อยครั้ง ผู้ที่ได้รับความนับถือในสังคมทำอะไร?
9 ส่วนอีกหลายคนก็ยึดเอาผู้ที่ประสบความสำเร็จในทางสังคมและทางการเงิน—คือคนรวยและคนมีชื่อเสียง—เป็นแบบอย่างในการตัดสินใจของตน. แม้ว่าคนรวยและคนมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือในสังคมปัจจุบัน แต่บ่อยครั้งที่พวกเขาดีแต่พูดในเรื่องคุณธรรม เช่น ความสุจริตซื่อตรงและความไว้วางใจ. ในการแสวงหาอำนาจและผลกำไร หลายคนไม่รู้สึกผิดที่จะเพิกเฉยต่อกฎหรือข้ามขั้นตอนและเหยียบย่ำหลักการด้านศีลธรรม. เพื่อจะได้ชื่อเสียงและความนิยมชมชอบ บางคนละทิ้งค่านิยมและมาตรฐานที่ยึดถือกันมาช้านานอย่างไม่ไยดี และหันมานิยมพฤติกรรมที่แปลกประหลาดและน่าตกใจ. ผลที่ตามมาคือสังคมที่ปล่อยปละละเลยและสนใจแต่ผลกำไรซึ่งถือคติว่า “อะไรก็ได้.” เป็นเรื่องน่าแปลกใจไหมที่ผู้คนรู้สึกสับสนและไม่มั่นใจว่าอะไรถูกอะไรผิด?—10. ถ้อยคำของยะซายาเกี่ยวกับความดีความชั่วปรากฏว่าเป็นจริงอย่างไร?
10 ผลอันน่าเศร้าของการตัดสินใจอย่างไม่ฉลาดซึ่งอาศัยการชี้นำที่ผิดพลาดมีให้เห็นรอบตัวเรา—ชีวิตสมรสและครอบครัวที่แตกแยก, ยาเสพย์ติดและการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างผิด ๆ, แก๊งวัยรุ่นที่รุนแรง, ความสำส่อนทางเพศ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยกขึ้นมากล่าวนี้เป็นเพียงไม่กี่อย่าง. จริง ๆ แล้ว เราจะคาดหมายให้ผลเป็นอีกอย่างหนึ่งได้อย่างไรในเมื่อผู้คนละทิ้งมาตรฐานหรือสิ่งที่ใช้อ้างอิงในเรื่องอะไรถูกอะไรผิดเสียหมดสิ้น? (โรม 1:28-32) เป็นดังที่ผู้พยากรณ์ยะซายาประกาศไว้ทีเดียวว่า “วิบัติแก่คนเหล่านั้นที่เรียกความชั่วร้ายว่าความดี และความดีว่าความชั่วร้าย ผู้ถือเอาว่าความมืดเป็นความสว่าง และความสว่างเป็นความมืด ผู้ถือเอาว่าความขมเป็นความหวาน และความหวานเป็นความขม วิบัติแก่คนเหล่านั้นที่ฉลาดในสายตาของตัว และเฉียบแหลมในสายตาของตน.”—ยะซายา 5:20, 21, ฉบับแปลใหม่.
11. เหตุใดจึงเป็นความคิดที่ไม่สุขุมที่จะไว้ใจตัวเองเมื่อจะตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด?
11 ข้อเท็จจริงที่ว่าพระเจ้าทรงเรียกชาวยิวโบราณที่เห็นว่าตัว “ฉลาดในสายตาของตัว” มาให้การต่อพระองค์ทำให้สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกสำหรับเราที่จะหลีกเลี่ยงการไว้วางใจตัวเองในการตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด. หลายคนในปัจจุบันเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า “ขอเพียงแต่ฟังสิ่งที่หัวใจคุณเรียกร้อง” หรือ “จงทำในสิ่งที่คุณรู้สึก ว่าถูกต้อง.” ความคิดเช่นนั้นถูกต้องไหม? ไม่ แนวคิดดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักคัมภีร์ไบเบิลซึ่งกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “หัวใจทรยศยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดและสิ้นคิด. ใครจะรู้จักหัวใจได้เล่า?” (ยิระมะยา 17:9, ล.ม.) คุณจะไว้วางใจคนทรยศและสิ้นคิดให้ชี้นำการตัดสินใจของคุณไหม? คงไม่เป็นอย่างนั้นแน่. ที่จริง คุณคงทำตรงข้ามกับสิ่งที่คน ๆ นั้นบอกคุณ. นั่นเป็นเหตุที่คัมภีร์ไบเบิลเตือนสติเราดังนี้: “ผู้ที่วางใจหัวใจของตนเองก็เป็นคนโฉดเขลา แต่ผู้ซึ่งดำเนินด้วยปัญญาคือผู้ที่จะหนีพ้น.”—สุภาษิต 3:5-7; 28:26, ล.ม.
ให้เราเรียนรู้ว่าอะไร เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงยอมรับ
12. เหตุใดเราจำเป็นต้องพิสูจน์แก่ตัวเองในเรื่อง “พระทัยประสงค์ของพระเจ้า”?
12 เนื่องจากเราไม่ควรไว้วางใจทั้งสติปัญญาของโลกและตัวเราเองในเรื่องอะไรถูกอะไรผิด เราควรทำอย่างไร? โรม 12:2, ล.ม.) เหตุใดเราจำเป็นต้องพิสูจน์แก่ตัวเองในเรื่องพระทัยประสงค์ของพระเจ้า? พระยะโฮวาทรงให้เหตุผลที่ตรงไปตรงมาแต่ว่าหนักแน่นไว้ในคัมภีร์ไบเบิลดังนี้: “ท้องฟ้าสูงกว่าแผ่นดินโลกฉันใด, ทางของเราก็สูงกว่าทางของเจ้า, และความคิดของเราก็สูงกว่าความคิดของเจ้าฉันนั้น.” (ยะซายา 55:9) ด้วยเหตุนั้น แทนที่จะไว้ใจสิ่งที่เรียกกันว่าสามัญสำนึกหรืออาศัยความรู้สึกว่าอะไรดี เราได้รับคำตักเตือนว่า “จงทำให้แน่ใจต่อ ๆ ไปว่า อะไรเป็นสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้ายอมรับ.”—เอเฟ. 5:10, ล.ม.
โปรดสังเกตคำแนะนำที่ชัดเจนและไม่กำกวมจากอัครสาวกเปาโลดังต่อไปนี้: “จงเลิกถูกนวดปั้นตามระบบนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงโดยเปลี่ยนความคิดจิตใจของท่านเสียใหม่ เพื่อท่านทั้งหลายจะพิสูจน์แก่ตัวเองในเรื่องพระทัยประสงค์อันดี ที่น่ารับไว้และสมบูรณ์พร้อมของพระเจ้า.” (13. คำตรัสของพระเยซูดังบันทึกที่โยฮัน 17:3 เน้นอย่างไรเกี่ยวกับความจำเป็นต้องทราบว่าอะไรคือสิ่งที่พระเจ้าทรงยอมรับ?
13 พระเยซูคริสต์ทรงเน้นความจำเป็นดังกล่าวเมื่อพระองค์ตรัสว่า “นี่แหละเป็นชีวิตนิรันดร์, คือว่าให้เขารู้จักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว. และรู้จักผู้ที่พระองค์ทรงใช้มาคือพระเยซูคริสต์.” (โยฮัน 17:3) คำภาษากรีกในต้นฉบับซึ่งแปลในที่นี้ว่า “รู้จัก” มีความหมายลึกซึ้งมาก. ตามพจนานุกรมอธิบายศัพท์ของไวน์ (ภาษาอังกฤษ) คำนี้ “บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่รู้จักกับสิ่งที่เขารู้จัก; ในแง่นี้ สิ่งที่เขารู้จักมีค่าหรือมีความสำคัญต่อบุคคลที่รู้จัก และด้วยเหตุนั้นความสัมพันธ์นั้นจึงมีค่าและมีความสำคัญด้วยเช่นกัน.” การมีสัมพันธภาพกับใครคนหนึ่งมีความหมายมากกว่าเพียงแค่รู้จักว่าเขาเป็นใครหรือชื่ออะไร. สัมพันธภาพเช่นนี้หมายรวมถึงการรู้ว่าคน ๆ นั้นชอบอะไรไม่ชอบอะไร รู้ว่าเขามีค่านิยมและมาตรฐานชีวิตอย่างไร และให้ความนับถือค่านิยมและมาตรฐานเหล่านั้น.—1 โยฮัน 2:3; 4:8.
จงฝึกความสามารถในการสังเกตเข้าใจ
14. เปาโลกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทารกฝ่ายวิญญาณกับผู้อาวุโส?
14 ถ้าอย่างนั้น เราจะมีความสามารถแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิดได้อย่างไร? คำกล่าวของเปาโลที่มีไปถึงคริสเตียนชาวฮีบรูในศตวรรษแรกให้คำตอบในเรื่องนี้. ท่านเขียนว่า “ทุกคนที่กินน้ำนมอยู่ย่อมไม่คุ้นเคยกับถ้อยคำแห่งความชอบธรรม เพราะเขาเป็นทารกอยู่. แต่อาหารแข็งเป็นของผู้อาวุโส คือผู้ซึ่งด้วยการใช้ได้ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจเพื่อแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด.” ในที่นี้ เปาโลเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “น้ำนม” ซึ่งท่านพรรณนาในข้อก่อนหน้านี้ว่าเป็น “สิ่งพื้นฐานแห่งคำแถลงอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า” กับ “อาหารแข็ง” ซึ่งเป็นของ “ผู้อาวุโส” ซึ่ง “ได้ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจเพื่อแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด.”—เฮ็บราย 5:12-14, ล.ม.
15. เหตุใดจึงจำเป็นต้องพยายามอย่างมากเพื่อได้มาซึ่งความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้า?
15 แรกทีเดียว นี่หมายความว่าเราต้องพยายามอย่างมากเพื่อจะได้รับความเข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับมาตรฐานของพระเจ้าที่มีอยู่ในพระคำของพระองค์ คือคัมภีร์ไบเบิล. ทั้งนี้2 ติโมเธียว 3:16, 17, ล.ม.) เพื่อจะได้ประโยชน์จากการสอน, การว่ากล่าวแก้ไข, และการตีสอนเช่นนั้น เราต้องเริ่มฝึกจิตใจและความสามารถในการคิดของเรา. การทำอย่างนี้ต้องอาศัยความพยายาม แต่ผลที่ได้รับอันได้แก่การ “มีคุณสมบัติครบถ้วน, เตรียมพร้อมสำหรับการดีทุกอย่าง” นับว่าคุ้มค่า.—สุภาษิต 2:3-6.
ไม่ได้หมายความว่าเราต้องหากฎระเบียบมากมายที่จะบอกเราว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำ. คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือเช่นนั้น. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เปาโลอธิบายว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์เพื่อการสั่งสอน, เพื่อการว่ากล่าว, เพื่อจัดการเรื่องราวให้เรียบร้อย, เพื่อตีสอนด้วยความชอบธรรม, เพื่อคนของพระเจ้าจะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน, เตรียมพร้อมสำหรับการดีทุกอย่าง.” (16. การฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจหมายความเช่นไร?
16 เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว ดังที่เปาโลบ่งบอกไว้ ผู้อาวุโส “ได้ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจเพื่อแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด.” เรามาถึงจุดสำคัญของเรื่อง. วลีที่ว่า “ได้ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจ” ตามตัวอักษรหมายถึง “อวัยวะรับความรู้สึกได้รับการฝึกฝน (อย่างนักยิมนาสติก).” (ฉบับแปลคิงดอม อินเตอร์ลิเนียร์) นักยิมนาสติกที่ผ่านประสบการณ์มาโชกโชนซึ่งแสดงบนอุปกรณ์ที่เขาเลือก เช่น อุปกรณ์ห่วงหรือคานทรงตัว ภายในเสี้ยววินาทีเขาสามารถแสดงท่าหลายอย่างที่ดูเหมือนว่าฝืนแรงโน้มถ่วงหรือกฎธรรมชาติอื่น ๆ. เขาควบคุมอวัยวะร่างกายของตนอย่างเต็มที่ตลอดเวลา และรู้สึกได้เกือบจะโดยสัญชาตญาณว่าเขาต้องเคลื่อนไหวเช่นไรบ้างเพื่อจะแสดงท่าให้ครบสมบูรณ์. ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการฝึกฝนอย่างเข้มงวดและการฝึกหัดอย่างไม่หยุดหย่อน.
17. เราควรเป็นเหมือนนักยิมนาสติกอย่างไร?
17 ในแง่ฝ่ายวิญญาณ เราเองก็ต้องได้รับการฝึกฝนแบบเดียวกับนักยิมนาสติกด้วย หากเราต้องการจะทำให้แน่ใจว่าการตัดสินใจและการเลือกที่เราทำนั้นถูกต้องเสมอ. เราต้องควบคุมความสามารถในการรับรู้และอวัยวะร่างกายของเราอย่างเต็มที่ตลอดเวลา. (มัดธาย 5:29, 30; โกโลซาย 3:5-10) ตัวอย่างเช่น คุณใช้วินัยกับดวงตาของคุณไหมเพื่อจะไม่มองสิ่งผิดศีลธรรม หรือคุณใช้วินัยกับหูของคุณไหมเพื่อจะไม่ฟังดนตรีหรือคำพูดที่เสื่อมทราม? เป็นความจริงที่ว่าสิ่งไม่ดีงามเช่นนั้นมีอยู่รอบตัวเรา. อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงขึ้นอยู่กับเราว่าได้ปล่อยให้สิ่งไม่ดีงามเหล่านั้นฝังรากในจิตใจและหัวใจของเราหรือไม่. เราสามารถเลียนแบบผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะไม่ตั้งสิ่งเลวทรามไว้ต่อตาข้าพเจ้า: ข้าพเจ้าเกลียดชังกิจการของผู้ที่ไม่ซื่อตรง; กิจการนั้นจะไม่ติดอยู่กับข้าพเจ้าเลย. . . . ผู้ใดที่พูดมุสาจะดำรงอยู่ต่อตาข้าพเจ้าก็หามิได้.”—บทเพลงสรรเสริญ 101:3, 7.
จงฝึกฝนความสามารถใน การสังเกตเข้าใจของคุณด้วยการใช้
18. วลี “ด้วยการใช้” ที่อยู่ในคำอธิบายของเปาโลเกี่ยวกับการฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจมีนัยความหมายเช่นไร?
18 ขอให้จำไว้ว่าเราสามารถฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจเพื่อแยกแยะผิดถูก “ด้วยการใช้.” กล่าวอีกอย่างคือ ทุกครั้งที่เราต้องตัดสินใจ เราควรเรียนรู้ที่จะใช้ความสามารถในการคิดของเราเพื่อเข้าใจว่าหลักการอะไรบ้างในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้องและจะนำมาใช้อย่างไร. จงพัฒนานิสัยในการค้นคว้าสรรพหนังสืออธิบายคัมภีร์ไบเบิลซึ่งพระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้โดยทาง “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม.” (มัดธาย 24:45, ล.ม.) แน่นอน เราสามารถขอความช่วยเหลือจากคริสเตียนผู้อาวุโส. อย่างไรก็ตาม ความ พยายามเป็นส่วนตัวที่เราทำในการศึกษาพระคำของพระเจ้า ควบคู่กับคำอธิษฐานถึงพระยะโฮวาเพื่อขอการชี้นำและพระวิญญาณของพระองค์ จะให้ผลตอบแทนอย่างอุดมในที่สุด.—เอเฟโซ 3:14-19.
19. เราจะได้รับพระพรอะไรหากเราฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ?
19 ขณะที่เราฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เป้าหมายก็คือเพื่อ “เราจะไม่เป็นทารกอีกต่อไป ถูกซัดไปซัดมาเหมือนโดนคลื่นและถูกพาไปทางโน้นบ้างทางนี้บ้างโดยลมแห่งคำสอนทุกอย่างที่อาศัยเล่ห์กลของมนุษย์ โดยใช้ความฉลาดแกมโกงในการคิดหาเรื่องเท็จ.” (เอเฟโซ 4:14, ล.ม.) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น โดยอาศัยความรู้และความเข้าใจของเราเกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้าทรงยอมรับ เราสามารถตัดสินใจอย่างสุขุม ไม่ว่าเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก ในแนวทางที่ก่อประโยชน์แก่ตัวเรา, เสริมสร้างเพื่อนผู้นมัสการ, และที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดคือเพื่อทำให้พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราพอพระทัย. (สุภาษิต 27:11) นั่นช่างเป็นพระพรและการปกป้องสักเพียงไรในสมัยวิกฤตินี้!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 ในการประมวลเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดที่สุดในชีวิตของผู้คนซึ่งมีมากกว่า 40 รายการ รวบรวมโดยนายแพทย์โทมัส โฮมส์ และริชาร์ด เรห์ การเสียชีวิตของคู่สมรส, การหย่าร้าง, และการแยกกันอยู่ติดสามอันดับแรก. การสมรสติดอันดับที่เจ็ด.
คุณอธิบายได้ไหม?
• จำเป็นต้องใช้ความสามารถอะไรเพื่อจะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง?
• เหตุใดจึงไม่ฉลาดสุขุมที่จะยึดเอาคนเด่นดังหรือความรู้สึกของตนเองเป็นหลักในการตัดสินว่าอะไรผิดอะไรถูก?
• เหตุใดเราควรแน่ใจเกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้าทรงยอมรับเมื่อจะตัดสินใจ และเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
• การ “ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจ” หมายความเช่นไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 9]
การหมายพึ่งการชี้นำจากคนร่ำรวยและผู้มีชื่อเสียงเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์
[ภาพหน้า 10]
เช่นเดียวกับนักยิมนาสติก เราต้องควบคุมความสามารถในการรับรู้และอวัยวะร่างกายของเราอย่างเต็มที่