สิทธิของคุณที่จะเชื่อ
สิทธิของคุณที่จะเชื่อ
คุณคงจะถือว่าสิทธิที่จะเชื่ออะไรก็ตามที่คุณอยากเชื่อนั้นมีค่าล้ำ. คนอื่น ๆ แทบทุกคนก็คิดเช่นนั้นด้วย. โดยการใช้สิทธินี้ ประชากรหกพันล้านคนของแผ่นดินโลกได้ก่อให้เกิดรูปแบบความคิดที่หลากหลายอย่างน่าประหลาดใจ. เช่นเดียวกับความหลากหลายในด้านสีสัน, รูปพรรณสัณฐาน, รส, กลิ่น, และเสียงซึ่งเราพบอยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรานั้น ความคิดที่ต่างกันมักเพิ่มความสนใจ, ความตื่นเต้น, และความเพลิดเพลินให้กับชีวิต. ความหลากหลายดังกล่าวเพิ่มรสชาติให้กับชีวิตได้จริง ๆ.—บทเพลงสรรเสริญ 104:24.
แต่จำเป็นต้องระมัดระวัง. ความคิดบางอย่างไม่เพียงต่างกันเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายด้วย. ตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 บางคนได้มาเชื่อว่าพวกยิวและสมาคมฟรีมาซอนมีแผนที่จะ “ทำลายอารยธรรมคริสเตียนและตั้งรัฐบาลโลกขึ้นภายใต้การปกครองร่วมกันของพวกเขา.” แหล่งหนึ่งซึ่งเป็นที่มาของความเชื่อเช่นนี้คือแผ่นพับต่อต้านพวกยิวซึ่งมีชื่อว่า ข้อตกลงของผู้อาวุโสที่คงแก่เรียนแห่งไซออน. แผ่นพับนั้นอ้างว่าแผนการต่าง ๆ ครอบคลุมถึงการสนับสนุนการจัดเก็บภาษีมากเกินไป, การส่งเสริมการผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์, กระตุ้นให้ใช้อำนาจผูกขาดในธุรกิจแทบทั้งหมดเพื่อ ‘จะทำลายความมั่งคั่งของคนต่างชาติได้โดยฉับพลัน.’ นอกจากนั้น ยังมีการอ้างไปถึงการใช้เล่ห์เหลี่ยมจัดระบบการศึกษาเพื่อจะ ‘ทำให้คนต่างชาติกลายเป็นสัตว์เดรัจฉานที่ไม่มีความคิด,’ และถึงกับมีการสร้างทางรถไฟใต้ดินเพื่อให้เมืองหลวงต่าง ๆ เชื่อมต่อกันเพื่อว่าผู้อาวุโสชาวยิวจะสามารถ ‘กำจัดผู้ต่อต้านคนใด ๆ โดยการทำลายพวกเขา.’
แน่นอน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องโกหก—มีการคิดขึ้นมาเพื่อปลุกเร้าความรู้สึกต่อต้านพวกยิว. มาร์ก โจนส์ แห่งพิพิธภัณฑสถานแห่งบริเตนกล่าวว่า ‘เรื่องแต่งขึ้นอย่างเหลวไหลเช่นนี้ แพร่ไปทั่วทุกแห่งหนโดยเริ่มจากรัสเซีย’ ที่ซึ่งเรื่องนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในบทความของหนังสือพิมพ์เมื่อปี 1903. เรื่องนี้ไปถึงหนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ แห่งลอนดอนในวันที่ 8 พฤษภาคม 1920. มากกว่าหนึ่งปีต่อมา เดอะ ไทมส์ ได้เปิดโปงว่าเอกสารนั้นเป็นเรื่องเท็จ. ในระหว่างนั้น ได้มีการก่อความเสียหายขึ้นแล้ว. โจนส์กล่าวว่า ‘การโกหกแบบนี้เป็นเรื่องยากที่จะยับยั้ง.’ เมื่อผู้คนยอมรับการโกหกเช่นนั้นแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความคิดเห็นบางอย่างที่มีอคติ, มุ่งร้าย, และเป็นอันตรายทีเดียว—บ่อยครั้งพร้อมด้วยผลที่ยังความหายนะ ดังที่ประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 ได้เผยให้เห็น.—สุภาษิต 6:16-19.
ความเชื่อกับความจริง
แน่นอน ไม่ใช่การจงใจโกหกเท่านั้นที่ทำให้ความเชื่อที่ผิดแพร่กระจายออกไป. บางครั้ง เราแค่เข้าใจผิดในเรื่องที่อ่าน. มีผู้คนมากเท่าไรได้ตายก่อนวัยอันควรเนื่องจากการกระทำบางอย่างที่เขาเชื่อว่าถูก? นอกจากนี้ บ่อยครั้งเราเชื่อเรื่องหนึ่งเพียงเพราะเราอยากยิระมะยา 17:9.
เชื่อ. ศาสตราจารย์คนหนึ่งกล่าวว่า แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ “บ่อยครั้งก็ยังประเมินค่าทฤษฎีและข้อสรุปของเขาเองอย่างสูงส่ง.” ความเชื่อของเขาบดบังการใช้วิจารณญาณของตัวเอง. ครั้นแล้วเขาอาจพยายามอย่างไร้ประโยชน์ตลอดชีวิตเพื่อสนับสนุนความเชื่อที่ผิด.—เรื่องคล้ายกันได้เกิดขึ้นกับความเชื่อทางศาสนา—วงการที่มีความขัดแย้งมากมาย. (1 ติโมเธียว 4:1; 2 ติโมเธียว 4:3, 4) คนหนึ่งมีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นในพระเจ้า. อีกคนหนึ่งบอกว่าคนเราไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่จะสนับสนุนการที่เขาเชื่อในพระเจ้า. คนหนึ่งยืนยันว่าคุณมีวิญญาณอมตะที่คงอยู่ต่อไปหลังจากตาย. อีกคนหนึ่งเชื่อว่าเมื่อตาย คนเราดับสูญอย่างสิ้นเชิง. ปรากฏชัดว่า ความเชื่อที่ขัดแย้งกันเหล่านี้จะเป็นจริงทั้งหมดไม่ได้. ดังนั้นแล้ว นับว่าฉลาดสุขุมมิใช่หรือที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่คุณเชื่อนั้นเป็นความจริงโดยแท้ ไม่ใช่เป็นแค่สิ่งที่คุณอยากเชื่อเท่านั้น? (สุภาษิต 1:5) คุณจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร? บทความต่อไปจะพิจารณาเรื่องนี้.
[ภาพหน้า 3]
บทความที่ออกมาในปี 1921 เปิดโปง “ข้อตกลงของผู้อาวุโสที่คงแก่เรียนแห่งไซออน”