คุณจะตัดสินใจอย่างสุขุมได้อย่างไร?
คุณจะตัดสินใจอย่างสุขุมได้อย่างไร?
เจตจำนงเสรีเป็นของประทานจากพระเจ้า. หากปราศจากซึ่งเจตจำนงเสรี เราคงแทบไม่ต่างจากหุ่นยนต์เนื่องจากไม่อาจควบคุมการกระทำของเราได้. อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเจตจำนงเสรี เราเผชิญข้อท้าทาย. การมีเจตจำนงเสรีนี้เองทำให้เราต้องตัดสินใจ ตราบใดที่ชีวิตยังไม่สิ้น.
จริงอยู่ การตัดสินใจหลายอย่างเป็นเรื่องปกติ. การตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ เช่น การเลือกประกอบอาชีพหรือการคิดจะแต่งงานล้วนมีผลกระทบไม่น้อยต่ออนาคตของเรา. การตัดสินใจบางอย่างยังมีผลกระทบคนอื่น ๆ อีกด้วย. การตัดสินใจบางประการของบิดามารดาส่งผลกระทบลึกล้ำต่อบุตรของเขา. ยิ่งกว่านั้น เราต้องให้การต่อพระเจ้าในเรื่องการตัดสินใจหลายอย่างที่เราทำ.—โรม 14:12.
จำเป็นต้องแสวงการช่วยเหลือ
มนุษย์ไม่มีประวัติที่ดีในด้านการตัดสินใจ. หนึ่งในประดาการตัดสินใจของมนุษย์ครั้งแรกสุดที่บันทึกไว้นั้นยังผลเป็นความหายนะ. ฮาวาได้ตัดสินใจกินผลไม้ซึ่งพระเจ้าตรัสห้ามอย่างเด็ดขาด. การเลือกของเธอ โดยเอาความปรารถนาที่เห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง ได้ชักนำสามีให้สมทบกับเธอด้วยการขืนอำนาจพระเจ้า และผลที่ตามมาคือความทุกข์ใหญ่หลวงเกิดขึ้นกับมนุษยชาติ. ในหลายกรณี มนุษย์ยังคงตัดสินใจโดยอาศัยความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวเป็นเกณฑ์ ยิ่งเสียกว่าอาศัยหลักการที่ชอบธรรม. (เยเนซิศ 3:6-19; ยิระมะยา 17:9) และเมื่อเผชิญการตัดสินใจที่สำคัญ เรามักจะสำนึกถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของเรา.
ดังนั้นแล้ว ไม่น่าแปลกใจเมื่อหลายคนต้องทำการตัดสินใจที่สำคัญ เขาจึงแสวงการช่วยเหลือจากแหล่งอำนาจที่สูงกว่ามนุษย์. คัมภีร์ไบเบิลบันทึกเหตุการณ์ตอนที่นะบูคัดเนซัรอยู่ในระหว่างยกรี้พลออกรบและต้องตัดสินใจเรื่องหนึ่ง. แม้เป็นถึงกษัตริย์ เขาก็ยังรู้สึกว่าจำเป็นต้อง “หาคำทำนาย” โดยปรึกษาพวกวิญญาณ. ด้วยเหตุนี้ บันทึกแจ้งว่า “ท่านเขย่าลูกธนูและปรึกษาทราฟีมท่านมองดูที่ตับ.” (ยะเอศเคล 21:21, ฉบับแปลใหม่) สมัยนี้ก็คล้ายกัน หลายคนปรึกษาหมอดูและนักโหราศาสตร์ และอีกหลายวิธีเพื่อสืบเสาะหาการช่วยเหลือจากพวกวิญญาณ. แต่แหล่งที่ให้ข้อมูลดังกล่าวล้วนหลอกลวงและชักนำให้หลงเข้าใจผิด.—เลวีติโก 19:31.
มีผู้หนึ่งซึ่งเชื่อถือได้แน่นอน และได้ช่วยมนุษย์ทำการตัดสินใจอย่างฉลาดมาตลอดประวัติศาสตร์. ผู้นั้นเป็นใครอื่นไม่ได้นอกจากพระยะโฮวาพระเจ้า. ยกตัวอย่าง ในสมัยโบราณ พระเจ้าได้ประทานอูริมกับทูมิมแก่ยิศราเอล ชนชาติของพระองค์—ประหนึ่งเป็นของศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ในยามประเทศชาติเผชิญสถานการณ์ที่สำคัญมาก. โดยอูริมและทูมิมนี้เอง พระยะโฮวาทรงตอบคำถามโดยตรงและช่วยผู้เฒ่าผู้แก่ในชาติยิศราเอลมั่นใจได้ว่าการตัดสินใจของพวกเขาสอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระองค์.—เอ็กโซโด 28:30; เลวีติโก 8:8; อาฤธโม 27:21.
จงพิจารณาอีกตัวอย่างหนึ่ง. เมื่อฆิดโอนถูกเรียกให้นำทัพยิศราเอลออกไปต่อสู้ฝ่ายมิดยาน ท่านต้องตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับเอาสิทธิพิเศษที่สูงส่งถึงเพียงนั้น. ด้วยความต้องการคำรับรองเพื่อมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงสนับสนุนตน ฆิดโอนทูลขอเห็นหมายสำคัญที่น่าอัศจรรย์. ท่านวินิจฉัย 6:33-40; 7:21, 22.
อธิษฐานว่าเฉพาะขนแกะที่ตากข้ามคืนไว้ข้างนอกจะเปียกชุ่มด้วยน้ำค้าง แต่พื้นดินโดยรอบนั้นแห้ง. คืนถัดไป ท่านขอได้เห็นขนแกะแห้ง และพื้นดินโดยรอบนั้นเปียกน้ำค้าง. พระยะโฮวาทรงกรุณาโปรดให้ฆิดโอนเห็นหมายสำคัญตามคำขอ. ผลก็คือการตัดสินใจของฆิดโอนถูกต้อง และโดยการสนับสนุนของพระเจ้า ศัตรูของชาติยิศราเอลพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง.—เวลานี้เป็นอย่างไร?
ทุกวันนี้พระยะโฮวายังทรงอนุเคราะห์ผู้รับใช้ของพระองค์เมื่อเขาเผชิญการตัดสินใจที่สำคัญ. โดยวิธีใด? เราควรเอาอย่างฆิดโอนไหม คือขอหมายสำคัญจากพระยะโฮวา โดย ‘ใช้ขนแกะทดลอง’ เพื่อเราจะได้รู้ว่าการตัดสินใจที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร? สามีภรรยาคู่หนึ่งคิดสงสัยว่าควรไปหรือไม่ควรไปรับใช้ในเขตที่ต้องการมีผู้เผยแพร่ข่าวราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น. เพื่อช่วยในการตัดสินใจ เขาทดลองทำอะไรบางอย่าง. เขาลงประกาศขายบ้านโดยตั้งราคาไว้ราคาหนึ่ง. หากขายบ้านได้ภายในเวลากำหนดและได้ราคาตามที่คาดไว้หรือได้ราคาดีกว่า เขาจะถือว่านั่นคือการชี้นำของพระเจ้าที่ประสงค์ให้เขาย้าย. หากขายบ้านไม่ออก พวกเขาก็จะลงความเห็นว่าพระเจ้าไม่ประสงค์ให้ย้าย.
เขาขายบ้านไม่ได้. เรื่องนี้บ่งชี้ไหมว่าพระยะโฮวาไม่ประสงค์ให้สามีภรรยาคู่นี้ย้ายไปรับใช้ในพื้นที่ที่มีความต้องการผู้ประกาศเพิ่ม? จริง ๆ แล้ว คงเป็นการถือสิทธิ์ที่จะพูดเด็ดขาดไปเลยว่าพระยะโฮวาทรงทำหรือไม่ทำเพื่อผู้รับใช้ของพระองค์. ทุกวันนี้เราไม่อาจกล่าวได้ว่าพระยะโฮวาจะไม่ดำเนินการเข้าแทรกแซงเพื่อสำแดงพระทัยประสงค์ของพระองค์ให้ปรากฏแก่เรา. (ยะซายา 59:1) อย่างไรก็ตาม เราไม่มีสิทธิ์จะคาดหมาย การแทรกแซงดังกล่าวในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของเรา ประหนึ่งว่าเราละการตัดสินใจให้เป็นธุระของพระเจ้า. แม้แต่ฆิดโอน ท่านเองต้องทำการตัดสินใจต่าง ๆ เกือบตลอดชีวิตของท่านโดยไม่มีหมายสำคัญอันมหัศจรรย์ใด ๆ จากพระยะโฮวา!
ถึงกระนั้น คัมภีร์ไบเบิลแจ้งว่าการนำทางจากพระเจ้ามีอยู่พร้อม. คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าถึงสมัยของเราดังนี้: “หูของเจ้าเองจะได้ยินถ้อยคำข้างหลังเจ้ากล่าวว่า ‘ทางนี้แหละ. เจ้าทั้งหลาย จงเดินในทางนี้เถิด’ ในกรณีที่เจ้าทั้งหลายจะไปทางขวาหรือในกรณีที่เจ้าทั้งหลายจะไปทางซ้าย.” (ยะซายา 30:21, ล.ม.) เมื่อเราเผชิญการตัดสินใจที่สำคัญ นับว่าเหมาะอย่างยิ่งที่พึงทำให้แน่ใจว่าการตัดสินใจของเราสอดคล้องตรงกันกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า และสะท้อนพระสติปัญญาอันล้ำเลิศของพระองค์. อย่างไร? โดยที่เราพิจารณาดูพระคำของพระองค์และยอมให้พระคำเป็น ‘โคมสำหรับเท้าของเรา และเป็นแสงสว่างส่องทางของเรา.’ (บทเพลงสรรเสริญ 119:105; สุภาษิต 2:1-6) ที่จะทำเช่นนั้น เราจำเป็นต้องเพาะนิสัยการรับเอาความรู้ถ่องแท้จากคัมภีร์ไบเบิล. (โกโลซาย 1:9, 10) และเมื่อเผชิญการตัดสินใจ เราจะต้องค้นหาหลักการทุกอย่าง ในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นอย่างถี่ถ้วน. การค้นคว้าดังกล่าวจะทำให้เราสามารถ “รู้แน่ถึงสิ่งที่สำคัญกว่า.”—ฟิลิปปอย 1:9, 10, ล.ม.
อนึ่ง เราควรสนทนากับพระยะโฮวาด้วยคำอธิษฐาน และมั่นใจว่าพระองค์จะสดับฟังเรา. เราอุ่นใจมากเพียงใดที่เราได้ชี้แจงต่อพระเจ้าองค์เปี่ยมด้วยความรักเกี่ยวกับการตัดสินใจที่เราต้องทำและทางเลือกอื่นที่เรากำลังพิจารณา! ต่อจากนั้น เราสามารถทูลขอการทรงนำได้อย่างมั่นใจเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง. บ่อยครั้ง พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเตือนใจเราให้นึกถึงหลักการในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเกี่ยวข้อง หรืออาจช่วยเราให้เข้าใจข้อคัมภีร์ที่เกี่ยวพันกับสภาพการณ์ของเราได้กระจ่างยิ่งขึ้น.—ยาโกโบ 1:5, 6.
เอเฟโซ 4:11, 12) แต่เมื่อปรึกษาผู้อื่น เราไม่ควรทำอย่างคนเหล่านั้นซึ่งไปหาคนนั้นทีคนนี้ที จนกว่าจะพบคนที่พูดในสิ่งที่พวกเขาต้องการฟังในที่สุด แล้วปฏิบัติตามที่ผู้นั้นแนะนำ. เราเช่นกันควรจดจำตัวอย่างของระฮับอามซึ่งเป็นตัวอย่างเตือนสติ. คราวที่ท่านต้องทำการตัดสินใจครั้งสำคัญ ท่านได้รับคำแนะนำที่ดีเยี่ยมจากผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเคยร่วมปฏิบัติงานกับราชบิดา. อย่างไรก็ดี แทนที่จะทำอย่างที่คนเหล่านั้นแนะนำ ท่านกลับหันไปปรึกษาคนหนุ่มที่เติบโตมาด้วยกัน. การทำตามคำแนะนำคนหนุ่ม ๆ เหล่านั้นเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจอย่างไม่สุขุมและนำมาซึ่งการสูญเสียแผ่นดินส่วนใหญ่ในอาณาจักรของท่าน.—1 กษัตริย์ 12:1-17.
นอกจากนั้น พระยะโฮวายังได้จัดให้มีบุคคลที่อาวุโสไว้ในประชาคม ซึ่งเราสามารถปรึกษาเขาได้เรื่องการตัดสินใจของเรา. (เมื่อแสวงคำแนะนำ จงเข้าหาคนที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตและมีความรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลและนับถืออย่างสุดซึ้งต่อหลักการต่าง ๆ ที่ถูกต้อง. (สุภาษิต 1:5; 11:14; 13:20) ถ้าเป็นไปได้ จัดเวลาไว้ต่างหากเพื่อใคร่ครวญดูหลักการที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทั้งหมดที่คุณรวบรวมมาได้. เมื่อคุณได้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยความสว่างแห่งพระคำของพระยะโฮวา การตัดสินใจที่ถูกต้องก็จะปรากฏชัดเจนมากขึ้น.—ฟิลิปปอย 4:6, 7.
การตัดสินใจของเรา
การตัดสินใจบางอย่างทำได้ง่าย ๆ. เมื่อถูกสั่งให้หยุดงานให้คำพยาน เหล่าอัครสาวกรู้ว่าพวกเขาต้องประกาศเรื่องพระเยซูต่อ ๆ ไป และเขาแจ้งศาลซันเฮดรินทราบทันทีถึงการตัดสินใจของเขาที่จะเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่ามนุษย์. (กิจการ 5:28, 29) ส่วนการตัดสินใจในเรื่องอื่นอาจต้องคิดหนักมากกว่านี้ เพราะไม่มีการกล่าวโดยตรงจากคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องนั้น. กระนั้น หลักการต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลปกติแล้วให้ความสว่างเพื่อทำการตัดสินใจให้ดีที่สุด. ตัวอย่างเช่น แม้การบันเทิงหลากหลายรูปแบบที่พบเห็นเวลานี้ไม่มีในสมัยของพระเยซู แต่มีถ้อยแถลงชัดเจนในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับสิ่งที่พระยะโฮวาพอพระทัยและสิ่งที่พระองค์ไม่พอพระทัย. ดังนั้น คริสเตียนคนใดที่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับการบันเทิงประเภทส่งเสริมความรุนแรง, การประพฤติผิดศีลธรรม, หรือการขืนอำนาจก็ทำการตัดสินใจที่ผิดพลาด.—บทเพลงสรรเสริญ 97:10; โยฮัน 3:19-21; ฆะลาเตีย 5:19-23; เอเฟโซ 5:3-5.
บางครั้งการตัดสินใจสองอย่างอาจถูกทั้งสองอย่างก็ได้. การรับใช้ในที่ที่มีความต้องการผู้ประกาศเพิ่มถือเป็นสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยมและนำไปสู่พระพรมากมาย. แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ถ้าผู้นั้นตัดสินใจไม่ย้าย เขาก็ยังสามารถประกอบการงานที่ดีได้ต่อไปในประชาคมที่เขาสมทบอยู่. ในบางโอกาส เราอาจเผชิญการตัดสินใจที่เปิดโอกาสให้เราได้แสดงออกซึ่งความเลื่อมใสอันลึกซึ้งต่อพระยะโฮวา หรือแสดงให้เห็นว่าเราถือเอาสิ่งใดสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของเรา. ด้วยเหตุนี้ พระยะโฮวาทรงเปิดโอกาสให้เราใช้เจตจำนงเสรีเพื่อแสดงว่า จริง ๆ แล้วสภาพหัวใจของเราเป็นอย่างไร.
บ่อยครั้งการตัดสินใจของเรามีผลกระทบต่อคนอื่น. ตัวอย่างเช่น คริสเตียนในศตวรรษแรกชื่นชมที่หลุดพ้นจากข้อจำกัดหลายอย่างแห่งพระบัญญัติ. นั่นหมายความว่าพวกเขาจะรับประทานอาหารที่เคยถือว่าเป็นมลทินตามพระบัญญัติ หรือจะปฏิเสธก็ได้. กระนั้น พวกเขาได้รับการสนับสนุนให้คำนึงถึงสติรู้สึกผิดชอบของผู้อื่นเมื่อทำการตัดสินใจว่าจะใช้เสรีภาพนั้นหรือไม่. คำพูดของเปาโลเกี่ยวกับเรื่องนี้1 โกรินโธ 10:32) การไม่อยากให้คนอื่นสะดุดอาจช่วยกำหนดการตัดสินใจหลายอย่างของเรา. นอกจากนี้ การรักเพื่อนบ้านเป็นบัญญัติสำคัญประการที่สองด้วย.—มัดธาย 22:36, 39.
อาจนำมาใช้กับการตัดสินใจหลายอย่างของเรา นั่นคือ ‘อย่าเป็นต้นเหตุให้เกิดการสะดุด.’ (ผลสืบเนื่องจากการตัดสินใจของเรา
การตัดสินใจที่ทำด้วยสติรู้สึกผิดชอบที่ดีและอาศัยหลักการในคัมภีร์ไบเบิลย่อมบังเกิดผลดีเสมอในบั้นปลาย. จริงอยู่ การตัดสินใจที่ดีอาจต้องมีการเสียสละบ้างในช่วงสั้น ๆ. เมื่อพวกอัครสาวกแถลงต่อศาลซันเฮดรินถึงการตัดสินใจของเขาที่จะประกาศเรื่องพระเยซูต่อ ๆ ไป พวกเขาถูกเฆี่ยนก่อนแล้วถึงได้รับการปล่อย. (กิจการ 5:40) เมื่อชาวฮีบรูสามคนคือซัดรัค, เมเซ็ค, และอะเบ็ดนะโคได้ตัดสินใจจะไม่ก้มกราบรูปเคารพทองคำซึ่งนะบูคัดเนซัรตั้งขึ้นไว้ พวกเขาทำให้ชีวิตตกอยู่ในอันตราย. เขาพร้อมเผชิญความเป็นไปได้ที่ว่าการตัดสินใจของเขาอาจหมายถึงความตายก็ได้. แต่พวกเขาก็รู้ว่าเขาจะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าและจะได้รับพระพร.—ดานิเอล 3:16-19.
หากเราประสบความยากลำบากภายหลังการตัดสินใจโดยได้คำนึงถึงสติรู้สึกผิดชอบแล้ว ไม่มีเหตุผลที่จะสันนิษฐานว่าการตัดสินใจนั้นผิดพลาด. “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า” อาจมีผลในแง่ลบต่อการตัดสินใจที่กระทำด้วยความมุ่งหมายอันดีได้. (ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.) นอกจากนี้แล้ว บางครั้งพระยะโฮวาทรงปล่อยให้ความทุกข์ยากมีอยู่ก็เพื่อทดสอบความตั้งใจของเราว่าลึกซึ้งแค่ไหน. กว่ายาโคบจะได้รับพระพรก็ต้องปล้ำกับทูตสวรรค์ทั้งคืน. (เยเนซิศ 32:24-26) พวกเราก็อาจต้องปล้ำสู้ความยากลำบากเช่นกัน ทั้ง ๆ ที่เราทำสิ่งที่ถูกต้อง. กระนั้น เมื่อการตัดสินใจของเราประสานกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า เรามั่นใจได้ว่าพระองค์จะโปรดช่วยเราให้อดทนได้ และในที่สุดพระองค์จะอวยพรเรา.—2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.
ดังนั้น เมื่อทำการตัดสินใจที่สำคัญ อย่าได้วางใจสติปัญญาของตนเอง. จงค้นหาหลักการในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของคุณ. จงพูดเรื่องราวนั้นกับพระยะโฮวา. หากเป็นไปได้ ปรึกษาเพื่อนคริสเตียนที่อาวุโส. ครั้นแล้ว จงมีใจกล้าและใช้เจตจำนงเสรีซึ่งพระเจ้าประทานแก่คุณนั้นอย่างที่มีความรับผิดชอบ. จงตัดสินใจให้รอบคอบและแสดงต่อพระยะโฮวาว่าหัวใจของคุณซื่อตรงจำเพาะพระองค์.
[ภาพหน้า 28]
ค้นหาคำแนะนำจากพระคำของพระเจ้าก่อนทำการตัดสินใจที่สำคัญ
[ภาพหน้า 28, 29]
พูดกับพระยะโฮวาเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจ
[ภาพหน้า 30]
คุณอาจปรึกษาคริสเตียนที่อาวุโสเกี่ยวกับการตัดสินใจที่สำคัญ