พระพรของพระยะโฮวาทำให้เรามั่งคั่ง
พระพรของพระยะโฮวาทำให้เรามั่งคั่ง
“พระพรของพระยะโฮวากระทำให้เกิดความมั่งคั่ง; และพระองค์จะไม่เพิ่มความทุกข์ยากให้เลย.”—สุภาษิต 10:22.
1, 2. เหตุใดความสุขจึงไม่เกี่ยวข้องกับความมั่งคั่งฝ่ายวัตถุ?
การแสวงหาสิ่งฝ่ายวัตถุครอบงำชีวิตของหลายล้านคนในปัจจุบัน. แต่สิ่งฝ่ายวัตถุทำให้พวกเขามีความสุขไหม? วารสารดิ ออสเตรเลียน วีเมนส์ วีกลี กล่าวดังนี้: “ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าเคยมีสมัยไหนที่ประชาชนหดหู่ในโชคชะตาของตนมากขนาดนี้.” วารสารนี้กล่าวต่อไปอีกว่า “เรื่องนี้ดูเหมือนว่าขัดกัน แต่ก็เป็นความจริง. มีคนบอกว่าออสเตรเลียอยู่ในภาวะที่ยอดเยี่ยมทางเศรษฐกิจ ชีวิตไม่เคยดีขนาดนี้มาก่อน. . . . ถึงกระนั้น ทั้งประเทศมีแต่คนมองโลกในแง่ร้าย. ทั้งผู้ชายและผู้หญิงรู้สึกว่าบางสิ่งขาดหายไปในชีวิตของตน แต่บอกไม่ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร.” ช่างเป็นความจริงสักเพียงไรที่พระคัมภีร์ชี้ว่าความสุขและชีวิตไม่ได้อยู่ในของบริบูรณ์ที่เรามีอยู่!—ท่านผู้ประกาศ 5:10; ลูกา 12:15.
2 คัมภีร์ไบเบิลสอนว่าความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจากพระพรของพระเจ้า. ในเรื่องนี้ สุภาษิต 10:22 กล่าวว่า “พระพรของพระยะโฮวากระทำให้เกิดความมั่งคั่ง; และพระองค์จะไม่เพิ่มความทุกข์ยากให้เลย.” บ่อยครั้ง ความทุกข์เกิดจากความละโมบอยากได้ความมั่งคั่งฝ่ายวัตถุ. อัครสาวกเปาโลเตือนไว้อย่างเหมาะสมว่า “คนเหล่านั้นที่มุ่งจะร่ำรวยก็ตกเข้าสู่การล่อใจและบ่วงแร้วและความปรารถนาหลายอย่างแบบไร้สติและที่ก่อความเสียหาย ซึ่งทำให้คนตกเข้าสู่ความพินาศและความหายนะ. เพราะการรักเงินเป็นรากแห่งสิ่งที่ก่อความเสียหายทุกชนิด และโดยการมุ่งแสวงหาความรักแบบนี้บางคนถูกชักนำให้หลงจากความเชื่อและได้ทิ่มแทงตัวเองทั่วทั้งตัวด้วยความเจ็บปวดมากหลาย.”—1 ติโมเธียว 6:9, 10, ล.ม.
3. เหตุใดผู้รับใช้ของพระเจ้าจึงประสบความยากลำบาก?
พระบัญญัติ 28:2) แต่บางคนอาจถามว่า ‘หากพระพรของพระยะโฮวาไม่เพิ่มความทุกข์ยากให้แล้ว เหตุใดผู้รับใช้หลายคนของพระเจ้าจึงต้องทนทุกข์?’ คัมภีร์ไบเบิลเปิดเผยว่าการทดลองต่าง ๆ ที่เราประสบนั้นพระเจ้าทรงยอมให้เกิดขึ้น แต่จริง ๆ แล้วเกิดจากซาตาน, ระบบชั่วของมัน, และความไม่สมบูรณ์ของเราเอง. (เยเนซิศ 6:5; พระบัญญัติ 32:4, 5; โยฮัน 15:19; ยาโกโบ 1:14, 15) พระยะโฮวาทรงเป็นที่มาแห่ง ‘ของประทานอันดีและของประทานอันเลิศทุกอย่าง.’ (ยาโกโบ 1:17) ด้วยเหตุนั้น พระพรของพระองค์ไม่ก่อความทุกข์ยากเลย. ดังนั้น ให้เรามาพิจารณาของประทานอันเลิศของพระเจ้าบางประการ.
3 ในอีกด้านหนึ่ง พระพรที่ปราศจากความทุกข์ยากตกอยู่แก่ทุกคนที่ “เชื่อฟังถ้อยคำพระยะโฮวา.” (พระคำของพระเจ้า—ของประทานอันล้ำค่า
4. ไพร่พลของพระยะโฮวาได้รับพระพรและของประทานอันล้ำค่าอะไรใน “เวลาอวสาน” นี้?
4 คำพยากรณ์ของดานิเอลกล่าวเกี่ยวกับ “เวลาอวสาน” ดังนี้: “ความรู้แท้จะมีอุดมบริบูรณ์.” อย่างไรก็ตาม ข้อความนี้ถูกจำกัดความหมายไว้ด้วยถ้อยคำที่ว่า “ไม่มีคนชั่วแม้สักคนจะเข้าใจ; แต่คนที่มีความหยั่งเห็นเข้าใจจะเข้าใจ.” (ดานิเอล 12:4, 10, ล.ม.) ขอให้วาดมโนภาพดูก็แล้วกัน! มีการกล่าวพระคำของพระเจ้า—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำพยากรณ์—ด้วยพระสติปัญญาของพระเจ้าอย่างที่คนชั่วไม่อาจเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้ แต่ไพร่พลของพระยะโฮวาสามารถเข้าใจ. พระบุตรของพระเจ้าทรงอธิษฐานว่า “โอพระบิดาเจ้าข้า. พระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก. ข้าพเจ้าโมทนาพระคุณของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงบังซ่อนสิ่งทั้งปวงนั้นจากผู้มีปัญญาและนักปราชญ์. และได้สำแดงให้ทารกแจ้ง.” (ลูกา 10:21) ช่างเป็นพระพรจริง ๆ ที่จะได้รับของประทานอันล้ำค่าแห่งพระคำของพระเจ้าซึ่งได้จารึกไว้ คือคัมภีร์ไบเบิล และอยู่ท่ามกลางผู้คนที่พระยะโฮวาได้ประทานความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณ!— 1 โกรินโธ 1:21, 27, 28; 2:14, 15.
5. สติปัญญาคืออะไร และเราสามารถได้มาซึ่งสติปัญญาโดยวิธีใด?
5 เราคงไม่มีความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณเลยหากไม่ได้รับ “สติปัญญาที่มาจากเบื้องบน.” (ยาโกโบ 3:17) สติปัญญาเป็นความสามารถที่จะใช้ความรู้และความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหา, หลีกเลี่ยงหรือหันหนีจากอันตราย, บรรลุเป้าหมาย, หรือให้คำแนะนำที่ฉลาดสุขุม. เราได้รับสติปัญญาของพระเจ้าโดยวิธีใด? สุภาษิต 2:6 แจ้งดังนี้: “พระยะโฮวาพระราชทานปัญญาความรู้และความเข้าใจออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์.” ถูกแล้ว พระยะโฮวาจะทรงอวยพรเราให้มีสติปัญญาหากเราพากเพียรในการอธิษฐานขอ เช่นเดียวกับที่พระองค์ประทาน “ใจประกอบด้วยสติปัญญา” แก่กษัตริย์ซะโลโม. (1 กษัตริย์ 3:11, 12; ยาโกโบ 1:5-8) เพื่อจะได้สติปัญญา เราต้องฟังพระยะโฮวาอยู่เสมอโดยศึกษาและใช้พระคำของพระองค์เป็นประจำ.
6. เหตุใดการใช้กฎหมายและหลักการของพระเจ้าในชีวิตเราจึงเป็นแนวทางแห่งสติปัญญา?
6 ตัวอย่างหลัก ๆ เกี่ยวกับสติปัญญาของพระเจ้าพบในกฎหมายและหลักการของคัมภีร์ไบเบิล. กฎหมายและหลักการเหล่านี้ให้ประโยชน์แก่เราในทุกทาง ทั้งทางกาย, ทางใจ, ทางอารมณ์, และทางฝ่ายวิญญาณ. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงไว้อย่างเหมาะสมดังนี้: “กฎหมายของพระยะโฮวาดีรอบคอบ, เป็นที่ให้จิตต์วิญญาณฟื้นตื่นขึ้น; คำโอวาทของพระยะโฮวาก็แน่นอน, เตือนสติคนรู้น้อยให้มีปัญญา. ข้อสั่งสอนของพระยะโฮวานั้นเที่ยงตรง, ทำให้จิตต์วิญญาณบทเพลงสรรเสริญ 19:7-10; 119:72.
ได้ความชื่นบาน ข้อบัญญัติของพระยะโฮวาก็บริสุทธิ์, กระทำให้ดวงตากระจ่างสว่างไป. ความเกรงกลัวพระยะโฮวาสะอาดหมดจด, ยั่งยืนอยู่เป็นนิตย์: ข้อพิพากษาของพระยะโฮวาก็สัตย์จริงและยุติธรรมทั้งนั้น. น่าปรารถนามากกว่าทองคำ; หรือยิ่งกว่าทองนพคุณ.”—7. เกิดผลเช่นไรบ้างจากการไม่สนใจมาตรฐานอันชอบธรรมของพระเจ้า?
7 ในอีกด้านหนึ่ง คนที่ไม่สนใจมาตรฐานอันชอบธรรมของพระเจ้าไม่พบความสุขและเสรีภาพที่พวกเขาเสาะหา. ไม่ช้าก็เร็ว พวกเขาจะพบว่าพระเจ้าไม่ใช่ผู้ที่จะหลอกเล่นได้ เพราะคนใดหว่านอะไรเขาจะเกี่ยวเก็บสิ่งนั้น. (ฆะลาเตีย 6:7) หลายล้านคนที่ไม่สนใจหลักการในคัมภีร์ไบเบิลกำลังเกี่ยวเก็บผลพวงอันน่าเศร้าสลดอย่างเช่น การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์, โรคที่น่ารังเกียจ, หรือการติดสิ่งเสพย์ติดที่ทำให้สุขภาพเสื่อมทรุด. หากพวกเขาไม่กลับใจและเปลี่ยนวิถีชีวิต แนวทางที่เขาดำเนินอยู่นี้จะนำเขาไปสู่ความตายในที่สุด และอาจถูกทำลายด้วยพระหัตถ์ของพระเจ้า.—มัดธาย 7:13, 14.
8. เหตุใดผู้รักพระคำของพระเจ้าจึงมีความสุข?
8 อย่างไรก็ตาม พระพรอันอุดมทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจะตกอยู่แก่ผู้ที่รักและใช้พระคำของพระเจ้า. พวกเขามีเหตุผลสมควรจะรู้สึกว่าได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระโดยกฎหมายของพระเจ้า, มีความสุขอย่างแท้จริง, และเฝ้าคอยด้วยใจจดใจจ่อให้ถึงเวลาที่พวกเขาจะเป็นอิสระจากบาปและผลของบาปที่ทำให้เกิดความตาย. (โรม 8:20, 21; ยาโกโบ 1:25) ความหวังนี้เป็นเรื่องแน่นอนเพราะอาศัยของประทานอันเปี่ยมด้วยความรักยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประทานแก่มนุษยชาติ คือเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์ พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียว. (มัดธาย 20:28; โยฮัน 3:16; โรม 6:23) ของประทานอันล้ำเลิศเช่นนี้ย้ำชัดถึงความลึกซึ้งแห่งความรักของพระเจ้าต่อมนุษยชาติและรับประกันพระพรไม่รู้สิ้นสุดสำหรับทุกคนที่ฟังพระยะโฮวาอยู่เสมอ.—โรม 8:32.
หยั่งรู้ค่าของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์
9, 10. เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา? จงยกตัวอย่าง.
9 ของประทานด้วยความรักจากพระเจ้าอีกอย่างหนึ่งที่เราควรหยั่งรู้ค่าคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์. ในวันเพนเตคอสเตปีสากลศักราช 33 อัครสาวกเปโตรกระตุ้นเตือนผู้คนมากมายที่อยู่ในกรุงยะรูซาเลมว่า “จงกลับใจเสียใหม่และรับบัพติศมาในนามแห่งพระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน, เพื่อความผิดบาปของท่านจะทรงยกเสีย แล้วท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (กิจการ 2:38) ปัจจุบัน พระยะโฮวาประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้รับใช้ที่อุทิศตัวแด่พระองค์ซึ่งอธิษฐานขอและปรารถนาจะทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. (ลูกา 11:9-13) ในสมัยโบราณ พลังนี้ซึ่งเปี่ยมอานุภาพที่สุดในเอกภพ คือพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพลังปฏิบัติการของพระเจ้า ได้ช่วยชายหญิงที่มีความเชื่อรวมทั้งคริสเตียนในยุคแรกให้มีพลัง. (ซะคาระยา 4:6; กิจการ 4:31) พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถทำอย่างเดียวกันนั้นเพื่อเรา แม้ว่าเราอาจเผชิญอุปสรรคหรือข้อท้าทายที่น่าหวาดหวั่นในฐานะไพร่พลของพระยะโฮวา.—โยเอล 2:28, 29.
10 ขอให้นึกถึงตัวอย่างของลอเรล ซึ่งป่วยด้วยโรคโปลิโอและอยู่ในปอดเหล็กนานถึง 37 ปี. * แม้อยู่ในสภาพที่ต้องอดทนความลำบากอย่างแสนสาหัส เธอรับใช้พระเจ้าด้วยใจแรงกล้าจนกระทั่งเสียชีวิต. ตลอดเวลาหลายปี พระพรอันอุดมของพระยะโฮวาตกอยู่แก่ลอเรล. ตัวอย่างเช่น เธอสามารถช่วยถึง 17 คนให้มีความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิล แม้ว่าเธอต้องอยู่ในปอดเหล็กตลอด 24 ชั่วโมง! สภาพของเธอทำให้นึกถึงคำกล่าวของอัครสาวกเปาโลที่ว่า “ข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด, ข้าพเจ้าจึงแข็งแรงมากเมื่อนั้น.” (2 โกรินโธ 12:10) ถูกแล้ว ความสำเร็จใด ๆ ที่เราอาจประสบในการประกาศข่าวดีหาได้เกิดจากความสามารถ หรืออำนาจของเราเองไม่ หากแต่เป็นมาจากความช่วยเหลือของพระเจ้าโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระองค์โปรดประทานแก่คนที่ฟังพระสุรเสียงของพระองค์อยู่เสมอ.—ยะซายา 40:29-31.
11. คุณลักษณะอะไรที่พระวิญญาณของพระเจ้าก่อให้เกิดผลในคนเหล่านั้นที่สวมใส่ “บุคลิกภาพใหม่”?
11 หากเราเชื่อฟังพระเจ้าด้วยการฟังพระองค์ พระวิญญาณของพระองค์ก็จะก่อให้เกิดผลในตัวเราเป็นคุณลักษณะแห่งความรัก, ความยินดี, สันติสุข, ความอดกลั้นทนนาน, ความกรุณา, ความดี, ความเชื่อ, ความอ่อนโยน, และการรู้จักบังคับตน. (ฆะลาเตีย 5:22, 23, ล.ม.) “ผลแห่งพระวิญญาณ” นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “บุคลิกภาพใหม่” ที่คริสเตียนสวมใส่แทนลักษณะนิสัยใด ๆ ที่ละโมบแย่งชิงเยี่ยงสัตว์ป่าซึ่งพวกเขาอาจเคยมี. (เอเฟโซ 4:20-24, ล.ม.; ยะซายา 11:6-9) ผลพระวิญญาณที่สำคัญอย่างยิ่งคือความรัก “เครื่องผูกพันอันสมบูรณ์.”—โกโลซาย 3:14, ล.ม.
ความรักแบบคริสเตียน—ของประทานที่ควรทะนุถนอม
12. ตะบีธาและคริสเตียนคนอื่น ๆ ในศตวรรษแรกแสดงความรักอย่างไร?
12 ความรักแบบคริสเตียนเป็นของประทานอันเป็นพระพรอีกอย่างหนึ่งจากพระยะโฮวาซึ่งเราควรทะนุถนอม. ความรักแบบคริสเตียนถูกควบคุมโดยหลักการ แต่เต็มเปี่ยมด้วยความรักใคร่ถึงขนาดที่ชักนำผู้เชื่อถือทั้งหลายให้ใกล้ชิดสนิทสนมกันยิ่งกว่าที่สายสัมพันธ์ทางเนื้อหนังสามารถทำได้เสียอีก. (โยฮัน 15:12, 13; 1 เปโตร 1:22) ยกตัวอย่าง ขอให้นึกถึงตะบีธา สตรีคริสเตียนผู้แสนดีในศตวรรษแรก. “หญิงคนนี้เคยกระทำการอันเป็นคุณประโยชน์และให้ทานมามากแล้ว” โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ของหญิงม่ายในประชาคม. (กิจการ 9:36, ฉบับแปลใหม่) หญิงม่ายเหล่านี้อาจมีญาติฝ่ายเนื้อหนัง แต่ตะบีธาต้องการทำในสิ่งที่เธอทำได้เพื่อช่วยเหลือและหนุนใจคนเหล่านี้. (1 โยฮัน 3:18) ตะบีธาวางตัวอย่างที่ดีจริง ๆ! ความรักฉันพี่น้องกระตุ้นปริศกีลาและอะกูลาให้ “เสี่ยงชีวิตตน” เพื่อเปาโล. ความรักยังกระตุ้นเอปาฟรัส, ลูกา, โอเนซิโฟโร, และคนอื่น ๆ ให้ช่วยอัครสาวกเปาโลระหว่างที่ท่านถูกจำจองในกรุงโรม. (โรม 16:3, 4, ล.ม.; 2 ติโมเธียว 1:16; 4:11; ฟิเลโมน 23, 24) ถูกแล้ว คริสเตียนแบบนั้นในทุกวันนี้ “รักซึ่งกันและกัน” ซึ่งนับเป็นของประทานอันเป็นพระพรจากพระเจ้าซึ่งระบุตัวพวกเขาว่าเป็นสาวกแท้ของพระเยซู.—โยฮัน 13:34, 35.
13. เราจะแสดงอย่างไรว่าเราหยั่งรู้ค่าภราดรภาพคริสเตียนอย่างยิ่ง?
13 คุณเห็นคุณค่าความรักที่มีการแสดงออกในประชาคมฟิลิปปอย 1:9; เฮ็บราย 10:24, 25.
คริสเตียนไหม? คุณหยั่งรู้ค่าความเป็นพี่น้องฝ่ายวิญญาณซึ่งมีอยู่ทั่วโลกไหม? ทั้งสองสิ่งนี้เป็นของประทานจากเบื้องบนอันเป็นพระพรและทำให้เรามั่งคั่ง. เราจะแสดงอย่างไรว่าเราถือว่าทั้งสองสิ่งนี้มีค่ามาก? โดยถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้า, โดยร่วมการประชุมคริสเตียน, และโดยแสดงความรักและผลพระวิญญาณอื่น ๆ ของพระเจ้า.—“ของประทานในลักษณะมนุษย์”
14. มีข้อเรียกร้องอะไรสำหรับคริสเตียนที่จะรับใช้เป็นผู้ปกครองหรือผู้ช่วยงานรับใช้?
14 ผู้ชายคริสเตียนที่ปรารถนาจะรับใช้เพื่อนผู้นมัสการในฐานะผู้ปกครองหรือผู้ช่วยงานรับใช้มีเป้าหมายที่ดี. (1 ติโมเธียว 3:1, 8) เพื่อจะมีคุณวุฒิสำหรับสิทธิพิเศษดังกล่าว พี่น้องชายต้องเป็นมนุษย์ฝ่ายวิญญาณ, มีความรู้ในพระคัมภีร์ดี, และมีใจแรงกล้าในงานประกาศ. (กิจการ 18:24; 1 ติโมเธียว 4:15; 2 ติโมเธียว 4:5) เขาต้องแสดงความถ่อม, ความเจียมตัว, และความอดทน เพราะพระพรของพระเจ้าไม่ตกอยู่แก่คนที่ทำเกินสิทธิ์, หยิ่ง, และทะเยอทะยาน. (สุภาษิต 11:2; เฮ็บราย 6:15; 3 โยฮัน 9, 10) หากสมรสแล้ว เขาต้องเป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีความรัก สามารถดูแลทุกคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี. (1 ติโมเธียว 3:4, 5, 12) เนื่องจากเขาถือว่าความมั่งคั่งฝ่ายวิญญาณมีค่ามาก ชายที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นจึงมีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่จะได้รับพระพรจากพระยะโฮวา.—มัดธาย 6:19-21.
15, 16. ใครที่พิสูจน์ตัวว่าเป็น “ของประทานในลักษณะมนุษย์”? จงยกตัวอย่าง.
15 เมื่อผู้ที่รับใช้เป็นผู้ปกครองในประชาคมทุ่มเทตัวเองในฐานะผู้เผยแพร่กิตติคุณ, ผู้บำรุงเลี้ยง, และผู้สอน นั่นย่อมทำให้เรามีเหตุผลสมควรที่จะหยั่งรู้ค่าพวกเขาซึ่งเป็น “ของประทานในลักษณะมนุษย์.” (เอเฟโซ 4:8, 11, ล.ม.) ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการรับใช้อันเปี่ยมด้วยความรักของพวกเขาอาจไม่ได้แสดงความหยั่งรู้ค่าออกมาเสมอไป แต่พระยะโฮวาทรงเห็นทุกสิ่งที่เหล่าผู้ปกครองที่ซื่อสัตย์ทำ. พระองค์จะไม่ทรงลืมความรักที่พวกเขาแสดงเพื่อพระนามของพระองค์ด้วยการรับใช้ไพร่พลของพระองค์.—1 ติโมเธียว 5:17; เฮ็บราย 6:10.
16 ขอให้พิจารณากรณีซึ่งผู้ปกครองที่ทำงานหนักคนหนึ่งได้ไปเยี่ยมเด็กสาวคริสเตียนซึ่งกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดสมอง. เพื่อนคนหนึ่งของครอบครัวเขียนเล่าว่า “เขามีความกรุณา, เกื้อหนุน, และเอาใจใส่เหลือเกิน. เขาขออธิษฐานถึงพระยะโฮวาด้วยกันกับเรา. ขณะที่เขาอธิษฐาน พ่อของผู้ป่วย [ไม่ได้เป็นพยานพระยะโฮวา] สะอื้น และทุกคนที่อยู่ในห้องพยาบาลน้ำตาไหล. คำอธิษฐานของผู้ปกครองคนนั้นช่างอ่อนโยนจริง ๆ และนับเป็นความรักจริง ๆ ที่พระยะโฮวาส่งเขามาในเวลาเช่นนั้น!” ผู้ป่วยที่เป็นพยานฯ อีกคนหนึ่งกล่าวถึงผู้ปกครองที่ได้ไปเยี่ยมเธอว่า “เมื่อพวกผู้ปกครองมาเยี่ยมที่เตียงในห้องไอซียู ดิฉันรู้ว่านับแต่นั้นไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ดิฉันก็จะทนได้. ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองเข้มแข็งและสงบขึ้น.” มีใครสามารถซื้อความห่วงใยด้วยความรักเช่นนั้นได้ไหม? ไม่! นั่นเป็นของประทานจากพระเจ้าซึ่งทรงจัดให้ทางประชาคมคริสเตียน.—ยะซายา 32:1, 2.
ของประทานในงานประกาศ
17, 18. (ก) พระยะโฮวาทรงจัดให้มีของประทานแห่งการรับใช้อะไรสำหรับไพร่พลทุกคนของพระองค์? (ข) พระเจ้าทรงจัดให้มีความช่วยเหลือเช่นไรเพื่อเราจะสามารถบรรลุผลในงานรับใช้?
17 ไม่มีเกียรติที่ใหญ่กว่านี้ซึ่งสามารถให้แก่มนุษย์มากยิ่งไปกว่าเกียรติในการรับใช้พระยะโฮวา พระผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุด. (ยะซายา 43:10; 2 โกรินโธ 4:7; 1 เปโตร 2:9) อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษในการมีส่วนในงานเผยแพร่แก่สาธารณชนเปิดไว้สำหรับทุกคน—ทั้งวัยเยาว์และสูงอายุ ชายและหญิง—ทุกคนซึ่งมีความปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะรับใช้พระเจ้า. คุณใช้ประโยชน์จากของประทานที่มีค่ายิ่งนี้ไหม? บางคนอาจลังเลที่จะประกาศเนื่องจากเขารู้สึกว่ามีคุณวุฒิไม่พอ แต่ขอให้จำไว้ว่าพระยะโฮวาประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้ที่รับใช้พระองค์ และพระวิญญาณนั้นช่วยชดเชยให้ในส่วนใด ๆ ที่เราอาจขาดไป.—ยิระมะยา 1:6-8; 20:11.
18 พระยะโฮวาทรงมอบงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรแก่ผู้รับใช้ที่ถ่อมใจของพระองค์ ไม่ใช่แก่คนที่มีท่าทีเย่อหยิ่งและหมายพึ่งความสามารถของตนเอง. (1 โกรินโธ 1:20, 26-29) คนที่ถ่อมตัว เจียมตัว ยอมรับข้อจำกัดของตัวเองและหมายพึ่งความช่วยเหลือจากพระเจ้าเมื่อเขาร่วมในงานประกาศ. พวกเขาหยั่งรู้ค่าความช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณที่พระองค์ทรงจัดให้ทาง “คนต้นเรือนสัตย์ซื่อ” ด้วย.—ลูกา 12:42-44; สุภาษิต 22:4.
ชีวิตครอบครัวที่มีความสุข—ของประทานอันดี
19. ปัจจัยอะไรบ้างที่นำไปสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงดูบุตร?
19 ชีวิตสมรสและชีวิตครอบครัวที่เป็นสุขเป็นของประทานจากพระเจ้า. (ประวัตินางรูธ 1:9; เอเฟโซ 3:14, 15) บุตรก็เช่นกันเป็น “มรดกจากพระยะโฮวา” ที่ล้ำค่า นำความยินดีมาสู่บิดามารดาที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกฝังคุณลักษณะที่พระเจ้าพอพระทัยในตัวพวกเขา. (บทเพลงสรรเสริญ 127:3, ล.ม.) หากคุณเป็นบิดามารดา จงฟังพระสุรเสียงของพระยะโฮวาอยู่เสมอโดยฝึกอบรมบุตรที่เยาว์วัยตามพระคำของพระองค์. คนที่ทำอย่างนั้นย่อมได้รับการเกื้อหนุนและพระพรอันอุดมของพระยะโฮวาแน่นอน.—สุภาษิต 3:5, 6; 22:6; เอเฟโซ 6:1-4.
20. อะไรอาจเป็นประโยชน์สำหรับบิดามารดาที่บุตรหันเหไปจากการนมัสการแท้?
20 แม้ว่าบิดามารดาที่เกรงกลัวพระเจ้าพยายามพร่ำสอนด้วยความสำนึกในหน้าที่ อาจเป็นได้ที่บุตรบางคนเลือกที่จะหันเหไปจากการนมัสการแท้เมื่อเขาโตขึ้น. (เยเนซิศ 26:34, 35) เรื่องนี้อาจก่อผลเสียหายร้ายแรงทางอารมณ์แก่บิดามารดา. (สุภาษิต 17:21, 25) อย่างไรก็ตาม แทนที่จะเลิกหวังโดยสิ้นเชิง อาจเป็นประโยชน์ที่จะระลึกถึงอุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องบุตรสุรุ่ยสุร่าย. แม้ว่าบุตรนั้นจากบ้านไปและดำเนินชีวิตเหลวไหลตามใจ แต่ภายหลังเขากลับมาบ้าน และผู้เป็นบิดาก็รับเขากลับด้วยกิริยาอาการที่แสดงถึงความยินดีและความรัก. (ลูกา 15:11-32) ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บิดามารดาคริสเตียนที่ซื่อสัตย์สามารถมั่นใจว่าพระยะโฮวาทรงเข้าใจ, ทรงห่วงใยด้วยความรัก, และทรงอยู่พร้อมเสมอจะให้การเกื้อหนุน.—บทเพลงสรรเสริญ 145:14.
21. เราควรฟังผู้ใด และเพราะเหตุใด?
21 ดังนั้น ให้เราแต่ละคนตัดสินใจว่าอะไรสำคัญอย่างแท้จริงในชีวิตเรา. เรากำลังทุ่มเทเพื่อจะได้ความมั่งคั่งด้านวัตถุ ซึ่งอาจนำความทุกข์ปวดร้าวมาสู่ตัวเราและครอบครัวไหม? หรือเรากำลังแสวงหา ‘ของประทานอันดีและของประทานอันเลิศ’ ที่มาจาก “พระบิดาผู้ทรงบันดาลให้มีดวงสว่าง”? (ยาโกโบ 1:17) ซาตาน “พ่อของการมุสา” อยากเห็นเราตรากตรำทำงานหนักเพื่อความมั่งคั่งฝ่ายวัตถุและสูญเสียทั้งความสุขและชีวิต. (โยฮัน 8:44; ลูกา 12:15) อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยพวกเราอย่างแท้จริงและทรงประสงค์ให้เราได้รับสิ่งที่ดีที่สุด. (ยะซายา 48:17, 18) ดังนั้น ให้เราฟังพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักและ “ยังใจให้ชื่นชม” ในพระองค์เสมอ. (บทเพลงสรรเสริญ 37:4) หากเราดำเนินในแนวทางเช่นนั้น ของประทานอันล้ำค่าและพระพรอันอุดมของพระยะโฮวาจะทำให้เรามั่งคั่ง—และความมั่งคั่งดังกล่าวไม่มีความทุกข์เจ็บปวดใด ๆ แม้แต่น้อย.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 10 โปรดดู ตื่นเถิด! ฉบับ 8 กุมภาพันธ์ 1993 หน้า 12-15.
คุณจำได้ไหม?
• จะพบความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้จากที่ไหน?
• ของประทานบางอย่างที่พระยะโฮวาประทานแก่ไพร่พลของพระองค์คืออะไร?
• เหตุใดงานประกาศจึงเป็นของประทานอย่างหนึ่ง?
• บิดามารดาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อได้พระพรจากพระเจ้าขณะที่พวกเขาเลี้ยงดูบุตร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
คุณแสดงความหยั่งรู้ค่าของประทานจากพระเจ้าอันได้แก่พระคำที่เป็นลายลักษณ์อักษรไหม?
[ภาพหน้า 17]
แม้ว่าอยู่ในสภาพที่ลำบากอย่างยิ่ง ลอเรล นิสเบต รับใช้พระเจ้าด้วยใจแรงกล้า
[ภาพหน้า 18]
เช่นเดียวกับตะบีธา คริสเตียนในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องด้วยการกระทำอันเปี่ยมด้วยความรัก
[ภาพหน้า 19]
คริสเตียนผู้ปกครองห่วงใยเพื่อนร่วมความเชื่อด้วยความรัก