จงพัฒนาหัวใจของคุณให้เกรงกลัวพระยะโฮวา
จงพัฒนาหัวใจของคุณให้เกรงกลัวพระยะโฮวา
“ถ้าเพียงแต่เขาทั้งหลายจะพัฒนาหัวใจของเขาเพื่อจะเกรงกลัวเรา และรักษาข้อบัญญัติทั้งสิ้นของเราไว้เสมอ.”—พระบัญญัติ 5:29, ล.ม.
1. เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะมีวันหนึ่งที่ผู้คนจะมีเสรีภาพพ้นจากความกลัว?
ความกลัวได้รบกวนมนุษยชาติมาหลายศตวรรษ. ความกลัวที่มีต่อความหิว, โรคภัยไข้เจ็บ, อาชญากรรม, หรือสงครามทำให้ผู้คนหลายล้านคนกระวนกระวายอยู่โดยตลอด. ด้วยเหตุนี้เอง อารัมภบทของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงแสดงถึงความปรารถนาที่จะทำให้โลกเป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์ทั้งมวลจะมีเสรีภาพพ้นจากความกลัว. * น่ายินดี พระเจ้าเองทรงรับรองกับเราว่าจะมีโลกเช่นนั้นแม้ว่าไม่ใช่โดยความพยายามของมนุษย์. โดยทางผู้พยากรณ์มีคา พระยะโฮวาทรงสัญญากับเราว่าในโลกใหม่อันชอบธรรมของพระองค์ ‘จะไม่มีใครมาทำให้ไพร่พลของพระองค์สะดุ้งกลัว.’—มีคา 4:4, ฉบับแปลใหม่.
2. (ก) พระคัมภีร์กระตุ้นเราอย่างไรให้เกรงกลัวพระเจ้า? (ข) อาจเกิดคำถามอะไรขึ้นมาเมื่อเราพิจารณาพันธะที่เราจะเกรงกลัวพระเจ้า?
2 ในอีกด้านหนึ่ง ความกลัวอาจเป็นพลังในทางเสริมสร้างได้ด้วย. ในพระคัมภีร์ ผู้รับใช้ของพระเจ้าได้ถูกกระตุ้นครั้งแล้วครั้งเล่าให้เกรงกลัวพระยะโฮวา. โมเซกล่าวแก่ชาวอิสราเอลว่า “เจ้าจงเกรงกลัวพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า; และปฏิบัติพระองค์.” (พระบัญญัติ 6:13) หลายศตวรรษต่อมา ซะโลโมเขียนดังนี้: “จงเกรงกลัวพระเจ้าเที่ยงแท้และถือรักษาพระบัญชาของพระองค์. เพราะนี่คือพันธะทั้งสิ้นของมนุษย์.” (ท่านผู้ประกาศ 12:13, ล.ม.) โดยทางงานให้คำพยานของเรา ซึ่งทำภายใต้การดูแลของเหล่าทูตสวรรค์ เราก็กระตุ้นผู้คนทั้งปวงด้วยเช่นกันให้ “เกรงกลัวพระเจ้าและถวายเกียรติยศแด่พระองค์.” (วิวรณ์ 14:6, 7) นอกจากเกรงกลัวพระยะโฮวาแล้ว คริสเตียนต้องรักพระองค์ด้วยสิ้นสุดหัวใจ. (มัดธาย 22:37, 38) เราจะรักพระเจ้าและในขณะเดียวกันก็เกรงกลัวพระองค์ด้วยได้อย่างไร? เหตุใดจึงจำเป็นที่จะเกรงกลัวพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความรัก? เราได้รับประโยชน์เช่นไรจากการปลูกฝังความเกรงกลัวพระเจ้า? เพื่อจะตอบคำถามเหล่านี้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าความเกรงกลัวพระเจ้าหมายความอย่างไร และความกลัวแบบนี้เป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งของสัมพันธภาพที่เรามีกับพระยะโฮวาอย่างไร.
ความเกรงขาม, ความเคารพยำเกรง, และความเกรงกลัว
3. ความเกรงกลัวพระเจ้าหมายความอย่างไร?
3 ความเกรงกลัวพระเจ้าเป็นความรู้สึกที่คริสเตียนควรมีต่อพระผู้สร้าง. คำนิยามหนึ่งของความเกรงกลัวคือ “ความเกรงขามและความเคารพยำเกรงอย่างลึกซึ้งต่อพระผู้สร้างและกลัวว่าจะทำให้พระองค์ไม่พอพระทัย.” ฉะนั้น ความเกรงกลัวพระเจ้ามีผลกระทบต่อชีวิตเราในสองแง่มุมที่สำคัญ: เจตคติของเราต่อพระเจ้าและเจตคติของเราต่อการกระทำที่พระองค์ทรงเกลียด. เห็นได้ชัด ทั้งสองแง่นี้สำคัญและสมควรจะพิจารณาอย่างละเอียด. ตามที่พจนานุกรมอธิบายศัพท์คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ของไวน์ได้ชี้ไว้ สำหรับคริสเตียนความเคารพยำเกรงนี้เป็น ‘แรงกระตุ้นที่ควบคุมชีวิต ทั้งในเรื่องสิ่งฝ่ายวิญญาณและศีลธรรม.’
4. เราจะพัฒนาความรู้สึกเกรงขามและเคารพยำเกรงต่อพระผู้สร้างของเราได้โดยวิธีใด?
4 เราจะพัฒนาความรู้สึกเกรงขามและเคารพยำเกรงต่อพระผู้สร้างของเราได้โดยวิธีใด? เรารู้สึกเกรงขามเมื่อเราชมทัศนียภาพที่งดงาม, น้ำตกที่น่าประทับใจ, หรือดวงอาทิตย์อัสดงที่ตื่นตาตื่นใจ. ความรู้สึกนี้ทวีขึ้นไปอีกเมื่อเราสังเกตเข้าใจด้วยตาแห่งความเชื่อว่าพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่เบื้องหลังผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้. นอกจากนั้น เช่นเดียวกับกษัตริย์ดาวิด เรามองออกว่าเราเองไม่มีความสำคัญอะไรเมื่อเทียบกับสิ่งทรงสร้างที่น่าเกรงขามของพระยะโฮวา. “ขณะที่ข้าพเจ้าแลเห็นฟ้าสวรรค์ของพระองค์ บรรดาราชกิจแห่งนิ้วพระบทเพลงสรรเสริญ 8:3, 4, ล.ม.) ความเกรงขามอย่างลึกซึ้งนี้ทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ซึ่งกระตุ้นเราให้ขอบพระคุณและสรรเสริญพระยะโฮวาสำหรับทุกสิ่งที่พระองค์ทรงทำเพื่อเรา. ดาวิดเขียนไว้ด้วยว่า “ข้าพเจ้าจะสรรเสริญพระองค์ เพราะข้าพเจ้าถูกสร้างอย่างน่าพิศวงในวิธีที่น่าเกรงขาม. พระราชกิจของพระองค์เป็นที่น่าพิศวง ดังที่จิตวิญญาณของข้าพเจ้าตระหนักทีเดียว.”—บทเพลงสรรเสริญ 139:14, ล.ม.
หัตถ์ของพระองค์ ดวงจันทร์และดวงดาวทั้งหลายซึ่งพระองค์ได้ทรงจัดทำขึ้นไว้นั้นแล้ว มนุษย์ที่ต้องตายนั้นเป็นผู้ใดเล่าที่พระองค์ทรงระลึกถึงเขา?” (5. เหตุใดเราควรเกรงกลัวพระยะโฮวา และเรามีตัวอย่างที่ดีอะไรในเรื่องนี้?
5 ความรู้สึกเกรงขามและความเคารพยำเกรงก่อให้เกิดความกลัวอย่างเหมาะสมและอย่างที่นับถือต่อฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าในฐานะพระผู้สร้าง และต่ออำนาจของพระองค์ในฐานะผู้ครอบครองที่เที่ยงธรรมเหนือเอกภพ. ในนิมิตหนึ่ง อัครสาวกโยฮันเห็น “คนเหล่านั้นที่ประสบชัยชนะต่อสัตว์ร้าย และต่อรูปของมัน” ซึ่งก็คือเหล่าสาวกที่ได้รับการเจิมของพระคริสต์ซึ่งได้รับตำแหน่งในสวรรค์. พวกเขาประกาศว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการเจ้าข้า พระราชกิจของพระองค์ใหญ่และมหัศจรรย์. พระมหากษัตริย์แห่งนิรันดร์กาล พระมรคาของพระองค์ชอบธรรมและสัตย์จริง. พระยะโฮวา ผู้ใดเล่าจะไม่เกรงกลัวพระองค์อย่างแท้จริง และไม่เทิดทูนพระนามพระองค์?” (วิวรณ์ 15:2-4, ล.ม.) ความเกรงกลัวพระเจ้า ซึ่งเกิดจากความเคารพยำเกรงอย่างลึกซึ้งต่อราชอำนาจของพระองค์ ทำให้คนเหล่านี้ที่ร่วมปกครองกับพระคริสต์ในราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ถวายเกียรติแด่พระเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด. เมื่อเราพิจารณาทุกสิ่งที่พระยะโฮวาได้ทรงทำให้สำเร็จและวิธีอันชอบธรรมที่พระองค์ทรงควบคุมดูแลเอกภพ เรามีเหตุผลมากเกินพอมิใช่หรือที่จะเกรงกลัวพระองค์?—บทเพลงสรรเสริญ 2:11; ยิระมะยา 10:7.
6. เหตุใดเราควรกลัวว่าจะทำให้พระยะโฮวาไม่พอพระทัย?
6 แต่นอกจากจะเกรงขามและเคารพยำเกรงแล้ว ความเกรงกลัวพระเจ้าต้องรวมถึงการกลัวว่าจะทำให้พระองค์ไม่พอพระทัยหรือไม่เชื่อฟังพระองค์. เพราะเหตุใด? เพราะแม้ว่าพระยะโฮวา “ช้าในการโกรธและบริบูรณ์ด้วยความรักกรุณา” เราต้องจำไว้ว่า “พระองค์ไม่ทรงละเว้นการลงโทษเป็นอันขาด.” (เอ็กโซโด 34:6, 7, ล.ม.) แม้ว่าทรงเปี่ยมด้วยความรักและความเมตตา แต่พระยะโฮวาไม่ทรงยอมทนความอธรรมและการทำผิดอย่างจงใจ. (บทเพลงสรรเสริญ 5:4, 5; ฮะบาฆูค 1:13) คนที่ตั้งใจทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยะโฮวาและ ไม่กลับใจและคนที่ตั้งตัวต่อต้านพระองค์ไม่อาจจะรอดตัวไปได้โดยไม่ถูกลงโทษ. เป็นจริงดังที่อัครสาวกเปาโลกล่าวไว้ว่า “ซึ่งจะตกเข้าไปในพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่นั้นก็เป็นการน่ากลัว.” การกลัวว่าอาจตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นจะป้องกันเราไว้ในที่สุด.—เฮ็บราย 10:31.
‘จงติดสนิทอยู่กับพระองค์’
7. เรามีเหตุผลอะไรบ้างสำหรับการไว้วางใจอำนาจในการช่วยให้รอดของพระยะโฮวา?
7 เพื่อจะมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในพระยะโฮวาได้ ต้องมีความเคารพยำเกรงพระเจ้าและการตระหนักถึงฤทธิ์อำนาจอันน่าเกรงขามของพระองค์ก่อน. เช่นเดียวกับเด็กเล็กรู้สึกว่าได้รับการปกป้องเมื่อบิดาอยู่ใกล้ ๆ เรารู้สึกปลอดภัยและมั่นใจภายใต้การชี้นำจากพระหัตถ์ของพระยะโฮวา. โปรดสังเกตวิธีที่ชาวอิสราเอลแสดงปฏิกิริยาหลังจากที่พระยะโฮวาทรงนำพวกเขาออกจากอียิปต์: “เมื่อชนชาติยิศราเอลได้เห็นการใหญ่ซึ่งพระยะโฮวาได้ทรงกระทำแก่ชาวอายฆุบโต, เขามีความเกรงกลัวพระยะโฮวา: ได้เชื่อถือพระองค์.” (เอ็กโซโด 14:31) ประสบการณ์ของอะลีซาก็เป็นหลักฐานด้วยถึงข้อเท็จจริงที่ว่า “ทูตของพระยะโฮวาแวดล้อมเหล่าคนที่ยำเกรงพระองค์, และทรงช่วยเขาให้พ้นจากภัยอันตราย.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:7; 2 กษัตริย์ 6:15-17) ประวัติศาสตร์ในสมัยปัจจุบันของไพร่พลพระยะโฮวาและประสบการณ์ของเราเองยืนยันว่าพระเจ้าทรงแสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของผู้ที่รับใช้พระองค์. (2 โครนิกา 16:9) ด้วยเหตุนั้น เราได้มาเข้าใจว่า “ความวางใจที่มั่นคง; อยู่ในการยำเกรงพระยะโฮวา.”—สุภาษิต 14:26.
8. (ก) เหตุใดความเกรงกลัวพระเจ้ากระตุ้นเราให้ดำเนินในทางของพระองค์? (ข) จงอธิบายว่าเราควร “ติดสนิท” อยู่กับพระยะโฮวาอย่างไร.
8 ความกลัวอย่างเหมาะสมต่อพระเจ้าไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในพระองค์ แต่ยังกระตุ้นเราให้ดำเนินในทางของพระองค์. เมื่อซะโลโมเฉลิมฉลองพระวิหาร ท่านทูลอธิษฐานต่อพระยะโฮวาว่า “เพื่อ [ชาวอิสราเอล] จะได้เกรงกลัวพระองค์, และดำเนินตามพระบัญญัติของพระองค์สิ้นวันทั้งหลายที่เขาจะมีชีวิตดำรงอยู่ในแผ่นดินที่พระองค์ได้ทรงมอบไว้แก่ปู่ย่าตายายของพวกข้าพเจ้า.” (2 โครนิกา 6:31) ก่อนหน้านั้น โมเซกระตุ้นชาวอิสราเอลว่า “ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านและยำเกรงพระองค์และรักษาพระบัญญัติของพระองค์และเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์และท่านจงปรนนิบัติพระองค์และติดสนิทอยู่กับพระองค์.” (พระบัญญัติ 13:4, ฉบับแปลใหม่) ดังที่ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้แสดงไว้อย่างชัดเจน ความปรารถนาที่จะดำเนินในทางของพระยะโฮวาและ “ติดสนิท” อยู่กับพระองค์เกิดจากความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในพระเจ้า. ใช่แล้ว ความเกรงกลัวพระเจ้านำเราให้เชื่อฟังพระยะโฮวา, รับใช้พระองค์, และติดสนิทอยู่กับพระองค์ เช่นเดียวกับที่เด็กเล็กอาจเกาะติดบิดาซึ่งเขาไว้วางใจและเชื่อมั่นอย่างเต็มที่.—บทเพลงสรรเสริญ 63:8; ยะซายา 41:13.
เพื่อจะรักพระเจ้าต้องเกรงกลัวพระองค์
9. ความรักพระเจ้ากับความเกรงกลัวพระเจ้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
9 จากทัศนะของพระคัมภีร์ การเกรงกลัวพระเจ้าไม่ได้หมายความว่าเราจะรักพระองค์ไม่ได้. ตรงกันข้าม ชาวอิสราเอลได้รับพระบัญชาให้ ‘เกรงกลัวพระยะโฮวา ดำเนินในทางทั้งปวงของพระองค์ และรักพระองค์.’ (พระบัญญัติ 10:12) ดังนั้น การเกรงกลัวพระเจ้าและการรักพระเจ้าเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด. การเกรงกลัวพระเจ้ากระตุ้นเราให้ดำเนินในทางของพระองค์ และนั่นเป็นหลักฐานถึงความรักของเราที่มีต่อพระองค์. (1 โยฮัน 5:3) นี่เป็นเรื่องที่มีเหตุผล เพราะเมื่อเรารักใครคนหนึ่ง เรากลัวว่าจะทำอะไรให้เขาเสียใจ. ชาวอิสราเอลทำให้พระยะโฮวาเจ็บปวดพระทัยด้วยแนวทางแห่งการขืนอำนาจของพวกเขาในถิ่นทุรกันดาร. แน่นอน เราไม่ปรารถนาจะทำสิ่งใดที่นำความโศกเศร้าเช่นนั้นมาสู่พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 78:40, 41) ในอีกด้านหนึ่ง เนื่องจาก “พระยะโฮวาทรงยินดีในคนที่เกรงกลัวพระองค์” การเชื่อฟังและความซื่อสัตย์ของเราทำให้พระทัยของพระองค์ยินดี. (บทเพลงสรรเสริญ 147:11; สุภาษิต 27:11) ความรักพระเจ้ากระตุ้นเราให้ประพฤติอย่างที่พระองค์พอพระทัย และความเกรงกลัวพระเจ้าเหนี่ยวรั้งเราไว้จากการทำให้พระองค์เจ็บปวดพระทัย. คุณลักษณะทั้งสองอย่างนี้ไม่ขัดแย้งกัน หากแต่เสริมกัน.
10. พระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์ทรงยินดีในการเกรงกลัวพระยะโฮวา?
10 วิถีชีวิตของพระเยซูคริสต์แสดงอย่างชัดเจนถึงวิธีที่เราสามารถรักพระเจ้าและในขณะเดียวกันก็เกรงกลัวพระองค์. ผู้พยากรณ์ยะซายาเขียนเกี่ยวกับพระเยซูดังนี้: “พระวิญญาณของพระยะโฮวาจะลงมาบนท่าน วิญญาณแห่งปัญญาและความเข้าใจ วิญญาณแห่งคำแนะนำและฤทธานุภาพ วิญญาณยะซายา 11:2, 3, ล.ม.) ตามคำพยากรณ์นี้ พระวิญญาณของพระเจ้ากระตุ้นพระเยซูให้เกรงกลัวพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์. นอกจากนั้น เราสังเกตว่าความเกรงกลัวนี้เป็นที่มาของความอิ่มใจยินดี ไม่ใช่ภาระหนักแต่อย่างใด. พระเยซูทรงพบความยินดีในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าและในการทำให้พระองค์พอพระทัย แม้แต่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากที่สุด. เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่พระองค์กำลังจะถูกประหารบนหลักทรมาน พระองค์ทรงทูลต่อพระยะโฮวาว่า “อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพเจ้า, แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์.” (มัดธาย 26:39) เนื่องด้วยความเกรงกลัวพระเจ้าเช่นนี้ พระยะโฮวาทรงสดับฟังคำวิงวอนของพระบุตรด้วยความพอพระทัย, เสริมความเข้มแข็งให้พระองค์, และช่วยพระองค์ให้พ้นจากความตาย.—เฮ็บราย 5:7.
แห่งความรู้และความเกรงกลัวพระยะโฮวา; และความชื่นชมจะมีแก่ผู้นั้นในความเกรงกลัวพระยะโฮวา.” (เรียนรู้ที่จะเกรงกลัวพระยะโฮวา
11, 12. (ก) เพราะเหตุใดเราต้องเรียนรู้ที่จะเกรงกลัวพระเจ้า? (ข) พระเยซูทรงสอนเราอย่างไรให้เกรงกลัวพระยะโฮวา?
11 ไม่เหมือนกับความเกรงขามที่มีโดยสัญชาตญาณซึ่งเรารู้สึกเมื่อเผชิญกับอำนาจและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ความเกรงกลัวพระเจ้าไม่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ. นั่นเป็นเหตุที่พระเยซูคริสต์ ดาวิดผู้ยิ่งใหญ่ ทรงเชิญเราเป็นเชิงพยากรณ์ดังนี้: “บุตรทั้งหลายเอ๋ย, จงมาฟังคำข้าเถิด: ข้าจะสอนให้เจ้ารู้ถึงความเกรงกลัวพระยะโฮวา.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:11) เราจะเรียนจากพระเยซูที่จะเกรงกลัวพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด?
12 พระเยซูทรงสอนเราให้เกรงกลัวพระยะโฮวาโดยช่วยเราให้เข้าใจบุคลิกภาพอันยอดเยี่ยมของพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา. (โยฮัน 1:18) ตัวอย่างของพระเยซูเองเผยให้เห็นว่าพระเจ้าทรงคิดและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร เพราะพระเยซูทรงสะท้อนบุคลิกภาพของพระบิดาอย่างสมบูรณ์แบบ. (โยฮัน 14:9, 10) นอกจากนั้น โดยทางเครื่องบูชาของพระเยซู เราสามารถเข้าเฝ้าพระยะโฮวาได้เมื่อเราอธิษฐานขออภัยโทษบาปของเรา. ลำพังการแสดงอันโดดเด่นเกี่ยวกับความเมตตาของพระเจ้านี้ก็นับเป็นเหตุผลที่มีพลังมากพออยู่แล้วที่จะเกรงกลัวพระองค์. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “พระองค์ทรงมีการอภัยโทษ, ประสงค์จะให้เขาทั้งหลายเกรงกลัวพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 130:4.
13. มีขั้นตอนอะไรบ้างที่กล่าวไว้คร่าว ๆ ในพระธรรมสุภาษิตซึ่งช่วยเราให้เกรงกลัวพระยะโฮวา?
13 พระธรรมสุภาษิตกล่าวคร่าว ๆ ถึงขั้นตอนต่าง ๆ ที่ช่วยเราได้ให้พัฒนาความเกรงกลัวพระเจ้า. “ศิษย์ของเราเอ๋ย, ถ้าเจ้าจะรับคำของเรา, และจะรักษาบัญญัติของเราไว้กับเจ้า; ยอมที่จะตะแคงหูของเจ้าลงฟังพระปัญญา, และน้อมใจของเจ้าลงเพื่อความเข้าใจ; เออ, ถ้าเจ้าจะร้องหาความรู้, และส่งเสียงของเจ้าวอนหาความเข้าใจ; . . . เมื่อนั้นเจ้าจะเข้าใจความยำเกรงพระยะโฮวา, และจะพบความรู้ของพระเจ้า.” (สุภาษิต 2:1-5) ด้วยเหตุนั้น เพื่อจะเกรงกลัวพระเจ้าเราต้องศึกษาพระคำของพระองค์, เพียรพยายามอย่างจริงจังเพื่อเข้าใจคำสอนของพระคำนั้น, และเอาใจใส่คำแนะนำนั้นให้ดี.
14. เราจะทำตามคำแนะนำที่ได้ให้ไว้กับกษัตริย์ชาติอิสราเอลได้อย่างไร?
14 กษัตริย์ชาติอิสราเอลโบราณทุกองค์ได้รับพระบัญชาให้คัดลอกพระบัญญัติและ “อ่านพระบัญญัตินั้นมิได้ขาดจนสิ้นชีวิต; เพื่อจะได้เรียนการที่จะเกรงกลัวพระยะโฮวาพระเจ้าของตน, และจะได้รักษาบรรดาถ้อยคำในพระบัญญัติ.” (พระบัญญัติ 17:18, 19) การอ่านและการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลสำคัญสำหรับเราเช่นกันหากเราต้องการเรียนรู้ที่จะเกรงกลัวพระยะโฮวา. เมื่อเราใช้หลักการของคัมภีร์ไบเบิลในชีวิต เราก็จะได้รับสติปัญญาและความรู้ของพระเจ้าทีละเล็กทีละน้อย. เราจะ “เข้าใจความยำเกรงพระยะโฮวา” เพราะเราเห็นผลดีที่ความเกรงกลัวพระเจ้าก่อให้เกิดขึ้นในชีวิตเรา และเราถือว่าสัมพันธภาพของเรากับพระเจ้านั้นมีค่ายิ่ง. นอกจากนั้น โดยเข้าร่วมประชุมเป็นประจำกับเพื่อนร่วมความเชื่อ ทั้งผู้เยาว์และผู้สูงอายุสามารถฟังคำสอนของพระเจ้า, เรียนรู้ที่จะเกรงกลัวพระเจ้า, และดำเนินในทางของพระองค์.—พระบัญญัติ 31:12.
ความสุขมีแก่ทุกคนที่เกรงกลัวพระยะโฮวา
15. ความเกรงกลัวพระเจ้าเกี่ยวข้องอย่างไรกับการที่เรานมัสการพระองค์?
15 จากตอนต้น เราเห็นได้ว่าความเกรงกลัวพระเจ้าเป็นเจตคติที่ดีซึ่งเราทุกคนควรปลูกฝัง เนื่องจากความเกรงกลัวพระเจ้าเป็นส่วนสำคัญแห่งการนมัสการพระยะโฮวาของเรา. ความเกรงกลัวพระเจ้านำเราให้ไว้วางใจพระองค์โดยปราศจากข้อสงสัย, ดำเนินในทางของพระองค์, และติดสนิทอยู่กับพระองค์. ดังที่เป็นจริงกับพระเยซูคริสต์ ความเกรงกลัวพระเจ้าสามารถกระตุ้นเราด้วยให้ทำตามคำปฏิญาณในการอุทิศตัวของเราได้สำเร็จในขณะนี้และตลอดชั่วนิรันดร์.
16. เหตุใดพระยะโฮวาทรงสนับสนุนเราให้เกรงกลัวพระองค์?
16 ความเกรงกลัวพระเจ้าไม่มีอะไรไม่ดีงามหรือจำกัดเราจนเกินควร. คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่า “ทุก ๆ คนที่เกรงกลัวพระยะโฮวา, และที่ดำเนินตามมรคาของพระองค์, ก็เป็นผาสุก.” (บทเพลงสรรเสริญ 128:1) พระยะโฮวาทรงสนับสนุนเราให้เกรงกลัวพระองค์ เพราะพระองค์ทรงทราบว่าคุณลักษณะนี้จะปกป้องเราไว้. เราสังเกตความห่วงใยด้วยความรักในพระดำรัสของพระองค์ที่ตรัสแก่โมเซว่า “ถ้าเพียงแต่เขาทั้งหลาย [ชาวอิสราเอล] จะพัฒนาหัวใจของเขาเพื่อจะเกรงกลัวเรา และรักษาข้อบัญญัติทั้งสิ้นของเราไว้เสมอ เพื่อเขาและบุตรหลานของเขาจะจำเริญตลอดไปไม่มีเวลากำหนด!”—พระบัญญัติ 5:29, ล.ม.
17. (ก) เราได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการเกรงกลัวพระเจ้า? (ข) จะมีการพิจารณาความเกรงกลัวพระเจ้าในแง่ใดในบทความถัดไป?
17 คล้ายคลึงกัน หากเราพัฒนาหัวใจของเราให้เกรงกลัวพระเจ้า ชีวิตเราจะมีความสุขความเจริญ. โดยวิธีใด? ประการแรก เจตคติเช่นนั้นจะทำให้พระเจ้าพอพระทัยและจะชักนำเราให้เข้าใกล้ชิดพระองค์. ดาวิดทราบจากประสบการณ์ของท่านเองว่า “พระองค์จะทรงโปรดแก่คนทั้งหลายที่เกรงกลัวพระองค์ให้ได้สมปรารถนา และจะทรงสดับเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเขา และพระองค์จะทรงช่วยเขาให้รอด.” (บทเพลงสรรเสริญ 145:19, ล.ม.) ประการที่สอง ความเกรงกลัวพระเจ้าจะให้ประโยชน์แก่เราเพราะจะมีผลกระทบเจตคติของเราต่อสิ่งชั่ว. (สุภาษิต 3:7) บทความถัดไปจะตรวจสอบวิธีที่ความเกรงกลัวนี้ช่วยคุ้มครองเราไว้จากอันตรายฝ่ายวิญญาณ และจะทบทวนตัวอย่างของบางคนในพระคัมภีร์ที่เกรงกลัวพระเจ้าและหันหนีจากสิ่งชั่ว.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในวันที่ 10 ธันวาคม 1948.
คุณตอบคำถามต่อไปนี้ได้ไหม?
• ความเกรงกลัวพระเจ้าหมายความอย่างไร และความเกรงกลัวนี้มีผลต่อเราอย่างไร?
• ความเกรงกลัวพระเจ้ากับการดำเนินกับพระเจ้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
• ตัวอย่างของพระเยซูแสดงให้เห็นอย่างไรว่าความเกรงกลัวพระเจ้าเกี่ยวข้องกับความรักพระเจ้า?
• เราจะพัฒนาหัวใจของเราให้เกรงกลัวพระยะโฮวาได้โดยวิธีใดบ้าง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
กษัตริย์ชาติอิสราเอลได้รับพระบัญชาให้คัดลอกพระบัญญัติฉบับส่วนตัวและอ่านทุกวัน
[ภาพหน้า 18]
ความเกรงกลัวพระยะโฮวานำเราให้ไว้วางใจพระองค์เช่นเดียวกับที่บุตรไว้วางใจบิดา
[ที่มาของภาพหน้า 15]
Stars: Photo by Malin, © IAC/RGO 1991