จงสำแดงความดีต่อ ๆ ไป
จงสำแดงความดีต่อ ๆ ไป
“ผลของความสว่างนั้นคือความดีทุกอย่างและความชอบธรรมและความจริง.”—เอเฟโซ 5:9.
1. หลายล้านคนในเวลานี้แสดงอย่างไรว่าพวกเขาเห็นด้วยกับบทเพลงสรรเสริญ 31:19?
ความดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์สามารถทำได้คือการถวายเกียรติแด่พระยะโฮวา. ปัจจุบัน หลายล้านคนกำลังทำอย่างนี้ด้วยการสรรเสริญพระเจ้าสำหรับความดีของพระองค์. ในฐานะพยานผู้ภักดีของพระยะโฮวา เราเห็นด้วยอย่างสุดหัวใจกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งร้องเพลงดังนี้: “ความดีของพระองค์มากยิ่งเท่าใด ที่พระองค์ได้สงวนไว้สำหรับเหล่าคนที่เกรงกลัวพระองค์!”—บทเพลงสรรเสริญ 31:19, ล.ม.
2, 3. อาจเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่ได้เสริมงานทำให้คนเป็นสาวกด้วยความประพฤติที่ดี?
2 ความยำเกรงพระยะโฮวากระตุ้นเราให้สรรเสริญพระองค์สำหรับความดีของพระองค์. ความยำเกรงพระยะโฮวายังกระตุ้นเราด้วยให้ ‘สรรเสริญพระยะโฮวา, ถวายเกียรติยศแด่พระองค์, และประกาศสง่าราศีแห่งฐานะกษัตริย์ของพระองค์.’ (บทเพลงสรรเสริญ 145:10-13, ล.ม.) นั่นเป็นเหตุที่เรามีส่วนร่วมด้วยใจแรงกล้าในการประกาศเรื่องราชอาณาจักรและงานทำให้คนเป็นสาวก. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) แน่นอน กิจกรรมการประกาศของเราต้องได้รับการเสริมโดยความประพฤติที่ดี. หาไม่แล้ว เราอาจนำคำตำหนิมาสู่พระนามอันบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา.
3 หลายคนอ้างว่านมัสการพระเจ้า แต่ความประพฤติของพวกเขาไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่วางไว้ในพระคำของพระองค์ซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจ. อัครสาวกเปาโลเขียนเกี่ยวกับบางคนที่ไม่ดำเนินชีวิตสมกับที่พวกเขาอ้างว่าตนได้ทำดีดังนี้: “ท่านผู้สอนคนอื่นไม่ได้สอนตัวเองหรือ ท่านผู้ประกาศว่าไม่ควรลักทรัพย์, ตัวท่านเองยังลักหรือ ท่านผู้สอนว่าไม่ควรล่วงประเวณี, ตัวท่านเองล่วงประเวณีหรือ . . . คนต่างประเทศพูดหยาบคายต่อพระนามของพระเจ้าก็เพราะท่าน, ดังที่มีคำจารึกไว้แล้ว.”—โรม 2:21, 22, 24.
4. ความประพฤติที่ดีของเราก่อผลเช่นไร?
4 แทนที่จะนำคำตำหนิมาสู่พระนามของพระยะโฮวา เราพยายามถวายเกียรติแด่พระนามของพระองค์ด้วยความประพฤติที่ดีของเรา. การทำอย่างนี้มีผลดีต่อคนที่อยู่ภายนอกประชาคมคริสเตียน. ประการหนึ่งคือ ความประพฤติที่ดีทำให้ผู้ที่ต่อต้านเราเงียบเสียงลง. (1 เปโตร 2:15) ที่สำคัญกว่านั้น ความประพฤติที่ดีของเราชักนำผู้คนมาสู่องค์การของพระยะโฮวา เปิดทางแก่พวกเขาให้ถวายเกียรติยศแด่พระองค์และได้รับชีวิตนิรันดร์.—กิจการ 13:48.
5. เราควรพิจารณาคำถามอะไรในตอนนี้?
5 เนื่องจากเราไม่สมบูรณ์ โดยวิธีใดเราจึงจะสามารถหลีกเลี่ยงความประพฤติที่อาจหลู่เกียรติพระยะโฮวาและอาจทำให้คนที่แสวงหาความจริงสะดุด? อันที่จริง เราจะประสบความสำเร็จในการแสดงความดีได้อย่างไร?
ผลของความสว่าง
6. “การงานที่ไร้ผลซึ่งเป็นของความมืด” มีอะไรบ้าง แต่ผลเช่นไรที่น่าจะปรากฏเด่นชัดในท่ามกลางคริสเตียน?
6 ในฐานะคริสเตียนผู้อุทิศตัว เรามีบางสิ่งที่ช่วยเราให้หลีกเลี่ยง “การงานที่ไร้ผลซึ่งเป็นของความมืด.” การงานเอเฟโซ 4:25, 28, 31; 5:3, 4, 11, 12, 18, ล.ม.) แทนที่เราจะพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำเช่นนั้น เรา “ประพฤติอย่างลูกของความสว่าง” ต่อ ๆ ไป. อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “ผลของความสว่างนั้นคือความดีทุกอย่างและความชอบธรรมและความจริง.” (เอเฟโซ 5:8, 9) ดังนั้น โดยการดำเนินในความสว่างเราจะสามารถแสดงความดีได้ต่อ ๆ ไป. แต่ความสว่างดังกล่าวเป็นความสว่างแบบใด?
เช่นนี้รวมถึงการกระทำที่หลู่เกียรติพระเจ้า เช่น การโกหก, การลักขโมย, การพูดหยาบหยาม, การพูดคุยกันเรื่องเพศอย่างที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม, การกระทำอันน่าละอาย, การพูดตลกโลนลามก, และการเมาเหล้า. (7. เราต้องทำเช่นไรเพื่อจะแสดงผลแห่งความดีต่อ ๆ ไป?
7 แม้ว่าเราไม่สมบูรณ์ เราสามารถแสดงความดีหากเราดำเนินในความสว่างฝ่ายวิญญาณ. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงดังนี้: “พระวจนะของพระองค์เป็นโคมสำหรับเท้าของข้าพเจ้า, และเป็นแสงสว่างตามทางของข้าพเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:105) หากเราต้องการดำเนินต่อ ๆ ไปในการแสดง “ผลของความสว่าง” โดยทาง “ความดีทุกอย่าง” เราต้องรับประโยชน์อย่างสม่ำเสมอจากความสว่างฝ่ายวิญญาณที่พบในพระคำของพระเจ้า, ที่มีการตรวจสอบอย่างละเอียดในสรรพหนังสือคริสเตียน, และที่มีการพิจารณากันเป็นประจำ ณ การประชุมเพื่อการนมัสการของเรา. (ลูกา 12:42; โรม 15:4; เฮ็บราย 10:24, 25) เรายังจำเป็นต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วยต่อตัวอย่างและคำสอนของพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็น “ความสว่างของโลก” และ “ภาพสะท้อนแห่งสง่าราศีของ [พระยะโฮวา].”—โยฮัน 8:12; เฮ็บราย 1:1-3, ล.ม.
ผลแห่งพระวิญญาณประการหนึ่ง
8. เหตุใดเราสามารถแสดงความดี?
8 ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสว่างฝ่ายวิญญาณช่วยเราให้แสดงความดี. นอกจากนั้น เรายังสามารถแสดงคุณลักษณะนี้เพราะเราได้รับการนำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพลังปฏิบัติการของพระเจ้า. ความดีเป็นส่วนหนึ่งของ “ผลแห่งพระวิญญาณ.” (ฆะลาเตีย 5:22, 23, ล.ม.) หากเราน้อมรับการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา พระวิญญาณก็จะก่อให้เกิดผลแห่งความดีอันยอดเยี่ยมขึ้นในเรา.
9. เราจะปฏิบัติสอดคล้องกับคำตรัสของพระเยซูดังบันทึกไว้ที่ลูกา 11:9-13 ได้อย่างไร?
9 ความปรารถนาอันแรงกล้าของเราที่จะทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยโดยการแสดงความดีซึ่งเป็นผลแห่งพระวิญญาณควรกระตุ้นเราให้ปฏิบัติสอดคล้องกับคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “จงขอแล้วจะได้, จงหาแล้วจะพบ, จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน. เพราะว่าทุกคนที่ขอก็จะได้, ทุกคนที่แสวงหาก็จะพบ, และทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา. มีผู้ใดในพวกท่านที่เป็นบิดา, ถ้า [บุตร] ขอปลาจะเอางูให้เขาแทนปลาหรือ หรือถ้าขอไข่จะเอาแมงป่องให้เขาหรือ เหตุฉะนั้นถ้าท่านเองผู้เป็นคน [ไม่สมบูรณ์ และด้วยเหตุนั้นจึงเป็นคน] บาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน, ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.” (ลูกา 11:9-13) ให้เราทำตามคำแนะนำของพระเยซูโดยอธิษฐานขอพระวิญญาณของพระยะโฮวา เพื่อเราจะสามารถแสดงความดีซึ่งเป็นผลแห่งพระวิญญาณต่อ ๆ ไป.
“จงทำการดีต่อ ๆ ไป”
10. แง่มุมใดในความดีของพระยะโฮวาซึ่งได้กล่าวไว้ที่เอ็กโซโด 34:6, 7?
10 ด้วยความสว่างฝ่ายวิญญาณจากพระคำของพระเจ้าและด้วยความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า เราสามารถ “ทำการดีต่อ ๆ ไป.” (โรม 13:3, ล.ม.) โดยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ เราเรียนรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถเลียนแบบอย่างความดีของพระยะโฮวา. บทความก่อนพิจารณาแง่มุมบางอย่างเกี่ยวกับความดีของพระเจ้าซึ่งได้กล่าวไว้ในคำประกาศต่อโมเซดังบันทึกไว้ที่เอ็กโซโด 34:6, 7 (ล.ม.) ซึ่งเราอ่านดังนี้: “ยะโฮวา ยะโฮวา พระเจ้าผู้ทรงเมตตาและสุภาพอ่อนโยน ช้าในการโกรธและบริบูรณ์ด้วยความรักกรุณาและความจริง คงรักษาความรักกรุณาไว้ให้กับคนนับพัน ทรงโปรดยกโทษความผิดพลาดและการล่วงละเมิดและบาป แต่พระองค์ไม่ทรงละเว้นการลงโทษเป็นอันขาด.” การพิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้นในแง่มุมเหล่านี้เกี่ยวกับความดีของพระยะโฮวาจะช่วยเราให้ “ทำการดีต่อ ๆ ไป.”
11. เราควรได้รับผลกระทบอย่างไรจากการทราบว่าพระยะโฮวาทรงเมตตาและสุภาพอ่อนโยน?
11 คำประกาศนี้ของพระเจ้ากระตุ้นเราให้ตื่นตัวต่อความจำเป็นที่จะเลียนแบบอย่างของพระยะโฮวาโดยการแสดงความเมตตา และความสุภาพอ่อนโยน. พระเยซูตรัสว่า “บุคคลผู้ใดมีใจเมตตาปรานีก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้รับความเมตตาปรานีเหมือนกัน.” (มัดธาย 5:7; ลูกา 6:36) โดยสำนึกว่าพระยะโฮวาทรงสุภาพอ่อนโยน เราถูกกระตุ้นให้แสดงความสุภาพอ่อนโยนและความเป็นมิตรในการปฏิบัติต่อผู้อื่น รวมทั้งต่อคนที่เราพบในการประกาศด้วย. ทั้งนี้สอดคล้องกับคำแนะนำของเปาโลที่ว่า “ให้วาจาของท่านทั้งหลายประกอบด้วยความสุภาพอ่อนโยนเสมอ ปรุงรสด้วยเกลือ เพื่อจะรู้ว่าท่านควรให้คำตอบแต่ละคนอย่างไร.”—โกโลซาย 4:6, ล.ม.
12. (ก) เนื่องจากพระเจ้าทรงพิโรธช้า เราควรปฏิบัติอย่างไรต่อผู้อื่น? (ข) ความรักกรุณาของพระยะโฮวากระตุ้นเราให้ทำอะไร?
12 เนื่องจากพระเจ้าทรงพิโรธช้า ความปรารถนาของเราในการ “ทำการดีต่อ ๆ ไป” จึงกระตุ้นเราให้อดทนกับข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเพื่อนร่วมความเชื่อและมุ่งความสนใจไปยังคุณลักษณะที่ดีของพวกเขา. (มัดธาย 7:5; ยาโกโบ 1:19) ความรักกรุณา ของพระยะโฮวากระตุ้นเราให้แสดงความรักภักดี แม้แต่ในสภาพการณ์ที่ยุ่งยากที่สุด. คุณลักษณะนี้เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาอย่างยิ่งแน่นอน.—สุภาษิต 19:22.
13. เราควรประพฤติอย่างไรเพื่อสะท้อนว่าพระยะโฮวา ‘ทรงบริบูรณ์ด้วยความจริง’?
13 เนื่องจากพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา‘ทรงบริบูรณ์ด้วยความจริง’ เราพยายาม ‘แนะนำตัวเองว่าเป็นผู้รับใช้ของพระองค์โดยถ้อยคำอันสัตย์จริง.’ (2 โกรินโธ 6:3-7) ในบรรดาเจ็ดสิ่งที่น่าเกลียดต่อพระยะโฮวานั้น มี “ลิ้นพูดปด” และ “พยานเท็จที่ระบายลมออกมาเป็นคำเท็จ” รวมอยู่ด้วย. (สุภาษิต 6:16-19) ดังนั้น ความปรารถนาของเราที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัยกระตุ้นเราให้ ‘เลิกการพูดมุสาเสียและพูดความจริง.’ (เอเฟโซ 4:25) ขอเราอย่าละเลยการแสดงความดีในวิธีที่สำคัญนี้.
14. เหตุใดเราควรให้อภัย?
14 คำประกาศของพระเจ้าต่อโมเซควรกระตุ้นเราด้วยที่จะให้อภัย เพราะพระยะโฮวาทรงพร้อมจะให้อภัย. (มัดธาย 6:14, 15) แน่นอน พระยะโฮวาทรงลงโทษผู้ทำบาปที่ไม่กลับใจ. ด้วยเหตุนั้น เราต้องยึดมั่นอยู่กับมาตรฐานแห่งความดีของพระองค์ที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดฝ่ายวิญญาณของประชาคม.—เลวีติโก 5:1; 1 โกรินโธ 5:11, 12; 1 ติโมเธียว 5:22.
“จงระวังอย่างเข้มงวด”
15, 16. คำแนะนำของเปาโลดังบันทึกที่เอเฟโซ 5:15-19 สามารถช่วยเราให้ทำความดีต่อ ๆ ไปได้อย่างไร?
15 เพื่อจะดำเนินในแนวทางแห่งความดีในสภาพรอบตัวเอเฟโซ 5:15-19, ล.ม.) คำแนะนำนี้เหมาะสำหรับเราที่อยู่ในสมัยสุดท้ายอันวิกฤตินี้อย่างแน่นอน.—2 ติโมเธียว 3:1.
เราที่เต็มไปด้วยความชั่วร้าย เราจำเป็นต้องเปี่ยมด้วยพระวิญญาณของพระเจ้าและระวังวิธีที่เราดำเนิน. ดังนั้น เปาโลกระตุ้นคริสเตียนในเมืองเอเฟซัส (เอเฟโซ) ดังนี้: “จงระวังอย่างเข้มงวดเพื่อวิธีที่ท่านทั้งหลายดำเนินนั้นจะไม่เหมือนคนไร้ปัญญา แต่เหมือนคนมีปัญญา ใช้ประโยชน์เต็มที่จากเวลาอันเหมาะสำหรับตน เพราะสมัยนี้ชั่วช้า. ด้วยเหตุนี้จงเลิกกลายเป็นคนไร้เหตุผล แต่จงสังเกตเข้าใจต่อไปว่าพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาเป็นเช่นไร. นอกจากนั้น อย่าเมาเหล้าองุ่น ซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมเสีย แต่จงเปี่ยมด้วยพระวิญญาณอยู่เสมอ พูดกับตนเองด้วยเพลงสรรเสริญและคำสดุดีแด่พระเจ้าและเพลงฝ่ายวิญญาณ ร้องเพลงและมีดนตรีคลอเสียงแด่พระยะโฮวาในหัวใจของท่านทั้งหลาย.” (16 หากเราต้องการทำความดีต่อไป เราต้องระวังอย่างเข้มงวดเพื่อให้แน่ใจว่าเราดำเนินอย่างคนที่ใช้สติปัญญาที่ได้รับจากพระเจ้า. (ยาโกโบ 3:17) เราต้องหลีกเลี่ยงบาปร้ายแรงและต้องเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ น้อมรับการชี้นำจากพระวิญญาณ. (ฆะลาเตีย 5:19-25) โดยการใช้คำแนะนำสั่งสอนฝ่ายวิญญาณที่ได้รับ ณ การประชุมคริสเตียน, การประชุมหมวด, และการประชุมภาค เราสามารถทำความดีต่อ ๆ ไป. ถ้อยคำของเปาโลที่มีไปถึงพี่น้องในเมืองเอเฟซัสอาจช่วยเตือนใจเราด้วยว่า ในการประชุมส่วนใหญ่เพื่อการนมัสการ เราได้รับประโยชน์จากการร้อง “เพลงฝ่ายวิญญาณ” อย่างที่ออกมาจากใจ ซึ่งหลายเพลงมีเนื้อร้องที่เน้นเกี่ยวกับคุณลักษณะฝ่ายวิญญาณ เช่น ความดี.
17. หากสภาพการณ์ในชีวิตทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำ คริสเตียนที่เจ็บป่วยเรื้อรังอาจแน่ใจได้ในเรื่องใด?
17 จะว่าอย่างไรสำหรับเพื่อนร่วมความเชื่อของเราที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำเนื่องจากความเจ็บป่วยเรื้อรัง? เขาอาจรู้สึกท้อแท้เพราะเขาไม่สามารถนมัสการพระยะโฮวาได้อย่างสม่ำเสมอกับพี่น้องฝ่ายวิญญาณ. แต่เขาสามารถแน่ใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงเข้าใจสภาพการณ์ในชีวิตของเขา, จะทรงรักษาเขาไว้ในความจริง, จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่เขา, และจะช่วยพวกเขาให้ทำสิ่งที่ดีต่อ ๆ ไป.—ยะซายา 57:15.
18. อะไรจะช่วยเราให้พยายามดำเนินในแนวทางแห่งความดี?
18 การพยายามดำเนินในแนวทางแห่งความดีเรียกร้องให้เราระวังการคบหาสมาคมของเราและหลีกหนีจากคนที่ “ไม่รักความดี.” (2 ติโมเธียว 3:2-5, ล.ม.; 1 โกรินโธ 15:33) การใช้คำแนะนำเช่นนั้นช่วยเราให้หลีกเลี่ยงการ “ทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าโศกเศร้า” ด้วยการประพฤติตรงกันข้ามกับการนำของพระวิญญาณ. (เอเฟโซ 4:30, ล.ม.) นอกจากนั้น เราได้รับการช่วยให้ทำดีหากเราพัฒนาสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับคนที่ให้หลักฐานในชีวิตของเขาว่าเขาเป็นคนที่รักความดีและได้รับการนำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา.—อาโมศ 5:15; โรม 8:14; ฆะลาเตีย 5:18.
ความดีก่อให้เกิดผลที่ดี
19-21. จงเล่าประสบการณ์ที่แสดงถึงผลของการแสดงความดี.
19 การดำเนินในความสว่างฝ่ายวิญญาณ, การอ่อนน้อมทำตามการชี้นำจากพระวิญญาณของพระเจ้า, และการระวังวิธีที่เราดำเนินจะช่วยเราให้หลีกเลี่ยงสิ่งชั่วและ “ทำการดีต่อ ๆ ไป.” เมื่อเป็นอย่างนี้ อาจก่อให้เกิดผลที่ดีได้. ขอให้พิจารณาประสบการณ์ของ ซองเกซีเล ซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาคนหนึ่งในประเทศแอฟริกาใต้. เช้าวันหนึ่งขณะเขากำลังจะไปโรงเรียน เขาแวะตรวจเช็คยอดเงินในบัญชีออมทรัพย์ซึ่งเขามีฝากไว้เล็กน้อยในธนาคาร. ปรากฏว่าใบแจ้งยอดจากตู้เอทีเอ็มบอกยอดเงินเกินจากที่เขามีอยู่จริงประมาณ 270,000 บาท. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและคนอื่น ๆ ยุเขาให้ถอนเงินแล้วเอาไปฝากกับอีกธนาคารหนึ่ง. มีเพียงคู่สมรสที่เป็นพยานฯ ซึ่งเขาอาศัยอยู่ด้วยเท่านั้นที่ชมเชยเขาที่เขาไม่ได้ถอนเงินจำนวนนั้น.
20 เช้าวันถัดมา ซองเกซีเลได้ไปแจ้งข้อผิดพลาดให้ธนาคารทราบ. จากการตรวจสอบพบว่าหมายเลขบัญชีของเขาคล้ายกับของนักธุรกิจที่ร่ำรวยคนหนึ่งซึ่งได้ฝากเงินจำนวนหนึ่งผิดพลาดเข้าบัญชีของเขา. ด้วยความประหลาดใจที่ซองเกซีเลไม่ได้ใช้เงินจำนวนนี้เลย นักธุรกิจผู้นี้ถามเขาว่า “เธอนับถือศาสนาอะไร?” ซองเกซีเลบอกว่าเขาเป็นพยานพระยะโฮวา. เจ้าหน้าที่ธนาคารยกย่องสดุดีเขาด้วยความรู้สึกจากใจ โดยกล่าวว่า “พวกเราอยากให้ทุกคนซื่อสัตย์เหมือนกับพยานพระยะโฮวา.” จริงทีเดียว การกระทำที่ซื่อสัตย์และความดีสามารถทำให้ผู้อื่นยกย่องเชิดชูพระยะโฮวา.—เฮ็บราย 13:18.
21 การทำดีไม่จำเป็นต้องเป็นแบบที่โดดเด่นเป็นพิเศษ
จึงจะก่อผลที่ดี. เพื่อเป็นตัวอย่าง พยานฯ หนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดีเต็มเวลาที่เกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะซามัวมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ต้องไปโรงพยาบาลในท้องถิ่น. ขณะอยู่ในกลุ่มคนที่คอยให้แพทย์ตรวจ พยานฯ คนนี้สังเกตว่าสตรีสูงอายุที่นั่งติดกับเขาป่วยมาก. เขาสลับคิวของเขากับสตรีผู้นี้เพื่อให้เธอได้เข้าตรวจเร็วขึ้น. ในโอกาสต่อมา พยานฯ หนุ่มพบกับสตรีสูงอายุผู้นี้ที่ตลาด. เธอจำเขาได้ รวมทั้งความดีที่เขาทำที่โรงพยาบาลด้วย. เธอกล่าวว่า “เดี๋ยวนี้ฉันรู้แล้วว่าพยานพระยะโฮวารักเพื่อนบ้านอย่างแท้จริง.” แม้ว่าก่อนหน้านั้นเธอไม่ตอบรับข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร แต่ความดีที่พยานฯ หนุ่มคนนี้แสดงต่อเธอก่อผลที่ดี. เธอตอบรับเมื่อมีการเสนอการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเธอที่บ้าน และเริ่มรับเอาความรู้เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า.22. การ “ทำการดีต่อ ๆ ไป” ที่สำคัญเป็นพิเศษคืออะไร?
22 เป็นไปได้มากว่า คุณสามารถเล่าประสบการณ์ที่แสดงถึงคุณค่าของการแสดงความดี. การ “ทำการดีต่อ ๆ ไป” ที่สำคัญเป็นพิเศษได้แก่การมีส่วนร่วมเป็นประจำในการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. (มัดธาย 24:14) ขอให้เราเข้าร่วมในกิจกรรมอันเป็นสิทธิพิเศษนี้ด้วยใจแรงกล้า โดยตระหนักว่านี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนที่ตอบรับ. ที่สำคัญที่สุด งานรับใช้และความประพฤติที่ดีของเราเป็นการถวายเกียรติแด่พระยะโฮวาผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดของความดี.—มัดธาย 19:16, 17.
จง “ทำการดี” ต่อ ๆ ไป
23. เหตุใดงานรับใช้ของคริสเตียนจึงเป็นการงานที่ดี?
23 งานรับใช้ของเราเป็นการงานที่ดีอย่างไม่มีข้อสงสัย. งานรับใช้นั้นอาจยังผลเป็นความรอดสำหรับเราและคนที่ฟังข่าวสารของคัมภีร์ไบเบิล และโดยวิธีนั้นได้เข้ามาอยู่ในเส้นทางที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์. (มัดธาย 7:13, 14; 1 ติโมเธียว 4:16) เมื่อเราต้องตัดสินใจ ความปรารถนาที่จะทำดีก็น่าจะทำให้เราถามตัวเองว่า ‘การตัดสินใจนั้นส่งผลอย่างไรต่อกิจกรรมของฉันในการประกาศเรื่องราชอาณาจักร? แนวทางการกระทำที่ฉันกำลังพิจารณาอยู่นั้นฉลาดสุขุมจริง ๆ ไหม? การตัดสินใจเช่นนั้นจะช่วยฉันให้ช่วยผู้อื่นตอบรับ “ข่าวดีนิรันดร์” และเข้ามามีสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับพระยะโฮวาพระเจ้าไหม?’ (วิวรณ์ 14:6, ล.ม.) การตัดสินใจที่ส่งเสริมผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรจะส่งผลเป็นความสุขอย่างยิ่ง.—มัดธาย 6:33; กิจการ 20:35.
24, 25. มีวิธีใดบ้างที่จะทำดีในประชาคม และเราจะแน่ใจได้ในเรื่องใดหากเราแสดงความดีต่อ ๆ ไป?
24 ขอเราอย่าประเมินค่าผลประโยชน์ของความดีต่ำไป. เราสามารถแสดงคุณลักษณะนี้ได้ต่อ ๆ ไปโดยการสนับสนุนประชาคมคริสเตียนและทำสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อดูแลผลประโยชน์และสวัสดิภาพของประชาคม. แน่นอน เราทำดีเมื่อเราเข้าร่วมและมีส่วนในการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ. การเข้าร่วมของเรานั้นเองซึ่งหนุนกำลังใจเพื่อนผู้นมัสการ และความเห็นของเราที่ได้เตรียมอย่างดีช่วยเสริมสร้างพวกเขาทางฝ่ายวิญญาณ. เรายังทำดีด้วยเมื่อเราใช้ทรัพย์สินเงินทองของเราเพื่อบำรุงรักษาหอประชุมราชอาณาจักรและเมื่อเราช่วยดูแลเอาใจใส่หอประชุมให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย. (2 กษัตริย์ 22:3-7; 2 โกรินโธ 9:6, 7) ที่จริง “ตราบที่เรามีโอกาสเหมาะ ให้เราทำการดีต่อคนทั้งปวง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่สัมพันธ์กับเราในความเชื่อ.”—ฆะลาเตีย 6:10, ล.ม.
25 เราไม่สามารถคาดล่วงหน้าได้ทุกอย่างว่าจะมีสถานการณ์อะไรบ้างที่เรียกร้องให้เราแสดงความดี. ดังนั้น เมื่อเราเผชิญข้อท้าทายใหม่ ๆ ให้เราแสวงหาความเข้าใจลึกซึ้งจากพระคัมภีร์, อธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา, และทำสุดความสามารถที่จะทำให้สำเร็จตามพระทัยประสงค์อันดีและสมบูรณ์พร้อมของพระองค์. (โรม 2:9, 10; 12:2) เราสามารถเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะทรงอวยพรเราอย่างบริบูรณ์ขณะที่เราแสดงความดีต่อ ๆ ไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราสามารถทำความดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอะไรให้สำเร็จ?
• เหตุใดจึงเรียกความดีว่าเป็น “ผลของความสว่าง”?
• เหตุใดจึงเรียกความดีว่าเป็น “ผลแห่งพระวิญญาณ”?
• ความประพฤติที่ดีของเราก่อผลเช่นไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
พระคำของพระเจ้าและพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ช่วยเราให้แสดงความดี
[ภาพหน้า 18]
การสำแดงความดีก่อผลที่ดี