ต้นไม้ “ร้องไห้” และ “น้ำตา” สารพัดประโยชน์
ต้นไม้ “ร้องไห้” และ “น้ำตา” สารพัดประโยชน์
ยิระมะยา 51:8 (ล.ม.) อ่านดังนี้: ‘จงทาน้ำมันยาแก้ปวด.’ การแสวงหาแหล่งที่มาของสารที่ช่วยคลายความเจ็บปวดและช่วยเยียวยารักษาพาเราไปถึงเกาะคิออส ในทะเลอีเจียน.
ในช่วงต้นฤดูร้อน เกษตรกรบนเกาะคิออสจะเตรียมสำหรับการเก็บเกี่ยวด้วยวิธีที่แปลกมาก. หลังจากพวกเขากวาดพื้นแล้ว พวกเขาจะยาพื้นให้เรียบด้วยดินเหนียวสีขาวรอบ ๆ โคนต้นมาสติก ซึ่งเป็นไม้ไม่ผลัดใบที่คล้ายไม้พุ่ม. จากนั้น เกษตรกรจะกรีดลำต้น ทำให้ต้นไม้นี้ “ร้องไห้.” “น้ำตา” อันได้แก่ยางไม้สีซีด ๆ จะเริ่มซึมออกมา. หลังจากสองหรือสามสัปดาห์ ยางไม้ที่ไหลออกมาเป็นหยด ๆ ก็จะแข็งเป็นก้อนและเกษตรกรก็จะทำการเก็บ โดยที่อาจจะเก็บโดยตรงจากลำต้นหรือจากพื้นข้างล่างที่เป็นดินเหนียว. “น้ำตา” เหล่านี้ ซึ่งเรียกกันว่ามาสติคา จะถูกนำไปใช้ทำน้ำมันยาแก้ปวด.
แต่กว่าจะถึงเวลาที่เก็บได้ต้องอาศัยความอดทนและงานหนัก. ลำต้นบิด ๆ สีเทาของต้นนี้เติบโตช้ามาก. ต้องใช้เวลา 40 ถึง 50 ปีต้นนี้จึงจะโตเต็มที่ ซึ่งตามปกติจะสูงตั้งแต่ 2 เมตรจนถึง 3 เมตร.
ในการผลิตมาสติคา นอกจากต้องใช้แรงงานในการกรีดลำต้นและเก็บ “น้ำตา” แล้ว ก็ยังต้องนำไปผ่านขั้นตอนอื่น ๆ อีกด้วย. หลังจากเกษตรกรเก็บรวบรวม “น้ำตา” มาสติคามาแล้ว พวกเขาจะนำมาร่อน, ล้าง, และคัดแยกตามขนาดและคุณภาพ. ในภายหลัง จะมีการนำเอามาสติคามาทำความสะอาดอีก และหลังจากนั้นจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง.
ประวัติความเป็นมาของต้นไม้ที่ล้ำค่า
ชื่อ “มาสติก” มาจากคำภาษากรีกซึ่งหมายถึง “ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน.” (มัดธาย 8:12; วิวรณ์ 16:10) ชื่อนี้บ่งชี้ว่าอาจมีการใช้ยางไม้จากต้นมาสติกเป็นหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยวให้ลมหายใจสดชื่นตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว.
ข้อมูลเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับต้นมาสติกมาจากเฮโรโดทุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกแห่งศตวรรษที่ห้าก่อนสากลศักราช. นักเขียนสมัยโบราณคนอื่น ๆ และพวกแพทย์ รวมถึงอะพอลโลโดรุส, ดิออสคอริเดส, เทโอฟราสทุส, และฮิปโปกราติส ได้กล่าวถึงการใช้มาสติคาทางการแพทย์. แม้ว่ามีต้นมาสติกขึ้นอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทว่านับตั้งแต่ประมาณปี ส.ศ. 50 การผลิตมาสติคาจำกัดอยู่เฉพาะแต่ที่เกาะคิออสเท่านั้น. และมาสติคาคือผลประโยชน์หลักสำหรับผู้พิชิตเกาะคิออส นับตั้งแต่พวกโรมัน, พวกเจนัว, ไปจนถึงพวกออตโตมาน.
ต้นมาสติกสารพัดประโยชน์
แพทย์อียิปต์สมัยโบราณใช้มาสติคาเพื่อรักษาความป่วยไข้หลายอย่าง รวมถึงโรคท้องเสียและข้ออักเสบ. พวกยิระมะยา 8:22; 46:11) บางคนถึงกับให้ความเห็นว่า ต้นไม้ที่ให้เครื่องเทศที่เรียกว่าสแตกเต ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องหอมศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เฉพาะสำหรับโอกาสที่ศักดิ์สิทธิ์ อาจเป็นต้นไม้ในตระกูลเดียวกับต้นมาสติกนี้เอง.—เอ็กโซโด 30:34, 35.
เขายังใช้มาสติคาเป็นเครื่องหอมและในการทำมัมมี่ด้วย. ต้นมาสติกอาจเป็นแหล่งที่มาของ ‘ยาหอมแห่งฆีละอาด’ ซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลว่ามีคุณสมบัติในการรักษาและใช้ในเครื่องสำอางและอาบศพไม่ให้เน่า. (ปัจจุบัน มาสติคาเป็นส่วนผสมในน้ำมันชักเงาซึ่งใช้เคลือบภาพสีน้ำมัน, เครื่องเรือน, และเครื่องดนตรี. มีการใช้มาสติคาเป็นสารกันน้ำและเป็นฉนวน และถือกันว่ามาสติคาเป็นสารที่ดีที่สุดที่ใช้ในการทำให้สีคงที่สำหรับสีย้อมผ้าและสีที่ใช้ในงานศิลปะ. นอกจากนี้ ยังมีการใช้มาสติคาผสมในกาวและในการฟอกหนังด้วย. เนื่องจากมีกลิ่นหอมสดชื่นและคุณสมบัติอื่น ๆ มาสติคาจึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสบู่, เครื่องสำอาง, และน้ำหอม.
มีการกล่าวถึงมาสติคาในบัญชีรายชื่อยาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ 25 บัญชีทั่วโลก. ในประเทศอาหรับทั้งหลาย ยังคงมีการใช้มาสติคาในยาพื้นบ้านเป็นประจำ. นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้มาสติคาเป็นส่วนผสมของซีเมนต์ที่ทันตแพทย์ใช้ และใช้เคลือบด้านในของแคปซูลยา.
ในฐานะแหล่งที่มาของน้ำมันยาแก้ปวด “น้ำตา” สารพัดประโยชน์ของต้นมาสติกที่ “ร้องไห้” ได้ช่วยให้การบรรเทาและการเยียวยารักษาแก่ผู้คนมาหลายศตวรรษ. ยิระมะยาจึงมีเหตุผลที่ดีที่กล่าวว่า ‘จงทาน้ำมันยาแก้ปวด.’
[ภาพหน้า 31]
เกาะคิออส
การเก็บมาสติคา
“น้ำตา” มาสติคาถูกเก็บรวบรวมอย่างระมัดระวัง
[ที่มาของภาพ]
Chios and harvest line art: Courtesy of Korais Library; all others: Kostas Stamoulis