พระยะโฮวา—แบบอย่างอันล้ำเลิศแห่งความดี
พระยะโฮวา—แบบอย่างอันล้ำเลิศแห่งความดี
“จงสรรเสริญพระยะโฮวาแห่งพลโยธา เพราะพระยะโฮวาทรงคุณความดี!”—ยิระมะยา 33:11, ล.ม.
1. เหตุใดเราถูกกระตุ้นให้สรรเสริญพระเจ้าสำหรับความดีของพระองค์?
พระยะโฮวาพระเจ้าทรงคุณความดีในความหมายที่สมบูรณ์แบบ. ผู้พยากรณ์ซะคาระยากล่าวด้วยความรู้สึกว่า “คุณความดีของพระองค์มีมากจริง ๆ!” (ซะคาระยา 9:17, ล.ม.) ที่จริง เราเห็นความดีได้จากทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงทำในการจัดเตรียมแผ่นดินโลกไว้เพื่อให้เราได้รับความเพลิดเพลินยินดี. (เยเนซิศ 1:31) เราไม่มีทางจะเข้าใจได้หมดเกี่ยวกับกฎอันซับซ้อนที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เมื่อพระองค์ทรงสร้างเอกภพ. (ท่านผู้ประกาศ 3:11; 8:17) แต่ความรู้เพียงเล็กน้อยที่เรามีเกี่ยวกับกฎเหล่านั้นกระตุ้นเราให้สรรเสริญพระเจ้าสำหรับความดีของพระองค์.
2. คุณจะนิยามความดีว่าอย่างไร?
2 ความดีคืออะไร? ความดีคือความเป็นเลิศด้านศีลธรรม. ทว่า ความดีมีความหมายมากกว่าเพียงแค่สภาพไร้ซึ่งความชั่วทั้งหลาย. ความดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลแห่งพระวิญญาณ เป็นคุณลักษณะเชิงสร้างสรรค์. (ฆะลาเตีย 5:22, 23) เราสำแดงความดีเมื่อเราทำสิ่งที่ดีและก่อประโยชน์ต่อผู้อื่น. ในระบบนี้ สิ่งที่คนในบางกลุ่มถือว่าดีอาจถูกมองว่าไม่ดีในสายตาของคนในแวดวงอื่น ๆ. อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการมีสันติสุขและความสุข ต้องมีมาตรฐานแห่งความดีเพียงมาตรฐานเดียว. ใครสามารถวางมาตรฐานความดีได้อย่างถูกต้อง?
3. เยเนซิศ 2:16, 17 บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับมาตรฐานของความดี?
3 พระเจ้าทรงวางมาตรฐานของความดีไว้. ในตอนแรกเริ่มแห่งประวัติศาสตร์ของมนุษย์ พระยะโฮวาทรงมีพระบัญชาแก่มนุษย์คนแรกว่า “จากต้นไม้ทุกต้นในสวนเจ้ากินได้จนเป็นที่พอใจ. ส่วนต้นไม้เกี่ยวกับความรู้เรื่องความดีเยเนซิศ 2:16, 17, ล.ม.) ถูกแล้ว มนุษย์จำเป็นต้องหมายพึ่งพระผู้สร้างสำหรับความรู้เรื่องความดีความชั่ว.
และความชั่วนั้นเจ้าอย่ากินจากต้นนั้น เพราะว่าในวันซึ่งเจ้ากินจากต้นนั้นเจ้าจะตายเป็นแน่.” (การสำแดงความดีซึ่งมนุษย์ไม่พึงได้รับ
4. พระเจ้าได้ทรงทำอะไรเพื่อมนุษยชาตินับตั้งแต่อาดามทำบาป?
4 ความหวังของมนุษยชาติในการมีความสุขถาวรในสภาพที่สมบูรณ์พังทลายเมื่ออาดามทำบาปและปฏิเสธจะยอมรับสิทธิของพระเจ้าในการวางมาตรฐานของความดี. (เยเนซิศ 3:1-6) อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ลูกหลานของอาดามจะเกิดมาในฐานะผู้รับมรดกแห่งบาปและความตาย พระเจ้าทรงบอกล่วงหน้าถึงการมาของพงศ์พันธุ์ซึ่งเป็นผู้ที่สมบูรณ์. โดยที่จริง ๆ แล้วพระยะโฮวาตรัสแก่ “งูตัวแรกเดิมนั้น” อันได้แก่ซาตานพญามาร พระองค์ทรงประกาศว่า “เราจะให้เจ้ากับหญิงและพงศ์พันธุ์ของเจ้ากับพงศ์พันธุ์ของนางเป็นศัตรูกัน. เขาจะบดขยี้หัวของเจ้าและเจ้าจะบดขยี้ส้นเท้าของเขา.” (วิวรณ์ 12:9, ล.ม.; เยเนซิศ 3:15, ล.ม.) พระยะโฮวาทรงมีพระประสงค์จะไถ่ถอนมนุษยชาติที่ผิดบาป. ในการสำแดงความดีซึ่งมนุษย์ไม่พึงได้รับ พระยะโฮวาได้ทรงจัดเตรียมการไถ่ถอนเช่นนั้นจริง ๆ เพื่อความรอดสำหรับผู้ที่แสดงความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระบุตรที่รักของพระองค์.—มัดธาย 20:28; โรม 5:8, 12.
5. เหตุใดเราจึงสามารถแสดงความดีได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่าเรามีแนวโน้มที่ไม่ดีแห่งหัวใจซึ่งตกทอดมาถึงเรา?
5 แน่นอน เพราะบาปของอาดามเราจึงได้รับตกทอดแนวโน้มที่ไม่ดีของหัวใจ. (เยเนซิศ 8:21) อย่างไรก็ตาม น่ายินดีที่พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้แสดงความดีได้ในระดับหนึ่ง. การดำเนินต่อไปในสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้จากคำจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ที่ล้ำค่าของพระองค์ไม่เพียงแต่ ‘ทำให้เราได้ปัญญาถึงที่รอด’ และ ‘เตรียมเราให้พร้อมสำหรับการดีทุกอย่าง’ แต่ยังช่วยเราด้วยให้ทำสิ่งที่ดีในสายพระเนตรของพระองค์. (2 ติโมเธียว 3:14-17) แต่เพื่อจะได้ประโยชน์จากคำสั่งสอนในพระคัมภีร์และแสดงความดี เราต้องมีเจตคติแบบเดียวกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งร้องเพลงดังนี้: “พระองค์ [พระยะโฮวา] ดีประเสริฐ, และทรงกระทำการดีประเสริฐ; ขอทรงสอนข้าพเจ้าให้รู้ข้อกฎหมายของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 119:68.
ความดีของพระยะโฮวาได้รับการยกย่อง
6. หลังจากที่กษัตริย์ดาวิดโปรดให้นำหีบสัญญาไมตรีมายังกรุงเยรูซาเลม พวกเลวีร้องเพลงซึ่งมีเนื้อร้องอะไร?
6 กษัตริย์ดาวิดแห่งอิสราเอลโบราณยอมรับความดีของพระเจ้าและแสวงหาการชี้นำจากพระองค์. ดาวิดกล่าวว่า “พระยะโฮวาเป็นผู้ดีประเสริฐและซื่อตรง: เหตุฉะนั้นพระองค์ทรงแนะนำคนผิดให้รู้ในทางดี.” (บทเพลงสรรเสริญ 25:8) การสั่งสอนที่พระเจ้าประทานแก่ชาวอิสราเอลรวมถึงกฎหมายสำคัญสิบข้อ คือพระบัญญัติสิบประการ ซึ่งจารึกบนแผ่นศิลาสองแผ่นและเก็บรักษาไว้ในหีบศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าหีบสัญญาไมตรี. หลังจากที่ดาวิดโปรดให้นำหีบนี้มายังกรุงเยรูซาเลม เมืองหลวงของอิสราเอล พวกเลวีร้องเพลงบทหนึ่งซึ่งมีเนื้อร้องต่อไปนี้อยู่ด้วย: “จงขอบพระเดชพระคุณพระยะโฮวา; เพราะพระองค์เป็นประเสริฐรอบคอบ; เหตุว่าพระกรุณาคุณของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์.” (1 โครนิกา 16:34, 37-41) ผู้ที่ได้ยินถ้อยคำนี้จากปากของนักร้องชาวเลวีคงต้องชื่นชมยินดีสักเพียงไร!
7. เกิดอะไรขึ้นหลังจากที่ได้ย้ายหีบสัญญาไมตรีเข้าไปไว้ในห้องบริสุทธิ์ที่สุดและหลังจากที่ซะโลโมอธิษฐานอุทิศจบ?
7 ได้มีการเน้นถ้อยคำสรรเสริญอย่างเดียวกันในช่วงที่มีการอุทิศพระวิหารของพระยะโฮวาซึ่งสร้างโดยซะโลโม ราชบุตรของดาวิด. หลังจากได้นำหีบสัญญาไมตรีไปไว้ในห้องบริสุทธิ์ที่สุดของพระวิหารซึ่งเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ พวกเลวีเริ่มร้องสรรเสริญพระยะโฮวาว่า “เพราะพระองค์ประเสริฐ เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์.” ในโอกาสนั้นเอง พระวิหารก็เต็มไปด้วยเมฆอย่างอัศจรรย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการประทับอันเปี่ยมด้วยสง่า2 โครนิกา 5:13, 14, ฉบับแปลใหม่) ครั้นซะโลโมอธิษฐานอุทิศจบ “ไฟได้ลงมาจากฟ้าสวรรค์ไหม้เครื่องเผาบูชาและเครื่องสัตวบูชา.” เมื่อเห็นดังนี้ “บรรดาชนอิสราเอล . . . ก็กราบซบหน้าลงถึงพื้นหินและได้นมัสการกล่าวโมทนาพระเจ้าว่า ‘เพราะพระองค์ประเสริฐ เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์.’” (2 โครนิกา 7:1-3, ฉบับแปลใหม่) ภายหลังเทศกาลซึ่งนาน 14 วัน ชาวอิสราเอลก็กลับบ้าน “มีใจชื่นบานและยินดีด้วยความดีซึ่งพระเจ้าได้ทรงสำแดงแก่ดาวิดและแก่ซาโลมอนและแก่อิสราเอลประชากรของพระองค์.”—2 โครนิกา 7:10, ฉบับแปลใหม่.
ราศีของพระยะโฮวา. (8, 9. (ก) แม้ว่าชาวอิสราเอลสรรเสริญพระยะโฮวาสำหรับความดีของพระองค์ แต่ในที่สุดพวกเขาดำเนินในแนวทางเช่นไร? (ข) มีการบอกล่วงหน้าเช่นไรสำหรับกรุงเยรูซาเลมโดยทางยิระมะยา และคำพยากรณ์นั้นสำเร็จเป็นจริงอย่างไร?
8 น่าเศร้า ชาวอิสราเอลไม่ได้ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับเพลงที่พวกเขาร้องสรรเสริญพระเจ้าต่อ ๆ ไป. ในเวลาต่อมา ประชาชนแห่งยูดาห์ ‘ถวายเกียรติยศแก่พระยะโฮวาแต่เพียงริมฝีปากของเขา.’ (ยะซายา 29:13) แทนที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานความดีของพระเจ้า พวกเขาเริ่มทำสิ่งเลวทราม. ความเลวทรามของพวกเขามีอะไรบ้าง? พวกเขากระทำความผิดด้วยการบูชารูปเคารพ, ทำผิดศีลธรรม, กดขี่คนยากจน, และทำบาปร้ายแรงอื่น ๆ! ผลคือ กรุงเยรูซาเลมถูกทำลายและประชากรชาวยูดาห์ถูกจับไปเป็นเชลยในกรุงบาบิโลนในปี 607 ก่อนสากลศักราช.
9 โดยวิธีนั้น พระเจ้าทรงตีสอนไพร่พลของพระองค์. อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงบอกล่วงหน้าโดยทางผู้พยากรณ์ยิระมะยาว่า ยังจะได้ยินเสียงของคนที่กล่าวว่า “จงถวายโมทนาแด่พระเจ้าจอมโยธา เพราะพระเจ้าประเสริฐ เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์.” (ยิระมะยา 33:10, 11, ฉบับแปลใหม่) และก็ปรากฏว่าเป็นอย่างนั้นจริง. หลังจากแผ่นดินร้างเปล่าอยู่ 70 ปี ชนที่เหลือชาวยิวกลับมายังกรุงเยรูซาเลมในปี 537 ก่อนสากลศักราช. (ยิระมะยา 25:11; ดานิเอล 9:1, 2) พวกเขาสร้างแท่นบูชาขึ้นใหม่ที่พระวิหารซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาโมริยาห์และเริ่มถวายเครื่องบูชาที่นั่น. ได้มีการวางฐานรากของพระวิหารในปีที่ สองหลังจากที่พวกเขากลับมา. นับเป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นยินดีจริง ๆ! เอษรากล่าวว่า “เมื่อช่างก่อได้วางรากของพระวิหารแห่งพระเจ้า บรรดาปุโรหิตก็แต่งเครื่องยศออกมาพร้อมกับแตร และคนเลวี พงศ์พันธุ์ของอาสาฟ พร้อมกับฉาบ ถวายสรรเสริญพระเจ้าตามพระราชกำหนดของดาวิดพระราชาแห่งอิสราเอล และเขาร้องเพลงตอบกัน สรรเสริญและโมทนาแด่พระเจ้าว่า ‘เพราะพระองค์ประเสริฐ เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์ต่ออิสราเอล.’”—เอษรา 3:1-11, ฉบับแปลใหม่.
10. เพลงสรรเสริญบท 118 เริ่มและจบด้วยถ้อยคำสำคัญอะไร?
10 ถ้อยคำสรรเสริญคล้าย ๆ กันเกี่ยวกับความดีของพระยะโฮวาปรากฏในเพลงสรรเสริญหลายบท. บทหนึ่งคือเพลงสรรเสริญบท 118 ซึ่งสมาชิกทุกคนในครัวเรือนชาวอิสราเอลร่วมกันร้องปิดท้ายการฉลองปัศคา. เพลงสรรเสริญบทนี้เริ่มและจบด้วยคำกล่าวที่ว่า “จงขอบพระเดชพระคุณพระยะโฮวา; เพราะพระองค์ดีประเสริฐ; เพราะพระกรุณาคุณของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์.” (บทเพลงสรรเสริญ 118:1, 29) ถ้อยคำเหล่านี้อาจจะเป็นถ้อยคำสรรเสริญสุดท้ายที่พระเยซูคริสต์ทรงร้องกับเหล่าอัครสาวกที่ซื่อสัตย์ในคืนก่อนพระองค์จะสิ้นพระชนม์ในปีสากลศักราช 33.—มัดธาย 26:30.
“ขอทรงโปรดสำแดงสง่าราศีของพระองค์แก่ข้าพเจ้าเถิด”
11, 12. ขณะที่โมเซเห็นพระรัศมีของพระเจ้าราง ๆ ท่านได้ยินคำประกาศอะไร?
11 มีการแสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างความดีของพระยะโฮวากับความรักกรุณาของพระองค์เป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อนสมัยของเอษราหลายร้อยปี. ไม่นานหลังจากที่ชาวอิสราเอลนมัสการรูปโคทองคำในถิ่นทุรกันดารและผู้ทำผิดถูกประหาร โมเซทูลวิงวอนพระยะโฮวาว่า “ขอทรงโปรดสำแดงสง่าราศีของพระองค์แก่ข้าพเจ้าเถิด.” โดยที่ทรงทราบอยู่ว่าโมเซไม่อาจเห็นพระพักตร์ของพระองค์แล้วจะยังมีชีวิตต่อไป พระยะโฮวาตรัสว่า “เราจะบันดาลให้คุณความดีของเราประจักษ์แจ้งต่อหน้าเจ้า.”—เอ็กโซโด 33:13-20.
12 ความดีของพระยะโฮวาปรากฏผ่านหน้าโมเซในวันถัดมาบนภูเขาไซนาย. ในตอนนั้น โมเซเห็นพระรัศมีของพระเจ้าเพียงราง ๆ และได้ยินคำประกาศของพระองค์ว่า “ยะโฮวา ยะโฮวา พระเจ้าผู้ทรงเมตตาและสุภาพอ่อนโยน ช้าในการโกรธและบริบูรณ์ด้วยความรักกรุณาและความจริง คงรักษาความรักกรุณาไว้ให้กับคนนับพัน ทรงโปรดยกโทษความผิดพลาดและการล่วงละเมิดและบาป แต่พระองค์จะไม่ทรงละเว้นการลงโทษเป็นอันขาด จะให้โทษสำหรับการผิดของบิดาตกทอดแก่ลูกและหลาน ไปจนถึงชั่วคนที่สามและที่สี่.” (เอ็กโซโด 34:6, 7, ล.ม.) ถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกว่าความดีของพระยะโฮวามีส่วนสัมพันธ์กับความรักกรุณาและแง่อื่น ๆ แห่งบุคลิกลักษณะของพระองค์. การพิจารณาคุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยเราสำแดงความดี. ก่อนอื่น ให้เรามาพิจารณาคุณลักษณะที่กล่าวถึงสองครั้งในคำประกาศอันยอดเยี่ยมนี้เกี่ยวกับความดีของพระเจ้า.
“พระเจ้าผู้ .. . บริบูรณ์ด้วยความรักกรุณา”
13. ในการประกาศความดีของพระเจ้า มีการกล่าวถึงคุณลักษณะอะไรสองครั้ง และเหตุใดจึงนับว่าเหมาะ?
13 “ยะโฮวา [ทรงเป็น] พระเจ้าผู้ .. . บริบูรณ์ด้วยความรักกรุณา . . . คงรักษาความรักกรุณาไว้ให้กับคนนับพัน.” คำภาษาฮีบรูซึ่งแปลในที่นี้ว่า “ความรักกรุณา” ยังมีความหมายด้วยว่า “ความรักภักดี.” ความรักกรุณาเป็นคุณลักษณะเพียงอย่างเดียวที่มีกล่าวถึงสองครั้งในคำประกาศของพระเจ้าต่อโมเซ. นับว่าเหมาะจริง ๆ ที่เป็นอย่างนี้ เพราะคุณลักษณะเด่นของพระยะโฮวาคือความรัก! (1 โยฮัน 4:8) ถ้อยคำสรรเสริญพระยะโฮวาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่ว่า “เพราะ พระองค์ดีประเสริฐ; เพราะพระกรุณาคุณของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์” เน้นคุณลักษณะนี้อย่างเด่นชัด.
14. ใครได้รับความดีและความรักกรุณาของพระเจ้าเป็นพิเศษ?
14 การสำแดงความดีของพระยะโฮวาอย่างหนึ่งคือการที่พระองค์ “บริบูรณ์ด้วยความรักกรุณา.” เรื่องนี้เห็นหลักฐานได้ชัดเป็นพิเศษในการดูแลอย่างอ่อนละมุนที่พระองค์ประทานแก่มนุษย์ผู้รับใช้ของพระองค์ซึ่งเป็นคนที่อุทิศตัวและซื่อสัตย์. (1 เปโตร 5:6, 7) ดังที่พยานพระยะโฮวาทั้งหลายสามารถยืนยัน พระองค์ ‘คงรักษาความรักกรุณาไว้’ ให้กับคนที่รักและรับใช้พระองค์. (เอ็กโซโด 20:6) ชาติอิสราเอลฝ่ายเนื้อหนังไม่ได้รับความรักกรุณาหรือความรักภักดีของพระยะโฮวาอีกต่อไป เพราะพวกเขาปฏิเสธพระบุตรของพระองค์. แต่ความดีและความรักภักดีของพระเจ้าต่อคริสเตียนที่ซื่อสัตย์ในชาติทั้งปวงจะคงอยู่ตลอดไป.—โยฮัน 3:36.
พระยะโฮวา—ผู้ทรงเมตตาและสุภาพอ่อนโยน
15. (ก) คำประกาศที่โมเซได้ยินบนภูเขาไซนายเริ่มด้วยถ้อยคำอะไร? (ข) ความเมตตาหมายรวมถึงอะไร?
15 คำประกาศที่โมเซได้ยินบนภูเขาไซนายเริ่มด้วยถ้อยคำที่ว่า “ยะโฮวา ยะโฮวา พระเจ้าผู้ทรงเมตตาและสุภาพอ่อนโยน.” คำภาษาฮีบรูที่แปลในที่นี้ว่า “เมตตา” อาจหมายถึง “ลำไส้” และเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับคำที่หมายถึง “ครรภ์.” ด้วยเหตุนั้น ความเมตตาจึงเกี่ยวข้องกับความปรานีสงสารอันอ่อนละมุนซึ่งอยู่ในส่วนลึกของคนเรา. แต่ความเมตตามีความหมายไม่เพียงแค่สงสารด้วยน้ำใสใจจริง. ความเมตตาควรกระตุ้นเราให้ทำบางสิ่งเพื่อช่วยคลายทุกข์ให้ผู้อื่น. ตัวอย่างเช่น คริสเตียนผู้ปกครองที่เปี่ยมด้วยความรักเห็นความจำเป็นที่จะเมตตาเพื่อนร่วมความเชื่อ ‘แสดงความเมตตาด้วยใจยินดี’ เมื่อเหมาะสม.—โรม 12:8; ยาโกโบ 2:13; ยูดา 22, 23.
16. เหตุใดจึงสามารถกล่าวได้ว่าพระยะโฮวาทรงสุภาพอ่อนโยน?
16 ความดีของพระเจ้ายังปรากฏชัดด้วยในความสุภาพอ่อนโยนของพระองค์. บุคคลที่สุภาพอ่อนโยน “คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด” และแสดง ‘ความกรุณาซึ่งทำให้เขาเป็นที่รักใคร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่ด้อยกว่า.’ พระยะโฮวาทรงเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของความสุภาพอ่อนโยนในวิธีที่พระองค์ปฏิบัติต่อผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์. ตัวอย่างเช่น โดยทางทูตสวรรค์ พระเจ้าทรงเสริมกำลังอย่างสุภาพอ่อนโยนแก่ผู้พยากรณ์ดานิเอลซึ่งชราแล้วและแจ้งแก่หญิงพรหมจารีมาเรียเกี่ยวกับสิทธิพิเศษที่เธอจะได้รับในการให้กำเนิดพระเยซู. (ดานิเอล 10:19; ลูกา 1:26-38) ในฐานะไพร่พลของพระยะโฮวา เราหยั่งรู้ค่าอย่างแน่นอนสำหรับวิธีอันสุภาพอ่อนโยนของพระองค์ในการวิงวอนเราโดยทางหน้าหนังสือของคัมภีร์ไบเบิล. เราสรรเสริญพระองค์สำหรับการแสดงความดีของพระองค์ และพยายามแสดงความสุภาพอ่อนโยนในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น. เมื่อผู้มีคุณวุฒิฝ่ายวิญญาณปรับเพื่อนร่วมความเชื่อให้เข้าที่ “ด้วยน้ำใจอ่อนโยน” พวกเขาพยายามทำอย่างนุ่มนวลและสุภาพอ่อนโยน.—ฆะลาเตีย 6:1, ล.ม.
พระเจ้าผู้ช้าในการโกรธ
17. เหตุใดเราหยั่งรู้ค่าที่พระยะโฮวาทรง “ช้าในการโกรธ”?
17 “พระเจ้าผู้ .. . ช้าในการโกรธ.” ประโยคนี้เน้นการสำแดงความดีของพระยะโฮวาในอีกแง่หนึ่ง. พระยะโฮวาทรงอดทนกับข้อผิดพลาดของเราและให้เวลาเราเอาชนะข้ออ่อนแอที่ร้ายแรงและทำความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ. (เฮ็บราย 5:12–6:3; ยาโกโบ 5:14, 15) ความอดทนของพระเจ้ายังให้ประโยชน์ด้วยแก่คนที่ยังไม่ได้เข้ามาเป็นผู้นมัสการพระองค์. พวกเขายังมีเวลาที่จะตอบรับข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรและกลับใจ. (โรม 2:4) ถึงแม้ว่าพระยะโฮวาทรงอดทน แต่บางครั้งความดีของพระองค์กระตุ้นพระองค์ให้แสดงพระพิโรธ ดังที่พระองค์ทรงพิโรธเมื่อชาวอิสราเอลนมัสการรูปโคทองคำที่ภูเขาไซนาย. อีกไม่ช้า พระพิโรธของพระเจ้าจะปรากฏในลักษณะที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก เมื่อพระองค์ทรงนำอวสานมาสู่ระบบชั่วของซาตาน.—ยะเอศเคล 38:19, 21-23.
18. เกี่ยวด้วยเรื่องความจริง มีข้อแตกต่างอะไรระหว่างพระยะโฮวากับพวกผู้นำมนุษย์?
18 “ยะโฮวา [ทรงเป็น] พระเจ้าผู้ .. . บริบูรณ์ด้วย . . . ความจริง.” พระยะโฮวาทรงต่างสักเพียงไรจากพวกผู้นำมนุษย์ซึ่งสัญญาอย่างใหญ่โตแล้วก็ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้! ตรงกันข้าม ผู้นมัสการพระยะโฮวาสามารถไว้วางใจทุกสิ่งที่กล่าวไว้ในพระคำของพระองค์ซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจ. เนื่องจากพระเจ้าทรงบริบูรณ์ ด้วยความจริง เราสามารถไว้วางใจคำสัญญาของพระองค์ได้เสมอ. ด้วยความดีของพระองค์ บทเพลงสรรเสริญ 43:3; 65:2.
พระบิดาฝ่ายสวรรค์ทรงตอบคำอธิษฐานที่เราทูลขอความจริงฝ่ายวิญญาณเสมอ โดยทรงจัดเตรียมให้อย่างบริบูรณ์.—19. พระยะโฮวาทรงสำแดงความดีอย่างโดดเด่นเช่นไรต่อคนบาปที่กลับใจ?
19 “ยะโฮวา [ทรงเป็น] พระเจ้าผู้ .. . ทรงโปรดยกโทษความผิดพลาดและการล่วงละเมิดและบาป.” ด้วยความดีของพระองค์ พระยะโฮวาทรงพร้อมจะให้อภัยผู้ทำบาปที่กลับใจ. แน่นอน เราหยั่งรู้ค่ามากที่พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักได้ทรงจัดให้มีการอภัยความผิดโดยทางเครื่องบูชาของพระเยซู. (1 โยฮัน 2:1, 2) เรามีความสุขจริง ๆ ที่ทุกคนซึ่งแสดงความเชื่อในค่าไถ่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีกับพระยะโฮวา พร้อมกับมีความหวังเกี่ยวกับชีวิตที่ไม่รู้สิ้นสุดในโลกใหม่ที่พระองค์ทรงสัญญา. ช่างเป็นเหตุผลที่โดดเด่นจริง ๆ ที่จะสรรเสริญพระยะโฮวาที่พระองค์ทรงสำแดงความดีต่อมนุษยชาติ!—2 เปโตร 3:13.
20. เรามีข้อพิสูจน์อะไรว่าพระเจ้าไม่ยอมให้แก่การทำชั่ว?
20 “[พระยะโฮวา] จะไม่ทรงละเว้นการลงโทษเป็นอันขาด.” นี่นับเป็นอีกเหตุผลหนึ่งอย่างแท้จริงที่จะสรรเสริญพระยะโฮวาสำหรับความดีของพระองค์. เพราะเหตุใด? เพราะแง่มุมสำคัญอย่างหนึ่งของความดีก็คือ การไม่ยอมให้แก่การทำชั่วไม่ว่าในลักษณะใดก็ตาม. นอกจากนั้น “ในคราวการปรากฏของพระเยซูเจ้าจากสวรรค์พร้อมด้วยเหล่าทูตสวรรค์มีฤทธิ์ของพระองค์” จะมีการแก้แค้น “คนที่ไม่รู้จักพระเจ้าและคนที่ไม่เชื่อฟังข่าวดี.” คนเหล่านี้ “จะถูกลงโทษตามคำพิพากษาให้พินาศตลอดกาล.” (2 เธซะโลนิเก 1:6-9, ล.ม.) ถึงตอนนั้น ผู้นมัสการพระยะโฮวาที่รอดชีวิตจะสามารถชื่นชมชีวิตอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกรบกวนจากบรรดาคนที่ดูหมิ่นพระเจ้าซึ่ง “ไม่รักความดี.”—2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.
จงเลียนแบบความดีของพระยะโฮวา
21. เหตุใดเราควรสำแดงความดี?
21 ไม่มีข้อสงสัยว่า เรามีเหตุผลมากมายที่จะสรรเสริญและขอบพระคุณพระยะโฮวาสำหรับความดีของพระองค์. ในฐานะผู้รับใช้ของพระองค์ เราควรพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะแสดงคุณลักษณะนี้มิใช่หรือ? ถูกแล้ว เพราะอัครสาวกเปาโลกระตุ้นเพื่อนคริสเตียนดังนี้: “จงเป็นผู้เลียนแบบพระเจ้า ดังบุตรที่รัก.” (เอเฟโซ 5:1, ล.ม.) พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราทรงสำแดงความดีอย่างสม่ำเสมอ และเราควรทำอย่างเดียวกัน.
22. เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
22 หากเราอุทิศตัวอย่างสิ้นสุดหัวใจแด่พระยะโฮวา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเลียนแบบความดีของพระองค์. เนื่องจากเราเป็นลูกหลานของอาดามผู้ผิดบาป จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำดี. แต่ในบทความถัดไปเราจะมองเห็นเหตุผลที่ว่าเราสามารถสำแดงความดี. นอกจากนั้น เราจะพิจารณาหลาย ๆ วิธีที่เราสามารถเลียนแบบและควรเลียนแบบพระยะโฮวา แบบอย่างอันล้ำเลิศแห่งความดี.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ความดีคืออะไร?
• ถ้อยคำในพระคัมภีร์ข้อใดที่เน้นเรื่องความดีของพระเจ้า?
• พระยะโฮวาทรงสำแดงความดีในทางใดบ้าง?
• เหตุใดเราควรเลียนแบบอย่างของพระยะโฮวาในเรื่องความดี?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
พระยะโฮวาทรงตีสอนไพร่พลของพระองค์ในสมัยโบราณ เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับคำกล่าวสรรเสริญของพวกเขา
[ภาพหน้า 12]
ชนที่เหลือผู้ซื่อสัตย์กลับมายังกรุงเยรูซาเลม
[ภาพหน้า 13]
โมเซได้ยินคำประกาศอันยอดเยี่ยมเกี่ยวกับความดีของพระเจ้า
[ภาพหน้า 15]
ความดีของพระยะโฮวาเห็นได้ในวิธีที่พระองค์ทรงวิงวอนเราผ่านทางหน้าหนังสือของคัมภีร์ไบเบิล