จงพบความยินดีในความชอบธรรมของพระยะโฮวา
จงพบความยินดีในความชอบธรรมของพระยะโฮวา
“คนที่ประพฤติตามความชอบธรรมและความเมตตาจะประสบชีวิต, ความชอบธรรมและเกียรติศักดิ์.”—สุภาษิต 21:21.
1. วิธีดำเนินชีวิตเช่นไรของผู้คนในปัจจุบันซึ่งก่อผลเสียร้ายแรง?
“มีทางหนึ่งซึ่งดูเหมือนบางคนเห็นว่าเป็นทางถูก; แต่ปลายทางนั้นเป็นทางแห่งความตาย.” (สุภาษิต 16:25) สุภาษิตข้อนี้ในคัมภีร์ไบเบิลพรรณนาแนวทางชีวิตของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้ถูกต้องสักเพียงไร! โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนสนใจเฉพาะแต่การทำสิ่งที่ถูกในสายตาตัวเอง ไม่สนใจแม้แต่ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สุดของผู้อื่น. (สุภาษิต 21:2) พวกเขาอ้างว่านับถือกฎหมายและมาตรฐานของประเทศ แต่พยายามหาช่องที่จะหลบเลี่ยงในทุกโอกาส. ผลก็คือสังคมที่แตกแยกและสับสน.—2 ติโมเธียว 3:1-5.
2. มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องมีอะไรเพื่อประโยชน์ของมนุษย์เรา?
2 เพื่อประโยชน์ของเราเองรวมทั้งเพื่อสันติสุขและความมั่นคงของครอบครัวมนุษย์ทั้งสิ้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราต้องมีกฎหมายหรือมาตรฐานที่ยุติธรรมและเที่ยงธรรม ซึ่งประชาชนทุกคนเต็มใจยอมรับและปฏิบัติตาม. เห็นได้ชัด กฎหมายหรือมาตรฐานที่มนุษย์เสนอและตั้งขึ้น ไม่ว่าจะด้วยปัญญาหลักแหลมหรือจริงใจเพียงไร ไม่สามารถสนองความจำเป็นดังกล่าว. (ยิระมะยา 10:23; โรม 3:10, 23) หากมีมาตรฐานดังกล่าวอยู่จริง จะพบได้ที่ไหนและมาตรฐานนั้นจะมีลักษณะเช่นไร? อาจเป็นได้ว่าคำถามที่สำคัญกว่าก็คือ หากมาตรฐานเช่นนั้นมีอยู่จริง คุณจะยินดีและปฏิบัติตามไหม?
การพบมาตรฐานที่ชอบธรรม
3. ใครมีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่จะวางมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับได้และเป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์ทุกคน และเพราะเหตุใด?
3 เพื่อจะพบมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับได้และเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน เราต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ไม่ถูกจำกัดโดยเขตแดนด้านเชื้อชาติ, วัฒนธรรม, และการเมือง อีกทั้งไม่ถูกขวางกั้นโดยทัศนะแบบสายตาสั้นและข้อบกพร่องของมนุษย์. ไม่ต้องสงสัย ผู้เดียวที่มีคุณสมบัติดังกล่าวคือพระผู้สร้างองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ พระยะโฮวาพระเจ้า ผู้ทรงประกาศว่า “ท้องฟ้าสูงกว่าแผ่นดินโลกฉันใด, ยะซายา 55:9) นอกจากนั้น คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาพระยะโฮวาว่าทรงเป็น “พระเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ซึ่งกับพระองค์นั้นไม่มีความอยุติธรรม; พระองค์ทรงชอบธรรมและซื่อตรง.” (พระบัญญัติ 32:4, ล.ม.) เราพบวลี “พระยะโฮวาเป็นผู้ชอบธรรม” ในคัมภีร์ไบเบิลตลอดทั้งเล่ม. (เอ็กโซโด 9:27; 2 โครนิกา 12:6; บทเพลงสรรเสริญ 11:7; 129:4; บทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 1:18, ฉบับแปลใหม่; วิวรณ์ 19:2, ล.ม.) ถูกแล้ว เราสามารถหมายพึ่งพระยะโฮวาสำหรับมาตรฐานอันยอดเยี่ยมเพราะพระองค์ทรงสัตย์ซื่อ, ยุติธรรม, และชอบธรรม.
ทางของเราก็สูงกว่าทางของเจ้า, และความคิดของเราก็สูงกว่าความคิดของเจ้าฉันนั้น.” (4. คำว่า “ชอบธรรม” หมายความเช่นไร?
4 ผู้คนส่วนใหญ่มีทัศนะในแง่ลบหรือถึงกับรังเกียจคนที่คิดว่าตัวเองชอบธรรมหรือบริสุทธิ์กว่าคนอื่น. อย่างไรก็ตาม แนวคิดในคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องความชอบธรรมเกี่ยวข้องกับแนวคิดในการเป็นคนยุติธรรม, เที่ยงตรง, มีคุณความดี; ปราศจากความผิด, ปราศจากบาป; ปฏิบัติตามหลักการแห่งกฎหมายของพระเจ้าหรือมาตรฐานด้านศีลธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ; กระทำอย่างถูกต้องหรือยุติธรรม. คุณคงจะยินดีในกฎหมายหรือมาตรฐานที่มีคุณลักษณะที่ดีเช่นนั้นมิใช่หรือ?
5. จงพรรณนาคุณลักษณะความชอบธรรมดังที่แสดงไว้ในคัมภีร์ไบเบิล.
5 เกี่ยวกับคุณลักษณะความชอบธรรม เอ็นไซโคลพีเดีย จูไดกา ให้ข้อสังเกตว่า “ความชอบธรรมไม่ใช่แนวคิดที่เป็นนามธรรม แต่จริง ๆ แล้วมีพื้นฐานอยู่ที่การทำสิ่งยุติธรรมและถูกต้องในความสัมพันธ์ทุกอย่าง.” ตัวอย่างเช่น ความชอบธรรมของพระเจ้าไม่ได้เป็นเพียงคุณสมบัติภายในหรือเฉพาะพระองค์เช่นเดียวกับความบริสุทธิ์สะอาดของพระองค์. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ความชอบธรรมเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งซึ่งคุณลักษณะพื้นฐานของพระองค์ในวิธีที่ถูกต้องและยุติธรรม. อาจกล่าวได้ว่าเนื่องจากพระยะโฮวาทรงบริสุทธิ์สะอาด ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงทำและทุกสิ่งที่มาจากพระองค์นั้นชอบธรรม. ดังที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า “พระยะโฮวาทรงชอบธรรมในทางทั้งปวงของพระองค์ และภักดีในกิจการทั้งสิ้นของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 145:17, ล.ม.
6. เปาโลกล่าวอย่างไรเกี่ยวกับชาวยิวบางคนที่ไม่มีความเชื่อในสมัยของท่าน และเพราะเหตุใด?
6 อัครสาวกเปาโลเน้นจุดนี้ในจดหมายของท่านถึงคริสเตียนในกรุงโรม. ท่านเขียนเกี่ยวกับชาวยิวบางคนที่ไม่มีความเชื่อดังนี้: “ด้วยว่าเขาไม่ได้รู้จักความชอบธรรมของพระเจ้า, แต่ได้อุสส่าห์ที่จะตั้งความชอบธรรมของตัวเองขึ้น, เขาจึงมิได้ยอมตัวอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า.” (โรม 10:3) เหตุใดเปาโลกล่าวถึงคนเช่นนั้นว่า “ไม่ได้รู้จักความชอบธรรมของพระเจ้า”? ไม่มีใครสอนพระบัญญัติอันเป็นมาตรฐานที่ชอบธรรมของพระเจ้าแก่พวกเขาหรือ? ที่จริง พวกเขาได้รับการสอน. ทว่า พวกเขาส่วนใหญ่ถือว่าความชอบธรรมเป็นคุณความดีส่วนตัวซึ่งจะบรรลุได้โดยการพากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามกฎทางศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว แทนที่จะถือว่าความชอบธรรมเป็นมาตรฐานที่ชี้นำพวกเขาในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์. เช่นเดียวกับพวกหัวหน้าศาสนาในสมัยของพระเยซู พวกเขาไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของความยุติธรรมและความชอบธรรม.—มัดธาย 23:23-28.
7. ความชอบธรรมของพระยะโฮวาแสดงออกอย่างไร?
7 แตกต่างกันอย่างเด่นชัด ความชอบธรรมของพระยะโฮวาแสดงออกและเห็นได้ชัดเจนในทุกเรื่องที่พระองค์ทรงจัดการ. แม้ว่าความชอบธรรมของพระองค์ทำให้ไม่อาจมองข้ามบาปของผู้ที่ล่วงละเมิดอย่างจงใจ แต่นั่นไม่ได้ทำให้พระองค์เป็นพระเจ้าผู้เย็นชาและเข้มงวดซึ่งผู้คนกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้. ตรงกันข้าม การกระทำอันชอบธรรมของพระองค์ให้พื้นฐานสำหรับมนุษยชาติที่จะสามารถเข้าใกล้พระองค์และได้รับการช่วยให้รอดจากผลอันเลวร้ายของบาป. ด้วยเหตุนั้น จึงเหมาะอย่างแท้จริงที่มีคำพรรณนาว่าพระยะโฮวาทรงเป็น “พระเจ้าผู้ชอบธรรมและช่วยให้รอด.”—ยะซายา 45:21.
ความชอบธรรมและความรอด
8, 9. พระบัญญัติแสดงความชอบธรรมของพระเจ้าอย่างไร?
8 เพื่อจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความชอบธรรมของพระเจ้ากับการช่วยให้รอดด้วยความรัก ขอให้พิจารณาพระบัญญัติที่พระองค์ได้ประทานแก่ชาติอิสราเอลโดยทางโมเซ. ไม่มีข้อสงสัยว่าพระบัญญัตินั้นชอบธรรม. ในคำอำลา โมเซกล่าวเตือนใจชาวอิสราเอลดังนี้: “มีประเทศไหนเป็นประเทศใหญ่, ที่มีกฎหมายและข้อพิพากษาอันยุติธรรม [“ชอบธรรม,” ล.ม.] เหมือนอย่างข้อกฎหมายเหล่านี้, ที่เราตั้งไว้ให้แก่เจ้าทั้งหลายวันนี้?” (พระบัญญัติ 4:8) หลายศตวรรษต่อมา กษัตริย์ดาวิดแห่งอิสราเอลประกาศดังนี้: “คำพิพากษา ของพระยะโฮวาสัตย์จริง และปรากฏแล้วว่าชอบธรรมทั้งนั้น.”—บทเพลงสรรเสริญ 19:9, ล.ม.
9 โดยทางพระบัญญัติ พระยะโฮวาทรงแสดงมาตรฐานอันสมบูรณ์ของพระองค์เกี่ยวกับความถูกความผิดไว้อย่างชัดเจน. พระบัญญัติระบุอย่างละเอียดถึงวิธีที่ชาวอิสราเอลจะประพฤติปฏิบัติไม่เฉพาะในเรื่องศาสนา แต่รวมถึงในการติดต่อธุรกิจ, ความสัมพันธ์ในชีวิตสมรส, การรับประทานอาหารและการปฏิบัติให้ถูกสุขอนามัย, และแน่นอน ในการตัดสินความ. พระบัญญัติยังมีบทลงโทษที่เข้มงวดต่อผู้ฝ่าฝืน ในบางกรณีมีโทษถึงตายด้วยซ้ำ. * แต่ข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของพระเจ้าตามที่มีแสดงไว้ในพระบัญญัติ เป็นภาระหนักอันน่าเหนื่อยหน่ายสำหรับประชาชน ช่วงชิงเอาเสรีภาพและความยินดีไปจากพวกเขา อย่างที่หลายคนในทุกวันนี้กล่าวอ้างไหม?
10. คนที่รักพระยะโฮวารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับข้อกฎหมายของพระองค์?
10 คนที่รักพระยะโฮวาพบความยินดีใหญ่หลวงในกฎหมายและพระบัญชาอันชอบธรรมของพระองค์. ตัวอย่างเช่น กษัตริย์ดาวิดไม่เพียงแต่ยอมรับว่าคำพิพากษาของพระยะโฮวานั้นสัตย์จริงและชอบธรรม ดังที่เราได้เห็นแล้ว แต่ท่านยังรักและหยั่งรู้ค่าคำพิพากษาเหล่านั้นด้วยความรู้สึกจากหัวใจ. ท่านเขียนเกี่ยวกับกฎหมายและคำพิพากษาของพระยะโฮวาว่า “น่าปรารถนามากกว่าทองคำ; หรือยิ่งกว่าทองนพคุณ; หวานยิ่งกว่าน้ำผึ้งคือน้ำผึ้งที่หยดจากรวง. อนึ่งข้อความเหล่านั้นเป็นที่ตักเตือนผู้รับใช้ของพระองค์: การรักษาข้อความเหล่านั้นไว้จะมีบำเหน็จเป็นอันมาก.”—บทเพลงสรรเสริญ 19:7, 10, 11.
11. พระบัญญัติปรากฏว่าเป็น ‘ครูสอนซึ่งนำมาถึงพระคริสต์’ อย่างไร?
11 หลายศตวรรษต่อมา เปาโลชี้อีกจุดหนึ่งเกี่ยวกับคุณค่าที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีกของพระบัญญัติ. ท่านเขียนในจดหมายถึงพี่น้องที่ฆะลาเตียว่า “พระบัญญัติจึงเป็นครูสอนซึ่งนำเราให้มาถึงพระคริสต์, เพื่อเราจะได้ความชอบธรรมโดยความเชื่อ.” (ฆะลาเตีย 3:24) ในสมัยของเปาโล ครูสอนคือคนรับใช้หรือทาสในครัวเรือนขนาดใหญ่. เขามีหน้าที่คุ้มครองป้องกันและพาเด็ก ๆ ไปโรงเรียน. ในทำนองเดียวกัน พระบัญญัติป้องกันชาวอิสราเอลไว้จากกิจปฏิบัติที่เสื่อมศีลธรรมและศาสนกิจของชาติต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบ. (พระบัญญัติ 18:9-13; ฆะลาเตีย 3:23) นอกจากนั้น พระบัญญัติทำให้ชาวอิสราเอลสำนึกถึงสภาพผิดบาปและความจำเป็นที่พวกเขาต้องได้รับการให้อภัยและการช่วยให้รอด. (ฆะลาเตีย 3:19) การจัดเตรียมในเรื่องเครื่องบูชาชี้ถึงความจำเป็นต้องมีเครื่องบูชาไถ่และให้แบบอย่างเชิงพยากรณ์ไว้ซึ่งช่วยระบุตัวพระมาซีฮาแท้. (เฮ็บราย 10:1, 11, 12) ด้วยเหตุนั้น ในขณะที่พระยะโฮวาทรงแสดงความชอบธรรมของพระองค์โดยทางพระบัญญัติ พระองค์ทรงทำอย่างนั้นโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและความรอดชั่วนิรันดร์ของชนชาตินี้.
คนที่พระเจ้าทรงถือว่าชอบธรรม
12. ชาวอิสราเอลสามารถได้รับอะไรด้วยการเอาใจใส่ปฏิบัติตามพระบัญญัติ?
12 เนื่องจากพระบัญญัติที่พระยะโฮวาประทานนั้นชอบธรรมในทุกทาง ชาวอิสราเอลสามารถได้รับฐานะที่ชอบธรรมจำเพาะพระเจ้าโดยการเชื่อฟังพระบัญญัตินี้. โมเซเตือนใจชาวอิสราเอลขณะพวกเขากำลังจะเข้าสู่แผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ดังนี้: “ถ้าเราทั้งหลายอุตส่าห์ประพฤติตามบัญญัติทั้งหลายเหล่านี้ต่อพระพักตร์พระยะโฮวาพระเจ้าพระบัญญัติ 6:25) นอกจากนั้น พระยะโฮวาได้ทรงสัญญาไว้ว่า “ผู้ใดได้นับถือรักษาบัญญัติ, และประพฤติตามข้อปรนนิบัติทั้งหลายของเรา, ผู้นั้นจะมีชีวิตจำเริญในคำโอวาทนั้น. เราคือพระยะโฮวา.”—เลวีติโก 18:5; โรม 10:5.
ของเราตามถ้อยคำซึ่งพระองค์ได้ตรัสสั่งเราไว้นั้น, ก็จะเป็นความชอบธรรมแก่เราทั้งหลาย.” (13. พระยะโฮวาทรงอยุติธรรมไหมในการเรียกร้องไพร่พลของพระองค์ให้ปฏิบัติตามพระบัญญัติที่ชอบธรรม? จงอธิบาย.
13 น่าเศร้า ชาวอิสราเอลในฐานะชาติไม่ได้ “ประพฤติตามบัญญัติทั้งหลายเหล่านี้ต่อพระพักตร์พระยะโฮวา” และด้วยเหตุนั้นพวกเขาจึงไม่ได้รับพระพรที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้. พวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตามพระบัญชาทั้งสิ้นของพระเจ้า เพราะพระบัญญัติของพระเจ้าสมบูรณ์แต่พวกเขาไม่สมบูรณ์. นี่หมายความว่าพระเจ้าไม่ยุติธรรมหรือไม่ชอบธรรมไหม? ไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอน. เปาโลเขียนดังนี้: “ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร? พระเจ้าไม่ทรงยุติธรรมหรือ? มิใช่เช่นนั้น!” (โรม 9:14, ฉบับแปลใหม่) ข้อเท็จจริงก็คือ ทั้งก่อนและหลังพระเจ้าประทานพระบัญญัติ พระองค์ทรงถือว่าบางคนชอบธรรมแม้ว่าพวกเขาไม่สมบูรณ์และผิดบาป. รายนามของคนที่ยำเกรงพระเจ้ามีมากมาย เช่น โนฮา, อับราฮาม, โยบ, ราฮาบ, และดานิเอล. (เยเนซิศ 7:1; 15:6; โยบ 1:1; ยะเอศเคล 14:14; ยาโกโบ 2:25) ดังนั้น คำถามจึงมีอยู่ว่า พระเจ้าทรงถือว่าคนเหล่านี้ชอบธรรมโดยอาศัยอะไรเป็นพื้นฐาน?
14. คัมภีร์ไบเบิลหมายถึงอะไรเมื่อกล่าวถึงมนุษย์ว่าเป็นคน “ชอบธรรม”?
14 เมื่อคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงมนุษย์ว่า “ชอบธรรม” นั่นไม่ได้หมายถึงสภาพที่ไร้บาปหรือความสมบูรณ์. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น คำนี้หมายถึงการทำให้สำเร็จตามพันธะของตนจำเพาะพระเจ้าและมนุษย์. ยกตัวอย่าง มีการเรียกโนฮาว่า “คนชอบธรรม” และ “รอบคอบดีในสมัยอายุของเขา” เนื่องจาก “พระเจ้ารับสั่งให้โนฮาทำอย่างไร, โนฮาก็กระทำอย่างนั้นทุกสิ่งทุกประการ.” (เยเนซิศ 6:9, 22; มาลาคี 3:18) ซะคาเรียและเอลีซาเบ็ต บิดามารดาของโยฮันผู้ให้บัพติสมา “เป็นคนชอบธรรมจำเพาะพระเจ้า, และประพฤติตามบัญญัติและศีลทั้งปวงของพระเจ้าไม่มีที่ติเลย.” (ลูกา 1:6) และเมื่อกล่าวถึงคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่ชาวอิสราเอล คือนายร้อยชาวอิตาลีที่ชื่อโกระเนเลียว มีการพรรณนาว่าเขาเป็น “คนชอบธรรมและเกรงกลัวพระเจ้า.”—กิจการ 10:22.
15. ความชอบธรรมเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอะไร?
15 นอกจากนั้น ความชอบธรรมในมนุษย์เราเกี่ยวข้องอย่างมากกับสิ่งที่อยู่ในหัวใจของคนเรา—นั่นคือ ความเชื่อและความหยั่งรู้ค่าตลอดจนความรักต่อพระยะโฮวาและคำสัญญาของพระองค์—และไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะการทำสิ่งที่พระเจ้าทรงเรียกร้องเท่านั้น. พระคัมภีร์กล่าวว่าอับราฮาม “เชื่อวางใจในพระยะโฮวา; และที่เชื่อนั้นพระองค์ทรงนับว่าเป็นความชอบธรรมแก่ท่าน.” (เยเนซิศ 15:6) อับราฮามมีความเชื่อไม่เฉพาะในเรื่องการดำรงอยู่ของพระเจ้า แต่ในคำสัญญาของพระองค์เกี่ยวกับ “พงศ์พันธุ์” ด้วย. (เยเนซิศ 3:, ล.ม.; 1512:2; 15:5; 22:18) โดยอาศัยความเชื่อดังกล่าวและการงานที่สอดคล้องกับความเชื่อ พระยะโฮวาจึงมีสายสัมพันธ์กับอับราฮามและผู้ซื่อสัตย์คนอื่น ๆ และอวยพรพวกเขาได้ แม้ว่าพวกเขาไม่สมบูรณ์.—บทเพลงสรรเสริญ 36:10; โรม 4:20-22.
16. ความเชื่อในค่าไถ่ทำให้เกิดผลเช่นไร?
16 เมื่อถึงที่สุดแล้ว ความชอบธรรมในมนุษย์ขึ้นอยู่กับความเชื่อในเรื่องเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์. เปาโลเขียนเกี่ยวกับคริสเตียนในศตวรรษแรกดังนี้: “การที่พวกเขาได้รับการประกาศว่าชอบธรรมนั้นนับว่าเป็นของประทานอันไม่ต้องเสียค่าใด ๆ โดยพระกรุณาอันไม่พึงได้รับของ [พระเจ้า] ด้วยการปลดเปลื้องด้วยค่าไถ่ที่พระคริสต์เยซูได้ทรงชำระแล้วนั้น.” (โรม 3:24, ล.ม.) ในที่นี้เปาโลกำลังกล่าวถึงคนที่ได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทร่วมกับพระคริสต์ในราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์. แต่เครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูก็เปิดให้แก่คนอื่น ๆ อีกหลายล้านคนให้มีโอกาสได้รับฐานะอันชอบธรรมจำเพาะพระเจ้าด้วย. อัครสาวกโยฮันเห็นในนิมิตว่ามี “ชนฝูงใหญ่ ซึ่งไม่มีใครนับจำนวนได้ .. . ยืนอยู่ต่อหน้าราชบัลลังก์และต่อพระพักตร์พระเมษโปดก คนเหล่านั้นสวมเสื้อยาวสีขาว.” เสื้อยาวสีขาวหมายถึงการที่พวกเขาสะอาดและชอบธรรมจำเพาะพระเจ้า เนื่องจาก “พวกเขาได้ชำระเสื้อยาวของเขาและทำให้ขาวในพระโลหิตของพระเมษโปดก.”—วิวรณ์ 7:9, 14, ล.ม.
ชื่นชมยินดีในความชอบธรรมของพระยะโฮวา
17. ต้องทำตามขั้นตอนอะไรในการติดตามความชอบธรรม?
17 แม้ว่าพระยะโฮวาทรงจัดเตรียมด้วยความรักให้พระบุตร คือพระเยซูคริสต์ เป็นวิถีทางสำหรับมนุษย์ที่จะบรรลุฐานะอันชอบธรรมจำเพาะพระองค์ แต่ผลมิได้เกิดเองโดยอัตโนมัติ. คนเราต้องสำแดงความเชื่อในค่าไถ่, ดำเนินชีวิตให้ประสานกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า, อุทิศตัวแด่พระยะโฮวา, และแสดงเครื่องหมายของการอุทิศตัวนั้นด้วยการรับบัพติสมาในน้ำ. จากนั้น เขาต้องดำเนินตามความชอบธรรมต่อ ๆ ไป รวมทั้งคุณลักษณะอื่น ๆ ฝ่ายวิญญาณ. ติโมเธียว คริสเตียนคนหนึ่งที่รับบัพติสมาแล้วซึ่งได้รับเรียกฝ่ายสวรรค์ ได้รับคำเตือนสติจากเปาโลดังนี้: “จงติดตามความชอบธรรม, ความเลื่อมใสในพระเจ้า, ความเชื่อ, ความรัก, ความเพียรอดทน, มีใจอ่อนโยน.” (1 ติโมเธียว 6:11, ล.ม.; 2 ติโมเธียว 2:22) พระเยซูยังเน้นด้วยถึงความจำเป็นที่จะพยายามต่อ ๆ ไปเมื่อพระองค์ตรัสว่า “ดังนั้น จงแสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนเสมอไป.” เราอาจพยายามอย่างมากเพื่อจะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักรของพระเจ้า แต่เราได้พยายามอย่างมากเช่นเดียวกันไหมที่จะติดตามแนวทางอันชอบธรรมของพระยะโฮวา?—มัดธาย 6:33, ล.ม.
18. (ก) เหตุใดจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะติดตามความชอบธรรม? (ข) เราจะเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของโลต?
18 แน่นอน การติดตามความชอบธรรมไม่ใช่เรื่องง่าย. ทั้งนี้เพราะเราทุกคนไม่สมบูรณ์และเรามีแนวโน้มตามธรรมชาติไปในทางที่ไม่ชอบธรรม. (ยะซายา 64:6) นอกจากนั้น เราถูกรายล้อมโดยผู้คนที่ไม่ค่อยสนใจแนวทางอันชอบธรรมของพระยะโฮวา. สภาพการณ์ที่เราเผชิญคล้ายกันมากกับที่โลตเผชิญในเมืองโซโดมซึ่งมีชื่อเสียงฉาวโฉ่ชั่วร้าย. อัครสาวกเปโตรอธิบายว่าเหตุใดในตอนนั้นพระยะโฮวาจึงทรงเห็นควรจะช่วยโลตให้รอดพ้นการทำลายล้างที่กำลังจะมาถึง. เปโตรกล่าวว่า “บุรุษผู้ชอบธรรมคนนั้น โดยสิ่งที่ท่านได้เห็นและได้ยินขณะที่อาศัยอยู่ท่ามกลางพวกเขาทุกวัน ทรมานจิตวิญญาณอันชอบธรรมของท่านเนื่องด้วยการกระทำที่ละเลยกฎหมายของพวกเขา.” (2 เปโตร 2:7, 8, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น เราแต่ละคนควรถามตัวเองว่า ‘ฉันเห็นดีเห็นงามเงียบ ๆ ในใจกับการประพฤติผิดศีลธรรมที่เห็นอยู่รอบตัวไหม? ฉันรู้สึกว่าการบันเทิงหรือกีฬาซึ่งเป็นที่นิยมแต่เน้นความรุนแรงเป็นเพียงสิ่งที่ไร้รสนิยมเท่านั้นไหม? หรือว่าฉันรู้สึกทรมานเช่นเดียวกับโลตเนื่องด้วยการกระทำที่ไม่ชอบธรรมเช่นนั้น?’
19. เราจะได้รับพระพรเช่นไรหากเราพบความยินดีในความชอบธรรมของพระเจ้า?
19 ในสมัยนี้ที่เต็มด้วยอันตรายและไม่มีอะไรแน่นอน บทเพลงสรรเสริญ 15:1, 2) โดยการติดตามความชอบธรรมของพระเจ้าและพบความยินดีในความชอบธรรมนั้น เราสามารถรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับพระองค์และได้รับความโปรดปรานและพระพรจากพระองค์ต่อ ๆ ไป. ด้วยวิธีนั้น ชีวิตของเราจึงเป็นชีวิตที่อิ่มใจยินดี, นับถือตัวเอง, และมีความสงบใจ. พระคำของพระเจ้ากล่าวไว้ว่า “คนที่ประพฤติตามความชอบธรรมและความเมตตาจะประสบชีวิต, ความชอบธรรมและเกียรติศักดิ์.” (สุภาษิต 21:21) นอกจากนั้นแล้ว การที่เราพยายามให้ดีที่สุดเพื่อทำสิ่งที่ยุติธรรมและถูกต้องอย่างสุดกำลังย่อมจะทำให้เรามีความสัมพันธ์อันเปี่ยมด้วยความสุขกับผู้อื่นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญประกาศดังนี้: “คนทั้งหลายที่รักษาความสัตย์ธรรมก็เป็นสุข, คือผู้ที่ประพฤติตามความชอบธรรมทุกเวลา.”—บทเพลงสรรเสริญ 106:3.
ความชื่นชมยินดีในความชอบธรรมของพระยะโฮวาเป็นแหล่งแห่งความมั่นคงปลอดภัยและการปกป้อง. ต่อข้อถามที่ว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ผู้ใดจะพักอยู่ในพลับพลาของพระองค์ ใครจะอาศัยอยู่ที่ภูเขาอันบริสุทธิ์ของพระองค์?” กษัตริย์ดาวิดตอบว่า “คือคนที่ประพฤติเที่ยงตรง, ที่กระทำการยุติธรรม [“ความชอบธรรม,” ล.ม.].” ([เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างขวางของพระบัญญัติของโมเซ โปรดดูบทความ “ลักษณะเด่นบางอย่างของสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติ” ในหนังสือการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 214-220 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณอธิบายได้ไหม?
• ความชอบธรรมคืออะไร?
• ความรอดสัมพันธ์อย่างไรกับความชอบธรรมของพระเจ้า?
• พระเจ้าทรงถือว่ามนุษย์เราชอบธรรมโดยอาศัยอะไรเป็นพื้นฐาน?
• เราพบความยินดีในความชอบธรรมของพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
กษัตริย์ดาวิดแสดงความรักจากหัวใจต่อกฎหมายของพระเจ้า
[ภาพหน้า 16]
พระเจ้าทรงถือว่าโนฮา, อับราฮาม, ซะคาเรียและเอลีซาเบ็ต, และโกระเนเลียวเป็นผู้ชอบธรรม. คุณทราบไหมว่าเพราะเหตุใด?