เททรากรัมมาทอนในฉบับเซปตัวจินต์
เททรากรัมมาทอนในฉบับเซปตัวจินต์
ยะโฮวา พระนามของพระเจ้าปรากฏในรูปเททรากรัมมาทอน ซึ่งเป็นอักษรภาษาฮีบรูสี่ตัว คือ יהוה (ยฮวฮ). เคยเชื่อกันมานานว่าเททรากรัมมาทอนไม่ปรากฏในสำเนาฉบับเซปตัวจินต์. ฉะนั้น จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเมื่อผู้เขียนคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกยกข้อความจากคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู ผู้เขียนเหล่านั้นคงไม่ได้ใช้พระนามของพระเจ้าในงานเขียนของเขา.
จากการค้นคว้าที่กระทำกันมาตลอดร้อยกว่าปีมานี้ได้เปิดเผยให้รู้ว่าพระนามของพระเจ้ามีปรากฏอยู่ในฉบับเซปตัวจินต์ จริง. แหล่งหนึ่งบอกว่า “ความปรารถนาของชาวยิวที่มีแนวคิดแบบกรีกที่จะรักษาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าอย่างถูกต้องแม่นยำแรงกล้าถึงขนาดเมื่อเขาแปลคัมภีร์ไบเบิลภาคภาษาฮีบรูเป็นภาษากรีก เขาคัดลอกตัวอักษรจริง ๆ ของเททรากรัมมาทอนลงในข้อความภาษากรีก.”
ภาพชิ้นส่วนพาไพรัสที่แสดงไว้ด้านซ้ายเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งจากสำเนาหลายฉบับที่มีอยู่. เศษชิ้นส่วนอันนี้ค้นพบในออกซิริงคัส ประเทศอียิปต์ และถูกจัดไว้ในหมายเลข 3522 มีอายุย้อนหลังไปถึงศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช. * วัดขนาดได้ประมาณ 2.5 คูณ 4 นิ้ว และบรรจุข้อความจากพระธรรมโยบ 42:11, 12. เททรากรัมมาทอนในรูปลักษณ์อักษรฮีบรูโบราณปรากฏอยู่ภายในรูปวงรี. *
ถ้าเช่นนั้นแล้ว มีพระนามของพระเจ้าปรากฏอยู่ในสำเนารุ่นแรก ๆ ของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกไหม? จอร์จ โฮเวิร์ด ผู้คงแก่เรียนพูดว่า “ด้วยเหตุอักษรเททรากรัมมาทอนยังมีจารึกไว้ในพระคัมภีร์ภาษากรีก [เซปตัวจินต์] ซึ่งรวมอยู่ในพระคัมภีร์ของคริสตจักรสมัยแรก นับว่ามีเหตุผลจะเชื่อได้ว่าเมื่อผู้เขียนพระคัมภีร์ [ภาคพันธสัญญาใหม่] ยกข้อคัมภีร์ขึ้นมา พวกเขายอมให้อักษรเททรากรัมมาทอนคงอยู่ในข้อพระคัมภีร์.” ดูเหมือนไม่นานหลังจากนั้นผู้คัดลอกสำเนาได้นำเอาคำอื่น เช่น คีริออส (องค์พระผู้เป็นเจ้า) และธีออส (พระเจ้า) มาใช้แทนพระนามของพระเจ้า.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับแผ่นพาไพรัสที่ถูกค้นพบในเมืองออกซิริงคัส โปรดอ่านวารสารหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 กุมภาพันธ์ 1992 หน้า 27-29.
^ วรรค 4 เพื่อทราบตัวอย่างอื่น ๆ อีกเกี่ยวกับพระนามของพระเจ้าในฉบับแปลต่าง ๆ ที่เป็นภาษากรีกโบราณ โปรดดูจากพระคัมภีร์บริสุทธิ์ฉบับแปลโลกใหม่—พร้อมด้วยข้ออ้างอิง (ภาษาอังกฤษ), ภาคผนวก 1C.
[ภาพหน้า 30]
Courtesy of the Egypt Exploration Society