ได้รับการชำระในฐานะชนชาติหนึ่งเพื่อการกระทำที่ดีงาม
ได้รับการชำระในฐานะชนชาติหนึ่งเพื่อการกระทำที่ดีงาม
“ให้เราชำระตัวเราจากมลทินทุกอย่างแห่งเนื้อหนังและวิญญาณ ทำความบริสุทธิ์ให้สมบูรณ์ด้วยความเกรงกลัวพระเจ้า.”—2 โกรินโธ 7:1, ล.ม.
1. พระยะโฮวาทรงเรียกร้องอะไรจากผู้ที่นมัสการพระองค์?
“ผู้ใดจะขึ้นไปยังภูเขาของพระยะโฮวา? ใครจะยืนอยู่ในที่บริสุทธิ์ของพระองค์?” กษัตริย์ดาวิดแห่งชาติอิสราเอลโบราณตั้งคำถามที่กระตุ้นความคิดดังกล่าวเกี่ยวกับการนมัสการที่พระยะโฮวาทรงยอมรับ. จากนั้น ท่านก็ให้คำตอบว่า “คือผู้ที่มีมือสะอาดหมดจด, และมีใจบริสุทธิ์; ผู้ซึ่งมิได้ปลงจิตต์ใจในการมุสาวาท, และไม่ได้สาบานตัวเป็นคำเท็จ.” (บทเพลงสรรเสริญ 24:3, 4) เพื่อจะได้การยอมรับจากพระยะโฮวาผู้ทรงเป็นแบบฉบับของความบริสุทธิ์ คนเราต้องสะอาดและบริสุทธิ์. ก่อนหน้านั้น พระยะโฮวาทรงเตือนประชาคมแห่งอิสราเอลว่า “จงชำระตัวไว้ให้บริสุทธิ์ เพราะเราบริสุทธิ์.”—เลวีติโก 11:44, 45, ฉบับแปลใหม่; 19:2.
2. เปาโลและยาโกโบเน้นอย่างไรเกี่ยวกับความสำคัญของความสะอาดในการนมัสการแท้?
2 หลายศตวรรษต่อมา อัครสาวกเปาโลเขียนถึงเพื่อนคริสเตียนในเมืองโครินท์ (โกรินโธ) ที่เสื่อมศีลธรรมดังนี้: “เนื่องจากเรามีคำสัญญาเหล่านี้ ท่านที่รักทั้งหลาย ให้เราชำระตัวเราจากมลทินทุกอย่างแห่งเนื้อหนังและวิญญาณ ทำความบริสุทธิ์ให้สมบูรณ์ด้วยความเกรงกลัวพระเจ้า.” (2 โกรินโธ 7:1, ล.ม.) อีกครั้งหนึ่ง ข้อนี้ชี้ว่าเพื่อจะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าและรับพระพรตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้ คนเราต้องสะอาดและปราศจากมลทินและความเสื่อมทรามทางกายและฝ่ายวิญญาณ. คล้ายกันนั้น เมื่อเขียนเกี่ยวกับการนมัสการที่พระเจ้าทรงยอมรับ สาวกยาโกโบกล่าวว่า “แบบแห่งการนมัสการที่สะอาดและปราศจากมลทินจากทัศนะของพระเจ้า และพระบิดาของเราเป็นดังนี้: ให้เอาใจใส่ดูแลลูกกำพร้าและหญิงม่ายในความทุกข์ยากของเขา และรักษาตัวให้ปราศจากด่างพร้อยของโลก.”—ยาโกโบ 1:27, ล.ม.
3. เพื่อที่พระเจ้าจะทรงยอมรับการนมัสการของเราได้ เราต้องสนใจอย่างจริงจังในเรื่องใด?
3 เนื่องจากการเป็นคนสะอาด, บริสุทธิ์, และปราศจากมลทินเป็นปัจจัยสำคัญในการนมัสการแท้ดังได้กล่าวไปแล้ว ใครก็ตามที่ปรารถนาจะได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าควรสนใจอย่างจริงจังที่จะบรรลุข้อเรียกร้องในเรื่องนี้. แต่เนื่องจากผู้คนในปัจจุบันมีมาตรฐานและแนวคิดที่แตกต่างกันมากในเรื่องความสะอาด เราจำเป็นต้องเข้าใจและยึดมั่นอยู่กับมาตรฐานที่พระยะโฮวาทรงถือว่าสะอาดและยอมรับได้. เราจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงเรียกร้องอะไรในเรื่องนี้จากผู้ที่นมัสการพระองค์ และพระองค์ได้ทำอะไรเพื่อช่วยพวกเขาให้เป็นคนสะอาดและเป็นที่ยอมรับจากพระองค์ รวมทั้งเพื่อช่วยพวกเขาให้รักษาตัวสะอาดต่อ ๆ ไป.—บทเพลงสรรเสริญ 119:9; ดานิเอล 12:10.
สะอาดเพื่อการนมัสการแท้
4. จงอธิบายแนวคิดของคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องความสะอาด.
4 สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ความสะอาดหมายถึงเพียงแค่สภาพที่ปราศจากสิ่งเปรอะเปื้อนหรือการปนเปื้อน. แต่ในคัมภีร์ไบเบิล แนวคิดเรื่องความสะอาดมีแสดงอยู่ในคำฮีบรูและกรีกหลายคำซึ่งพรรณนาความสะอาดไม่เพียงในความหมายทางกายภาพเท่านั้น แต่มักมีความหมายทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณด้วย. ด้วยเหตุนั้น สารานุกรมคัมภีร์ไบเบิลเล่มหนึ่งจึงกล่าวว่า “ ‘สะอาด’ และ ‘ไม่สะอาด’ เป็นคำที่น้อยครั้งจะใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขอนามัย แต่ส่วนใหญ่จะใช้ในแนวคิดทางศาสนา. ตามคำจำกัดความดังกล่าว หลักการในเรื่อง ‘ความสะอาด’ จึงส่งผลกระทบเกือบจะทุกแง่มุมของชีวิต.”
5. พระบัญญัติของโมเซควบคุมความสะอาดในชีวิตของชาวอิสราเอลถึงขนาดไหน?
5 ที่จริง พระบัญญัติของโมเซมีกฎและระเบียบในแทบจะทุกแง่มุมในชีวิตของชาวอิสราเอล กำหนดชัดเลยว่าอะไรสะอาดและเป็นที่ยอมรับ อะไรไม่สะอาดและไม่เป็นที่ยอมรับ. ยกตัวอย่าง ในเลวีติโกบท 11 ถึง 15 เราพบคำสั่งที่กำหนดไว้อย่างละเอียดเกี่ยวกับความสะอาดและความไม่สะอาด. สัตว์บางชนิดถือว่าไม่สะอาด และชาวอิสราเอลต้องไม่กินสัตว์เหล่านี้. การคลอดบุตรจะทำให้ผู้หญิงไม่สะอาดอยู่ชั่วระยะหนึ่ง. ในทำนองเดียวกัน โรคผิวหนังบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อนและสิ่งที่ขับออกทางอวัยวะเพศของชายและหญิง ก็ทำให้คนเราไม่สะอาด. พระบัญญัติยังระบุด้วยถึงสิ่งที่ควรทำเมื่อมีความไม่สะอาดเกิดขึ้น. ยกตัวอย่าง ที่อาฤธโม 5:2 (ฉบับแปลใหม่) เราอ่านดังนี้: “จงบัญชาคนอิสราเอลให้สั่งบรรดาคนโรคเรื้อน และทุกคนที่มีสิ่งไหลออก และทุกคนที่มลทินเพราะการถูกซากศพให้ไปนอกค่าย.”
6. กฎหมายในเรื่องความสะอาดประทานให้ด้วยจุดประสงค์อะไร?
6 ไม่ต้องสงสัย กฎหมายเหล่านี้และกฎหมายอื่น ๆ ของพระยะโฮวาสะท้อนถึงแนวคิดทางการแพทย์และทางสรีรศาสตร์ที่ล้ำสมัย และผู้คนได้รับประโยชน์เมื่อพวกเขาปฏิบัติตาม. กระนั้น กฎหมายเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎด้านสุขภาพหรือทำหน้าที่เป็นแค่ข้อควรปฏิบัติทางการรักษา. กฎหมายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการแท้. ข้อเท็จจริงที่กฎหมายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คน—ไม่ว่าจะในเรื่องการกิน, การคลอดบุตร, ความสัมพันธ์ในชีวิตสมรส, และอื่น ๆ—ต่างก็เน้นจุดสำคัญที่ว่าพระยะโฮวาพระเจ้าของพวกเขาทรงมีสิทธิ์ที่จะกำหนดว่าอะไรเหมาะอะไรไม่เหมาะในทุกแง่มุมของชีวิตพวกเขา ซึ่งได้อุทิศโดยเฉพาะแด่พระองค์.—พระบัญญัติ 7:6; บทเพลงสรรเสริญ 135:4.
7. ด้วยการปฏิบัติตามพระบัญญัติ ชาติอิสราเอลจะได้รับพระพรเช่นไร?
7 นอกจากนี้ สัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติยังป้องกันชาวอิสราเอลไว้จากกิจปฏิบัติที่เสื่อมทรามของชาติต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบ. โดยปฏิบัติตามพระบัญญัติอย่างซื่อสัตย์ รวมทั้งข้อเรียกร้องทุกอย่างสำหรับการคงความสะอาดในสายพระเนตรของพระยะโฮวา ชาวอิสราเอลก็จะอยู่ในฐานะที่เหมาะสมจะรับใช้พระเจ้าและได้รับความโปรดปรานจากพระองค์. ในเรื่องนี้ พระยะโฮวาตรัสแก่ชาตินี้ว่า “ถ้าเจ้าทั้งหลายจะฟังถ้อยคำของเราจริง ๆ, และรักษาคำสัญญาไมตรีของเราไว้, เจ้าจะเป็นทรัพย์ประเสริฐของเรายิ่งกว่าชาติทั้งปวง: เพราะเราเป็นเจ้าของโลกทั้งสิ้น: เจ้าทั้งหลายจะเป็นอาณาจักรแห่งปุโรหิต, และจะเป็นชนชาติอันบริสุทธิ์สำหรับเรา.”—เอ็กโซโด 19:5, 6; พระบัญญัติ 26:19.
8. เหตุใดคริสเตียนในปัจจุบันควรเอาใจใส่สิ่งที่มีกล่าวไว้ในพระบัญญัติเกี่ยวกับความสะอาด?
โกโลซาย 2:17, ล.ม.; เฮ็บราย 10:1) หากพระยะโฮวาพระเจ้าผู้ตรัสว่า “เรายะโฮวา, ไม่กลับกลอก” ทรงถือว่าความสะอาดและการรักษาตัวให้ปราศจากมลทินเป็นปัจจัยสำคัญในการนมัสการแท้สมัยนั้น เราในสมัยนี้ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นคนสะอาดด้านร่างกาย, ศีลธรรม, และฝ่ายวิญญาณ หากเราปรารถนาจะได้รับความพอพระทัยและพระพรจากพระองค์.—มาลาคี 3:6; โรม 15:4; 1 โกรินโธ 10:11, 31.
8 เนื่องจากพระยะโฮวาทรงแจ้งรายละเอียดเช่นนั้นไว้ในพระบัญญัติเพื่อสั่งสอนชาวอิสราเอลเกี่ยวกับวิธีที่จะมีฐานะที่สะอาด, บริสุทธิ์, และเป็นที่ยอมรับจากพระองค์ ไม่เหมาะหรอกหรือที่คริสเตียนในปัจจุบันจะพิจารณาอย่างรอบคอบว่าตนได้บรรลุข้อเรียกร้องเหล่านี้แล้วอย่างไร? แม้ว่าคริสเตียนไม่ถูกผูกมัดโดยพระบัญญัติ พวกเขาต้องระลึกเสมอดังที่เปาโลอธิบายว่า ทุกสิ่งที่มีไว้ในพระบัญญัติ “เป็นเงาของสิ่งที่จะมีมา แต่ความเป็นจริงเป็นของพระคริสต์.” (ความสะอาดด้านร่างกายช่วยแนะนำตัวเรา
9, 10. (ก) เหตุใดความสะอาดด้านร่างกายจึงสำคัญสำหรับคริสเตียน? (ข) บ่อยครั้งมีผู้ให้ความเห็นเช่นไรเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ของพยานพระยะโฮวา?
9 ความสะอาดด้านร่างกายยังคงเป็นส่วนสำคัญของการนมัสการแท้ไหม? แม้ว่าความสะอาดด้านร่างกายเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับใช้แท้ของพระเจ้า แต่เป็นเรื่องเหมาะสมอย่างแน่นอนที่ผู้รับใช้แท้จะสะอาดด้านร่างกายเท่าที่สภาพการณ์ของเขาจะอำนวย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ผู้คนมากมายไม่ค่อยสนใจนักในการรักษาความสะอาดของตัวเอง, เสื้อผ้า, หรือสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ คนที่รักษาความสะอาดมักเป็นที่สังเกตจากผู้คนรอบข้าง. เมื่อเป็นอย่างนี้ก็อาจก่อผลดี ดังที่เปาโลบอกคริสเตียนในเมืองโครินท์ว่า “ไม่ว่าทางใดเรามิได้เป็นเหตุให้มีการสะดุด เพื่องานของเราไม่เป็นที่ติเตียนได้; แต่ในทุกวิถีทางเราแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า.”—2 โกรินโธ 6:3, 4, ล.ม.
10 บ่อยครั้งที่พยานพระยะโฮวาได้รับคำชมเชยจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองสำหรับความประพฤติและนิสัยที่สะอาด, เป็นระเบียบ, และน่านับถือ ซึ่งเห็นได้ชัดเป็นพิเศษ ณ การประชุมใหญ่ของพวกเขา. ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ลา สตามปา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการประชุมภาคครั้งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดซาโวนา ประเทศอิตาลี ดังนี้: “สิ่งที่โดดเด่นและเห็นได้ในทันทีที่เดินไปตามอาคารต่าง ๆ คือความสะอาดและความเป็นระเบียบของผู้คนที่ใช้อาคาร.” ภายหลังการประชุมภาคของพยานฯ ณ สนามกีฬาแห่งหนึ่งในเมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล เจ้าหน้าที่ดูแลสนามบอกหัวหน้าพนักงานทำความสะอาดว่า “ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เราต้องการให้สนามนี้สะอาดอย่างที่พยานพระยะโฮวาได้ทำไว้.” เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งของสนามกีฬาเดียวกันนี้กล่าวว่า “เมื่อพยานพระยะโฮวาขอเช่าสนามนี้ ที่เราเป็นห่วงก็มีแต่เรื่องวันเวลาเท่านั้น. ไม่มีอะไรอย่างอื่นที่เราต้องกังวลเลย.”
11, 12. (ก) หลักการอะไรในคัมภีร์ไบเบิลที่เราควรจำไว้เสมอในเรื่องความสะอาดส่วนตัว? (ข) เราอาจถามตัวเองเช่นไรเกี่ยวกับนิสัยส่วนตัวและวิธีที่เราดำเนินชีวิต?
11 หากความสะอาดและความเป็นระเบียบในสถานที่นมัสการของเราสามารถชักนำผู้คนให้สรรเสริญพระเจ้าที่เรานมัสการ การสำแดงคุณลักษณะเหล่านี้ในชีวิตส่วนตัวของเราย่อมสำคัญพอ ๆ กันอย่างแน่นอน. อย่างไรก็ตาม ในบ้านของเราเอง เราอาจรู้สึกว่าเรามีสิทธิ์ที่จะปล่อยตามสบายและทำตามใจชอบ. และแน่นอน เรามีเสรีภาพที่จะเลือกสิ่งซึ่งเราคิดว่าสบายและน่าพอใจในเรื่องการแต่งกายและการประดับตัว! กระนั้น โดยมากแล้ว การใช้เสรีภาพของเราต้องคำนึงถึงผู้อื่นด้วย. ขอให้จำไว้ว่าเมื่อเปาโลพิจารณาในเรื่องการเลือกรับประทานอาหารบางอย่าง ท่านเตือนเพื่อนคริสเตียนดังนี้: “จงระวังให้ดี, เกรงว่าการที่ท่านทั้งหลายกระทำด้วยความอิสระนั้น จะเป็นเหตุให้คนที่อ่อนในความเชื่อหลงผิดไป.” ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ให้หลักการที่มีค่ายิ่งที่ว่า “เราทำสิ่งสารพัดได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะทำได้นั้นเป็นประโยชน์ เราทำสิ่งสารพัดได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะทำให้เจริญขึ้น.” (1 โกรินโธ 8:9; 10:23, ฉบับแปลใหม่) คำแนะนำของเปาโลใช้ได้อย่างไรกับเราในเรื่องความสะอาด?
12 เป็นเรื่องสมเหตุผลที่ผู้คนจะคาดหมายว่าผู้รับใช้ของพระเจ้าน่าจะดำเนินชีวิตอย่างที่สะอาดและเป็นระเบียบ. ด้วยเหตุนั้น เราควรแน่ใจว่าบ้านและสภาพแวดล้อมที่เราอยู่มีลักษณะที่ไม่ทำให้เสื่อมเสียสถานภาพที่เราอ้างว่าเป็น คือผู้รับใช้แห่งพระคำของพระเจ้า. บ้านของเราให้พยาน2 เปโตร 3:13) ในทำนองเดียวกัน การปรากฏกายของเรา—ไม่ว่าจะในช่วงเวลาที่เป็นกันเองสบาย ๆ หรือในงานรับใช้—อาจทำให้ข่าวสารที่เราประกาศเป็นที่ดึงดูดใจมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้. ตัวอย่างเช่น ขอให้สังเกตความเห็นที่ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์คนหนึ่งในเม็กซิโกกล่าวไว้ว่า “ที่จริง มีคนหนุ่มสาวจำนวนมากเป็นสมาชิกของพยานพระยะโฮวา และสิ่งที่โดดเด่นก็คือทรงผมของพวกเขา, ความสะอาด, และการแต่งกายที่เหมาะสม.” ช่างเป็นเรื่องที่น่ายินดีจริง ๆ ที่มีคนหนุ่มสาวเช่นนั้นในท่ามกลางพวกเรา!
หรือหลักฐานแบบไหนเกี่ยวกับตัวเราและความเชื่อของเรา? บ้านของเราแสดงให้เห็นไหมว่าเราปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะอยู่ในโลกใหม่อันชอบธรรมที่สะอาดและเป็นระเบียบ ซึ่งเราแนะนำแก่ผู้อื่นอย่างหนักแน่น? (13. เราอาจทำอะไรได้บ้างเพื่อให้แน่ใจว่าชีวิตประจำวันของเราในทุกแง่มุมสะอาดและเป็นระเบียบ?
13 แน่นอน การรักษาร่างกาย, ข้าวของ, และบ้านของเราให้สะอาดและเป็นระเบียบเสมอเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก. สิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่เครื่องไม้เครื่องมือที่ซับซ้อนและราคาแพง หากแต่เป็นการวางแผนที่ดีและความพยายามที่สม่ำเสมอ. ต้องกันเวลาไว้โดยเฉพาะเพื่อทำความสะอาดร่างกาย, เสื้อผ้า, บ้าน, รถ, และสิ่งอื่น ๆ. การมีธุระยุ่งในงานรับใช้, การเข้าร่วมประชุม, และการศึกษาส่วนตัว—นอกเหนือไปจากการดูแลพันธะหน้าที่อื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน—ไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่เราจะไม่รักษาตัวสะอาดและเป็นที่ยอมรับในสายพระเนตรพระเจ้าและในสายตามนุษย์. หลักการที่คุ้นเคยกันดีที่ว่า “มีเวลากำหนดสำหรับทุกสิ่ง” ใช้ได้ดีด้วยกับชีวิตเราในด้านนี้.—ท่านผู้ประกาศ 3:1, ล.ม.
หัวใจที่ไร้มลทิน
14. เหตุใดจึงอาจกล่าวได้ว่าความสะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณสำคัญยิ่งกว่าความสะอาดด้านร่างกาย?
14 แม้ว่าการเอาใจใส่ความสะอาดด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีกคือการเอาใจใส่ความสะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ. เราลงความเห็นอย่างนี้จากการระลึกถึงว่า ชาติอิสราเอลถูกพระยะโฮวาปฏิเสธ ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่สะอาดด้านร่างกาย แต่เพราะพวกเขาเสื่อมถอยด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ. พระยะโฮวาตรัสแก่พวกเขาโดยทางผู้พยากรณ์ยะซายาว่า เนื่องจากพวกเขาเป็น “ประเทศที่เต็มไปด้วยบาป, พลเมืองที่เพียบไปด้วยอสัตย์อธรรม” เครื่องบูชาที่พวกเขาถวาย, การถือรักษาวันแรกเดือนขึ้นและซะบาโต, และแม้แต่คำอธิษฐานของพวกเขาได้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ยะซายา 1:4, 11-16.
รำคาญพระทัย. พวกเขาควรทำอะไรเพื่อจะได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวาอีก? พระยะโฮวาตรัสว่า “ล้างเสียเถอะ, จงชำระตัวเสียให้สะอาดหมดจด; เจ้าจงเลิกทำการชั่วและกำจัดมันเสียให้พ้นจากสายตาของเรา; จงงดกระทำชั่วเสียทีเดียว.”—15, 16. พระเยซูตรัสว่าอะไรที่ทำให้คนเราเป็นมลทิน และเราจะได้รับประโยชน์จากคำตรัสของพระเยซูได้อย่างไร?
15 เพื่อจะเข้าใจดีขึ้นในเรื่องความสำคัญของความสะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ ขอให้พิจารณาคำตรัสของพระเยซูเมื่อพวกฟาริซายและอาลักษณ์ยืนยันหนักแน่นว่า สาวกของพระองค์ไม่สะอาดเพราะไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร. พระเยซูทรงแก้ความเข้าใจของพวกเขาโดยตรัสว่า “มิใช่สิ่งซึ่งเข้าไปในปากจะทำให้มนุษย์เป็นมลทิน แต่สิ่งซึ่งออกมาจากปากนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน.” จากนั้น พระเยซูทรงอธิบายว่า “สิ่งที่ออกจากปากก็ออกมาแต่ใจ นั่นแหละเป็นที่ทำให้มนุษย์มลทินไป. ด้วยว่าความคิดชั่วร้าย, การฆ่าคน, การผิดผัวเมียกัน, การเล่นชู้กัน, การลักขโมยกัน, การเป็นพยานเท็จ, การกล่าวคำหมิ่นประมาท, ก็ออกมาแต่ใจ สิ่งเหล่านี้แหละทำให้มนุษย์มลทิน แต่ซึ่งจะรับประทานอาหารโดยไม่ล้างมือก่อนไม่ได้ทำให้มลทิน.”—มัดธาย 15:11, 18-20.
16 เราเรียนอะไรได้จากคำตรัสของพระเยซู? พระเยซูทรงชี้ว่าการกระทำที่ชั่ว, ผิดศีลธรรม, และไม่สะอาดเกิดมาจากแนวโน้มที่ชั่ว, ผิดศีลธรรม, และไม่สะอาดในหัวใจ. ดังที่สาวกยาโกโบได้กล่าวไว้ “ทุกคนถูกทดลองโดยที่ความปรารถนาของเขาเองชักนำและล่อใจเขา.” (ยาโกโบ 1:14, 15, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น หากเราไม่ต้องการพลาดพลั้งทำบาปร้ายแรงอย่างที่พระเยซูทรงพรรณนาถึง เราต้องถอนรากถอนโคนแนวโน้มเช่นนั้นและระวังอย่าให้แนวโน้มดังกล่าวคงอยู่ในหัวใจเรา. นั่นหมายความว่าเราต้องระวังเกี่ยวกับสิ่งที่เราอ่าน, ชม, และฟัง. ปัจจุบัน อุตสาหกรรมบันเทิงและโฆษณาผลิตเสียงและภาพที่สนองความกระหายของเนื้อหนังที่ผิดบาปออกมามากมายไม่ขาดสาย โดยอ้างเสรีภาพในการพูดและถือว่าเป็นการส่งเสริมศิลปะ. เราควรตั้งใจแน่วแน่ที่จะไม่ปล่อยให้แนวคิดเช่นนั้นฝังรากในหัวใจของเรา. จุดสำคัญก็คือว่า เพื่อที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัยและยอมรับ เราต้องระวังระไวอยู่เสมอในการรักษาหัวใจที่สะอาดปราศจากมลทิน.—สุภาษิต 4:23.
ได้รับการชำระให้สะอาดเพื่อการกระทำที่ดีงาม
17. เหตุใดพระยะโฮวาทรงนำไพร่พลของพระองค์ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด?
17 นับเป็นพระพรและการป้องกันอย่างแน่นอนที่เราสามารถมีฐานะที่สะอาดจำเพาะพระยะโฮวา ด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์. (2 โกรินโธ 6:14-18) ถึงกระนั้น เราเข้าใจด้วยว่าพระยะโฮวาทรงนำไพร่พลของพระองค์ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดโดยมีจุดประสงค์อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ. เปาโลบอกติโตว่าพระคริสต์เยซู “ทรงประทานพระองค์เองเพื่อเรา เพื่อพระองค์จะทรงช่วยเราให้พ้นจากการละเมิดกฎหมายทุกชนิดและชำระชนชาติหนึ่งสำหรับพระองค์ซึ่งเป็นของพระองค์โดยเฉพาะ ให้มีใจแรงกล้าเพื่อการกระทำที่ดีงาม.” (ติโต 2:14, ล.ม.) ในฐานะไพร่พลที่ได้รับการชำระสะอาดแล้ว เราควรมีใจแรงกล้าเพื่อการกระทำอะไร?
18. เราจะแสดงว่าเรามีใจแรงกล้าสำหรับการกระทำที่ดีงามได้อย่างไร?
18 ก่อนอื่น เราควรทุ่มเทตัวเองในการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่ผู้คนทั่วไป. (มัดธาย 24:14) โดยทำอย่างนั้น เราเสนอความหวังแก่ผู้คนในทุกหนแห่งที่จะมีชีวิตตลอดไปบนแผ่นดินโลกซึ่งปราศจากมลพิษทุกชนิด. (2 เปโตร 3:13) การกระทำที่ดีงามของเรายังเกี่ยวข้องด้วยกับการแสดงผลแห่งพระวิญญาณของพระเจ้าในชีวิตทุก ๆ วัน และถวายพระเกียรติแด่พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราด้วยการทำอย่างนั้น. (ฆะลาเตีย 5:22, 23; 1 เปโตร 2:12) และเราไม่ลืมคนที่ไม่ได้อยู่ในความจริงซึ่งประสบความเสียหายอย่างหนักจากภัยพิบัติธรรมชาติหรือโศกนาฏกรรมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์. เราระลึกถึงคำแนะเตือนของเปาโลที่ว่า “ถ้าเช่นนั้น แท้จริงแล้ว ตราบที่เรามีโอกาสเหมาะ ให้เราทำการดีต่อคนทั้งปวง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่สัมพันธ์กับเราในความเชื่อ.” (ฆะลาเตีย 6:10, ล.ม.) การทำดีทุกอย่างเช่นนั้น ซึ่งออกมาจากหัวใจที่สะอาดและด้วยแรงจูงใจที่บริสุทธิ์ เป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า.—1 ติโมเธียว 1:5.
19. พระพรอะไรรอเราอยู่หากเรารักษามาตรฐานสูงต่อ ๆ ไปในเรื่องความสะอาดด้านร่างกาย, ศีลธรรม, และฝ่ายวิญญาณ?
19 ในฐานะผู้รับใช้ขององค์สูงสุด เราเอาใจใส่คำกล่าวของเปาโลที่ว่า “พี่น้องทั้งหลาย อาศัยความเมตตาสงสารของพระเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายร่างกายของท่านเป็นเครื่องบูชาอันมีชีวิตอยู่, บริสุทธิ์, ที่พระเจ้าทรงยอมรับได้, เป็นการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์พร้อมด้วยความสามารถของท่านในการหาเหตุผล.” (โรม 12:1, ล.ม.) ขอให้เราหยั่งรู้ค่าต่อ ๆ ไปในสิทธิพิเศษที่ได้รับการชำระโดยพระยะโฮวา และพยายามเต็มที่เพื่อรักษามาตรฐานสูงในเรื่องความสะอาดด้านร่างกาย, ศีลธรรม, และฝ่ายวิญญาณ. การทำอย่างนี้จะไม่เพียงแต่ทำให้เรานับถือตัวเองและพึงพอใจในขณะนี้ แต่ยังจะทำให้เรามีความหวังที่จะเห็น “สิ่งที่เคยมีอยู่เดิม” อันได้แก่ระบบปัจจุบันที่ชั่วร้ายและเสื่อมทรามผ่านพ้นไปเมื่อพระเจ้า “ทำสิ่งทั้งปวงให้ใหม่.”—วิวรณ์ 21:4, 5, ล.ม.
คุณจำได้ไหม?
• เหตุใดชาวอิสราเอลได้รับมอบกฎหมายมากมายในเรื่องความสะอาด?
• ความสะอาดด้านร่างกายช่วยให้ข่าวสารที่เราประกาศเป็นที่ดึงดูดใจยิ่งขึ้นอย่างไร?
• เหตุใดความสะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณสำคัญยิ่งกว่าความสะอาดด้านร่างกายเสียอีก?
• เราจะแสดงได้โดยวิธีใดว่าเราเป็นผู้คนที่ “มีใจแรงกล้าเพื่อการกระทำที่ดีงาม”?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
ความสะอาดด้านร่างกายช่วยให้ข่าวสารที่เราประกาศเป็นที่ดึงดูดใจยิ่งขึ้น
[ภาพหน้า 22]
พระเยซูทรงเตือนว่าความคิดที่ไม่ดีชักนำให้ทำชั่ว
[ภาพหน้า 23]
ในฐานะผู้คนที่ได้รับการชำระสะอาดแล้ว พยานพระยะโฮวามีใจแรงกล้าเพื่อการกระทำที่ดีงาม