คริสเตียนนมัสการด้วยวิญญาณและความจริง
คริสเตียนนมัสการด้วยวิญญาณและความจริง
“พระเจ้าทรงเป็นองค์วิญญาณ และผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการด้วยวิญญาณและความจริง.”—โยฮัน 4:24, ล.ม.
1. การนมัสการแบบใดเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า?
พระเยซูคริสต์ พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระยะโฮวากล่าวไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการนมัสการแบบที่พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์พอพระทัย. ในขณะให้คำพยานที่อบอุ่นหัวใจแก่หญิงชาวซะมาเรียคนหนึ่งที่บ่อน้ำใกล้เมืองซูคาร พระเยซูตรัสว่า “ซึ่งพวกเจ้านมัสการนั้นเจ้าไม่รู้จัก; ซึ่งพวกเรานมัสการเรารู้จัก เพราะว่าความรอดนั้นมาทางพวกยิว. อย่างไรก็ดี จะมีเวลานั้น และก็คือเดี๋ยวนี้ ที่ผู้นมัสการแท้ทั้งหลายจะนมัสการพระบิดาด้วยวิญญาณและความจริง เพราะแท้จริง พระบิดาทรงแสวงหาคนอย่างนั้นนมัสการพระองค์. พระเจ้าทรงเป็นองค์วิญญาณ และผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการด้วยวิญญาณและความจริง.” (โยฮัน 4:22-24, ล.ม.) เราจะเข้าใจถ้อยคำเหล่านี้ของพระเยซูว่าอย่างไร?
2. การนมัสการของชาวซะมาเรียอาศัยอะไร?
2 ชาวซะมาเรียมีแนวคิดที่ผิดทางศาสนา. พวกเขายอมรับเฉพาะพระธรรมห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์บริสุทธิ์ว่ามีขึ้นโดยการดลใจ และยอมรับพระธรรมเหล่านี้เฉพาะที่มีในฉบับแปลของเขาเองเท่านั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า เพนทาทุกของซะมาเรีย. ในขณะที่ชาวซะมาเรียไม่ได้รู้จักพระเจ้าอย่างแท้จริง แต่ชาวยิวได้รับฝากความรู้ในพระคัมภีร์. (โรม 3:1, 2, ล.ม.) ทั้งชาวยิวที่ซื่อสัตย์และคนอื่น ๆ ต่างมีโอกาสได้รับความโปรดปรานจากพระยะโฮวา. แต่พวกเขาต้องทำอะไรเพื่อจะได้รับสิ่งนี้?
3. อะไรเป็นข้อเรียกร้องเพื่อจะนมัสการพระเจ้า “ด้วยวิญญาณและความจริง”?
3 เพื่อชาวยิว, ชาวซะมาเรีย, และคนอื่น ๆ ในสมัยอดีตจะเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา พวกเขาต้องทำประการใด? พวกเขาต้องนมัสการพระองค์ “ด้วยวิญญาณและความจริง.” พวกเราก็เช่นกัน. ถึงแม้งานรับใช้ที่เราถวายแด่พระเจ้าต้องทำด้วยวิญญาณหรือด้วยใจแรงกล้า และได้รับการกระตุ้นจากหัวใจที่เปี่ยมด้วยความรักและความเชื่อ แต่การนมัสการพระเจ้าด้วยวิญญาณเรียกร้องเราเป็นพิเศษที่จะมีพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์อยู่กับเรา และยอมให้พระวิญญาณนั้นชี้นำเรา. โดยการศึกษาพระคำของพระเจ้าและนำไปใช้ วิญญาณหรือทัศนคติของเราจะประสานกับพระวิญญาณของพระองค์. (1 โกรินโธ 2:8-12) นอกจากนี้ เพื่อการนมัสการของเราจะเป็นที่ยอมรับจากพระยะโฮวา เราต้องถวายการนมัสการแด่พระองค์ด้วยความจริง. การนมัสการของเราต้องลงรอยกับสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า ได้เปิดเผยเกี่ยวกับพระองค์และพระประสงค์ของพระองค์.
มีทางที่จะพบความจริงได้
4. บางคนมีทัศนะเช่นไรในเรื่องความจริง?
4 ผู้ที่ศึกษาด้านปรัชญาบางคนได้พัฒนาแง่คิดที่ว่าความ
จริงสัมบูรณ์อยู่ไกลเกินกว่าที่มนุษยชาติจะบรรลุถึง. ที่จริง อัลฟ์ อาห์ลเบิร์ก นักประพันธ์ชาวสวีเดนได้เขียนไว้ดังนี้: “คำถามทางปรัชญาหลายข้อเป็นไปในลักษณะที่ไม่สามารถจะให้คำตอบที่ตายตัวเพียงคำตอบเดียวได้.” ถึงแม้บางคนกล่าวว่า มีแต่ความจริงสัมพัทธ์เท่านั้น แต่เป็นเช่นนั้นจริงไหม? พระเยซูคริสต์ไม่ได้คิดอย่างนั้น.5. ทำไมพระเยซูจึงได้เข้ามาในโลก?
5 ขอให้เราวาดมโนภาพว่าเราเป็นผู้สังเกตการณ์อยู่ในฉากเหตุการณ์ต่อไปนี้: ตอนนั้นเป็นช่วงต้นปี ส.ศ. 33 และพระเยซูกำลังยืนอยู่ต่อหน้าปนเตียว ปีลาต ผู้สำเร็จราชการชาวโรมัน. พระเยซูทรงบอกกับปีลาตว่า “เพราะเหตุนี้เราได้เข้ามาในโลก เพื่อเราจะให้คำพยานถึงความจริง.” ปีลาตถามว่า “ความจริงคืออะไร?” แต่เขาก็ไม่ได้รอฟังความเห็นใด ๆ จากพระเยซู.—โยฮัน 18:36-38, ล.ม.
6. (ก) คำว่า “ความจริง” ได้รับการนิยามอย่างไร? (ข) พระเยซูทรงมอบหมายงานอะไรแก่เหล่าสาวกของพระองค์?
6 คำว่า “ความจริง” ได้รับการนิยามว่าเป็น “สิ่งที่เป็นจริง, เหตุการณ์ที่เป็นจริง, ข้อเท็จจริง.” (พจนานุกรม นิว คอลลิจิเอต ฉบับที่เก้า ของเว็บสเตอร์) อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงให้คำพยานถึงความจริงทั่ว ๆ ไปไหม? เปล่าเลย. พระองค์ทรงคิดถึงความจริงอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ. พระองค์ทรงมอบหมายเหล่าผู้ติดตามพระองค์ให้ประกาศความจริงนี้ เพราะพระองค์ได้บอกพวกเขาว่า “จง . . . ทำให้ชนจากทุกชาติเป็นสาวก ให้เขารับบัพติสมาในนามแห่งพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.” (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) ก่อนถึง “อวสานของระบบ” นี้ เหล่าสาวกแท้ของพระเยซูจะประกาศ “ความจริงแห่งข่าวดี” ไปตลอดทั่วโลก. (มัดธาย 24:3, ล.ม.; ฆะลาเตีย 2:14, ล.ม.) สิ่งนี้จะทำให้สำเร็จเป็นจริงตามคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรนี้จะได้รับการประกาศทั่วทั้งแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่ เพื่อให้คำพยานแก่ทุกชาติ; และครั้นแล้วอวสานจะมาถึง.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) ด้วยเหตุนี้ จึงนับว่าสำคัญอย่างยิ่งที่จะระบุตัวผู้ที่กำลังสอนความจริงแก่ทุกชาติด้วยการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร.
วิธีที่เราสามารถเรียนรู้จักความจริง
7. คุณจะพิสูจน์อย่างไรว่าพระยะโฮวาเป็นแหล่งแห่งความจริง?
7 พระยะโฮวาทรงเป็นแหล่งแห่งความจริงเกี่ยวกับพระองค์และพระประสงค์ของพระองค์. ที่จริง ดาวิด ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเรียกพระยะโฮวาว่า “พระเจ้าแห่งความสัตย์จริง.” (บทเพลงสรรเสริญ 31:5; 43:3) พระเยซูยอมรับว่าพระคำของพระบิดาพระองค์เป็นความจริง และพระองค์ยังทรงแถลงด้วยว่า “มีคำเขียนไว้ในคัมภีร์ศาสดาพยากรณ์ว่า ‘และเขาทั้งหลายทุกคนจะได้รับการสั่งสอนจากพระยะโฮวา.’ ทุกคนที่ได้ยินจากพระบิดา และได้เรียนรู้ก็มาหาเรา.” (โยฮัน 6:45, ล.ม.; 17:17; ยะซายา 54:13, ล.ม.) จึงเห็นได้ชัดว่าผู้เสาะหาความจริงต้องได้รับการสอนจากพระยะโฮวาซึ่งเป็นพระบรมครู. (ยะซายา 30:20, 21) ผู้แสวงหาความจริงจำเป็นต้องได้มาซึ่ง “ความรู้ของพระเจ้า.” (สุภาษิต 2:5) และพระยะโฮวาได้สั่งสอนหรือถ่ายทอดความจริงด้วยความรักในหลากหลายวิธี.
8. พระเจ้าทรงสอนหรือถ่ายทอดความจริงด้วยวิธีใดบ้าง?
8 ยกตัวอย่าง พระเจ้าทรงถ่ายทอดพระบัญญัติให้แก่ชาติอิสราเอลผ่านทางเหล่าทูตสวรรค์. (ฆะลาเตีย 3:19, ล.ม.) พระองค์ทรงสัญญาเรื่องพระพรแก่อับราฮามและยาโคบปฐมบรรพบุรุษโดยทางความฝัน. (เยเนซิศ 15:12-16; 28:10-19) พระเจ้ากระทั่งตรัสจากสวรรค์ เช่นขณะเมื่อพระเยซูทรงรับบัพติสมา ก็ได้ยินเสียงตรัสอันน่าตื่นเต้นต่อไปนี้ที่แผ่นดินโลก: “นี่คือบุตรของเรา ผู้เป็นที่รัก ผู้ซึ่งเราโปรดปราน.” (มัดธาย 3:17, ล.ม.) เรายังขอบพระคุณพระเจ้าด้วยที่ทรงถ่ายทอดความจริงโดยการดลใจบรรดาผู้จารึกคัมภีร์ไบเบิล. (2 ติโมเธียว 3:16, 17) โดยการเรียนรู้จากพระคำของพระเจ้าเราจึงสามารถมี “ความเชื่อ . . . ในความจริง.”—2 เธซะโลนิเก 2:13, ล.ม.
ความจริงกับพระบุตรของพระเจ้า
9. พระเจ้าทรงใช้พระบุตรของพระองค์ให้เปิดเผยความจริงโดยวิธีใด?
9 พระเจ้าได้ทรงใช้พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์เป็นพิเศษเพื่อเปิดเผยความจริงแก่มนุษยชาติ. (เฮ็บราย 1:1-3) ที่จริง พระเยซูตรัสถึงความจริงในแบบที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยทำมาก่อน. (โยฮัน 7:46) แม้แต่หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระองค์ทรงเปิดเผยความจริงจากพระบิดาของพระองค์. ตัวอย่างเช่น อัครสาวกโยฮันได้รับ “วิวรณ์โดยพระเยซูคริสต์ ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแก่พระองค์ เพื่อสำแดงให้ทาสทั้งหลายของพระองค์เห็นสิ่งซึ่งจะต้องเกิดขึ้นในไม่ช้า.”—วิวรณ์ 1:1-3, ล.ม.
10, 11. (ก) ความจริงที่พระเยซูทรงให้คำพยานถึงนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร? (ข) พระเยซูทรงทำให้ความจริงกลายเป็นจริงขึ้นมาโดยวิธีใด?
10 พระเยซูทรงบอกปนเตียว ปีลาตว่าพระองค์ได้เข้ามาในโลกเพื่อให้คำพยานถึงความจริง. ระหว่างงานรับใช้ของพระองค์ พระเยซูทรงเปิดเผยว่าความจริงดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาโดยทางราชอาณาจักรของพระองค์ที่มีพระคริสต์เป็นกษัตริย์. แต่การให้คำพยานถึงความจริงที่พระเยซูกระทำนั้นเกี่ยวพันมากกว่าการประกาศสั่งสอน. พระเยซูทรงทำให้ความจริงนี้กลายเป็นจริงขึ้นมาโดยที่คำพยากรณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความจริงนั้นมาสำเร็จเป็นจริงในตัวพระองค์เอง. ด้วยเหตุนี้ อัครสาวกเปาโลจึงเขียนว่า “อย่าให้ผู้ใดพิพากษาท่านทั้งหลายในเรื่องการกินและการดื่มหรือเกี่ยวกับเทศกาลหรือการถือวันต้นเดือนหรือวันซะบาโต; เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเงาของสิ่งที่จะมีมา แต่ความเป็นจริงเป็นของพระคริสต์.”—โกโลซาย 2:16, 17, ล.ม.
11 วิธีหนึ่งที่ความจริงกลายเป็นจริงขึ้นมา ก็โดยการประสูติของพระเยซูที่เมืองเบทเลเฮมตามที่มีบอกไว้ล่วงหน้า. (มีคา 5:2; ลูกา 2:4-11) ความจริงยังกลายเป็นจริงขึ้นมาด้วยเมื่อคำพยากรณ์ของดานิเอลเกี่ยวกับการปรากฏตัวของพระมาซีฮา ณ ตอนจบของ 69 ‘สัปดาห์แห่งปี’ สำเร็จเป็นจริง. ความสำเร็จเป็นจริงดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อพระเยซูเสนอตัวแด่พระเจ้าในคราวรับบัพติสมาและได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตรงตามกำหนดเวลา คือในปี ส.ศ. 29. (ดานิเอล 9:25, ล.ม.; ลูกา 3:1, 21, 22) นอกจากนั้น ความจริงดังกล่าวกลายเป็นจริงขึ้นมาโดยงานรับใช้ที่ให้ความสว่างของพระเยซูในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร. (ยะซายา 9:1, 2, 6, 7; 61:1, 2; มัดธาย 4:13-17; ลูกา 4:18-21) ความจริงนั้นกลายเป็นจริงขึ้นมาโดยการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์อีกด้วย.—บทเพลงสรรเสริญ 16:8-11; ยะซายา 53:5, 8, 11, 12; มัดธาย 20:28; โยฮัน 1:29; กิจการ 2:25-31.
12. เหตุใดพระเยซูจึงตรัสได้ว่า ‘เราเป็นความจริง’?
12 เนื่องจากความจริงรวมจุดอยู่ที่พระเยซูคริสต์ พระองค์จึงกล่าวได้ว่า “เราเป็นทางนั้น, เป็นความจริง, และเป็นชีวิต. ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาเว้นไว้มาทางเรา.” (โยฮัน 14:6) ผู้คนเป็นอิสระฝ่ายวิญญาณเมื่อพวกเขา “อยู่ฝ่ายความจริง” โดยการยอมรับบทบาทของพระเยซูในพระประสงค์ของพระเจ้า. (โยฮัน 8:32-36; 18:37) เพราะคนเยี่ยงแกะยอมรับความจริงและติดตามพระคริสต์ด้วยความเชื่อ พวกเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร์.—โยฮัน 10:24-28.
13. เราจะตรวจสอบความจริงจากพระคัมภีร์ในสามแง่มุมอะไรบ้าง?
กิจการ 6:7, ล.ม.; 3 โยฮัน 3, 4, ล.ม.) ถ้าอย่างนั้น ใครดำเนินอยู่ในความจริงในทุกวันนี้? แท้จริง ใครกำลังสอนความจริงแก่ทุกชาติ? ในการหาคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ เราจะมุ่งความสนใจไปที่คริสเตียนในยุคแรกและตรวจสอบความจริงจากพระคัมภีร์เกี่ยวกับ (1) ข้อเชื่อ, (2) วิธีนมัสการ, และ (3) ความประพฤติส่วนตัว.
13 เนื้อหาสาระของความจริงที่พระเยซูและเหล่าสาวกที่ได้รับการดลใจได้สอนประกอบกันขึ้นเป็นความเชื่อคริสเตียนแท้. ผู้ที่ “ปฏิบัติตามความเชื่อนั้น” จึง “ดำเนินอยู่ในความจริง.” (ความจริงกับข้อเชื่อ
14, 15. คุณจะกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับทัศนะที่คริสเตียนในยุคแรกและพยานพระยะโฮวามีต่อพระคัมภีร์?
14 เหล่าคริสเตียนในยุคแรกยกย่องนับถือพระคำที่จารึกไว้ของพระยะโฮวาอย่างสูง. (โยฮัน 17:17) พระคำนั้นเป็นมาตรฐานของสิ่งที่พวกเขาเชื่อและปฏิบัติ. เคลเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรียผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่สองและสาม กล่าวว่า “คนเหล่านั้นที่บากบั่นพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อความดีเลิศจะไม่หยุดในการค้นคว้าหาความจริง จนกว่าพวกเขาจะได้หลักฐานสนับสนุนจากพระคัมภีร์เกี่ยวกับข้อเชื่อของตน.”
15 เช่นเดียวกันกับคริสเตียนในสมัยแรก พยานพระยะโฮวายกย่องนับถือคัมภีร์ไบเบิลอย่างสูง. พวกเขาเชื่อว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์เพื่อการสั่งสอน.” (2 ติโมเธียว 3:16, ล.ม.) ดังนั้น ขอให้เรามาพิจารณาหลักข้อเชื่อสองสามอย่างของคริสเตียนในยุคแรก โดยคิดถึงสิ่งที่ผู้รับใช้พระยะโฮวาสมัยปัจจุบันได้เรียนรู้ เนื่องจากพวกเขาใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นตำราหลัก.
ความจริงเกี่ยวกับจิตวิญญาณ
16. อะไรคือความจริงเกี่ยวกับจิตวิญญาณ?
16 เพราะพวกเขาเชื่อสิ่งที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ คริสเตียนในยุคแรกจึงสอนความจริงเกี่ยวกับจิตวิญญาณ. พวกเขารู้ว่า เมื่อพระเจ้าได้สร้างมนุษย์ขึ้น “มนุษย์จึงเกิดเป็นจิตต์วิญญาณมีชีวิตอยู่.” (เยเนซิศ 2:7) ยิ่งกว่านั้น พวกเขายอมรับว่าจิตวิญญาณมนุษย์ตายได้. (ยะเอศเคล 18:4; ยาโกโบ 5:20) พวกเขายังรู้ด้วยว่า “คนตายแล้วก็ไม่รู้อะไรเลย.”—ท่านผู้ประกาศ 9:5, 10.
17. คุณจะอธิบายอย่างไรในเรื่องความหวังสำหรับคนตาย?
17 ถึงกระนั้น สาวกในยุคแรกของพระเยซูก็มีความหวังที่แน่นอนว่า คนตายที่อยู่ในความทรงจำของพระเจ้าจะเป็นขึ้นมาจากตาย หรือกลับคืนสู่ชีวิต. ข้อเชื่อนี้ได้รับการแถลงไว้อย่างชัดเจนโดยเปาโล ซึ่งกล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีความหวังในพระเจ้า . . . ว่าจะมีการกลับเป็นขึ้นจากตายทั้งของคนชอบธรรมและคนไม่ชอบธรรม.” (กิจการ 24:15, ล.ม.) แม้แต่ในเวลาต่อมา มินูคีอุส เฟลิกซ์ ผู้ประกาศตัวเป็นคริสเตียน ได้เขียนว่า “ใครจะโง่หรือเสียสติถึงขนาดกล้าที่จะยืนยันว่ามนุษย์ซึ่งแต่เดิมถูกสร้างโดยพระเจ้านั้นไม่สามารถถูกสร้างขึ้นใหม่ได้อีกโดยพระองค์?” เช่นเดียวกับคริสเตียนในยุคแรก พยานพระยะโฮวายึดถือความจริงในพระคัมภีร์ในเรื่องจิตวิญญาณมนุษย์, ความตาย, และการกลับเป็นขึ้นจากตาย. ทีนี้ ขอให้เราพิจารณาว่าพระเจ้าและพระคริสต์เป็นใคร.
ความจริงกับตรีเอกานุภาพ
18, 19. เหตุใดจึงกล่าวได้ว่าตรีเอกานุภาพไม่ใช่คำสอนในพระคัมภีร์?
18 คริสเตียนในยุคแรกไม่ได้ถือว่าพระเจ้า, พระคริสต์, และพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระตรีเอกานุภาพ. สารานุกรมบริแทนนิกา กล่าวดังนี้: “ทั้งคำตรีเอกานุภาพและคำสอนที่ชัดเจนในเรื่องนี้ต่างก็ไม่ปรากฏในพันธสัญญาใหม่ ทั้งพระเยซูและสาวกของพระองค์ต่างก็ไม่เคยมุ่งหมายจะขัดแย้งกับเชมา [คำอธิษฐานฮีบรูท่อนหนึ่ง] ในพันธสัญญาเดิมที่ว่า ‘ดูกรพวกยิศราเอล, จงฟังเถิด: พระยะโฮวาพระเจ้าของเราเป็นเอกพระยะโฮวา’ (พระบัญญัติ 6:4).” คริสเตียนไม่ได้นมัสการตรีเอกานุภาพของชาวโรมันหรือเทพเจ้าอื่นใด. พวกเขายอมรับถ้อยคำของพระเยซูที่ว่า ต้องนมัสการพระยะโฮวาผู้เดียวเท่านั้น. (มัดธาย 4:10) นอกจากนั้น พวกเขาเชื่อคำ ตรัสของพระคริสต์ที่ว่า “พระบิดาเป็นใหญ่กว่าเรา.” (โยฮัน 14:28) พยานพระยะโฮวาในทุกวันนี้มีทัศนะอย่างเดียวกันนั้น.
19 สาวกของพระเยซูในยุคแรกชี้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพระเจ้า, พระคริสต์, และพระวิญญาณบริสุทธิ์. ที่จริง พวกเขาให้บัพติสมาแก่บรรดาสาวก (1) ในนามแห่งพระบิดา (2) ในนามแห่งพระบุตร และ (3) ในนามแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ใช่ในนามแห่งพระตรีเอกานุภาพ. พยานพระยะโฮวาสอนความจริงอย่างเดียวกันนั้นจากพระคัมภีร์ พวกเขาจึงแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างพระเจ้า, พระบุตรของพระองค์, และพระวิญญาณบริสุทธิ์.—มัดธาย 28:19.
ความจริงกับการบัพติสมา
20. ผู้เสนอตัวจะรับบัพติสมาจำเป็นต้องมีความรู้อะไร?
20 พระเยซูทรงมอบหมายให้บรรดาผู้ติดตามพระองค์ทำให้ผู้คนเป็นสาวกโดยสอนความจริงแก่พวกเขา. เพื่อจะมีคุณวุฒิสำหรับการรับบัพติสมา พวกเขาจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในพระคัมภีร์. ยกตัวอย่าง พวกเขาต้องยอมรับฐานะตำแหน่งและสิทธิอำนาจของพระบิดา และของพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์. (โยฮัน 3:16) ผู้เสนอตัวจะรับบัพติสมาต้องเข้าใจด้วยว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นพลังปฏิบัติการของพระเจ้า.—เยเนซิศ 1:2, ล.ม., เชิงอรรถ.
21, 22. เหตุใดคุณจึงกล่าวว่าการรับบัพติสมามีไว้สำหรับผู้ที่เชื่อ?
21 คริสเตียนในยุคแรกทำการบัพติสมาให้เฉพาะกับคนเหล่านั้นที่ได้รับความรู้, กลับใจ, และได้อุทิศตัวอย่างไม่มีเงื่อนไขแด่พระเจ้าเพื่อทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. ชาวยิวและคนที่เปลี่ยนมาถือศาสนายิวซึ่งร่วมชุมนุมกันที่กรุงเยรูซาเลมในวันเพนเตคอสเต ส.ศ. 33 มีความรู้ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูอยู่แล้ว. พอได้ยินอัครสาวกเปโตรบรรยายเกี่ยวกับเยซูพระมาซีฮานั้น ประมาณ 3,000 คน “ที่ได้รับคำของท่านด้วยเต็มใจก็รับบัพติสมา.”—กิจการ 2:41, ล.ม.; 3:19–4:4; 10:34-38.
22 การรับบัพติสมาของคริสเตียนมีไว้สำหรับผู้ที่เชื่อ. ประชาชนในซะมาเรียยอมรับเอาความจริง และ “เมื่อพวกเขาเชื่อฟีลิป ซึ่งประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าและเรื่องพระนามของพระเยซูคริสต์ พวกเขาจึงรับบัพติสมาทั้งชายและหญิง.” (กิจการ 8:12, ล.ม.) ในฐานะผู้เปลี่ยนมาถือศาสนายิวที่เลื่อมใสคนหนึ่งซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวา ขันทีชาวเอธิโอเปียได้ยอมรับคำกล่าวของฟีลิปเกี่ยวกับความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์ที่เล็งถึงพระมาซีฮาก่อน จากนั้นเขาจึงรับบัพติสมา. (กิจการ 8:34-36) ต่อมา เปโตรบอกโกระเนเลียวและชาวต่างชาติคนอื่น ๆ ว่า “ชาวชน . . . ที่เกรงกลัว [พระเจ้า] และประพฤติตามทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์” และบอกว่าทุกคนที่เชื่อในพระเยซูคริสต์ได้รับการอภัยบาป. (กิจการ 10:35, 43; 11:18) ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับพระบัญชาของพระเยซูที่จะ ‘ทำให้คนเป็นสาวก, สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งพระองค์ได้สั่งไว้.’ (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.; กิจการ 1:8) พยานพระยะโฮวายึดมั่นในมาตรฐานเดียวกัน โดยให้เฉพาะผู้ที่มีความรู้พื้นฐานในพระคัมภีร์และได้ทำการอุทิศตัวแด่พระเจ้าแล้วเท่านั้นรับบัพติสมา.
23, 24. อะไรคือรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการรับบัพติสมาของคริสเตียน?
23 การจุ่มตัวมิดในน้ำเป็นรูปแบบที่เหมาะสมของการรับบัพติสมาสำหรับผู้ที่เชื่อ. หลังจากพระเยซูรับบัพติสมาในแม่น้ำจอร์แดน (ยาระเดน) พระองค์ “เสด็จขึ้นมาจากน้ำ.” (มาระโก 1:10) ขันทีชาวเอธิโอเปียรับบัพติสมาใน “ที่มีน้ำแห่งหนึ่ง.” เขากับฟีลิป “ได้ลงไปในน้ำ” แล้ว “ขึ้นจาก” น้ำ. (กิจการ 8:36-40) นอกจากนี้ การเชื่อมข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวกับการรับบัพติสมาเข้ากับการฝังในความหมายที่เป็นนัย แสดงว่าร่างกายทุกส่วนต้องจมมิดใต้น้ำ.—โรม 6:4-6; โกโลซาย 2:12.
24 ดิ ออกซฟอร์ด คอมแพนยัน ทู เดอะ ไบเบิล กล่าวดังนี้: “การพรรณนาเกี่ยวกับบัพติสมาเฉพาะในพันธสัญญาใหม่บ่งชี้ว่าผู้รับบัพติสมาถูกจุ่มตัวลงใต้น้ำ.” ตามที่กล่าวไว้ในผล
งานเขียนภาษาฝรั่งเศส ลารุสส์ ดู เวเทียม เซียคเลอ (ปารีส 1928) “คริสเตียนในยุคแรกรับบัพติสมาด้วยการจุ่มตัวในน้ำทุกแห่งที่หาได้.” และหนังสือ หลังจากพระเยซู—ชัยชนะของคริสต์ศาสนา (ภาษาอังกฤษ) ให้ข้อสังเกตว่า “รูปแบบพื้นฐานที่สุดของการรับบัพติสมาเรียกร้องให้มีการประกาศยืนยันความเชื่อโดยผู้เสนอตัวรับบัพติสมา ตามด้วยการจุ่มตัวมิดในน้ำในนามพระเยซู.”25. จะมีการพิจารณาเรื่องอะไรในบทความถัดไป?
25 จุดต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับข้อเชื่อและกิจปฏิบัติต่าง ๆ ที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลของคริสเตียนในยุคแรกเป็นแค่เพียงตัวอย่าง. เป็นไปได้ที่จะเปรียบเทียบให้เห็นความคล้ายคลึงกันอย่างอื่นอีกระหว่างข้อเชื่อของพวกเขากับข้อเชื่อของพยานพระยะโฮวา. ในบทความถัดไป เราจะพิจารณาวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อระบุตัวผู้ที่กำลังสอนความจริงแก่ผู้คน.
คุณจะตอบอย่างไร?
• พระเจ้าทรงเรียกร้องการนมัสการแบบใด?
• พระเยซูคริสต์ทำให้ความจริงกลายเป็นจริงขึ้นมาโดยวิธีใด?
• อะไรคือความจริงเกี่ยวกับจิตวิญญาณและความตาย?
• การรับบัพติสมาของคริสเตียนทำกันอย่างไร และอะไรคือข้อเรียกร้องสำหรับผู้เสนอตัวรับบัพติสมา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
พระเยซูทรงบอกกับปีลาตว่า ‘เราได้มาเพื่อจะให้คำพยานถึงความจริง’
[ภาพหน้า 17]
คุณอธิบายได้ไหมว่าทำไมพระเยซูจึงตรัสว่า ‘เราเป็นความจริง’?
[ภาพหน้า 18]
อะไรคือความจริงเกี่ยวกับการรับบัพติสมาของคริสเตียน?