จงเพิ่มความเพียรอดทนด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า
จงเพิ่มความเพียรอดทนด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า
“จงเพิ่มความเชื่อของท่านทั้งหลายด้วย . . . ความเพียรอดทน, เพิ่มความเพียรอดทนด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า.”—2 เปโตร 1:5, 6, ล.ม.
1, 2. (ก) การเจริญเติบโตชนิดใดที่คาดหมายจากเด็ก? (ข) การเติบโตฝ่ายวิญญาณสำคัญเพียงไร?
การเจริญเติบโตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก แต่ไม่เพียงแค่การเติบโตด้านร่างกายเท่านั้นเป็นที่ปรารถนา. มีการคาดหมายว่าเด็กจะเติบโตทางความคิดและอารมณ์ด้วย. ในที่สุด เด็กจะละทิ้งแนวทางต่าง ๆ แบบเด็ก ๆ และเติบโตขึ้นเป็นชายหรือหญิงที่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่. อัครสาวกเปาโลกล่าวพาดพิงถึงเรื่องนี้เมื่อท่านเขียนว่า “ตอนที่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก ข้าพเจ้าเคยพูดอย่างเด็ก คิดอย่างเด็ก หาเหตุผลอย่างเด็ก; แต่บัดนี้ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ข้าพเจ้าจึงได้เลิกอุปนิสัยอย่างเด็ก.”—1 โกรินโธ 13:11, ล.ม.
2 ถ้อยคำของเปาโลเน้นความสำคัญของการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณ. คริสเตียนทุกคนต้องก้าวหน้าจากการเป็นทารกฝ่ายวิญญาณสู่การเป็นผู้ซึ่ง “เติบโตเต็มที่ด้านความสามารถในการเข้าใจ.” (1 โกรินโธ 14:20, ล.ม.) พวกเขาควรบากบั่นพยายามที่จะบรรลุถึง “ขนาดซึ่งเป็นของความบริบูรณ์แห่งพระคริสต์.” เพื่อพวกเขาจะไม่เป็น “เด็ก . . . ถูกซัดไปซัดมาเหมือนโดนคลื่นและถูกพาไปทางโน้นบ้างทางนี้บ้างโดยลมแห่งคำสอนทุกอย่าง.”—เอเฟโซ 4:13, 14, ล.ม.
3, 4. (ก) เราต้องทำประการใดเพื่อจะเป็นผู้เติบโตเต็มที่ฝ่ายวิญญาณ? (ข) คุณลักษณะอะไรบ้างอันเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าที่เราควรสำแดง และคุณลักษณะเหล่านั้นสำคัญเพียงไร?
3 เราจะเป็นผู้ที่เติบโตเต็มที่ฝ่ายวิญญาณได้โดยวิธีใด? ในขณะที่การเจริญเติบโตทางกายเป็นไปเกือบจะอัตโนมัติในสภาวะปกติ แต่การเติบโตฝ่ายวิญญาณต้องใช้ความพยายามด้วยความตั้งใจจริง. การเติบโตแบบนี้เริ่มจากการรับเอาความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้าและประพฤติสอดคล้องกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้. (เฮ็บราย 5:14; 2 เปโตร 1:3) ผลของการทำเช่นนี้คือ ทำให้เราสามารถสำแดงคุณลักษณะต่าง ๆ อันเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. ในขณะที่ร่างกายเจริญเติบโต สัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพัฒนาไปพร้อมกันฉันใด คุณลักษณะต่าง ๆ อันเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าก็มักจะพัฒนาไปพร้อม ๆ กันกับการเติบโตฝ่ายวิญญาณฉันนั้น. อัครสาวกเปโตรเขียนดังนี้: “โดยการที่ท่านทั้งหลายมีส่วนในการตอบรับความพยายามอย่างจริงจังทุกอย่าง จงเพิ่มความเชื่อของท่านทั้งหลายด้วยคุณความดี เพิ่มคุณความดีด้วยความรู้ เพิ่มความรู้ด้วยการรู้จักบังคับตน เพิ่มการรู้จักบังคับตนด้วยความเพียรอดทน เพิ่มความเพียรอดทนด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า เพิ่มความเลื่อมใสในพระเจ้าด้วยความรักใคร่ฉันพี่น้อง เพิ่มความรักใคร่ฉันพี่น้องด้วยความรัก.”—2 เปโตร 1:5-7, ล.ม.
4 คุณลักษณะแต่ละอย่างที่เปโตรลงรายการไว้ล้วนมีความสำคัญ และไม่มีคุณลักษณะใดที่อาจมองข้ามไปได้. ท่านกล่าวเสริมว่า “ถ้าสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในท่านทั้งหลาย และมีอยู่ล้นเหลือ นั่นจะป้องกันท่านไว้จากการอยู่เฉย ๆ หรือไม่เกิดผลเกี่ยวกับความรู้ถ่องแท้ในเรื่องพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา.” (2 เปโตร 1:8, ล.ม.) ขอให้เราสนใจเป็นพิเศษในเรื่องความจำเป็นที่จะเพิ่มความเพียรอดทนด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า.
จำต้องเพียรอดทน
5. เหตุใดเราต้องมีความเพียรอดทน?
5 ทั้งเปโตรและเปาโลต่างเชื่อมโยงความเลื่อมใสในพระเจ้าเข้ากับความเพียรอดทน. (1 ติโมเธียว 6:11) การมีความเพียรอดทนไม่ได้หมายถึงเพียงแค่สามารถทนต่อความยากลำบากและยังยืนหยัดอยู่ได้เท่านั้น. ความเพียรอดทนเกี่ยวข้องกับความอดกลั้น, ความกล้าหาญ, และความเด็ดเดี่ยว; ไม่สูญเสียความหวังเมื่อเผชิญการทดลอง, อุปสรรค, การล่อใจ, หรือการกดขี่ข่มเหง. เนื่องจากเราดำเนินชีวิตด้วย “ความเลื่อมใสในพระเจ้าร่วมกับพระคริสต์เยซู” เราจึงคาดหมายว่าจะถูกข่มเหง. (2 ติโมเธียว 3:12, ล.ม.) เราต้องเพียรอดทนหากเราตั้งใจจะพิสูจน์ความรักต่อพระยะโฮวาและพัฒนา คุณลักษณะเหล่านี้ซึ่งจำเป็นสำหรับความรอด. (โรม 5:3-5; 2 ติโมเธียว 4:7, 8; ยาโกโบ 1:3, 4, 12) เราจะไม่ได้รับชีวิตนิรันดร์หากขาดความเพียรอดทน.—โรม 2:6, 7; เฮ็บราย 10:36.
6. การเพียรอดทนจนถึงที่สุดหมายถึงการทำสิ่งใด?
6 ไม่ว่าเราเริ่มต้นได้ดีเพียงไร สิ่งที่นับว่าสำคัญอย่างยิ่งก็คือการที่เรามีความเพียรอดทน. พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดที่ได้อดทนจนถึงที่สุด ผู้นั้นจะได้รับการช่วยให้รอด.” (มัดธาย 24:13, ล.ม.) ถูกแล้ว เราต้องเพียรอดทนจนถึงที่สุด, ไม่ว่าจะเป็นที่สุดแห่งชีวิตปัจจุบันของเรา หรือที่สุดของระบบชั่วนี้. ไม่ว่ากรณีใด เราต้องรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงต่อพระเจ้า. อย่างไรก็ดี ถ้าเราไม่เพิ่มความเพียรอดทนด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าแล้ว เราไม่อาจเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวาได้ และเราจะไม่ได้รับชีวิตนิรันดร์. แต่ว่าความเลื่อมใสในพระเจ้าคืออะไร?
สิ่งที่ความเลื่อมใสในพระเจ้าหมายถึง
7. ความเลื่อมใสในพระเจ้าคืออะไร และสิ่งนี้กระตุ้นเราให้ทำอะไร?
7 ความเลื่อมใสในพระเจ้าเป็นความเคารพยำเกรง, การนมัสการ, และการรับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าเป็นส่วนตัว เนื่องจากมีความภักดีต่อสากลบรมเดชานุภาพของพระองค์. เพื่อจะแสดงความเลื่อมใสต่อพระยะโฮวา เราจำต้องมีความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระองค์และแนวทางต่าง ๆ ของพระองค์. เราควรอยากที่จะรู้จักกับพระองค์อย่างใกล้ชิดเป็นส่วนตัว. และสิ่งนี้จะกระตุ้นให้เราพัฒนาความผูกพันด้วยความรู้สึกจากใจต่อพระองค์ ความผูกพันที่แสดงออกโดยการกระทำและแนวทางชีวิตของเรา. เราควรปรารถนาที่จะเป็นเหมือนพระยะโฮวามากเท่าที่เป็นไปได้—โดยเลียนแบบแนวทางต่าง ๆ ของพระองค์ และสะท้อนคุณลักษณะและบุคลิกภาพของพระองค์. (เอเฟโซ 5:1) ที่จริง ความเลื่อมใสในพระเจ้ากระตุ้นให้เราต้องการทำทุกสิ่งให้เป็นที่พอพระทัยพระองค์.—1 โกรินโธ 10:31.
8. ความเลื่อมใสในพระเจ้ากับความเลื่อมใสโดยเฉพาะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
8 เพื่อจะแสดงความเลื่อมใสในพระเจ้าอย่างแท้จริง เราต้องนมัสการพระยะโฮวาแต่ผู้เดียว ไม่ยอมให้สิ่งใดเข้ามาแทนที่พระองค์ในหัวใจเรา. ในฐานะพระผู้สร้างของเรา พระองค์มีสิทธิ์เรียกร้องความเลื่อมใสโดยเฉพาะจากเรา. (พระบัญญัติ 4:24, ล.ม.; ยะซายา 42:8) กระนั้น พระยะโฮวาไม่ทรงบังคับเราให้นมัสการพระองค์. พระองค์ปรารถนาจะได้รับความเลื่อมใสด้วยความเต็มใจจากเรา. ความรักต่อพระเจ้าซึ่งอาศัยความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระองค์นั่นเองที่กระตุ้นเราให้ชำระชีวิตของเราให้สะอาดหมดจด และอุทิศตัวอย่างไม่มีเงื่อนไขแด่พระองค์ และประพฤติสมกับการอุทิศตัวต่อจากนั้น.
จงเสริมสร้างสัมพันธภาพกับพระเจ้า
9, 10. เราจะเสริมสร้างและรักษาสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระเจ้าได้โดยวิธีใด?
9 หลังจากแสดงสัญลักษณ์การอุทิศตัวของเราต่อพระเจ้าโดยการรับบัพติสมาแล้ว เรายังต้องเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเรากับพระองค์ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น. ความปรารถนาของเราที่จะทำสิ่งนี้และรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์จึงกระตุ้นเราให้ศึกษาและคิดรำพึงในพระคำของพระองค์ต่อ ๆ ไป. ขณะที่เรายอมให้พระวิญญาณของพระเจ้าดำเนินกิจในจิตใจและหัวใจเรา ความรักของเราต่อพระองค์จะลึกซึ้งขึ้น. สัมพันธภาพของเรากับพระองค์จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของเราต่อไป. เราถือว่าพระยะโฮวาเป็นมิตรดีที่สุดของเรา และปรารถนาจะเป็นที่พอพระทัยพระองค์ตลอดเวลา. (1 โยฮัน 5:3) ความยินดีที่เราได้มีสัมพันธภาพอันน่าพอใจกับพระเจ้าจะเพิ่มขึ้น และเรารู้สึกขอบคุณพระองค์ที่ทรงสั่งสอนเราด้วยความรัก และทรงแก้ไขเราเมื่อจำเป็น.—พระบัญญัติ 8:5, ล.ม.
10 ถ้าเราไม่เสริมสัมพันธภาพอันมีค่ากับพระยะโฮวาอยู่เรื่อยไป สัมพันธภาพนี้อาจจืดจางลงได้. และหากสิ่งนี้เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ความผิดของพระเจ้า ด้วยว่า “พระองค์มิได้ทรงอยู่ห่างไกลจากพวกเราแต่ละคน.” (กิจการ 17:27, ล.ม.) เรามีความสุขสักเพียงไรที่พระยะโฮวาไม่ได้ทำให้การเข้าเฝ้าพระองค์เป็นเรื่องยาก! (1 โยฮัน 5:14, 15) แน่ล่ะ เราต้องพยายามรักษาสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดระหว่างตัวเราเองกับพระยะโฮวา. อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงช่วยเราให้เข้ามาใกล้พระองค์โดยจัดเตรียมความช่วยเหลือที่จำเป็นทุกอย่างแก่เราเพื่อเสริมสร้างและรักษาความเลื่อมใสในพระเจ้า. (ยาโกโบ 4:8) เราจะใช้ประโยชน์เต็มที่จากการจัดเตรียมด้วยความรักเหล่านี้ทุกอย่างได้อย่างไร?
จงรักษาความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ
11. อะไรเป็นการแสดงออกบางอย่างถึงความเลื่อมใสที่เรามีต่อพระเจ้า?
11 ความรักต่อพระเจ้าที่หยั่งรากลึกในใจของเราจะกระตุ้น2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.) การทำเช่นนี้เรียกร้องให้เรารักษากิจวัตรที่ดีในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ, เข้าร่วมการประชุม, และมีส่วนร่วมในงานประกาศเผยแพร่. เราสามารถอยู่ใกล้พระยะโฮวาเสมอโดย ‘การอธิษฐานอย่างไม่ละลด’ อีกด้วย. (1 เธซะโลนิเก 5:17, ล.ม.) สิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกอย่างมีความหมายถึงความเลื่อมใสที่เรามีต่อพระเจ้า. การละเลยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้เราป่วยฝ่ายวิญญาณ และทำให้ง่ายขึ้นที่เราจะถูกโจมตีด้วยกลอุบายต่าง ๆ ของซาตาน.—1 เปโตร 5:8.
เราให้แสดงความเลื่อมใสอย่างลึกซึ้งต่อพระเจ้า ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำของเปาโลที่ว่า “จงทำสุดความสามารถเพื่อสำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่มีอะไรต้องอาย ใช้คำแห่งความจริงอย่างถูกต้อง.” (12. เราสามารถประสบความสำเร็จในการรับมือกับการทดลองต่าง ๆ ได้โดยวิธีใด?
12 การรักษาความเข้มแข็งและความกระตือรือร้นฝ่ายวิญญาณยังช่วยเราเผชิญการทดลองหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา. การทดลองอาจมาจากแหล่งที่ทดสอบเราอย่างหนัก. ถ้าความเฉยเมย, การต่อต้าน, การกดขี่ข่มเหง มาจากสมาชิกครอบครัว, ญาติ, หรือเพื่อนบ้านของเราเอง ก็อาจทำให้ยากขึ้นที่จะเพียรอดทน. ความกดดันให้เราค่อย ๆ ประนีประนอมหลักการคริสเตียนทีละเล็กทีละน้อยอาจเกิดขึ้นในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน. ความท้อแท้ใจ, ความเจ็บป่วย, และภาวะซึมเศร้า อาจทำให้เราหมดเรี่ยวแรง และทำให้ยากขึ้นที่เราจะรับมือกับการทดสอบความเชื่อ. แต่เราสามารถรับมือกับการทดลองทุกอย่างได้อย่างประสบความสำเร็จ ถ้าเราบากบั่น “ในการประพฤติอันบริสุทธิ์ และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า คอยท่าและคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ.” (2 เปโตร 3:11, 12, ล.ม.) และเราสามารถรักษาความยินดีของเราในการทำเช่นนั้น มั่นใจว่าจะได้รับพระพรจากพระเจ้า.—สุภาษิต 10:22.
13. เราต้องทำอะไรเพื่อจะรักษาความเลื่อมใสในพระเจ้า?
13 ถึงแม้ซาตานมุ่งเป้าโจมตีผู้ที่แสดงความเลื่อมใสในพระเจ้า แต่เราไม่จำเป็นต้องกลัว. เพราะเหตุใด? เพราะ “พระยะโฮวาทรงทราบวิธีที่จะช่วยคนที่เลื่อมใสในพระเจ้าให้รอดพ้นจากการทดลอง.” (2 เปโตร 2:9, ล.ม.) เพื่อจะเพียรอดทนและได้รับการช่วยให้รอดพ้นจากการทดลองต่าง ๆ เราต้อง “ละทิ้งความอธรรมและความปรารถนาทางโลก และ . . . ดำเนินชีวิตโดยมีสุขภาพจิตดี มีความชอบธรรมและความเลื่อมใสในพระเจ้าในระบบปัจจุบันนี้.” (ติโต 2:12, ล.ม.) ในฐานะคริสเตียน เราต้องคอยระวังไม่ให้ความอ่อนแอใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนาและกิจกรรมต่าง ๆ ฝ่ายเนื้อหนังรุกล้ำเข้ามาทำลายความเลื่อมใสในพระเจ้าของเรา. บัดนี้ ขอให้เราพิจารณาสิ่งคุกคามเหล่านี้บางอย่าง.
จงระวังสิ่งคุกคามความเลื่อมใสในพระเจ้า
14. เราควรจดจำสิ่งใดไว้หากถูกล่อใจให้เข้าไปติดบ่วงแร้วของการนิยมวัตถุ?
14 การนิยมวัตถุเป็นบ่วงแร้วสำหรับหลายคน. เราอาจหลอกกระทั่งตัวเอง โดย “คิดว่าความเลื่อมใสในพระเจ้าเป็นวิธีหากำไร [ฝ่ายวัตถุ].” ด้วยเหตุนี้ เราจึงกล้าที่จะฉวยประโยชน์อย่างไม่สมควรจากความไว้วางใจที่เพื่อนร่วมความเชื่อมีให้. (1 ติโมเธียว 6:5, ล.ม.) เราอาจถึงขั้นลงความเห็นอย่างผิด ๆ ว่า ไม่มีอะไรผิดที่จะกดดันคริสเตียนที่ร่ำรวยให้เรายืมเงินจำนวนหนึ่งที่ดูเหมือนเราไม่มีทางจะใช้คืนได้. (บทเพลงสรรเสริญ 37:21) แต่เป็นความเลื่อมใสในพระเจ้าต่างหาก ไม่ใช่การได้มาซึ่งสิ่งฝ่ายวัตถุ ที่ “อำนวยประโยชน์แก่ชีวิตในปัจจุบันและชีวิตอนาคต.” (1 ติโมเธียว 4:8, ล.ม.) เนื่องจาก ‘เราไม่ได้นำอะไรเข้ามาในโลกและไม่สามารถนำอะไรออกไปจากโลก’ ดังนั้น ขอให้เราตั้งใจยิ่งขึ้นที่จะติดตาม “ความเลื่อมใสในพระเจ้าประกอบกับสันโดษ” และให้เรา ‘อิ่มใจด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค.’—1 ติโมเธียว 6:6-11, ล.ม.
15. เราควรทำประการใดถ้าการติดตามความสนุกสนานแทรกเข้ามาแทนที่ความเลื่อมใสในพระเจ้า?
1 โยฮัน 2:25) ทุกวันนี้ หลายคนเป็น “คนรักการสนุกสนานแทนที่จะรักพระเจ้า มีความเลื่อมใสต่อพระเจ้าในรูปแบบหนึ่ง แต่ปฏิเสธพลังแห่งความเลื่อมใสนั้น” และเราต้องผินหลังให้คนเช่นนี้. (2 ติโมเธียว 3:4, 5, ล.ม.) ส่วนคนที่ให้ความสำคัญต่อความเลื่อมใสในพระเจ้านั้นกำลัง “สะสมทรัพย์ประเสริฐอย่างปลอดภัยไว้สำหรับตนให้เป็นรากฐานอันดีสำหรับอนาคต เพื่อเขาจะยึดเอาชีวิตแท้ให้มั่น.”—1 ติโมเธียว 6:19, ล.ม.
15 การติดตามความสนุกสนานอาจเข้ามาแทนที่ความเลื่อมใสในพระเจ้า. เป็นไปได้ไหมที่เราอาจจำเป็นต้องทำการปรับเปลี่ยนทันทีในเรื่องนี้? เป็นความจริงที่ว่า เราได้ประโยชน์บางอย่างจากการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจ. กระนั้น ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับชีวิตนิรันดร์. (16. ความปรารถนาที่ผิดบาปอะไรซึ่งกีดขวางบางคนไว้จากการทำตามข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของพระเจ้า และเราจะเอาชนะความปรารถนาเช่นนั้นได้อย่างไร?
16 การใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด, การผิดศีลธรรม, และความปรารถนาที่ผิดบาปสามารถทำลายความเลื่อมใสที่เรามีต่อพระเจ้า. การยอมพ่ายแพ้ต่อสิ่งเหล่านี้อาจกีดขวางเราจากการทำตามข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของพระเจ้า. (1 โกรินโธ 6:9, 10; 2 โกรินโธ 7:1) แม้แต่เปาโลก็ยังต้องพากเพียรต่อสู้กับเนื้อหนังที่ผิดบาปอยู่เรื่อยไป. (โรม 7:21-25) มาตรการที่เข้มงวดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะขจัดความปรารถนาที่ผิด. ประการหนึ่งคือ เราต้องตั้งใจแน่วแน่จะรักษาตัวให้สะอาดด้านศีลธรรม. เปาโลบอกเราดังนี้: “จงประหารอวัยวะแห่งร่างกายของท่านทั้งหลายซึ่งอยู่บนแผ่นดินโลกนี้ในเรื่องการล่วงประเวณี, การโสโครก, ราคะตัณหา, ความปรารถนาที่ก่อความเสียหาย, และความละโมบ ซึ่งเป็นการไหว้รูปเคารพ.” (โกโลซาย 3:5, ล.ม.) การประหารอวัยวะแห่งร่างกายของเราในเรื่องการบาปเหล่านี้เรียกร้องความตั้งใจแน่วแน่เพื่อจะขจัดความปรารถนาที่ผิดให้หมดไปได้. การอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอย่างจริงจังจะช่วยให้เราสามารถปฏิเสธความปรารถนาที่ผิดและมุ่งติดตามความชอบธรรมและความเลื่อมใสในพระเจ้าท่ามกลางระบบชั่วนี้.
17. เราควรมีทัศนะอย่างไรต่อการตีสอน?
17 ความท้อแท้ใจอาจบั่นทอนความเพียรอดทนของเราและก่อผลเสียหายต่อความเลื่อมใสของเราที่มีต่อพระเจ้า. ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาหลายคนเคยรู้สึกท้อแท้ใจ. (อาฤธโม 11:11-15; เอษรา 4:4; โยนา 4:3) ความท้อแท้ใจยิ่งก่อผลเสียหายแก่เรามากเป็นพิเศษถ้าสิ่งนี้เกิดควบคู่ไปกับความขุ่นเคืองเนื่องจากเรารู้สึกว่าถูกดูหมิ่นหรือถูกว่ากล่าวหรือตีสอนอย่างแรง. อย่างไรก็ตาม การว่ากล่าวแก้ไขและการตีสอนเป็นหลักฐานถึงความสนพระทัยและความห่วงใยด้วยความรักของพระเจ้า. (เฮ็บราย 12:5-7, 10, 11) ไม่ควรถือว่าการตีสอนเป็นเพียงการลงโทษ แต่เป็นวิธีอบรมเราในทางแห่งความชอบธรรม. ถ้าเราถ่อมใจ เราจะหยั่งรู้ค่าและยอมรับคำแนะนำโดยตระหนักว่า “คำว่ากล่าวเมื่อตีสอน เป็นทางแห่งชีวิต.” (สุภาษิต 6:23, ล.ม.) การทำเช่นนี้สามารถช่วยเราให้ทำความก้าวหน้าอย่างดีในการติดตามความเลื่อมใสในพระเจ้า.
18. เรามีความรับผิดชอบอะไรเมื่อมีเรื่องขุ่นเคืองใจกัน?
สุภาษิต 18:1) แต่เราควรจำไว้ว่าการเก็บความขุ่นเคืองหรือเก็บความเจ็บแค้นต่อผู้อื่นไว้ในใจอาจก่อผลเสียหายต่อสัมพันธภาพระหว่างเรากับพระยะโฮวา. (เลวีติโก 19:18) ที่จริง “ผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่แลเห็นแล้ว, จะรักพระเจ้าที่ยังไม่ได้แลเห็นอย่างไรได้?” (1 โยฮัน 4:20) ในคำเทศน์บนภูเขาของพระเยซู พระองค์ทรงเน้นความจำเป็นที่จะลงมือแก้ไขความขัดแย้งที่มีต่อกันในทันที. พระองค์ทรงบอกกับผู้ที่ฟังพระองค์ว่า “ฉะนั้น หากเจ้ากำลังนำของถวายมายังแท่นบูชา และ ณ ที่นั่นเจ้าระลึกขึ้นได้ว่าพี่น้องของเจ้ามีเรื่องขัดเคืองต่อเจ้า จงละของถวายของเจ้าไว้หน้าแท่นบูชา แล้วไป; จงคืนดีกับพี่น้องของเจ้าก่อน, ครั้นแล้ว เมื่อเจ้ากลับมา จึงถวายของถวายของเจ้า.” (มัดธาย 5:23, 24, ล.ม.) คำขอโทษอาจช่วยรักษาบาดแผลซึ่งเกิดจากคำพูดและการกระทำที่ไม่กรุณา. สัมพันธภาพที่ร้าวฉานอาจได้รับการสมาน และความสัมพันธ์ที่สงบสุขอาจกลับคืนมา ถ้าเราได้ขอโทษหรือยอมรับว่าเราได้จัดการเรื่องราวต่าง ๆ อย่างไม่เหมาะสม. พระเยซูยังประทานคำแนะนำอย่างอื่นให้อีกด้วยเพื่อใช้จัดการกับความขัดแย้ง. (มัดธาย 18:15-17) เรามีความสุขสักเพียงไรเมื่อประสบความสำเร็จจากการพยายามแก้ไขปัญหา!—โรม 12:18; เอเฟโซ 4:26, 27.
18 ความเข้าใจผิดและความขุ่นเคืองใจกันอาจทดสอบความเลื่อมใสของเราที่มีต่อพระเจ้า. ความรู้สึกเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความกระวนกระวายใจหรือกระตุ้นบางคนให้ทำสิ่งไม่ฉลาดโดยการปลีกตัวไปจากพี่น้องฝ่ายวิญญาณของเรา. (จงติดตามตัวอย่างของพระเยซู
19. เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะเลียนแบบอย่างของพระเยซู?
19 การทดลองต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นกับเรา แต่การทดลองเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องทำให้เราหันเหไปจากการวิ่งแข่งเพื่อชีวิตนิรันดร์. จงจำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงสามารถช่วยเราให้รอดพ้นจากการทดลอง. ขณะที่เรา “ปลดของหนักทุกอย่าง” และ “วิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ต่อหน้าเรา” ขอให้เรา “มองเขม้นไปที่พระเยซู ผู้นำองค์เอกและผู้ปรับปรุงความเชื่อของเราให้สมบูรณ์ขึ้น.” (เฮ็บราย 12:1-3, ล.ม.) การพินิจพิจารณาตัวอย่างของพระเยซูอย่างถี่ถ้วนและพยายามเลียนแบบพระองค์ในคำพูดและการกระทำจะช่วยเราให้ปลูกฝังและแสดงความเลื่อมใสในพระเจ้าอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น.
20. บำเหน็จอะไรเป็นผลมาจากการติดตามความเพียรอดทนและความเลื่อมใสในพระเจ้า?
20 ความเพียรอดทนและความเลื่อมใสในพระเจ้าเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดในการช่วยทำให้ความรอดของเราเป็นเรื่องแน่นอน. โดยการสำแดงคุณลักษณะที่ล้ำค่าเหล่านี้ เราสามารถถวายการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้าได้ต่อ ๆ ไปด้วยความซื่อสัตย์. แม้ตกอยู่ภายใต้การทดลอง เรามีความสุขเพราะเราประสบความรักใคร่อันอ่อนละมุนและพระพรจากพระยะโฮวาเนื่องจากเราเพียรอดทนและแสดงความเลื่อมใสในพระเจ้า. (ยาโกโบ 5:11, ล.ม.) ยิ่งกว่านั้น พระเยซูเองทรงรับรองกับเราว่า “ท่านจะได้ชีวิตรอดโดยความเพียรของท่าน.”—ลูกา 21:19.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดความเพียรอดทนจึงเป็นสิ่งสำคัญ?
• ความเลื่อมใสในพระเจ้าคืออะไร และมีการแสดงให้เห็นโดยวิธีใด?
• เราจะเสริมสร้างและรักษาสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระเจ้าได้อย่างไร?
• สิ่งที่คุกคามความเลื่อมใสในพระเจ้ามีอะไรบ้าง และเราจะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้โดยวิธีใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12, 13]
ความเลื่อมใสในพระเจ้าแสดงออกได้หลายทาง
[ภาพหน้า 14]
จงระวังสิ่งคุกคามความเลื่อมใสในพระเจ้า