พวกเขาดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป
พวกเขาดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป
“ไม่มีเหตุอันใดที่จะทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณยิ่งไปกว่าสิ่งเหล่านี้ คือที่ข้าพเจ้าได้ยินว่าลูกทั้งหลายของข้าพเจ้าดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป.”—3 โยฮัน 4, ล.ม.
1. “ความจริงแห่งข่าวดี” รวมจุดอยู่ที่อะไร?
พระยะโฮวาทรงพอพระทัยเฉพาะคนเหล่านั้นที่นมัสการพระองค์ “ด้วยวิญญาณและความจริง.” (โยฮัน 4:24, ล.ม.) พวกเขาเชื่อฟังความจริง และยอมรับคำสอนของคริสเตียนทุกอย่างที่อาศัยพระคำของพระเจ้า. “ความจริงแห่งข่าวดี” นี้รวมจุดอยู่ที่พระเยซูคริสต์และการพิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาโดยทางราชอาณาจักร. (ฆะลาเตีย 2:14, ล.ม.) พระเจ้าทรงปล่อยให้ ‘สิ่งที่ไม่ถูกนั้นมาทำกิจ’ ในคนเหล่านั้นที่ชอบความเท็จ แต่ความรอดขึ้นอยู่กับการมีความเชื่อในข่าวดีและดำเนินอยู่ในความจริง.—2 เธซะโลนิเก 2:9-12; เอเฟโซ 1:13, 14.
2. เหตุใดอัครสาวกโยฮันจึงรู้สึกขอบคุณเป็นพิเศษ และความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับฆาโยเป็นไปในลักษณะใด?
2 ผู้ประกาศราชอาณาจักรทุกคนเป็น “เพื่อนร่วมงานในความจริง.” เช่นเดียวกันกับอัครสาวกโยฮันและฆาโยสหายของท่าน พวกเขายึดมั่นในความจริงและดำเนินในความจริง. โดยนึกถึงฆาโย โยฮันเขียนดังนี้: “ไม่มีเหตุอันใดที่จะทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณยิ่งไปกว่าสิ่งเหล่านี้ คือที่ข้าพเจ้าได้ยินว่าลูกทั้งหลายของข้าพเจ้าดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป.” (3 โยฮัน 3-8, ล.ม.) ถึงแม้อัครสาวกโยฮันผู้ชราอาจไม่ได้สอนฆาโยให้รู้จักความจริง แต่เพราะความชราของท่าน, ความอาวุโสฝ่ายคริสเตียน, และความรักใคร่ฉันบิดา จึงเหมาะสมที่อัครสาวกโยฮันจะถือว่าชายซึ่งดูเหมือนอายุน้อยกว่าคนนี้เป็นลูกฝ่ายวิญญาณคนหนึ่งของท่าน.
ความจริงกับการนมัสการของคริสเตียน
3. อะไรคือจุดมุ่งหมายและผลประโยชน์ของการประชุมที่คริสเตียนยุคแรกจัดขึ้น?
3 เพื่อจะเรียนรู้ความจริง คริสเตียนยุคแรกประชุมร่วมกันเป็นประชาคม บ่อยครั้งในบ้านส่วนตัว. (โรม 16:3-5) โดยวิธีนี้ พวกเขาจึงได้รับการหนุนกำลังใจและเร้าใจกันและกันให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี. (เฮ็บราย 10:24, 25) เกี่ยวกับผู้ที่ประกาศตัวเป็นคริสเตียนในสมัยต่อมา เทอร์ทูลเลียน (ประมาณ ปี ส.ศ. 155 ถึงหลังปี ส.ศ. 220) เขียนไว้ดังนี้: “เราร่วมประชุมกันเพื่อจะอ่านพระธรรมของพระเจ้า . . . ด้วยถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เราหล่อเลี้ยงความเชื่อของเรา, เสริมสร้างความหวังของเรา, ทำให้ความเชื่อมั่นของเรามั่นคงยิ่งขึ้น.”—การขอขมา (ภาษาอังกฤษ) บท 39.
4. การร้องเพลงมีบทบาทเช่นไรในการประชุมคริสเตียน?
4 การร้องเพลงดูเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมคริสเตียนในยุคแรก. (เอเฟโซ 5:19; โกโลซาย 3:16) ศาสตราจารย์เฮนรี แชดวิก เขียนไว้ว่า เซลซุส นักวิจารณ์สมัยศตวรรษที่สองได้พบว่าเพลงที่มีท่วงทำนองอันไพเราะซึ่งดูเหมือนใช้ร้องโดยผู้ที่ประกาศตัวเป็นคริสเตียนนั้น “เพราะ จับใจเสียจนเขารู้สึกขุ่นเคืองจริง ๆ ต่อผลกระทบทางอารมณ์ของเพลงเหล่านั้น.” แชดวิกเขียนต่อไปว่า “เคลเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรียเป็นผู้เขียนคริสเตียนคนแรกที่อภิปรายว่าเพลงชนิดใดเหมาะสมสำหรับคริสเตียน. เขาชี้แนะว่าไม่ควรเป็นเพลงชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบำเร้าราคะ.” (หนังสือคริสตจักรยุคแรก [ภาษาอังกฤษ] หน้า 274-275) เช่นเดียวกับที่คริสเตียนยุคแรกดูเหมือนร้องเพลงเมื่อพบปะกัน พยานพระยะโฮวาในทุกวันนี้ก็ร้องเพลงที่แต่งขึ้นโดยอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักอยู่บ่อย ๆ รวมถึงเพลงที่มีพลังเร้าใจเพื่อสรรเสริญพระเจ้าและราชอาณาจักร.
5. (ก) ประชาคมคริสเตียนในยุคแรกได้รับการชี้นำฝ่ายวิญญาณโดยวิธีใด? (ข) เหล่าคริสเตียนแท้นำคำตรัสของพระเยซูที่บันทึกในมัดธาย 23:7-9 ไปใช้อย่างไร?
5 ในประชาคมคริสเตียนยุคแรก ผู้ดูแลสอนความจริง และผู้ช่วยงานรับใช้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมความเชื่อในหลายวิธี. (ฟิลิปปอย 1:1, ล.ม.) คณะกรรมการปกครองให้การชี้นำฝ่ายวิญญาณโดยอาศัยพระคำของพระเจ้าและพระวิญญาณบริสุทธิ์. (กิจการ 15:6, 23-31) ไม่มีการใช้บรรดาศักดิ์ทางศาสนา เพราะพระเยซูได้สั่งเหล่าสาวกของพระองค์ไว้ว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าใคร่ให้เขาเรียกว่า ‘อาจารย์’ เลย ด้วยท่านมีพระอาจารย์แต่ผู้เดียว ท่านทั้งหลายเป็นพี่น้องกันทั้งหมด. และอย่าใคร่ให้ผู้ใดในแผ่นดินโลกเรียกตนว่า ‘บิดา’ เพราะท่านมีพระบิดาแต่ผู้เดียว คือผู้ที่สถิตอยู่ในสวรรค์.” (มัดธาย 23:7-9) มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาและในอีกหลาย ๆ ด้านระหว่างคริสเตียนยุคแรกกับพยานพระยะโฮวา.
ถูกข่มเหงเพราะประกาศความจริง
6, 7. ถึงแม้พวกเขาป่าวประกาศข่าวสารแห่งสันติสุข คริสเตียนแท้ถูกปฏิบัติเช่นไร?
6 ถึงแม้พวกเขาป่าวประกาศข่าวสารราชอาณาจักรแห่งสันติสุข คริสเตียนในยุคแรกกลับถูกข่มเหง เหมือนที่พระเยซูประสบ. (โยฮัน 15:20; 17:14) นักประวัติศาสตร์ จอห์น แอล. ฟอน โมสไฮม์ เรียกคริสเตียนศตวรรษแรกว่าเป็น “กลุ่มชนที่มีลักษณะไม่เป็นอันตรายและไร้พิษภัยมากที่สุด ซึ่งในใจของพวกเขาไม่เคยมีความปรารถนาหรือความคิดมุ่งร้ายต่อสวัสดิภาพของรัฐ.” ดร. โมสไฮม์ กล่าวว่า สิ่งที่ “รบกวนใจชาวโรมันก็คือ ความเรียบง่ายในการนมัสการของพวกคริสเตียน ซึ่งไม่เหมือนกับพิธีกรรมทางศาสนาของคนอื่น ๆ.” เขากล่าวอีกว่า “พวกเขา [คริสเตียน] ไม่มีการถวายเครื่องบูชา, วิหาร, รูปจำลอง, สำนักเทพพยากรณ์, หรือลำดับชั้นของคณะนักบวช และนี่ก็เพียงพอแล้วที่พวกเขาจะได้รับคำตำหนิจากมหาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งคิดเอาเองว่าถ้าไม่มีพิธีกรรมเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ศาสนา. ดังนั้น พวกเขา [คริสเตียน] จึงถูกมองว่าเป็นพวกอเทวนิยม และตามกฎหมายโรมัน ผู้มีความผิดในข้อหาอเทวนิยมถูกประกาศว่าเป็นพวกรังควานสังคมมนุษย์.”
กิจการ 19:23-40; 1 โกรินโธ 10:14) เทอร์ทูลเลียนเขียนดังนี้: “พวกเขาถือเอาพวกคริสเตียนเป็นต้นเหตุความหายนะทุกอย่างของรัฐ และเคราะห์ร้ายทุกประการของประชาชน. หากแม่น้ำไทเบอร์ไหลท่วมถึงกำแพงเมือง, หากแม่น้ำไนล์ไม่ไหลล้นเข้าหล่อเลี้ยงไร่นา, หากสภาพอากาศไม่เปลี่ยนแปลง, หรือหากเกิดแผ่นดินไหว, การกันดารอาหาร, โรคระบาด จะมีเสียงร้องขึ้นมาทันทีว่า ‘เอาพวกคริสเตียนโยนให้สิงโต!’” แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คริสเตียนแท้ “รักษาตัวให้พ้นจากรูปเคารพ.”—1 โยฮัน 5:21, ล.ม.
7 พวกปุโรหิต, ช่างศิลป์, และคนอื่น ๆ ที่ดำรงชีพโดยอาศัยการบูชารูปเคารพได้ยุยงประชาชนให้ต่อต้านคริสเตียน ซึ่งไม่ทำการไหว้รูปเคารพ. (ความจริงกับธรรมเนียมทางศาสนา
8. เหตุใดผู้ที่ดำเนินอยู่ในความจริงจึงไม่ฉลองคริสต์มาส?
8 คนเหล่านั้นที่ดำเนินอยู่ในความจริงหลีกเลี่ยงการฉลองธรรมเนียมทางศาสนาที่ไม่เป็นตามหลักพระคัมภีร์ เพราะ ‘ความสว่างไม่มีหุ้นส่วนอะไรกับความมืด.’ (2 โกรินโธ 6:14-18, ล.ม.) เพื่อเป็นตัวอย่าง พวกเขาไม่ฉลองคริสต์มาส ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 25 ธันวาคม. สารานุกรม เดอะ เวิลด์ บุ๊ก ยอมรับว่า “ไม่มีใครรู้วันประสูติที่แน่นอนของพระคริสต์.” สารานุกรมอเมริกานา (ฉบับปี 1956) กล่าวว่า “ซทูร์นาเลีย เทศกาลเลี้ยงฉลองของชาวโรมันกลางเดือนธันวาคม เป็นต้นแบบสำหรับธรรมเนียมรื่นเริงหลายอย่างของคริสต์มาส.” สารานุกรม ของแมกคลินทอกและสตรองชี้ให้เห็นว่า “การฉลองคริสต์มาสไม่ใช่พระบัญชาจากพระเจ้า และไม่ได้มีต้นตอมาจากพันธสัญญาใหม่.” และหนังสือชีวิตประจำวันสมัยพระเยซู (ภาษาอังกฤษ) ให้ข้อสังเกตดังนี้: “ฝูงแกะ . . . ผ่านฤดูหนาวโดยอาศัยอยู่ในที่กำบัง; และจากข้อเท็จจริงนี้อย่างเดียว ก็เห็นได้ว่าวันคริสต์มาสในฤดูหนาวที่ถือกันมาตามธรรมเนียมนั้นไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากกิตติคุณบอกว่าคนเลี้ยงแกะอยู่ในทุ่งหญ้า.”—ลูกา 2:8-11.
9. เพราะเหตุใดผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในอดีตและปัจจุบันไม่ฉลองอีสเตอร์?
9 ถือกันว่าอีสเตอร์เป็นการระลึกถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ แต่แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้แสดงว่า ที่มาและธรรมเนียมของอีสเตอร์มาจากการนมัสการเท็จ. เดอะ เวสต์มินสเตอร์ ดิกชันนารี ออฟ เดอะ ไบเบิล กล่าวว่า อีสเตอร์ “แรกเริ่มเดิมทีเป็นเทศกาลเลี้ยงฉลองในฤดูใบไม้ผลิ เพื่อเป็นเกียรติแก่เทพธิดาแห่งแสงสว่างและฤดูใบไม้ผลิของพวกทิวทอน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในแองโกล-แซกซันว่า อีสเตอร์” หรือ อีออสเตอร์. กระนั้น สารานุกรมบริแทนนิกา (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11) กล่าวว่า “ไม่มีที่ใดในพันธสัญญาใหม่บ่งบอกเรื่องการฉลองเทศกาลอีสเตอร์.” อีสเตอร์ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติของคริสเตียนในยุคแรก และไม่มีการฉลองเทศกาลนี้โดยไพร่พลของพระยะโฮวาในทุกวันนี้.
10. พระเยซูทรงตั้งอนุสรณ์อะไร และใครที่ได้ถือรักษาอนุสรณ์นี้อย่างเหมาะสม?
10 พระเยซูไม่ได้สั่งเหล่าสาวกของพระองค์ให้ระลึกถึงการประสูติหรือการคืนพระชนม์ของพระองค์ แต่พระองค์ทรงตั้งอนุสรณ์ระลึกถึงการวายพระชนม์เป็นเครื่องบูชาของพระองค์. (โรม 5:8) ที่จริง อนุสรณ์ระลึกถึงการวายพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์อย่างเดียวที่พระเยซูทรงสั่งสาวกของพระองค์ให้ถือรักษา. (ลูกา 22:19, 20) เหตุการณ์นี้ซึ่งเรียกกันด้วยว่าอาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้าได้รับการระลึกถึงเป็นประจำทุกปีโดยพยานพระยะโฮวา.—1 โกรินโธ 11:20-26.
ความจริงได้รับการประกาศไปทั่วโลก
11, 12. บรรดาผู้ดำเนินอยู่ในความจริงได้สนับสนุนกิจกรรมการประกาศของพวกเขาตลอดมาโดยวิธีใด?
11 คนเหล่านั้นที่รู้จักความจริงถือเป็นสิทธิพิเศษที่จะอุทิศเวลา, กำลัง, และทรัพยากรอื่น ๆ ของพวกเขาให้แก่งานประกาศข่าวดี. (มาระโก 13:10) กิจกรรมการประกาศของคริสเตียนในยุคแรกได้รับการสนับสนุนโดยการบริจาคด้วยใจสมัคร. (2 โกรินโธ 8:12; 9:7) เทอร์ทูลเลียนเขียนไว้ว่า “ถึงแม้ว่ามีหีบบางอย่าง เงินในหีบก็ไม่ได้มาจากค่าธรรมเนียมสมาชิก เสมือนว่าศาสนาเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ. ทุก ๆ คนนำเอาเงินมาพอประมาณเดือนละครั้ง หรือเมื่อไรก็ตามที่เขาต้องการ และเฉพาะเมื่อเขาต้องการจริง ๆ และสามารถทำได้; เพราะไม่มีใครถูกบังคับ; เป็นการถวายให้ด้วยความสมัครใจ.”—การขอขมา บท 39.
12 งานประกาศเรื่องราชอาณาจักรไปทั่วโลกของพยานพระยะโฮวาได้รับการสนับสนุนโดยการบริจาคด้วยใจสมัครเช่นกัน. นอกจากพวกพยานฯ แล้ว ผู้สนใจที่หยั่งรู้ค่าถือเป็นสิทธิพิเศษของพวกเขาที่จะบริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรม
นี้. นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แสดงความคล้ายคลึงกันระหว่างคริสเตียนในยุคแรกกับพยานพระยะโฮวา.ความจริงกับความประพฤติส่วนตัว
13. พยานพระยะโฮวาเอาใจใส่คำแนะนำอะไรของเปโตรในเรื่องความประพฤติ?
13 ฐานะผู้ดำเนินอยู่ในความจริง คริสเตียนในยุคแรกปฏิบัติตามคำแนะนำของอัครสาวกเปโตร ที่ว่า “จงรักษาความประพฤติของท่านให้ดีงามท่ามกลางนานาชาติ เพื่อว่า ในสิ่งที่เขาพูดต่อต้านท่านทั้งหลายว่าเป็นคนทำชั่วนั้น เนื่องด้วยการกระทำที่ดีงามของท่านซึ่งเขาเป็นประจักษ์พยานนั้น เขาอาจสรรเสริญพระเจ้าในวันสำหรับการตรวจตราของพระองค์.” (1 เปโตร 2:12, ล.ม.) พยานพระยะโฮวาเอาใส่ใจคำแนะนำของอัครสาวกเปโตรอย่างจริงจัง.
14. คริสเตียนมีทัศนะเช่นไรต่อความบันเทิงที่ผิดศีลธรรม?
14 แม้แต่หลังจากการออกหากได้เริ่มแทรกซึมเข้ามาแล้ว คริสเตียนในนามก็ได้หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผิดศีลธรรม. ดับเบิลยู. ดี. คิลลัน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์คริสตจักร เขียนไว้ดังนี้: “ในศตวรรษที่สองและสาม โรงละครในเมืองใหญ่ทุกเมืองเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คน; และโดยทั่วไปแล้วพวกนักแสดงเป็นคนหละหลวมทางศีลธรรม การแสดงที่ดึงดูดความสนใจของพวกเขาจัดขึ้นเพื่อตอบสนองความปรารถนาอันต่ำทรามที่มีอย่างไม่รู้จักจบสิ้นของยุคสมัยนั้น . . . . คริสเตียนแท้ทุกคนมองโรงละครด้วยความรังเกียจ . . . . พวกเขาขยะแขยงความหยาบโลนของการแสดงในโรงละครนั้น; และการวิงวอนร้องขอต่อเหล่าเทพเจ้าและเทพธิดาของคนนอกรีตตลอดการแสดงนั้นขัดต่อความเชื่อมั่นทางศาสนาของพวกเขา.” (หนังสือคริสตจักรยุคโบราณ [ภาษาอังกฤษ] หน้า 318-319) สาวกแท้ของพระเยซูในทุกวันนี้หลีกเลี่ยงรูปแบบความบันเทิงที่หยาบโลนและเสื่อมทรามทางศีลธรรมเช่นเดียวกัน.—เอเฟโซ 5:3-5.
ความจริงกับ “อำนาจที่สูงกว่า”
15, 16. “อำนาจที่สูงกว่า” หมายถึงผู้ใด และพวกเขาได้รับความนับถือจากคนเหล่านั้นที่ดำเนินอยู่ในความจริงอย่างไร?
15 ทั้ง ๆ ที่คริสเตียนยุคแรกมีความประพฤติที่ดีงาม จักรพรรดิโรมันส่วนใหญ่ลงความเห็นเกี่ยวกับพวกเขาอย่างผิด ๆ. นักประวัติศาสตร์ อี. จี. ฮาร์ดี กล่าวว่า จักรพรรดิเหล่านั้นมองว่าพวกเขาเป็น “ผู้มีความกระตือรือร้นที่ค่อนข้างน่าดูหมิ่น.” จดหมายโต้ตอบระหว่างพลินีผู้อ่อนวัยกว่าแห่งเมืองบิทีเนียกับจักรพรรดิทราจันแสดงว่า ชนชั้นปกครองโดยทั่วไปแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับลักษณะที่แท้จริงของศาสนาคริสเตียน. แต่คริสเตียนมีทัศนะเช่นไรต่ออำนาจรัฐ?
16 เช่นเดียวกันกับสาวกยุคแรกของพระเยซู พยานพระยะโฮวายอมอยู่ใต้ “อำนาจที่สูงกว่า” ของรัฐบาลอย่างมีขอบเขต. (โรม 13:1-7, ล.ม.) ถ้ามีข้อขัดแย้งระหว่างคำสั่งของมนุษย์กับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า พวกเขาจะแสดงจุดยืนที่ว่า “พวกข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้าในฐานะเป็นผู้ปกครองยิ่งกว่ามนุษย์.” (กิจการ 5:29, ล.ม.) หนังสือ หลังจากพระเยซู—ชัยชนะของคริสต์ศาสนา (ภาษาอังกฤษ) กล่าวไว้ว่า “แม้พวกคริสเตียนอาจไม่ได้เข้าร่วมในการบูชาจักรพรรดิ แต่พวกเขาก็ไม่ได้ปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวาย; และศาสนาของพวกเขา แม้จะดูแปลกและก่อความ ขุ่นเคืองในบางครั้งจากทัศนะของคนนอกศาสนา แต่ก็ไม่ได้เป็นภัยคุกคามอะไรจริง ๆ ต่อจักรวรรดิ.”
17. (ก) คริสเตียนในยุคแรกเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลใด? (ข) เหล่าสาวกแท้ของพระคริสต์นำถ้อยคำที่ยะซายา 2:4 ไปใช้ในชีวิตของพวกเขาอย่างไร?
17 คริสเตียนยุคแรกเป็นผู้สนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้า เหมือนกับที่พวกปฐมบรรพบุรุษ อับราฮาม, ยิศฮาค, และยาโคบ ได้แสดงความเชื่อใน ‘เมืองที่พระเจ้าสร้าง’ ซึ่งทรงสัญญาไว้. (เฮ็บราย 11:8-10) เช่นเดียวกันกับนายของพวกเขา สาวกของพระเยซู “ไม่เป็นส่วนของโลก.” (โยฮัน 17:14-16, ล.ม.) และในเรื่องสงครามและการต่อสู้กันของมนุษย์ พวกเขาได้ติดตามสันติสุขโดย ‘ตีดาบของเขาเป็นผาลไถนา.’ (ยะซายา 2:4) เมื่อสังเกตเห็นความคล้ายคลึงที่น่าสนใจ เจฟฟรีย์ เอฟ. นัตทอล อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์คริสตจักร ให้ความเห็นดังนี้: “ทัศนคติของคริสเตียนในยุคแรกที่มีต่อสงครามเหมือนกันมากกับทัศนคติของผู้คนที่เรียกตัวเองว่าพยานพระยะโฮวาเสียจนยากที่เราจะยอมรับได้อย่างสะดวกใจ.”
18. เหตุใดจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลใดจะต้องกลัวพยานพระยะโฮวา?
18 ในฐานะผู้รักษาความเป็นกลางที่ยอมอยู่ใต้ “อำนาจที่สูงกว่า” คริสเตียนยุคแรกไม่เป็นภัยคุกคามต่ออำนาจทางการเมืองใด ๆ ที่มีอยู่ และพยานพระยะโฮวาก็ไม่เป็นเช่นกัน. นักเขียนบทบรรณาธิการคนหนึ่งทางอเมริกาเหนือเขียนดังนี้: “ต้องมีอคติและคิดหวาดระแวงไปเองจึงจะเชื่อว่าพยานพระยะโฮวาเป็นอันตรายคุกคามระบอบการปกครองใด ๆ. พวกเขาไม่ใช่พวกล้มล้างบ้านเมือง แต่เป็นคนรักสันติ อย่างที่กลุ่มศาสนาพึงจะเป็น.” ผู้มีอำนาจปกครองที่มีความเข้าใจแจ่มแจ้งเกี่ยวกับพยานพระยะโฮวารู้ดีว่าไม่มีอะไรต้องกลัวพวกเขา.
19. อาจกล่าวอะไรได้เกี่ยวกับคริสเตียนยุคแรกและพยานพระยะโฮวาในเรื่องภาษี?
19 วิธีหนึ่งที่คริสเตียนในยุคแรกได้แสดงความนับถือต่อ “อำนาจที่สูงกว่า” คือการที่พวกเขาเสียภาษี. เมื่อเขียนจดหมายถึงแอนโทนินุส ปิอุส จักรพรรดิโรมัน (ปี ส.ศ. 138-161) จัสติน มาร์เทอร์ เห็นว่าพวกคริสเตียนชำระภาษีของเขา “ด้วยความเต็มใจยิ่งกว่าคนทั้งปวง.” (การขอขมาครั้งแรก [ภาษาอังกฤษ] บท 17) และเทอร์ทูลเลียนบอกกับบรรดาผู้ปกครองของโรมว่า คนเก็บภาษีของเขา “เป็นหนี้บุญคุณพวกคริสเตียน” เนื่องจากพวกเขาเสียภาษีตามสติรู้สึกผิดชอบ. (การขอขมา บท 42) คริสเตียนได้รับประโยชน์มาระโก 12:17, ฉบับแปลใหม่) ไพร่พลของพระยะโฮวาในปัจจุบันติดตามคำแนะนำนี้ และได้รับการยกย่องในเรื่องความซื่อสัตย์ เช่น ในการเสียภาษี.—เฮ็บราย 13:18.
จาก พักซ์ โรมานา หรือ สันติภาพของโรม, กฎหมายและระเบียบของโรม, ถนนหนทางที่ดี, การเดินทางทางทะเลที่ค่อนข้างจะปลอดภัย. โดยสำนึกถึงว่าพวกเขาเป็นหนี้สังคม พวกเขาจึงเอาใจใส่คำตรัสของพระเยซูที่ว่า “ของของซีซาร์จงถวายแก่ซีซาร์ และของของพระเจ้าจงถวายแด่พระเจ้า.” (ความจริง—สิ่งผูกพันให้เป็นหนึ่งเดียว
20, 21. สังคมพี่น้องที่เปี่ยมไปด้วยสันติสุขเป็นจริงอย่างไรกับคริสเตียนในยุคแรกและกับผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบัน?
20 เนื่องจากพวกเขาดำเนินอยู่ในความจริง คริสเตียนยุคแรกจึงผูกพันกันเป็นสังคมพี่น้องที่เปี่ยมไปด้วยสันติสุข พยานพระยะโฮวาในทุกวันนี้ก็เช่นกัน. (กิจการ 10:34, 35) จดหมายฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ลงในเดอะ มอสโก ไทมส์ กล่าวว่า “[พยานพระยะโฮวา] เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นคนมีมิตรไมตรี, กรุณา, และอ่อนน้อม ซึ่งง่ายมากที่จะติดต่อสัมพันธ์ด้วย, ไม่เคยกดดันคนอื่น และพยายามรักษาสันติสุขเสมอเมื่อติดต่อกับผู้อื่น . . . ไม่มีคนรับสินบน, คนขี้เมา, หรือติดยาในท่ามกลางพวกเขา และเหตุผลก็ง่าย ๆ: พวกเขาเพียงแต่พยายามให้ความเชื่อมั่นของเขาซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลชี้นำทุกสิ่งที่พวกเขาทำหรือพูด. ถ้าทุกคนในโลกอย่างน้อยพยายามจะดำเนินชีวิตตามคัมภีร์ไบเบิลในแบบที่พยานพระยะโฮวาทำ โลกอันโหดร้ายของเราคงจะแตกต่างไปจากนี้อย่างสิ้นเชิง.”
21 สารานุกรมคริสต์ศาสนาในยุคต้น ๆ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “คริสตจักรยุคแรกถือว่าตนเองเป็นสังคมใหม่ของมนุษย์ซึ่งกลุ่มต่าง ๆ ที่เคยเป็นศัตรูกัน ชาวยิวและคนต่างชาติ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นเอกภาพและมีสันติสุข.” ในทำนองเดียวกัน พยานพระยะโฮวาเป็นสังคมพี่น้องทั่วโลกที่อยู่ร่วมกันด้วยความรักและสันติสุข เป็นสังคมโลกใหม่อย่างแท้จริง. (เอเฟโซ 2:11-18; 1 เปโตร 5:9; 2 เปโตร 3:13) เมื่อหัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของลานนิทรรศการพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ได้เห็นตัวแทนของพยานพระยะโฮวาจากทุกเชื้อชาติร่วมประชุมกันอย่างสงบสุข เขากล่าวว่า “ทุกคนมีมารยาทเรียบร้อยและเป็นเช่นนี้เสมอ ผู้คนพูดจากันอย่างสุภาพ ท่าทีที่ผู้คนแสดงเมื่อสองสามวันก่อน—ทั้งหมดนี้เป็นพยานหลักฐานถึงคุณภาพทางศีลธรรมของสมาชิกในสังคมของคุณ และเป็นพยานหลักฐานว่าทุกคนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวหนึ่งเดียวที่มีความสุข.”
ได้รับผลตอบแทนจากการสอนความจริง
22. การที่คริสเตียนได้สำแดงความจริงให้ปรากฏก่อผลเช่นไร?
22 โดยความประพฤติและกิจกรรมการประกาศของพวกเขา เปาโลและคริสเตียนคนอื่น ๆ “สำแดงความจริงให้ปรากฏ.” (2 โกรินโธ 4:2, ล.ม.) คุณเห็นด้วยมิใช่หรือว่าพยานพระยะโฮวากำลังทำอย่างเดียวกันและกำลังสอนความจริงแก่ทุกชาติ? ผู้คนจากทั่วโลกจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กำลังรับเอาการนมัสการแท้และหลั่งไหลไปสู่ “ภูเขาแห่งราชนิเวศของพระยะโฮวา.” (ยะซายา 2:2, 3, ล.ม.) ทุกปีหลายแสนคนรับบัพติสมาเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการอุทิศตัวของเขาแด่พระเจ้า เป็นผลให้มีการก่อตั้งประชาคมใหม่ ๆ มากมาย.
23. คุณมีทัศนะเช่นไรต่อคนเหล่านั้นที่กำลังสอนความจริงแก่ทุกชาติ?
23 ถึงแม้มาจากภูมิหลังที่ต่างกัน ไพร่พลของพระยะโฮวามีเอกภาพในการนมัสการแท้. ความรักที่พวกเขาแสดงออกระบุตัวพวกเขาว่าเป็นสาวกของพระเยซู. (โยฮัน 13:35) คุณมองออกไหมว่า ‘พระเจ้าทรงสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขาอย่างแน่นอน’? (1 โกรินโธ 14:25, ฉบับแปลใหม่) คุณยืนอยู่ฝ่ายคนเหล่านั้นที่กำลังสอนความจริงแก่ทุกชาติไหม? ถ้าใช่ ขอให้คุณแสดงความขอบคุณเสมอสำหรับความจริง และมีสิทธิพิเศษที่จะดำเนินอยู่ในความจริงตลอดไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• มีอะไรที่คล้ายคลึงกันระหว่างคริสเตียนยุคแรกกับพยานพระยะโฮวาในเรื่องการนมัสการ?
• อะไรคือการฉลองทางศาสนาอย่างเดียวที่คนเหล่านั้นซึ่งดำเนินในความจริงถือรักษา?
• “อำนาจที่สูงกว่า” หมายถึงผู้ใด และคริสเตียนมีทัศนะเช่นไรต่อพวกเขา?
• ความจริงเป็นสิ่งผูกพันให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
การประชุมคริสเตียนให้ผลตอบแทนเสมอแก่คนเหล่านั้นที่ดำเนินอยู่ในความจริง
[ภาพหน้า 23]
พระเยซูทรงสั่งเหล่าสาวกของพระองค์ให้ถือรักษาอนุสรณ์ระลึกถึงการวายพระชนม์เป็นเครื่องบูชาของพระองค์
[ภาพหน้า 24]
เช่นเดียวกับคริสเตียนในยุคแรก พยานพระยะโฮวาแสดงความนับถือต่อ “อำนาจที่สูงกว่า”