ได้รับการกระตุ้นจาก “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า”
ได้รับการกระตุ้นจาก “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า”
“เราได้ยินพวกเขาพูดถึงราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในภาษาของเรา.”—กิจการ 2:11, ล.ม.
1, 2. มีสิ่งแปลกประหลาดอะไรเกิดขึ้นที่กรุงเยรูซาเลมในวันเพนเตคอสเต ปี ส.ศ. 33?
เช้าวันหนึ่งปลายฤดูใบไม้ผลิ ปี ส.ศ. 33 มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้นกับกลุ่มชายหญิงซึ่งเป็นเหล่าสาวกของพระเยซูคริสต์ที่กำลังชุมนุมกันในบ้านส่วนตัวหลังหนึ่งในกรุงเยรูซาเลม. “ในทันใดนั้นมีเสียงดังมาจากฟ้าเหมือนเสียงพายุกล้าสนั่นก้องทั่วตึกที่เขานั่งกันอยู่นั้น. มีเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้นปรากฏแก่เขา . . . เขาเหล่านั้นก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์, จึงตั้งต้นพูดภาษาต่าง ๆ.”—กิจการ 2:2-4, 15.
2 ฝูงชนกลุ่มใหญ่ร่วมชุมนุมกันที่หน้าบ้านนั้น. ในท่ามกลางฝูงชนเหล่านี้มีชาวยิว “ผู้เกรงกลัวพระเจ้า” ซึ่งเกิดในต่างประเทศ ที่มายังกรุงเยรูซาเลมเพื่อฉลองเทศกาลเพนเตคอสเต. ชาวยิวเหล่านี้อัศจรรย์ใจที่พวกเขาแต่ละคนได้ยินพวกสาวกพูด “ถึงราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” ในภาษาบ้านเกิดของเขาเอง. นั่นจะเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อกิจการ 2:5-8, 11, ล.ม.
คนเหล่านั้นทุกคนที่พูดกันล้วนเป็นชาวแกลิลี (ฆาลิลาย)?—3. ข่าวสารอะไรที่อัครสาวกเปโตรได้ประกาศแก่ฝูงชนในวันเพนเตคอสเต?
3 หนึ่งในชาวแกลิลีนั้นคืออัครสาวกเปโตร. ท่านอธิบายว่าไม่กี่สัปดาห์ก่อน คนอธรรมได้ประหารชีวิตพระเยซู. อย่างไรก็ตาม พระเจ้าทรงปลุกพระบุตรของพระองค์ให้เป็นขึ้นจากตาย. หลังจากนั้น พระเยซูทรงปรากฏแก่เหล่าสาวกหลายคน รวมทั้งเปโตรและคนอื่น ๆ ที่อยู่ที่นั่นขณะนั้น. เพียงแค่สิบวันก่อนหน้านี้ พระเยซูได้เสด็จขึ้นไปยังสวรรค์. พระองค์นั่นแหละคือผู้ที่ได้เทพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมาเหนือเหล่าสาวกของพระองค์. ทั้งหมดนี้มีความหมายอะไรสำหรับผู้มาฉลองวันเพนเตคอสเตไหม? มีแน่. ความตายของพระเยซูเตรียมทางไว้ให้พวกเขาได้รับการอภัยบาป และได้รับ “พระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์” หากพวกเขาแสดงความเชื่อในพระองค์. (กิจการ 2:22-24, 32, 33, 38) เมื่อเป็นอย่างนั้น ผู้เห็นเหตุการณ์เหล่านั้นตอบรับอย่างไรต่อ “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” ที่พวกเขาได้ยิน? และเรื่องนี้ช่วยเราประเมินค่างานรับใช้ของเราที่ถวายแด่พระยะโฮวาอย่างไร?
ได้รับการกระตุ้นให้ลงมือปฏิบัติ!
4. คำพยากรณ์อะไรของโยเอลที่สำเร็จเป็นจริงในวันเพนเตคอสเต ปี ส.ศ. 33?
4 เมื่อได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ พวกสาวกในกรุงเยรูซาเลมก็ไม่รอช้าในการแบ่งปันข่าวดีเรื่องความรอดให้แก่คนอื่น ๆ โดยเริ่มกับฝูงชนที่มาชุมนุมกันในเช้าวันเพนเตคอสเตนั้น. การประกาศของพวกเขาทำให้คำพยากรณ์หนึ่งที่โดดเด่นสำเร็จเป็นจริง ซึ่งบันทึกไว้ราวแปดร้อยปีก่อนหน้านั้นโดยโยเอล บุตรพะธูเอล ดังนี้: “เราจะหลั่งพระวิญญาณของเราลงมาบนมนุษย์ทั้งปวง; และบุตราบุตรีของเจ้าทั้งหลายจะกล่าวคำพยากรณ์, และคนแก่ของพวกเจ้าฝันเห็น, และคนหนุ่มของพวกเจ้าจะเห็นนิมิต: ในคราวนั้นเราจะหลั่งพระวิญญาณของเรามาบนทาสาทาสี .. . ก่อนที่วันใหญ่ยิ่งอันน่ากลัวของพระยะโฮวาจะมาถึง.”—โยเอล 1:1; 2:28, 29, 31; กิจการ 2:17, 18, 20.
5. ในความหมายใดที่ว่าเหล่าคริสเตียนในศตวรรษแรกกล่าวพยากรณ์? (ดูเชิงอรรถ.)
5 นี่หมายความว่าพระเจ้าจะก่อกำเนิดคนรุ่นหนึ่งให้เป็นผู้พยากรณ์ทั้งหมด ทั้งชายและหญิง เหมือนอย่างดาวิด, โยเอล, ดะโบรา และใช้พวกเขาให้บอกล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ในอนาคตไหม? ไม่ใช่เช่นนั้น. เหล่า ‘บุตราบุตรี ทาสาทาสี’ คริสเตียนจะกล่าวพยากรณ์ในแง่ที่ว่า พวกเขาจะได้รับการกระตุ้นโดยพระวิญญาณของพระยะโฮวาให้ประกาศ “ราชกิจอันยิ่งใหญ่” ที่พระยะโฮวาได้ทำและยังคงจะทำ. ดังนั้น พวกเขาจะรับใช้ในฐานะโฆษกของพระผู้สูงสุด. * แล้วฝูงชนมีปฏิกิริยาเช่นไร?—เฮ็บราย 1:1, 2.
6. เมื่อได้ยินคำบรรยายของเปโตร หลายคนในฝูงชนได้รับการกระตุ้นให้ทำอะไร?
6 หลังจากที่ฝูงชนได้ยินคำอธิบายจากเปโตร หลายคนในพวกเขาได้รับการกระตุ้นให้ลงมือปฏิบัติ. พวกเขา “รับคำของท่านด้วยเต็มใจ” และ “รับบัพติสมา, และในวันนั้นมีคนเพิ่มเข้ามาประมาณสามพันคน.” (กิจการ 2:41, ล.ม.) เนื่องจากเป็นชาวยิวโดยกำเนิดและเป็นผู้ที่ได้เปลี่ยนมาถือศาสนายิว พวกเขาจึงมีความรู้พื้นฐานอยู่แล้วเกี่ยวกับพระ คัมภีร์. ความรู้ดังกล่าวควบคู่กับความเชื่อที่พวกเขาได้เรียนรู้จากเปโตรจัดให้มีพื้นฐานสำหรับพวกเขาที่จะรับบัพติสมา “ในนามแห่งพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (มัดธาย 28:19) หลังจากรับบัพติสมา “เขาทั้งหลายได้หมกมุ่นต่อไปในคำสอนของพวกอัครสาวก.” ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เริ่มแบ่งปันความเชื่อที่พวกเขาเพิ่งค้นพบกับคนอื่น ๆ. อันที่จริง “วันแล้ววันเล่า พวกเขาได้เข้าร่วมที่พระวิหารเป็นประจำอย่างพร้อมเพรียงกัน . . . สรรเสริญพระเจ้าและเป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้คนทั้งปวง.” ผลจากการให้คำพยานเช่นนี้คือ “พระยะโฮวาทรงทำให้คนทั้งหลายที่ได้รับการช่วยให้รอดมาสมทบกับพวกเขาทุกวัน.” (กิจการ 2:42, 46, 47, ล.ม.) ประชาคมคริสเตียนผุดขึ้นในดินแดนต่าง ๆ มากมายที่ผู้เชื่อถือใหม่เหล่านี้อาศัยอยู่. ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการเพิ่มทวีเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความพยายามในการประกาศ “ข่าวดี” อย่างกระตือรือร้นเมื่อพวกเขากลับไปบ้าน.—โกโลซาย 1:23.
พระคำของพระเจ้าทรงพลัง
7. (ก) อะไรดึงดูดผู้คนจากทุกชาติมายังองค์การของพระยะโฮวาในทุกวันนี้? (ข) คุณได้เห็นความเป็นไปได้อะไรสำหรับการเพิ่มทวีในเขตงานทั่วโลกและในท้องถิ่นของคุณ? (ดูเชิงอรรถ.)
7 จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับคนเหล่านั้นที่ปรารถนาจะเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้? พวกเขาก็ต้องศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างถี่ถ้วนเช่นกัน. เมื่อทำเช่นนั้น พวกเขามารู้จักพระยะโฮวาในฐานะพระเจ้าผู้ทรง “เมตตากรุณา, ผู้ทรงอดพระทัยได้นาน, และบริบูรณ์ด้วยความดี [“ความกรุณารักใคร่,” ล.ม.] และความจริง.” (เอ็กโซโด 34:6; กิจการ 13:48) พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมด้วยความกรุณาของพระยะโฮวาในเรื่องค่าไถ่โดยทางพระเยซูคริสต์ ซึ่งพระโลหิตที่หลั่งออกของพระองค์สามารถชำระเขาให้ปราศจากบาปทั้งสิ้น. (1 โยฮัน 1:7) พวกเขารู้สึกซาบซึ้งเช่นกันที่ทราบว่าพระเจ้ามีพระประสงค์จะให้ ‘คนชอบธรรมและคนไม่ชอบธรรมกลับเป็นขึ้นจากตาย.’ (กิจการ 24:15, ล.ม.) ความรักต่อผู้เป็นแหล่งแห่ง “ราชกิจอันยิ่งใหญ่” เหล่านี้เปี่ยมล้นในหัวใจของพวกเขา และกระตุ้นพวกเขาให้ประกาศความจริงอันล้ำค่าเหล่านี้. จากนั้น พวกเขาได้อุทิศตัวเป็นผู้รับใช้ที่รับบัพติสมาของพระเจ้า และ “เพิ่มพูนในความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้า” ต่อ ๆ ไป. *—โกโลซาย 1:10ข, ล.ม.; 2 โกรินโธ 5:14.
8-10. (ก) ประสบการณ์ของสตรีคริสเตียนคนหนึ่งพิสูจน์อย่างไรว่าพระคำของพระเจ้า “ทรงพลัง”? (ข) ประสบการณ์นี้สอนอะไรคุณเกี่ยวกับพระยะโฮวาและวิธีที่พระองค์ปฏิบัติกับผู้รับใช้ของพระองค์? (เอ็กโซโด 4:12)
8 ความรู้ที่ผู้รับใช้ของพระเจ้าได้รับจากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลไม่เป็นแบบผิวเผิน. ความรู้เช่นนั้นกระตุ้นหัวใจของพวกเขา ความรู้นั้นเปลี่ยนวิธีที่พวกเขาคิด และฝังเข้าไปในจิตใจพวกเขา. (เฮ็บราย 4:12) ยกตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อคามิลล์ ได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่คนสูงอายุ. ผู้รับบริการจากเธอคนหนึ่งชื่อมาร์ทา เป็นพยานพระยะโฮวา. เนื่องจากมาร์ทาป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรง เธอจึงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา. ต้องคอยเตือนเธอไม่ให้ลืมกินอาหาร กระทั่งเตือนไม่ให้ลืมกลืนอาหาร. อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่ประทับอยู่ในจิตใจของมาร์ทาอย่างที่ไม่มีวันเลือนหาย ดังที่เราจะได้เห็นกันต่อไป.
9 วันหนึ่ง มาร์ทาเห็นคามิลล์ร้องไห้เนื่องจากทุกข์ใจกับปัญหาส่วนตัวบางอย่าง. มาร์ทาเข้าไปกอดคามิลล์และชวนให้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเธอ. แต่คนที่อยู่ในสภาพอย่างมาร์ทาจะนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้ไหม? ใช่ เธอทำได้! ถึงแม้เธอได้สูญเสียความจำไปมาก แต่มาร์ทาไม่เคยลืมพระเจ้าองค์ยิ่งใหญ่ของเธอ และไม่เคยลืมความจริงอันล้ำค่าที่เธอได้เรียนรู้จากคัมภีร์ไบเบิล. ระหว่างการศึกษา มาร์ทาสั่งให้คามิลล์อ่านแต่ละย่อหน้า ค้นดูข้อพระคัมภีร์ที่อ้างถึง อ่านคำถามท้ายหน้า แล้วให้ตอบคำถามนั้น. การศึกษาดำเนินไประยะหนึ่ง และแม้ว่ามาร์ทามีข้อจำกัด แต่คามิลล์ก็ก้าวหน้าในความรู้ในคัมภีร์ไบเบิล. มาร์ทาตระหนักว่าคามิลล์ต้องได้คบหาสมาคมกับคนอื่น ๆ ที่สนใจในการรับใช้พระเจ้า. ด้วยเหตุผลนี้ เธอจึงให้เสื้อกระโปรงชุดหนึ่งกับรองเท้าหนึ่งคู่แก่นักศึกษาของเธอ เพื่อคามิลล์จะมีชุดที่เหมาะสมใส่เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของเธอที่หอประชุม.
10 คามิลล์ได้รับการกระตุ้นจากความสนใจที่เปี่ยมด้วยความรัก, ตัวอย่าง, และความเชื่อมั่นของมาร์ทา. เธอลงความเห็นว่าสิ่งที่มาร์ทากำลังพยายามสอนเธอจากคัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องสำคัญมากจริง ๆ เนื่องจากมาร์ทาจำอะไรแทบไม่ได้ เว้นแต่สิ่งที่เธอได้เรียนรู้จากพระคัมภีร์. ต่อมา คามิลล์ถูกย้ายไปยังสถานรับดูแลคนสูงอายุอีกแห่งหนึ่ง เธอตระหนักว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เธอควรลงมือปฏิบัติ. ทันทีที่มีโอกาส เธอเดินเข้าไปในหอประชุมแห่งหนึ่งโดยสวมชุดและรองเท้าที่มาร์ทาให้ และขอการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. คามิลล์ทำความก้าวหน้าอย่างดีและได้รับบัพติสมา.
ได้รับการกระตุ้นให้สะท้อนมาตรฐานของพระยะโฮวา
11. นอกจากมีใจแรงกล้าในการประกาศแล้ว เราจะแสดงอย่างไรว่าเราได้รับการกระตุ้นจากข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร?
11 ทุกวันนี้ มีพยานพระยะโฮวามากกว่าหกล้านคนซึ่งเหมือนกับมาร์ทาและตอนนี้ก็คามิลล์ กำลังประกาศ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร” ทั่วโลก. (มัดธาย 24:14, ล.ม.; 28:19, 20) เช่นเดียวกับคริสเตียนในศตวรรษแรก พวกเขาได้รับการกระตุ้นอย่างลึกซึ้งจาก “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า.” พวกเขาหยั่งรู้ค่าที่ได้สิทธิพิเศษถือพระนามพระยะโฮวาและที่พระองค์ได้เทพระวิญญาณลงมาเหนือพวกเขา. ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามสุดกำลัง “เพื่อจะดำเนินคู่ควรกับพระยะโฮวา เพื่อทำให้พระองค์พอพระทัยอย่างเต็มเปี่ยม” โดยใช้มาตรฐานของพระองค์ในทุกแง่มุมของชีวิต. การทำเช่นนี้รวมถึงการนับถือมาตรฐานของพระเจ้าในเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย.—โกโลซาย 1:10ก, ล.ม.; ติโต 2:10.
12. เราพบคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงอะไรในเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย ที่ 1 ติโมเธียว 2:9, 10?
12 ถูกแล้ว พระยะโฮวาทรงกำหนดมาตรฐานในเรื่องการปรากฏตัวของเรา. อัครสาวกเปาโลบอกถึงข้อเรียกร้องบางอย่างของพระเจ้าในเรื่องนี้. “ข้าพเจ้าปรารถนาให้พวกผู้หญิงประดับตัวด้วยเสื้อผ้าที่จัดเรียบร้อย ด้วยความสงบเสงี่ยมและสุขภาพจิตดี ไม่ใช่ด้วยแบบถักทรงผมและทองคำ หรือไข่มุก หรือเสื้อผ้าราคาแพงมาก แต่ด้วยวิธีที่เหมาะสม * เราเรียนรู้อะไรจากถ้อยคำเหล่านี้?—1 ติโมเธียว 2:9, 10, ล.ม.
กับสตรีที่ประกาศตัวว่านับถือพระเจ้า นั่นคือ โดยการงานที่ดี.”13. (ก) “เสื้อผ้าที่จัดเรียบร้อย” หมายความเช่นไร? (ข) ทำไมเราจึงกล่าวได้ว่ามาตรฐานของพระยะโฮวานั้นสมเหตุสมผล?
13 ถ้อยคำของเปาโลแสดงว่าคริสเตียนควร “ประดับตัวด้วยเสื้อผ้าที่จัดเรียบร้อย.” พวกเขาไม่ควรปรากฏตัวในชุดที่ดูไม่เรียบร้อย, รุ่มร่าม, หรือหลวมโพรก. กล่าวได้ว่าแทบทุกคน แม้แต่คนที่มีฐานะยากจน ก็สามารถบรรลุข้อเรียกร้องที่สมเหตุสมผลนี้ได้ โดยทำให้แน่ใจว่าเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่นั้นเรียบร้อย, สะอาด, และน่าดู. เพื่อเป็นตัวอย่าง ทุก ๆ ปี พยานพระยะโฮวาหลายคนในประเทศหนึ่งทางอเมริกาใต้เดินเท้าผ่านป่ารกเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร และจากนั้นเดินทางด้วยเรือพายต่ออีกหลายชั่วโมง เพื่อเข้าร่วมการประชุมภาคของพวกเขา. ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีบางคนตกลงไปในแม่น้ำ หรือเสื้อผ้าไปเกี่ยวกับพุ่มไม้ขาดระหว่างการเดินทาง. ดังนั้น เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มนี้เดินทางไปถึงบริเวณที่มีการจัดการประชุม การปรากฏตัวของพวกเขามักดูไม่ค่อยเรียบร้อย. ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงใช้เวลาเพื่อเย็บกระดุม, ซ่อมซิป, และซักรีดเสื้อผ้าที่พวกเขาจะใส่ไปยังการประชุม. พวกเขาถือว่าคำเชิญให้มารับประทานที่โต๊ะของพระยะโฮวานั้นล้ำค่า และพวกเขาต้องการแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาสนี้.
14. (ก) การแต่งกายด้วย “ความสงบเสงี่ยมและสุขภาพจิตดี” หมายความเช่นไร? (ข) มีอะไรเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในการให้การแต่งกายของเรา ‘สมกับคนที่ประกาศตัวว่านับถือพระเจ้า’?
14 เปาโลบอกด้วยว่าเราควรแต่งกายด้วย “ความสงบเสงี่ยมและสุขภาพจิตดี.” นี่หมายความว่าเราไม่ควรให้การปรากฏตัวของเราเป็นแบบโอ้อวด, แปลกประหลาด, เร้าความรู้สึกทางเพศ, เผยส่วนสัด, หรือติดตามแฟชั่นมากเกินไป. นอกจากนั้น เราควรแต่งกายในลักษณะที่แสดงถึง ‘ความนับถือพระเจ้า.’ นั่นเป็นเรื่องที่น่าคิดมิใช่หรือ? นี่ไม่ใช่แค่เรื่องการใส่ชุดที่เหมาะสมเมื่อเข้าร่วมการประชุมประชาคม และจากนั้นก็ไม่ใส่ใจเรื่องการแต่งกายในเวลาอื่น ๆ. การแต่งกายของเราควรสะท้อนถึงเจตคติที่นับถือและให้เกียรติผู้อื่นเสมอ เนื่องจากเราเป็นคริสเตียนและผู้รับใช้พระเจ้าตลอด 24 ชั่วโมง. แน่ล่ะ เราต้องเลือกใส่ชุดทำงานหรือชุดไปโรงเรียนให้เหมาะกับลักษณะงานหรือวิชาที่เราเรียน. แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เราควรแต่งกายด้วยความสงบเสงี่ยมและมีศักดิ์ศรี. ถ้าการแต่งกายของเราสะท้อนถึงความเชื่อในพระเจ้าอยู่เสมอ เราจะไม่รู้สึกว่าต้องยับยั้งจากการให้คำพยานเมื่อสบโอกาสเนื่องจากละอายการปรากฏตัวของเรา.—1 เปโตร 3:15.
“อย่ารักโลก”
15, 16. (ก) เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะหลีกเลี่ยงการเลียนแบบโลกในเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย? (1 โยฮัน 5:19) (ข) มีเหตุผลอันสมควรอะไรที่เราควรหลีกเลี่ยงการติดตามแฟชั่นมากเกินไปในเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย?
15 คำแนะนำดังบันทึกที่ 1 โยฮัน 2:15, 16 (ล.ม.) ให้การชี้นำในเรื่องการเลือกเสื้อผ้าและการแต่งกายของเราเช่นกัน. ที่นั่น เราอ่านว่า “อย่ารักโลกหรือสิ่งต่าง ๆ ในโลก. ถ้าผู้ใดรักโลก ความรักของพระบิดามิได้อยู่ในผู้นั้นเลย; เพราะสารพัดสิ่งที่มีอยู่ในโลก คือความปรารถนาของเนื้อหนัง, ความปรารถนาของตา, และการอวดอ้างปัจจัยการดำรงชีวิตของตน ไม่ได้เกิดมาจากพระบิดา แต่เกิดมาจากโลก.”
โรม 12:2, ล.ม.; ติโต 2:10, ล.ม.
16 ช่างเป็นคำแนะนำที่เหมาะกับเวลาสักเพียงไร! ในยุคที่ความกดดันจากคนรุ่นเดียวกันไม่เคยรุนแรงเท่านี้มาก่อน เราต้องไม่ยอมให้โลกควบคุมการแต่งกายของเรา. แบบเสื้อผ้าและการแต่งกายเสื่อมลงมากในไม่กี่ปีมานี้. แม้แต่กฎเกณฑ์การแต่งกายของนักธุรกิจและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ก็ไม่อาจใช้เป็นมาตรฐานที่วางใจได้เสมอไปว่าอะไรเหมาะสมสำหรับคริสเตียน. นี่เป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งว่าทำไมเราควรสำนึกเสมอถึงความจำเป็นที่จะ “เลิกถูกนวดปั้นตามระบบนี้” หากเราตั้งใจจะดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของพระเจ้า และโดยวิธีนั้นเรา “ทำให้คำสอนของพระเจ้าผู้ช่วยให้รอดของเรางดงามยิ่งขึ้นในทุกด้าน.”—17. (ก) เราควรพิจารณาคำถามอะไรเมื่อซื้อหรือเลือกแบบเสื้อผ้า? (ข) ทำไมหัวหน้าครอบครัวจึงควรสนใจเรื่องการปรากฏตัวของสมาชิกครอบครัว?
17 ก่อนตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสักชิ้น นับว่าสุขุมที่จะถามตัวเองว่า ‘ทำไมเสื้อผ้าแบบนี้จึงถูกใจฉัน? นั่นเป็นแบบเสื้อที่เกี่ยวข้องกับศิลปินนักแสดงชื่อดังบางคนที่ฉันชื่นชอบไหม? นั่นเป็นเสื้อผ้าแบบที่พวกแก๊งข้างถนนหรือกลุ่มที่ส่งเสริมน้ำใจกบฏไม่ขึ้นกับใครนิยมใส่กันหรือเปล่า?’ เราควรตรวจดูเสื้อผ้าทั้งตัวให้ถี่ถ้วนด้วย. ถ้าเป็นชุดเสื้อกระโปรงหรือกระโปรง ความสั้นยาวเป็นอย่างไร? รูปทรงล่ะ? เป็นแบบที่ดูสงบเสงี่ยม, เหมาะสม, มีศักดิ์ศรี หรือว่ารัดรูป, เร้าความรู้สึกทางเพศ, รุ่มร่าม? ลองถามตัวเองว่า ‘เมื่อสวมชุดนี้ ฉันจะเป็นเหตุให้ใครสะดุดไหม?’ (2 โกรินโธ 6:3, 4) ทำไมเราควรเป็นห่วงในเรื่องนี้? เพราะคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “แม้แต่พระคริสต์ก็มิได้กระทำตามชอบพระทัยของพระองค์.” (โรม 15:3, ล.ม.) ประมุขครอบครัวคริสเตียนต้องให้ความสนใจเรื่องการปรากฏตัวของสมาชิกครอบครัว. เนื่องจากมีความนับถือต่อพระเจ้าผู้ทรงสง่าราศีซึ่งเรานมัสการ หัวหน้าครอบครัวจึงไม่ควรลังเลในการให้คำแนะนำที่หนักแน่น เปี่ยมไปด้วยความรัก เมื่อจำเป็นต้องทำเช่นนั้น.—ยาโกโบ 3:13.
18. อะไรกระตุ้นคุณให้เอาใจใส่อย่างถี่ถ้วนในเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย?
18 ข่าวสารที่เราประกาศมาจากพระยะโฮวา ผู้ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศในเรื่องความมีศักดิ์ศรีและความบริสุทธิ์. (ยะซายา 6:3) คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเราให้เลียนแบบพระองค์ “เหมือนเป็นบุตรที่รัก.” (เอเฟโซ 5:1) เสื้อผ้าและการแต่งกายของเราอาจสะท้อนถึงพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราในทางดีหรือในทางเสื่อมเสีย. แน่นอนว่าเราปรารถนาจะทำให้พระทัยของพระองค์มีความยินดี!—สุภาษิต 27:11.
19. มีประโยชน์อะไรเมื่อทำให้ “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” เป็นที่รู้จักแก่คนอื่น ๆ?
19 คุณมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” ที่คุณได้เรียนรู้? อันที่จริง เป็นสิทธิพิเศษสักเพียงไรที่เราได้เรียนรู้จักความจริง! เนื่องจากเราแสดงความเชื่อในพระโลหิตที่หลั่งออกของพระเยซูคริสต์ เราจึงได้รับการอภัยบาป. (กิจการ 2:38) ผลคือ เรากล้าพูดอย่างสะดวกใจต่อพระพักตร์พระเจ้า. เราไม่กลัวความตายเหมือนอย่างคนอื่นที่ไม่มีความหวัง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เราได้คำรับรองจากพระเยซูว่าจะมีวันหนึ่งที่ “บรรดาผู้ซึ่งอยู่ในอุโมงค์รำลึกจะได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์และจะออกมา.” (โยฮัน 5:28, 29, ล.ม.) เป็นความเมตตาของพระยะโฮวาที่ได้ทรงเปิดเผยให้เราทราบสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด. นอกจากนั้น พระองค์ได้ทรงเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ลงมาเหนือเรา. ฉะนั้น ความสำนึกบุญคุณต่อของประทานอันดีเหล่านี้ทุกอย่างน่าจะกระตุ้นเราให้นับถือมาตรฐานอันสูงส่งของพระองค์และสรรเสริญพระองค์ด้วยใจแรงกล้า โดยการประกาศ “ราชกิจอันยิ่งใหญ่” เหล่านี้แก่คนอื่น ๆ.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 เมื่อพระยะโฮวาทรงแต่งตั้งโมเซและอาโรนให้พูดกับฟาโรห์แทนไพร่พลของพระองค์ พระองค์ทรงบอกโมเซว่า: “เราได้ตั้งเจ้าไว้เป็นผู้แทนพระเจ้าต่อฟาโร, และได้ตั้งอาโรนพี่ชายของเจ้าเป็นผู้กล่าวคำพยากรณ์แทนเจ้า.” (เอ็กโซโด 7:1) อาโรนไม่ได้เป็นผู้พยากรณ์ในแง่ที่บอกล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ที่ว่าเป็นผู้พูดแทนหรือโฆษกของโมเซ.
^ วรรค 7 เกี่ยวกับผู้คนมากมายที่มาร่วมฉลองอาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้าประจำปีในวันที่ 28 มีนาคม 2002 นั้น หลายล้านคนยังไม่ได้รับใช้พระยะโฮวาอย่างจริงจัง. เราอธิษฐานอย่างจริงใจ ขอให้หัวใจของผู้สนใจเหล่านี้ได้รับการกระตุ้นให้ทุ่มเทความพยายามเพื่อจะได้สิทธิพิเศษในการเป็นผู้ประกาศข่าวดีในไม่ช้า.
^ วรรค 12 ถึงแม้ถ้อยคำของเปาโลมุ่งไปที่สตรีคริสเตียน แต่หลักการเดียวกันใช้ได้กับชายคริสเตียนและคนหนุ่มสาว.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ผู้คนได้ยินถึง “ราชกิจอันยิ่งใหญ่” อะไรในวันเพนเตคอสเต ปี ส.ศ. 33 และพวกเขาตอบรับเช่นไร?
• ใครคนหนึ่งจะมาเป็นสาวกของพระเยซูคริสต์ได้โดยวิธีใด และการเป็นสาวกหมายรวมถึงสิ่งใด?
• เหตุใดจึงสำคัญสำหรับเราที่จะเอาใจใส่เรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย?
• เราควรพิจารณาปัจจัยอะไรบ้างในการกำหนดว่าชุดหรือเสื้อผ้าแบบใดจะเหมาะสมหรือไม่?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
เปโตรประกาศว่าพระเยซูได้รับการปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย
[ภาพหน้า 17]
การปรากฏตัวของคุณสะท้อนถึงพระเจ้าที่คุณนมัสการในทางดีไหม?
[ภาพหน้า 18]
บิดามารดาคริสเตียนต้องสนใจการปรากฏตัวของสมาชิกครอบครัว