“เราได้วางแบบอย่างให้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว”
“เราได้วางแบบอย่างให้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว”
“ท่านทั้งหลายควรจะเป็นครูได้แล้วเมื่อคำนึงถึงเวลา.”—เฮ็บราย 5:12, ล.ม.
1. เหตุใดจึงเป็นธรรมดาที่ถ้อยคำในเฮ็บราย 5:12 อาจทำให้คริสเตียนคนใดคนหนึ่งกังวลใจอยู่บ้าง?
คุณรู้สึกกังวลใจอยู่บ้างไหม เมื่ออ่านถ้อยคำที่มีขึ้นโดยการดลใจซึ่งเราใช้เป็นข้อคัมภีร์อรรถบทของบทความนี้? ถ้าคุณรู้สึกอย่างนั้น ก็ไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว. ในฐานะผู้ติดตามพระคริสต์ เราทราบว่าเราต้องเป็นครู. (มัดธาย 28:19, 20) เราทราบว่าสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้เป็นสมัยเร่งด่วนที่เราจะสอนให้ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้. และเราทราบว่าการสอนของเราอาจหมายถึงชีวิตหรือความตายสำหรับคนเหล่านั้นที่เราสอนเลยทีเดียว! (1 ติโมเธียว 4:16) ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นธรรมดาที่เราอาจถามตัวเองว่า ‘ฉันเป็นครูอย่างที่ฉันควรเป็นจริง ๆ ไหม? ฉันจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร?’
2, 3. (ก) ครูคนหนึ่งได้อธิบายถึงพื้นฐานของการสอนที่ดีไว้อย่างไร? (ข) พระเยซูทรงวางแบบอย่างอะไรสำหรับเราในเรื่องการสอน?
2 ความกังวลใจเช่นนั้นไม่จำเป็นต้องทำให้เราท้อใจ. หากเราคิดถึงการสอนเฉพาะในแง่ของเทคนิคการสอนบางอย่าง เราอาจท่วมท้นไปด้วยความรู้สึกหมดหวังที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้. แต่พื้นฐานของการสอนที่ดีไม่ใช่เรื่องของเทคนิค แต่เป็นบางสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า. สังเกตสิ่งที่ครูมีประสบการณ์คนหนึ่งได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง: “การสอนที่ดีไม่ใช่เรื่องของเทคนิคหรือวิธีการสอนเฉพาะอย่าง และไม่ใช่เรื่องของแผนการหรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด . . . . การสอนที่ดีโดยพื้นฐานแล้วเป็นเรื่องของความรัก.” แน่ล่ะ นั่นเป็นทัศนะของครูฝ่ายโลกคนหนึ่ง. ถึงกระนั้น ข้อคิดเห็นของเขาก็อาจนำมาใช้ได้กับการสอนของเราที่ทำในฐานะคริสเตียน. เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร?
3 ไม่มีใครเป็นแบบอย่างในการเป็นครูสำหรับเราได้ดีไปกว่าพระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งได้บอกกับสาวกของพระองค์ดังนี้: “เราได้วางแบบอย่างให้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว.” (โยฮัน 13:15) พระองค์กำลังกล่าวถึงตัวอย่างของพระองค์ในการแสดงความถ่อมใจ แต่แบบอย่างที่พระเยซูทรงวางไว้ให้เราย่อมรวมถึงงานสำคัญที่สุดของพระองค์ในฐานะเป็นมนุษย์บนแผ่นดินโลกด้วย นั่นคือการสอนผู้คนถึงข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. (ลูกา 4:43) ทีนี้ หากคุณต้องเลือกสักหนึ่งคำเพื่อพรรณนาลักษณะงานรับใช้ของพระเยซู คุณคงจะเลือกคำว่า “ความรัก” มิใช่หรือ? (โกโลซาย 1:15; 1 โยฮัน 4:8) พระเยซูทรงมีความรักต่อพระยะโฮวาพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์เหนือสิ่งอื่นใด. (โยฮัน 14:31) แต่ในฐานะครู พระเยซูยังแสดงความรักในอีกสองทาง. พระองค์ทรงรักความจริงที่พระองค์สอน และพระองค์ทรงรักผู้คนที่พระองค์สอน. ขอให้เรามุ่งความสนใจเป็นพิเศษไปยังแบบอย่างที่พระองค์ทรงวางไว้ให้เราในสองแง่มุมนี้.
ความรักที่มีมาอย่างยาวนานต่อความจริงของพระเจ้า
4. ความรักที่พระเยซูมีต่อคำสอนของพระยะโฮวาเริ่มก่อขึ้นมาอย่างไร?
4 เจตคติของครูต่อเรื่องที่เขาสอนมีผลอย่างมากต่อคุณภาพการสอนของเขา. การที่ครูขาดความสนใจต่อเรื่องที่เขาสอนคงจะแสดงออกมาให้เห็นและแพร่ไปสู่นักเรียนของเขา. พระเยซูไม่ขาดความสนใจต่อความจริงอันล้ำค่าที่พระองค์สอนเกี่ยวกับพระยะโฮวาและราชอาณาจักรของพระองค์. ยะซายา 50:4, 5 (ล.ม.) บันทึกถ้อยคำที่เหมาะกับพระองค์ดังนี้: “พระยะโฮวาพระผู้เป็นเจ้าองค์บรมมหิศรเองได้ทรงประทานลิ้นของคนที่ได้รับการสั่งสอนแก่ข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะรู้วิธีตอบคนที่เหนื่อยล้าด้วยถ้อยคำ. พระองค์ทรงปลุกทุก ๆ เช้า; พระองค์ทรงปลุกหูของข้าพเจ้าให้ฟังเหมือนคนที่ได้รับการสอน. พระยะโฮวาพระผู้เป็นเจ้าองค์บรมมหิศรเองได้ทรงเปิดหูของข้าพเจ้า และส่วนตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้ขัดขืน. ข้าพเจ้าไม่ได้หันไปทางตรงกันข้าม.”
พระเยซูมีความรักต่อเรื่องนี้อย่างแรงกล้า. พระองค์ได้ก่อความรักเช่นนั้นในฐานะผู้เรียน. ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานแห่งชีวิตของพระองค์ก่อนเป็นมนุษย์ พระบุตรที่ได้รับกำเนิดองค์เดียวนี้เป็นผู้เรียนที่กระหายใคร่รู้.5, 6. (ก) พระเยซูทรงประสบเหตุการณ์อะไรในคราวที่พระองค์รับบัพติสมา พร้อมด้วยผลประการใดต่อพระองค์? (ข) มีความแตกต่างอะไรอย่างมากระหว่างพระเยซูกับซาตานในการใช้พระคำของพระเจ้า?
5 ขณะเติบโตขึ้นในฐานะมนุษย์บนแผ่นดินโลก พระเยซูยังคงมีความรักต่อสติปัญญาของพระเจ้าเรื่อยมา. (ลูกา 2:52) ต่อมา ในคราวที่พระองค์ทรงรับบัพติสมา พระองค์ได้ประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่มีใดเหมือน. ลูกา 3:21 กล่าวว่า “ท้องฟ้าก็แหวกออกเป็นช่อง.” ดูเหมือนว่าตั้งแต่นั้น พระเยซูสามารถระลึกถึงการดำรงอยู่ของพระองค์ก่อนเป็นมนุษย์. หลังจากนั้น พระองค์ใช้เวลา 40 วัน อดพระกระยาหารในถิ่นทุรกันดาร. พระองค์ต้องประสบความยินดีเป็นอย่างมากจากการคิดรำพึงถึงคำสั่งสอนที่ได้รับจากพระยะโฮวามากมายหลายโอกาสในสวรรค์. แต่ในอีกไม่ช้า ความรักของพระองค์ต่อความจริงของพระเจ้าจะถูกทดสอบ.
6 เมื่อพระเยซูทรงอ่อนล้าและหิว ซาตานพยายามล่อใจพระองค์. ช่างเป็นความแตกต่างอย่างมากระหว่างบุตรทั้งสองนี้ของพระเจ้า! ทั้งสองอ้างข้อความจากคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู แต่ด้วยเจตคติที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง. ซาตานบิดเบือนพระคำของพระเจ้า ใช้พระคำนั้นอย่างขาดความนับถือเพื่อส่งเสริมเป้าหมายที่เห็นแก่ตัวของตนเอง. อันที่จริง ตัวกบฏนั้นไม่ได้ทำสิ่งใดเว้นแต่ดูถูกความจริงที่มาจากพระเจ้า. ในทางตรงกันข้าม พระเยซูทรงยกข้อพระคัมภีร์ขึ้นมากล่าวอย่างที่มีความรักต่อข้อเหล่านั้นอย่างเห็นได้ชัด โดยใช้พระคำของพระเจ้าในการตอบอย่างระมัดระวังทุกครั้ง. พระเยซูทรงมีชีวิตอยู่เป็นเวลานานก่อนที่ถ้อยคำซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจเหล่านั้นจะได้รับการจารึกเป็นครั้งแรก กระนั้น พระองค์ทรงให้ความนับถือต่อถ้อยคำเหล่านั้น. พระคำซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจเหล่านั้นเป็นความจริงอันล้ำค่าจากพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์! พระองค์ทรงบอกกับซาตานว่าถ้อยคำเหล่านั้นที่มาจากพระยะโฮวาจำเป็นต่อชีวิตยิ่งกว่าอาหาร. (มัดธาย 4:1-11) ถูกแล้ว พระเยซูทรงรักความจริงทั้งสิ้นที่พระยะโฮวาได้ทรงสอนพระองค์. แต่พระองค์ทรงแสดงความรักเช่นนั้นอย่างไรในฐานะครู?
ความรักต่อความจริงที่พระองค์ทรงสอน
7. เพราะเหตุใดพระเยซูจึงไม่คิดประดิษฐ์คำสอนของพระองค์ขึ้นมาเอง?
7 ความรักที่พระเยซูมีต่อความจริงที่พระองค์สอนนั้นเห็นได้ชัดเสมอ. ถ้าจะว่าไปแล้ว พระเยซูอาจคิดคำสอนของพระองค์ขึ้นมาเองได้ไม่ยาก. พระองค์เป็นเจ้าของคลังแห่งความรู้และสติปัญญา. (โกโลซาย 2:3) ถึงกระนั้น พระองค์ทรงเตือนใจผู้ฟังของพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าทุกสิ่งที่พระองค์สอนไม่ได้มาจากพระองค์เอง แต่มาจากพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์. (โยฮัน 7:16; 8:28; 12:49; 14:10) พระองค์ทรงรักความจริงที่มาจากพระเจ้ามากจนไม่อาจเอาความคิดของพระองค์เองแทนที่ความจริงเหล่านั้น.
8. ในตอนเริ่มต้นงานเผยแพร่ของพระองค์ พระเยซูทรงวางแบบอย่างเช่นไรในการพึ่งอาศัยพระคำของพระเจ้า?
8 เมื่อพระเยซูทรงเริ่มต้นงานเผยแพร่ต่อสาธารณชน พระองค์ทรงวางแบบอย่างในทันที. จงพิจารณาวิธีที่พระองค์เริ่มต้นประกาศแก่ไพร่พลของพระเจ้าว่าพระองค์เป็นมาซีฮาตามคำสัญญานั้น. พระองค์เพียงแค่ปรากฏกายต่อฝูงชน ประกาศว่าพระองค์เองคือพระคริสต์ แล้วทำการอัศจรรย์ที่ตื่นตาตื่นใจเพื่อพิสูจน์การเป็นมาซีฮาของพระองค์ไหม? ไม่. พระองค์เข้าไปในธรรมศาลาแห่งหนึ่ง ที่ซึ่งไพร่พลของพระเจ้าอ่านข้อความจากพระคัมภีร์กันเป็นปกติวิสัย. ที่นั่น พระองค์อ่านคำพยากรณ์ในยะซายา 61:1, 2 ด้วยเสียงดัง และอธิบายว่าความจริงเชิงพยากรณ์เหล่านี้เล็งถึงพระองค์. (ลูกา 4:16-22) การอัศจรรย์หลายอย่างของพระองค์ช่วยยืนยันว่าพระองค์ได้รับการหนุนหลังจากพระยะโฮวา. แม้เป็นเช่นนั้น พระองค์พึ่งอาศัยพระคำของพระเจ้าเสมอในการสอน.
9. ในการจัดการกับพวกฟาริซาย พระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์มีความรักอย่างภักดีต่อพระคำของพระเจ้า?
9 เมื่อพระเยซูถูกท้าทายจากพวกผู้ต่อต้านทางศาสนา พระองค์ไม่เข้าร่วมในการประชันเชาวน์ปัญญากับพวกเขา ทั้งที่พระองค์สามารถเอาชนะพวกเขาได้อย่างง่ายดาย. แทนที่จะมัดธาย 12:1-5) แน่นอน คนเหล่านั้นที่ถือว่าตัวเองชอบธรรมน่าจะเคยอ่านเรื่องราวที่มีขึ้นโดยการดลใจซึ่งบันทึกไว้ที่ 1 ซามูเอล 21:1-6. ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาคงพลาดที่ไม่ได้สังเกตบทเรียนสำคัญในนั้น. ตรงกันข้าม พระเยซูทรงทำมากกว่าแค่อ่านเรื่องราวดังกล่าว. พระองค์ทรงครุ่นคิดถึงความหมายและยอมรับหลักการต่าง ๆ ที่เรียนรู้ได้จากเรื่องนั้น. พระองค์ทรงรักหลักการต่าง ๆ ที่พระยะโฮวาทรงสอนผ่านทางข้อความเหล่านั้นในพระคัมภีร์. ดังนั้น พระเยซูจึงใช้เรื่องราวดังกล่าวพร้อมกับตัวอย่างหนึ่งจากบัญญัติของโมเซ เพื่อเปิดเผยเจตนารมณ์ที่ถูกต้องและมีเหตุผลของพระบัญญัติ. ในทำนองเดียวกัน ความรักอย่างภักดีที่พระเยซูมีต่อพระคำของพระเจ้ากระตุ้นพระองค์ให้ปกป้องพระคำของพระเจ้าไว้จากความพยายามของพวกผู้นำศาสนาที่บิดเบือนพระคำให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของพวกเขาเองหรือซ่อนพระคำของพระเจ้าไว้ในปลักแห่งจารีตประเพณีต่าง ๆ ของมนุษย์.
เป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงให้พระคำของพระเจ้าหักล้างพวกเขา. เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอระลึกถึงคราวที่พวกฟาริซายกล่าวหาเหล่าสาวกของพระเยซูว่าละเมิดบัญญัติวันซะบาโตโดยเด็ดรวงข้าวในทุ่งนากินขณะเดินผ่าน. พระเยซูทรงตอบว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่ได้อ่านหรือว่าดาวิดได้กระทำอย่างไรเมื่อท่านกับพรรคพวกกำลังหิว?” (10. พระเยซูทำให้คำพยากรณ์เกี่ยวกับคุณลักษณะในการสอนของพระองค์สำเร็จเป็นจริงอย่างไร?
10 ความรักที่พระเยซูมีต่อความจริงที่พระองค์ทรงสอนจะไม่ยอมให้พระองค์สอนความจริงด้วยการให้ท่องจำ ด้วยวิธีที่น่าเบื่อและไร้ชีวิตจิตใจ. คำพยากรณ์ที่มีขึ้นโดยการดลใจบ่งนัยว่ามาซีฮาจะพูดด้วย ‘เสน่ห์บนริมฝีปาก’ โดยใช้ “คำอันไพเราะ.” (บทเพลงสรรเสริญ 45:2, ล.ม.; เยเนซิศ 49:21) พระเยซูทำให้คำพยากรณ์เหล่านี้สำเร็จเป็นจริงโดยทำให้ข่าวสารของพระองค์น่าสนใจและมีชีวิตชีวาเสมอ ใช้ “ถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ” ขณะที่สอนความจริงที่พระองค์ทรงรักยิ่ง. (ลูกา 4:22) ไม่มีข้อสงสัยว่าความกระตือรือร้นของพระองค์ย่อมปรากฏออกมาทางสีหน้า และแววตาของพระองค์ก็บ่งบอกถึงความสนใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่พระองค์สอน. ต้องเป็นเรื่องน่ายินดีจริง ๆ ที่ได้ฟังพระองค์ และช่างเป็นแบบอย่างที่ดีให้เราติดตามเมื่อเราพูดกับคนอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้!
11. เหตุใดความสามารถของพระเยซูในฐานะครูจึงไม่ทำให้พระองค์พองตัวด้วยความหยิ่ง?
11 ความเข้าใจที่พระเยซูมีอยู่อย่างมากมายเกี่ยวกับความจริงของพระเจ้าและความสามารถในการพูดที่ไม่มีใครเทียบทำให้พระองค์พองตัวด้วยความหยิ่งไหม? สิ่งนั้นมักเกิดขึ้นกับครูที่เป็นมนุษย์. แต่จำไว้ว่า พระเยซูมีสติปัญญาในทางที่แสดงถึงความเกรงกลัวพระเจ้า. สติปัญญาเช่นนั้นไม่ทำให้หยิ่งทะนง เนื่องจาก “สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว.” (สุภาษิต 11:2, ล.ม.) แต่ยังมีสิ่งอื่นอีกที่ป้องกันพระเยซูไว้จากการกลายเป็นคนเย่อหยิ่งหรือจองหอง.
พระเยซูทรงรักผู้คนที่พระองค์สอน
12. พระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์ไม่ต้องการข่มเหล่าสาวกของพระองค์ให้รู้สึกด้อยกว่า?
12 ความรักอย่างลึกซึ้งที่พระเยซูมีต่อผู้คนปรากฏชัดในการสอนของพระองค์เสมอ. การสอนของพระองค์ไม่เคยข่มผู้คนให้รู้สึกด้อยกว่า ไม่เหมือนกับการสอนของมนุษย์ที่ชอบอวดภูมิ. (ท่านผู้ประกาศ 8:9) หลังจากเป็นประจักษ์พยานถึงการอัศจรรย์อย่างหนึ่งของพระเยซู เปโตรท่วมท้นไปด้วยความรู้สึกประหลาดใจ และกราบลงที่พระชานุของพระเยซู. แต่พระเยซูไม่ต้องการให้สาวกของพระองค์จมอยู่ในความรู้สึกกลัวพระองค์. พระองค์ตรัสด้วยความกรุณาว่า “อย่ากลัวเลย” แล้วบอกเปโตรถึงงานที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการทำให้คนเป็นสาวกซึ่งท่านจะมีส่วนร่วม. (ลูกา 5:8-10) พระเยซูประสงค์ให้สาวกของพระองค์ได้รับการกระตุ้นจากความรักที่พวกเขาเองมีต่อความจริงอันล้ำค่าเรื่องพระเจ้า ไม่ใช่จากความหวาดกลัวผู้สอนพวกเขา.
13, 14. ในทางใดบ้างที่พระเยซูทรงแสดงความร่วมรู้สึกกับผู้คน?
มัดธาย 9:36, ฉบับแปลใหม่) พระองค์ทรงรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อสภาพที่น่าสงสารของพวกเขาและนั่นกระตุ้นพระองค์ให้ช่วยเหลือพวกเขา.
13 ความรักของพระเยซูต่อผู้คนที่พระองค์สอนยังปรากฏชัดจากการที่พระองค์ทรงแสดงความร่วมรู้สึกกับพวกเขา. “เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชนก็ทรงสงสารเขา ด้วยเขาถูกรังควานและไร้ที่พึ่งดุจฝูงแกะไม่มีผู้เลี้ยง.” (14 สังเกตความร่วมรู้สึกของพระเยซูในอีกโอกาสหนึ่ง. เมื่อหญิงคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคโลหิตตกเบียดเสียดฝูงชนเข้ามาหาพระองค์และแตะต้องชายฉลองพระองค์ เธอได้รับการรักษาโรคโดยการอัศจรรย์. พระเยซูทรงรู้สึกว่าฤทธิ์ซ่านออกจากพระองค์ แต่พระองค์ไม่ทันเห็นผู้ที่ได้รับการรักษา. พระองค์ยังทอดพระเนตรไปรอบ ๆ เพื่อหาตัวผู้หญิงคนนั้น. ทำไม? ไม่ใช่เพื่อจะตำหนิเธอที่ละเมิดพระบัญญัติหรือกฎเกณฑ์ของพวกอาลักษณ์และฟาริซาย อย่างที่เธออาจหวั่นกลัว. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พระองค์ตรัสกับเธอว่า “ลูกเอ๋ย, ความเชื่อของเจ้าได้ทำให้ตัวรอด, จงไปเป็นสุขและหายโรคเถิด [“หายดีจากอาการป่วยที่ทำให้เจ้าเป็นทุกข์,” ล.ม.].” (มาระโก 5:25-34) สังเกตความร่วมรู้สึกในคำตรัสนี้. พระองค์ไม่ใช่แค่ตรัสว่า “จงหายโรค.” แต่พระองค์ตรัสว่า “จงหายดีจากอาการป่วยที่ทำให้เจ้าเป็นทุกข์.” คำที่มาระโกใช้ในที่นี้อาจมีความหมายตามตัวอักษรว่า “การโบยตีด้วยแส้” ซึ่งเป็นการเฆี่ยนตีรูปแบบหนึ่งที่มักใช้สำหรับทรมาน. โดยวิธีนี้ พระเยซูได้ยอมรับว่าอาการป่วยนั้นทำให้เธอทุกข์ทรมาน อาจเจ็บปวดอย่างสาหัสทั้งทางกายและอารมณ์. พระองค์ทรงร่วมความรู้สึกกับเธอ.
15, 16. เหตุการณ์อะไรในงานรับใช้ของพระเยซูที่แสดงว่าพระองค์ทรงมองหาส่วนดีในตัวผู้อื่น?
15 พระเยซูทรงแสดงความรักต่อผู้คนโดยการมองหาส่วนดีในตัวพวกเขาด้วย. จงพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อพระองค์พบกับนะธันเอล ซึ่งเป็นอัครสาวกคนหนึ่งในเวลาต่อมา. “พระเยซูทรงเห็นนะธันเอลมาหาพระองค์จึงตรัสถึงเขาว่า, ‘ดูแน่ะ คนชาติยิศราเอลแท้ที่ไม่มีอุบาย.’” อย่างอัศจรรย์ พระเยซูได้มองเข้าไปถึงหัวใจของนะธันเอล จึงเรียนรู้ได้มากเกี่ยวกับตัวเขา. แน่นอน นะธันเอลเป็นคนไม่สมบูรณ์. เขามีข้อบกพร่องอย่างที่พวกเราทุกคนมี. อันที่จริง เมื่อเขาได้ยินเกี่ยวกับพระเยซู เขาแสดงความเห็นอย่างที่ออกจะโผงผางไปสักนิด โดยกล่าวว่า “สิ่งดีอันใดจะมาจากนาซาเร็ธได้หรือ?” (โยฮัน 1:45-51) อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับคุณลักษณะโดยรวมที่อาจกล่าวได้เกี่ยวกับนะธันเอล พระเยซูได้เลือกเพ่งเล็งจุดที่น่าชมเชยของเขา คือความซื่อสัตย์จริงใจ.
16 คล้ายกัน เมื่อนายร้อยคนหนึ่ง อาจเป็นคนต่างชาติชาวโรมัน ได้มาหาพระเยซูและขอพระองค์รักษาบ่าวที่กำลังป่วยหนัก พระเยซูทรงทราบว่านายทหารคนนี้มีความผิดหลายอย่าง. นายร้อยในสมัยนั้นดูเหมือนจะมีประวัติที่เต็มไปด้วยการกระทำที่รุนแรง, การเข่นฆ่า, รวมทั้งการนมัสการเท็จ. กระนั้น พระเยซูทรงเพ่งเล็งส่วนดีของเขา คือความเชื่อที่โดดเด่น. (มัดธาย 8:5-13) ต่อมา เมื่อพระเยซูตรัสกับอาชญากรที่ถูกตรึงบนหลักทรมานข้าง ๆ พระองค์ พระเยซูไม่ได้ตำหนิการกระทำที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมในอดีตของชายคนนี้ แต่ให้กำลังใจเขาด้วยความหวังสำหรับอนาคต. (ลูกา 23:43) พระเยซูทรงทราบดีว่าการมีทัศนะในแง่ลบหรือชอบวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นมีแต่จะทำให้พวกเขาท้อใจ. ไม่มีข้อสงสัย ความพยายามของพระองค์ในการมองหาส่วนดีในตัวผู้อื่นย่อมหนุนใจหลายคนให้ทำดียิ่งขึ้น.
เต็มพระทัยจะรับใช้ผู้อื่น
17, 18. ในการรับเอางานมอบหมายมายังแผ่นดินโลก พระเยซูทรงแสดงความเต็มพระทัยอย่างไรที่จะรับใช้ผู้อื่น?
17 หลักฐานที่ทรงพลังอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความรักที่พระเยซูมีต่อผู้คนคือความเต็มพระทัยที่จะรับใช้พวกเขา. ตลอดชีวิตของพระองค์ก่อนเป็นมนุษย์ พระบุตรของพระเจ้าทรงรักใคร่มนุษยชาติเสมอมา. (สุภาษิต 8:30, 31) ในฐานะ “พระวาทะ” หรือโฆษกของพระยะโฮวา พระองค์คงได้เพลิดเพลินใน การติดต่อกับมนุษย์มากมายหลายครั้ง. (โยฮัน 1:1) อย่างไรก็ตาม เหตุผลส่วนหนึ่งที่พระเยซูมายังโลกก็เพื่อจะสอนมนุษยชาติได้โดยตรง “พระองค์ทรงสละพระองค์เองแล้วรับสภาพทาส” โดยยอมละฐานะสูงส่งในสวรรค์. (ฟิลิปปอย 2:7, ล.ม.; 2 โกรินโธ 8:9) ขณะอยู่บนแผ่นดินโลก พระเยซูไม่คาดหมายว่าจะได้รับการปรนนิบัติหรือรับใช้. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พระองค์ตรัสว่า “บุตรมนุษย์ .. . มิได้มาเพื่อให้เขาปรนนิบัติ. แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา, และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก.” (มัดธาย 20:28) พระเยซูทรงดำเนินชีวิตสอดคล้องกับถ้อยคำที่พระองค์ตรัสไว้นี้อย่างเต็มที่.
18 พระเยซูรับใช้ด้วยความถ่อมใจเพื่อสนองความจำเป็นของคนเหล่านั้นที่พระองค์ทรงสอน พร้อมที่จะให้ตัวพระองค์เองแก่พวกเขา. พระองค์เดินทางข้ามไปมาภายในแผ่นดินตามคำสัญญาด้วยเท้า เดินไปประกาศตามที่ต่าง ๆ เป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตรเพื่อพยายามไปถึงผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้. ต่างจากพวกฟาริซายและอาลักษณ์ที่หยิ่งทะนง พระองค์ทรงถ่อมใจและเข้าหาได้ง่ายเสมอ. คนทุกชนิด ไม่ว่าผู้มีตำแหน่งสูง, ทหาร, นักกฎหมาย, ผู้หญิง, เด็ก, คนยากจน, คนป่วย, แม้แต่คนที่สังคมรังเกียจ ต่างอยากเข้าพบพระองค์โดยไม่ได้รู้สึกกลัว. แม้ว่าทรงสมบูรณ์ พระเยซูเป็นมนุษย์ จึงทรงรู้สึกเหนื่อยล้าและหิวกระหาย. แม้แต่ในเวลาที่พระองค์เหน็ดเหนื่อย ต้องการพักผ่อนหรือต้องการเวลาที่สงบสำหรับอธิษฐาน พระองค์ทรงจัดให้ความจำเป็นของผู้อื่นขึ้นหน้าความจำเป็นของพระองค์เอง.—มาระโก 1:35-39.
19. พระเยซูทรงวางแบบอย่างเช่นไรในการปฏิบัติกับเหล่าสาวกด้วยความถ่อมใจ, ความอดทน, และความกรุณา?
19 พระเยซูเต็มพระทัยรับใช้สาวกของพระองค์เช่นกัน. พระองค์ทรงทำเช่นนั้นโดยสอนพวกเขาด้วยความกรุณาและอดทน. เมื่อพวกเขาช้าในการเข้าใจบทเรียนสำคัญบางอย่าง พระองค์ไม่รู้สึกหมดหวัง, อารมณ์เสีย, หรือด่าว่าพวกเขา. พระองค์ทรงหาวิธีใหม่ ๆ ต่อไปเพื่อช่วยพวกเขาให้สามารถเข้าใจบทเรียนสำคัญนั้น. ตัวอย่างเช่น ลองคิดดูสิว่าบ่อยครั้งเพียงไรที่เหล่าสาวกเถียงกันว่าใครจะเป็นใหญ่ที่สุดในท่ามกลางพวกเขา. ครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งคืนก่อนที่พระองค์จะถูกประหารนั้น พระเยซูทรงหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะสอนพวกเขาให้ปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความถ่อมใจ. ในเรื่องความถ่อมใจนี้ เหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมด พระเยซูกล่าวได้อย่างถูกต้องว่า “เราได้วางแบบอย่างให้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว.”—โยฮัน 13:5-15; มัดธาย 20:25; มาระโก 9:34-37.
20. วิธีการสอนของพระเยซูต่างจากวิธีของพวกฟาริซายอย่างเห็นได้ชัดอย่างไร และเหตุใดวิธีสอนของพระองค์จึงบังเกิดผล?
20 สังเกตว่าพระเยซูไม่เพียงบอก เหล่าสาวกว่าแบบอย่างคืออะไร; พระองค์ทรง “วางแบบอย่าง.” พระองค์สอนพวกเขาโดยทางตัวอย่าง. พระองค์ไม่พูดจาข่มพวกเขาเนื่องจากถือว่าพระองค์เหนือกว่า หรือถือว่าพระองค์สำคัญเกินกว่าจะทำในสิ่งที่พระองค์บอกให้พวกเขาทำ. วิธีเช่นนั้นเป็นของพวกฟาริซาย. พระเยซูตรัสถึงพวกเขาว่า “เขาเป็นแต่ผู้สั่งสอน, แต่เขาเองหาทำตามไม่.” (มัดธาย 23:3) ด้วยความถ่อมใจ พระเยซูทรงแสดงให้นักเรียนของพระองค์เห็นว่าคำสอนของพระองค์หมายความเช่นไรจริง ๆ โดยดำเนินชีวิตประสานกับคำสอนนั้น. ดังนั้น เมื่อพระองค์ทรงกระตุ้นเหล่าสาวกของพระองค์ให้ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย พ้นจากการนิยมวัตถุ พวกเขาไม่จำเป็นต้องเดาว่าพระองค์หมายความเช่นไร. พวกเขาสามารถเห็นได้จากความเป็นจริงแห่งคำตรัสของพระองค์ที่ว่า “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง, และนกในอากาศก็ยังมีรัง, แต่บุตรมนุษย์ไม่มีที่ ๆ จะวางศีรษะ.” (มัดธาย 8:20) พระเยซูทรงรับใช้เหล่าสาวกของพระองค์โดยวางแบบอย่างแก่พวกเขาด้วยความถ่อมใจ.
21. เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
21 เห็นได้ชัด พระเยซูทรงเป็นครูผู้ใหญ่ยิ่งเท่าที่เคยมีมาบนแผ่นดินโลก! ความรักต่อสิ่งที่พระองค์สอนและความรักต่อผู้คนที่พระองค์สอนปรากฏชัดต่อผู้มีหัวใจสุจริตทุกคนที่ได้เห็นและได้ยินพระองค์. ความรักของพระองค์ปรากฏชัดต่อพวกเราในสมัยปัจจุบันด้วยเช่นกันที่ได้ศึกษาแบบอย่างที่พระองค์ทรงวางไว้. แต่เราจะติดตามตัวอย่างอันสมบูรณ์พร้อมของพระคริสต์ได้อย่างไร? บทความถัดไปจะพิจารณาคำถามนั้น.
คุณจะตอบอย่างไร?
• อะไรคือพื้นฐานของการสอนที่ดี และใครได้วางตัวอย่างไว้?
• ในทางใดบ้างที่พระเยซูทรงแสดงความรักต่อความจริงที่พระองค์สอน?
• พระเยซูทรงแสดงความรักต่อผู้คนที่พระองค์สอนโดยวิธีใด?
• ตัวอย่างอะไรแสดงว่าพระเยซูทรงเต็มพระทัยจะรับใช้ผู้ที่พระองค์สอนด้วยความถ่อมใจ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
พระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์รักหลักการที่พบในพระคำของพระเจ้า?