ใครที่คุณควรภักดี?
ใครที่คุณควรภักดี?
“ประเทศของเรา . . . ขอให้ประเทศเราเป็นฝ่ายถูกเสมอ; แต่จะถูกหรือผิดอย่างไรก็ตาม ก็เป็นประเทศของเรา.”—สตีเฟน เดคาเทอร์ นายทหารเรือสหรัฐ ปี 1779-1820.
ความภักดีอย่างไม่คลางแคลงต่อประเทศชาติของคนเราเป็นสิ่งที่หลายคนถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งของพวกเขา. คนอื่นอาจเปลี่ยนคำพูดของสตีเฟน เดคาเทอร์เสียใหม่ว่า ‘ศาสนาของฉัน ขอให้ศาสนาฉันถูกต้องเสมอ แต่จะถูกหรือผิดอย่างไรก็ตาม ก็เป็นศาสนาของฉัน.’
ตามความเป็นจริงแล้ว ประเทศหรือศาสนาที่เรียกร้องความภักดีจากเรามักจะถูกกำหนดโดยสถานที่เกิดของเรา แต่การตัดสินใจที่ว่าเราควรภักดีต่อผู้ใดนั้นเป็นเรื่องสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้เป็นไปโดยบังเอิญ. อย่างไรก็ดี การตรวจสอบดูความภักดีซึ่งคนเราได้รับการปลูกฝังมานั้นต้องใช้ความกล้าหาญและทำให้เกิดข้อท้าทายต่าง ๆ.
การทดสอบความภักดี
หญิงคนหนึ่งซึ่งเติบโตมาในประเทศแซมเบียกล่าวว่า “ดิฉันมีแนวโน้มเป็นคนศรัทธาในศาสนามาตั้งแต่วัยเด็ก. การอธิษฐานทุกวันในห้องตั้งแท่นบูชาของครอบครัว, การฉลองวันสำคัญทางศาสนา, และการเข้าร่วมที่วิหารเป็นประจำ เป็นส่วนของการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวของดิฉันมาตั้งแต่เด็ก. ศาสนาและการนมัสการของดิฉันเกี่ยว
พันอย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรม, ชุมชน, และครอบครัวของดิฉัน.”กระนั้น ตอนที่เธออายุเกือบยี่สิบปี เธอได้เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวาและหลังจากนั้นไม่นานก็ได้ตัดสินใจเปลี่ยนศาสนา. นี่เป็นการกระทำที่แสดงความไม่ภักดีไหม?
ซลัตโคได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในบอสเนีย และมีอยู่ช่วงหนึ่งเขาได้ร่วมในการต่อสู้ซึ่งครอบคลุมไปทั่วประเทศบ้านเกิดของเขา. เขาเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวาด้วยเช่นกัน. ตอนนี้เขาปฏิเสธที่จะจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับใคร ๆ. เขาเป็นคนที่ไม่ภักดีไหม?
คุณตอบคำถามดังกล่าวนั้นอย่างไรขึ้นอยู่กับทัศนะของคุณ. หญิงที่กล่าวถึงตอนต้นบอกว่า “ในชุมชนของดิฉัน การเปลี่ยนศาสนาหมายถึงรอยมลทินอันน่าอัปยศอดสูอย่างที่อภัยให้ไม่ได้ ถือว่านั่นเป็นความไม่ภักดี เป็นการทรยศต่อครอบครัวและชุมชนของเรา.” ทำนองเดียวกัน อดีตเพื่อนทหารของซลัตโคถือว่าใครก็ตามที่ไม่ยอมสู้รบด้วยกันกับพวกเขานั้นเป็นคนทรยศ. แต่ทั้งผู้หญิงคนนี้และซลัตโคต่างก็ถือว่าความภักดีในรูปแบบที่สูงกว่า นั่นก็คือความภักดีต่อพระเจ้า กระตุ้นการกระทำของเขา. สำคัญกว่านั้นก็คือ พระเจ้าทรงมีทัศนะอย่างไรต่อคนเหล่านั้นที่ต้องการจะภักดีต่อพระองค์?
ความภักดีแท้—การแสดงออกถึงความรัก
กษัตริย์ดาวิดทูลพระยะโฮวาพระเจ้าว่า “พระองค์จะทรงปฏิบัติด้วยความภักดีต่อผู้ที่ภักดี.” (2 ซามูเอล 22:26, ล.ม.) คำภาษาฮีบรูที่ได้รับการแปลว่า “ความภักดี” ในข้อนี้ถ่ายทอดแนวคิดเกี่ยวกับความกรุณาซึ่งผูกพันด้วยความรักกับเป้าหมายอย่างหนึ่งจนกว่าจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับเป้าหมายนั้นจะสำเร็จเป็นจริง. โดยมีเจตคติเหมือนมารดาที่ให้นมลูก พระยะโฮวาทรงผูกพันด้วยความรักกับคนเหล่านั้นที่ภักดีต่อพระองค์. พระยะโฮวาตรัสกับเหล่าผู้รับใช้ที่ภักดีของพระองค์ในอิสราเอลโบราณว่า “หญิงจะลืมลูกกำลังดูดนมอยู่และมิได้เมตตาแก่บุตรอันเกิดมาจากครรภ์ของตนได้หรือ? ถึงแม้ว่ามารดาจะลืมได้ เราก็จะไม่ลืมเจ้าเลย.” (ยะซายา 49:15) คนเหล่านั้นที่เต็มใจแสดงความภักดีต่อพระเจ้ายิ่งกว่าสิ่งอื่นทั้งหมดมั่นใจได้ในเรื่องความใฝ่พระทัยด้วยความรักของพระองค์.
ความภักดีต่อพระยะโฮวาอาศัยความรักเป็นพื้นฐาน. ความภักดีนั้นกระตุ้นคนเราให้รักสิ่งที่พระยะโฮวาทรงรักและเกลียดสิ่งชั่วที่พระยะโฮวาทรงเกลียด. (บทเพลงสรรเสริญ 97:10) เนื่องจากคุณลักษณะที่เด่นของพระยะโฮวาคือความรัก ความภักดีต่อพระเจ้าช่วยยับยั้งคนเรามิให้ปฏิบัติในแบบที่ขาดความรักต่อคนอื่น. (1 โยฮัน 4:8) ดังนั้น หากเนื่องด้วยความภักดีต่อพระเจ้าคนเราเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนา ก็มิได้หมายความว่าเขาไม่รักครอบครัวของตนอีกต่อไป.
ความภักดีต่อพระเจ้า—พลังที่ก่อประโยชน์
ผู้หญิงที่กล่าวถึงข้างต้นอธิบายการกระทำของเธอดังนี้: “โดยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ดิฉันได้มารู้จักพระยะโฮวาในฐานะเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ และดิฉันได้พัฒนาสัมพันธภาพเป็นส่วนตัวกับพระองค์. พระยะโฮวาต่างจากพระใด ๆ ซึ่งดิฉันเคยนมัสการแต่ก่อน พระองค์ทรงมีความสมดุลอย่างสมบูรณ์พร้อมในด้านความรัก, ความยุติธรรม, สติปัญญา, และอำนาจ. เนื่องจากพระยะโฮวาทรงเรียกร้องความเลื่อมใสศรัทธาโดยเฉพาะ ดิฉันจึงต้องละทิ้งพระอื่น ๆ ไป.
“คุณพ่อคุณแม่บอกดิฉันหลายครั้งหลายหนว่าท่านไม่พอใจดิฉันมาก ทั้งยังบอกว่าดิฉันทำให้ท่านผิดหวัง. ดิฉันรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องยากทีเดียว เนื่องจากความพอใจของคุณพ่อคุณแม่มีความหมายมากสำหรับดิฉัน. แต่ขณะที่ดิฉันเติบโตเป็นขั้น ๆ ในความรู้เกี่ยวกับความจริงจากคัมภีร์ไบเบิล ทางเลือกก็ปรากฏชัดสำหรับดิฉัน. ดิฉันไม่สามารถปฏิเสธพระยะโฮวาได้.
“การเลือกที่จะภักดีต่อพระยะโฮวายิ่งกว่าประเพณีต่าง ๆ ทางศาสนามิได้หมายความว่าดิฉันไม่ภักดีต่อครอบครัวของตัวเอง. ดิฉันพยายามจะแสดงให้พวกเขาเห็นโดยคำพูดและการกระทำว่าดิฉันเข้าใจว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร. แต่ถ้าดิฉันไม่ภักดีต่อพระยะโฮวา ดิฉันก็อาจปิดโอกาสไม่ให้ครอบครัวได้มารู้จักพระองค์ และนั่นคงจะเป็นการกระทำที่แสดงความไม่ภักดีจริง ๆ.”
ทำนองเดียวกัน คนเราไม่ใช่ผู้ทรยศเมื่อความภักดีต่อพระเจ้าเรียกร้องให้เขารักษาความเป็นกลางทางด้านการเมืองและละเว้นจากการจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับคนอื่น. ซลัตโคชี้แจงการกระทำของเขาดังนี้: “ถึงแม้ผมได้รับการเลี้ยงดูให้เป็นคริสเตียนในนาม ผมได้แต่งงานกับคนที่ไม่ใช่คริสเตียน. เมื่อสงครามเริ่มขึ้น ทั้งสองฝ่ายเรียกร้องความภักดีจากผม. ผมถูกบีบบังคับให้เลือกว่าจะอยู่ฝ่ายไหนในการสู้รบ. ผมร่วมรบในสงครามเป็นเวลาสามปีครึ่ง. ในที่สุดผมกับภรรยาได้หนีไปโครเอเชีย ที่นั่นเราได้พบพยานพระยะโฮวา.
“จากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล เราได้เข้าใจว่าพระยะโฮวาเป็นผู้แรกที่เราควรแสดงความภักดี และรู้ว่าพระองค์ทรงประสงค์ให้เรารักเพื่อนบ้านไม่ว่าเขาอยู่ในศาสนาหรือเชื้อชาติไหนก็ตาม. ตอนนี้ผมกับภรรยาได้ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวในการนมัสการพระยะโฮวา และผมได้เรียนรู้ว่าผมไม่สามารถภักดีต่อพระเจ้าและแล้วก็ต่อสู้กับเพื่อนบ้านของผม.”
ความภักดีได้รับการนวดปั้นจากความรู้ถ่องแท้
เนื่องจากพระยะโฮวาเป็นพระผู้สร้างของเรา นับว่าเหมาะสมที่ความภักดีต่อพระองค์ต้องนำหน้าสิ่งอื่นทั้งหมดที่เรียกร้องเอาความภักดีจากเรา. (วิวรณ์ 4:11) อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันมิให้ความภักดีต่อพระเจ้าเปลี่ยนไปเป็นพลังที่บ้าคลั่งและก่อผลเสียหาย ความภักดีนั้นต้องได้รับการนวดปั้นจากความรู้ถ่องแท้. คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเตือนเราว่า “ท่านทั้งหลายควรถูกเปลี่ยนใหม่ในพลังที่กระตุ้นจิตใจของท่าน และ . . . สวมบุคลิกภาพใหม่ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าใน . . . ความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟโซ 4:23, 24, ล.ม.) บุรุษผู้มีชื่อเสียงซึ่งได้เขียนถ้อยคำดังกล่าวที่มีขึ้นโดยการดลใจนั้นมีความกล้าที่จะตรวจสอบดูความภักดีที่ตนได้รับการอบรมสั่งสอนมา. การตรวจสอบของเขานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์.
ถูกแล้ว เซาโลได้เผชิญการทดสอบความภักดี เช่นเดียวกับหลายคนในสมัยของเรา. เซาโลได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในประเพณีที่เคร่งครัดของครอบครัว และเขาเป็นคนที่ภักดีอย่างโดดเด่นต่อศาสนาที่ตนถือกำเนิดมา. ความภักดีต่อเป้าหมายทางศาสนาของเขาถึงกับกระตุ้นเขาให้กระทำการที่รุนแรงต่อคนเหล่านั้นที่ไม่เห็นด้วยกับทัศนะของเขา. เซาโลขึ้นชื่อในการบุกรุกบ้านของคริสเตียนและลากตัวพวกเขามาลงโทษและกระทั่งประหารชีวิตด้วยซ้ำ.—กิจการ 22:3-5; ฟิลิปปอย 3:4-6.
กระนั้น เมื่อเซาโลได้รับความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลแล้ว เขาได้ทำสิ่งที่เพื่อนร่วมความเชื่อถือเดียวกันหลายคนถือว่าเป็นเรื่องเหลือคิด. เขาได้เปลี่ยนศาสนา. เซาโล ผู้ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่าอัครสาวกเปาโล เลือกที่จะภักดีต่อพระเจ้ายิ่งกว่าประเพณี. ความภักดีต่อพระเจ้าที่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้ถ่องแท้ได้กระตุ้นเซาโลให้เป็นคนยอมผ่อนปรน, แสดงความรัก, และส่งเสริมสิ่งที่ดีงาม เมื่อเทียบกับพฤติกรรมของเขาแต่ก่อนที่ก่อผลเสียหายและเป็นแบบบ้าคลั่ง.
ทำไมจึงเป็นคนภักดี?
การยอมให้มาตรฐานของพระเจ้านวดปั้นความภักดีของเรานำมาซึ่งผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัด. ตัวอย่างเช่น รายงานประจำปี 1999 จากสถาบันวิจัยครอบครัวของออสเตรเลียกล่าวว่า ในบรรดาหลักพื้นฐานสำหรับชีวิตสมรสที่ยั่งยืนและน่าพอใจคือ “ความไว้วางใจและความซื่อ
สัตย์ .. . [และ] ความสำนึกในเรื่องศาสนา.” การวิจัยเดียวกันพบว่า “ชีวิตสมรสที่มั่นคงและน่าพอใจ” มีส่วนส่งเสริมให้ชายและหญิงมีความสุขมากขึ้น, มีสุขภาพดีขึ้น, และมีอายุยืนขึ้น และชีวิตสมรสที่มั่นคงทำให้เด็กมีโอกาสมากขึ้นในการประสบชีวิตที่มีความสุข.ในโลกที่ไม่แน่นอนทุกวันนี้ ความภักดีเป็นเหมือนเชือกชูชีพซึ่งช่วยคนที่กำลังว่ายน้ำกระเสือกกระสนอยู่ให้ยึดเกาะไปกับเรือช่วยชีวิต. หาก “คนว่ายน้ำ” ไม่มีความภักดี เขาก็จะเสมือนถูกคลื่นลมซัดล่องลอยไปมา. แต่ถ้าความภักดีของเขาอยู่ผิดที่ นั่นก็เป็นประหนึ่งว่าเชือกชูชีพของเขาผูกติดกับเรือที่กำลังจม. เช่นเดียวกับเซาโล เขาอาจพบตัวเองถูกลากเข้าสู่แนวทางการกระทำที่ก่อผลเสียหาย. อย่างไรก็ตาม ความภักดีต่อพระยะโฮวาซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ถ่องแท้ เป็นเชือกชูชีพที่ทำให้เรามั่นคงและนำไปสู่ความรอด.—เอเฟโซ 4:13-15.
พระยะโฮวาทรงทำคำสัญญานี้กับคนเหล่านั้นซึ่งภักดีต่อพระองค์ว่า “พระยะโฮวาทรงรักความยุติธรรม, และไม่ทรงละทิ้งพวกผู้ชอบธรรม [“ภักดี,” ล.ม.] ของพระองค์เลย; ทรงรักษาเขาไว้เป็นนิจกาล.” (บทเพลงสรรเสริญ 37:28) อีกไม่นาน จะมีการนำบรรดาคนเหล่านั้นที่ภักดีต่อพระยะโฮวาเข้าสู่แผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน ที่ซึ่งพวกเขาจะมีเสรีภาพพ้นจากความโศกเศร้าและความเจ็บปวดและจะยินดีในสัมพันธภาพถาวรที่พ้นจากความแตกแยกทางศาสนาและทางการเมือง.—วิวรณ์ 7:9, 14; 21:3, 4.
แม้แต่ขณะนี้ หลายล้านคนตลอดทั่วโลกได้พบว่าความสุขแท้เกิดขึ้นเฉพาะแต่โดยการที่พวกเขามีความภักดีต่อพระยะโฮวาเท่านั้น. ไฉนไม่ลองให้พยานพระยะโฮวาช่วยคุณตรวจสอบทัศนะของคุณในเรื่องความภักดีโดยพิจารณาจากความจริงในคัมภีร์ไบเบิลล่ะ? คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่า “ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูตัวของท่านเองว่าท่านตั้งอยู่ในความเชื่อหรือไม่ จงชันสูตรดูตัวของท่านเองเถิด.”—2 โกรินโธ 13:5.
ต้องใช้ความกล้าหาญที่จะตรวจสอบดูความเชื่อของเราและเหตุผลที่เราภักดีต่อความเชื่อนั้น แต่บำเหน็จอาจคุ้มค่ากับความพยายามทีเดียวเมื่อยังผลทำให้เราใกล้ชิดกับพระยะโฮวาพระเจ้ามากขึ้น. หญิงที่ถูกกล่าวถึงข้างต้นแสดงความรู้สึกของหลายคนเมื่อเธอกล่าวว่า “ดิฉันได้เรียนรู้ว่าการเป็นคนภักดีต่อพระยะโฮวาและมาตรฐานของพระองค์ช่วยเราเป็นคนสมดุลในการปฏิบัติต่อครอบครัวของเราและทำให้เราเป็นสมาชิกที่ดีขึ้นของชุมชน. ไม่ว่าการทดสอบยากเย็นเพียงไรก็ตาม หากเราภักดีต่อพระยะโฮวา พระองค์จะภักดีต่อเราเสมอ.”
[ภาพหน้า 6]
ความรู้ถ่องแท้ได้กระตุ้นเซาโลให้เปลี่ยนเป้าหมายแห่งความภักดีของตน
[ภาพหน้า 7]
ไฉนไม่ลองตรวจสอบดูความภักดีของคุณโดยพิจารณาจากความจริงในคัมภีร์ไบเบิลล่ะ?
[ที่มาของภาพหน้า 4]
Churchill, upper left: U.S. National Archives photo; Joseph Göbbels, far right: Library of Congress